วิธีคิดแบบอริยสัจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 18 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีโยนิโสมนสิการ เท่าที่แสดงมา ได้นำเสนอโดยพยายามรักษารูปร่างตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา ผู้ศึกษาไม่พึงติดอยู่เพียงรูปแบบ หรือถ้อยคำ แต่พึงมุ่งจับเอาสาระเป็นสำคัญ

    พึงย้ำไว้ว่า โยนิโสมนสิการนี้ เป็นหลักธรรมภาคปฏิบัติ ที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกเวลา มิใช่จะต้องรอไว้ใช้ต่อเมื่อมีเรื่องที่จะเก็บเอาไปนั่งขบคิด หรือปฏิบัติได้ต่อเมื่อปลีกตัวออกไปนั่งพิจารณา แต่พึงใช้แทรกอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่เป็นไปอยู่ทุกที่ทุกเวลานั่นเอง
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีคิดแบบอริยสัจ/คิดแบบแก้ปัญหา

    วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา เรียกตามโวหารทางธรรมได้ว่า วิธีแห่งความดับทุกข์ จัดเป็นวิธีคิดแบบหลักอย่างหนึ่ง เพราะสามารถขยายให้ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่นๆ ได้ทั้งหมด

    บาลีที่พึงอ้างในข้อนี้ มีความสั้นๆ ดังนี้

    “ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ความดับแห่งทุกข์ คือดังนี้ ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือดังนี้

    “เมื่อเธอมนสิการ โดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้” (ม.มู.12/12/16)


    วิธีคิดแบบอริยสัจนี้มีลักษณะทั่วไป ๒ ประการคือ

    ๑) เป็นวิธีตามเหตุ และผลหรือเป็นไปตามเหตุและผล * (พึงระวังว่า เหตุและผล (cause and effect) เป็นคนละอย่างกับ เหตุผล (reason)) สืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขและทำการที่ต้นเหตุจัดเป็น ๒ คู่คือ

    คู่ที่ ๑: ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหา เป็นสถานการณ์ที่ประสบ ซึ่งไม่ต้องการ
    สมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา เป็นตัวการ ที่ต้องกำจัดหรือแก้ไข จึงจะพ้นปัญหา

    คู่ที่ ๒: นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา เป็นจุดหมาย ซึ่งต้องการจะเข้าถึง
    มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติ ที่ต้องกระทำในการแก้ไขปัญหา เพื่อบรรลุจุดหมาย คือ ภาวะสิ้นปัญหา อันได้แก่ ความดับทุกข์

    ๒) เป็นวิธีคิดที่ตรงจุดตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องของชีวิต ใช้แก้ปัญหา ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อ ที่สักว่าคิดเพื่อสนองตัณหามานะทิฏฐิ ซึ่งไม่อาจนำมาใช้ปฏิบัติไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา* (พึงดู จูฬมาลุงกโยวาทสูตร ม.ม. 13/147-152/143-153)


    ได้กล่าวแล้วว่า วิธีคิดแบบนี้ รับกัน หรือต่อเนื่องกัน กับวิธีคิดแบบที่ ๓ กล่าว คือ เมื่อประสบปัญหา ได้รับความทุกข์ และเมื่อสามารถวางใจวางท่าทีต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องตามวิธีคิดแบบที่ ๓ ขั้นที่ ๑ แล้ว ต่อจากนั้น เมื่อจะปฏิบัติด้วยปัญญา เพื่อแก้ไขปัญหาตามวิธีปฏิบัติขั้นที่ ๒ ของวิธีการคิดแบบที่ ๓ นั้น พึงดำเนินความคิดในส่วนรายละเอียดขยายออกไปตามขั้นตอน อย่างที่แสดงในวิธีการคิดแบบที่ ๔ นี้
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หลักการ หรือสาระสำคัญของวิธีคิดแบบอริยสัจ ก็คือ การเริ่มต้นจากปัญหา หรือความทุกข์ที่ประสบ โดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจปัญหาคือความทุกข์ให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุ เพื่อเตรียมแก้ไข ในเวลาเดียวกัน กำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่า คือ อะไร จะเป็นไปได้หรือไม่ และเป็นไปได้อย่างไร แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติ ที่จะกำจัดสาเหตุของปัญหา โดยสอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้นั้น
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในการคิดตามวิธีนี้ จะต้องตระหนักถึงกิจ หรือหน้าที่ ที่พึงปฏิบัติต่ออริยสัจแต่ละข้ออย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้มองเห็นเค้าความ ในเรื่องนี้ จะกล่าวถึงหลักอริยสัจ และวิธีปฏิบัติเป็นขั้นๆ โดยย่อ ดังนี้

    ขั้นที่ ๑ ทุกข์ คือสภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง ที่เกิดมีแก่ชีวิต หรือที่คนได้ประสบ ซึ่งว่าอย่างกว้างที่สุดก็คือภาวะที่สังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ หรือโลกและชีวิต ตกอยู่ใต้อำนาจกฎธรรมดา เป็นของไม่เที่ยงแท้ คงที่ ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ กดดันบีบคั้น และขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตน ที่อยู่ในอำนาจครอบครองบังคับได้จริง จึงขัดขืนความอยากความยึดถือ บีบคั้นใจ ที่ไม่ได้ตามปรารถนา

    สำหรับทุกข์นี้ เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ คือทำความเข้าใจ และกำหนดขอบเขตให้ชัด เหมือนอย่างแพทย์ กำหนดรู้หรือตรวจให้รู้ว่าเป็นอาการโรคอะไร เป็นที่ไหน หน้าที่นี้เรียกว่าปริญญา

    เราไม่มีหน้าที่เอาทุกข์มาครุ่นคิด มาแบกไว้ หรือคิดขัดเคือง เป็นปฏิปักษ์กับความทุกข์ หรือห่วงกังวล อยากหายทุกข์ เพราะคิดอย่างนั้น มีแต่จะทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เราอยากแก้ทุกข์ได้ แต่เราก็แก้ทุกข์ด้วยความอยากไม่ได้ เราต้องแก้ด้วยรู้มัน และกำจัดเหตุของมัน ดังนั้น จะอยากไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพิ่มขึ้น

    ขั้นนี้ นอกจากกำหนดรู้แล้ว ก็เพียงวางใจวางท่าทีแบบรู้เท่าทันคติธรรมดาอย่างที่กล่าวแล้วในขั้นที่ ๑ ของวิธีที่สาม เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ หรือเข้าใจปัญหา เรียกว่า ทำปริญญาแล้ว ก็เป็นอันปฏิบัติหน้าที่ต่อทุกข์ หรือต่อปัญหาเสร็จแล้ว พึงก้าวไปสู่ขั้นที่ ๒ ทันที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2017
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ขั้นที่ ๒ สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ได้แก่ เหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้าสัมพันธ์ขัดแย้งส่งผลสืบทอดกันมา จนปรากฏเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน คับข้อง ติดขัด อึดอัด บกพร่อง ในรูปต่างๆ แปลกๆ กันไป อันจะต้องค้นหาให้พบ แล้วทำหน้าที่ต่อมันให้ถูกต้อง คือ ปหาน ได้แก่ กำจัด หรือละเสีย

    ตัวเหตุแกนกลางที่ยืนพื้น หรือยืนโรงกำกับชีวิตอยู่ คู่กับความทุกข์พื้นฐานของมนุษย์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งระดับตัวแสดงหน้าโรง คือ ตัณหา * (วินย. 4/14/18...) และระดับกระบวน หรือเต็มโรง คือ การสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย เริ่มแต่ อวิชชา ตามหลักปฏิจจสมุปบาท * (แสดงกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท เริ่มแต่อวิชชา เป็นทุกขสมุทัย องฺ.ติก.20/501/227...)

    เมื่อประสบทุกข์ หรือปัญหาจำเพาะแต่ละกรณี ก็คือต้องพิจารณาสืบสาวหาสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใช้วิธีคิดแบบที่ ๑ ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านมนุษย์ ก็พึงนำเอาตัวเหตุแกนกลาง หรือเหตุยืนโรงมาพิจารณาร่วมกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณีด้วย เมื่อสืบค้น วิเคราะห์ และวินิจฉัย จับมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องกำจัดหรือแก้ไขได้แล้ว ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการคิดขั้นที่สอง
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ขั้นที่ ๓ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ ภาวะพ้นปัญหา หมดหรือปราศจากปัญหา เป็นจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา หรือประจักษ์แจ้ง ทำให้เป็นจริง ทำให้สำเร็จ หรือลุถึง
    ในขั้นนี้ จำต้องกำหนดไว้ว่า จุดหมายที่ต้องการคืออะไร การที่ปฏิบัติอยู่นี้ หรือจะปฏิบัติเพื่ออะไร จะทำกันไปไหน จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ เป็นไปได้อย่างไร มีหลักการในการเข้าถึงอย่างไร มีจุดหมายรอง หรือจุดหมายลดหลั่นแบ่งเป็นขั้นตอนในระหว่างได้อย่างไร
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ขั้นที่ ๔ มรรค คือ ทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือวิธีแก้ไขปัญหา ได้แก่ วิธีการ และรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ภาวนา คือปฏิบัติ หรือลงมือทำ

    สิ่งที่พึงทำในขั้นของความคิด ก็คือ กำหนดวางวิธีการ แผนการ และรายการสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่งจะช่วยให้แก้ไขสาเหตุของปัญหาได้สำเร็จ โดยสอดคล้องกับจุดหมายที่ต้องการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...