วิธีป้องกันอกุศลวิตก : พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 23 สิงหาคม 2012.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    วิ ธี ป้ อ ง กั น อ กุ ศ ล วิ ต ก
    พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)* วัดบวรนิเวศวิหาร

    วิธีป้องกัน อกุศลวิตก ก็คือป้องกันที่ทวารเหล่านี้
    คือ ป้องกันที่ทวารหู ตาจมูก ลิ้น กาย และใจ
    ป้องกันมิให้สิ่งเหล่านี้ผ่านเข้ามา
    เหมือนกับตั้งป้อมปราการไว้ที่ประตูทั้ง ๖ เหล่านี้
    ปิดประตูใส่ลิ่มสลักไม่ให้อะไรผ่านเข้ามาถึงจิตได้ด้วย

    สลักคือสติ เอาสติไปคุมไว้ที่ประตู
    สติ เตสํ นิวารณํ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย

    กระแสรูป กระแสเสียง กระแสกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่จะผ่านเข้ามา
    เอาสติกันไว้ คือให้รู้ตัวอยู่ว่า สิ่งเหล่านี้มันจะเข้ามา
    มันกระทบนั้นกระทบแน่

    ตามันต้องกระทบรูป
    รูปต้องกระทบตาตามปกติอยู่แล้ว
    แต่ว่าเห็นแล้วนี้จะเข้ามาทำลายเราหรือเปล่า

    เอาสติไปกั้นไว้ รู้ตัวอยู่เสมอว่าสิ่งเหล่านี้
    เมื่อเราไปยินดีรักใครชอบใจแล้ว
    เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ รู้ตัวอยู่
    แต่ว่าตัวพิจารณาให้เห็นว่าเป็นตัวให้เกิดทุกข์นั้น
    ก็คือตัวปัญญา ปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ด้วยปัญญา

    ปัญญเยเต ปิถิยฺยเร ปิดกั้นกระแสเหล่านั้นได้ด้วยปัญญา
    คือ สติ นั้นให้รู้ตัวอยู่ แล้วก็เอา ปัญญา ไปพิจารณา
    คือ ความเห็นชอบ สัมมาทิฏฐินั้นคือมีสติรู้ตัว
    และมีปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของ
    รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ เหล่านั้น
    และมีขันติอดใจอดกลั้น

    กระแสของกิเลสที่มันทำให้อยากได้
    รูป เสียง กลิ่น รส อยากได้สัมผัส
    อดใจให้ได้ รู้ตัวและใช้ปัญญาแล้ว
    พิจารณาให้เห็นแล้ว มีขันติระงับจิตระงับใจให้อยู่

    และใช้วิริยะคือความเพียร
    คือสังวรประธาน คือ ความสำรวม
    ที่เรียกว่าประธาน ๔ นั้น
    ที่สังวรประธานเป็นข้อต้น
    คือความเพียรในสังวรมิให้กิเลสเกิดขึ้น

    ในขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส
    กายถูกต้องโผฏฐัพพะ คือสัมผัส
    อันนี้เป็นวิธีการป้องกัน
    ใช้สติ ใช้ปัญญา ใช้สติ ใช้สังวรประธานในความเพียร ๔ ข้อ
    ข้อแรกสังวรประธาน เพียรระวังมิให้กิเลสมันเกิดขึ้น

    กามคุณทั้ง ๕ นี้ทุกคนต้องประสบหมายความว่า
    มีตาเราก็ต้องเห็นรูป มีหูก็ต้องได้ยินเสียง
    มีจมูกก็ต้องได้กลิ่น มีลิ้นก็ต้องลิ้มรส มีกายก็ต้องได้สัมผัส
    สิ่งเหล่านั้นย่อมมีเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว

    แต่ว่าเมื่อมันมากระทบแล้ว
    ตากระทบรูปแล้ว หูได้ยินเสียงแล้ว เป็นต้นนี้
    ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ก่อทุกข์เกิดขึ้น
    ทำอย่างไรถึงจะไม่เกิดโทษแก่เรา
    อันนี้ก็คือ ใช้ สติ ใช้ ปัญญา ใช้ ขันติ ใช้ สังวรประธาน

    ความจริงนั้นเราไม่อยากได้
    ทุกข์โศกนั้นเราไม่อยากได้
    เมื่อไม่อยากได้แล้วก็ต้องทำมันไม่ให้เกิด
    อันนี้นับเป็นข้อสำคัญ

    หมายความว่าเราไม่อยากได้ แต่เราไม่ทำ
    ไม่ทำเหตุที่มันจะทำให้เกิดทุกข์
    คือเอากิเลสเข้าไปจับในรูป รส กลิ่นเสียง ในสัมผัส
    มันก็เลยก็ให้เกิดทุกข์

    อันนี้ที่พูดหมายความว่ามันผิดปกติ

    ว่าตามปกติของชาวบ้านเป็นของธรรมดา
    ที่อยู่ในโลกก็ต้องมีบ้างล่ะ
    เป็นไปบ้างตามธรรมดา

    ที่พูดนี้ก็สำหรับในชีวิตประจำวันที่มันเกินไป ที่อยากเกินไป
    ที่ว่ามันก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ

    ถ้าเรามีสติ มีปัญญา มีขันติ มีสังวรประธานแล้ว
    อย่างนี้มันก็ก็ไม่เกิด นี้เป็นเรื่องป้องกัน


    [พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) ป.ธ. ๙, วัดบวรนิเวศวิหาร]




    (ที่มา : “วิธีป้องกันอกุศลวิตก” ใน ธรรมเชิงปฏิบัติ โดย พระเทพกวี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต), มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑, หน้า ๑๘๗-๑๘๙)

    ::
     

แชร์หน้านี้

Loading...