วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 14 มิถุนายน 2017.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    เหอะ เหอะกรูขรำอยู่ดีก็ได้เป็นอาจารย์แมว
    จากแมวธรรมดาแค่ข้ามตืนเป็น อาจารย์แมว
    แถมมีลูกบ๊องส์อาสาจะไปคุ้ย
    วิชามาถวายให้อีก
    บอกอีกทีนะ ปาไปไกลๆ
    เลยกระป๋องกาวในมืออ่ะ
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    17800.gif

    อะไรชั่วข้ามคืนลืมแระ ก็ให้ มจด.สมัครเป็นศิษย์ ก็ทำพิธีฝากตัวแล้วนะ อ.แมว ความจำสั้น ไปฝึกสติม้างไป คิกๆๆ
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สัญญา - สติ - ความจำ

    มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับธรรมข้อใด คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ ท่านใช้คำว่าสติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ"* (องฺ.เอก.20/149/32)

    เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้ สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญที่สุด

    สัญญาก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยว และเหลื่อมกันกับความจำ กล่าวคือ ส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ แม้สติก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการทรงจำ


    ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญ คือ สัญญา และ สติ ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ

    สัญญา
    กำหนดหมายหรือหมายรู้อารมณ์ไว้ เมื่อประสบอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่าตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่าจำได้ ถ้ามีข้อต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้ หรือหมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่น ใช่นี่ (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี สิ่งที่กำหนดหมายไว้ (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี เรียกว่าสัญญา ตรงกับความจำในแง่ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความจำ ลักษณะสำคัญของสัญญา คือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น


    สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับ จิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือคลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้ สติจึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้ ระลึกได้ ไม่เผลอ สติเป็นการริเริ่มเองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตนา หรือเจตจำนง ในเมื่ออารมณ์อาจจะไม่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ จึงจัดอยู่ในพวกสังขาร

    สัญญา บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้ สัญญาดี คือ รู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบ สร้างขึ้นเป็นรูปร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจเป็นต้นอีกต่อหนึ่ง) ก็ดี สติดี คือมีความสามารถในการระลึก (ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบ ที่ช่วยให้เกิดความจำดี


    (นามธรรมเข้าใจยาก เพราะมองไม่เห็น ดังนั้น มี ตย. เปรียบเทียบ สัญญา กับ สติ)

    นายแดง กับ นายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกจากกันไป ต่อมาอีกสิบปี นายแดงพบนายดำอีก จำได้ว่า ผู้ที่ตนพบนั้นคือนายดำ แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่าตน กับ นายดำ เคยไปเที่ยวด้วยกันที่นั่นๆ ได้ทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เป็นสติ

    วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนา กับ นาย ข. ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อนถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร นาย ก. นึกทบทวนดู ก็จำได้ว่าพบปะสนทนากับ นาย ข. การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ

    เครื่องโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง สมุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่อีกมุมห้องด้านหนึ่ง นายเขียวเปิดสมุดหา เลขหมายโทรศัพท์ที่ตนต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ตลอด การอ่านและกำหนดหมายเลขที่สมุดโทรศัพท์ เป็นสัญญา การนึกหมายเลขนั้นตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ เป็นสติ

    เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้ว ก็กำหนดหมายได้ทันที แต่เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏอยู่ และถ้าอารมณ์นั้นเป็นธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็นอารมณ์ของจิต แล้วสัญญาจะกำหนดหมายอารมณ์นั้น สำทับเข้าอีกให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือกำหนดหมายแนวใหม่เพิ่มเข้าไปตามวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็ได้

    ……..

    อ้างอิง *
    อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ)
    สติ ด้านหนึ่งแปลกันว่า recall, recollection อีกด้านหนึ่งว่า mindfulness

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2017
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ตายาย ห่าน เลย

    สติ บ้านผู้ให้กำเหนิด มจด เปนแบบนี้
    มันถึงได้เปนแค่ หมอหมาปังยากราย

    ไปเปิดพระไตรปิฏกสอบทานก่อนดีไหม

    สตินทรีย์ เปนไฉน?

    สติ ไปสอนคนอื่นแบบนั้น ระวังไปสวรรค์
    ของพวก วัยกลิ้งหน่าคร้าบ( rak na rok )
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สตินทรีย์ ไฉน ? ว่าไปดิ ว่าปาย
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    จะเปนไฉน แล้ว ไม่แค่นั้รหน่าหาร์ป

    ยังต้องกำหนดรู้ หมายๆ ว่า สตินทรีย ดับไป ด้วย

    ยังต้องระลึกเหน อาการเหนว่าสติดับ นั้นก้ดับด้วย

    คุณ และโทษ สตินทรีย์ มีอยู่

    อุบายนำ สตินทรีย ออกจาก...... ยังต้องอบรมให้ได้ด้วย


    แต่ ลวกเพ่ สติก้ม่ายฉ่าย สัญญากม่ายเชิญ
    สังขารเจตนาค้างเติ่ง เผารนจน สหหมอหมาไหม้
    ได้รีโหลดเกมส์ rak na rok เอาหน่าฮับ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อีกอย่าง นะ มจด

    ไม่อยากจะบอกเลย ว่า นักปฏิบัติ จะจับไต๋
    มจด ตอนไหน

    ที่เด็ดๆ ชัวร์ๆ มจด สังเกตดีๆ

    พอ มจด ยกตัวอย่างคำถาม มา คนอื่นเขา
    จะจับไต๋ได้ แล้ว อัดเข่าเขย่าศอก ใส่ มจด
    โดยไม่ลัง หันหลังกลับไปชื่นชม การก้อปปี้ธรรม

    เพราะอะไร

    เพราะตัวอย่างคำถามของ มจด เปน สัญญาในอดีต

    ป่านนี้ คนถามเหล่านั้น แปรเปลี่ยนไปหมดแล้ว


    ธรรมะ เปนเรื่อง ปัจจุบันธรรม ไม่แล่นไปอนาคต
    หรือ อดีต

    ถ้า มจด เปนนักธรรมจริง การอยู่กับปัจจุบันจะ
    ต้องแสดงออกได้ ทำให้ผู้อื่นตั้งมั่นเข้ามาที่
    ปัจจุบันเปนกิจ ของการ โฆษณาธรรม
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    มจด เปนนักวิชาการเต็มขั้น

    ออกแบบ มาตราฐานการสอนแล้ว

    ต้องประเมินผล ด้วย จิฮับ

    ทำไม คนห่างการสวดมนต์ รักษาสี
    ปล่อยนก ยังจับไต๋ มจด ได้

    ฮะเอ่อ

    แต่ถ้า มจด เจตนารั้งกุสลว่าคำสอนตนมี เอา สติ
    มีเจตนาสะกดติตตัวเอง มจด คงรู้นะ สุดสาย97 ไปไหน
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อุตส่าห์พิมพ์ตั้ง 3 คคห. แต่ไม่รู้พูดเรื่องอะไร ที่ถามสตินทรีย์ ที่ว่าน่าเป็นยังไง วางถุงกาวแล้วว่าไปสิ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    มจด ฮับ


    สังเกต อาการจิต ที่ไม่ยอม ยกพระไตรปิฏก ตรงนี้เลยฮับ

    มีเข้มแข็งแค่ไหน

    โหลดเกมส์ แรคน่าร้อค ลึก เท่านั้น
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เหอะ เหอะกรูขรำอยู่ดีก็ได้เป็นอาจารย์แมว
    จากแมวธรรมดาแค่ข้ามตืนเป็น อาจารย์แมว

    แถมมีลูกบ๊องส์อาสาจะไปคุ้ย
    วิชามาถวายให้อีก
    บอกอีกทีนะ ปาไปไกลๆ
    เลยกระป๋องกาวในมืออ่ะ


    อ.แมว โพสต์เมื่อคืนวาน เวลา 20.01น.

    เช้าวันนี้ อ.แมว ลืมแระ อิอิ โท่อาจารย์ คิกๆๆ

    นี่คงอายไม่น้อยหายไป (จังหวัด) เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2017
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น ความเพียร กำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงาน และปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้

    ความหมายของ อินทรีย์ ๕ อย่างนั้น ท่านแสดงไว้พอสรุปได้ ดังนี้ (สํ.ม.19/852-875/259-265)

    ๑. ศรัทธา (เรียกเต็มว่า สัทธินทรีย์) พึงเห็นได้ใน โสดาปัตติยังคะ ๔ ว่าโดยสาระก็คือ ศรัทธาในตถาคตโพธิ หรือ ตถาคตโพธิสัทธานั่นเอง กิจหรือหน้าที่ของ ศรัทธา คือ ความน้อมใจดิ่ง มุ่งดิ่งไป ปลงใจ ปักใจ (อธิโมกข์) ความหมายที่ต้องการว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริง ความดี ของสิ่งที่นับถือ หรือปฏิบัติ

    ๒. วิริยะ (เรียกเต็มว่า วิริยินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สัมมปัปธาน ๔ บางแห่งว่า ความเพียรที่ได้ด้วยปรารภสัมมัปปธาน ๔ หรือตัวสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง บางทีก็พูดให้สั้นลงว่า ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม และทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม การมีความแกล้วกล้าแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม หน้าที่ของวิริยะ คือ การยกจิตไว้ (ปัคคาหะ) ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้า ไม่ท้อถอย

    ๓. สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สติปัฏฐาน ๔ บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภสติปัฏฐาน ๔ หรือตัวสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง บางทีให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัวที่ยวดยิ่ง สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำ คำที่พูดแล้ว แม้นานได้ หน้าที่ของ สติ คือ การดูแล หรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน) ความหมายสามัญว่า ความระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง

    ๔. สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์) พึงเห็นได้ใน ฌาน ๔ บางแห่งว่า หมายถึงตัวฌาน ๔ นั่นเอง หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การทำภาวะปล่อยวางให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาแห่งจิต หน้าที่ของสมาธิ คือ การทำจิตไม่ให้ฟุ้ง ไม่ให้ส่าย (อวิกเขปะ) ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่น แน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด

    ๕. ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์) พึงเห็นได้ใน อริยสัจ ๔ คือการรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การมีปัญญา ความประกอบด้วยปัญญา ที่หยั่งถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป ซึ่งเป็นอริยะ ทำลายกิเลสได้ อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ หน้าที่ของปัญญา คือ การเห็นความจริง (ทัสสนะ) ความหมายสามัญว่า ความรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้ทั่วชัด รู้สิ่งที่ทำที่ปฏิบัติ หยั่งรู้ หรือรู้เท่าทันสภาวะ
    ....
    ธรรม 5 ตัวนี้ เป็นทั้งอินทรีย์ ทั้งพละ เช่น สัทธาพละเป็นต้น
     
  13. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    สติไม่มีข้อเสียครับ
    ยิ่งมีมากยิ่งดี
    สติเต็มรอบก็จบกิจบรรลุอรหัตภูมิ
    ขอให้ทำความเข้าใจใหม่ด้วยนะครับ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อให้อีกหน่อย เกี่ยวกับอินทรีย์ ๕


    มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ ๕ อย่างนี้ ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ

    - ศรัทธา ทำให้เกิดความเพียร

    - ความเพียร ช่วยให้สติมั่นคง

    - เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ ก็จะได้สมาธิ

    - เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดปัญญา รู้เข้าใจมองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหา ที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชา และความทุรนทุรายแห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม

    - ครั้นเมื่อปัญญารู้ชัดเจ้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธา ที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่ง หรือยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก ดังพุทธพจน์ท่อนสุดท้ายว่า

    "ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ก็ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ก็มีจิตมั่นแน่วอย่างนี้ ครั้นมีจิตมั่นแน่วแล้ว ก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็ยิ่งกว่าเชื่อ (อภิศรัทธา) อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย ที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่กับตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้" (สํ.ม.๑๙/๑๐๑๐-๑๐๒๒/๒๙๗-๓๐๐)
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในพุทธพจน์ แสดงปฏิปทา ๔ ว่าด้วยแนวการปฏิบัติธรรมของบุคคล ที่แตกต่างกันไปเป็น ๔ ประเภท คือ บางพวกปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า บางพวกปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว บางพวกปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า บางพวกปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

    พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า ตัวการที่กำหนดให้รู้ช้าหรือเร็ว ก็คือ อินทรีย์ ๕ กล่าวคือ ถ้าอินทรีย์ ๕ อ่อนไป ก็รู้ช้า ถ้าอินทรีย์ ๕ แก่กล้า ก็รู้ได้เร็ว (องฺ.จตุกฺก.21/161-3/200-4) แม้แต่การที่พระอนาคามีแตกต่างกันออกไปเป็นประเภทต่างๆ ก็เพราะอินทรีย์ ๕ เป็นตัวกำหนดด้วย* (องฺ.จตุกฺก.21/169/209)

    กว้างออกไปอีก ความพรั่งพร้อม และความหย่อนแห่งอินทรีย์ ๕ นี้แล เป็นเครื่องวัดความสำเร็จเป็นอริยบุคคลชั้นต่างๆ ทั้งหมด กล่าวคือ เพราะอินทรีย์ ๕ เต็มบริบูรณ์ ก็เป็นพระอรหันต์ ถ้าอินทรีย์ ๕ อ่อนกว่านั้น ก็เป็นพระอนาคามี อ่อนกว่านั้น เป็นพระสกทาคามี อ่อนกว่านั้น ก็เป็นพระโสดาบันประเภทธัมมานุสารี อ่อนกว่านั้นอีก ก็เป็นพระโสดาบันประเภทสัทธานุสารี ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนว่า ถ้าไม่มีอินทรีย์ ๕ เสียเลยโดยประการทั้งปวง ก็จัดเป็นพวกปุถุชนคนนอก

    มีคำสรุปว่า ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ ๕ ทำให้มีความแตกต่างแห่งผล ความแตกต่างแห่งผล ทำให้มีความแตกต่างแห่งบุคคล หรือว่าอินทรีย์ต่างกัน ทำให้ผลต่างกัน ผลต่างกัน ทำให้บุคคลต่างกัน * (สํ.ม.19/876-900/265-271...)
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อภิศรัทธา นักธรรมสอง Tabs เห็นไปทางไหน

    ถ้าเห็นไปทาง 1+1 เป็น 2 สัททาเพิ่มเติม ตายายห่านเลยหน่าคร้าบ

    กลับไปอ่าน อินทรีย์5 เป็นไฉน ให้ดีๆ พระพุทธองค์ทรงตรัสชัด
    ผู้ใดเห็นความเกิด ความดับ การสลัดออกไปของอินทรีย์ ถึงจะมี
    กระแสไปในธรรม

    ถ้า อินทรีย์5 ยิ่งภาวนา ยิ่ง 1+1 เป็น 2 2+2 เป็น 4 ตายายห่าน เลย คนละเรื่อง

    อภิศรัทธา อ่านแบบ นักธรรมสอง Tabs โอยยิ่ง เป็นกับปิตันทีมชาติวอลเวลหญิง

    แต่ถ้า เห็น สัททา ดับไป พ้นไป ยิ่งพ้น ยิ่งรู้รสของการ "เหนือๆ" จะอีกเรื่องนึง

    ถ้า มจด นำเสนอ สัททาไปทาง 1+1 เป็น 2 ยิ่งเป็น กับปิตัน
    ต่อไป ป๋ม จะยัดข้อหา แกะหลงทาง หลงเข้าคอก !!! กาโบทศาสนา หน่าฮับ
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แสดงอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้าม ที่อินทรีย์ ๕ จะกำจัด เป็นคู่ๆ จะยกมากล่าวไว้ พร้อมทั้งหน้าที่ หรือกิจของอินทรีย์เหล่านั้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้ว อีกครั้งหนึ่ง

    ๑. ศรัทธา เป็นใหญ่ในหน้าที่น้อมใจดิ่งหรือปลงใจให้ กำจัดอกุศล คือ ความไม่เชื่อถือ
    ๒. วิริยะ เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคองหรือคอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศล คือ ความเกียจคร้าน
    ๓. สติ เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้มหรือดูแลจิต กำจัดอกุศล คือ ความประมาท
    ๔. สมาธิ เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่านส่าย กำจัดอกุศล คือ อุทธัจจะ
    ๕. ปัญญา เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศล คือ อวิชชา
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้เสมอกัน โดยย้ำว่า ถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่ อินทรีย์เหล่านั้น ก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน เช่น ศรัทธาแรงไป วิริยะก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้ สติก็ไม่สามารถดูแลจิต สมาธิก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว ปัญญาก็ ไม่สามารถเห็นตามจริง ต้องลดศรัทธาเสีย ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะแห่งธรรม หรือมนสิการในทางที่ไม่เป็นการเพิ่มกำลังให้แก่ศรัทธา
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตามหลักทั่วไป ท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ ให้ศรัทธาสมหรือเสมอ กับ ปัญญา และให้สมาธิสมหรือเสมอ กับ วิริยะ

    - ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน ก็อาจเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส ถ้าปัญญากล้า ศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดี เป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

    - ถ้าสมาธิกล้า วิริยะอ่อน โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้านก็เข้าครองงำ เพราะสมาธิเข้าพวกได้กับโกสัชชะ แต่ถ้าวิริยะแรง สมาธิอ่อน ก็เกิดความฟุ้งซ่าน เป็นอุทธัจจะ เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ

    เมื่ออินทรีย์ ๒ คู่นี้เสมอกันดี การปฏิบัติธรรมก็เดินหน้า ได้ผลดี หลักนี้ท่านให้นำมาใช้กับการเจริญสมาธิด้วย

    อย่าง ไรก็ตาม ท่านว่า ถ้าเจริญแต่สมาธิอย่างเดียวล้วน คือบำเพ็ญสมถะ ถึงศรัทธาจะแรงกล้า ก็ได้ผลเกิดอัปปนาสมาธิได้ หรือสมาธิแก่กล้า ก็เหมาะแก่การเจริญสมาธิอยู่ดี ตรงข้ามกับในการเจริญวิปัสสนา ถึงปัญญาจะแรงไป ก็ไม่เป็นไร เพราะกลับจะเกิดความรู้แจ้งดีด้วยซ้ำ นี้เป็นกรณีพิเศษ

    แต่ถ้าปฏิบัติตามหลักทั่วไป คือให้อินทรีย์ ๒ คู่เท่าเสมอกัน ก็ได้ผลดี เช่น ให้เกิดอัปปมาสมาธิได้อยู่นั่นเอง

    ส่วนสติเป็นข้อยกเว้น ท่านว่า ยิ่งสติมีกำลัง ก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยองค์ธรรมข้ออื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาจิตไม่ให้ตกไป ทั้งข้างอุทธัจจะ และข้างโกสัชชะ การยกจิต ข่มจิต ต้องอาศัยสติทั้งนั้น ทั้งนี้ ท่านอ้างพุทธพจน์ว่า สติมีประโยชน์ ต้องใช้ในทุกที่ทุกกรณี และสติเป็นที่พึ่งที่อาศัยของใจ (สํ.ม.๑๙/๙๖๙/๒๘๙)
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ก่อนโพสต์วางถุงกาวก่อน จะได้รู้เรื่อง อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...