วิปัสสนา สติต้องตามทันขณะปัจจุบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 10 กรกฎาคม 2017.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พวกเธอพึงละความยึดมั่นถือมั่น (พระพุทธพจน์)
    เมื่อเธอยึดมั่นถือมั่น เธอพึงละเสีย (พุทธธรรม)


    "ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ เป็นไฉน?"
    ปัญญาเอาอะไรมาเห็น? เพราะปัญญาเป็นเพียงคุณลักษณะ "ของ"
    ถึงต้องถามว่า สติ-ปัญญา ตั้งลงที่ไหน?
    ปรัชญา ย่อมต่างจาก พระพุทธพจน์555
    เจริญในธรรม
    ธรรมภูต
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปัญญาเอาอะไรมาเห็น

    เหมือนกำลังเข้าใจว่าปัญญาไม่มีตายังงั้นแหละ ก็ปัญญาจักษุไง อิอิ

    ปัญญาเป็นเจตสิก เป็นปัญญินทรีย์ เป็นปัญญาพละ ฯลฯ
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สุดท้ายต้องปัญญาจักษุ

    “ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล้ว...สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน... บรรลุทุติยฌาน... บรรลุตติยฌาน... บรรลุจตุตถฌาน...บรรลุอากาสานัญจายตนะ... บรรลุวิญญาณัญจายตนะ…บรรลุอากิญจัญญายตนะ…บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ…บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป(องฺ.นวก.23/244/456)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เครื่องวัดความพร้อม

    หลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อม และบ่งชี้ความก้าวหน้าช้า หรือ เร็วของ บุคคล ในการปฏิบัติธรรมได้แก่ อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
    หลักธรรมชุดนี้ ใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมได้ทั่วไป ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด มิใช่ใช้เฉพาะสำหรับการเจริญสมาธิเท่านั้น

    อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น ความเพียร กำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงาน และปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้


    ความหมายของ อินทรีย์ ๕ อย่างนั้น ท่านแสดงไว้พอสรุปได้ ดังนี้ (สํ.ม.19/852-875/259-265)

    ๑. ศรัทธา (เรียกเต็มว่า สัทธินทรีย์) พึงเห็นได้ใน โสดาปัตติยังคะ ๔ ว่าโดยสาระก็คือ ศรัทธาในตถาคตโพธิ หรือ ตถาคตโพธิสัทธานั่นเอง กิจหรือหน้าที่ของ ศรัทธา คือ ความน้อมใจดิ่ง มุ่งดิ่งไป ปลงใจ ปักใจ (อธิโมกข์) ความหมายที่ต้องการว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริง ความดี ของสิ่งที่นับถือ หรือปฏิบัติ

    ๒. วิริยะ (เรียกเต็มว่า วิริยินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สัมมปัปธาน ๔ บางแห่งว่า ความเพียรที่ได้ด้วยปรารภสัมมัปปธาน ๔ หรือตัวสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง บางทีก็พูดให้สั้นลงว่า ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม และทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม การมีความแกล้วกล้าแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม หน้าที่ของวิริยะ คือ การยกจิตไว้ (ปัคคาหะ) ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้า ไม่ท้อถอย

    ๓. สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สติปัฏฐาน ๔ บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภสติปัฏฐาน ๔ หรือตัวสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง บางทีให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัวที่ยวดยิ่ง สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำ คำที่พูดแล้ว แม้นานได้ หน้าที่ของ สติ คือ การดูแล หรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน) ความหมายสามัญว่า ความระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง

    ๔. สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์) พึงเห็นได้ใน ฌาน ๔ บางแห่งว่า หมายถึงตัวฌาน ๔ นั่นเอง หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การทำภาวะปล่อยวางให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตาแห่งจิต หน้าที่ของสมาธิ คือ การทำจิตไม่ให้ฟุ้ง ไม่ให้ส่าย (อวิกเขปะ) ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่น แน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด

    ๕. ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์) พึงเห็นได้ใน อริยสัจ ๔ คือการรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การมีปัญญา ความประกอบด้วยปัญญา ที่หยั่งถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป ซึ่งเป็นอริยะ ทำลายกิเลสได้ อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
    หน้าที่ของปัญญา คือ การเห็นความจริง (ทัสสนะ) ความหมายสามัญว่า ความรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้ทั่วชัด รู้สิ่งที่ทำที่ปฏิบัติ หยั่งรู้ หรือรู้เท่าทันสภาวะ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ .31/425/302; 452/332) แสดงอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้าม ที่อินทรีย์ ๕ จะกำจัด เป็นคู่ๆ

    ๑. ศรัทธา เป็นใหญ่ในหน้าที่น้อมใจดิ่งหรือปลงใจให้ กำจัดอกุศล คือ ความไม่เชื่อถือ

    ๒. วิริยะ เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคองหรือคอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศล คือ ความเกียจคร้าน

    ๓. สติ เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้มหรือดูแลจิต กำจัดอกุศล คือ ความประมาท

    ๔. สมาธิ เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่านส่าย กำจัดอกุศล คือ อุทธัจจะ

    ๕. ปัญญา เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศล คือ อวิชชา
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คณะทำงานของปัญญา

    คำว่าสนามปฏิบัติการของปัญญาในที่นี้ หมายถึงหลักธรรมชุดที่เรียกว่า โพชฌงค์

    โพชฌงค์เป็นทั้งธรรมเกื้อหนุนในการเจริญสมาธิ และเป็นที่ใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ที่สูงขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ วิชชาและวิมุตติ

    โพชฌงค์มี ๗ ข้อ คือ สติ ธรรมวิจัย (ธัมมวิจยะ ก็เขียน) วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ (ความผ่อนคลายสงบเย็นกายเย็นใจ) สมาธิ และอุเบกขา

    มีพุทธพจน์จำกัดความหมายของโพชฌงค์ไว้สั้นๆว่า

    "เพราะเป็นไปเพื่อโพธะ (ความตรัสรู้) ฉะนั้น จึงเรียกว่า โพชฌงค์" (สํ.ม.19/390/104; 435/120)

    อรรถกถาแปลตามรูปศัพท์ว่า องค์คุณของผู้ตรัสรู้หรือผู้จะตรัสรู้บ้าง องค์ประกอบของการตรัสรู้บ้าง (ดู วิสุทฺธิ.3/329 สํ.อ.3/220)


    ว่าโดยหลักการ โพชฌงค์เป็นธรรมฝ่ายตรงข้ามกับนิวรณ์ ๕ จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องโพชฌงค์ไว้ควบคู่ไปด้วยกันกับนิวรณ์เป็นส่วนมาก โดยฐานทำหน้าที่ตรงข้ามกัน

    แม้คำบรรยายคุณลักษณะต่างๆของโพชฌงค์ ก็เป็นข้อความตรงกันข้ามกับคำบรรยายลักษณะของนิวรณ์นั่นเอง ดังเช่น

    "ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้ ไม่เป็นเครื่องปิดกั้น ไม่เป็นนิวรณ์ ไม่เป็นอุปกิเลสแห่งจิต เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งผลคือวิชชาและวิมุตติ(สํ.ม.19/478/131)

    "ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้ เป็นธรรมให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน" (สํ.ม.19/502/137)


    นิวรณ์เป็นสิ่งที่ทำลายคุณภาพจิต หรือทำให้จิตเสียคุณภาพ ลักษณะนี้น่าจะใช้เป็นเครื่องวัดความเสื่อมเสียสุขภาพจิตได้ด้วย

    ส่วนโพชฌงค์ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม ก็เป็นธรรมที่ส่งเสริมคุณภาพจิต และช่วยให้มีสุขภาพจิตดี เป็นเครื่องบำรุงและวัดสุขภาพจิต

    โพชฌงค์ ๗ นั้น มีความหมายรายข้อ ดังนี้

    ๑. สติ ความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถทวนระลึกนึกถึง หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องหรือต้องใช้ต้องทำในเวลานั้น

    ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุมตั้งแต่การมีสติกำกับตัว ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังมองดูพิจารณาเฉพาะหน้า จนถึงการหวนระลึกรวบรวมเอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว หรือสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้ต้องทำ มานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา

    ๒. ธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาวิจัยสิ่งที่สติกำหนดจับไว้ หรือธรรมที่สติระลึกรวมมานำเสนอนั้น ตามสภาวะ เช่น ไตร่ตรองให้เข้าใจความหมาย จับสาระของสิ่งที่พิจารณานั้นได้ ตรวจตราเลือกเฟ้นเอาธรรมหรือสิ่งที่เกื้อกุลแก่ชีวิตจิตใจ หรือสิ่งที่ใช้ได้เหมาะดีที่สุดในกรณีนั้นๆ หรือมองเห็นอาการที่สิ่งที่พิจารณานั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจตามสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์ ตลอดจนปัญญาที่มองเห็นอริยสัจ

    ๓. วิริยะ ความเพียร หมายถึง ความแกล้วกล้า เข้มแข็ง กระตือรือร้นในธรรมหรือสิ่งที่ปัญญาเห็นได้ อาจหาญในความดี มีกำลังใจ สู้กิจ บากบั่น รุดไปข้างหน้า ยกจิตไว้ได้ ไม่ให้หดหู่ถดถอยหรือท้อแท้

    ๔. ปีติ ความอิ่มใจ หมายถึง ความเอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ปรีดิ์เปรม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง แช่มชื่น ซาบซ่าน ฟูใจ

    ๕. ปัสสัทธิ ความสงบเย็นกายใจ หมายถึง ความผ่อนคลายกายใจ สงบระงับ เรียบรื่น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย

    ๖. สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น หมายถึง ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ทรงตัวสม่ำเสมอ เดินเรียบ อยู่กับกิจ ไม่วอกแวก ไม่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน

    ๗. อุเบกขา ความเฉยดูอยู่ หมายถึงมีใจเป็นกลาง วางทีเฉย ใจเรียบสงบ นิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วอยู่กับงานแล้ว ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง หรือดำเนินไปด้วยดีตามแนวทางที่จัดวางไว้หรือที่มันควรจะเป็น หรือยังไม่ควรขวนขวาย ไม่วุ่นวาย ไม่สอดส่าย ไม่แทรกแซง
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    (ก็ปัญญาจักษุไง อิอิ)
    ^
    ^

    555 ดันไปจนได้ ถามไปก็ไม่ได้คำตอบ ปัญญาตั้งลงที่ไหน?
    อะไรที่เป็นคุณลักษณะล้วนต้องมีที่ตั้ง ที่อาศัย
    ไม่ใช่ลอยไปลอยมา หาที่ตั้งไม่ได้ แบบที่ชอบสอนๆกัน
    ตำรานั้นเอาไว้เรียนกันเท่านั้น
    จะรู้จริงเห็นจริง(จิตที่มีปัญญา)ได้ต้องลงมือภาวนามยปัญญาเท่านั้น
    เจริญในธรรม
    ธรรมภูติ

     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ก็บอกแล้ว่า ปัญญาเป็นนามธรรมเป็นเจตสิก เป็นคุณสมบัติของจิต เออ ปฏิบัติไปๆๆทำไป ตามหลักไตรสิกขา ถึงจุดมันรู้มันเห็นก็โอเค

    ในเมื่อมันเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม จะสั่งจะบอกว่าไปตั้งตรงนั้นตรงนี้ เหมือนวัตถุธรรม หรือรูปธรรม ทำนองว่า นี่ๆ คุณน้อง ยกข้าวผัดจานนี้ไปตั้งที่โต๊ะ 3 นะ ไม่ได้ มันต้องสร้างเหตุปัจจัยให้มันเกิด คือมีหลักให้มัน

    เช่น หลักสติปัฏฐาน ก็ต้องมีกายานุปัสสนา (รูปธรรม) หรือไม่ก็ใช่กสิณ นี่ก็รูปธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...