สติปัฏฐาน ๔

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 14 พฤษภาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    3498e2966236905f36504413ed194a56.jpg

    หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่องมาจากสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆ กัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนละตอนกันบ้าง เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อจึงเป็นเพียงส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน ครอบคลุมความหมายของกันและกัน แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดง และความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน

    ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมใหญ่ที่แสดงความเป็นไปของชีวิตไว้ทั้งหมด มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลักธรรมปลีกย่อยในระดับต่างๆ อย่างทั่วถึง เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการแห่งชีวิตหรือกระบวนธรรมเบ็ดเสร็จ ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้ว ก็ชื่อว่าเข้าใจชีวิตหรือเข้าใจพระพุทธศาสนาทั้งหมด ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม” (ม.มู. ๑๒/๓๔๖/๓๕๙)
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    แบแบบให้เห็นภาพก่อน

    สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ ๒ ในหมวดสมาธิ จัดเข้าในอธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความในพระสูตร ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    1) ตามเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลก

    2) ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลก

    3) ตามเห็นจิตในจิต มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติ ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

    4) ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    (ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๙..)

    คำจำกัดความอีกแบบหนึ่งที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมว่าดังนี้

    “สัมมาสติ เป็นไฉน ? สติ คือการคอยระลึกอยู่เนื่องๆ การหวนระลึกก็ดี สติคือภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม ก็ดี สติคือสติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ” (อภิ.วิ.34/182/140;587/321)

    สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตรก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ

    1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย

    2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา

    3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต

    4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ,การตามดูรู้ทันธรรม
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิญญูชนพอมองออกแล้วนะ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด) "การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม" สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา


    อิทัปปัจจยตา "ภาวะที่มีอันนี้ๆเป็นปัจจัย" ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย, กฎที่ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาทหรือปัจจยาการ


    ปัจจยาการ อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน, หมายถึงปฏิจจสมุปบาท
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    จากประสบการณ์ของตัวเอง
    เมื่อผมแยกจิตดูกาย..ดูเวทนากาย ไปพร้อม ๆกัน จะรู้ทันทุกผัสสะของกาย ที่ร้อน หนาว คัน ปวด หิว แล้วในส่วนของเวทนาของกายที่เกิดขึ้น มันจะถูกส่งมาให้รู้ ที่สติรู้ที่ร่างจำลองที่เป็นร่างเจตสิกของผม...จากอาการที่เราเคยรับรู้เต็มร้อย มันจะลดการรับรู้ลงไปมากเลย ผัสสะเวทนาที่กาย ส่งต่อ มาที่สติรู้...เราจะเห็นกระบวนการทำงานของ ทุกอาการ ของผัสสะและเวทนา ..จนทำให้สติของเรา มันไม่เป็นทุกข์ ไปกับเวทนาที่รับรู้ ...เพราะปกติ ถ้าไม่แยกจิตออกนอกกาย เมื่อเวลามีผัสสะ เวทนาเกิด จะรับรู้ อย่างแรง แล้วจิตรู้มันก็รับต่อมาอย่างแรง จนทำให้เกิด อุปทาน ร่วมปรุงจนเกิดอารมณ์ร่วม หรือเวทนาที่จิต ..ร่วมเกิดตามไปด้วย

    แต่ถ้า แยกจิตออกนอกกาย แล้ว เอาจิต(สติ)มาดูกาย ผัสสะ เวทนาที่เคยรับรู้ จะลดลงเหลือแค่นิดเดียว และเวทนาที่ส่งต่อมาที่จิต ก็แทบจะไม่มีผลต่อจิตเลย ทำให้ไม่ค่อยปรุงแต่ง เท่าไร

    ผมเลยแยก เวทนาในส่วนของกาย..ส่วนนึง
    เวทนาในส่วนของจิต...ที่จะปรุง ก็ส่วนนึง

    การตามดูกาย เวทนากาย...รู้ความจริงของกาย รู้ความจริงของเวทนากาย
    จิตหรือสติรู้(พร้อมใจรู้) มันเลย เริ่มคลายความยึดมั่นถือมั่นใน ผัสสะกาย เวทนากาย....เพราะตามดูตามรู้ ตามความเป็นจริง นั่นเอง
     
  6. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    แหม !!..วันนี้เข้าใจเทศน์ อยากติดกัณฑ์เทศน์ซักหน่อย
    แต่ไม่รู้ขั้นต่ำเท่ารัย คับ
     
  7. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เมื่อสติหรือจิต...หรือใจ...มัน วางกาย วางเวทนากายได้(การวาง คือ การที่ รู้เห็นความเป็นจริงของการทำงานของผัสสะกาย เวทนากาย จนไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า ผัสสะกาย กับเวทนากายคือ ต้นเหตุแห่งความทุกข์)

    สติรู้ของเรามันจะมีความสงบสะสมมา จากการดูกาย ดูเวทนากาย มาแล้ว จนมันจะหันมาดู เวทนาจิต(ความคิด)แทน..ตามขั้นตอนครับ..แต่ทุกเวทนาจิต(ทุกความคิด) มันก็ยัง ส่งต่อ เกิดมาจากผัสสะของกายเหมือนเดิม เพียงแต่จิตหรือสติ มัน ไม่สนใจดูกาย ดูเวทนากาย แล้วจิตหรือสติรู้ มันจะมาคอยดูเวทนาจิต(ความคิดแทน) โดยอัตโนมัติเอง..

    ตรงนี้ ..ตรงเวทนาจิต หรือ ดูจิต หรือดูความคิด...(เราฝึกสร้างร่างจำลอง ด้วยใจ โดยใจเป็นตัวคิดสร้างเป็นรูปร่าง รูปภาพขึ้นมา ..) ส่วนสติรู้หรือจิต เปรียบเหมือนตัวรู้ ตัวตามรู้ หรือวิญญาณรู้ ที่เมื่อเอาเข้าไปรวมกับร่างจำลองที่ใจคิดขึ้น มันจึงจะเหมือนมีชีวิต ก็คือ..กลายเป็นร่างเจตสิก นั่นเอง

    ทีนี้ ในการฝึก แยกร่างจำลอง แยกเข้า แยกออกบ่อยๆ วันละหลายๆครั้ง
    ใจที่คิดสร้างร่างก็จะคิด แต่ สร้างร่างจำลอง..นั้น..ส่วนสติรู้ มันก็จะตามรู้ อยู่ตลอดเวลา..เทคนิคคือ...ให้ใจมันคิดเรื่องเดียวคือ สร้างร่างจำลอง...สติรู้ ก็ให้มันตามรู้ อยู่เรื่องเดียว คือ ยกไปรวมกับร่างจำลองแล้ว หันกลับมามองดูกายตนเองเท่านั้น...จะเห็นว่า...ใจคิด ขั้นเดียว...แต่สติรู้ ตามรู้สองขั้นตอน คือรู้ว่าออกไปรวมกับร่างจำลองแล้ว ก็ หันมามองดูกายเท่านั้น คือ ขั้นตอนที่สอง...

    ตามเทคนิคที่ผมฝึก..เวลาจะหยุดฝึก..ขั้นแรก ต้องถอนสายตารู้ที่ดูกายกลับมาที่ร่างจำลองก่อน แล้วขั้นที่สอง ร่างจำลองกับสติรู้ถึง หดกลับ ถอยกลับมารวมกับร่างจริงได้...

    ฝึกแบบนี้..มันทำให้ ผม เห็น การทำงานของตัวที่คิด และตัวสติที่ตามรู้

    ดังนั้น.จะเห็นว่า ..ตัวคิด ทำงาน อย่างนึง
    ตัวสติรู้ ทำงานอย่างนึง

    ดังนั้น เวลา ที่เราพักการฝึก มันจึงทำให้ผม รู้ทัน....ทุกความคิด ที่เกิดขึ้น
    เพราะ เราผ่าน การดูกาย ดูเวทนามาแล้ว..สติรู้เรา มัน จะมาดู ที่ความคิดหรือดูจิต ได้เอง โดย อัตโนมัติ
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ขั้นตอนต่อมา ..สติเราที่ฝึก สงบ มาดีแล้ว รู้ทัน ความคิด ตามดูความคิดได้ ..
    มันจะตามดู ความคิด ได้ทันทุก ความคิด..นั่นเพราะ ทุกความคิด เกิดจาก ผัสสะที่กาย เกิดเวทนากาย ส่งต่อมาที่ใจ..ใจจึงรับต่อมาคิด จึงปรุง..ตามขั้นตอน..แต่...ช่วงแรกเราจะไม่เห็นตัวคิด หรือตัวใจ (ที่ผมเล่ามานี้ จะยังไม่เห็นตัวใจ)...จนกว่า สติเราจะสงบ มาเริ่มดูความคิด ได้ก่อน..ทีนี้ ถึงจะตามดูความคิด ที่มัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...อยู่ทั้งวัน...ตามดูจนกว่า เราจะไปเห็นว่า ความคิดเกิดขึ้นมาจากที่ไหน เกิดขึ้นมาได้อย่างไร (ตรงนี้ ผมก็ไม่รู้ว่า คนอื่นจะฝึก เหมือนผมมั้ย)

    ผมฝึกตามดู ตามรู้ ทุกความคิด ทั้งวัน..จน สติรู้มัน สงบมากขึ้น ..จนวันหนึ่ง.มันจะตาม ดู ทันเห็น ความคิดที่เกิด ที่ผุด...แต่ ตอนแรก แค่ ตามรู้ ตามดู อยู่ข้างหลัง...(แบบว่า สติรู้ เริ่มตามทันตัวใจที่คิดละ)..ตามไปเรื่อยๆ นั่นแหล่ะ...จนกว่า ตัวใจที่คิด (มันก็จะรู้เหมือนกันว่ามีคนตามดูมันอยู่)..

    จนตัวใจมันหันหน้ามา เห็นตัวสติที่ตามรู้ นั่นแหล่ะ..ตัวใจมันจะอาย ละอาย ไม่กล้าคิด หยุดคิด...ไปเลย...ก็ดูกันต่อไปอยู่อย่างนั้นแหล่ะ..เข้าไกล้ ประเด็นสำคัญละ คือ...สติรู้เห็นตัวใจ ตัวใจก็เห็นสติรู้...ต่างรู้ความจริงของกันและกัน...แล้ว..ใครจะปล่อยวางใคร ด้วยเพราะ เข้าใจในความเป็นจริง..

    ว่า คนปกติ คิดว่า...ความคิดคือ ตัวทุกข์..จะห้ามคิดก็ไม่ได้ อยากให้คิดแบบนั้นแบบนี้ก็ไม่ได้....แต่แท้จริง เมื่อสติรู้เห็น ตัวใจที่คิด ตามความเป็นจริง ว่าใจมันคิดปรุงแต่ง ตาม ที่รับส่งมา จากผัสสะ อายตนะของกาย ตามหน้าที่ของมัน...การตามดูความคิด ตามดูจิตนี้ จนมาถึงตอนนี้ได้ แสดงว่า สติรู้ ได้รู้เห็น การเกิดความคิด การเกิดจิต..มามากมายแล้ว ครบทั้ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...จนเกิดปัญญา...เข้าใจ ใน ความจริงที่เรียกว่า....พระไตรลักษณ์..ได้ชัดเจน..จนเข้าใจในความจริง อริยะสัจนี้..ว่า เหมือนกันทั้ง จักรวาล

    สติรู้ จะปล่อยวางใจ ด้วย ปัญญา ..รู้ในพระไตรลักษณ์ หรือไม่..ก็ ขึ้นอยู่กับการ ฝึก ตามดู ตามรู้ แบบนี้แหล่ะว่า...มันจะ รู้ หรือไม่..ต้องฝึกเอง
     
  9. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    การฝึก ตามดู กาย (ทุกผัสสะที่เกิด)
    ตามดู เวทนา (ทุกเวทนาที่เกิด).....โดย สร้างร่างจำลอง ขึ้นนอกกาย แล้ว ย้ายสติรู้ออกไป รวมกับร่างจำลอง..(เหมือนย้ายวิญญาณรู้ ออกจากกายจริง ..แบบนี้....ผมว่า ทำให้ได้เห็น การทำงานจริงๆ ของ ผัสสะกาย อายตนะกาย และอายตนะใจ ได้ชัดเจน...โดยเหมือน เราแยกสติรู้หรือวิญญาณ ออกมาจาก การทำงานของ อายตนะกายใจ..นั่นเอง...ผมเลย รู้ตามขริงได้แบบนี้ตามที่ฝึกมา

    จนเมื่อสติรู้ ปล่อยวาง กายใจได้จริง..คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ว่า กายใจคือต้นเหตุแห่งทุกข์..เหมือนที่เคย ไม่รู้ความจริง..จนเมื่อได้รู้ความจริง

    สติรู้ มันจึง ลอยออก เหนือโลก ตามที่ผมเคยเล่ามา แล้วสติรู้ เข้าสู่ สภาวะอรูปธรรม...ต่อไป...ก็ถึงเข้าสู่ สภาวะของ ขันธ์5 จริงๆ ว่ามัน อุปทาน กันได้อย่างไร...สภาวะนี้คือ...ถ้าตามวงจรปฏิจสมุปบาท ก็คือ....(อรูปธรรมคือ ..อวิชชา-วิญญาณ-) ก่อนจะมาเป็น นามรูป -ผัสสะ สฬายตนะ-เวทนา-..นั่นเอง

    ผัสสะ อายตนะกายใจ...คือ..นามรูป ไป เวทนา ไปจน มรณะ ในวงจร
    แต่ อรูปธรรม คือ อวิชชา วิญญาณ ....ก่อนจะมาเกิดเป็น นามรูป นั่นเอง...
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    พอมาถึงสภาวะอรูปธรรม..
    ก็ต้อง..ฟังธรน
    รม เสริมปัญญาให้เยอะๆ เพื่อ...ปล่อยงางจิต หรือสติรู้นี้ ให้มัน อนัตตาไป...ก็ตามบุญพาวาสนาส่ง ชองใครของมันแล้วกันล่ะ
    จบ..
     
  11. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    แต่ก่อนหน้านั้น..ผมเคยนั่งสมาธิ เคยอ่าน เรื่อง สติปัฏฐานสี่ มา..

    ผมมีปัญญาอยู่ข้อเดียว...ก็คือ...เขาเอา สติรู้..ไปตั้งเป็นฐาน กันตรงจุดไหนกันแน่...ถ้าตั้งฐานในกาย...แล้วตั้งอยู่ตรง จุดไหนของกาย..ถ้าตั้งที่หัว สติรู้ก็จะไม่รู้ตรงที่หัว แต่รู้ทั่วอวัยวะอื่นๆ...นี่ ที่ผม ไม่เข้าใจมาตลอด

    แต่ถ้าเอาสติรู้ มาตั้งที่ ลม เหนือปลายจมูก นอกปลายจมูก แล้ว ตามลมเข้าออก พร้อมทั้งให้ สติรู้ทั่วกายให้หมดทั้งกายอีก มันคงจะยากน่าดู

    ก็เป็นโชคดีที่ ผมได้รับการชี้แนะให้ แยกจิตดูกาย ตามที่ผมฝึกมา สำหรับผม มันง่ายดี สำหรับผม...
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้วก็ชื่อว่าเข้าใจชีวิตหรือเข้าใจพระพุทธศาสนาทั้งหมด

    พระพุทธเจ้ารู้จักชีวิต (คือหมดทั้งเนื้อทั้งตัวนี่) อย่างทะลุปรุโปร่ง ดังนั้นพระองค์จึงสอนเรื่องชีวิตมนุษย์นี่แหละ คำสอนของพระองค์มีมากมายก็แตกขยายออกจากชีวิตเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรานี่

    หลักปฏิบัติในชื่อต่างๆ จะเป็นสมถกัมมัฏฐานก็ดี วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นต้นก็ดี ก็ให้ทำให้ปฏิบัติเพื่อรู้จักชีวิต ถ้าพูดในแง่ปัจเจกบุคคลก็ให้รู้จักเข้าใจชีวิตของตนๆ


    เมื่อเข้าใจชีวิตของตนเองแล้ว ก็เข้าใจพระพุทธศาสนาทั้งหมด (ตามสมควรแก่การปฏิบัติแล้วเข้าถึง)

    โลกภายนอกกว้างไกลใครใครรู้
    โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
    จะมองโลกภายนอกมองออกไป
    จะมองโลกภายในให้มองตน
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไม่มีขั้นต่ำ มีแต่ขั้นสูง คิกๆๆ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อยากฟังความคิดความเห็นของเราจะโตหน่อย เชิญๆๆตามอัธยาศัยครับ:) สาธุสามครั้ง
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นี่ชีวิต ด้านที่เป็นธรรมะ (ธรรมชาติ) ต้องศึกษาเรียนรู้จากของจริงภายใน (โลกภายใน)

    ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

    วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

    เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

    จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

    จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

    คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

    ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

    คำถามครับ

    1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

    2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรม พิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ย้ำตรงที่ว่านี้หน่อย

    จนลาสิกขามา ก็เริ่มมาหาอ่านเอง จนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

    คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย
    ........

    กาย เวทนา จิต ธรรม เขาก็อ่านแล้วจากหนังสือบันทึกกรรมฐาน ภาคปฏิบัติก็ว่าเริ่มพิจารณาสติปัฏฐาน (คิดว่ามันเป็นทุกขเวทนา ก็หยุดไปชั่วขณะจิตหนึ่ง) ทีนี้ มันหมุนแรงๆจนเกือบอ้วกแตกอ้วกแตน ไปไม่เป็นเลย

    เราจะโต คิดเชื่อมโยงตามที่ตนเองถนัดแล้ว ได้แง่คิดอะไรบ้าง หรือมองไม่ออกเลย ก็ว่ามาตรงๆ อย่าหลอกตนเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2017
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    แบแบบอีกหน่อย


    สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

    สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็ คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔" (ที.ม.10/273/245...)


    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้



    วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร

    จากการศึกษาคร่าวๆ ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น ทั้งในแง่สาระสำคัญ ขอบเขตความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝนปฏิบัติ โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิปัสสนา ความเห็นแจ้งคือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


    โสกะ ความเศร้าโศก ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น (บาลี โสก สันสกฤต โศก)

    ปริเทวะ ความคร่ำครวญหรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น

    ทุกข์ ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น

    โทมนัส ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตนเอง กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น

    อุปายาส ความคับแค้น หรือสิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อความโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    กระทู้นี้ ทำเอาเราจะโตแทบบอกลาบอร์ดไปแบบไม่คิดชีวิต คิกๆๆ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2017
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ในความเป็นจริง...ในขณะที่...สติรู้ของผมมัน ลอยตัวออกไปรู้เรื่อง ของ นอกโลก .สภาวะจิตนอกโลก ระดับจิตเหนือโลก ภพภูมิเหนือโลกต่างๆ....

    มันจะมีข้อเท็จจริง ในการรู้อยู่ ..คือ สติหรือจิตที่สมุทัยออกไปรู้เรื่องนอกโลกหรือเรื่องเหนือโลก หรือเรื่องโลกของจิตเหล่านี้
    ร่างกายเราเองยังมีชีวิตอยู่ในโลก...ยังไม่ตาย มีอายตนะกายใจ รู้ ที่เชื่อมโยง ออกไปรู้ร่วมกันกับตัวสติรู้ นี้อยู่เสมอๆ ...เพราะเรายังมีสัมปะชัญญะจากกายใจ ที่เชื่อม รู้กับสติรู้นี้เสมอ

    ประเด็นคือ กายใจ ที่รู้.....กับสติจิตรู้นี้....ตัวไหนคือ...ตัวต้นเหตุแห่งทุกข์ ตัวไหนคือ ผลแห่งการเกิดมาจาก อุปทานของกองขันธ์..ตัวไหนคือตัวอัตตาตัวตน....ที่เกิดจาก อวิชชา
     

แชร์หน้านี้

Loading...