สติปัฏฐาน ๔

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 14 พฤษภาคม 2017.

  1. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    สภาวะรู้....รู้อะไร รู้แล้วได้อะไร รู้แล้วเกิดประโยชน์อะไร รู้แล้วจะเอาอะไรกับมัน....เพราะถึงรู้ ก็เป็นแค่ รู้เรื่องโลกของจิต ระดับจิต ภพภูมิจิตต่างๆ วิญญาณต่างๆ...ถึงจะเป็นหลายภพ...สามโลก แต่ไม่าำคัญ

    เพราะ สามโลก สำหรับผมคือ เข้าใจใน โลกของอดีต โลกของปัจจุบัน โลกของอนาคต....ดังนั้นโลกที่ควรรู้ ควรอยู่กับมัน ควรจะเป็น โลกของปัจจุบันเท่านั้น..แล้วอะไรคือโลกปัจจุบัน

    โลกปัจจุบันก็คือโลก ที่มีกายใจพร้อมกับลมหายใจ ของเรา นั่นเอง...

    กลับมาอยู่ กับโลกปัจตุบัน...ให้ได้....โดย ขำระจิต ชำระอวิชชา...ให้ได้
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อวิชชา ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์)

    อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม ๕ ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

    อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เอาแบบมาแบอีกหน่อย

    สติปัฏฐาน 4 มีใจความโดยสังเขป คือ

    1. กายานุปัสสนา การพิจารณากายหรือตามดูรู้ทันกาย

    1.1 อานาปานสติ คือไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ

    1.2 กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ๆ ก็รู้ชัดในอาการที่เป็นอยู่นั้นๆ

    1.3 สัมปชัญญะ คือสร้างสัมปชัญญะในการกระทำทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่นการก้าวเดิน การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะการตื่น การหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น

    1.4 ปฏิกูลมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้าซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาด ต่างๆ มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน
    1.5 ธาตุมนสิการ คือ พิจารณากายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ
    1.6 นวสีวถิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตาย ใหม่ๆ ไปจนถึงกระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตนว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

    2. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือ เมื่อเกิดรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

    3. จิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันจิต คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มี ราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ ในขณะนั้นๆ

    4. ธัมมานุปัสสนา การตามดูรู้ทันธรรม คือ

    4.1 นิวรณ์ คือรู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
    4.2 ขันธ์ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่าง คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
    4.3 อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายใน ภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่า สัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร
    4.4 โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
    4.5 อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร

    ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า

    “ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายใน (= ของตนเอง) อยู่บ้าง ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอก (=ของคนอื่น) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอก อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง

    “ก็แล เธอมีสติดำรงต่อหน้าว่า “มีกายอยู่” เพียงแค่เพื่อความรู้ เพียงแค่เพื่อความระลึก แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก”
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกะย

    9a9d5929ab1c600b0721e09eed7bfa41.jpg
    ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ .... กลับหนอๆๆ เป็นต้น นี่แหละเดินอย่างมีสติกำกับการเดินไปเดินมา คือรู้สึกตัวทุกย่างก้าว
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    อันนี้ ผมวิเคราะห์เอง...ว่า..

    ความจริงแล้ว คนส่วนมากจะกลับออกมาอยู่ ร่วมกับกายใจจริงๆในโลกของตนเองในความเป็นมนุษย์ไม่ได้...จะชอบอยู่แต่กับในโลกของจิตรู้ ..เพราะคิดว่า พ้นจากความวุ่นวายของ ผัสสะอายตนะกายใจ ดีกว่า...

    เพราะส่วนมาก จะพากันนั่งสมาธิ เข้าถึงจิตรู้ แล้วชอบ ในความสงบ
    ในส่วนของ ผัสสะ อายตนะของกายใจ จะฝึก เน้นไปที่ อสุภะ ของไม่สวยงามเสียมากกว่า ที่จะมาตามดูตามรู้ ทุกสภาวะตามความเป็นจริง
    ผมจึงถือว่า ส่วนมาก ..เกลียด กายใจ...เกลียดผัสสะ อายตนะ ของร่างกายตนเอง..ซะม่กกว่า ที่จะได้ไปรู้เห็นตามความเป็นจริง.ยิ่งโดยเฉพาะ อายตนะใจ ผมว่า น่อยคนนักที่จะ เข้าใจ ในส่วนของ อายตนะใจ...

    ดังนั้นผู้ที่ฝึกนั่งสมาธิ ข้ามเรื่องกายใจ หรือฝึกดูอสุภะมา...ก็คงจะมา พ่ายแพ้ ตรงเรื่องของ การดูจิต ดูความคิด เสียมากกว่า

    ดังนั้น ในสิ่งที่ผมพูดมาว่า ต้องมีการกลับมาอยู่กับความเป็นจริงที่เป็นปัจจุบันคือ กายใจ ของตนเองในโลก..มันจึงเป็นสิ่งที่..เข้าใจได้ยาก นั่นเอง
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

    จากใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่าสติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในกาลเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

    ว่าโดยสาระสำคัญ สติปัฏฐาน ๔ บอกให้รู้ว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมด เพียง ๔ แห่งเท่านั้นเอง คือ
    ๑ ร่างกายและพฤติกรรมของมัน
    ๒ เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ
    ๓ ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ
    ๔ ความคิดนึกไตร่ตรอง

    ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้งสี่แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทานำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม


    จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐานแต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่าในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือสมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ พอใช้สำหรับการนี้*

    ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วยเป็นประจำ ได้แก่

    1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้างและเพีรยรักษาเสริมทวีความดี)

    2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือปัญญา)

    3. สติมา = มีสติ (หมายถึงสตินี้เอง)


    ข้อพึงสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ จะเห็นว่า สัมปชัญญะ คือปัญญานี้ เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ สำหรับที่นี้คือบอกว่า การฝึกในเรื่องสตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

    สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือต่อการกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายอย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร พึงปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิด ใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ

    ข้อความต่อไปที่ว่า "ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลก" แสดงถึงท่าทีเป็นผลจากการมีสติสัมปชัญญะว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้ และขัดเคืองเสียใจ ในกรณีนั้นๆ

    ข้อความต่อท้าย เหมือนๆกันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไป แสดงถึงการเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์ จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือ การมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่นที่ว่า "มีกายอยู่" เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งนั้นตามที่เป็นอย่างนั้นของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมติ และยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าที่ของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอกและไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน

    ……….

    ตรงที่อ้างอิง *

    * เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกบาลีที่สำคัญมาแปล และแสดงความหมายไว้ โดยย่อ ดังนี้

    กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า "พิจารณาเห็นกายในกาย" นี้เป็นคำแปลตามแบบที่คุ้นๆกัน ซึ่งต้องระวังความเข้าใจไม่ให้เขว แต่ก็พึงเห็นใจท่านที่พยายามแปลกันมา เพราะบางคำบางข้อความนั้น จะหาถ้อยคำที่สื่อความหมายให้ตรงและชัดได้แสนยาก

    ความหมายของข้อความนี้ก็คือ มองเห็น โดยรู้เข้าใจทันความจริงทุกขณะ หรือตลอดเวลา เห็นกายในกาย คือ มองเห็นในกายว่าเป็นกาย หมายความว่า มองเห็นกายตามสภาวะซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบ คืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ เห็นตรงความจริง และเห็นแค่ที่เป็นจริง ไม่ใช่มองเห็นกาย เป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนายนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือในผมในขนในหน้าตา เห็นเป็นชายนั้นหญิงนี้ เป็นต้น

    เป็นอันว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดู ตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือ ดูกาย ก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบ อยากชม บ้าง เป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “สิ่งที่ดู มองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้”

    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา แปลว่า "มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ" ได้แก่ มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อ ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ *

    ความเพียรคอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอ ล้า หรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่องให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรง เร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น

    สัมปชัญญะ
    คือ ปัญญา ที่พิจารณา และรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนด ทำให้ไม่หลงใหลไปได้ และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง

    สติ
    คือ การกำหนด หมายตัว คอยจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน

    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ แปลอย่างสำนวนเก่าว่า กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ คือปลอดไร้ความยินดียินร้ายชอบชัง หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีทั้งความติดใจอยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน

    อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย แปลว่า เธอมีสติดำรงตรงหน้า หรือมีสติพร้อมหน้ากับความรู้ว่า "กายมีอยู่" หรือมีกายเป็นกาย เพียงเพื่อเป็นความรู้ และแค่สำหรับระลึกเท่านั้น คือ มีสติตรงชัดต่อความจริงว่า แค่ที่ว่า มีกายเป็นกาย ไม่ใช่เลยไปเป็นสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ตัวตน ของตน ของเขา ของใคร เป็นต้น ทั้งนี้เพียงเพื่อเป็นความรู้ และสำหรับใช้ระลึก คือ เพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ หรือ เพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุง แต่งฟ่ามเฝือไป

    แม้ในเวทนา ในจิต และในธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้

    อนิสฺสิโต จ วิหรติ แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย คือ มีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้น ต่อสิ่งใด ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคลนี้ เป็นต้น ว่าตามหลัก คือ ไม่ต้องเอาตัณหาและทิฐิเป็นที่อิง อาศัย หรือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็ รับรู้โดยตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหา และทิฐิมาช่วยวาดภาพ ระบายสี เสริมแต่ง และกล่อมให้เคลิ้มไป ต่างๆ โดยฝากความคิดนึก จินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น

    น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก คือ ไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ ไม่ว่า จะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณว่า เป็นอัตตา หรืออัตตนียา เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น

    อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง ข้อความนี้ อาจารย์หลายท่านอธิบายกันไปต่างๆ แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า "ภายใน" หมายถึง ของตนเอง "ภายนอก" คือ ของผู้อื่น มติของอรรถกถานี้ สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง เช่นว่า "ภิกษุตามเห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ? ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้น มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของผู้นั้นมีราคะ ฯลฯ" อภิ.วิ.35/445-7/263-5
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2017
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    บางท่านอาจสงสัยว่า ควรหรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกาย ใจของคนอื่น และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น

    เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา ก็พึงเกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่ เราเท่านั้น คือ รู้ตรงไปตรงมา แค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น (ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้ ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอดรู้) จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคน อื่น ทำให้เกิดราคะบ้าง โทสะบ้าง เป็นต้น ถ้าไม่รู้ หรือ ไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจของผู้อื่นแต่ประการใด

    ในทางตรงข้าม เวลาไปพูดกับคนอื่น เขามีอาการโกรธ ก็ไม่รู้ว่าเขาโกรธ แล้วจะมาบอกว่าปฏิบัติสติ-ปัฏฐานได้อย่างไร และสติปัฏฐานจะใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร


    อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิดแล้วก่อปัญหาขึ้นได้

    การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิต วิเคราะห์ ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) สมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติ ปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และ ใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย

    (ตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ท่านวรณ์นิ อ่านแล้วจับประเด็นได้ไหมครับ ถามผมสิครับ สงสัยประเด็นไหน ยังไง ถามเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2017
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    แล้วคุณจับประเด็น ที่ผมพูดได้มั้ยล่ะ

    ประเด็นที่ผมพูดถึงคือ คนที่ฝึก สมาธิ ส่วนมากจะ ข้ามเรื่อง กาย เวทนา จิต(ความคิด).....มุ่งสู่ แต่ ฌาณ4 ที่ เหลือเพียงจิตรู้ เพียงอย่างเดียว ว่า เป็น เอกคตารมณ์....หรือ ถ้าจะพิจารณากาย ก็ พิจารณาแบบอสุภะ หรือ อวัยวะเป็นชิ้นๆส่วนๆไป...ไปกำหนดเห็นความ เน่า เหม็น น่ารังเกียจ ไป....แทนที่จะตามดูตามรู้เห็น สภาวะการทำงานของ ผัสสะ อายตนะ ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ

    ...
    ทีนี้...เมื่อ ต่างก็ พยายาม เข้าถึง เอกคตารมณ์ ของสติรู้..จึงข้ามเรื่อง กาย เวทนา จิต(ความคิด)..ไป...ปัญญาเห็น กายเวทนาจิต ตามจริง...จึงไม่เกิดปัญญา เห็นไตรลักษณ์ได้จริง...ประเด็นที่ 1
    ....
    พอ มาเน้นที่ สติรู้ เข้าถึงฌาณ4 คือ เอกคตารมณ์...คือ เข้าถึงสภาวะอรูปธรรม...มันจึง เป็น อรูปธรรมที่ แห้งแล้งปัญญา...เมื่อพยายาม ปล่อยวางสติรู้ให้ เข้าถึงอนัตตาธรรม หรือ พระนิพพาน...มันเลย...จะเป็น...อนัตตาธรรมปลอมๆ พระนิพพานปลอมๆ ตามไปด้วย....ประเด็นที่ 2
    .....
    ผมพูดมา 2 ประเด็น ละ
    ประเด็นที่ 3...เมื่อ สติรู้ ควรจะ เข้าถึง อนัตตาธรรม คือ นิพพ่นไป...ก็ไม่...ดังนั้น .สัมปะชัญญะ มันจึง กลับมาอยู่ที่ กายใจ ตนเอง ที่เป็น มนุษย์อยู่บนโลก ไม่ได้..กลับมาอยู่กับปัจจุบัน ที่แท้จริงไม่ได้..ตามที่พระพุทธเจ้าสอน

    พระพุทธเจ้าสอน คนให้เข้าถึง ความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ...จะได้ตายลง ในความเป็นมนุษย์ตามที่ตนเองเป็นมนุษย์ได้จริงๆ
    จะได้ไม่ หลงเหลือ จิต ให้ต้อง เวียนวน ตามภพภูมิต่างๆ ตามโลกของจิต...จิตรู้ จิตอวิชชา...นั่นเอง
     
  11. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ที่ผมเล่า ถึงว่า มีการกลับมาของสัมปะชัญญะ เพื่อ กลับมาอยู่กับกายใจของตนเองที่เป็นมนุษย์บนโลก คือ อยู่กับปัจจุบันจริงๆ

    เรื่องนี้..ผมถือว่า เป็นเรื่องใหม่..ที่ ผมถูกสอน มา...เพื่อความต่อเนื่อง ของ สภาวะธรรม สุดท้าย ของ ภัทรกัปน์นี้...เป็นธรรมแห่งองค์พระศรีอาริย์...ที่ต่อเนื่อง จาก ...พระนิพพานของ พระสมณะโคดม

    จะเห็นว่า สาวกส่วนมาก ของพระสมณะโคดมคือ..เข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ เข้าถึงพระนิพพาน...แต่ พระนิพพาน มันจะมีสองแบบ ตามแต่ปัญญาของสาวก จะเข้าถึงได้...คือ

    พระนิพพานแรก เป็น แดนนิพพาน เมืองนิพพาน เป็นพุทธเกษตร...สำหรับ สาวกที่ ...ไม่สามารถ เข้าถึง อนัตตาธรรมได้หมดทั้งรูปและนาม

    พระนิพพานที่สอง คือ นิพพานทั้งรูปและนาม คือ ดับลง ตายลง ในความเป็นมนุษย์ของตนเองตามจริง คือ จิตรู้ก็นิพพาน(อนัตตา) กายใจก็นิพพาน(อนัตตา)
    ...
    นี่คือ สิ่งที่ผม ได้เรียนรู้มา...จึงเล่าสู่กันฟังครับ
     
  12. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    พุทธเกษตร...มีเพื่อรองรับ จิตของเหล่าสาวกที่.....ปัญญา เข้าถึงนิพพานจริงๆ ไม่ได้....ตอนนั้น

    พุทธเกษตร จึง มีเอาไว้ ...ให้เหล่าจิต..เป็นที่พัก ไว้ก่อน เพื่อรอ.. ยุคพระศรีอาริย์...มาโปรด แสดงธรรม...ไง
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไปพุทธเกษตร ไปมหายานโน่นเลย :eek:
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ขอถามนะขอรับ คิดเห็นอย่างไรตอบอย่างนั้น

    กายานุปัสสนา กับ อานาปานสติ เหมือนกันหรือต่างกัน ถ้าว่าเหมือนเหมือนตรงไหน ถ้าว่าตรงต่างต่างตรงไหน ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2017
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    อย่ามาแยก มหายาน หินยานสิ...มันแค่แตกออกมาจากศาสนาเดียวกัน
    ถ้าแบ่งแยก แสดงว่า รวมเป็นหนึ่งไม่ได้ อย่ายึดในสมมุติ
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ไปศึกษาดูก่อนว่า มหายานแยกออกไปเพราะสาเหตุใด
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ผมยอมรับว่า ผมไม่แตกฉานใน อานาปาณสติ....แค่เคยนั่งสมาธิ ดูลม พุทโธ จนเข้าถึง แสงสว่างแห่งความว่าง...เท่านั้น....แต่อาจารย์ของผมท่านสอน อยู่ แต่ผมไม่ได้ทำ...ท่านว่า

    ต้องนั่งตัวตรงคู้บัลลังก์ ลืมตานะ เพ่งสติที่ความว่างเหนือจมูก ดูลมเข้าออก จนกว่า ลมจะหาย คือหมายถึง เมื่อความดันลมนอกกาย กับความดันลมในกาย เท่ากัน ก็จะเกิดความสงบ ที่เท่ากันทั้งภายนอกและภายใน จริงๆ
    แต่ผมก็ไม่เคย ทำตาม เพราะผมฝึก แบบ แยกจิตดูกายมาแล้วไง
    ....
    ผมคงต้อง ยอมรับว่า แยกจิตดูกาย แล้ว แตกฉาน ใน กายานุปัสนา มากกว่า
     
  18. ศิษย์โง๋

    ศิษย์โง๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +66
    ท่านวรณิ เวลาไปเห็นคนลากไก่ออกจากลังกำลังเอาไปฆ่า รู้สึกรังเกียจตัวเอง เพราะร่างกายเราเต็มไปด้วยสุสานของสัตว์ มีชีวิตที่อยู่มาได้ด้วยการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น ร่างกายมนุษย์ร่างนี้ช่างน่ารังเกียจยิ่ง
    แบบนี้มันชักจะเริ่มเพี้ยน ออกนอกแนวทางไปไหมอ่า มันเป็นความคิดๆๆ มาหนะ
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถ้าแบบนี้นะขอรับ ต่อให้พูดเรื่องจิต เรื่องกาย ก็เตลิดเถิดเถิง ตับ ตับ ตับ ตับ ผมอยากกินตับๆแล้ว
     
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    คิดไร้สาระ.....พระพุทธเจ้าก็สอน อย่าได้เบียนเบียนสัตว์อื่น หรือ ทำร้ายหรือ ฆ่าสัตว์อื่น..มันเป็น บาปในใจคนทำอยู่แล้ว...ก็ ตอนนี้ มัน ถูกบีบจาก งาน การหาเงิน เอาตัวรอด...ถ้าเลือกได้...ไม่มีใครอยากฆ่าสัตว์หรอก..ฝอย่าคิดโง่ๆสิ...ร่างกายมนุษย์ไม่ได้น่ารังเกียจ...ที่น่ารังเกียจ คือ พฤติกรรม ของ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ ไม่ถูกต้อง ต่างหาก

    มีใครบ้าง อยากทำผิดพลาด อยากทำไม่ดี อยากทำชั่ว อยากทำบาป....ไม่มีหรอก....
     

แชร์หน้านี้

Loading...