วิธีการฝึกสมาธิในเบื้องต้นแบบง่าย ๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 16 สิงหาคม 2017.

  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    พึงนั่งสมาธิดังนี้

    เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย
    ตั้งตัวให้ตรง แล้วนึกเอาคำบริกรรม "พุท-โธ ๆ"

    ไว้ที่ท่ามกลางหน้าอก คือ หัวใจ
    อย่าให้จิตส่ายไปมาข้างหน้าและข้างหลัง


    พึงตั้งสติสำรวมจิตให้อยู่คงที่เป็นเอกัคตาจิต แน่วแน่
    จิตก็จะเข้าถึงสมาธิได้เลย

    เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว
    บางทีก็รู้ตัวอยู่ว่าจิตของเราเข้าถึงสมาธิเป็นหนึ่งแล้ว
    บางทีก็ไม่รู้หายเงียบไปเลย
    ไม่รู้ว่าเรานี้นั่งนานสักเท่าไหร่
    ออกจะออกจากสมาธิก็เป็นเวลาตั้งหลายชั่วโมง

    เพราะฉะนั้น การนั่งสมาธิจึงไม่ต้องกำหนดเวลา
    ให้ปล่อยตามเรื่องของมันเอง
    จิตที่เข้าถึงสมาธิแท้ คือ จิตที่เป็นเอกัคตาจิต
    ถ้าไม่เข้าถึงเอกัคตาจิตได้ชื่อว่ายังไม่เป็นสมาธิ
    เพราะใจแท้มีอันเดียว ถ้ายังมีหลายอันอยู่ยังไม่ใช่
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    การที่จิตจะเข้าถึงสมาธิที่แท้จริงได้
    จนถึงระดับขั้นที่ สมาธินั้นสามารถเกิดผลขึ้นจริง
    เกิดผลในที่นี้ ไม่ใช่ว่า เกิดหรือพบกิริยาอะไรบ้าง
    ในระหว่างทำสมาธิ แต่หมายความว่า เราสามารถ
    นำกำลังสมาธิที่ได้นั้น มาใช้งานได้จริงๆ ไม่ว่าเรื่องหน้าที่การงาน
    เรื่องการดำรงชีวิต หรือบางคนก็เรื่องพิเศษที่เกิดกับจิตตนเอง
    แล้วแต่เนื้อหาเดิมแท้ของจิตดวงนั้นๆ
    ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้แบบพิธีและวิธีการอะไรครับ
    แต่ใช้เป็นแนวทางเดินได้อยู่

    และคำว่า สมาธิที่แท้จริง จะต้องเป็นสมาธิที่ไม่ใช้
    การกด การข่ม หรือวิธีการใดๆ หรือจากความชำนาญใดๆ
    เข้าไปกระทำให้มันเกิด มันจะเป็นสมาธิที่ได้จากการปล่อย
    วางกิเลสต่างๆได้ของมันเอง แม้ในเวลาลืมตาปกติใช้ชีวิตประจำวันครับ
    อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นสมาธิที่แท้จริงครับ


    เพราะไม่ว่าอริยบทไหน ก็สามารถเป็นสมาธิได้หมดครับ
    และการทำสมาธินั้น มันต้องอาศัยองค์ประกอบร่วมกัน
    มีความต่อเนื่อง อาศัยพิธีการอย่างเดียวจะประสบความ
    สำเร็จถึงระดับใช้งานได้ยาก ซึ่งกินเวลาหลายปี
    เคยแปลกใจไหม ว่าทำไมบางคน สิบปี ยี่สิบปี หรือทั้งชาติ
    ยังไม่เคยได้รับผลที่นำไปใช้งานได้เลยจากสมาธิที่ตนเองฝึก
    แต่กลับไปยึดติดใน กิริยาระหว่างทางที่เกิดขึ้นได้ในระหว่างทำสมาธิ

    และสมาธิที่ง่ายจริงๆ
    ก็คือ การเอาหน้าที่การงานและความรับผิดชอบ
    ในชีวิตประจำวันเรานี่หละครับ เป็นการฝึกสมาธิไปในตัว
    เช่น วันนี้ตั้งใจทำงานให้เต๊มที่ เอาการเอางาน
    เป็นการฝึกสมาธิฝึกสติในระหว่างวันไปในตัว
    วันนี้เรารับผิดชอบหน้าที่การงานเราเรียบร้อยหรือยัง
    กลับมาที่บ้าน ที่ห้องนอนเรา มันสะอาดไหม มันดูเรียบร้อยไหม
    ห้องน้ำเราสะอาดดีหรือยัง ฯลฯ
    เอาตรงนี้ไปเสริมกับสมาธิแบบพิธีการ
    มันถึงจะทำให้เราไปได้เร็วในเรื่องของสมาธิครับ
    ไม่งั้นมันจะใช้เวลาเป็นหลักปี หรือหลายๆปีกว่าจะเห็นผล


    ปล.''สมาธิถ้าได้จริงๆแล้วมันจบนะครับ'' นี่เป็นนัยยะ
    ที่ยังไม่จบเป็น เพราะยังเข้าถึงระดับที่ยังใช้งานจริง
    ในระหว่างใช้ชีวิตปกติประจำวันกันยังไม่ได้เท่านั้นเองครับ
    และถ้าได้แล้ว มันก็จะเอาไว้เป็นฐานสำหรับการเดินปัญญา
    เพื่อปลายทางให้เกิดปัญญาญานได้ต่อไปในอนาคตครับ
     
  3. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    วิธีฝึกสมาธิที่ผมนำมาตั้งกระทู้นั้น
    เป็นหนึ่งในวิธีที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ให้คนทั่วไป
    สามารถทำตามได้แบบง่าย ๆ ครับ
    ยังมีวิธีการฝึกสมาธิอีกมากมาย
    ที่ฝึกแล้วสามารถทำให้เกิดฌานสมาบัติได้

    วิธีที่คุณฝึกนั้นก็ไม่ผิดครับ
    สามารถทำได้เช่นกัน
    ไม่จำเป็นต้องตั้งฐานไว้ที่หัวใจเสมอไป
    จะตั้งไว้ที่ กลางอก ก็ได้เช่นกัน
    แล้วแต่ว่าใครถนัดแบบไหน

    ถ้าใจเราอยากได้ฌานมากก็ไม่ต้องไปทำอะไรครับ
    ใจมันอยากจะได้ฌานก็ปล่อยมัน
    แต่เรามีหน้าที่รู้ลมหายใจเข้าออกไปพร้อมกับฐานที่ตั้งของจิต
    หรือเรียกอีกอย่างว่า ฐานสมาธิ เท่านั้น

    รู้ไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวมันก็เลิกอยากเอง
    ไม่ต้องไปบังคับให้มันเลิกครับ ยิ่งบังคับยิ่งดิ้น ปล่อยมันไปเลยครับ
    เรามีหน้าที่รู้ลมหายใจไปพร้อมกับฐานสมาธิเท่านั้น นอกนั้นไม่ต้องไปสนใจ
    เหมือนกับเวลาเราแอบหลับในที่ทำงาน
    เราก็ยังไม่สนใจว่าใครจะด่าเลย เรามีหน้าที่หลับ
    เราจะหลับซะอย่าง ใครจะด่าช่างมัน ในที่สุดเราก็สามารถหลับได้

    ฝึกสมาธิก็เหมือนกันครับ
    เรามีหน้าที่ภาวนา คือ รู้แค่ลมหายใจไปพร้อมกับฐานสมาธิ เท่านั้น
    ใจมันอยากจะได้ฌานก็ช่างมัน
    เราจะภาวนาซะอย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2017
  4. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    ขณะนั่งสวดมนต์
    ผมใช้วิธีทำความรู้สึกนึกถึงกลางอกหรือหัวใจ
    คือ ตั้งจิตไว้แถว ๆ กลางอก
    จากนั้นก็สวดมนต์ไปด้วยครับ
    ถ้าขยันก็จะนึกถึงตัวหนังสือไว้ที่กลางอกไปด้วย

    เช่น สวดคาถามหาสะท้อน
    เมื่อสวดคำว่า เม ก็นึกถึงตัวหนังสือคำว่า เม ว่าตอนนี้ตัว เม อยู่กลางอกเรา
    เมื่อสวดคำว่า สัม ก็นึกถึงตัวหนังสือคำว่า สัม ว่าตอนนี้ตัว สัม อยู่กลางอกเรา
    ..... คำอื่นก็เช่นกัน

    คาถาเงินล้านก็ทำแบบเดียวกัน

    การภาวนาคาถาไม่จำเป็นต้องสวดเป็นจังหวะแบบคนอื่น
    จะสวดทีละตัว ทีละ 2 ตัว ก็ได้ เป็นจังหวะก็ได้ แล้วแต่ถนัด
    ขอเพียงสวดแล้วทำให้เกิดสมาธิขึ้นมาก็ใช้ได้แล้ว

    ผลที่ได้มากน้อยก็อยู่ที่กำลังสมาธิของเรา

    ขณะเดินจงกรม

    ถ้าเดินไปข้างนอก เช่น เดินห้าง ช็อปปิ้ง
    ผมใช้วิธีทำความรู้สึกนึกถึงร่างกายทั้งตัวที่กำลังก้าวเดิน
    พร้อมกับรู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย โดยตั้งฐานของจิตไว้ที่กลางอก

    เข้ารู้ ออกรู้ ปล่อยลมหายใจไปตามสบาย
    ไม่จำเป็นต้องให้ลมหายใจสัมพันธ์กับการเดินก็ได้
    แค่ปล่อยลมหายใจไปตามธรรมชาติไม่ต้องไปบังคับ แค่รู้เฉย ๆ
    จากนั้นก็เดินไปตามสะดวก
    ถ้าขยันก็เพิ่มคำภาวนาเข้าไปอีก เช่น พุทโธ
    จากนั้นก็เดินไปตามสบาย
    จะเดินไปไหนมาไหนก็จะพยายามรู้ลมและกลางอก
    พร้อมกับรู้อิริยาบถเดินแบบนี้ไว้ตลอด

    ถ้าเดินจงกรมแบบกำหนดระยะทาง เช่น 25 ก้าว
    ให้เดินแล้วรู้อาการทางกายตั้งแต่เท้าถึงหัว
    ก้าว 1 ก้าว 2 ให้รู้ไปด้วย

    เมื่อเดินไปถึง 25 ก้าวแล้ว

    หยุดยืนสัก 5 ลมหายใจ

    จากนั้นก็กลับหลังหันแบบธรรมดาไม่ช้าไม่เร็ว

    หยุดยืนสัก 5 ลมหายใจ

    กำหนดใจว่าเราจะเดิน
    จากนั้นก็เดินไปอีก 25 ก้าว แล้วก็ทำเหมือนกับที่ผ่านมา

    ที่สำคัญ ตั้งแต่ต้นจนจบการเดินจงกรม
    ให้เรารู้สึกถึงฐานที่ตั้งของจิต เช่น กลางอก ไปด้วย
    (ลมหายใจปล่อยไปตามธรรมชาติห้ามบังคับลมเด็ดขาด)


    การนั่งสมาธิอีกวิธีที่แนะนำ

    เมื่อนั่งในท่าที่เหมาะสมแล้ว
    ไม่เกร็งเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
    ตั้งฐานของจิตไว้ที่ กลางอก พร้อมกับรู้ลมหายใจไปด้วย
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 1
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 2
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 3
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 4
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 5

    ถ้าเผลอสติระหว่างทาง เช่น
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 1
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 2
    หายใจเข้า หายใจออก นับ 3
    จากนั้นจิตเผลอไปคิดเรื่องอื่น ก็ให้เริ่มนับ 1 ใหม่
    จนกว่าจะสามารถนับได้ถึง 5 โดยที่จิตไม่เคลื่อนเลย

    จากนั้นก็เริ่มนับ 1 ใหม่ จนไปเรื่อย ๆ จนกว่าสมาธิจะดีขึ้น
    คือ จิตไม่ส่ายแม้จะนับถึง 5 แล้วก็ให้เริ่มนับ 1 ถึง 6
    เมื่อถึง 6 แล้วจิตไม่ส่ายก็ขยับขึ้นไปเป็น 7
    ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบ
    ไม่นานจิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิมากยิ่งขึ้น

    ที่สำคัญ ห้ามเพ่งโดยการบังคับลูกตาและกล้ามเนื้อใบหน้าเด็ดขาด
    ไม่งั้นต่อไปจะปวดหน้าปวดหัวมาก
     
  5. Noomham

    Noomham สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    ทุกท่านที่เข้ามาในกระทู้นี้
    ต้องการจะฝึกเพื่อให้ตน หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย
    อย่าได้ให้ ความ โทสะ มาทำลายใจ

    ถ้าทุกท่านปฏิบัติธรรมอยู่ ก็อย่าได้หลง ไปตามสิ่งแวดล้อม
    ทางสายกลาง ไม่ยินดียินร้าย ฝากเตือนเพื่อน มิตรสหายทุกท่านครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...