เรื่องเด่น ว่าที่ดร.อุบาสิการะเบียบผู้วางฐานอาชีวศึกษาชีวิต

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 มกราคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    100816_th.jpg

    ว่าที่ดร.อุบาสิการะเบียบผู้วางฐานอาชีวศึกษาชีวิต
    ต้นแบบสตรีผู้ให้โอกาสเยาวชนเข้าถึงพระพุทธศาสนาด้วยการวิจัย


    เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2561 มีการสอบป้องกันดุษฏีนิพนธ์ของอุบาสิการะเบียบ ถิรญาณี ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีจังหวัดศรีสะเกษ นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เรื่อง “กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างพลังเชิงบวกสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีศรีสะเกษตามหลักพุทธบริหารการศึกษา” ที่ห้องประชุมพุทธบริหารการศึกษา ครุศาสตร์ มจร
    cats2(105).jpg
    พระราชวรเมธี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสำเร็จของบุคคลท่านหนึ่งที่ทำงานด้านศึกษาสงเคราะห์มายาวนานคือ อุบาสิการะเบียบ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานสร้างคุณประโยชน์ในการพัฒนาเยาวชน ซึ่งความเป็นจริงมหาจุฬาฯจะมอบดุษฏีบัณฑิตกิติมศักดิ์ให้ก็ได้เพราะสร้างคุณประโยชน์เป็นจำนวนมากในด้านการศึกษาสงเคราะห์ แต่อุบาสิการะเบียบบอกว่าไม่ได้ใช้พยายามความเพียรของตน จึงเรียนมาเรียนพุทธบริหารการศึกษา ศึกษาเพื่อนำไปใช้จริงในวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณี ถือว่าเป็นการวางฐานการศึกษาของจุลมณีศรีสะเกษ อนาคตจะมีการเปิดสาขาครุศาสตร์ที่วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ เพื่อรับรองนิสิต เพื่อจะได้ช่วยงานของอุบาสิกาฝึกการทำงาน เป็นการสร้างคนให้กลับไปพัฒนาคน งานดุษฏีนิพนธ์ถือว่าเป็นการพัฒนาวิทยาลัยวิถีพุทธ เป็นการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการให้มีคุณภาพสามารถนำไปพัฒนาอาชีวศึกษาทั่วประเทศ เพื่อสร้างพฤติกรรมเด็กเยาวชนในทางที่ดีขึ้นปริญญาเอกถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานด้านวิชาการ วันนี้จึงมาให้กำลังใจเพิ่มเติมพลังใจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

    อุบาสิการะเบียบกล่าวว่า อาชีวศึกษาเน้นวิชาชีพแต่ขาดวิชาชีวิต วิชาความดี ทำให้ประกอบอาชีพด้วยการเป็นคนดี ด้วยการนำหลักธรรมมาบูรณาการในการเรียนการสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาจึงมีการพัฒนาพฤติกรรมเยาวชนผ่านกระบวนการไตรสิกขา มีกระบวนการเรียนการสอนทำให้เกิด “พุทธวิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย อุปนิสัย ” การวิจัยใช้กระบวนการแบบ R and D โดยมุ่งเน้น “วิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิต ” ซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้เป็นคนดีคนเก่งในการประกอบอาชีพที่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินทาง

    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิถามว่า “ผู้วิจัยมีแรงบันดาลใจอะไรในการทำดุษฏีนิพนธ์เรื่องนี้” และ “เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำวิจัยในครั้งนี้” ถ้าเราเข้าใจผู้วิจัย งานวิจัยจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับชาติเป็นความรู้ระดับสากล สามารถนำไปแก้ปัญหาภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ถือว่าเป็นงานวิจัยที่ดีมากเหมาะสมเป็นต้นแบบด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา กรรมการถามต่อว่าทฤษฏีตะวันตกเรานำทฤษฏีของใครมาบูรณาการกับหลักพุทธบริหารการศึกษาจึงมีการปรับภาษาให้เป็นวิชาการ เพราะงานดุษฏีนิพนธ์ของเราเป็นงานวิชาการ เราควรใช้คำหลัก เช่น นักเรียนหรือเยาวชน ข้อมูลที่เราไปสัมภาษณ์ต้องมีการอ้างอิง จะเกิดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะประโยคที่สำคัญของผู้สัมภาษณ์ จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ มีหลักฐาน มีน้ำหนักหนักแน่นมากขึ้น ประธานกรรมการเสนอแนะว่าบทคัดย่อยาวปรับให้มีการกระชับ การนิยามศัพท์ต้องมีความชัดเจน การที่เรามีแผนภาพเยอะๆ จะทำให้มากเกินไป วัตถุประสงค์ข้อสุดท้ายเป็นการตอบงานวิจัยทั้งหมด สรุปการสอบป้องกันได้ผ่านเป็นที่เรียบร้อย เป็น ดร.ระดับพุทธบริหารศึกษา

    พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ร่วมสังเกตการณ์ด้วย แสดงความเห็นว่า ขอแสดงความยินดีกับว่าที่ดร.อุบาสิการะเบียบในการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกในครั้งนี้ เพราะกว่าจะเป็นดร.การทำวิจัยจะต้อง “จงหิวกระหายเข้าไว้ จงโง่เข้าไว้ ” เพราะผู้แสวงหาปัญญาต้องมีความถ่อมตัว จงหิวกระหายความรู้และแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต สุภาษิตในพระไตรปิฎกกล่าวว่า “สัพพัง สุตะมะธีเยถะ หินะมุกกุกฐะมัชฌิมัง แปลว่า ความรู้ควรเรียนทุกอย่าง ชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูง เมื่อเรียนเรื่องใด ควรเรียนให้ทะลุปรุโปร่ง ยังไม่ต้องใช้ประโยชน์ความรู้นั้นทันที เมื่อถึงเวลาความรู้จะนำประโยชน์มาให้ “

    กว่าจะจบต้องอาศัยที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาปัญญา โดยมีเหตุมี 2 ประการคือ 1) ปรโตโฆสะ เสียงจากที่ปรึกษา เป็นการรับฟังคำแนะนำการเสนอแนะแนวทางการทำวิจัย ถือว่าเป็นกัลยาณมิตร ทำให้เกิดสุตมยปัญญา 2)โยนิโสมนสิการ การใช้ความคิดถูกวิธี รู้จักคิดแบบสังเคราะห์และวิเคราะห์ ระเบียบวิจัยที่เหมาะสมทำให้เกิดจินตามยปัญญา และสุดท้ายเกิดภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาเกิดจากการปฏิบัติโดยตรงเพื่อให้เกิดทักษะ ปัญญาที่มาจากภาวนาคือ การลงมือทำ การทำเป็น หรือ ทำให้มีขึ้น ขงจื้อจึงกล่าวว่า ” เรียนโดยไม่คิดเสียเวลาเรียน คิดโดยไม่เรียนเป็นอันตราย”

    การวิจัยจึงเป็นเครื่องมือการพัฒนาความคิด บางครั้งการวิจัยเป็นยาขมหม้อใหญ่ เพราะการวิจัยถูกทำให้เป็นเรื่องยาก ถูกมองว่าเป็นงานเฉพาะกิจ ไม่ใช่วิถีชีวิต ทำให้เกิดความกลัวระเบียบวิธีการวิจัย ทำอย่างไรให้การวิจัยเป็นเรื่องง่าย เพราะการวิจัยเป็นกระบวนการหาความรู้อย่างเป็นระบบ อย่างมีเหตุผลและหลักฐาน จึงต้อง”เหลียวหลัง” คือ การทบทวนเอกสารตำราที่เกี่ยวข้องว่ามีใครทำประเด็นนี้มาบ้าง และ “แลหน้า” คือ จะเดินหน้าทำวิจัยอย่างไรให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ แล้วยังได้ความรู้ใหม่ อย่างมีเหตุผลมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ เมื่อห้องเรียนเป็นพื้นที่แห่งอำนาจ นิสิตจะไม่กล้าคิด เมื่อไม่กล้าคิด ก็ไม่เกิดความคิดหลากหลายมาเเชร์กัน ทำให้ไม่เกิดความสัมพันธ์ในการถาม ตอบ เถียง โต้แย้ง เรียนรู้ เอาข้อมูลที่เถียง ที่โต้แย้งมาประมวลความรู้ ซึ่งบางครั้งนิสิตจะรอฟังอย่างเดียว หรือ กลายเป็นว่าต้องเชื่ออาจารย์อย่างเดียวเท่านั้น พึงหัดโต้แย้งที่ปรึกษาอย่างมีเหตุผลและอ่อนน้อมถ่อมตนนุ่มนวลเพื่อการพัฒนาปัญญา

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/100816
     

แชร์หน้านี้

Loading...