ว่ากันได้คำว่า " วิจิกิจฉา"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แค่พลัง, 6 ตุลาคม 2017.

  1. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    สงสัยในพระพุทธเจ้า ๑

    สงสัยในพระธรรม ๑

    สงสัยในพระสงฆ์ ๑

    สงสัยในสิกขา ๑

    สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีต ๑

    สงสัยในขันธ์ที่เป็นอนาคต ๑

    สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีตและอนาคต ๑

    สงสัยในปฏิจจสมุปบาท ๑


    แต่ละคนเหลือความสงสัยกันกันกี่ข้อ สำหรับผมยังมีเหลืออยู่บ้าง
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
  3. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ไม่ใช่พระปัจเจกครับ จะได้ไม่ต้องดูแผนที่
     
  4. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :):):)เป็นคำถามที่ ไม่แน่ใจว่าผู้ถาม"รู้" ถึงสภาวะ ของคำถามรึไม่ ของคำว่า "วิจิกิจฉา" เป็นคำถามที่ควรใช้ถามในภาคปฏิบัติ มิใช่ สัญญาความจำในภาคปริยัติ..ไม่แน่ใจจริงๆขออภัย..
    :p"ธรรมใดเกิดแต่เหตุใด พจ.ทรงบอกถึงเหตุแห่งการเกิดและดับไปของสิ่งนั้นไว้"..:p

    :)จากคำถาม-ของท่านสมควรต้องผ่านปฎิบัติตาม ตำรา- คำสอน ของ พจ.ที่ถูกต้องตรงตามตำราเสียก่อน..
    เมื่อผ่านการปฏิบัติ ไปตามตำรา-คำสอน หากตำราถูกค้อง ท่านจะเกิดปฏิเวธ ในเชิงปฏิบัติให้ตนเองตรวจสอบได้ทันทีด้วยตนเองคือ อัตตาหิอัตตโนนาโถ..ในระหว่างนั้นหากท่านเกิดการลังเลสงสัยใน ปฏิเวธ ที่เป็นปัจจัตตังนั้นๆ ว่ามันเป็น "ปัจจัตตังผิดๆ" หรือไม่ ท่านจึงควรจะใช้คำถามในระดับปฏิเวธของคำว่า.. "วิจิกิจฉา"..
    คำถามด้วย ศัพย์บาลีคำนี้ "วิจิกิจฉา" มิใช่คำตอบของผู้สดับมากแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ..เพราะมันเป็นคำถามกำกวม ทำให้ผู้เป็นธรรมกถึกเข้าใจผิด ว่าเป็นความลังเลสงสัยในภาคปริยัติ..สัญญา-สมมุติ-ท่องจำมาแล้วมาสงสัย มิใช่เลย มิใช่เลย ครับ สาธุ (ความเห็นส่วนตัวครับ)
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    พี่เกิด เราไป นั่งดู กระได กัน .................
     
  6. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    มาถามเพราะในช่วงนึงที่กำลังภาวนาอยู่นั้น จู่ๆ มันเกิดข้อสงสัยแบบไม่ได้บังคับว่า
    ลมหายใจที่กำลังทำอยู่นี้ใครกันบังคับ ผมเลยอุทานว่านี่วิจิกิจฉาเกิดขึ้นกับเราแล้ว
     
  7. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ผมปฏิบัติแบบหยาบ และละเอียดผมเอาหมดครับ แม้แต่ความคิดที่แว๊บๆ ทำให้แน่นหน้าอก
    ผมก็นำมาพิจารณา
     
  8. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    :mad:ตรงนี้ไม่ใช่ความสงสัย..แต่เป็นความไม่รู้ครับ..เพราะสมาธิยังไม่ตั้งใจมั่นพอ และไม่ถึงขีดที่จะเห็น วิญญาณ ผัสสะ กับธาตุลมหายใจได้ชัดเจน..(เห็นลมหายใจ-เกิดจากวิญญาณผัสสะกับลม เขาอาศัยกันและกันเกิด จึงรู้แจ้งในการเห็นลมหายใจครับ-คุณไม่เข้าใจในวิญญาณและการทำงานของวงจรปฏิจจฯลนี่เอง)
    :)ในวิญญาณหรือ ใจ ยังมีสัตตานัง เกาะกุมมาด้วยอีกชั้นหนึ่งตาม พุทธวจนครับ สมาธิยังไม่กล้าแกร่งพอจึงไม่รู้-ไม่เห็น การผัสสะ-การทำงาน-การกระทบ อาศัยกันเกิดพร้อมตามวงจรปฏิจจฯล ไม่ใช่การสงสัยแต่เป็นความไม่รู้ครับ (ความเห็นส่วนตัวครับ)
    สาเหตุน่าจะเกิดจาก สุตตะ-ในวงจรปฏิจจฯล-วิญญาณ-ลม-การทำงานที่อาศัยกันและกันและทำงานแบบ--อิทัปปัจยะตา- ยังไม่พอ เพราะธาตุลมนั้นเป็นธรรมธาตุ ที่วิญญาณ เข้ามาจับจึงรู้แจ้งว่าเป็นธาตุลม..ครับ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อย่าไป ตำหนิจิต นะ

    มันเป็น ปรกติ ...ตรงนี้ จิตมันทำงานของมันเอง

    จิตที่มีเจตนาจะรู้ลมหายใจ แค่เจตนาจะรู้ ก็ยังแน่น เป็นจุด เป็นดวง เกิดน้ำหนัก

    พอมันเกิด ไม่ต้องตำหนิ เห็น ซื่อๆ ลงไปเลย ว่า จิตแบบนี้ก็มี

    จิตที่เห็นแล้วลื่นไหล โล่ง อิสระ แต่ก็มี สติ มีสัมปชัญญะ กำหนดรู้อยู่ จิตแบบนี้ก็มี

    แล้ว

    ไม่เลือกหน่าคร้าบ

    ให้กำหนดรู้ว่า จิตผู้รู้ไม่เที่ยง เข้ามาเลย

    แล้ว จิตจะปล่อยวางจิต

    จิตจะสลัดคืนจิต

    จิตสลัดคืนจิต จะเป็น สภาวะธรรม ยกระลึกได้ว่า จิตมันทำกิจอย่างนั้น

    อาศัย ยกเห็น สัญญาที่ไปเห็น จิตสลัดคืนจิต อีกที
    อานาปานสติ ถึงจะ ครบรอบการเจริญ

    หลังจากนั้น จะเห็น อนิจจัง เป็น อาการสัญญา จับต้องได้
    หรือ เห็น อนัตต เป็น สัญญาจับต้องได้

    ยกเห็น อนิจจสัญญา อนัตตาสัญญา ปรากฏ เกิดแล้วก็ดับ

    พอถึงตรงรนี้ได้ จะค่อยๆ เห็นทางแจ่มใสแล้ว

    เข้าใจ ทุกขาปฏิปทา (ก็อาการ จิตเจตนาจะภาวนา ต่างๆ นานา มันเกิด นิกันติ
    อุปกิเลส)

    แล้ว ตอนโล่ง ไม่มี นามกายไปนิกันติ ก็จะเห็น สุขาปฏิปทา

    จิตจะโคจร 1-8 ได้ ตามความเพียร ภาวนา ขี้เกียจก็ได้แค่ ปฐมฌาณ ก็เหลือแหล่
    [ เริ่มเห็นด้วยว่า จิตตน จะเลิกการภาวนาไม่ได้แล้ว จิตมันบ่ายหน้าไปทาง โลกุตระ
    จะพาไปปู้ยี่ปู้ยำ มันจะ วิจัยลูกเดียว ]

    เพราะ จะอาศัย รสของจิตที่พ้นราคะ อาศัยเป็น สัญญา เรียกเห็น
    สุญญตาสัญญา เกิดดับ [ คนละเรื่องกับ ปหานะ นะ ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2017
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    อย่าลืม หน่าคร้าบ สิ่งที่ ป๋ม นำไปดู พาไปดู เป็นเรื่อง
    ของ คนปีนกำแพงเพื่อดูคนถวายบังคมพระพุทธเจ้าแทบพระบาท

    ดังนั้น

    หากประสงค์จะเป็น ผู้ถวายบังคมแทบพระบาท อันนี้ กระโดดกำแพงกันเอาเอง 230313.png
     
  11. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    คุณพลังงาน..คุณมาได้ไกลมากแล้วจริงๆครับน่ายินดียิ่ง ศิลน่าจะดีแน่นอน สั่งสมสุตตะเพิ่มให้มากอีกนิดครับ โดยเฉพาะวงจรปฏิจจฯล-จะได้มีข้อมูลให้จิตพิจราณา-ใคร่ครวญ-ใช้ในการภาวนา ในเวลานั่งสมาธิครับ..
    :):mad:สังเกตุดีๆนะครับหากคุณรู้เรื่องการทำงานของวงจรปฏิจจะสมุปบาท คุณจะไม่สงสัยอะไรแล้วครับ-หรืออาจจะสงสัยน้อยลงในปริยัติ และต่อไปคุณจะเน้น สมาธิให้สมดุลย์กับปัญญา หรืออินทรีย์5 สมดุลย์นั่นเองครับ อนุโมทนาครับ
     
  12. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    อจ.ท่านพลังงานนี่ เขาสัมมาทิฏฐินะครับ ส่งเสริมท่านหน่อยจิ อย่าไปเบี้ยวเขามากเดี๋ยวท่านพลังงานจะเขว อะดิ กิกิ
     
  13. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    สงสัยเรื่องลมใครบังคับเป็นปัญญา
    กิริยาที่อุทานว่าวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้วเป็นศีลพัตตปรามาส
    อาการเกิดขึ้นของปรามาสเป็นวิจิกิจฉาสหรคตด้วยศีลพัตตปรามาส
    จึงเกิดการตัดการเกิดปัญญา
    ตามด้วยวิภวตัณหาเนื่องด้วยจิตกลัวในทุกข์จากการเกิดขึ้นของปัญญา
    สมุทัย คือ อวิชชา ที่สหรคตและหมักดองเป็นอาสวะในตัวจิต
    เหล่านี้แล เรียกว่า กิเลส
    สู้ๆ
     
  14. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ตรัสสอนให้พิจารณาแยกกายนี้ออกเป็นธาตุทั้ง ๔ หรือธาตุทั้ง ๕ เมื่อเป็นดั่งนี้ ธาตุสัญญา ความสำคัญหมายว่าธาตุจะบังเกิดขึ้น สัตตสัญญา อัตตสัญญา ความสำคัญหมายว่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาก็จะหายไป

    เครื่องกำจัดวิจิกิจฉา

    ท่านแสดงว่าธาตุกรรมฐานนี้เป็นเครื่องกำจัดนิวรณ์ข้อวิจิกิจฉา คือความเคลือบแคลงสงสัย

    อันวิจิกิจฉาคือความเคลือบแคลงสงสัยนั้น ย่อมมีมูลฐานตั้งอยู่บนตัวเรา ของเรา และเมื่อมีตัวเราก็ย่อมจะมีความเคลือบแคลงสงสัยในตัวเราของเรา ในอดีตบ้าง ในอนาคตบ้าง ในปัจจุบันบ้าง ฉะนั้น ตัวเราของเรานี้เอง จึงเป็นที่ตั้งแห่งความเคลือบแคลงสงสัยทั้งหลายเป็นส่วนมาก หรือเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นนิวรณ์ และตัวเราของเรานี้ก็ตั้งขึ้นที่กายนี้นั้นเอง กล่าวคือยึดถือกายนี้ และโดยเฉพาะก็คือเป็นตัวเราของเรา

    ฉะนั้นเมื่อมาพิจารณาแยกธาตุออกไปเสียว่าโดยที่แท้แล้ว ความที่สำคัญหมายยึดถือว่าเป็นก้อนเป็นแท่ง จนถึงเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราของเรานั้นหาได้มีไม่ มีสักแต่ว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และธาตุอากาศ ทั้ง ๕ นี้เท่านั้น

    และเมื่อธาตุทั้ง๕ นี้ประกอบกันอยู่ ชีวิตก็ย่อมตั้งอยู่และเมื่อชีวิตตั้งอยู่จึงหายใจเข้าหายใจออกได้เดินยืนนั่งนอนได้ และก้าวไปข้างหน้า ถอยไปข้างหลังเป็นต้นได้ อาการทั้งหลายในร่างกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นต้น ต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ และยังดำรงอยู่

    แต่เมื่อธาตุที่ประกอบกันเข้าเป็นกายอันนี้แตกสลาย ดังที่ปรากฏ ดับลม ลมหายใจเข้าออกนั้น หายใจเข้าแล้วไม่ออก หายใจออกแล้วไม่เข้า ขาดสันตติคือความสืบต่อ ดับลม เมื่อความดับลมปรากฏขึ้น ธาตุไฟก็ดับ เมื่อธาตุไฟดับ ธาตุน้ำธาตุดินก็เริ่มเน่าเปื่อยเหือดแห้งเสื่อมสลายไป เพราะฉะนั้นความสิ้นชีวิตก็ปรากฏ และเมื่อความสิ้นชีวิตปรากฏ ร่างกายนี้ที่เป็นร่างกายที่มีชีวิตก็กลายเป็นศพ

    ป่าช้า ๙

    และศพนั้นเมื่อเป็นศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าดังในสมัยโบราณ เมื่อพิจารณาดู หรือเมื่อนึกดูถึงสภาพของศพ ก็ย่อมจะปรากฏว่า เมื่อเป็นศพที่ตายวันหนึ่ง สองวัน สามวัน ก็ย่อมจะมีสีเขียวน่าเกลียด และจะมีสัตว์ต่างๆมาจิกมากัดกิน และเมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะเป็นศพที่เป็นโครงร่างกระดูก มีเนื้อเหลือติดอยู่ มีเส้นเอ็นรึงรัด และเมื่อปล่อยทิ้งไปยิ่งไปกว่านี้ก็จะไม่มีเนื้อเหลือ แต่ยังเป็นโครงร่างกระดูกที่มีเส้นเอ็นรึงรัด และต่อจากนั้นเส้นเอ็นที่รึงรัดก็จะหมดไป เน่าเปื่อยไป โครงกระดูกที่ประกอบกันอยู่นั้นก็จะเริ่มกระจัดกระจาย กระดูกขาก็จะไปทางหนึ่ง กระดูกแขน กระดูกตัว กระดูกบั้นเอว กระดูกซี่โครง กระดูกบ่า กระดูกคอ ฟัน ศีรษะ ก็จะไปทางหนึ่ง จึงกลายเป็นกระดูกหรือเป็นอัฏฐิที่มีสีขาว และกระดูกนั้นเมื่อนานไปๆก็จะมารวมกันป่นเข้าเป็นกองๆ พ้นปีออกไป และเมื่อนานไปๆ นั้น ก็จะผุป่นละเอียดไปหมด ก็เป็นอันว่าร่างกายอันนี้ก่อนแต่มาประชุมกันเป็นชาติคือความเกิด ก็ไม่มี

    และเมื่อธาตุทั้งหลายมาประชุมกันเข้า คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศคือช่องว่าง และวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ มาประกอบกันเข้า ความตั้งครรภ์ของมารดาก็ปรากฏขึ้น และก็เริ่มชาติคือความเกิด จนถึงเมื่อคลอดออกมาเป็นชาติ คือความเกิดที่ปรากฏ ดำรงชีวิตอยู่ก็โดยที่ธาตุทั้ง ๖ นี้ประกอบกันอยู่ และก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปในทางเจริญ คือเป็นวัยเด็กเล็ก เด็กโต เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นผู้ใหญ่ แล้วก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม ก็เป็นความแก่ที่ปรากฏ

    จนถึงในที่สุดวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ ก็จุติคือเคลื่อน เมื่อเป็นดั่งนี้บรรดาธาตุ ๕ ที่ไม่รู้นั้น ที่รวมกันอยู่ก็แตกสลาย ดังที่ปรากฏเป็นความดับลมเป็นต้น ดั่งที่กล่าวแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ร่างกายอันนี้ก็เริ่มแตกสลาย แล้วก็ไปจนเป็นกระดูก แล้วก็เป็นกระดูกผุป่นในที่สุดก็เป็นอันว่าก็ถึงภาวะที่เรียกว่าไม่มีเหมือนอย่างเดิม เดิมก็ไม่มี และเมื่อมีชาติคือความเกิด ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิขึ้นในครรภ์ของมารดา จนถึงสิ้นชีวิตในที่สุด แล้วในที่สุดเมื่อกระดูกผุเปื่อยไปหมดแล้วก็กลับไม่มีเหมือนอย่างเดิม

    อนิจจะ ทุกขะ อนัตตา

    เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ตรัสสอนให้พิจารณา ว่านี้คืออนิจจะคือความไม่เที่ยง ที่ปรากฏเป็นความเกิดเป็นความดับ จึงปรากฏเหมือนอย่างว่าเป็นสิ่งที่ขอยืมเขามาตั้งอยู่ชั่วกาล และปรากฏว่า เดิมก็ไม่มี แล้วก็มีขึ้น แล้วก็กลับไม่มีเหมือนอย่างเดิม ดั่งนี้เป็นอนิจจะคือความไม่เที่ยง และเพราะความไม่เที่ยงดั่งนี้จึงชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเหตุว่าถูกความไม่เที่ยงคือความเกิดดับนี้บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา จึงตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจากเกิดจนถึงดับ และเมื่อเป็นดั่งนี้จึงเป็นอนัตตา คือไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา เพราะบังคับให้เป็นไปตามความปรารถนามิได้

    เมื่อบังคับให้เป็นไปตามปรารถนามิได้ เพราะเหตุว่าต้องเกิดต้องดับ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปดั่งนั้น จึงขัดแย้งต่อความเป็นอัตตาที่ยึดถือ และเพราะเหตุที่ตนบังคับให้เป็นไปตามความปรารถนามิได้ต้องเกิดดับ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นของที่ว่างเปล่าจากสาระแก่นสาร เป็นของที่ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเราของเรา ความเป็นตัวเราของเรานั้นเป็นความยึดถือไว้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นสัจจะคือความจริง ความจริงนั้นก็คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    สามัญลักษณะของสังขารทั้งปวง

    เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานแม้ในข้อกายานุปัสสนา พิจารณากาย ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นี้ เมื่อตรัสสอนให้กำหนดพิจารณาดูลักษณะของกาย กำหนดลักษณะ หรือเรียกว่ากำหนดรูปธรรมก็ได้ กำหนดรูปลักษณะของลมหายใจเข้าออก ของอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถน้อย ของอาการ ๓๑ หรือ ๓๒ ของธาตุ ตลอดจนถึงของศพ ตั้งแต่เริ่มตาย จนถึงเสื่อมสลายไปหมดในที่สุด เป็นการตรัสสอนให้กำหนดรูปลักษณะ

    เมื่อตรัสสอนให้กำหนดรูปลักษณะ ดั่งนี้ ย่อมจะทำให้มองเห็นสัจจะคือความจริง ซึ่งเป็นสามัญลักษณะ คือเป็นลักษณะที่ทั่วไปของสังขารทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ทุกขลักษณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์ อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตามิใช่ตัวตน ทำให้ อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ และ อนัตตตา ความเป็นอนัตตา ปรากฏขึ้น ดั่งนี้จึงเป็นตัวปัญญาวิปัสสนา ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ในอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ ในอนิจจตา ทุกขตา อนัตตา

    เมื่อเป็นดั่งนี้ จึงเป็นไปเพื่อวิปัสสนาปัญญา อันตั้งขึ้นจากสมาธิที่กำหนดรูปลักษณะของกาย สมาธิที่ตั้งกำหนดรูปลักษณะของกายตามที่ตรัสสอนนี้ จึงเป็นวิธีที่ให้ได้วิปัสสนาปัญญา

    ในสามัญลักษณะ เป็นตัวปัญญาดังที่ตรัสเอาไว้ว่า ตามเห็นเกิด ตามเห็นดับเป็นธรรมดา ตามเห็นทั้งเกิด ตามเห็นทั้งดับเป็นธรรมดา ดั่งนี้

    ฉะนั้นการปฏิบัติในสติปัฏฐานตั้งสติเบื้องต้น กำหนดรูปลักษณะของกาย ก็ทำให้ได้สมาธิ และทำให้ได้วิปัสสนาปัญญา อันเป็นตัวปัญญาที่ให้ได้วิมุติความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ แม้จะชั่วระยะหนึ่ง เร็วหรือช้า มากหรือน้อย ตามสมควรแก่กำลังปฏิบัติ
     
  15. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ก็ไม่ต้องไปคิดครับ
    ไม่ต้องตีความ
    ให้ความหมายอะไร
    มันก็ไม่เกิดเเล้วครับ
    แค่คิดได้ นึกได้ ระลึกได้
    ก็ปรุงไปเรียบร้อยแล้ว
    โรงเรียนจีน
     

แชร์หน้านี้

Loading...