1. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    ศีล เป็นอย่างไร:

    ศีล คือ ข้อที่ควรปฏิบัติ และ ละเว้น
    ศีล คือ ข้อที่ควรปฏิบัติ เมื่อ ปฏิบัติแล้ว จักเป็นประโยชน์ มากมายไม่มีประมาณ
    ศีล คือ ข้อที่ควรละเว้น เมื่อ ละเว้นแล้ว จักไม่ตกอยู่ อบายภูมิ
    ศีล คือ เรื่องเกี่ยวข้องกับ การทำดี ละเว้นชั่ว

    ศีลมี ดังนี้คือ

    ละเว้นการเบียดเบียน ตนเองทั้งกายและใจ
    ละเว้นการเบียดเบียน ผู้อื่น ทั้งกายและใจ
    ละเว้นการเบียดเบียน ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม ต่างๆ
    ละเว้นการเบียดเบียน ทุกสิ่ง (ทุกสรรพสิ่ง)

    ทำความสมดุล ความเจริญให้เกิดขึ้น ต่อ ตนเอง ทั้งกาย และ ใจ
    ทำความสมดุล ความเจริญให้เกิดขึ้น ต่อ ผู้อื่น ทั้งกาย และ ใจ
    ทำความสมดุล ความเจริญให้เกิดขึ้น ต่อ ธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม
    ทำความสมดุล ความเจริญให้เกิดขึ้น ต่อ ทุกสิ่ง (ทุกสรรพสิ่ง)

    ศีลที่ปฏิบัติเพื่อเกิดประโยชน์ ความสมดุล ความเจริญ สืบไป คือ บารมีแห่งใจ
     
  2. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    การสร้างบารมีแห่งใจ ก็ให้ไปดูที่ศีล
    การสรรเสริญ ของผู้มากด้วยบารมี ที่เต็มบริบูรณ์สมบูรณ์ เป็นอย่างไร ก็ไปดูที่ศีล

    ......การนับถือและการสรรเสริญ ผู้มากบารมี บนสวรรค์ เป็นอย่างไร ก็ไปดูที่ ศีล
     
  3. philosophi

    philosophi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +1,895
    รับทราบ..ปฎิบัติครับท่านผู้ประเสริฐ..
     
  4. changnoy

    changnoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +3
    ศีล สมาธิ ปัญญา แปลกคนเราชอบจมปรักกับศีลเนอะหรือมันเข้าใจง่ายสุด
     
  5. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    อยากรู้ใช่มั๊ยว่า ศีล ทำไมจึงสำคัญ

    เพราะ ผู้มีศีล ที่มีวัตรประพฤติที่พร้อม เจริญด้วยความสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้จักถูกบันทึกไว้ใน สัญญาขันธ์ เมื่อ วัตรปฎิบัติ เป็นประจำแล้ว ไม่ว่าจะเกิดมากี่ภพ กี่ชาติ ภพภูมิไหน ก็ตาม สัญญาขันธ์ จักทำงาน จึงจะทำให้บุคคลผู้นั้น จะมีข้อวัตรปฏิบัติ ที่จะกระทำดี ต่อไป บำเพ็ญบารมี ต่อไป ... เพื่อไปไหน ...ก็พิจารณาต่อน่ะ ท่าน

    นี่ข้อสำคัญ ของศีล ที่จักถูกบันทึกไว้ใน สัญญาขันธ์ ...ครับท่าน

    สัญญาขันธ์ คือ ข้อจดจำเกี่ยวกับ วัตรปฏิบัติ ของตน ที่ได้ก่อสร้างไว้ หลายภพหลายชาติ

    หากสร้างวัตรปฏิบัติ ดี ก็จะเกิดนิสัย เกิดวัตร (อุปนิสัย) ที่ดีงาม ต่อๆ ไป

    หากตรงกันข้ามเป็นอย่างไร .... เกิดนิสัย เกิดวัตร (อุปนิสัย ) ไม่ดีงาม

    ท่านเลือกเอา จะเอา ศีล หรือไม่


    ยกตัวอย่าง ผู้ที่ทำศีลดี งาม .... เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ยังแสดงอาการที่ปกติ นิ่งสุขุมได้ดี เป็นธรรมชาติ

    แต่สำหรับผู้มีศีล ไม่ดีงาม ... เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ ขัดเคืองภายใน จะแสดงอาการผรุสวาส ออกมา แสดงอาการออกแร้งเต้นกา ทันที
    หรือ แม้นแต่เหตุการณ์ปกติ ก่ตาม ก็จะแสดงอาการไม่สุภาพ อย่างอัตโนมัติ ควบคุมลำบาก นั่นล่ะ เรียกว่า ด้อยในศีล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2012
  6. changnoy

    changnoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +3
    ท่านรู้มะเมื่อปัญญาถึงพร้อมนะ ศีล กับสมาธิมันมาเองอัตโนมัติ บันได3ขั้นศีลสมาธิปัญญา, ละความชั่วทำความดีให้ถึงพร้อมทำจิตให้ผ่องใส ท่านโดดมาขั้นที่3เลยแทงมันตรงๆที่ปัญญาหรือท่านอยากเสียเวลาก็ตามใจ
     
  7. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396

    แต่เมื่อปัญญา ไม่มาพร้อม และ สมาธิ ยังมาไม่ถึง เรายังต้อง ควรนำศีลเป็นหลักปฏิบัติ ไปก่อนครับ ..... เพราะกว่า จะถึง วันที่ปัญญา พร้อม วันที่พร้อม ... เราจะต้องเผชิญ กับ หลายๆ สิ่ง และสร้างสิ่งดีงามประดับไว้ให้
    เป็นอุปนิสัย ที่ดีงาม แก่ตนเอง....

    ดังนั้น ควรมีศีล ครับ เป็นเช่นนี้

    หากจะรอให้ ปัญญามา พร้อม ดังนั้น วันนี้ เราก็ไม่จำเป็น ต้องรักษาศีล
    อย่างนั้นหรือ.... เช่น ดื่มสุรา รอ ปัญญาเกิด ฆ่าสัตว์ได้ตามชอบ รอ ปัญญาเกิด เบียดเบียนสัตว์ ได้ รอ ปัญญาเกิด ล่วงละเมิดประเวณี ได้ เพราะ รอปัญญา

    ขณะที่ ปัญญา ที่แท้ยังไม่เกิด เราไม่จำเป็นต้อง รักษาศีล กระนั้น หรือ...
     
  8. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    โลก(มนุษย์)ส่วนใหญ่ เข้าถึงพร้อม ด้วยปัญญากันหมดทุกคนหรือเปล่า...

    เมื่อ ทุกคนยังไม่เข้าพร้อมถึงปัญญาทุกคน เขาควรทำอย่างไร...

    ไม่จำเป็น ใช้ศีล มาควบคุม..... แต่เอากฎหมายมาควบคุมแทน ... จะเอาแบบนี้หรือ...

    หรือว่า ควร ใช้ศีล มาช่วยกำกับ ความประพฤติ....

    แบบไหน จะก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย มีความขัดแย้ง น้อยกว่ากัน

    แบบไหน ใช้เงิน น้อยกว่ากัน แบบไหน แสดงถึง ความมีปัญญามากกว่ากัน

    ให้เลือก .... ทุกคนมีสิทธิ์เลือก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2012
  9. changnoy

    changnoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +3
    ถ้าท่านมีปัญญาถึงพร้อมท่านคงไม่ถามคำถามแบบนี้ ท่านจะรอถึงเมื่อไรว่าศีลที่ท่านปฏิบัติมาดีแล้ว?วางให้หมดนะไอ้ที่เคยรู้เคยศึกษามาเอามันตรงที่จิตเนี่ยแหละผ่องใสเมื่อไรตัวท่านนันแหละจะรู้เอง ผมขี้เกียจอธิบาย
     
  10. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396

    ที่ท่านเขียนมา ที่เราป้ายสี ให้เห็นด้านบน มันไม่ใช่ศีล หรือครับ
     
  11. changnoy

    changnoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +3
    มันเป็นบันได3ขั้นท่านมองดีๆซิ มันก็คือศีลสมาธิปัญญา จะโดดขึ้นขั้น3เลยก็โดดหรือจะขึ้นทีละขั้นก็เรื่องของคุณผมไม่เกี่ยว
     
  12. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    ผมมาตามหาแมงมุมครับ ไม่รู้ว่ามันมาหากินแถวนี้เปล่า5555 ฝากเตือนให้ระวังหน่อยนะครับ
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2012
  13. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    มันก็ไม่ห่างจากศีล ก่อนจะมีปัญญา ญาณ ศีลจะต้อง บริสุทธิ์ ก่อน
    เราน่ะมองดูแล้ว เพราะสิ่งที่เรากล่าว จะรวมถึงชน หมู่มากด้วย เพราะ บารมีหรือกรรมของแต่ละคน มีทิศทางที่แตกต่างกัน

    (ทุกคนในโลก จะต้องมานั่งปฏิบัติ ภาวนา กันหมดโลก เลยหรือ เพื่อให้เกิดปัญญา แล้ว จึงจะมีศีลกัน)

    การปฏิบัติพื้นฐาน และ การดำรงความมีระเบียบเรียบร้อย จักต้องประกอบด้วยศีล ภายนอก ก่อน ศีลที่เกิดขึ้นภายใน ที่ท่านกล่าว มันจะัเกิดขึ้นตามมาทีหลัง

    ศีล จะมีทั้งนอก และ มีศีลทั้งภายใน ศีลภายนอกจะเป็นกรอบหรือระเบียบปฏิบัติ
    ที่สามารถกล่าวอ้างขึ้นมาได้ ว่าถูก หรือ ผิด

    แต่ศีลที่เกิดขึ้นภายใน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่เข้าถึง ปัญญา

    แต่ถ้าใครไม่มีปัญญาหรือไม่มีบารมีถึงปัญญา ก็ให้ใช้ศีลภายนอก หรือ กรอบที่จะใช่
    นำไปปฏิบัติ แทน เมื่อ เข้าถึงปัญญาแล้ว จะล่ะวางศีล ที่ปรากฎตามกรอบนั้น ก็ได้
    ไม่ใช่สิ่งผิด เพราะ เมื่อเข้าถึง(เราหมายถึงเข้าถึงจริง) การกระทำใดๆ ย่อมเป็นศีล

    เราหมายถึง ศีลที่จะทำให้มวลหมู่มาก ให้เดินอยู่ในกรอบเดียวกัน ก่อนที่ปัญญาจะมาถึง
    ดังนั้น ศีลที่เป็นปัจเจกบุคคล ที่ท่านกล่าว ต้องทำให้ถึงปัญญาเสียก่อน

    หากยังไม่มีปัญญา ปัญญาไม่กระจ่างแจ้ง สังคมหมู่มากจะทำอย่างไร ถ้าไม่มีกรอบของศีล ให้คำนึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2012
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ไม่มีศีล ก็ไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีปัญญา

    ไม่งั้น พระพุทธเจ้าจะสอน ศีล สมาธิ ปัญญา ทำไมกัน

    ศีล ยังต้องมีก่อนสมาธิอีกด้วย ปัญญา เกิดหลังจาก มีศีล และสมาธิ แล้ว

    คนที่เอาปัญญามาก่อน ศีลไม่มี จะหลงปัญญา และปัญญานี้ก็ไม่ใช่ปัญญาทางธรรม

    เป็นสัญญาขันธ์ที่เกิดจากท่องจำเลียนแบบสภาวะปัญญาทางธรรมเท่านั้น

    ไม่ใช่ปัญญาธรรมในทางพุทธะ

    ปัญญาเซนที่บรรลุธรรมจริงก็มีแต่ก็มีบาทฐานเดียวกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค8

    แต่คนที่เลียนแบบปัญญาเซนก็มี ได้เป็นสัญญาเซน ไม่ใช่ปัญญาเซน

    คนที่ฝึกสมถะกรรมฐาน อย่างเดียว ไม่มีวิปัสสนากรรมฐาน

    ถ้าได้สภาวะฌาณมันก็คล้ายวิมุตติ เข้าใจผิดว่าบรรลุธรรมเพราะ นิวรณ์ดับชั่วคราว

    ถ้าไม่รักษาศีล ก็เสื่อมฌาณ เมื่อศีลทะลุ สัจจะก็เสื่อมตาม ฌาณก็เสื่อม

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ตอบปัญหาธรรม

    ศีล ๕ หรือศีลข้ออื่นๆ เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิหรือไม่อย่างไร
    ศีล ๕ หรือศีลอื่นๆ มีความเกี่ยวพันต่อการปฏิบัติสมาธิอย่างมาก ศีลเป็นการปรับพื้นฐาน ปรับโทษทางกายวาจา ซึ่งเปรียบเสมือนเปลือกไข่ ส่วนใจเปรียบเหมือนไข่แดง การทำสมาธิ เหมือนการนำไข่ไปฟัก จึงต้องรักษาเปลือกไม่ให้มีรอยร้าว รอยแตก เราจึงจำเป็นต้องรักษาศีล ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงจะได้ผลในทางสมาธิ ทีนี้ถ้าหากจะถามว่าคนที่มีศีล ๕ จะสามารถปฏิบัติ ให้ถึงมรรคผล นิพพานได้ไหม เป็นข้อที่ควรสงสัย อย่างพระเจ้าสุทโธทนะ นางวิสาขา ก็มีศีล ๕ แล้วปฏิบัติ ก็บรรลุมรรค ผล นิพพานได้… เพราะฉะนั้นศีล ๕ นั้นก็เป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ เกิด สติปัญญา เกิดมรรคผล นิพพานได้

    http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk721.html#ศีล%20๕%20หรือศีลข้ออื่นๆ%20เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิหรือไม่อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2012
  15. รัศมีสีทอง

    รัศมีสีทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +391
    แสดงว่าคุณช้างน้อยยังไม่เข้าใจหลักการปฏิบัติดีเลย สงสัยเรียนแต่ปริยัติอย่างเดียวจริงๆ คุณจะเข้านิพพานได้ต้องอาศัยศีลเป็นพื้นฐาน ไม่มีศีลไม่มีทางเป็นคนดีได้แน่ๆ คุณคิดแบบนี้คุณนั่นแหล่ะจะจมเองเด้อ ศีลเปรียบเหมือนเหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งอยู่ของสิ่งทั้งหลาย แผ่นดินเป็นที่รองรับสิ่งทั้งหลายฉันใด ศีลก็เป็นเครื่องรองรับคุณธรรมทั้งหลายฉันนั้น เมื่อไม่มีศีลจะปฏิบัติตามธรรมได้อย่างไรลองคิดดู สมมุติว่าคุณอยากปลูกต้นดอกไม้สักดอก คุณปลูกต้นดอกไม้แต่ไม่มีที่รองรับคือดินแล้วคุณจะปลูกอะไรล่ะท่านช้างน้อย ที่พูดแบบนี้แสดงว่าไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมของพระพุทธองค์จริงๆ มีแต่โอ้อวดคนอื่นไปวันๆ น่าสงสารจริงๆ เวรกรรมจริงๆ
     
  16. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    ขอบพระคุณอาจารย์ phudit999

    รักษาศีลเป็นบารมี มีศีลเป็นกุศล
    ศีลมนุษย์ เป็นมนุษย์
    ศีลเทพ เป็นเทพ
    ศีลพระ เป็นพระ

    อนุโมทนาในธรรมทานครับ
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ทาน – ศีล – ภาวนา

    (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    [​IMG]

    ทานคือ เครื่องแสดงน้ำใจของมนุษย์ผู้มี<WBR>จิตใจสูง มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์และสั<WBR>ตว์ด้วยการให้การเสียสละแบ่งปัน มากน้อยตามกำลังของวัตถุเครื่<WBR>องสังเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทานเพื่อสงเคราะห์ผู้<WBR>อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ นอกจากกุศล คือ ความดีที่ได้จากทานนั้นเป็นสิ่<WBR>งที่ตอบแทนที่เจ้าของทานได้รั<WBR>บอยู่โดยดีเท่านั้น

    </WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>อภัยทานควรให้แก่กัน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่<WBR>วงเกิน คนมีทานย่อมเป็นผู้สง่าผ่<WBR>าเผยและเด่นในปวงชน เป็นที่เคารพรักในหมู่ชนจะตกอยู่ทิศใดย่อมไม่อดอยากขาดแคลน จะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตนย่อมไม่เป็<WBR>นคนล้าสมัย บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่น หนุนโลกให้ชุ่มเย็น การเสียสละจึงเป็นเครื่องค้ำจุ<WBR>นหนุนโลก การสงเคราะห์กันทำให้โลกมี<WBR>ความหมายตลอดไป ไม่เป็นโลกที่ไร้ชาติขาดกระเจิ<WBR>งเหลือแต่ซากแผ่นดินไม่แห้งแล้<WBR>งแข่งกับทุกข์ตลอดไป</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    ศีล คือ รั้วกั้นความเบียดเบี<WBR>ยนและทำลายสมบัติร่างกายและจิ<WBR>ตใจของกันและกัน ศีล คือ พืชแห่งความดีอันยอดเยี่ยมที่<WBR>ควรมีประจำชาติมนุษย์ไม่ปล่<WBR>อยให้สูญหายไป เพราะมนุษย์ไม่มีศีลเป็นรั้วกั้<WBR>นเป็นเครื่องประดับตัวจะไม่มีที<WBR>่ให้ซุกหัวนอนหลับสนิทได้<WBR>โดยปลอดภัย แม้โลกเจริญด้วยวัตถุมีค่<WBR>ามากกว่าศีลธรรม ศีลธรรมเป็นเพียงสมบัติมนุษย์</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>
    พระพุทธเจ้าผู้ค้<WBR>นพบและนำมาประดับโลกที่กำลังมื<WBR>ดมิดให้สว่างไสวร่มเย็นด้<WBR>วยอำนาจศีลธรรม เป็นเครื่องปัดเป่าความคิ<WBR>ดของมนุษย์ผู้มีกิเลส ผลิตอะไรออกมาทำให้โลกร้<WBR>อนจะบรรลัยอยู่แล้ว ยิ่งปล่อยให้ความคิ<WBR>ดตามอำนาจโดยไม่มีศีลธรรมช่<WBR>วยเป็นยาชะโลมไว้บ้าง จะผลิตยักษ์ใหญ่ทรงพิษขึ้นมากว้<WBR>านกินมนุษย์จนไม่มีอะไรเหลืออยู<WBR>่บ้างเลย</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>
    ความคิดของคนสิ้นกิเลสที่<WBR>ทรงคุณค่าอย่างสูง คือ พระพุทธเจ้า มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็<WBR>นซาบซึ้ง กับความคิดที่เป็นกิเลสมีผลให้<WBR>ตนเองและผู้อื่นได้รับความเดื<WBR>อดร้อนจนคาดไม่ถึง ผิดกันอยู่มาก ควรหาทางแก้ไข ผ่อนหนักให้เบาลงบ้างก่<WBR>อนจะหมดทางแก้ไข ศีลจึงเป็นเหมื<WBR>อนยาปราบโรคระบาดและเรื้อรัง</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่<WBR>อเหตุผลอรรถะธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตั<WBR>วเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิ<WBR>ดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผลอั<WBR>นจะเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังมิได้รับการอบรมภาวนาจึ<WBR>งเปรียบเหมือนสัตว์ที่ยังมิได้<WBR>รับการฝึกหัด ยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่<WBR>าที่ควร จำต้องฝึกหัดให้ทำประโยชน์จึ<WBR>งจะได้รับประโยชน์ตามควร</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>
    ใจจึงควรได้รับการอบรมให้<WBR>รู้เรื่องของตัว จะเป็นผู้ควรแก่การงานทั้งหลาย ทั้งส่วนเล็ก ส่วนใหญ่ ภายนอกภายใน ผู้มีภาวนาเป็นหลั<WBR>กใจจะทำอะไรชอบใช้ความคิดอ่<WBR>านเสมอ ไม่เสี่ยงและไม่เกิดความเสี<WBR>ยหายแก่ตนและผู้เกี่ยวข้อง การภาวนาจึงเป็นงานเพื่อผลในปั<WBR>จจุบันและอนาคต การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของผู้<WBR>มีภาวนาจะสำเร็จลงด้วยความเรี<WBR>ยบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญ เล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิ<WBR>ศทางเดินของ กาย-วาจา-ใจ ไม่เปิดช่องให้ความอยากดั้งเดิ<WBR>มเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิด-ถูก-<WBR>ชั่ว-ดี พาเราเสียไปจนนับไม่ถ้<WBR>วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย ถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลยแล้<WBR>วของเก่าก็เสียไปของใหม่ก็<WBR>พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันฟื้นคืนตัวได้ ฉะนั้น การภาวนาจึงเป็นเครื่องหักล้<WBR>างความไม่มีเหตุผลของตนได้ดี วิธีภาวนานั้นลำบากอยู่บ้<WBR>างเพระาเป็นวิธีบังคับใจ</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    วิธีภาวนา ก็คือ วิธีสังเกตตัวเอง สังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิก ไม่อยู่เป็นปกติสุข ด้วยมีสติตามระลึกรู้ความเคลื่<WBR>อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริ<WBR>กรรมเพื่อเป็นยารักษาจิตให้<WBR>ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุ<WBR>ขใจขณะภาวนา</WBR></WBR></WBR></WBR> ที่ให้ผลดีก็มี อานาปานสติ คือ กำหนดจิตตามลมหายใจเข้าออกด้<WBR>วยคำภาวนา พุท โธ พยายามบังคับใจให้อยู่กับอารมณ์<WBR>แห่งธรรมบทที่นำมาบริ<WBR>กรรมขณะภาวนา พยายามทำอย่างนี้เสมอด้<WBR>วยความไม่ลดละ ความเพียร จิตที่เคยทำบาปหาบทุกข์อยู่<WBR>เสมอจะค่อยรู้สึกตัวและปล่<WBR>อยวางไปเป็นลำดับ มีความสนใจหนักแน่นในหน้าที่<WBR>ของตนเป็นประจำ จิตที่สงบตัวลงเป็นสมาธิเป็นจิ<WBR>ตที่มีความสุขเย็นใจมากและจำไม่<WBR>ลืม ปลุกใจให้ตื่นตัวและตื่นใจได้<WBR>อย่างน่าประหลาด</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>
    เมื่อพูดถึงการภาวนา บางท่านรู้สึกเหงาหงอยน้อยใจว่<WBR>าตนมีวาสนาน้อยทำไม่ไหว เพระากิจการยุ่งยากทั้งภายในบ้<WBR>านและนอกบ้านตลอดงานสังคมทำให้<WBR>ไม่อยากทำประโยชน์ที่ควรได้จึ<WBR>งเลยผ่านไป ควรพยายามแก้ไขเสียบัดนี้ แท้จริงการภาวนา คือ วิธีแก้ความยุ่งยากลำบากใจทุ<WBR>กประเภทที่เป็นภาระหนักให้<WBR>เบาและหมดสิ้นไปได้ อุบายมาแก้ไขไล่ทุกข์ออกจากตัว การอบรมใจด้วยการภาวนาก็เป็นวิ<WBR>ธีหนึ่แห่งการรักษาตัวเป็นวิธี<WBR>ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจผู้เป็นหั<WBR>วหน้างานทุกด้าน</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    จิต จำเป็นต้องเป็นตัวการรั<WBR>บภาระแบกหามโดยไม่คำนึงถึ<WBR>งความหนักหนาว่าชนิ<WBR>ดใดพอยกไหวไหม จิตต้องรับภาระทันที ดี-ชั่ว-ผิด-ถูก-หนัก-เบา-เศร้<WBR>าโศกเพียงใด บางเรื่องแทบเอาชีวิตไปด้วย ขณะนั้นจิตใจยังกล้าเอาตัวเข้<WBR>าเสี่ยงแบกหามจนได้ มิหน่ำซ้ำยังหอบเอามาคิดเป็<WBR>นการบ้านอีกจนนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ก็มี คำว่าหนักเกินไปยกไม่ไหว เกินกำลังจะคิดและต้านทานนั้<WBR>นไม่มี</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    งานทางกาย ยังมีเวลาพักผ่อนนอนหลับและยั<WBR>งไม่รู้ประมาณว่าควรหรือไม่<WBR>ควรแก่กำลังของตนเพียงใด ส่วนงานทางใจไม่มีเวลาได้พักผ่<WBR>อนเอาเลย พักได้เล้กน้อยขณะนอนหลับเท่านั<WBR>้น แม้เช่นนั้นจิตยังอุตส่าห์<WBR>ทำงานด้วยการละเมอเพ้อฝันต่<WBR>อไปอีก ไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่าง ๆ นั้นควรแก่กำลังของใจเพียงใด เมื่ออะไรเกิดขึ้นทราบแต่ว่าทุ<WBR>กข์เหลือทน ไม่ทราบว่าทุกข์เพระางานหนั<WBR>กและเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลั<WBR>งจะสู้ไหว ใจคือนักต่อสู้ ดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง สู้จนไม่รู้จักตาย หากปล่อยไปโดยไม่มีธรรมเป็นเครื<WBR>่องยับยั้งคงไม่ได้รับความสุ<WBR>ขแม้จะมีสมบัติก่ายกอง</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติ<WBR>และปกครองใจ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดี<WBR>ยวความอยากของใจจะพยายามหาทรั<WBR>พย์ได้กองเท่าภูเขาก็ยั<WBR>งหาความสุขไม่เจอ ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดี<WBR>ยวจะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลกเศษเดนและกองสมบั<WBR>ติเดนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้<WBR>แต่นิด ความทุกข์ทรมาน ความอดทนทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั<WBR>้งต่าง ๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถู<WBR>กทางใจจะกลายเป็นของประเสริฐให้<WBR>เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่<WBR>องทั้งหลายทันที</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    จิตเป็นสมบัติสำคั<WBR>ญมากในตัวเราที่ควรได้รั<WBR>บการเหลียวแลด้วยวิธีเก็บรั<WBR>กษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิตอันเป็<WBR>นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน</WBR></WBR></WBR></WBR> วิธีที่ควรใช้กับจิตโดยเฉพาะก้<WBR>คือ ภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร ตรวจดูจิตว่ามีอะไรบกพร่องเสี<WBR>ยไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิตคือ นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่าคิ<WBR>ดอะไรบ้างในวันและเวลาที่นั่ง ๆ มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่องหาโทษ ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิด-ถูก ของตัวเองบ้างไหม</WBR></WBR></WBR>

    พิจารณาสังขารภายนอกว่ามี<WBR>ความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขาร ร่างกายมีอะไรใหม่ หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่<WBR>เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการ ให้ท่องอยู่ในใจเสมอว่าเรามี<WBR>ความแก่-เจ็บ-ตายอยู่ประจำตัวทั<WBR>่วหน้ากัน ป่าช้าอันเป็นที่เผาศพภายนอก และป่าช้าที่ฝั่งศพภายในคือตั<WBR>วเราเองเป็นป่าช้าร้อยแปดพันเก้<WBR>าแห่งศพที่นำมาฝังหรือบรรจุ จะอยู่ในตัวเราตลอดเวลาทั้<WBR>งศพเก่าศพใหม่ทุกวัน</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    พิจารณาธรรมสังเวช พิจารณาความตายเป็นอารมณ์ ย่อมมีทางถอดถอน ความเผลอเย่อหยิ่งในชีวิตและวิ<WBR>ทยฐานะต่าง ๆ ออกได้จะเห็นโทษแห่งความบกพร่<WBR>องของตัวเอง และพยายามแก้ไขได้เป็นลำดับ มากกว่าจะไปเห็นโทษของคนอื่นแล้<WBR>วมานินทาเขา ซึ่งเป็นความไม่ดีใส่ตน</WBR></WBR></WBR>

    นี่คือการภาวนา คือวิธีเตือนตน สั่งสอนตน ตรวจตราดูความบกพร่องของตนว่<WBR>าควรแก้ไขจุดใด ตรงไหนบ้าง ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่<WBR>อย ๆ ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้าง ด้วยการรำพึงในอิริยาบทต่าง ๆ บ้าง ใจจะสงบเย็นไม่ลำพองผยองตั<WBR>วและความทุกข์มาเผาลนตัวเอง เป็นผู้รู้จักประมาณในหน้าที่<WBR>การงานที่พอเหมาะพอดีแก่ตัวทั้<WBR>งทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็<WBR>นหายนะต่าง ๆ คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มี<WBR>มากมายไม่อาจพิจารณาให้จบสิ้<WBR>นได้</WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR></WBR>

    ทาน-ศีล-ภาวนา ธรรมทั้ง ๓ นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์<WBR>และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นผู้<WBR>เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่<WBR>ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็<WBR>นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์<WBR>สมบัติอย่างแท้จริง

     
  18. รัศมีสีทอง

    รัศมีสีทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +391
    คนที่เขามีปัญญาสามารถรู้ภาวะของจิตได้รวดเร็ว อย่าลืมว่าเขามีพื้นฐานของศีลดีอยุ่แล้ว เพราะถ้าไม่ดีเขาใช้ปัญญาไม่คล่องตัวหรอก ศีลจะเป็นกรอบป้องกันความเดือดร้อนทุกทางให้เรา เมื่อเรามีศีลบริบูรณ์ ศีล สมาธิ ปัญญามันจะเอื้อต่อกันกลมกลืนกันเป็นทางสายกลางเป็นพลังห้ำหั่นกิเลสประเภทต่างๆเอง คุณช้างน้อยอย่าลืมฝึกภาวนาบ้างเด้อ อย่าพูดแบบนี้แสดงถึงภายในไม่มีอะไรเลย ขายขี้หน้าชาวบ้านเขาเปล่าๆ
     
  19. changnoy

    changnoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +3
    ไม่ขอโต้เถียงทุกคนผู้ปฏิบัติเท่านั้นถึงจะรู้ ปัตจัตตังเนอะ
     
  20. phudit999

    phudit999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +2,396
    โลก(มนุษย์) จักมีทั้งเปลือก และ แก่น
    เปลือกคือ สิ่งห่อหุ้ม
    แก่นคือ สิ่งที่อยู่ภายใน
    เสมือน ต้นไม้ ที่ต้องมีทั้งเปลือกและแก่น

    ลองดูต้นไม้ ที่มีแต่แก่นสิ มันจะอยู่ได้ ดำรงมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
    และลองดูต้นไม้ที่มีแต่ เปลือกสิ

    มันต้องอาศัย การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

    ศีลจะมีทั้งนอก (กรอบ หรือ แนวทางปฏิบัติ )
    ศีลจะมีทั้งใน (สิ่งกระทำอย่างถูกต้อง และ ไม่ถูกต้อง จะรู้โดยธรรมชาติ ของปัญญา)

    จะมีศีลภายใน โดย ไม่มีกรอบให้ยึด ก็ เหมือนกับ ต้นไม้ที่ ไม่มีเปลือกนอก ห่อหุ้ม อยู่เลย ต้นไม้นั้น จะต้องใช้สูญเสียน้ำและจะเลี้ยงไม่โต ไม่เจริญพันธ์ ด้วย เพราะพลังงาน
    ทั้งปวง จะถูกนำมาใช้ เพื่อส่งน้ำขึ้นไป ไม่มีเวลาทำอย่างอื่น

    ดังนั้น เมื่อคิดว่า การภาวนา เพื่อเกิดปัญญา อย่างเดียว โดยไม่สนใจใครในโลกนี้
    ว่าใครจะเป็นอย่างไร อย่างนั้น ก็คิดไม่ถูก เพราะเป็นการเห็นแก่ตัว

    เพราะว่า วิถีชีวิตของแต่คน ไม่ใช่จะต้องมานั่งภาวนา เพื่อเกิดปัญญาญาณ อย่างเดียว
    ดังนั้น การเกื้อกูลผู้คนในโลก จะต้องให้เข้าเหล่านั้น หรือผู้ที่ยังไม่เข้าถึงปัญญา ได้รู้สิ่งที่ควร ไม่ควร รู้ในสิ่งที่ถูก ไม่ถูก เป็นกรอบและทิศทางให้เขาทั้งหลาย ได้เห็นเป็นรูปธรรม ที่จะสามารถปฏิบัติได้ ในกรอบเดียวกัน

    ไม่ใช่จะมุ่งเอาปัญญา(ศีลภายใน) แต่ถ่ายเดียว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...