วิธีละ พยาบาท วิหิงสา ริษยา ปฏิฆะ ราคะ อัสมิมานะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย tritinnapob, 30 กรกฎาคม 2014.

  1. tritinnapob

    tritinnapob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    107
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,286
    " พยาบาท ละด้วย เมตตา "

    พยาบาท หมายถึง อาการที่จิตเกิดความดิ้นรนเดือดร้อน ขึ้งเคียดเกลียดชัง ผูกใจเจ็บเคียดแค้นเมื่อถูกด่าว่าหรือถูกทำร้าย คิดหาอุบายหรือวิธีที่จะทำร้ายตอบ เป็นเหตุให้จิตใจเร่าร้อน กระวนกระวาย ไม่สงบใจได้

    เมตตา หมายถึง ความรักความเอ็นดู ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข เห็นเขามีอกุศลบังตาย่อมต้องมีพลาดพลั้งเป็นของธรรมดา มีความสงสารในเขา เห็นเขาว่ายังไงเขาต้องตาย เป็นเพื่อนทุกข์ต้องตายตกกันทั้งนั้น เราเองก็ต้องตายเช่นกัน มีความสงสาร ปรารถนาให้เขาเป็นสุข

    " วิหิงสา ละด้วย กรุณา "

    วิหิงสา หมายถึง ความเบียดเบียนบุคคลอื่น การประทุษร้าย มุ่งร้าย ผู้อื่นใ้ห้ได้รับความเดือดร้อน

    กรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์พ้นทุกข์ หรือการเห็นผู้อื่นหรือสรรพสัตว์เป็นทุกข์หรือตกอยู่ในทุกข์แล้วทนอยู่ไม่ได้ ต้องหาทางช่วยเหลือเต็มที่ โดยไม่หวังผลตอบแทน

    " ริษยา ละด้วย มุทิตา "

    ริษยา หมายถึง เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ได้ยินข่าวว่าใครได้ดี ก็เกิดความไม่พอใจในความดีของคนนั้น มีความร้อนรุ่มสุมอกเสมอ
    มีความไม่พอใจ กระวนกระวายกระสับส่าย ทนดู ทนฟัง ความดีของผู้อื่นไม่ได้

    มุทิตา หมายถึง ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือเมื่อผู้อื่นได้รับความสำเร็จ มีความสุขความเจริญก้าวหน้า ก็พลอยชื่นชมยินดีในสิ่งที่เขาได้รับ ไม่มีความอิจฉาริษยาในความสำเร็จของเขา

    " ปฏิฆะ ละด้วย อุเบกขา "

    ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในจิตใจ ความยินร้ายไม่พอใจ จึงเกิดโทสะขึ้น เช่น เราไปเพ่งข้อผิดผุ้อื่นแล้วไม่พอใจ อาจเกิดความลำเอียงขึ้นได้ คือไม่มองเห็นความดีของผู้อื่นเลย

    อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่น เมื่อได้มีการกระทบของใจ ให้ยินดีหรือร้าย ให้วางใจเป็นกลาง วางเฉยได้ เมื่อไม่อาจประพฤติ เมตตากรุณา มุทิตา

    " ราคะ ละด้วย อสุภะ "

    ราคะ หมายถึง ความกำหนัดยินดี ความพอใจ ในรูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ ชอบของสวยงาม อาหารที่วิจิตร กลิ่นที่หอมหวล เสียงอันไพเราะ

    อสุภะ หมายถึง ความไม่สวยงาม ไม่น่าชื่นชม ในกรรมฐาน หมายให้เป็นการพิจารณาลักษณะของซากศพ ว่าไม่สวยงาม ไม่เที่ยงแท้ ความสวยงาม เป็นเพียงเปลือกนอก สุดท้ายเราตายก็ไม่เห็นมีใครว่ามันสวยซักคน ถ้าลอกเนือเถือหนังออกจะเห็นน้ำเหลือง เส้นเอ็น น่าเกลียดน่ากลัว เพราะนี่คือตัวเราที่ปรุงแต่งว่าสวยว่างาม

    " อัสมิมานะ ละด้วย อนิจจสัญญา "

    อัสมิมานะ หมายถึง ความถือตัวว่าเป็นเรา ความถือเขาถือเรา จัดเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเราเกิดความหยิ่งผยองตน หรือเถือว่าเราด้อยกว่าเขาเกิดความหดหู่ท้อแท้ เป็นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของคน หรือ ถือว่าเราเสมอกับเขา อันเป็นเหตุให้ไม่ยอมเขา หยิ่งยะโส ยึดถือตัวเป็นใหญ่

    อนิจจสัญญา หมายถึง การเห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ เกิด แก่เจ็บ ตาย พิจารณาภายใน การเห็นร่างกายของตนที่เปลี่ยนไป เราควบคุมมันไม่ได้ ร้อนหนาว ดีใจเสียใจ มีความเด็ก มีความแก่ มีความตาย เราอาจมองย้อนถึงต้นตอตั้งแต่เราเกิด ด้วยความนึกคิด มองพิจารณาถอยหลังตั้งแต่ปัจจุบันย้อนไป ถึงวันหนุ่มสาว วัยเด็ก วัยแบเบาะ อยู่ในครรภ์ จนถึง ความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย และพิจารณาปัจจุบัน ไปจนถึงความตาย พิจาณาว่ามีอะไรเที่ยงหรือไม่ พิจารณาสภาวะภายนอก เช่นต้นไม้ ดูว่าเที่ยงรึไม่ สัตว์นก หมา แมวว่ามีอะไรเที่ยงหรือไม่ ดูด้วยความจริงตรงไหตรงมา โดยไม่ปรุงแต่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...