วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน บุญกับกุศล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 22 ธันวาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน บุญกับกุศล
    [​IMG]

    มีคำอยู่สองคำที่พูดถึงกันอยู่เนือง ๆ โดยเฉพาะผู้นับถือ พระพุทธศาสนาจะพูดคำทั้งสองนี้กันเป็นประจำแทบทุกคน คำทั้งสองนี้ก็คือคำว่า “บุญ” กับคำว่า “กุศล” และปกติ ก็พูดคู่กันไปว่าบุญกุศล เช่นทำบุญทำกุศล แต่ก็คงจะมีไม่น้อย ที่ไม่เข้าใจคำว่าบุญและกุศลนี้ถูกต้องเพียงพอ ขออธิบายให้ฟัง พอสังเขป เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

    ทำบุญเป็นเรื่องของกาย เช่นให้ทาน เป็นเรื่องของวัตถุ ที่หยิบยกให้กันได้แต่ทำกุศลเป็นเรื่องของใจ เป็นการอบรมใจ ให้งดงามผ่องใสห่างไกลจากกิเลสโดยควร บุญกุศลเป็นของคู่กัน ไม่ควรแยกจากกัน คือไม่ควรเลือกทำแต่บุญ หรือไม่ควรเลือก ทำแต่กุศล ควรต้องทำทั้งบุญและกุศลควบคู่กันไป จึงจะ สมบูรณ์เหมือนกินข้าวแล้วก็ต้องกินน้ำ ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้สึกว่า เพียงพอแล้ว กินแต่ข้าวไม่กินน้ำเรียกว่าบริโภคอาหารอิ่มเรียบ ร้อย ต้องกินทั้งสองอย่างเรียบร้อยจึงจะเรียกว่า บริโภคอาหาร มื้อนั้นเสร็จเรียบร้อย ทำบุญจึงต้องทำกุศลด้วย

    ทำบุญจึงต้องทำกุศลด้วยก็คือ เมื่อให้ทานทั้งหลาย รวมทั้งการถวายอาหารพระ ให้อาหารเป็นทานแก่ผู้ต้องการ หรือให้เงินทองแก่ผู้ขาดแคลน เหล่านี้เป็นต้น เมื่อให้ทานดังกล่าว
    แล้วควรต้องทำกุศลด้วยคือ อบรมใจตนเองให้มีกุศล กุศล หมายถึงความฉลาด อบรมใจให้มีกุศลก็คือ อบรมใจให้ฉลาด ให้มีปัญญาสามารถพาตนให้พ้นจากความทุกข์ความเดือด ร้อนทางใจให้ได้การอบรมใจให้ฉลาดนี้แหละ คือการทำกุศล

    อย่างไรก็ตาม บางทีบุญและกุศลก็เกี่ยวพันกันอยู่อย่าง แยกกันไม่ออก เช่นการทำทาน บางครั้งก็เป็นเรื่องของบุญ แต่ บางครั้งก็เป็นเรื่องของกุศล เช่นอภัยทาน อภัยทานนี้เป็นเรื่อง ของกุศลได้เป็นเรื่องของบุญก็ได้ถ้าผู้ใดมีโทษต่อตน เช่น ทำให้ตนโกรธแค้นขัดเคือง แม้ว่าจะอภัยโทษให้อย่างเสียไม่ได้ นั่นก็เรียกว่าเป็นบุญได้แต่ไม่เรียกว่าเป็นกุศล แต่ถ้าใจมีเหตุผล มีเมตตา แล้วอภัยโทษให้เป็นการอภัยโทษด้วยความเต็มใจ ด้วยใจที่ประกอบด้วยเหตุผลอันใคร่ครวญแล้ว นั่นเป็นกุศล เป็นการทำกุศล ทั้ง ๆ ที่เป็นการอภัยโทษหรือเป็นอภัยทาน ด้วยกัน แต่ก็แยกจากกันได้ในเรื่องเป็นบุญหรือเป็นกุศล จึงเห็น ได้ชัดว่าเรื่องของกุศล ถ้าใจสว่างขึ้น มีปัญญาขึ้น นั่นเป็นกุศล ถ้าใจไม่เกิดผลเป็นความใสความสว่างความมีปัญญา อย่างใด เลย นั่นก็เป็นเรื่องของบุญเท่านั้น
    ที่ประณีตยิ่งกว่านั้นก็คือ แม้ว่าจะไม่สามารถให้อภัยทาน ที่เป็นบุญได้แต่ถ้าใจไม่ถือโทษเพราะสว่างแล้วด้วยปัญญา ด้วยเหตุผล ด้วยเมตตา นั้นก็เป็นอภัยทาน นั้นก็เป็นกุศล

    บุญกับกุศล ไหนมีความสำคัญกว่ากัน ยกข้อนี้ขึ้น พิจารณาก็น่าจะเห็นได้ว่ากุศลสำคัญกว่า กุศลเปรียบเทียบ เหมือนข้าว บุญเปรียบเหมือนน้ำ อิ่มข้าวแล้วไม่ได้กินน้ำ แม้จะ รู้สึกไม่อิ่มสมบูรณ์แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้กินข้าวเลย กินแต่น้ำเท่า นั้น อิ่มแบบกินแต่ข้าวกับอิ่มแบบกินแต่น้ำ แตกต่างกันอย่างไร เข้าใจความนี้แล้วก็จะเข้าใจได้ด้วยว่า ทำแต่กุศลกับทำแต่บุญ แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นแม้เมื่อเป็นไปได้แล้ว ทุกคนจึงควรทำ ทั้งบุญและกุศลไปพร้อมกัน แต่ถ้าจะต้องเลือกระหว่าง ทำบุญกับทำกุศล คือไม่ทำทั้งสองอย่างได้พร้อมกันก็ต้อง เลือกทำกุศล กุศลเป็นสิ่งที่ทำได้เสมอเพราะเป็นเรื่องเฉพาะ ตัวของทุกคน ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น อุปสรรคอื่นไม่อาจห้ามการ ทำกุศลของใครได้เลยโดยเด็ดขาด ตัวเองเท่านั้นที่จะทำให้ ตัวเองไม่ได้ทำกุศล ฉะนั้น จึงควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้รอบคอบ และอย่าปล่อยให้ตัวเองเป็นอุปสรรคกีดขวางตนเองไม่ให้ทำกุศลคือการอบรมใจให้สว่าง สะอาด ฉลาด พร้อมด้วยสติปัญญา เมตตา กรุณา เป็นต้น
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงถวายวัดกุฏีทอง-รับพระผงกริ่งนาคราช.557837/
     
  2. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    เชิญชวนจัดพิมพ์หนังสือธรรมะทรงคุณค่า

    วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ

    ในราคาต้นทุนโรงพิมพ์ธรรมทาน 19 บาท


    [​IMG]

    หนังสือเรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี

    ผู้แต่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    จำนวน ๔๐ หน้า

    ขนาด ๑๔.๕x ๒๑ ซม.

    วัสดุ กระดาษปอนด์

    ..................................................................................



    แจกหนังสือธรรมะ พิมพ์หนังสือธรรมะ เนื่องในงานพิเศษ หรือโอกาสพิเศษต่างๆ

    ใหม่ " วิธีสร้างบุญบารมี " พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ


    สามารถสั่งจองหนังสือ หรือ ส่งรายชื่อร่วมจัดพิมพ์พร้อมจำนวนพิมพ์ได้ที่ trilak_books@yahoo.com


    (แจ้งหัว mail "สั่งพิมพ์วิธีสร้างบุญบารมี" ) (ใช้เวลาส่ง 2-3 วันถึงที่หมาย)

    ใหม่ " วิธีสร้างบุญบารมี " พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ส่งรายชื่อร่วมจัดพิมพ์ พร้อมจำนวนพิมพ์ได้ที่ trilak_books@yahoo.com

    วิธีสร้างบุญบารมี



    โปรโมชั่น (เฉพาะเล่ม ที่พิมพ์ใหม่ นี้ ) สั่ง 100 เล่มขึ้นไป พิมพ์ชื่อ ฟรี 1 หน้า ส่งฟรีทั่วประเทศ

    .................................................................................................................................................

    สารบัญ

    คำนำ

    วิธีสร้างบุญบารมี

    การทำทาน

    องค์ประกอบข้อที่ 1 "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"

    องค์ประกอบข้อที่ 2 "เจตนาในการทำทานต้องบริสุทธิ์"

    ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น

    ร่ำรวยในวัยกลางคน

    องค์ประกอบข้อ 3 "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"



    2 การรักษาศีล

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 1

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 2

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 3

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 4

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 5



    3 การภาวนา

    สมถภาวนา (การทำสมาธิ)

    วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)

    มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน

    มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน

    มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน

    มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน
    [​IMG]
    .............................................................

    พระนิพนธ์ เรื่อง "วิธีสร้างบุญบารมี" เล่มนี้ ท่านเจ้าประคุณ

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ผู้เป็นสังฆบิดรของพระพุทธศาสนิกชนชาวไทย และเป็นที่พึ่งของพวกเราทั้งหลาย

    ได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่อให้พวกเราทั้งหลาย ได้รู้และศึกษา

    เพื่อเข้าใจถึงวิธีสร้างบุญบารมี ในทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่

    การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา พระองค์

    ได้อธิบายชี้แจงแสดงเหตุ และ ผล อย่างชัดเจน

    แจ่มแจ้งยิ่งนัก ทำให้พระนิพนธ์เล่มนี้ ได้รับความสนใจ จากพุทธศาสนิกชน

    เป็นอย่างมากในปัจจุบัน และมีผู้ต้องการมีไว้ศึกษาเป็นจำนวนมาก เพื่อความสุข

    และความเจริญแก่ตนเองและบุคคลรอบข้างอยู่ตลอดเวลาจวบจนปัจจุบัน

    .............................................................................................

    บุญ

    ความหมายตามพจนานุกรม พุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    กล่าวว่า บุญ คือเครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข,

    ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลธรรม




    บารมี คือ คุณความดี ที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง

    วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๓ ขั้นตอน

    คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา

    ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทาน หรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่
    ตํ่าที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าถือศีลไปได้,

    การถือศีลนั้น แม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญ
    มากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบารมีที่สูงที่สุด

    ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้ เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่น

    การทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ผ้าป่า สละทรัพย์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ

    ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่า

    การทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไร

    จึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด

    ..............................................................
    [​IMG]


    "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"

    การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น

    ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตนอันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส"

    และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน

    อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร

    ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์

    แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริง จะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

    (๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน

    ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริง เบิกบาน

    ยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น ให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สินของตน

    (๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน

    ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังเป็นผู้ให้ผู้อื่น

    (๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว

    ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี

    เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานนั้นๆ

    เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดี

    ในทานที่ทำนั้นก็สำคัญและเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่น

    ให้พ้นจากความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตนนับว่าเป็น

    เจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้นแต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมา

    แล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอีกหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา

    กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทาน พร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา

    โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลก

    นิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น

    แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นแต่เพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใด

    โดยเฉพาะเป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น

    และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคนซึ่งแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น

    ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว

    แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆ ไปเช่นนี้

    แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น

    ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง

    นับว่าเป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว

    ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว

    ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเอง

    ก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้

    เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด

    เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

    เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว

    ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาด้วยแล้ว เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง

    ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมาก หากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย

    ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ

    เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือ การทำทานนั้น

    อย่าได้เบียดเบียนตนเอง...เช่นมีน้อยแต่ฝืนทำให้มากๆจนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้

    เมื่่อได้ทำไปแลั้วตนเองและสามีภริยารวมทั้งบุตรต้องลำบากขาดแคลน

    เพราะไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่

    บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย



    [​IMG]


    ..............................................................

    วิธีสร้างบุญบารมี

    ...............................................................................................................

    สร้างสมบุญใหญ่ ช่วยให้ชีวิตพบสุข การทำบุญในพระพุทธศาสนาแม้จะมีมากมาย

    แต่ก็รวมลงในหลักใหญ่ 3 ประการ ซึ่งจะส่งผลให้ท่านผู้ปฏิบัติได้รับความสุขตามลำดับชั้น คือ

    -ทาน การให้ผู้ใดปฏิบัติเป็นประจำ ทำให้เป็นที่รักของคนอื่นในชาตินี้เมื่อชิ้นชีวีก็จะไปเกิดในสุคติภูมิ

    กลับมาเกิดใหม่ก็จะไม่เป็นผู้ยากไร้ขัดสน

    -ศีล การรักษาความประพฤติทางกาย-วาจา ของตนให้เป็นปกตินั้น ท่านผู้ปฏิบัติเป็นประจำ

    ทำให้เป็นผู้ไม่มีเวรภัยกับใคร เมื่อถึงคราสิ้นใจก็จะไปเกิดในสวรรค์ ครั้นมาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติใหม่

    ก็จะทำให้มีอายุยืนนาน

    -ภาวนา การฝึกอบรมจิตตนให้เป็นสมาธิจนรู้แจ้งในสิ่งทั้งหลาย ผู้ใดปฏิบัติเป็นประจำ

    ทำให้เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีสติปัญญาในการแก้ไขสรรพปัญหา เมื่อถึงคราสิ้นใจก็จะไปเกิดภพภูมิที่ดี

    ตามภูมิธรรมที่ตนปฏิบัติไว้ ทั้งเป็นปัจจัยนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่กระแสมรรคผลนิพพานได้

    ………………………………………………………………………….
     

แชร์หน้านี้

Loading...