วิธีเจริญสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 28 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    บำเพ็ญ ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้แก่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)

    เจริญ ทำให้งอกงาม, มากขึ้น, งอกงาม, เติบโต

    ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีเจริญสมาธิ

    ได้กล่าวแล้วว่า ผู้ปฏิบัติธรรมอาจใช้สมาธิเพียงขั้นต้น ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรมตามหลักวิปัสสนา และสมาธินั้นก็จะเจริญขึ้นไปกับการเจริญวิปัสสนาด้วย

    อย่างไรก็ดี แม้ว่าสมาธิที่เจริญขึ้นไปด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ ในที่สุดก็จะมีกำลังพอที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติบรรลุผลที่หมายของวิปัสสนา คือความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ ประจักษ์แจ้งนิพพานได้ก็จริง แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะให้ได้ผลสำเร็จทางจิต ที่เป็นส่วนพิเศษออกไป คืออภิญญาขั้นโลกีย์ต่างๆมีอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นต้น

    นอกจากนั้น การเริ่มต้นด้วยสมาธิที่ยิ่งอ่อน ก็เหมือนคนเดินทางที่มีกำลังน้อย ไม่แข็งแรง ทำให้มีความพร้อมในการเดินทางน้อยลง แม้จะหวังไปค่อยๆเสริมกำลังข้างหน้า ก็สู้คนที่เตรียมพร้อมเต็มที่ไปแต่ต้น เริ่มเดินทางด้วยความมั่นคงไม่มีห่วงกังวลเลย ไม่ได้ ยิ่งถ้าปัญญาไม่เฉียบแหลมอีกด้วย ก็ยิ่งยากลำบาก หรือปัญญาแก่ไป บางทีก็พาให้ฟุ้งซ่านเสียอีก* (ดู วิสุทธิ.1/165) ดังนั้น จึงเกิดความนิยมที่จะฝึกพัฒนาเน้นหนักด้านสมาธิให้เป็นพื้นฐานไปก่อน ไม่มากก็น้อย แม้จะไม่หวังผลสำเร็จทางด้านพลังจิตถึงขั้นอภิญญาอะไร แต่ก็พอให้เป็นพื้นฐานที่มั่นคงพอสมควร ในการเจริญปัญญาต่อไป


    เรื่องที่ว่านี้ ถ้ามองดูความเป็นไปในชีวิตจริง จะเห็นชัดยิ่งขึ้น คนบางคน ถ้าอยู่ในสถานที่มีเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อย หรือมีคนอื่นเดินผ่านไปผ่านมา จะทำอะไรที่ใช้ความคิดไม่ได้เลย ที่จะใช้ปัญญาพิจารณาอะไรอย่างลึกซึ้ง เป็นอันไม่ต้องพูดถึง

    แต่คนบางคนมีจิตแน่วแน่มั่นคงดีกว่า แม้จะมีเสียงต่างๆ รบกวนรอบด้าน มีคนพลุกพล่านจอแจ ก็สามารถใช้ความคิดพิจารณาทำงานที่ต้องใช้สติปัญญาได้อย่างปกติ

    บางคนมีกำลังจิตเข้มแข็งมาก แม้อยู่ในสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้นหวาดกลัว ก็ไม่หวั่นไหว สามารถใช้ปัญญามองการณ์และคิดการต่างๆอย่างได้ผลดี ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

    ดังมีเรื่องเล่าว่า พระเจ้านะโปเลียนที่ ๑ แห่งฝรั่งเศส มีพลังจิตสูง ประสงค์คิดเรื่องไหนเวลาใด ก็คิดเรื่องนั้นเวลานั้น ไม่ประสงค์คิดเรื่องใด ก็ไม่คิดเรื่องนั้น เปรียบสมองเหมือนมีลิ้นชัก จัดแยกเก็บเรื่องต่างๆไว้เป็นพวกๆ อย่างมีระเบียบ ชักออกมาใช้ได้ตรงเรื่องตามต้องการ

    แม้อยู่ในสนามรบ ท่ามกลางเสียงปืนเสียงระเบิดกึกก้อง เสียงคนเสียงม้าศึกวุ่นวายสับสน ก็มีกิริยาอาการสงบ คิดการได้เฉียบแหลมเหมือนในสถานการณ์ปกติ หากประสงค์จะพักผ่อน ก็หลับได้ทันที

    ต่างจากคนสามัญจำนวนมากที่ไม่ได้ฝึก เมื่อตกอยู่ในถานการณ์เช่นนั้น อย่าว่าแต่คิดการใดๆเลย แม้แต่เพียงจะควบคุมจิตใจให้อยู่ที่ ก็ไม่ได้ มักจะขวัญหนี ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ตื่นเต้นไม่เป็นกระบวน



    เรื่องเล่านี้ แม้จะยังไม่พบหลักฐาน แต่ในกรณีทั่วไป ทุกคนก็คงพอจะมองเห็นได้ถึงความแตกต่าง ระหว่างคนที่กำลังจิตเข้มแข็ง กับ คนที่มีใจอ่อนแอ เรื่องพระเจ้านะโปเลียนที่เล่ากันมานั้น ก็ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์เลย หากเทียบกับตัวอย่างในคัมภีร์ เช่น อาฬารดาบส กาลามโคตร ระหว่างเดินทางไกล นั่งพักกลางวันอยู่ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง มีกองเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม ผ่านไปใกล้ๆ ท่านก็มิได้เห็น ไม่ได้ยินเสียงกองเกวียนนั้นเลย

    พระพุทธเจ้า คราวหนึ่ง ขณะประทับอยู่ ณ เมืองอาตุมา มีฝนตกหนักมาก ฟ้าคะนอง เสียงฟ้าผ่าครื้นครั่นสนั่นไหว ชาวนาสองพี่น้องและโคสี่ตัว ถูกฟ้าผ่าตาย ใกล้ที่ประทับพักอยู่นั้นเอง พระพุทธเจ้า ทรงอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบ ไม่ทรงได้ยินเสียงทั้งหมดนั้นเลย * (ที.ม.10/120-1/152-3)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งตรัสว่า ผู้ที่ฟ้าผ่าไม่สะดุ้ง ก็มีแต่พระอรหันต์ขีณาสพ ช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนย และพญาสีหราช* (องฺ.ทุก.20/302-4/47) ในหมู่คนสามัญ กำลังใจ กำลังปัญญา ความแน่วแน่มั่นคงของจิต ก็ยังแตกต่างกันออกไปเป็นอันมาก

    สำหรับคนส่วนใหญ่ ซึ่งกำลังความมั่นคงของจิตก็ไม่มาก กำลังปัญญาก็ไม่เฉียบแหลมนัก อาจารย์ใหญ่มากหลายท่าน จึงเห็นว่า ถ้าไม่เตรียมจิตที่เป็นสนามทำงานของปัญญาให้พร้อมดีก่อน โอกาสที่จะแทงตลอดสัจธรรมด้วยโลกุตรปัญญา ย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง ท่านจึงเน้นการฝึกจิตด้วยกระบวนสมาธิภาวนาให้เป็นฐานไว้ก่อนเจริญปัญญาอย่างจริงจังต่อไป

    การฝึกอบรมเจริญสมาธินั้น แม้ว่าโดยหลักการ จะพูดได้สั้นนิดเดียว แต่ในด้านวิธีการ มีเนื้อหารายละเอียดมากมาย ยิ่งถ้าพูดต่อออกไปจนถึงการใช้สมาธิ (คือจิตเป็นสมาธิ) นั้น เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว กลายเป็นเรื่องใหญ่มาก มีขอบเขตกว้างขวาง รวมเรียกว่าสมถะและวิปัสสนา
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การการเจริญสมาธิแบบธรรมดาพาไปเอง

    การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักการเกิดขึ้นของสมาธิในกระบวนธรรมที่เป็นไปเองตามธรรมดาของธรรมชาติ หรือธรรมดาพาไปโดยไม่ต้องคิดตั้งใจ ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้มากมายหลายแห่ง สาระสำคัญของกระบวนธรรมนี้คือ กระทำสิ่งที่ดีงามอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เกิดปราโมทย์ขึ้น จากนั้น ก็จะเกิดมีปีติ ซึ่งตามมาด้วยปัสสัทธิ ความสุข และสมาธิในที่สุด พูดเป็นคำไทยว่า เกิดความชื่นบานบันเทิงใจ จากนั้น ก็จะเกิดความเอิบอิ่มใจ ร่างกายผ่อนคลายสงบ จิตใจสบายมีความสุข แล้วสมาธิก็เกิดขึ้นได้ เขียนให้ดูง่ายดังนี้

    ปราโมทย์ => ปีติ => ปัสสัทธิ => สุข => สมาธิ

    หลักทั่วไป มีอยู่อย่างหนึ่งว่า การที่กระบวนธรรมเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น ตามปกติจะต้องมีศีลเป็นฐานรองรับอยู่ก่อน สำหรับคนทั่วไป ศีลนี้ ก็หมายเอาเพียงแค่การที่มิได้ไปเบียดเบียนล่วงละเมิดใครมา ที่จะเป็นเหตุให้ใจคอวุ่นวายคอยระแวงหวาดหวั่นกลัวโทษ หรือเดือดร้อนใจในความผิด ความชั่วร้าย ของตนเอง มีความประพฤติสุจริตเป็นที่สบายใจของตน ทำให้เกิดความเป็นปกติมั่นใจตัวเองได้

    ส่วนการกระทำที่จะให้เกิดปราโมทย์ ก็มีได้หลายอย่าง เช่น อาจนึกถึงความประพฤติดีงามสุจริตของตนเองแล้ว เกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้น ก็ได้ อาจระลึกถึงการทำงานการบำเพ็ญประโยชน์ของตน อาจระลึกถึงพระรัตนตรัย และสิ่งดีงามอื่นๆ อาจหยิบยกเอาหลักธรรมบางอย่างขึ้นมาพิจารณา แล้วเกิดความเข้าใจได้หลัก ได้ความหมาย เป็นต้น * แล้วเกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นมา ก็ได้ทั้งสิ้น

    องค์ธรรมสำคัญที่จะเป็นบรรทัดฐาน หรือเป็นปัจจัยใกล้ชิดที่สุดให้สมาธิเกิดขึ้นได้ ก็คือ ความสุข

    ดังพุทธพจน์ที่ตรัสเป็นแบบไว้เสมอๆ ว่า "สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ" แปลว่า ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ขอยกตัวอย่าง ความเต็มมาดูสักแห่งหนึ่ง

    "(เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม) ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมผ่อนคลายสงบ ผู้มีกายผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น" * (ที.ปา. 11/302/254)

    อย่างไรก็ตาม ว่าที่จริง การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือหลักทั่วไปของการฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นแกนกลางของวิธีฝึกทั่วไปถึงขั้นก่อนจะได้ฌานนั่นเอง

    ………..
    อ้างอิง *


    * ระลึกถึงสิ่งดีงาม หรือความดีที่ได้ทำ เช่น วินย.5/153/213 ฯลฯ พิจารณาธรรมเกิดความเข้าใจ เช่น ที.ปา.11/455/329 ฯลฯ มองเห็นความหมดจดในจิตของตน เช่น ที.สี.9/127/89; 383/310 ฯลฯ ผลสืบเนื่องจากศีล เช่น สํ.สฬ. 18/144/98; 668/433 ฯลฯ ความไม่ประมาท สํ.ม.19/1602/501 ตามแนวโพชฌงค์ เช่น ม.อุ.14/290/197 ฯลฯ อาศัยนิมิต เช่น สํ.ม.19/717-8/207-8
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    1. การเจริญสมาธิแบบธรรมดาพาไปเอง

    2. การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท


    3. การเจริญสมาธิอย่างสามัญ หรือฝึกสมาธิโดยใช้สติเป็นตัวนำ



    การทำสมาธิอย่างที่ 2- 3 ดู ที่

    http://palungjit.org/threads/ทำสมาธิตามหลักอิทธิบาท.613679/


    - การเจริญสมาธิแบบที่ 1-3 คงไม่คุ้นหูนัก

    ที่เคยได้ยินกันบ้างก็การเจริญสมาธิอย่างที่ 4 นี่ (แต่ไม่ใช้ชื่อนี้)

    4. การเจริญสมาธิอย่างเป็นแบบแผน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...