วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 13 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เรื่องต่อเนื่องกัน ที่ลงแล้ว มี ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง

    ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร + โยนิโสมนสิการ

    http://palungjit.org/threads/ความสำคัญของการมีกัลยาณมิตร-คุณสมบัติของกัลยาณมิตร.612745/

    ต่อ ศรัทธา

    http://palungjit.org/threads/หลักศรัทธา.613100/

    แจงรวมๆโยนิโสฯ ฐานะความคิด...

    http://palungjit.org/threads/คำนำ-โยนิโสมนิสิการ-ฐานะความคิดในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี.613075/

    upload_2017-6-13_18-7-31.jpeg

     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

    วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ก็คือการนำเอาโยนิโสมนสิการมาใช้ในทางปฏิบัติ หรือโยนิโสมนสิการที่เป็นภาคปฏิบัติ

    วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หรือเรียกสั้นๆว่า วิธีโยนิโสมนสิการนี้ แม้จะมีหลายอย่างหลายวิธี แต่เมื่อว่าโดยหลักการ ก็มี ๒ แบบ คือ
    - โยนิโสมนสิการที่มุ่งสกัดหรือกำจัดอวิชชาโดยตรง
    - โยนิโสมนสิการที่มุ่งสกัดหรือบรรเทาตัณหา

    โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรงนั้น ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้

    ส่วนโยนิโสมนสิการแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา มักใช้เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆ ซึ่งมุ่งเตรียมพื้นฐานหรือพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรม ให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นเพียงขั้นขัดเกลากิเลส แต่โยนิโสมนสิการหลายวิธีใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองอย่าง คือ ทั้งกำจัดอวิชชา และบรรเทาตัณหาไปพร้อมกัน

    วิธีโยนิโสมนสิการเท่าที่พบในบาลี พอประมวลเป็นแบบใหญ่ๆ ได้ ดังนี้

    ๑. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
    ๒. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
    ๓. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์
    ๔. วิธีคิดแบบอริสัจ/คิดแบบแก้ปัญหา
    ๕. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์
    ๖. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก
    ๗. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม
    ๘. วิธีคิดแบบเร้ากุศล
    ๙. วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน
    ๑๐. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (ลงแล้ว)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เข้าเรื่อง

    วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์

    วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือมองอย่างรู้เท่าทันความเป็นอยู่เป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นๆตามธรรมดาของมันเอง โดยเฉพาะก็มุ่งที่ประดาสัตว์ และสิ่งที่คนทั่วไปจะรู้เข้าใจถึงได้ ในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆปรุงแต่งขึ้นจะต้องเป็นไป ตามเหตุปัจจัย

    ธรรมดาที่ว่านั้น ได้แก่ อาการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องดับไปไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ไม่คงอยู่ตลอดไป เรียกว่าเป็นอนิจจัง

    ธรรมดานั้นเช่นกัน คืออาการที่ปัจจัยทั้งหลายทั้งภายใน และภายนอกทุกอย่าง ต่างก็เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเสมอเหมือนกัน เมื่อเข้ามาสัมพันธ์กัน จึงเกิดความขัดแย้ง ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีสภาวะถูกบีบคั้นกดดัน ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ จะต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนสลายเรียกว่าเป็นทุกข์

    ธรรมดานั้นเอง มีพร้อมอยู่ด้วยว่า ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นสภาวะ คือมีภาวะของมันเอง ดังเช่นเป็นสังขารที่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันก็ไม่อาจเป็นของใคร ไม่อาจเป็นไปตามความปรารถนาของใคร ไม่มีใครเอาความคิดความอยากบังคับมันได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองมันได้จริง เช่นเดียวกับที่ไม่อาจมีตัวตนขึ้นมา ไม่ว่าข้างนอกหรือข้างในมัน ที่จะสั่งการบัญชาบังคับอะไรๆ ได้จริง เพราะมันเป็นอยู่ของมันตามธรรมดาโดยเป็นสังขารที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปตามความอยากของใคร เรียกว่าเป็นอนัตตา

    รวมความคือ รู้เท่าทันว่า สิ่งทั้งหลายที่รู้จักเข้าใจไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น เป็นธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะความเป็นไปโดยทั่วไปเสมอเหมือนกันตามธรรมดาของมัน ในฐานะที่เป็นของปรุงแต่ง เกิดจากเหตุปัจจัย และขึ้นต่อเหตุปัจจัยทั้งหลายเช่นเดียวกัน
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีคิดแบบสามัญลักษณะนี้แบ่งได้เป็น ๒ ขั้นตอน

    ขั้นที่หนึ่ง คือรู้เท่าทัน และยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่งปัญญา ท่าทีแห่งความเป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว

    แม้เมื่อประสบสถานการณ์ที่ไม่ปรารถนา หรือมีเรื่องราวไม่น่าพึงใจเกิดขึ้นแล้ว คิดขึ้นได้ว่า สิ่งนั้นๆ เหตุการณ์นั้นๆ เป็นไปตามคติธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คิดได้วอย่างนี้ ก็เป็นท่าทีแห่งการปลงตก ถอนตัวขึ้นได้ หายจากความทุกข์ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง

    ไวขึ้นไปอีก เมื่อประสบสถานการณ์มีเรื่องราวเช่นนั้นเกิดขึ้น เพียงตั้งจิตสำนึกขึ้นได้ในเวลานั้นว่า เราจะมองตามความเป็นจริง ไม่มองตามอยากให้เป็นหรืออยากไม่ให้เป็น การที่จะเป็นทุกข์ ก็ผ่อนคลายลงทันที เพราะเปลื้องตัวเป็นอิสระได้ ไม่เอาตัวเข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ (ความจริงคือไม่สร้างตัวตนขึ้นให้ถูกกดุถูกบีบ)

    ขั้นที่สอง คือ แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยความรู้เท่าทัน เป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว

    ความหมายในข้อนี้คือ เมื่อรู้อยู่แล้วว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย เราต้องการให้เป็นไปอย่างไร ก็ศึกษาให้รู้เข้าใจเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่จะทำให้มันเป็นอย่างนั้น แล้วแก้ไข ทำการ จัดการที่ตัวเหตุปัจจัยเหล่านั้น เมื่อทำเหตุปัจจัยพร้อมบริบูรณ์ที่จะให้มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมบริบูรณ์ที่จะให้มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เมื่อเหตุปัจจัยไม่พร้อมที่จะให้เป็น ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะไม่เป็นอย่างนั้น กล่าวสั้น คือ แก้ไขด้วยความรู้ และแก้ที่ตัวเหตุปัจจัย ไม่ใช่แก่ด้วยความอยาก

    ในทางปฏิบัติ ก็เพียงแต่กำหนดรู้ความอยากของตน และกำหนดรู้เหตุปัจจัย แล้วแก้ไข กระทำการที่เหตุปัจจัย เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ถอนตัวเป็นอิสระได้ ไม่ถูกความอยากพาตัว (ความจริงคือตัวสร้าง) เข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ เป็นการปฏิบัติไม่ถูกมัดตัว เป็นอันว่า ทั้งทำการตรงตามเหตุปัจจัย และทั้งปล่อยให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นวิธีปฏิบัติที่ทั้งได้ผลดีที่สุด และตนเองก็ไม่เป็นทุกข์

    การปฏิบัติตามวิธีคิดแบบที่ ๓ ในขั้นที่สองนี้ สัมพันธ์กับวิธีคิดแบบที่ ๔ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า กล่าวคือ ใช้วิธีคิดแบบที่ ๔ มารับช่วงต่อไป
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    ในการเจริญวิปัสสนา ตามประเพณีปฏิบัติซึ่งได้วางกันไว้เป็นแบบแผนดังบรรยายไว้ในขั้นอรรถกถา ท่านถือหมวดธรรม คือ วิสุทธิ ๗ เป็นแม่บท * (รถวินีตสูตร ม.มู.12/292-300/287-297) เอาลำดับญาณที่แสดงไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์เป็นมาตรฐาน * (ญาณกถา ขุ.ปฏิ.31/1/1; 99-111/76-82) และยึดวิธีจำแนกปรากฏการณ์โดยนามรูปเป็นข้อพิจารณาขั้นพื้นฐาน

    ตามหลักการนี้ ท่านได้จัดวางข้อปฏิบัติ คือ การเจริญวิปัสสนานั้น เป็นระบบที่มีขั้นตอนแน่นอนต่อเนื่อง เป็นลำดับ และวิธีคิด ๓ แบบที่กล่าวมาแล้วนี้ ท่านก็นำไปจัดเข้าเป็นขั้นตอนอยู่ในลำดับด้วย โดยจัดให้เป็นวิธีคิดพิจารณาที่ต่อเนื่องเป็นชุดเดียวกัน แต่ลำดับของท่านนั้น ไม่ตรงกับลำดับข้อในที่นี้ทีเดียวนัก กล่าวคือ * (ดูวิสุทธิ.3/206-274; สงฺคห.54-55)


    ลำดับที่ ๑ ใช้ วิธีคิดแบบแยกแยะ หรือวิเคราะห์องค์ประกอบ (วิธีที่ ๒) กำหนดแยกปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม จำพวกรูปมีอะไรบ้าง จำพวกนามมีอะไรบ้าง มีลักษณะ มีคุณสมบัติเป็นอย่างไรๆ เรียกว่าขั้น นามรูปวิเคราะห์ บ้าง นามรูปววัตถานบ้าง นามรูปปริจเฉท หรือสังขารปริเฉท บ้าง และจัดเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ (วิสุทธิที่ ๓)

    ลำดับที่ ๒ ใช้ วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (วิธีที่ ๑) พิจารณาค้นหาเหตุปัจจัยของนามและรูปนั้น ในแง่ต่างๆ เช่น พิจารณาตามแนวปฏิจจสมุปบาท พิจารณาตามแนวอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม และอาหาร พิจารณาตามแนวกระบวนการรับรู้ (เช่น จักขุวิญญาณ อาศัยจักขุ กับ รูปารมณ์ เป็นต้น) พิจารณาตามแนวกรรมวัฏฏ์วิปากวัฏฏ์ เป็นต้น แต่รวมความแล้ว ก็อยู่ในขอบเขตของปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เป็นแต่แยกบางแง่ออกไปเน้นพิเศษ

    ขั้นนี้ เรียกว่า นามรูปปัจจัยปริคคหะ หรือเรียกสั้นๆว่า ปัจจัยปริคคหะ (ปัจจัยปริเคราะห์) เมื่อทำสำเร็จ เกิดความรู้เข้าใจ ก็เป็น ธรรมฐิติญาณ หรือยถาภูตญาณ หรือสัมมาทัสสนะ จัดเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ (วิสุทธิที่ ๔)

    ลำดับที่ ๓ ใช้ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา หรือวิธีคิดโดยสามัญลักษณ์ (วิธีที่ ๓) นำเอานามรูป หรือสังขารนั้นมาพิจารณา ตามหลักแห่งคติธรรมดาของไตรลักษณ์ ให้เห็นภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง ถูกปัจจัยขัดแย้งบีบคั้น เป็นทุกข์ ไม่มีไม่เป็นโดยตัวของมันเอง ใครๆเข้ายึดถือเป็นเจ้าของครอบครอง บังคับด้วยความอยากไม่ได้ เป็นอนัตตา

    ข้อนี้ เรียกว่า สัมมสนญาณ เป็นตอนเบื้องต้นของ มัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ (วิสุทธิข้อที่ ๕)
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ข้อความอ้างจากบาลี ซึ่งใช้วิธีคิดแบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ พิจารณาไปพร้อมๆกัน ขอยกมาให้ดูเพียงเล็กน้อย พอเป็นตัวอย่าง

    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ซึ่งรูป และจง
    พิจารณาเห็นอนิจจตา แห่งรูปตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งเวทนา และจง
    พิจารณาเห็นอนิจจตา แห่งเวทนาตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งสัญญา และจง
    พิจารณาเห็นอนิจจตา แห่งสัญญาตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งสังขาร และจง
    พิจารณาเห็นอนิจจตา แห่งสังขารตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งวิญญาณ และจงพิจารณาอนิจจตา แห่งวิญญาณตามความเป็นจริง.."* (สํ.ข.17/104/64)

    "ภิกษุผู้มีสุตะ พึงมนสิการโดยแยบคาย ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของถูกปัจจัยบีบคั้น...โดยความเป็นของมิใช่อัตตา..." * (สํ.ข.17/315/205 วิธีพิจารณาแบบนี้ พึงดูได้ในพระไตรปิฎกบาลีเล่ม ๑๗ เกือบตลอดเล่ม และมีกระจายอยู่มากในเล่มอื่น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พุทธพจน์ต่อไปนี้ แสดงการคิดแบบสืบสาวหาเหตุ ต่อด้วยการคิดแบบสามัญลักษณ์ เพื่อวัตถุประสงค์แห่งการรู้เท่าทันตามความเป็นจริง ให้ใจเป็นอิสระ มิให้เกิดทุกข์

    "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด

    "เมื่อเธอทั้งหลาย จะเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง...มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่ ก็พึงพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลาย เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแดนเกิด

    "ภิกษุทั้งหลาย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลาย เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแดนเกิด ?
    ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ขาดสุตะ (ไม่ได้เรียนรู้) มิได้พบเห็นอริยชน ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้ศึกษาในอริยธรรม มิได้พบเห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้ศึกษาในสัปปุริสธรรม ย่อมมองเห็นรูปเป็นตน มองเห็นตนมีรูป มองเห็นรูปในตน หรือมองเห็นตนในรูป รูปของเธอนั้นผันแปรไป กลายเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะการที่รูปผันแปรไป กลายเป็นอื่น

    "เขามองเห็นเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ (เป็นอัตตา เป็นต้น อย่างที่กล่าวแล้ว) โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะการที่เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ผันแปรไป กลายเป็นอื่น

    "ส่วนภิกษุรู้ชัดว่ารูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง แปรปรวนได้ จางหายดับสิ้นได้ มองเห็นตามเป็นจริงด้วยสัมมาปัญญาอย่างนี้ว่า รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ทั้งปวง ล้วนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้งในกาลก่อน ทั้งในบัดนี้ ก็เช่นเดียวกัน

    เธอย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลายได้ เพราะละโสกะ เป็นต้น นั้นได้ เธอย่อมไม่ต้องหวั่นหวาดเสียวใจ เมื่อไม่หวั่นหวาดเสียวใจ ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรียกได้ว่า ตทังคนิพพานแล้ว" * (สํ.ข.17/87-88/53-55 ตทังคนิพพาน = นิพพานเฉพาะกรณี)

    (พุทธธรรมแต่หน้า 631ไป)
     

แชร์หน้านี้

Loading...