วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 10 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “ภิกษุทั้งหลาย เหล่าอัญเดียรถีย์ปริพาชก ย่อมบัญญัติความสงัดกิเลส (ปวิเวก) ไว้ ๓ อย่าง ดังนี้ ๓ อย่าง อะไรบ้าง ? คือ ความสงัดกิเลสเพราะจีวร ความสงัดกิเลสเพราะบิณฑบาต ความสงัดกิเลสเพราะเสนาสนะ

    “บรรดาความสงัดกิเลส ๓ อย่างนั้น ในข้อความสงัดกิเลสเพราะจีวร (เครื่องนุ่งห่ม) เหล่าอัญเดียรถีย์ปริพาชก ย่อมบัญญัติสิ่งต่อไปนี้
    คือ
    นุ่งห่มผ้าป่าน บ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกัน บ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพ บ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุล บ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ บ้าง นุ่งห่มหนังเสือ บ้าง นุ่งห่มหนังเสือทั้งเล็บ บ้าง นุ่งห่มคากรอง บ้าง นุ่งห่มเปลือกปอกรอง บ้าง นุ่งห่มผลไม้กรอง บ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคน บ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ร้าย บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้า บ้าง

    “ในข้อความสงัดกิเลสเพราะบิณฑบาต (อาหาร) เหล่าอัญเดียรถีย์ปริพาชก ย่อมบัญญัติสิ่งต่อไปนี้
    คือ
    เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา บ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษา บ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษา บ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษา บ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษา บ้าง มีรำเป็นภักษา บ้าง มีข้าวตังเป็นภักษา บ้าง มีกำยานเป็นภักษา บ้าง มีหญ้าเป็นภักษา บ้าง มีขี้วัวเป็นภักษา บ้าง มีเผือกมันผลไม้ในป่าเป็นภักษาบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเอง ยังชีพ...

    “ในข้อความสงัดกิเลสเพราะเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) เหล่าอัญเดียรถีย์ปริพาชก ย่อมบัญญัติสิ่งต่อไปนี้ คือ ป่า โคนไม้ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่กลางแจ้ง ลอมฟาง โรงลาน...


    “ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้มีความสงัดกิเลส ๓ อย่างต่อไปนี้ ๓ อย่าง อะไรบ้าง
    คือ
    ๑) ภิกษุเป็นผู้มีศีล และความทุศีลเป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว เธอจึงเป็นผู้สงัดจากความทุศีลนั้น

    ๒) ภิกษุเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ และมิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว เธอจึงเป็นผู้สงัดจากมิจฉาทิฏฐินั้น

    ๓) ภิกษุเป็นพระขีณาสพ และอาสวะทั้งหลายเป็นสิ่งที่เธอละได้แล้ว เธอจึงเป็นผู้สงัดจากอาสวะเหล่านั้น....ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ถึงยอด เป็นผู้ถึงแก่น บริสุทธิ์ ดำรงมั่นอยู่ในแก่นสาร * (องฺ.ติก. 20/533/310)
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิภัชชวาทตามบาลีที่ยกมาแสดงเป็นตัวอย่างในที่นี้ ให้ข้อคิดเพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า การลอกคัดตัดความสั้นๆ จากพระไตรปิฎกมายืนยันทัศนะเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา บางครั้ง ทำให้ผู้อ่านผู้ฟัง มองเห็นคำสอนเพียงบางส่วน บางแง่ ที่ไม่สมบูรณ์ และทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างผิดพลาด

    ผู้แสดงคำสอนของพระพุทธศาสนา จึงควรลอกคัดอ้างความด้วยด้วยความระมัดระวัง

    รู้จักเลือกว่า คำสอนอย่างใดแสดงหลักทั่วไปอย่างกว้างๆ ของพระพุทธศาสนา

    คำสอนอย่างใด แสดงลักษณะคำสอนเฉพาะแง่ เฉพาะด้าน เฉพาะกรณี หรือมีเงื่อนไข ซึ่งควรนำมาแสดงหลายแง่หลายด้าน ให้เห็นครบถ้วน หรือชี้แจงกรณีและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้อ่านผู้ฟังทราบด้วย จะได้มองเห็นภาพของพระพุทธศาสนา อย่างถูกต้องตามเป็นจริง

    (พุทธธรรมแต่หน้า 660 ไป)
     

แชร์หน้านี้

Loading...