วิธีฝึกฌานที่1ถึง4ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย คิดดีจัง, 5 มิถุนายน 2010.

  1. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    ผมเองเป็นคนความรู้ทางธรรมน้อยครับ

    สับสนในหลายๆเรื่อง ปฎิบัติถูกๆผิดๆไปตามเรื่อง (แต่ก็มีความตั้งใจครับ)

    เรื่องการทำสมาธก็เช่นกันครับ ฝึกไปตามเรื่องตามความเข้าใจ แต่พอมาได้

    อ่านบทความนี้ ทำให้เข้าใจการทำสมาธิมากขึ้น และจะนำไปปฎิบัติได้อย่าถูก

    ต้อง และคิดว่าหน้าจะเป็นประโยชน์กับสมาชิกที่ยังไม่เข้าใจเรื่องทำสมาธิ ให้

    เข้าใจและปฎิบัติได้ถูกต้องครับ

    [​IMG]

    เรื่องของญาณ 4<O:p</O:p


    <O:p</O:p

    -ปฐมฌานนี่เป็นฌานที่หนึ่ง ที่บรรดาพวกเราเหล่าพุทธบริษัทต้องทำให้ได้ เพราะเป็นฌานโลกีย์ อาการที่ทรงฌานที่หนึ่งนี้ไม่มีอะไรยาก เราใช้คำภาวนาและพิจารณาในขันธ์ 5 ก็ดี ภาวนาบทใดบทหนึ่งก็ดี หรือว่าจะพิจารณาลมหายใจเข้าออกก็ดี ให้จิตมันทรงอยู่อย่างนี้เป็นปกติ นี่หมายความว่าไม่ยอมให้ใจของเราเคลื่อนจากอารมณ์ที่เราต้องการ อย่างเราอยากจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เมื่อว่างจากกิจอื่น จิตมันจะมีความรู้สึกไปโดยอัตโนมัติ รู้ลมเข้าลมออก หรือภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ อะไรก็ช่าง จะพิจารษายังไงก็ช่างให้จิตมันทรงตัว แล้วทรงจนกระทั่งให้อารมณ์จิตนี่แม้แต่ได้ยินเสียงภายนอกเข้ามาจิตก็ไม่รำคาญ สามารถใช้คำภาวนาและพิจารณาได้ตามอัธยาศัย อย่างนี้ชื่อว่าปฐมฌาน<O:p</O:p
    -พอจิตเข้าถึงฌานที่สอง คำภาวนาหายไปเฉย ๆ หยุดไปเอง เมื่อคำภาวนาหยุดไปเอง เราก็มีใจสบายชุ่มชื่นดีกว่า เพราะว่าไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติ พอเริ่มก็มีความชุ่มชื่นสบายแล้วก็สุข เอกัคตารมณ์ทรงตัวดีก่าฌานที่หนึ่ง ตอนนี้เราจะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงไปหน่อยกว่าเดิม กว่าฌานที่หนึ่ง ตอนนี้ก็มีหลาย ๆ ท่าน เมื่อจิตถอยลงมาถึงปฐมฌาน คือ ทรงฌานที่ 2 ได้ไม่นานรู้สึกตัวว่า ตายจริง นี่เราลืมภาวนาไปเสียแล้วรึ หรือเราหลับไป แต่ความจริงนั้นไม่ใช่หลับ มันก็โงก อาการจะโงกไปข้างหน้าหรือข้างหลัง ทั้งนี้ไม่ใช่หลับ คือจิตเข้าถึงปฐมฌาน เราทิ้งภาวนาไปเอง ถ้าเข้าถึงฌานที่ 2 คือ ทุติยฌาน จะทิ้งภาวนาไปเอง<O:p</O:p
    -สำหรับฌานที่สามนี้จะรู้สึกว่าลมหายในเบามาก ร่างกายเราจะตัด ความอิ่มเอิบจะหายไป เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น มีความสบาย ๆ ขาดความอิ่ม แต่จิตจะทรงตัวมาก อารมณ์จะไม่เคลื่อนไหว หูจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก เบาลงไปมาก เสียงที่ดังมาก ๆ เราได้ยินเหมือนกันแต่เบามาก มีการทรงตัวแบบแน่นสนิท มีความรู้สึกเหมือนกับว่าร่างกายของเราเกร็งไปทั้งตัว แต่ความจริงนั้นเป็นเรื่องอาการของจิตไม่ใช่เรื่องอาการของกาย<O:p</O:p
    -แล้วตอนนี้ถ้าคนทั้งหลายเข้าถึงฌานที่สาม แล้วก็ทรงฌานที่สามได้ดี สมมติว่าเช้ามืดท่านตื่นขึ้นมานอนอยู่หรือนั่งอยู่ก็ตาม จิตทรงสมาธิถึงฌานที่สามได้ดี วันทั้งวันนั้นรู้สึกว่าเราไม่ต้องการอยากจะพูดกับใคร อาการพูดมันจะน้อยทั้งวัน เพราะว่าจิตมันทรงตัวได้ดี ถ้าอาการมีอย่างนี้กับท่าน ก็ขอให้ท่านภูมิใจว่า เราทรงฌานได้ดีมาก แต่ทว่าเลิกแล้วก็อยากจะพูดอยากจะคุย อยากจะสนทนาปราศรัย อยากจะพูดมาก<O:p</O:p
    -นั่นก็แสดงว่า สำหรับอารมณ์ที่เป็นฌานของท่าน มันได้แต่เวลาที่นั่งอยู่หรือปฏิบัติอยู่เท่านั้น พอเวลาเลิกแล้ว กำลังฌานนั้นไม่ได้ตามจิตของท่านไปด้วย อย่างนี้ไม่ดี ควรจะพยายามรักษาให้มันทรงอยู่ได้ทั้งวัน ถ้าทรงไม่มากก็ทรงน้อย อย่างน้อยที่สุดก็ให้จิตมันอยู่ในอุปจารสมาธิในวันทั้งวันนี่ละ สามารถจะทรงได้ถ้าจิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิ ในวันทั้งวันนี่ละสามารถจะทรงได้ ถ้าจิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธินี่เราก็คุยกับชาวบ้านได้ แต่ว่าคุยน้อยไปหน่อย ถ้าจะพูดก็พูดในเรื่องที่เป็นสาระจริง ๆ เรื่องที่เป็นอกุศลทุกอย่างจะไม่ยอมพูด ใจจะไม่ยอมคิดในเรื่องของอกุศล<O:p</O:p
    -ฌานที่สี่ท่านกล่าวว่าตัดสุขเสียได้ มีองค์สองเหมือนกัน ตัดสุขออกไปเหลือแต่เอกัคตา แล้วเพิ่มอุเบกขาเข้ามา เอกัคตานี่แปลว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อมันตัดสุขออกไปได้ ไม่สัมผัส การกระทบกระทั่งจิตไม่รับการสัมผัส เสียงจะมาจากภายนอกดังเท่าไรก็ตามที หูจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก การสัมผัสจากลมแรงก็ดี เหลือบยุงจะเข้ามาเกาะตัวก็ดี ไม่มีความรู้สึก แต่ว่าอาการทางจิตไม่ใช่หลับ มีความรู้สึก มีสติสัมปชัญญะทรงตัว เป็นคนมีสติสัมปชัญญะดีมาก มีความสว่างไสวในจิต จงอย่าลืมคำว่าฌานนี้ไม่ใช่นั่งหลับ จิตจะทรงตัวสมาธิดี สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ นี้เป็นการฝึกอารมณ์จิตของเราให้มีการทรงตัวเพื่อเตรียมรับสภานการณ์ที่จะเจริญวิปัสสนาญาณ<O:p</O:p
    -จิตของฌาน 4 มีเอกัคตากับอุเบกขาเป็นปกติ จิตดวงนี้ต้องจำเอาไว้ว่า ต้องให้มันทรงอยู่ตลอดเวลา ถ้ามันทรงตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วเรื่องทิพจักขุญาณมันง่ายเหลือเกิน ยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก แต่ถ้าว่า ถ้าจิตเข้าถึงจุดนี้แล้ว ท่านที่มีความรู้ในขั้นนี้จริง ๆ ท่านบอกว่า ถ้ายังใช้อารมณ์จิตของตนรู้อยู่ ท่านบอกว่าใช้ไม่ได้ ต้องหาทางเข้าถามถึงพระ ถามพระสอนกันตอนไหน จับภาพนิมิตพระองค์ใดองค์หนึ่งขึ้นเป็นบรรทัดฐาน เรียกว่าภาพพระพุทธนิมิต จับแล้วเวลาที่ต้องการอยากจะทราบอะไรก็ถามพระ พระบัญชาการมาอย่างไรเป็นคำตอบที่เราได้ปรากฎรับเอง แล้วก็ถูกต้องตามความเป็นจริง ต้องจำไว้เลยทีเดียวว่า พระลักษณะนี้ที่เราเห็น เราถามแล้ว ทรงพยากรณ์ตรงตามความเป็นจริงทุกประการ จำภาพพระไว้ ถ้าทำอย่างนี้จนชำนาญก็เลิก ฝึกวิธีอื่น ต้องการอะไรก็ถามพระ<O:p</O:p
    -ถ้าทำใจสบาย จิตเข้าถึงฌาน 4 หรือฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ก็ตาม เวลาที่จิตสงัด ปัญญามันจะเกิดเอง มันจะบอกชัด มันจะมีความเบื่อหน่ายในร่างกายขึ้นมาเอง มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีการทรงตัว เพราะอะไร เพราะเมื่อมีความเกิดขึ้น แล้วก็มีความป่วย ความตาย ในขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ เราจะบริหารร่างกายสักเพียงใดก็ตามที ร่างกายก็เต็มไปด้วยความทรุดโทรมอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 คือร่างกายเสีย นี่ตัวปัญญามันจะเห็น ปัญญามันจะสอนต่อไปว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการเกิดต่อไปแล้ว ก็ตัดรากเหง้าของกิเลสทั้ง 3 ประการทิ้งเสียให้หมด คือตัดอำนาจของความโลภด้วยการให้ทาน ตัดรากเหง้าของความโกรธ ด้วยการเจริญเมตตาบารมี และตัดรากเหง้าของความหลงด้วยการพิจารณาหาความจริงของขันธ์ 5 ปัญญามันจะเห็นชัดว่า ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ 4 ไม่มีการทรงตัว มีการเปลี่ยนแปลง ภายในเต็มไปด้วยความสกปรก นี่มันจะบอกชัด ปัญญามันดีกว่านี้มาก ถ้ามันได้ถึงจริง ๆ<O:p</O:p
    -คำว่าเอกัคตารมณ์ ก็คืออารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งในที่นี้เรานิยมเรียกว่า ฌาน อารมณ์มันจะทรงตัว ก็มีหลายคนเคยถามว่า อารมณ์เป็นหนึ่งดิ่งอย่างนี้จะทำอย่างไรต่อไป ก็ขอตอบว่า เวลานั้นไม่ใช่เวลาที่ทำอย่างอื่น ถ้าจิตเป็นฌานมีอารมณ์ทรงตัวเป็นเอกัคตารมณ์ อารมณ์เป็นหนึ่งอย่างนั้นต้องปล่อยไปตามนั้น เพราะอะไรจึงปล่อย เพราะเราต้องการให้อารมณ์ว่างจากกิเลส เวลานั้นถ้าจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในลมหายใจเข้าออกก็ดี ในคำภาวนาก็ดี ในนิมิตก็ดี ถ้าจิตจับเฉพาะอย่างนั้น กิเลสจะเข้ากวนใจไม่ได้ มันจึงเป็นหนึ่ง มีอารมณ์ดิ่งก็ควรจะพอใจว่า เวลานี้จิตเราว่างจากกิเลส เราต้องการจุดนี้<O:p</O:p
    -ขณะใดที่เรารู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้คำภาวนาว่า พุทโธ ขณะนั้นเชื่อว่าจิตของเราเป็นสมาธิตามความต้องการ ถ้าหากว่าภาวนาไป ๆ ใจมันเกิดความสบาย คำภาวนาหยุดไปเฉย ๆ เป็นความสุขที่ยิ่งกว่า อย่างนี้ก็จงอย่าตกใจ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ 2 ซึ่งเป็นอารมณ์ดีขึ้น หากว่าทำไปความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด ลมหายใจเบาลง หูได้ยินเสียงภายนอกเบามากจิตใจทรงตัวแนบสนิทอย่างนี้ เป็นอาการของฌานที่ 3 ถ้าบังเอิญภาวนาไปกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ปรากฎว่า ไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าออกมีหรือเปล่า มันมีอาการเฉย ๆ มีอาการจิตใจสบาย ๆ อยางนี้เป็นอาการของฌานที่ 4 จัดว่าเป็นอารมณ์ฌานที่มีความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา<O:p</O:p

    ขอบคุณเวป KasKaew.com สำหรับบทความดีชิ้นนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2010
  2. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903



    อนุโมทนาครับ
     
  3. felasia007

    felasia007 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +90
    อนุโมทนา สาธุ ครับ

    ของผมใช้บริกรรม พุทโธ กำหนดหยุดบริกรรมเอง
    หรือ ไม่คำบริกรรมหายไปเองเเต่หายไปไวมาก งง ไมมันหายไวอะ
    เสร็จเเล้วก็รู้สึกเหมือนไม่มีร่างกาย เเต่ก็รู้สึกนิดหน่อยนะว่ามีเเต่น้อย
    ยังได้ยินเสียงภายนอกอยู่ ลมหายใจเบา ไม่มีปิตี ได้เเค่นิ่ง สงบ
    ปิตีเคยเกิดเเรกๆทำสมาธิ ดีใจเหมือนคนได้เงินล้านเเต่ตอนนี้เฉยๆ
    เคยปรากฏเเสงขาว เหมือนโลกนี่มีเเต่เเสงขาว ไม่มีสีอื่นเลย
    เเบบนี้ ฌาณ อะไร งง มาก?
    หรือ มันเข้าข้ามฌาณหรอ งง ตอบที่จร้า

    ขอบคุณล่วงหน้า
     
  4. LMong

    LMong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2009
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +541
    อนุโมทนา สาธุ คัรบได้ความรุ้เยอะจิงๆสำหรับการนั่งสมาธิขั้นพื้นฐาน
     
  5. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +2,985
    ปริยัติ กับ ปฏิบัติ ไม่เหมือนกัน เพราะ การใช้ภาษาที่จะมาอธิบายนามธรรม อาการต่าง ๆ ที่ปรากฎแก่จิตในขณะปฏิบัติธรรมมันยากมาก เอาแค่อธิบายปิติก็อธิบายได้ไม่ถึงใจ ต้องให้รู้ด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ.....

    เมื่อทำให้มาก ทำให้บ่อยจนถึงจุดนั้นแล้ว จะเข้าใจและปฏิบัติได้เอง ไม่ต้องมีคนบอก ไม่ต้องมีคนมาสอน อย่าสงสัยสิ่งใด ๆ เลย ค่อย ๆ ทำไปให้ถูกที่ถูกทาง ถ้าไม่หวังในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.............ไม่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะพึงบรรลุได้

    เจ้าของบทความนี้นำเอาสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาสอน เพราะเข้าถึงได้ จึงอธิบายด้วยภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ๆ บางคนมักหวงวิชาความรู้ กลัวว่าคนอืนจะรู้ ปกปิดไว้เป็นความลับ พอปฏิบัติไปได้นาน ๆ ก็มักจะลืมจุดเริ่มต้น อย่างที่พูดกันว่าทางเข้าประตูสู่สมาธิ เพราะสภาวะนี้มีทางเข้าสู่โดยรอบ แล้วแต่จริตของบุคคล..........บางคนถนัดบริกรรม บางคนไม่ชอบบริกรรม บางคนชอบกสิณ ฯลฯ มีวิธีการของแต่ละคนต่างกันไปตามความชอบ

    ขออนุโมทนาในกุศลของท่านเจ้าของบทความ ให้ได้ผลบุญตอบสนองได้สำเร็จมรรคผลโดยเร็วเทอญ.
     
  6. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    เป็นประโยชน์ อย่างยิ่งครับ
     
  7. lldreamll

    lldreamll Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +84
    ที่ผมวูบไปเหมือนจะหลับคือฌาณ2หรอคับ
    แต่ผมก้ยังไม่ได้สัมผัสนาคับ เพราะคิดว่าจะหลับ(ตกใจ)
    ทั้งที่ทำตอนที่ไม่ง่วง อยุในสภาวะตื่นตัว

    อนุโมทนา
     
  8. พลูโตจัง

    พลูโตจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +554
    ขอบคุณ จขกท. อธิบายได้แจ่มดีค่ะ ทำให้เข้าใจง่าย ชัดเจนดี
     
  9. เวิ้งว้าง

    เวิ้งว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +177
    อ่านมาหลายที่ค่ะ แต่อันนี้อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี เหมาะสำหรับผู้เริ่มฝึกปฏิบัติมากค่ะ

    อนุโมทนา สาธุ
    การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
     
  10. Nok Nok

    Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297
    [​IMG]
    กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ ^_^
     
  11. kkookk

    kkookk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขออนุโมทนากับเจ้าของกระทู้รวมถึงทุกๆ ท่านด้วยครับ...
     
  12. doopup5454

    doopup5454 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +58
    เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ขออนุโมนทาบุญในครั้งนี้ด้วยเทอญ
     
  13. ณัฐปพน

    ณัฐปพน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +416
    ขอบคุณมากค่ะ อธิบายใช้ภาษาง่ายๆ ทำให้อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยากเลย

    แบบนี้ที่หามานาน

    อนุโมทนาค่ะ

    แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว;k05
     
  14. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
  15. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ขอดันกระทู้ค่ะ
     
  16. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    การไปรู้ว่า เป็นกิริยาอย่างโน้นนั่นนี่
    ในขณะเข้าสมาธินั้น
    ยิ่งเป็นสมาธิที่ไม่ได้ขึ้นด้วยภาพนั้น
    ประกันได้ว่า
    เป็นระดับมโนฯเอาทั้งนั้นหละครับ
    และที่เอามาลงนี้
    ไม่ใช่ระดับใช้งาน
    เต็มไปด้วยสัญญาจากจิต ฝึกทั้งชาติ
    ก็ไม่มีความสามารถทางจิตอะไรหรอกครับ
    นอกจาก จะเอากำลังที่ได้ระหว่างนั้น
    มาเน้นเจริญสติให้ต่อเนื่อง จนจิตแยกรูปนามได้
    แล้วมาเดินปัญญาต่อ จะมีประโยชน์
    ในเรื่องของปัญญาทางธรรม ที่ช่วย ลด ละ คลาย
    กิเลสต่างๆได้บ้าง....


    ดวงจิตที่จะฝึกเพื่อให้เข้าระดับฌานได้(เข้าได้นะครับ
    ไม่ใช่ใช้งานได้ในระดับนั้น เช่น เคยเข้าได้
    ถึงระดับ สูงสุด แต่ลืมตา จิตอาจไม่มีความ
    สามารถอะไรเลยในเวลาปกติ หรือใช้งานจาก
    ผลของระดับฌานที่เราเข้าได้เลย อย่างนี้เรียก
    ว่าเคยเข้าได้ ซึ่งสภาวะนี้อย่างไรก็มีเสื่อม
    เผลอๆจะหลงตัวเองได้ ยิ่งไม่มาสนใจเรื่องเดินปัญญา
    ยิ่งจะหลงตัวเองแบบสุดๆ และแบบ คาดไม่ถึงทั้งที่ไม่มี
    ความสามารถอะไรได้ ไม่มีกำลังจิต มีแต่มโนฯล้วนๆ
    ก็จะยังหลงตัวเองได้ไม่น่าเชื่อ) นั่นสามารถเกิดได้
    แม้ว่าจะไม่เคยฝึกอะไรมาก็ตาม
    หรือเกิดได้แม้ขณะที่กำลังฝึกสมาธินะครับ

    ส่วนการจะฝึกให้เข้าถึงระดับต่างๆ
    ควรดูที่ระบบหายใจก่อนเตรียมตรงนี้ให้พร้อมก่อน
    ควรเข้าใจระบบหายใจแบบอาปาฯ
    คือหายใจปกติ ลมหายใจเข้าออกถึงท้องหรือไม่
    คือหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ
    ถ้ายังหายใจเข้าออกถึงหน้าอก ก็คงอีกนานครับ
    และรู้จักการสร้างกำลังสติ ด้วยการระลึกรู้สึก
    ว่ามีลมกระทบเข้าและออกหยุดที่ปลายจมูกหรือยัง
    (แต่ถ้าไม่ตามลม ชาตินี้จะแป๊กที่ปฐมฌานอีกย้ำว่าทั้งชาติ)
    ถ้ายังไม่มี พอเจอกิริยาอะไรในสมาธิ ก็จะไม่เข้าใจ
    ซักอย่าง และจะทำให้ไปเผลอ หลง ไปยึดกับสิ่ง
    ต่างๆกิริยาต่างๆระหว่างทางที่เจอได้อีก
    แล้วที่สำคัญก็คือ จิตแยกรูปแยกนามได้หรือยัง
    เดินปัญญาได้แล้วหรือยัง
    (แยกรูปแยกนามได้คือ เห็นหรือยัง ว่า ๑.จิต ๒.ความ
    คิดที่เกิดจากจิต และ ๓.ความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้
    ตั้งใจหรือขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม หรือวิบากกรรม เห็นทั้งสาม
    ส่วนนี้ได้แล้วหรือยังครับ เข้าใจกิริยาทั้ง ๓ ตัวนี้ไหม
    ว่าเป็นอย่างไร)
    ถ้ายังแยกไม่ได้ ก็ช้าอีก แม้เข้าถึงได้ก็เสื่อมอีก
    แต่ก็จะหลงตัวเองอีก
    เพราะมันสำคัญมาก
    สำหรับความเข้าใจทางนามธรรมต่างๆ
    ที่จะเจอในระหว่างทางครับ

    ส่วนวิธีฝึก ทั่วไปมี ๒ แบบคือ
    ๑.แบบระบบอาปาฯเป็นฐาน
    วิธีนี้จะพรวดพลาดข้ามจาก ๑ ไป ๔ เลย
    การจะมาอธิบายว่า ระดับไหน เป็นอย่างไร
    นั้นเค้ามาย้อนรู้จากที่เข้าถึงแล้ว
    ไม่ใช่แบบมโนฯ ของการไปอ่านลอกตำรา
    ครูบาร์อาจารย์แล้วเอามาเล่านะครับ
    วิธีจะได้ผล ก็ต่อเมื่อถึง ระดับ ๔ ได้
    และสามารถบังคับไม่ให้จิตมันออกไปข้างนอก
    และอยู่นิ่งๆได้ก่อนนะครับ ย้ำว่าถึงจะเริ่ม
    มีประโยชน์ครับ

    ๒.การใช้ภาพเป็นตัวนำ ซึ่งต้องเข้าใจการตัดความคิด
    ระบบการหายใจ และต้องสามารถเข้าถึงระดับปฏิภาคนิมิตได้
    ซึ่ง ถ้าเข้าถึงได้ ก็ยังแยกไปได้อีก ๓ ทางคือ
    ๑.สร้างกำลังจิต ๒.อฐิษฐานจิต ๓.ไปอรูปฌาน
    (ไม่ใช่อรูปฌานแบบไม่ผ่านรูป ที่ในเวลาปกติ
    ไร้ความสามารถทางจิต ทางการเล่นกับพลังงาน
    และหลงตัวเองนะครับ เพราะอรูปฯไร้สาระแบบนี้
    คนไม่เคยฝึกอะไร นอนๆอยู่ ก็สามารถเกิดได้ครับ
    แต่มันไร้ประโยชน์ เพราะเหมือนไปอยู่ในอวกาศ
    และทำให้หลงตัวเองเล่นๆได้ครับ)

    แบบพิเศษ คือ แบบดวงจิตที่ทิ้งทุกอย่างได้จริงๆ
    จนจิตคลายตัวเองได้ตามธรรมชาติในเวลาปกติ
    จนความสามารถต่างๆ ที่ตัวจิตเคยสะสมมา
    มันค่อยๆผุดขึ้นได้เองครับ
    แต่ถ้า ความสามารถดันเกิดก่อนที่จิตจะคลายตัวเองได้
    หรือก่อนที่จะแยกรูปแยกนามได้
    ประกันได้ว่า ร้อยละ ๙๙ % จะดูเหมือนเพี้ยนๆ
    หรือไม่ก็เป็นผู้ป่วยตามโรงพยาบาลจิตเวชแน่นอน
    ดูเพี้ยนๆ ไม่ใช่ว่า สมองเสื่อม หรือสัญญาวิปลาส
    เหมือนพวกหลงผิด หรือเป็นคนไม่ดีนะครับ
    ดูเพี้ยน เพราะสังคมจะมองแปลกๆ เพราะพวกนี้
    จะหายตัวในญานวิถีไม่เป็น คือแยกไม่ออก
    ว่าอะไรจริงไม่จริงในโลกปัจจุบัน
    ซึ่งสามารถหายได้ ถ้ามาเจริญสติ มาเดินปัญญาครับ

    ปล.แค่เพียงแต่เล่าให้ฟังครับ
     
  17. artwhan

    artwhan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,282
    เท่าที่อ่านดู สำนวนการเทศน์ น่าจะเป็นของท่านพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (องค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    อนุโมทนาสาธุกับผู้เผยแพร่ด้วยครับ
    ธรรมมะเป็นของสูง ธรรมข้อใดเราไม่เห็นด้วย ก็ไม่ควรนึกปรามาส หรือกล่าวติติง หากยิ่งเป็นธรรมที่กล่าวออกจากพระอริยเจ้า เราจะได้ไม่เป็นผู้รับผลกรรมอันหนักนั้น
    ไม่เห็นด้วยก็นิ่งเสีย หรือแสดงความเห็นด้วยความสุภาพ และทดลองปฏิบัติให้แจ้งซึ่งคำสอนนั้น ได้ไม่ได้ ถูกไม่ถูกอย่างไรขอคำแนะนำจากผู้รู้ หรือพระสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อย่างนี้ถึงได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณชน เป็นบัณฑิต จักเป็นผู้น่ากล่าวสรรเสริญ น่าชื่นชมเป็นแบบอย่างในวงสังคม ชมชนกลุ่มนั้นๆ
     
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    พูดดูดี๊ ดูดีเนาะ....พ่อคู๊ณณณณณณณณณ ท่านนนนนนน
    แหล่งที่มาของต้นฉบับข้อมูล ก็ไม่ได้
    บอกว่าไว้ มาจากคำสอนของท่านเลย
    และ
    ในส่วนข้อมูลอ้างอิง ที่ จขกท นำมาลงไว้ ปัจจุบัน เวบนั้นไม่มีแล้ว
    แต่ยังพอหาอ่านข้อมูลเดิมนี้ในเวบนี้ ตามลิงค์ข้างล่างครับ
    โพสโดยคุณ Posted by
    kancht958 ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ครับ
    ซึ่งเป็นข้อความชุดเดียวกัน ที่ก๊อปปี๊มาทั้งชุดครับ
    ตามลิงค์ข้างล่างนี้.....


    http://oknation.nationtv.tv/blog/real-ohm/2007/11/16/entry-4



    ปกติไม่ค่อยอยากจะออกตัว และพูดอะไรมาก เรื่องแบบนี้
    เพราะส่วนตัว คงบอกไม่ได้ว่า เป็นลูกศิษย์สายตรงท่านเลย
    เพราะไม่ได้มีหน้าที่เผยแผ่คำสอนท่าน
    และส่วนตัวมีครูบาร์อาจารย์หลายท่าน
    รวมทั้ง ลพ.ท่าน เป็นหนึ่งในนั้น
    และก็ให้ความเคารพนับถือครูบาร์อาจารย์
    เท่าๆกันทุกๆท่านครับ



    แต่ว่าโครตเบื่อเลย พวกทำตัวเป็นศิษย์เอกนอกคอก
    คือพวกไม่รู้เรื่อง อ่านบทความแล้วก็ยังไม่รู้อะไร
    พอเห็นมีการแนะนำที่มาจากการปฏิบัติ
    ก็คิดได้ แต่ทางอกุศล ทำเป็นพูดกล่าวหาต่างๆนาๆ

    ทำเป็น
    เอะอะอ้างธรรมะเป็นของสูง
    อ้างเรื่องปรามาส
    อ้างการติติง อ้างเรื่องบุญเรื่องบาป
    แต่ตัวเองกลับไม่รู้เรื่องอะไรเลย.......

    ที่สำคัญคือ ปฏิบัติยังไม่เข้าถึง ทำเป็นรู้ดีจัง
    ให้ไปปฏิบัติกับท่านโน้นท่านนี้
    แล้วคุยไปเรื่อย ว่าทำแบบตนแนะนำแล้วน่าสรรเสริญ
    ถุยยยยยยยย


    การทำตัวเป็นศิษย์เอก นอกคอกแบบนี้
    คนถึงได้มอง ลพ. ท่านเชิงอกุศล
    ตนเองนั่นหละ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นปรามาสท่านยังไม่รู้ตัว
    เพราะ เอาแต่อ้างด้วยปาก คำก็ ขู่ สุดท้ายทำพูดดี ทำเป็นรู้ดี
    แต่ร้อยละร้อย พวกนี้จะไม่สามารถแสดง
    ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ได้
    ไม่เชื่อ ไปพิสูจน์กันเองได้
    ตนเองเห็นอะไรได้ คนอื่นต้องเห็นได้แบบตนเองนะครับ
    หรือไม่ก็ไปเข้าฌานให้ดูเลย หรือแสดงผลของฌานที่ได้กันไปเลย
    ว่าทำได้จริงหรือเปล่า...



    ว่ากันที่เรื่องข้อมูล
    ข้อมูลที่ เจ้าของกระทู้นำมาลงนี้
    ยังไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นต้นฉบับดั้งเดิมครับ
    หรือเป็นคำสอนของ ลพ.ท่านครับ

    ถ้าเคยอ่านคำสอน ลพ. มาบ้าง อ่านดูก็น่าจะพอทราบได้ว่า
    มีการแทรกความเห็นตนเองลงไปในบทความ มีการตัดต่อ
    บทความแล้วรวบรวม มาเผยแผ่เอง เรื่องที่ จขกท นำมาลง
    มีชื่อเรื่องว่า ฌาน 4
    แต่กลับพูดตั้งแต่เริ่มต้นปฐมฌาน

    โดยข้อมูลที่นำมาลงกลับไปเหมือนหรือคล้ายเรื่องต้นฉบับ
    ที่ชื่อว่า
    อารมณ์ของฌาน และ
    ในบทความเรื่อง ฌาน 4 ยังมีการตัดต่อข้อความ
    ต่อเติมข้อความลงไป และข้อความบางชุด
    ยังคล้ายคลึงกับ เรื่อง ต้นฉบับ อารมย์ของฌาน
    ได้อย่างไม่น่าเชื่อ


    เอาว่าถ้ายังไม่ฉลาดพอที่จะสังเกตุออก
    จะแนะวิธีการสังเกตุให้นะครับ
    คือถ้าเคยปฏิบัตมาบ้างนะ
    และไม่ยึดติดตำรามากจนเกินไป จนเป็นอัตตาตัวตน

    บทความแค่เริ่มต้น ก็พอรู้แล้วหละครับ
    เอาทั่วๆไปก่อนนะครับ

    ถ้าเป็นสำนวนหรือเอกลักษณ์ของท่าน

    ก่อนที่จะสอนอะไร มักจะพบว่า จะมีการกล่าวขึ้นต้น
    ''ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย
    และบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    วันนี้ ก็จะขอพูดเรื่อง..............''
    หรือ มักจะขึ้นด้วยชื่อ ของพระพุทธเจ้าแต่เรียกในนามที่ต่างกัน


    และให้จับสังเกตุเริ่มต้นดังนี้ว่า บทความ เรื่อง ฌาน 4 นี้แปลกยังไงนะครับ

    ๑. ให้สังเกตุการเริ่มต้นสอนว่าทำไม
    ไม่มีการพูดถึง
    อารมณ์ของปฐมฌานก่อนเลย

    ''ปฐมฌานนี่มี องค์ ๕ คือ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา''

    และสำนวนแบบนี้ใช่หรือ

    ''ปฐมฌานนี่เป็นฌานที่หนึ่ง''
    แล้ว องค์ ๕ หายไปไหน? ทำไมไม่มีการกล่าวถึง?
    แต่พอมาในระดับต่อมาก็ใช้คำว่า

    ''ฌานที่สอง'' และมีการกล่าวถึง องค์ ๕
    ด้วยคำว่า
    ''เพราะว่าไม่มี วิตก วิจาร '' แล้วอีก ๓ หายไปไหน
    พอจะแยกแยะ ระหว่างคำสอนต้นฉบับ กับที่ตัดต่อได้หรือยังครับ
    คือ เกทกันบ้างไหม ว่า ทำไม อยู่ดีๆ วิตก วิจาร ก็ลอยมาโดดๆเลย
    ทั้งๆที่ไม่มีการพูดกล่าวไว้ก่อนหน้าในเบื้องต้น


    และปกติคำสอน ลพ. มักจะใช้คำว่า

    ''ทุติยฌาน คือ ฌานที่ ๒'' ตรงนี้คือ
    ความต่างการใช้คำระหว่าง
    คำว่า เป็น กับ คำว่า คือ

    มาต่อ เพื่อความเฉลียวในอ่านบทความ
    เพื่อเวลาจะมาพูดยกตนเองให้ชาวโลกเห็นว่า เราหล่อ
    หรือพยายามพูดเฉียดๆกล่าวหาคนอื่นแบบนัยๆ
    จะได้ไม่ถูกเค้าด่าคืน......


    พอมาระดับต่อมา บทความที่ จขกท เอามาลงกล่าวว่า
    ''สำหรับฌานที่สาม''
    ''เหลือแต่ความสุขเยือกเย็น'' แล้วองค์ อะไรหายไปบ้าง ?
    ทำไมฌาน 2 พูดแต่ฌาน 3 ไม่กล่าวถึง ตัดอะไรไป?

    แต่ถ้าเป็น สำนวนต้นฉบับ เรื่อง ''อารมย์ฌาน''

    ''สำหรับอาการของฌานที่ ๓ นั้น มีองค์ ๒ คือ
    เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ตัดปีติหายไป''

    เริ่มเกทเพิ่มขึ้นยัง

    และพอมาลำดับต่อมา
    เนื้อหา ในกระทู้ เริ่มต้นว่า
    ''จิตของฌาน 4 มีเอกัคตากับอุเบกขาเป็นปกติ''
    แล้วก็ไปขยายความคำว่า
    เอกัคคคตารมย์ ซะยืดยาว
    แต่ อุเบกขา หายไปไหน?
    ทำไม่ขยายคำเดียว?
    เพราะรู้แค่นั้นไง ?

    ส่วนท้าย ข้อความ
    ขณะใดที่เรารู้ลมหายใจเข้า
    แล้วยังอธิบายวกวนย้อนไปพูด
    ฌานที่ 2 ฌานที่ 3 แล้วก็วกกลับมา
    ฌานที่ 4 อีกรอบ
    ถ้าแค่นี้ยังไม่เกท
    ก็เอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ ฆ่าตัวตายซะ


    ซึ่งจะต่างจากการสอนสำนวน วิธีการสอง
    ของ ลพ ท่านเลย
    ที่จะไม่กล่าววกกลับไปกลับมา
    และท่าน จะพูดเชิงเทคนิคและ
    ท่านจะกล่าวเตือน ในระดับฌาน 4 เลย
    พูดง่ายๆว่า ไม่อธิบายและสอนวกวน


    ถ้าเป็นต้นฉบับ ลพ.ท่าน จะอธิบายแบบนี้

    ''สำหรับฌาน ๔ นี้มีองค์ ๒ คือ มีเอกัคคตากับอุเบกขา
    เอกัคคตา หมายความว่า ทรงอารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์ไม่เคลื่อน
    อุเบกขา หมายถึงว่า เฉยไม่รับสัมผัสอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด''

    สั้นๆในช่วงนี้จบ ไม่มีการมาอธิบาย องค์ อะไรเพิ่มเติมอีก
    เพราะถ้า จะอธิบายแบบ บทความที่ จขกท นำมาลง
    ต้องพูดตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ขาดๆหายๆ หรืออยู่ดีๆ
    นึกจะอธิบายก็อธิบายเลย........

    สำนวนการสอนแบบนี้
    ถึงเป็นเอกลักษณ์ของท่านที่

    มีปฏสัมภิทาญาน...........


    ไม่ใช่เริ่มต้นก็เริ่มก็เริ่มไม่ถูก
    สอนขาดๆเกิ๊นๆ ข้ามไปข้ามมา
    วนไปวนมา อยากจะเพิ่มอะไรก็เพิ่ม
    การเผยแผ่แบบที่เอาความคิดตนเอง
    หรือตามการปฏิบัติของตนแทรกเข้าไปแบบนี้
    นี่หละมันถึงเรียกว่า
    ปรามาส เป็นบาป เป็นพวกนอกคอก....จำไว้


    เราควรอ่านแล้วพิจารณาก่อน
    จะชอบ ให้เครดิส ผู้ที่นำบทความมาลง
    ก็เรื่อง ของท่าน ถือว่าเป็นมารยาท

    แต่สิ่งที่ไม่ควรทำเลยคือ
    อ่านแล้ว ตีความไม่ออก
    ดูไม่ออก เพราะตัวเองปฏิบัติเข้าไม่ถึง
    แล้วยึด สบส่อง เห็นคนก่อนหน้ามันแนะนำ
    หมั่นไส้มัน เลยหาทางเล่นมันซะหน่อย....

    แล้วจะมาทำเป็นหล่อ พูดอ้างท่าน ทำเป็นรู้ดี
    เอามุขเวร มุขกรรมมาขู่ คนอื่นๆ
    ที่แนะนำ...
    ....

    ทีหลัง ถ้าจะว่าใคร ก็ให้อ้างอิง แบบตรง
    แล้วถ้าคิดว่า แน่จริง ก็มาพิสูจน์ความสามารถกัน
    อย่าได้ยึด คำสอน ที่ตนเองก็ยังแยกแยะไม่ได้
    อย่าสะเหรอเอาท่านมาอ้าง โดยไม่ดูตาม้าตาเรือ
    หรือไม่ใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ เหมือนที่พูดยกให้ตนเองดูดี
    อย่ามาพูดทำเป็นหล่อมาก
    อย่าเอามุข เวรมุขกรรม
    มุขปรามาสมาขู่ใครอีก..จำไว้

    แหล่งอ้างอิง เปรียบเทียบ
    https://palungjit.org/threads/อารมณ์ของฌาน-หลวงพ่อฤาษีลิงดำ.492370/

    ปล. ถ้าเครารพ และศรัทธาท่านจริง
    ก็ควรนำผลที่ได้จากการปฏิบัติที่ท่านสอน
    เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านสาธารณะ
    หรือทางธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

    อย่ามาทำเป็นอ้างเสมือนตนเองเป็นศิษย์เอก
    เพราะชื่อเสียงท่านในอดีต

    อย่ามาอ้างคำสอนท่านเพื่อเอาไปชนะหรือระรานใคร
    ถ้าตนเองไม่แน่จริงๆ หรือเคยมีประสบการณ์มาแล้ว
    อย่ามาอ้างคำสอนท่าน แล้วพูดยกตนให้ดูดี
    อย่ามาอ้างคำสอนท่าน โดยที่ตนเองไม่ดูตาม้าตาเรือ
    แล้วมาแสดงกล้าม เล่นมุขปรามาส มุขบาป มุขเวรกรรม

    อย่า เสนอหน้า ทำเป็นพูดดี ถ้าตนเองยังปฏิบัติเข้าไม่ถึง
    หรือไม่ได้แนะนำอะไรเลย ที่เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติ
    พูดง่ายๆว่า อย่ามาทำเป็นหล่อให้ตัวเองดูดี........

    ถ้าเครารพท่านจริงอย่าทำ และอย่าเอาท่านมาอ้าง ให้เสื่อมเสีย...
    ที่ทำคือ ควรแนะนำ ในทางปฏิบัติจากประสบการณ์ตรง
    ของตนเองที่ได้มาจากคำสอนท่าน
    หรือใช้ความสามารถที่ได้ ในทางที่เป็นประโยชน์
    สาธารณะ ตามปฏิฏทา ที่ท่านได้กล่าวไว้


    สิ่งที่คุณ ทำได้ พิสูจน์ได้ กับบุคคลอื่นๆนั่นหละ
    คนเค้าจะทราบได้เองว่า คุณเรียนมาจากใคร
    ใครเป็นคนสอนคุณเอง........จำไว้

    อย่าทำเป็นพวก ขี้อ้าง เล่นมุขขู่
    เหมือนพวก ศิษย์นอกคอกชอบเป็นกัน...
     
  19. artwhan

    artwhan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,282
    หากข้อความที่ผมได้พิมพ์ไปด้วยความหวังดี ส่งผลให้ท่านไม่สบายใจ หรือมองตัวผมในแง่ไม่ดีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผมต้องขออภัย และอาจเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของข้าพเจ้าเอง ที่นึกคลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นสำนวนการเทศน์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ทั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาไม่ดีต่อผู้ใดเลยจริง จึงขอแจ้งเจตนาที่แท้จริงมาเพื่อทราบ และกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ หากเป็นเหตุให้ท่านต้องเข้าใจไปเช่นนั้น
     
  20. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    อนุโมทนากับทุกความคิดเห็นครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...