สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสวนัง, 10 พฤศจิกายน 2009.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ออกจากกระทู้ไปแล้ว พอว่างๆมันก็ทวนขึ้นมาเอง เป็นอยู่เรื่อยๆ...อะ
    เมื่อก่อนก็ไม่รู้ ก็นึกว่าเราทำผิดแล้วไม่รู้ตัว คิดว่าจิตมันทวนขึ้นมาให้รู้ตัว
    ว่ามิจฉาทิฏฐิมันทำงานเยอะ ก็นั่งสำนึกผิดนึกอโหสิกรรมไปบางทีก็หาย
    บางทีก็ไม่หาย แต่ตอนนี้มารู้ใหม่ว่า ที่มันฉายซ้ำทวนจะเกิดกับเรื่องที่เรา
    มีใจชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง มันมีน้ำหนักอยู่ในใจ มันจะพยายามคายทิ้งออกมา
    ถ้าเรารู้ทันตอนที่มันทวนขึ้นมาว่าใจเราไม่เป็นกลางต่อเรื่องนี้นะ มันก็จะหาย
    ไปไม่ขึ้นมาอีก แล้วระหว่างวันที่เราเจอเรื่องราวต่างๆ ถ้าใจเราไม่เป็นกลาง
    ในเรื่องไหนบ้าง ตอนที่เราว่างๆมันจะทวนขึ้นมาให้รู้เอง ถ้ามันยังติดใจอยู่
    ไม่รู้ว่าเรียกว่าปล่อยวางได้ไหม แต่ตอนนี้รู้ว่าถ้าใจเป็นกลางๆ ต่อเรื่องใด
    มันก็ไม่ติดค้างในใจเรา เราก็เบา ไม่มีแทงหน่อจึ๊กๆ ให้ระบมในหัวใจ มันก็
    สบายๆ ชิวๆ ยิ้มได้ทั้งวัน
     
  2. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    คือ ภาวนาสายท่านอาจารย์ปราโมทย์
    ก็เป็นวิธีภาวนาที่ดี
    แต่... เสียใจจริงๆนะ
    ผมรู้สึกว่ามันไม่รัดกุมพอ

    คนที่ภาวนาวิธีนี้ จะเหมือนต้องเปิดใจรับรู้เรื่องมากเกินไป
    ในบางคน อกุศลกรรมเข้าดล
    มันจะเริ่มคลาดเคลื่อน แล้วจะเคลือนออกจากความจริงเรื่อยๆ

    ครูบาอาจารย์ท่านที่ภาวนาจนชำนาญมากๆแล้ว
    เวลาอกุศลกรรมดล ท่านก็รับมือได้
    เพราะว่าก็เข้าใจธรรมชาติของมันที่คลาดเคลื่อนได้บ่อยๆ

    แต่หากคนมาหัดภาวนาใหม่ๆ
    รู้เรื่องโน้นเรื่องนี้เข้ามามากๆ
    หากพลาด เหนี่ยวอะไรเอาไว้ มันจะพาล้มเลย

    ตัว "รู้" เนียะโอเค ใช้ในการภาวนาได้แน่ๆ
    เพราะในพระไตรปิฎกรับรอง

    แต่ธรรมชาติของตัว "รู้" ตามแบบฝึกที่สำนักท่านอาจารย์ปราโมทย์ท่านแนะนำนี้

    หากคนภาวนามือใหม่ ลองของ
    ไปคว้าอะไรมายึดเข้า ธรรมชาติ ของตัว "รู้"
    หรือ "ธาตุรู้" ตามที่สำนักของท่านนิยมกันนั้น
    มันจะเหวี่ยงแน่นอน ยังไงก็เหวี่ยง
    ยิ่งคุมให้มันอยู่ในอาณัติ ให้จงได้
    มันยิ่งเหวี่ยงหนักขึ้น ตามแรงที่เข้าคุมมัน

    ไม่มีข้อห้าม ในการ เข้ายึด หรือ เข้าคุม นะ
    แต่หากภาวนาใหม่ๆยังไม่ชิน อย่าเพิ่งควบคุมอะไร
    หากรู้สึกตัวว่ามีอะไรแปลกๆ
    ให้หากรรมฐานกองอื่นๆ มาภาวนาให้จิต ทรงตัวเสียก่อน
    แล้วค่อยกลับไปดูตัวรู้ใหม่

    ธรรมชาติของจิต มันก็มีแรงปราถนาที่จะยึด หรือผลักอะไรบางอย่างอยู่แล้ว
    แล้วภาวนาดูจิต ของที่จิตจะยึด หรือ จะผลัก มันจะมาให้ยึด ให้ผลัก แน่ๆ

    ในตอนเริ่มหัดใหม่ เทคนิคยังไม่แพรวพราว
    เห็นท่าไม่ดีเลิกก่อน

    เพราะแสดงว่าเมื่อกี้ต้องเผลอไปยึดหรือไปผลักอะไรบางอย่างแน่
    มันพลาด เป็นธรรมดา คนที่ภาวนาคล่องแล้วก็เผลอ

    แต่บังเอิญวิญญานัญจายตนะ หากพลาดไปยึดหรือผลักอะไรเข้า
    หากไม่รู้วิธีตะล่อมมันกลับมา
    ยิ่งแก้จะยิ่งยุ่ง รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
    ยิ่งอยากจะทรงฌานให้ได้ หรือยิ่งอยากรวมจิต ยิ่งแย่
    หรือยิ่งไม่อยากทรงฌานหรือรวมจิต ก้แย่พอกัน

    ธรรมชาติของวิธีภาวนาที่ท่านทำอยู่ จะเป็นอย่างนี้

    หากธรรมชาติเป็นนักอภิญญาหรือ ที่ตำราเรียก ฉฬภิญโญ
    เรียกว่าเพ่งกสิณโทษ

    ลางเนื้อชอบลางยานะท่าน

    ไม่มีอะไรเป็นสูตรสำเร็จสำหรับทุกเรื่องราว ทุกผู้คนขนาดนั้นหรอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  3. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    คือ อย่างนี้ หากไม่พลาด
    ไม่เผลอไปดึงหรือไปผลักอะไรเข้า ก็จะสบายๆ ทำไปได้เลย ยิ่งทำยิ่งดี

    แต่พลาด ถ้าพลาดพวกท่านรู้แน่ๆหละ เพราะมันจะรู้สึกว่ามันมีอะไรไม่ชอบมาพากล

    บางท่านก็ จะเลิกเพ่ง คิดแค่นี้ มันเพ่ง เลยนะ

    บางท่าน พยายามจะรวมจิต คือจะเพ่ง มันฟุ้งเลยนะ

    ยึ่งอยากคว้าอะไรยึด มันจะยิ่งลากทุกอย่างเข้าหาตัว เพราะจะรู้สึกเหมือนมันยังไม่ได้ยึดเหนี่ยวอะไรเลย

    ยิ่งจะผลัดไสอะไรออกมันจะยิ่ง ฟาดงวงฟาดงา
    แต่ที่จริงหนะมันออกไปแล้ว
    แต่ไอ้ตัว "รู้" ยังยังแสดงอาการว่า ยังอยู่ ยังไม่ไป
    มันยังไม่ออก ผลัดเท่าไหร่ เหวี่ยงเท่าไหร่ก็ไม่ออกเสียที

    ตัวรู้ ไว้ใจไม่ได้นะท่าน

    ความทรงจำ รูป อารมณ์ ความคิด
    สัญญา รูป เวทนา สังขาร หากไว้ใจไม่ได้
    วิญญาณก็ไว้ใจไม่ได้
    จะไว้ใจได้ก็ต่อเมื่อ
    อวิชชาได้หมดไปจากเราแล้วเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  4. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    คือที่จิต รู้ อะ ถูก

    จะเป็นภาพ เป็นความรู้สึก เป็นความทรงจำ หนะใช่แล้วหละ ถูกแล้วหละ
    แต่ถ้าหาก ยึด หรือ ผลัก
    ถ้ายังไม่มีเทคนิค ในการ ยึด หรือ ผลัก
    ถัดจากนั้นจะเละสุดขีด เท่าที่กรรมจะบันดาล
     
  5. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    คนที่เค้ารู้แกว
    จะเอาของที่ท่าน ปราถนา หรือ ไม่ปราถนา มาล่อ
    เท่านั้นแหละ

    หาก วางลำดับของเหตุการณ์ดีๆ
    ก้เหมือนโดนยาสั่งนั้นแหละ
     
  6. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    จะเกิดขึ้นเฉพาะคนทีี่มีวิสัย ฉฬภิญโญ เท่านั้นนะครับ
    ไม่ใช่คนที่ปราถนาอภิญญา ก็ภาวนาตามสบาย
    จะยึดหรือจะผลักอะไรก็ไม่มีผลหรอก
     
  7. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    แถวนี้มีใครมีหูทิพย์หรือเปล่าหละ
     
  8. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    เรื่องที่ห้ามอย่าง "เด็ดขาด" สำหรับนักดูจิต
    เรื่องอจิณไตย

    สนใจเรื่องอจิณไตยเมื่อไหร่ 100 ทั้ง100

    หากสนใจเรื่องอจิณไตย
    อานาปานสติ เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    คนที่จะภาวนาแล้วไม่บ้า ต้องมีศีล5ขั้นต่ำ แล้วที่สำคัญห้ามศีลทะลุ
    ยิ่งมีกำลังสมาธิสูง พลังจิตสูง ต้องมีศีลกำกับตัวเอง มีศีลอารักขาจิตได้ดีที่สุด

    คุณพูดถูก ที่แม้แต่ ผู้รู้ ก็ยังไว้ใจไม่ได้ เพราะ ถ้าผู้รู้ยังมีอวิชชา มีกิเลสดองอยู่ในใจ
    ก็ยังไว้ใจไม่ได้ทั้งนั้น เพราะที่รู้มันอาจจะเป็นอวิชชา พารู้ พาเพลิน ก็ได้

    เราภาวนาดูจิตแล้ว เห็นความเลวของตัวเองเยอะแยะ ยิ่งปล่อยยิ่งออกมาให้เรารู้ตัว
    เมื่อก่อนเห็นแต่ความดีของตัวเอง พอมาภาวนาดูตัวเองตามจริง ก็เห็นว่าเลวมิใช่น้อย
    พอเห็นว่าตรงไหนเลว ก็เริ่มคิดได้แล้วก็ยอมรับความจริง มันทำให้ไม่หลงตัวเองว่า
    ดีกว่าคนอื่น เห็นคนอื่นทำไม่ดี ก็เข้าใจเพราะเคยเห็นเคยเป็นก็รู้ว่าเพราะอะไร
    ตอนนี้เราห่วงตัวเองตรงที่ เห็นว่าไม่ดีแต่จิตมันก็ยังทำไม่เลิก ต้องคอยระวังตัว
    ไม่ให้ล้ำเส้นเกินไป เห็นมิจฉาทิฏฐิของตัวเองก็ต้องเป็นกลาง เห็นสัมมาทิฏฐิของตัวเอง
    ก็ต้องเป็นกลาง คือวิธีภาวนาของเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2009
  10. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    จริงๆแล้ว น่าจะมีบางเวลา
    ที่ครูบาอาจารย์ท่านอนุญาติ ให้ท่านยุติการดูจิตได้นะ

    ถ้ามันจะดีจะเลว
    ก้ให้มันอยู่ในของเขตเฉพาะ เช่น ในศีล
    ในบ้านตัวเอง ในห้องนอนตัวเอง

    ปิดประตูลงกลอนแล้ว ก็เป็นเรื่องส่วนตัวแล้ว

    หากสามารถ พักได้ ก็มีเวลาหย่อนใจได้
    อย่าไปเคร่งเครียดมากเกินไป

    ไปดูมันเอาเป็นเอาตาย ก้จะต้องมีกำลังของใจมาก

    แรกๆกำลังใจเรายังพร่อง มันตามดูแล้วหดหูใจ
    เห็นอะไรก็แย่ไปหมด

    ก็พักบ้างก็ได้
    ไม่ใช่นักบวช เป็นนักบ้าน
    ไม่ใช่ครูกรรมฐาน

    ภาวนาแบบบ้านๆบ้างก็ได้
     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    การประทุษร้าย ต่อผู้ไม่มีจิตประทุษร้าย เป็นกรรมหนัก
    กรรมดี คนดีทำง่ายคนช่วทำยาก
    กรรมชั่ว คนชั่วทำง่ายคนดีทำยาก
    ขอจงอย่าประมาทในธรรม
     
  12. KT_PK

    KT_PK เชิญบูชาพญาแมงภู่คำ เพื่อสร้างโรงเรียนเชื้อชาติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +873
    ขอบคุณครับ เจอแล้วครับ
     
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ถ้าท่านคิดว่าการพูดธรรม กล่าวธรรม ผิดพลาดประการณ์ใดถกธรรมชี้แจงสิครับ ยกธรรมะออกมากล่าวกันด้วยเจตนาดี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ชี้แจงส่วนที่ผิดยกธรรมที่ถูกต้องออกมาแสดง กล่าวธรรมะพูดคุยแก้ข้อสงสัย ผมว่าเป็นบุญกุศลทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ผมก็ไม่เห็นมีใครกล่าวอ้างลอยๆสักคนเห็นแต่ยกข้อธรรม คำสอนออกมาวิจัยวิจาร

    ถ้าท่านคิดว่าการกล่าวธรรมะ และกล่าวสัจจะธรรมเป็นการประทุศร้ายผมว่าท่านต้องย้อนดูจิตดูใจท่านด้วยปัญญานะครับ

    ใส่แว่นดำมองออกไปก็คงจะเห็นเป็นสีดำ ลองถอดแว่นแล้วมองดูสิครับอาดเห็นมุมมองและภาพที่ปรากฏต่างออกไป สาธุ<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ผมว่าถ้ามีการด่าว่ากล่าวประทุศร้ายโคมลอย โดยไร้ข้อเท็จจริงบาปแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ แต่การถกธรรมะยกธรรมะต่างๆออกมาพูดคุย การสนทนาธรรมตามกาลถือว่าเป็นมงคล

    อานิสงส์การสนทนาธรรมตามกาล

    ๑.ทำให้จิตเป็นกุศล
    ๒.ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี
    ๓.ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
    ๔.ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมะที่ตนยังไม่ได้ฟัง
    ๕.ธรรมที่ฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น
    ๖.ทำให้บรรเทาความสงสัยเสียได้
    ๗.เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง
    ๘.เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
    ๙.เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้าไว้
    ๑๐.ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤศจิกายน 2009
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    [SIZE=+2]มงคลที่ ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=661 height=205><TBODY><TR><TD height=93 vAlign=top align=left>


    ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
    เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
    เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
    ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [/SIZE]


    การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย

    <DD>[​IMG]ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๕.ต้องไม่พูดจาโอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน

    <DD>[SIZE=-1][​IMG]ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม คือ [/SIZE]
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๑.มีศีลธรรม คือ การเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๒.มีสมาธิดี คือ การมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๓.แต่งการสุภาพ คือ การแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๔.มีกิริยาสุภาพ คือ มีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๕.ใช้วาจาสุภาพ คือ การใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือ การไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
    <DD><DD>[SIZE=-1][​IMG] ๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป

    [/SIZE]
    </DD>[/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
    [/SIZE]
     
  16. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยจิตเมตตา เป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าของวิชาการทางโลกฉันใด การสนทนาธรรมตามกาลด้วยความเคารพในธรรม ก็ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญาอันเป็นหนทางเพื่อความพ้นทุกข์ฉันนั้น"
    ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล “ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของคน” นี่คือพุทธวจนะที่แสดงให้เห็นคุณค่าของปัญญา เพราะขีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่านั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีปัญญามากก็เหมือนมีแก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่า
    ฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้โดยง่าย
    ปัญญาเกิดได้จาก ๒ เหตุใหญ่คือ
    ๑.จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
    ๒.จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย
    วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวดเร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันที สงสัยอะไรก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมีความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย
    แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ
    สนทนาธรรมตามกาลคืออะไร ?
    การสนทนาธรรมตามกาล คือการพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกัน ระหว่างคน ๒ คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญาโดยรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุศลไปในตัวด้วย

    ในพระพุทธศาสนา คำว่า “ธรรม” มีความหมายกว้าง อยู่ ๒ ประการ คือ
    ๑.ธรรมหมายถึงความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรมะ คือความเป็นจริงตามธรรมชาติ
    ๒.ธรรมหมายถึงความดีความถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีล มีเมตตา กรุณา เป็นความดี ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เรียกว่าปฏิบัติธรรม
    การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง จึงหมายถึง การสนทนาให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดีจะได้ตั้งใจทำให้มาก และสิ่งใดเป็นอัพยากตธรรม คือ ความจริงตามธรรมชาติไม่ดีไม่ชั่ว ก็รู้เท่าทันทุกประการ จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดให้เกิดทุกข์
    ความยากในการสนทนาธรรม
    การสนทนาธรรม หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “คุยธรรมะ” นั้นดูเผินๆ ก็ไม่น่ายาก ก็เหมือนคนมาคุยกันตามธรรมดานั้นแหละ เราก็คุยกันออกบ่อยไป เพียงแต่เรื่องที่คุยเป็นเรื่องธรรมะเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ดูเบาในการสนทนาธรรม พูดคุยธรรมะกันได้ไม่นานก็มักมีเรื่องวงแตก กันอยู่บ่อยๆ พ่อลูกนั่งดื่มเหล้าคุยธรรมะกันพ่อบอกกินยาถ่ายพยาธิไม่บาป เพราะไม่เจตนาฆ่า ลูกบอกบาปเพราะรู้ว่ามันจะต้องตายก็ยังไปกินยาถ่าย เถียงกันไปเถียงกันมาไม่กี่คำ พ่อคว้าปืนลูกซองไล่ยิงเสียรอบบ้าน อย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะดูเบาในการสนทนาธรรม

    ความยากในการสนทนาธรรมนั้นเป็นเพราะ
    ๑.คู่สนทนาต้องพูดธรรมะเป็น คือ เมื่อเข้าใจอย่างไรแล้ว ก็สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจตามนั้นได้ด้วย โดยยึดหลักการพูดในมงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิตเป็นบรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดการแตกร้าวเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง คือ
    ๑.๑ เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง
    ๑.๒ เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์
    ๑.๓ ต้องพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ
    ๑.๔ ต้องพูดถูกกาลเทศะ
    ๑.๕ ต้องพูดด้วยจิตเมตตา
    การพูดธรรมะนั้นจะต้องยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่พูดเอาความถูกใจ คนส่วนมากในโลกนี้ชอบให้เขาชม แต่ว่าสนทนาธรรมกันแล้วมัวไปนั่งชมอยู่อย่างเดียว “คุณก็เก่ง ฉันก็เก่ง” เดี๋ยวก็ได้บ้ากันทั้งคู่ แต่ก็ไม่ใช่มานั่งติอย่างเดียว “คุณนิสัยอันโน้นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่ดี” คนเรายังไม่หมดกิเลส เดี๋ยวก็ทนกันไม่ได้ ยิ่งถ้าแถมมีการยกตนข่มท่านเข้าไปอีก หรือไม่ก็ยกสำนักมาอวดกัน “ถึงฉันไม่เก่ง อาจารย์ฉันก็เก่งนะ” อะไรทำนองนี้ เดี๋ยวก็ผูกใจเจ็บกัน สนทนาธรรมไปได้ ๒-๓ คำ จะกลายเป็นสนทนากรรมไป จะต้องมีความพอเหมาะพอดี รู้จักใช้วาจาสุภาษิต
    ๒.คู่สนทนาต้องฟังธรรมเป็น การฟังธรรมนี่ดูเผินๆ เหมือนจะง่าย ถึงเวลาก็แค่ไปนั่งฟังๆไม่เห็นจะมีอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังธรรมะที่ถูกต้อง คือฟังด้วยความพิจารณา แต่การรู้จักควบคุมใจให้พิจารณาตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยาก ยากกว่าการพูดธรรมะใหคนอื่นฟังหลายเท่า ที่ว่ายากนั้นก็เป็นเพราะ
    ๒.๑ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม เพราะการฟังธรรมนั้นไม่สนุกเหมือนการไปฟังละคร ฟังเพลง ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเองฟังไปได้สักนิด หนังตาก็เริ่มหนัก พาลจะหลับเอา หรือไม่อย่างนั้นก็นั่งใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น มีผู้เปรียบว่า การควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะนั้น ยังยากกว่าคุมลิงให้นั่งนิ่งๆ เสียอีก
    ๒.๒ ยากที่จะยอมรับธรรมะที่ได้ยินนั้นเข้าไปสู่ใจ ทั้งนี้ก็เพราะกิเลสต่างๆ ในตัวเรา เช่น ความหัวดื้อ ความถือตัว ความเห็นผิด ฯลฯ มันคอยต่อต้านธรรมะไว้ พอเรื่องธรรมะที่ได้ฟังขัดกับ
    ความเคยชินประจำตัว เช่น ฟังว่าต้องมีวินัยให้ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ฟังแล้วก็เริ่มขัดใจ เพราะมันขัดกันกับความเคยชินของตัวเอง ขัดกับกิเลสในตัวเลยไม่ค่อยจะยอมรับ มันนึกค้านในใจ
    ผู้ที่จะฟังธรรมเป็นนั้น จะต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ จนเคยชินฝึกเป็นคนมีความเคารพ มองคนอื่นในแง่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว มีความสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม รู้จักพอ รู้จักประมาณ และมีความกตัญญูรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน จะทำให้มีอัธยาศัยใฝ่ธรรม ฟังธรรมเป็น สามารถรองรับธรรมะที่ได้ยินได้ฟังนั้นได้
    ๓.คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมเป็น คือ ต้องทั้งฟังด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน เขาพูดเราฟัง เราพูดเขาฟัง บางอย่างเราไม่อยากจะฟัง แต่เมื่อเขาพูดเราก็จำต้องฟัง บางอย่างเราอยากจะพูด แต่ไม่มีจังหวะที่จะพูดก็จำต้องระงับใจไว้ไม่พูด เมื่อตอนสอนคนอื่นเขาไม่มีใครค้านสักคำ นิ่งฟังยอมเราหมด แต่ตอนสนทนาธรรม เราจะต้องลดตัวลงมาอยู่ในฐานะเป็นทั้งคนพูดทั้งคนฟัง ถ้าพูดถูกเขาก็ชม พูดผิดเขาก็ค้าน อาจถูกติ ถูกขัด ถูกแขวะ ถูกชม ถูกค้าน ได้ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้แหละที่ยั่วกิเลสนักหนา ถ้าไม่ควบคุมใจให้ดีกิเลสมันก็คอยจะออกมาจุ้นจ้านให้ได้ ขึ้นต้นคนกับคนคุยธรรมะกัน ไปได้ไม่กี่น้ำ กิเลสกับกิเลสมันออกมาโต้กันให้ยุ่งไปหมด
    ผู้ที่จะสนทนาธรรมได้ จึงต้องฝึกขันติจนมีความอดทนต่อการถูกติเป็นเลิศ ทนคำพูดที่ไม่ชอบใจได้ทั้งจากคนที่สูงกว่า และต่ำกว่า มีความว่าง่ายสอนง่ายในตัว และต้องเลือกคู่สนทนาเป็นคือ ต้องเป็นคนประเภทสมณะ ใฝ่สงบด้วยกัน
    มีผู้อุปมาไว้ว่า การพูดธรรมให้คนอื่นฟังก็เหมือนชกลม ชกจนหมดแรงเราก็ไม่เจ็บสักนิด ลมมันแพ้เราทุกที ทีนี้การฟังธรรมที่คนอื่นพูด เหมือนการชกกระสอบทราย คือ ชกไปก็รู้สึกเจ็บมือมาบ้าง ฟังเขาพูดก็เหมือนกันใจเราสะเทือนบ้าง แต่การสนทนาธรรมนั้นเหมือนการขึ้นชกบนเวทีจริงๆ เราชกเขา เขาชกเรา ชกกันไปชกกันมา ถูกล่อถูกหลอก ถูกกวนใจตลอดเวลาถ้าไม่ระวังให้ดี อาจทนไม่ได้โกรธขึ้นมาตนเองกลายเป็นคนพาลไป
     
  17. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อนุโมทนาค่ะ คุณเสขะบุคคล

    กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
    การสนทนาธรรมตามกาล นี้เป็นมงคลอันสูงสุด

    (smile)
     
  18. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    Voice Chat

    กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
    การฟังธรรมตามกาล นี้เป็นมงคลอันสูงสุด


    (smile)
     
  19. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สติแบบคนในโลก ...ระลึกรู้เรื่องอะไร(อารมณ์)ขึ้นมา ก็เรียกว่ามีสติ
    รู้แล้วยึด(อารมณ์) ปรุงแต่งไปตามเรื่อง(อารมณ์)ที่ระลึกรู้ขึ้นมา
    เป็นกระบวนการเกิดของขันธ์ ๕ ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
    จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


    สติแบบนี้มีในคนทุกคน ทุกชาติ ทุกศาสนา
    แต่ในศาสนาพุทธเรานั้น พระองค์ตรัสว่า
    จำเ้พาะในธรรมวินัยนี้(ศาสนาพุทธ)เท่านั้น ที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘

    สัมมาสติ อยู่ในอริยมรรค ๘ แสดงว่าต้องปฏิบัติตามเสด็จเท่านั้นจึงจะมีสัมมาสติ

    มีตรัสว่า มรรค เป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้น
    เพราะฉะนั้น สติในองค์มรรค หรือ สัมมาสติ เกิดขึ้นเองไม่ได้
    ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

    สติแบบที่พระพุทธองค์สอน =สัมมาสติ ต่างจากสติของคนในโลก
    เพราะสัมมาสติ เป็นมรรคจิต เป็นทางเดินของจิตเพื่อความพ้นทุกข์
    มีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน) จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาปรุงแต่งจิต
    เป็นกระบวนการยับยั้งการเกิดของขันธ์ ๕ ที่จิต เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
    จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    (smile)
     
  20. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ทรงตรัสไว้ว่า ทางนี้ทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว (อริยมรรค ๘)
    นั่นคือ ต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ ตามเสด็จ
    มรรคเป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
    เกิดขึ้นเองไม่ได้

    ขั้นตอนการปฏิบัติก็ต้องเริ่มต้นด้วยการนั่งสมาธิ เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
    ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน๔ = สัมมาสติ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    โดยอาศัยความเพียรประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สัมมาวายามะ)จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์แล้ว
    จิตจะเกิดปัญญารู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ)
    และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิตได้ตามลำดับ(สัมมาสังกัปปะ)
    ทุกข์ย่อมดับไปจากจิต

    ในการเจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ) นั้น จิตจะบรรลุปฐมฌานได้
    ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)ด้วย

    ครบ อริยมรรคมีองค์ ๘

    ดังนั้น อริยมรรค ๘ จึงต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
    ถึงอารมณ์จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    จิตก็ไม่ทุกข์ไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เพราะจิตไม่ยึดถืออารมณ์นั้นๆ
    อารมณ์นั้นๆก็สักเป็นเพียงอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิต


    จึงบอกว่า สติ(สัมมาสติ) เป็นองค์มรรค ต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
    สติเกิดขึ้นเองไม่ได้

    (smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...