วิธีถอนอวิชชา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 10 สิงหาคม 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ท่านว่าปัจจยาการมีแยกเป็นสองนัย คือที่แสดงไว้ในตำรานั้น ท่านแสดงเป็นความเกี่ยวโยงแห่งความเจริญของอวิชชา หนึ่ง แสดงความดับไปโดยลำดับแห่งอวิชชาจนไม่เหลือหลอ หนึ่ง ถ้าเทียบก็เหมือนแบบแปลนแผนผังของบ้านเรือนที่ผู้จะปลูกบ้านสร้างอาคารใด ๆ จำต้องทำตามแปลนที่นายช่างทำเป็นแบบไว้แล้ว จนสำเร็จรูปเป็นบ้านเรือนขึ้นมา แม้การรื้อถอนบ้านเรือนจะไม่มีแปลนบอกไว้เหมือนวิธีการดับอวิชชาก็ตาม แต่ผู้รื้อถอนก็ย่อมคำนึงถึงวิธีการรื้อถอนด้วยสติปัญญาอันเป็นธรรมคู่ควรแก่เหตุผลด้วยดีก่อนทำการ

    อวิชชาในตำราเป็นเพียงความบอกเล่าว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ จนถึง สมฺภวนฺติ เป็นฝ่ายสมุทัยล้วน ๆ และการดับอวิชชาเพียงอันเดียว สังขาร วิญญาณ นามรูป ฯ ย่อมดับไปตาม ๆ กัน ไม่มีกิเลสตัวใดเหลืออยู่พอจะเป็นเชื้อแห่งภพชาติต่อไป อันเป็นฝ่ายนิโรธ ดังบทสุดท้ายแห่งอวิชชาว่า นิรุชฺฌนฺติ ทั้งฝ่ายส่งเสริมอวิชชาให้ติดต่อก่อแขนงกลายเป็นภพชาติ เป็นสัตว์เป็นบุคคล จนถึงความชราคร่ำคร่าและสลายไปในที่สุด ทั้งฝ่ายบำราบปราบปรามอวิชชาให้สิ้นไปจากใจ หมดการต่อภพต่อชาติ ดังท่านที่ทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการดับอวิชชามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

    ทั้งสองนัยนี้ท่านแสดงเรื่องหรือโครงร่างความเป็นไปของอวิชชา และการดับอวิชชาไว้เท่านั้น มิได้แสดงวิธีส่งเสริมอวิชชาว่าทำอย่างไร อวิชชาจึงมีกำลังกำเริบถึงกับพาสัตว์ให้เกิดตายไม่มีที่สิ้นสุดไว้ และมิได้แสดงวิธีการระงับดับอวิชชาว่าทำอย่างไร อวิชชาจึงถูกตัดกำลังลงโดยลำดับ จนดับไปจากใจโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถทำใจที่อวิชชาไปปราศแล้วให้เกิดตายต่อไปอีกได้ ในปัจจยาการที่แสดงไว้ก็มีเพียงเท่านี้ท่านว่า

    ผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดอวิชชาให้สิ้นไป จำต้องยึดอริยสัจสี่หรือสติปัฏฐานสี่อันเป็นที่รวมแห่งอวิชชาเป็นทางดำเนิน ท่านเองว่าเมื่อจิตก้าวขึ้นสู่ความว่างเปล่าจากรูปธรรมทั้งหลายแล้ว ก็มีแต่ตามติดสังขารความปรุงของใจกับวิญญาณที่สัมผัสรับรู้จากสิ่งต่าง ๆ และเวทนาจิตที่แสดงผลให้ปรากฏจากการปรุงการรับรู้ทางวิญญาณ ด้วยสติกับปัญญาที่มีอยู่ในที่แห่งเดียวกันเท่านั้น เพราะสังขารก็ปรุงจากจิต วิญญาณก็รับทราบจากจิต ต่างก็ดับลงที่จิต เมื่อสติตามทันปัญญาค้นพบสาเหตุและวิพากษ์คลี่คลายทันกับเหตุการณ์ สิ่งเหล่านั้นย่อมกำเริบรุนแรงไปไม่ได้ การตามรู้สังขารวิญญาณว่าปรุงเรื่องอะไร รับทราบเรื่องอะไร เพียงเท่านั้นยังไม่สากับใจที่มีสติปัญญาอัตโนมัติเป็นพี่เลี้ยงอยู่ตลอดเวลาไม่เผลอตัว ยังสามารถขุดค้นลงถึงต้นตอที่เกิดแห่งสังขารและวิญญาณอีกว่าเกิดมาจากที่ไหน อะไรเป็นเครื่องผลักดันให้เกิดอยู่ไม่หยุดไม่ถอย ตัวที่ผลักดันนี้คือตัวอวิชชาแท้

    การพิจารณาอวิชชาเพื่อถอนรากถอนโคนจริง ๆ จึงอยู่ที่ตรงนี้ คือ ขุดค้นลงที่ใจอันเป็นเรือนรังของอวิชชาฝังจมอยู่นั่นแล จึงเห็นตัวอวิชชาแตกกระจายสลายตัวลงในขณะที่มหาสติมหาปัญญาเข้าถึงตัว นี้คือการพิจารณาอวิชชาแท้ และคือวิธีการถอดถอนอวิชชาออกจากใจตามทางมรรคทางผลที่พระศาสดาทรงสั่งสอนไว้แท้ ไม่เพียงไปอ่านแต่แบบแผนตำรับตำราแล้วก็มาถกเถียงกันจนตาดำตาแดงหาที่สิ้นสุดยุติมิได้ พอให้อวิชชารำคาญและหัวเราะเปล่า ๆ โดยไม่มีกิเลสแม้ตัวเดียวที่ถูกกระทบกระเทือนจากการถกเถียงกันพอผิวถลอกปอกเปิกไปบ้างเลย เราเป็นชาวพุทธที่มีศาสดาองค์เอกเป็นครูสั่งสอน จึงควรมีเหตุมีผลเป็นเครื่องตามเสด็จบ้าง อย่ามีแต่ทิฐิมานะความรู้ความเห็นดิ่งลงไปถ่ายเดียว ทำนองกิเลสบาปธรรมทั้งหลายอยู่ในตำรา แล้วก็มาถกเถียงกันแทนการแก้กิเลส สิ่งที่ได้รับจึงมักมีแต่ลมปากไม่มีเนื้อมีหนังติดมือมาบ้างเลย ถ้าเป็นทำนองนี้เรียนมากเท่าไรรู้มากเท่าไร ขึ้นเวทีโต้เถียงจัดเจนเพียงไร ก็ยิ่งเหลวไปเพียงนั้น ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายของปราชญ์ตามทางศาสดาและศาสนธรรมเลย

    อวิชชาตัณหาจริง ๆ มันอยู่ที่ใจ สร้างโครงร่างขึ้นที่ใจคนใจสัตว์ และทำการระงับดับลงที่ใจเรานี่เท่านั้น ไม่มีที่อื่นเป็นที่เกิดและสร้างโครงร่างตลอดความดับของอวิชชาตัณหาทั้งมวล ขณะอวิชชาดับลงอย่างราบคาบแล้วนั่นแล จึงเห็นความโง่ความหลงงมงายของตัวของมนุษย์และของสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ใต้อำนาจแห่งความบังคับทรมานของมัน ว่าแสนโง่แสนลำบากตลอดกาล แม้จะมีความสุขบ้างก็ชั่วขณะราวฟ้าแลบเท่านั้น แต่สัตว์โลกก็หลงพอใจกันและอยู่กันอย่างเพลิดเพลิน ไม่คิดถึงภัยว่าจะมีแก่ตัวหนักเบามากน้อยเพียงไร

    คน ๆ เดียวกัน จิตดวงเดียวกัน เมื่อถูกขัดเกลาด้วยดีจนเต็มภูมิแล้ว ย่อมผิดกันอยู่มากยิ่งกว่าฟ้ากับดิน จิตที่พ้นจากอำนาจอวิชชานั้นเป็นจิตที่ไม่อยู่ในขอบเขตแห่งข้อบังคับของสิ่งใดในโลกสมมุติ เป็นจิตที่ทรงอิสระสุดส่วน เกินความคาดหมายที่จะด้นเดาได้ถูก นั่นแลที่ท่านเรียกว่าแดนแห่งความเกษมสำราญ เป็นภูมิของท่านผู้ทรงอำนาจเหนือสมมุติทรงไว้และเสวยกัน ถ้าอยากรู้อยากเห็นก็อย่าพากันขี้เกียจอันเป็นเหยื่อล่อของกิเลสตัณหาอวิชชาทั้งมวล เราเป็นภิกษุบริษัทที่พร้อมแล้วทุกอย่าง จงพากันตื่นตัว อย่ามัวเอากิเลสออกอวดกัน ด้วยอากัปกิริยาที่ขัดต่อธรรมเครื่องนำออกจากกองทุกข์ จะเสียชาติที่เกิดซึ่งเป็นภาชนะที่เหมาะแก่ศาสนธรรมอยู่แล้ว ในชาติและเพศที่เป็นอยู่ขณะนี้

    คัดลอกจากปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    ขออภัยต่อผู้ที่เขียนกระทู้ และต้องขออภัยต่อท่านทั้งหลายที่ได้เข้ามาอ่าน เอาไว้ล่วงหน้า เพราะเหตุที่ว่า ข้าพเจ้าอาจจะมีความคิด หรือมีความรู้ที่ผิดแปลกแตกต่างจากที่เจ้าของกระทู้ได้นำมากล่าวไว้ และหรือ ข้าพเจ้าอาจมีความรู้ ความเข้าใจที่ทันสมัยกว่า แลเป็นไปตามหลักสรีระร่างกายมากกว่า ผู้ที่ได้เขียนหรือรู้มากกว่าตำราที่ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้มา

    อวิชชา คือ ความไม่รู้
    วิชชา คือ ความรู้
    ไม่ว่าจะมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ ล้วนเป็นปัจจัยแห่ง การปรุงแต่ง(สังขาร)ทั้งสิ้น
    การปรุงแต่ง ภายในร่างกาย ย่อมทำให้เกิด ธรรมชาติรับรู้อารมณ์ เป็นธรรมดาของ ระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
    อวิชชา คือ ความไม่รู้ ย่อมถูกขจัดออกไปจากร่างกาย ก็ด้วย วิชชา คือ ความรู้ แล้วรู้อะไรบ้างละจึงจะขจัดอวิชชา คือ ความไม่รู้
    ถ้าจะยกเอาหลักการของจีน คือ ซุนวู มาเป็นเครื่องอธิบาย ก็ต้องกล่าวว่า" รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" เพราะถ้าหากข้าพเจ้าจะอธิบายเรื่องการขจัดอวิชชา ด้วย วิชชา ก็คงต้องร่ายกันยาวซึ่งอาจจะมีข้อตกหล่น ดังนั้นจึงเอาเพียงสั้นๆเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาด้วยตัวของท่านทั้งหลาย ใครจะได้ความรู้ ได้ความเข้าใจกี่มากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ สมองสติปัญญาของแต่ละบุคคลแล้วขอรับ
     
  3. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    วิชชา คือ ความรู้ อย่างที่กล่าวข้างต้น ปธ.9 ประโยค ก็คงเป็นอรหันต์กันหมดแล้ว
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การพิจารณาอวิชชาเพื่อถอนรากถอนโคนจริง ๆ จึงอยู่ที่ตรงนี้ คือ ขุดค้นลงที่ใจอันเป็นเรือนรังของอวิชชาฝังจมอยู่นั่นแล จึงเห็นตัวอวิชชาแตกกระจายสลายตัวลงในขณะที่มหาสติมหาปัญญาเข้าถึงตัว นี้คือการพิจารณาอวิชชาแท้ และคือวิธีการถอดถอนอวิชชาออกจากใจตามทางมรรคทางผลที่พระศาสดาทรงสั่งสอนไว้แท้ ไม่เพียงไปอ่านแต่แบบแผนตำรับตำราแล้วก็มาถกเถียงกันจนตาดำตาแดงหาที่สิ้นสุดยุติมิได้ พอให้อวิชชารำคาญและหัวเราะเปล่า ๆ โดยไม่มีกิเลสแม้ตัวเดียวที่ถูกกระทบกระเทือนจากการถกเถียงกันพอผิวถลอกปอกเปิกไปบ้างเลย เราเป็นชาวพุทธที่มีศาสดาองค์เอกเป็นครูสั่งสอน จึงควรมีเหตุมีผลเป็นเครื่องตามเสด็จบ้าง อย่ามีแต่ทิฐิมานะความรู้ความเห็นดิ่งลงไปถ่ายเดียว ทำนองกิเลสบาปธรรมทั้งหลายอยู่ในตำรา แล้วก็มาถกเถียงกันแทนการแก้กิเลส สิ่งที่ได้รับจึงมักมีแต่ลมปากไม่มีเนื้อมีหนังติดมือมาบ้างเลย ถ้าเป็นทำนองนี้เรียนมากเท่าไรรู้มากเท่าไร ขึ้นเวทีโต้เถียงจัดเจนเพียงไร ก็ยิ่งเหลวไปเพียงนั้น ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายของปราชญ์ตามทางศาสดาและศาสนธรรมเลย

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  5. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ...........ในวงจร ปฏิจจสมุปบาท นั้นการตัดวงจร ปฏิจจสมุปบาท ท่านทรงให้ตัดที่ อวิชชา คือทำให้แจ้งซึ่งวิชชานั้นเอง
    ............กรรบรรลุธรรมก็ดี มีดวงตาเห็นธรรมก็ดี คำว่าปัญญาญาณก็ดี ล้วนเป็นคำเดียวกันคือ รู้แจ้งซึ่งวิชชา เมื่อรู้แจ้งวิชชา อวิชชาก็หายไป
    .........วิธีรู้แจ้งซึ่งวิชชาก็คือ ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณนั้นเอง การทำให้เกิดวิปัสสนาญาณก็ต้องทำสติปัฏฐานสี่ ให้มีตัวสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ตัวสัมปชัญญะ จะนำไปสู่ตัวญาณ ตัวญาณไม่ใช่ตัวจิต แต่ผู้รู้อีกตัวหนึ่ง ซึ่งตัวนี้รู้แจ้งความจริง อริยสัจสี รู้ว่อาตัวขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ ไม่ควรยึดเอาว่าเป็นเราเป็นของเรา พองตัวญาณรู้แค่แวบเดียวก็เกิดวิชชา เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เพราะตัวญาณไม่ยึดเอาตัวจิตว่าเป็นสาระแก่นสาร
    ..........สรูป วิชชาก็คือการรู้ในระดับญาณ ว่าขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์
     
  6. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    การที่บุคคลจะสามารถบรรลุชั้นอริยะบุคคลตามหลักพุทธศาสนาได้ มิใช่ว่า จะมีเพียงแค่ วิชชา หรือ ความรู้ เพียงอย่างเดียว บุคคลนั้นๆ จักต้องสามารถปฏิบัติ หรือ รู้จักการปฏิบัติตามหลักวิชชาหรือความรู้นั้นๆด้วย จึงจะสามารถบรรลุสู่ชั้นอริยะบุคคลได้
    คุณ กรุณาให้วิจารณญาณในการอ่าน ในการทำความเข้าใจให้ดีนะขอรับ
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อ้าว...

    telwada ไม่รู้จักหลวงปู่มั่น หรอกหรือ?
     
  8. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    อวิชชา คือ ความไม่รู้ ไม่รู้อะไรกันเล่าขอรับ
    อวิชชา คือ ความไม่รู้ คือไม่รู้ว่า ทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น มีต้นตอมาจากอะไร พอไปอ่านในพระไตรปิฎก กลับพบว่า
    ทุกข์ คือ 1.สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2.สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ฯ)
    ทุกข์ คือ ความพลัดพรากจากคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ
    ทุกข์ คือ ความอยากเป็น ไม่อยากเป็น อยากได้ ไม่อยากได้
    ซึ่ง แท้จริงแล้ว ความในพระไตรปิฎกดังกล่าว หาใช่เหตุแห่งความทุกข์ที่แท้จริง ไม่
    ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป มิใช่เป็นการปรมาส พระไตรปิฎก แต่ถ้าหากทุกท่าน ได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาก็จะพบว่า ทุกข์ ทั้งหลายที่เกิดกับมนุษย์(หมายเอาเฉพาะมนุษย์) มีต้นตอจากอะไร แต่ย่อมไม่ใช่ การพลัดพราก หรือ อื่นๆ ทำให้เกิดทุกข์ เพราะต้นเหตุแห่งความทุกข์ที่แท้จริงนั้น ก็คือ ....ถึงตอนนี้เขียนต่อไม่ได้ เพราะ เนื่องจาก หลักธรรมที่ข้าพเจ้ามีอยู่ จะไปขัดกับ พระไตรปิฎก ในทางศาสนาพุทธ ซึ่ง ข้าพเจ้าเคยบอกให้บรรจุหลักธรรมแห่งข้าพเจ้าเข้าไว้ในพระไตรปิฎก แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะความศรัทธา ของมนุษย์บางกลุ่มบางคน ชอบศรัทธาในสิ่งที่ไม่ใช่หลักความจริง หรือชอบหรือศรัทธาในสิ่งที่ตัวเองค้นหาความจริงไม่ได้ ฉะนี้
     
  9. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,302

    รออ่านอยู่คะ ทุกข์ที่แท้จริงคืออะไร ท่าน telwada
     
  10. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่า ถ้าสามสิ่งนี้ไม่มีในโลกพระพุทธองค์ก็ไม่รู้จะอุบัติขึ้นมาเพื่ออะำไร นั้นคือความแก่ ความเจ็บ ความตาย นี้คือตัวทุกข์สำหรับมนุษย์ที่แท้จริง
     
  11. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    นั่น เก่งกว่าพระพุทธเจ้าเสียด้วย
     
  12. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,096
    ลองผลิตพระไตรปิฎกฉบับใหม่ในหลักทางของท่านดูก็ได้นี่ครับ จะได้ไม่ขัดแย่งกับหลักการที่ถูกต้องทางพุทธศาสนา!
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะแม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธาควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่
    บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้
    บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
    ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓
    ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์
    ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
    วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๑๐๔/๓๓๓
     

แชร์หน้านี้

Loading...