วิมุตติ ก้บ นิพพาน ต่างกันอย่างไรครับ(ขอโอกาสถามครับ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 13 มิถุนายน 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ผมเข้าใจ อย่างนี้พอจะได้ไหมครับ
    วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น จากขันธ์ ๕ (พระอรหันต์ยังมีชีวิต)
    นิพพาน คือ ไม่มีขันธ์ ๕ (พระอรหันต์ที่มรณะภาพแล้ว)
     
  2. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    ==========

    อนุโมทนาครับ ใช่ครับ
    แต่ก็จะมีส่วนหนึ่ง ที่วิมุตติและนิพพานเกิดต่อเนื่องกันในวาระที่ดับกายสังขาร์ก็มีครับ
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    หลักของความ " พอจะได้ไหมครับ " ในทางพุทธศาสนา เราจะเรียกว่า

    " หลักของการเกื้อกูลกัน " หรือ " หลักประโยชน์ "

    ไม่ใช่อยู่ที่หลักการ " บัญญัติ " ในลกษณะ ตราเป็น กฏหมาย ประกาศลง
    ใน " ศาสนกิจานุเบกษา ฉบับ พ.ศ. เกษตร หรือ อาจารย์เกษตร "

    หลักประโยชน์ ในการกล่าว หากกล่าวไปแล้ว มันเป็นประโยชน์ คือ ทำให้
    ผู้ฟังคำดังกล่าว เกิดการสั่นสะเทือนใจ ใคร่พ้น แล้ว โน้มจิต "เข้าฟังธรรม ภายใน"
    คำใดที่ทำให้เกิด กริยาจิตอย่างนั้น ก็ใช้ได้หมด

    วิมุตติ เราจึงเห็นบางที่ บางคน บางภาค นิยมใช้แทนคำว่า นิพพาน โดยเฉพาะ
    พวกชอบ เซ็น ลายเซ็น เราจะเห็นเขาเอา ภู่กันเขียนเป็น วงกลม มีจุดจรด เลย
    มีหัว มองไปแล้วมันเหมือน ตัว ว. แล้วแต่ใครจะวนซ้าย วนขวา

    คำว่า วิมุตติ ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก จะเป็น คำกลางๆ คือ เป็นทั้ง โลกียธรรม
    และ โลกุตรธรรม

    ถ้าจะกล่าวให้เต็มๆ ก็ต้องเรียกว่า " วิมุตติขันธ์ " จัดเป็น กองขันธ์ อย่างหนึ่ง
    เพราะว่า เป็นปัจจัยให้เกิด อุปทาน การสำคัญตนได้

    และเพราะเป็น กองขันธ์ จึงมีความแปรปรวน แต่ ความแปรปรวนนั้น จะหมาย
    เอาไปทาง " ล่วงส่วน " ( เฉพาะ ที่มีสัมมาทิฏฐิ ) คือ มีแต่ จะดีขึ้น เป็นปัจจัย
    ต้นทุนให้ละจาก ฐานะเดิมไปสู่ ฐานะใหม่ ไม่มีการ ย้อนกลับ .....ซึ่งจะมีการ
    อุปมาเหมือนการไหลของ สายน้ำในแม่น้ำ ที่จะต้องไหลลงสู่ทะเล อย่างเดียว
    แม้นว่า บางที่มีย้อนกลับ ก็จะไม่มีทางย้อนกลับไปยังแหล่งกำเหนิด

    วิมุตติจึงมีการใช้กับคำว่า เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ

    ทั้ง เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ มีการกำเริบกลับได้ แต่ จะไม่เสียหาย
    ทั้งหมด เว้นแต่ จะเป็น มิจฉาวิมุตติ ( ไม่มี ปัญญา หรือ สัมมาทิฏฐิ เข้า
    ประกอบ ) ทำให้ มิจฉาวิมุตติ มีแต่ส่วน เจโตวิมุติ ซึ่ง เป็น โลกียอภิญญา ต่างๆ

    ฯลฯ

    ดังนั้น จขกท ก็เพียงแต่ ดูหลักประโยชน์ในการกล่าว ดูหลักเกื้อกูลกันในการ
    ยกกล่าว เป็นหลัก หากมันเข้าหลักการ ก็กล่าวไปเถอะ

    แต่ถ้า การยกกล่าวกลายเป็นเรื่อง หลักกู หลักสำนักกู หลักนิกายกู ถ้ากล่าวออก
    มาก็ไม่พ้นโดนยำวัยสิบ(teen)ไปได้

    ส่วนการใช้คำว่า นิพพาน นั้น ก็คล้ายๆกัน เช่น เราไปเที่ยว เนปาล หาก
    เราจะเกื้อกูลเด็กเล็กให้กินข้าวต้มไม่ร้อนเกินไป เราก็ต้องบอกเด็กว่า

    " สู สู รอมัน นิพพาน ก่อน " ซึ่งเด็กเนปาล 4 ขวบ จะเข้าใจคำว่า " นิพพาน "
    ได้ทันที แล้วเขาจะ นิ่ง รอ ข้าวต้มนิพพานก่อน แล้วจึงค่อย ยกซด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2013
  4. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    เมื่อจิตวิมุติคือความว่างเปล่า
    ผมได้ยินกับหูมีหลวงปู่ดุลย์ท่านกล่าวว่า
    ตรงนั้นว่างเปล่าว่างจากสมมุติทั้งปวง
    และสิ่งที่มีอยู่คือสมมุติทั้งสิ้น

    ผมไปเจอหนังสือที่หลวงปู่มั่นท่านเขียนไว้ว่า
    คือว่างเปล่า

    ว่างในขณะที่มีความรู้สึก
    ว่างในขณะสลบ
    ว่างในขณะหลับ
    ว่างเพราะมีอะไร

    ไม่ได้หมายถึงว่างอย่างนี้
    ว่างอย่างนี้ว่างอย่างไร
    ไม่มีอะไรเลย
    ไม่ใช่การสลบสลับหรือว่างแล้วมีความรู้สึกว่าว่าง

    น่าจะนิพานแล้วหรือไม่อย่างไร
    มิใช่หรือไม่อย่างไรขอรับ
    เพราะนี่คืออาการของจิต
    มรรคของจิตยังไม่ใช่ผลของจิต

    มรรคกายผลกาย
    มรรคเวทนาผลเวทนา
    มรรคจิตผลจิต
    ยังไม่ที่สุดของมรรคธรรมผลธรรม
    หรือไม่อย่างไร

    ผลของจิตเป็นอย่างไร
    เอาผลของกายก่อนไหมขอรับ
    ท่านที่หลุดฌานสี่ไปได้คือสิ่งหนึ่งหลุดออกไปจากกายตนแล้วรู้ว่า
    กายนี้ไม่ใช่ของตัวเราคือผลของการทำกายหรือไม่
    ถึงรู้ว่าอีกโลกหนึ่งมีจริง

    ผลของการทำเวทนาดูอย่างไรตอนไหน
    มีดูทุกขณะแต่ยังไม่ที่สุดเช่นกัน
    ที่สุดอย่างไรหาเอง
    ผมพยายามนำสื่อแต่บอร์ดกลัวเหล่ากัลยาณมิตรท่านรู้เขาลบกระทู้ผมขอรับ

    ผลของจิตใครรู้ช่วยกระผมด้วยผมกลัวว่าตัวเองรู้ไม่จริง
    เลยมาทะเลาะหาคนรู้จริงเพื่อจะมายันในสิ่งที่ผมเข้าใจ
    ว่าที่สุดแล้วเป็นอย่างนี้เหมือนกันแม้มาคนละทาง
    ทำไมย้อนศร
    ย้อนหาลิงหรือไม่อย่างไร

    มรรคที่เกิดจากธรรม
    หากจิตท่านไม่ปภัสระ

    เอียงแน่นอนไม่ดุลย์
    ไม่กลางสิน่ากลัวที่สุด
    ของกู กูรู รู้ที่สุดแล้วพอเจอเมฆถลามาอ้อบนฟ้ามีฟ้า
    บนอากาศมียานอวกาศ

    เนื้อนาบุญมีอยู่หลายท่านที่สามารถเสวนาได้
    ท่านเหล่านั้น
    น่าเคารพและน่าเชื่อถือเพราะแม่นมาก
    บางท่านแม่นปริยัติ
    บางท่านปฏิบัติและปฏิเวท
    แต่เชื่อเถิดขอรับ ที่สุดไม่มี

    เอามาว่านิพพานัง
    ไม่อ้างชื่อ..............ท่านว่านิรวานแปรว่าอะไรลืมอีกแล้ว

    เมื่อได้ผลของจิตรู้ว่าที่สุดของจิตเขาคืออะไร
    แล้วเรากลับเข้ามาดูธรรมใหม่
    ความเป็นกลางจะชัดขึ้น
    เหมือนลามกแต่ไม่ใช่ลามก
    เหมือนตลกแต่ไม่ใช่ตลก
    เหมือนเที่ยงแต่ไม่เที่ยง

    หากท่านรู้ธรรมว่าคืออะไรท่านจะทำอย่างไร
    และตรงนั้นคือนิพานหรือไม่
    แปด

    ท่านจะเป็นอริยะได้ท่านต้องเอาสิ่งนั้นมาเกื้อประโยชน์กัยผู้อื่นได้ใช่หรือไม่อย่างไร
    หรือไม่อย่างไรขอรับ

    ผมไม่รู้จริงและรู้จลิงเลยไม่รู้ว่ารู้อะไร
    โปรดพิจารณา
    วิตกวิจารณ์หากไม่ปิติเชื่อเลยว่า.............
    ขอทุกท่านเจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013
  5. noppp

    noppp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +9
    ตอบให้ง่ายๆ เลยนะครับ


    วิมุตติ เป็นสภาพที่จิต กอปรด้วย ปัญญาเห็นจริง แห่งสภาพ อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เป็นตัวตนจริง ในทางโลกียะ วิสัย เข้าสู่ สภาพอันเที่ยงแท้ เป็นสุขนิรันดร์ เป็นตัวตนจริง คือเป็นที่พึ่งของตนของตนได้ด้วยตนเอง นี่ละคับ เค้าเรียก นิพพาน ไงเล่า ครับป๋ม 555:boo:
     
  6. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ตายก่อนตาย กับ ดับไม่เหลือ



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


    ๗. ธาตุสูตร​
    [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้วเพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
    ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจ และ ไม่พึงใจยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
    เพราะความที่อินทรีย์๕เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น
    นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
    มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
    เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
    เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว

    อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

    ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
    เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส


    ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
    ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๗​
    ______________________________________________________________________________________________

    สะ = มี
    อุปาทิ = ขันธ์๕
    เสส = เหลือ
    สอุปาทิเสสนิพพาน = นิพพาน ที่มี ขันธ์๕เหลือ (ตัณหาดับไปแล้วเหลือแต่ขันธ์๕)
    คือ พระอรหันต์ ยังมีชีวิตอยู่ โดยเป็นการมีชีวิตครั้งสุดท้าย ในชาติสุดท้าย

    อนุ = ตามไป
    อุปาทิ = ขันธ์๕
    เสส = เหลือ
    อนุปาทิเสสนิพพาน = นิพพาน ที่ขันธ์๕ ที่เหลือ ดับตามไป (คือขันธ์๕ดับตามหลังตัณหา ที่ดับไปก่อนแล้ว)
    คือ พระอรหันต์ ที่เสียชีวิต โดยเป็นการเสียชีวิตครั้งสุดท้าย ในชาติสุดท้าย

    แสง แห่ง การดับตัณหา ของ สุกขวิปัสสโก มี เพียงแว๊บเดียว แล้วหายไป
    เกิดเป็นความงามในธรรม ที่ พระผู้เฒ่าท่านเห็นเอง เป็นส่วนตัวว่า “สะอาด สว่าง สงบ”

    แสง แห่ง การดับตัณหา ของ ผู้ทรงอภิญญา เจิดจ้าอยู่นานกว่าจะดับสนิท นานกว่าชีวิตของท่านเสียอีก
    เกิดเป็นความงามในธรรม ที่ พระผู้เฒ่าท่านเห็นเอง เป็นส่วนตัวว่า “เจิดจ้า นั้นไม่ดับ”

    ทั้งๆที่ความจริง แสง แห่ง อรหัตตผล ก็ ย่อมหนี ไม่พ้น ไปจาก กฎพระไตรลักษณ์
    แสงจ้านั้น ก็ เป็น ธรรมอย่างหนึ่ง ในธรรมทั้งปวง

    แสงจ้านั้น ก็ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน!


    นักแปลมือใหม่ จึง ได้แปล นิพพานธาตุทั้ง๒ พร้อมกับ ความเห็นส่วนตัว มาอย่าง กระท่อนกระแท่น ด้วยประการ ฉะนี้

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2018
  7. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    แสงเทียนส่องสว่าง
    แสงพระธาตุเปล่งสว่าง

    พอแสงสุริยาส่องโลกแสงไหนก็แสงไหน
    แสงไฟแสนกิโลโวลท์กิโลวัติเอาไปเสียบพัดลม
    หรือไม่อย่างไร

    หากตาท่านไม่มีแสงลองทุบตาตัวเองสิ
    แสง
    เราลืม
     
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (เจอพระสูตรมา น่าจะทำให้ความชัดเจนขึ้นบ้าง มีวิมุตติเป็นสาระ คือ อรหัตผลในปัจจุบัน คือ ความสิ้นไปแห่งชาติผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกาย
    ถ้าผมเข้าใจผิด ให้ท่านทั้งหลายช่วยแนะนำด้วยนะครับ)

    ๙. สิกขาสูตร
    [๒๒๔]
    จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้
    เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    จงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์
    มีปัญญายิ่งมีวิมุตติเป็นสาระ
    มีสติเป็นใหญ่อยู่เถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ
    มีสติเป็นใหญ่อยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
    อุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดามีปัญญายิ่ง
    มีปรกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่
    สุดนั้นแล ว่าผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ มีความ
    เพียร มีปรกติเห็นที่สุด คือ ความสิ้นไปแห่งชาติครอบงำมารพร้อม
    ด้วยเสนาได้แล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ ฯ

    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๙
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    หน้าที่ ๑๙๔/๔๑๘
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ให้สังเกตุที่ คำว่า " พึงหวังผล 2 อย่าง " แล้วจะตัดความเชื่อมโยง ที่คุณพยายาม
    ให้กลายเป็นสิ่งเดียวกันออกไปได้

    สิ่งที่หวังผล 1 ใน 2 อย่างคือ " อรหัตผล " .... เป็นสิ่งที่จะพึงเกิดขึ้นในอนาคต
    ไม่ใช่ขณะที่ พบรสของวิมุตติ( ซึ่ง กรณีเป็นผู้ทำสิกขาอยู่ บางคน วิมุตติ กำเริบกลับ
    ได้ ....ตรงนี้ หากเคยภาวนาด้วย สัมมปทาน4 มาบ้าง จะไม่เอา ความคิดมาทับการ
    เห็นตามความเป็นจริง )

    สิ่งที่หวังผลได้ อีกอย่างหละ ก็ว่าเป็น อนาคามี ซึ่งมีหลายแบบอีก แต่ว่าโดยวิมุติใน
    การเป็นอนาคามีนั้นเหมือนกัน แต่ การสิ้นสุดอรหัตผล ยังเป็นเรื่องที่มีความแตกต่าง
    กันได้อีก .... แต่ที่อยากให้เห็นว่า วิมุตติ ที่เป็นเงื่อนว่าเป็นสาระ หนะ เห็นหรือ
    เปล่าว่า เงื่อนในการติดเป็นแค่อนาคามีคือ มีอุปทานเหลือ

    มีวิมุตติเป็นสาระ แต่ อุปทาน ยังเต็มกระบาล เนี่ยะ ยังเป็น ฐานะที่เป็นได้

    ดังนั้น จะหยิบเอาคำว่า วิมุตติ ไปใช้แทน นิพพาน โต้งๆ เลย ก็แน่นอนว่า
    อาจโดนอัดให้หงายได้

    แต่ถ้า จะว่ากันด้วย " การไม่ย้อนกลับ " ของผู้ที่ มีสิกขาเป็นอานิสงค์
    ( โสดาปฏิผล นั่นแหละ ) ..... จะกล่าวแบบว่า .....

    เป็นโสดาบันได้ ก็ไม่ต้องห่วงแล้ว ย่อม มีนิพพานเป็น เบื้องหน้า เที่ยงแท้

    ถ้าใช้ เงื่อนแบบนี้กล่าว เราจะเห็นเลยว่า สำนักที่เน้น วิมุตติ เป็น ธงไชย
    เฉลิมศาสน์ จะเน้นการเป็น โสดาบัน ก็พอแล้ว ที่เหลือ เตะโด่งไปภาวนา
    เอาเอง ไม่ต้องไปคอยสอนยังไงก็นิพพานแน่นอน

    จึงได้ชี้แจงไปตอนต้นว่า มันขึ้นกับ หลักประโยชน์ในการกล่าว ในการชักชวน
    ให้โน้มเข้าสู่ฝั่ง จึงใช้คำว่า " วิมุตติ " แทนอาการ " ตกกระแสนิพพาน "
     
  10. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ผมจะค่อยๆศึกษาต่อไปครับ ขอบคุณทุกท่านครับ)

    ๕. สีลสูตร
    [๒๘๔]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้วด้วย

    ศีล
    สมาธิ
    ปัญญา
    วิมุตติ
    วิมุตติญาณทัสนะ

    เป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
    เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรมได้อย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
    การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การ
    ระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น
    ศีลขันธ์
    สมาธิขันธ์
    ปัญญาขันธ์
    วิมุตติขันธ์
    วิมุตติญาณทัสนขันธ์

    แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น เรากล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง นำพวกไปบ้าง ละข้าศึก คือ
    กิเลสบ้าง กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอภาสบ้าง กระทำความรุ่งเรืองบ้าง กระทำรัศมีบ้าง
    ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง มีจักษุบ้าง ดังนี้ ฯ

    การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตนอันอบรมแล้ว ผู้มีปรกติเป็นอยู่
    โดยธรรม ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำซึ่งความปราโมทย์แก่บัณฑิต
    ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง บัณฑิตทั้งหลาย ฟังคำสอนของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ผู้กระทำรัศมี ผู้กระทำแสงสว่างเป็นนักปราชญ์ ผู้มีจักษุ ผู้ละข้าศึก
    คือกิเลส ประกาศพระสัทธรรมยังสัตวโลกให้สว่าง แล้วรู้โดยชอบซึ่ง
    ความสิ้นไปแห่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ฯ

    จบสูตรที่ ๕

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    หน้าที่ ๒๔๕/๔๑๘
     
  11. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    อานิสงส์ ของ สิกขา

    วิมุตติเป็นสาระ
    อรหัตผลในปัจจุบัน
    ความสิ้นไปแห่งชาติผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกาย

    ทั้งสามอย่างที่ว่านี้ เป็นผลสูงสุดที่พึงปรารถนา และ จะเกิดขึ้นเป็นผลในปัจจุบันได้นั้น จะต้องมีการประกอบเหตุที่บริบูรณ์มาซะก่อน นั่นคือ สิกขา๓

    อานิสงส์ ของ สิกขา
    ถ้าสิกขา๓ บริบูรณ์ หมายถึง ศีล-สมาธิ-ปัญญาบริบูรณ์ อรหัตตผล ในปัจจุบัน ก็เกิดขึ้นได้ อย่างแน่นอน

    หากลดระดับลงมาเหลือ ศีล-สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ อนาคามิผล ในปัจจุบัน ก็เกิดขึ้นได้ อย่างแน่นอน

    แล้วถ้าลดลงมาอีก เหลือแต่ ศีลบริบูรณ์ สมาธิ-ปัญญา พอประมาณ ก็ตั้งอยู่ใน โสดาบัน และ สกทาคามี

    หากไม่มีศีล แต่มีความเข้าในสรณคมน์อย่างถูกต้อง ก็ยังจัดอยู่ในระยะที่จะได้มรรคผล ในหนึ่งแสนกัป
    คือ หลังจากที่เริ่มเข้าใจ และ เข้าสู่ความพยายามในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรณ๑๘)

    หากไม่มีศีล แล้ว แถมยังเข้าใจผิดในสรณคมน์อีก บวกด้วยการตกอยู่ในบ่วงของทิฏฐิ๖๒ ระยะที่จะถึงมรรคผลคงต้องมากกว่าแสนกัป
    แล้ว จะมากเลยไปจากแสนกัปอีกเท่าไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของ ตัวผู้นั้นเองว่าจะถอนตัวออกจากมิจฉาทิฏฐิได้มากแค่ไหน

    จุดเริ่มต้น ของ สิกขา
    จะว่าไปแล้ว การถึงสรคมณ์อย่างบริบูรณ์ การมีศีลอย่างบริบูรณ์ การตั้งทิฏฐิของตนขึ้นให้ถูกต้อง ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
    ก็เป็นเรื่องที่ยากแล้ว นี่ยังไม่ได้ล่วงไปถึงการทำสมาธิภาวนาเลย!


    .
     
  12. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,653
    ค่าพลัง:
    +1,211
    ทำไมทุกท่านเน้นเรื่องร่างกายรือขอรับ
    หากภาษาในวินัยนี้กระผมไม่มีพระไตรมาอ้าง
    แต่ท่านบอกชัดว่า

    กายสังขาร
    เวทนาสังขาร
    จิตสังขาร
    ธรรมสังขาร

    ถามจริงแล้วเอาวิญญานไปทิ้งไว้ที่ไหน
    หลังจากเลิกกับเวทนาเป็นเวทัลละ
    เลิกกับวิญญานท่านเป็นผีหรือไม่อย่างไร
    ไม่เป็นผีแล้วเป็นอะไร
    อย่าบอกนะว่าเป็นเทวดา
     
  13. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    จิตสังขาร ก็คือการปรุงแต่งทางวิญญาณ นะครับ เพราะ จิตก็คือวิญญานขันธ์ เขาพูดถูกแล้ว

    ตายแล้วก็เกิดใหม่สิครับ ตั้ง 31 ภพภูมิเลื่อกเอา ผมไม่เลือกเป็นหมาขี้เรื่อนแน่นอน
    พูดเล่นนะห้ามโกรธ

    นิพพานขณะอยู่ในตัวปุถุชน ธรรมชนิดนี้ก็เป็นนามธรรมอันหนึ่งที่ยึดเอาขันธ์ห้า ด้วยกิเลสสังโยชน์ เมื่อกิเลสสังโยชน์ถูกตัดลง มันก็หลุดออกมา ที่เรียกว่าวิมุติ พอหลุดออกมาก็เป็น นิพพาน เหมือนการคลอดคือวิมุติ ทารกที่คลอดแล้วก็คือนิพพาน ผมว่าอย่างนี้นะ
     
  14. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +3,090


    วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น (พ้นจากกิเลส) เป็นนามธรรม
    เมื่อเราหลุดพ้นแล้ว มีนิพพานเป็นที่หมาย เป็นเหมือนรูปธรรม แต่เป็นอนัตตา
    คือผู้ที่ไปแล้วไปลับกลับมาบอกไม่ได้ ผู้ยังอยู่ก็เดากันไปต่างๆนาๆ
    อนัตตา ก็คือ เดาไม่ถูกว่ามันเป็นยังไงนั่นเอง ๕๕๕
     
  15. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    เคยโพส เรื่อง

    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    กับ
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ลองรื้อมาดู มาระลึกถึงความหลัง ดูหน่อยครับ...
     
  16. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    วิมุติเป็นกิริยากึ่งวิเศษ
    นิพพานเป็นนามครับ
     
  17. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    เสนอแนวคับอาจไม่ตรงตามที่เข้าใจแต่คิดว่าเป็นไปได้..วิมุติคือความสงบระงับเป็นผลจากการทำความสงบระงับได้ด้วยกายในกายรู้กายเห็นกาย ด้วยจิตในจิตรู้จิตเห็นจิต ด้วยเวทนาในเวทนารู้เวทนาเห็นเวทนา ด้วยธรรมในธรรมรู้ธรรมเห็นธรรมที่กล่าวมานั้นแต่ละสิ่งมีมากมายแต่ที่ต้องรู้อาจมีมาดกมีน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าสร้างเหตุปัจจัยอะไรไว้มากน้อย...และเมื่อเห็นและรู้พร้อมๆกันใน...รักษาจนเห็นสัจธรรมผลนั้นคือ...ไม่มีเหตุผลต้องพิจารณาหรือต้องรู้อะไรหรือสงบระงับอะไร...มันก็ไม่ใช่ว่าง่ายแต่ขึ้นอยู่กับว่าใครเห็นและรู้เมื่อรู้แล้วนำมาพิจารณาอยู่เนืองๆหรือไม่เพราะส่วนใหญ่เมื่อรู้จะ...ยังคงเหมือนไม่รู้...และลุ่มหลงกับความรู้จึงยังไม่ถึงความสงบระงับจากเหตุคือกิเลสต่างๆที่มีมาจึงยังไม่ถึงผลอันเป็นผลสูงสุดแต่ก็เป็นเพียงตามความเชื่อตามความศรัทธาจึงยังไม่รู้ว่าอะไรคือ...วิมุติและเมื่อไม่มีหรือไม่เคยมีแม้แต่อารมณ์เสมือนของความสิ้นก็ไม่มีจึงยังไม่ใช่ทาง.....
     
  18. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    องค์ประกอบสำคัญคือสติและสติที่ใช้ได้เพื่อรู้ถึงความสงบระงับก็มีเพียงสติเดียวและเมื่อสติเดียวรับรู้อย่างชัดเจนก็จะเป็นจิตเดียวหรือหลายจิตก็ช่างแต่สติก็จะเป็นตัวหยั่งรู้และเห็นว่าอะไรคือความจริงและเหมือนจะเป็นไปตามที่ทรงสั่งสอน..สัมมาสติล้วนมีองค์ประกอบเพรียบพร้อมพอจะทำให้เกิดความสงบระงับ...ไม่รู้เข้าใจถูกไหมเพราะในสัญญามีสองสิ่งคือสัมมาสมาธิกับสัมมาสติ แต่รู้สึกว่าเมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสองสิ่งนี้เกิดไม่ว่าอะไรจะเกิดก่อนก็ตามอีกสิ่งหนึ่งจะปรากฏเสมอ...เพราะไม่ค่อยได้อ่านตำราจึงขออภัยท่านพหูสูตรทั้งหลายด้วยครับ
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เออ วันนี้ คุงเคนนี มาแปลก

    มีการออกตัว ขออภัย อันไม่เคยปรากฏบ่อยนัก

    ไหนๆ ก้ใช้โยน ถาม แล้ว

    พี่ต้อง พิจารณา เวทนา เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    ประกอบ ทิฏฐิเหล่านั้นที่ปรารภเหน เข้าไปด้วย

    ถึงจะแยกออก พรากออก แล้วฟังธรรมที่พ้นผู้แสดง

    เปนภาษาปฏิบัตินะ ดังนั้น ตอนปรารภเหน
    ก้ต้อง พินาในสมัยนั้นๆ มันถึงจะ ฉึบ!!

    ปิ้งๆ! ฉวิ้ง ฉะวั้ง


    โครมคราม หรือ แอ่แฮ่ ว่ากันไป


    ปล. อย่าลืม พก อารมณ์ขออภัยเข้าไป
    ด้วยนิดนึง อย่าเยอะ
     
  20. โอมมณีปัทเมฮุม

    โอมมณีปัทเมฮุม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +12
    วิมุติ เป็นผล เป็นผลของเหตุ อันมีหลายเหตุ หลายวิมุติ
    ดังนั้น วิมุติ บางเรื่องบางเรื่องยังไม่วิมุติได้
    นิพพาน เป็นผล แต่เป็นผลของความวิมุติทั้งปวงแล้ว
    ความต่างคือ วิมุติเป็นองประกอปของนิพพาน จะเป็นหรือตายก้ล้วนมีวิมุติเละนิพพานทั้งสองได้
    ทั้งยังมีชีวิต ก้มี วิมุติ เละนิพพานได้
    เมื่อตายแล้วก้ มีวิมุติเละ นิพพานเช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...