เรื่องเด่น ศิษย์เก่ามหาจุฬาฯกับบทบาทบริการสังคม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 6 สิงหาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    87299_th.jpg


    ศิษย์เก่ามหาจุฬาฯกับบทบาทบริการสังคม


    บทบาทศิษย์เก่ามหาจุฬากิจกรรมเพื่อสังคม มอบกำลังใจสำคัญที่สุดสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม แนะบุคคลผู้ดูหมิ่นญาติเป็นคนเสื่อม ญาติที่พึ่งพิงอิงอาศัยญาติทางโลกและญาติทางธรรม คำตอบของชีวิตอยู่ที่ญาติและหมู่บ้าน พระพุทธเจ้าต้นแบบการสงเคราะห์ญาติ



    cats1(20).jpg



    cats2(34).jpg



    วันที่ 3 ส.ค.2560 พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทราลัย(มจร) ได้กลั่นความรู้สึก ระหว่างลงพื้นที่ช่วยญาติโยมประสบภัยน้ำท่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับคณะศิษย์เก่า มจร และศิษย์เก่าวัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร เผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat ความว่า


    ในโอกาสการลงพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดสกลนคร เห็นมิติแห่งความกตัญญู โดยศิษย์เก่ามหาจุฬาและศิษย์เก่าวัดชนะสงคราม ซึ่งมีแรงพลังความกตัญญูในฐานะที่เคยได้รับโอกาสทางการศึกษาในพระพุทธศาสนา ทั้งทางโลกและทางธรรมจนประสบความสำเร็จ จึงมีโอกาสมาช่วยเหลือสังคมด้วยการมอบสิ่งของจำเป็นให้กับผู้แทนชาวบ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการบ้านดอนสร้างไพร ตำบลทุ่งแก อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัสกลนคร ซึ่งน้ำไม่ท่วมมากสำหรับบ้านเรือนแต่ท่วมนาข้าวไร่สวนทั้งหมดของชาวบ้าน ได้รับผลกระทบทุกหลังคาเรือน ซึ่งหมดกำลังใจในการทำอาชีพเกษตร ในโอกาสนี้ ดร.พระครูภาวนาสารบัณฑิต ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มจร ได้ให้กำลังใจชาวบ้านและมอบสิ่งของ ในฐานะเป็นพระลูกหลานของบ้านดอนสร้างไพร ถือว่าเป็นการสำนึกรักบ้านเกิดในยามชาวบ้านเกิดความทุกข์


    ด้วยการเติมกำลังใจเพื่อการอยู่รอดของชีวิต เป็นการสร้างรอยยิ้มและกำลังใจสำหรับญาติ สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า "ญาตกานญฺจ สงฺคโห แปลว่า การสงเคราะห์ญาติ" เป็นมงคลที่ 17 ในมงคลสูตร เพราะคำว่า ญาติ แปลว่า คนที่คุ้นเคย คนใกล้ชิด เป็นคนที่วางใจกันได้ แบ่งออกเป็นญาติทางธรรมและญาติทางโลก โดยมีญาติสาโลหิต คือ ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือด ตามหลักพระพุทธศาสนาถือว่า 7 ชั่วโคตร และญาติโดยความใกล้ชิดคุ้นเคย ดังคำบาลีว่า "วิสฺสาสา ปรมา ญาติ แปลว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง" ส่วนญาติทางธรรม เป็นญาติเพราะบวชให้เป็นพระ สามเณร เป็นพระกรรมวาจา และเพราะสอนธรรม คอยชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนที่ดูหมิ่นญาติของตนเป็นคนเสื่อม ในปราภวสูตรว่า "ชาติถทฺโธ ธนถทฺโธ โคตตฺถทฺโธ จ โย นโร สญฺญาตึ อติมญฺญติ ตํ ปราภวโต มุขํ แปลว่า คนใดแข็งกระด้างเพราะชาติกำเนิด แข็งกระด้างทรัพย์ แข็งกระด้างเพราะโคตร แล้วดูหมิ่นญาติของตน นี่คือทางแห่งความเสื่อม"


    พระครูภาวนาสารบัณฑิต จึงสงเคราะห์ญาติด้วยสังคหวัตถุธรรม ด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข เพราะพระพุทธเจ้าต้นแบบการสงเคราะห์ญาติเพื่อสันติสุข ด้วยวิธีการสงเคราะห์ญาติทางโลก ด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ คือ 1)ทาน หมายถึง การเอื้อเฟื้อแบ่งปันกันกินแบ่งปันกันใช้ ให้ของฝากยามเยี่ยมเยียน ให้ของขวัญยามมงคล 2)"ปิยวาจา" หมายถึง พูดจาต่อกันด้วยคำพูดสุภาพอ่อนโยน เรียกสรรพนามตามศักดิ์ เช่น ลุง ป้า อา อันเป็นภาษาของคนรักใคร่กัน ถึงจะโกรธเคืองขัดใจกัน ก็ไม่แช่งชักหักกระดูก 3) "อัตถจริยา" หมายถึง ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อญาติ ช่วยเหลือเมื่อมีธุระการงาน เป็นการให้กำลังใจ 4)"สมานัตตตา" หมายถึง วางตนกับญาติให้เหมาะสมกับฐานะตำแหน่ง เคารพญาติผู้ใหญ่ เอ็นดูญาติผู้น้อย เสมอต้นเสมอปลาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ทอดทิ้งกัน ดังนั้น วิธีในการสงเคราะห์ญาติทางธรรม คือ การชักชวนญาติให้รู้จักประกอบการบุญการกุศล ชักชวนให้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ชักนำให้ปฏิบัติธรรม แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทรง “ญาตัตถจริยา" ทรงประพฤติเป็นประโยชน์ต่อพระญาติของพระองค์”


    ฉะนั้น ในโอกาสนี้ท่านพระครูภาวนาสารบัณฑิตได้ทำหน้าที่ของความเป็นลูกที่ดี ด้วยความกตัญญูต่อโยมพ่อโยมแม่ เพราะ "หน้าที่ของบุตรธิดาต่อมารดาบิดา:Children's Duties towards parents ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประการ คือ 1)ท่านเลี้ยงเรามาแล้วต้องเลี้ยงท่านตอบ (Take care of them as they have taken care of you) 2)สนองงานในระบอบของท่าน (Assist them when they are in need) 3)สืบสานวงศ์สกุล (Inherit the family's name) 4)รักษาต้นทุนแห่งความเป็นทายาท (Live up to the family's legacy) 5)ไม่ประมาทคอยทำบุญเมื่อท่านล่วงลับ (Be grateful by making merit albeit they perish) จึงถือโอกาสมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ สร้างความสุขสร้างรอยยิ้ม เป็นอย่างดียิ่ง จึงขอชื่นชมศิษย์เก่ามหาจุฬาฯและศิษย์เก่าวัดชนะสงคราม ซึ่งนำโดย ผศ.ดร อุทัย สติมั่น ในการปฏิบัติตามมงคล 38 ประการได้เป็นอย่างดียิ่ง

    --------------
    ขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/87299
     

แชร์หน้านี้

Loading...