สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสวนัง, 10 พฤศจิกายน 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เหล่านี้เป็นพุทธพจ ที่กล่าวถึงพระเทวทัต ผมยกมาเตือนสติคนที่ มีจิตประทุษร้ายต่อ พระอริยเจ้าทั้งหลายและพระอรหัน คุนพิจารนาเอาเองเทอะว่าใครเป็นพระอริยะเจ้าและใครเป็นพระอรหัน ไม่ได้เกี่ยวกัยที่นเสวนาธรรมหรอกครับ ความปทุษร้ายกับการสนทนาธรรม ต่างกันอยู่มาก
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผิดแล้ว ทุกสิ่งล้วนมีเหตุผลทั้งสิ้น เกิดก้มีเหตุให้เกิด ดับก็มีเหตุให้ดับ ระวังหวังอภิญญามากๆ สติตามไม่ทันจะกลายเป็นจิตวิปราศเอานะครับ ด้วยความหวังดี
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471




    อนุโมทนา สาธุการค่ะ
    ยังอ่อน ยังด้อย ยังไม่เข้าใจหลักธรรมลึกซึ้ง องค์ ๘
    ขอความรู้ท่านๆ - ขยายความประดับปัญญา ค่ะ
    จากความเก็บตก หยิบมา ดังนี้นะคะ สาธู

    (rose) (rose) (rose)



    ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว

    อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

    <O:p</O:p
    ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    <O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ<O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ<O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมาวาจา อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ<O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ<O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ<O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ<O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมาสติ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ<O:p</O:p
    ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ
    <O:p</O:p
    ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้นพึงทราบโดยปริยายแม้นี้
    ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เพราะอาศัย พระพุทธองค์ผู้เป็นกัลยาณมิตร
    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล : http://th.wikisource.org/<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    สาธุการ ค่ะ
    ที่เหลือ คือเพียร กระมังค่ะ ??
     
  5. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ใช่ครับตอนแรกที่ผมยกเรื่องเด็กสามขวบขึ้นมาถาม เพราะได้เคยคุยกับ
    สมาชิกบางท่านถึงการปฏิบัติบางตอนว่า"เกิดอารมณ์ใดขึ้น ก็ตามรู้ตามดูสติจะ
    เกิดเอง" แต่มีผู้แย้งว่า"สติเกิดเองไม่ได้ ต้องกำหนด" ท่านสังเกตุนะ
    ครับว่า ที่ผมกล่าวเป็นระดับของการปฏิบัติ ผมถึงได้กล่าวว่า"สติเฉยๆ ไม่
    มีคำว่าสัมมาสติเลย
    ........ท่านก็เคยเป็นเด็กย่อมต้องรู้นะครับว่า เด็กไม่รู้เรื่องการกำหนด แม้
    แต่คำว่าสติก็ไม่รู้จัก แต่ทำไมเด็กรู้จักหยุดการกระทำต่างๆได้ ก็เพราะเด็กไปรู้
    ถึงสภาวะอารมณ์ในปัจจุบันนั้น อาทิเช่น ความกลัว
    ........จากที่กล่าวข้างบน แสดงให้เห็นว่า สติ(ที่ท่านว่าสติแบบคนในโลก)
    มันเกิดเองไม่ต้องกำหนดหรือบังคับไว้ก่อน


    ที่ท่านว่าสัมมาสติต้องเจริญมันเกิดขึ้นเองไม่ได้ แล้วคำว่าเจริญในความ
    หมายของท่านมันต้องทำอย่างไรครับ ในความเห็นผมการกำหนดหรือบังคับ
    ไว้ก่อน ผมว่ามันไม่น่าจะใช่ เพราะเราไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามความเป็น
    จริง ผัสสะหรือธรรมต่างๆที่มากระทบณ.ปัจจุบัน เราจะรับรู้และพิจารณาธรรม
    นั้นตามความเป็นจริงได้อย่างไร
    .......ผมมีความเห็นดังนี้นะครับว่า การเจริญสติให้เป็นสัมมาสติ ก็คือการ
    ปฏิบัติเพื่อให้จิตมีคุณภาพ เมื่อจิตมีคุณภาพ จนสามารถรู้ถึงการเกิดขึ้น
    ตั้งอยู่และดับไปของรูปนาม จนเกิดสภาวะที่เรียกว่าไตรลักษณ์
    พูดง่ายๆว่า "จิตไปรู้อารมณ์ในสภาวะไตรลักษณ์ สติก็มาหยุดหรือละ
    อารมณ์นั้น โดยไม่ปรุงแต่งต่อ แบบนี้ละครับที่ผมเข้าใจว่าเป็น
    สัมมาสติ
     
  6. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    "เกิดอารมณ์ใดขึ้น ก็ตามรู้ตามดูสติจะเกิดเอง"
    แต่มีผู้แย้งว่า"สติเกิดเองไม่ได้ ต้องกำหนด"
    ที่ผมกล่าวเป็นระดับของการปฏิบัติ
    ^
    ความจริงก็ได้เคยแจกแจงแสดงให้เห็นไปแล้วนะว่าสติเกิดเองไม่ได้
    ไม่ว่าจะเป็นระดับของการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ตาม

    ยิ่งถ้าพูดว่าเป็นระดับของการปฏิบัติแล้ว เท่ากับขัดแย้งกับพระพุทธองค์
    สติในองค์มรรค เป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก

    ถ้าสติเกิดเอง ก็ไม่ต้องทรงบอกกระมังว่า
    จักเจริญอริยมรรค ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ๘
    ย่อมเจริญอริยมรรค ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ๘


    ขอขอบคุณและขออนุโมทนาคุณบุญญสิกขา สหธรรมิกที่ดี
    ที่กรุณายกพระสูตรมาแสดงประกอบให้


    (smile)
     
  7. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    แต่ทำไมเด็กรู้จักหยุดการกระทำต่างๆได้ ก็เพราะเด็กไปรู้
    ถึงสภาวะอารมณ์ในปัจจุบันนั้น
    ^
    การที่เด็กหยุดการกระทำต่างๆได้ เพราะเป็นไปตามกลไกการเกิดของขันธ์ ๕ ที่จิตนั่นเอง

    รูป คือ อารมณ์ต่างๆ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์

    จิตรู้รับอารมณ์ วิญญาณขันธ์
    รับรู้อารมณ์ทางตา-จักษุวิญญาณ ...ฯลฯ...ทางใจ-มโนวิญญาณ

    ทำให้เกิด
    เวทนาขันธ์
    พอใจ(สุขเวทนา)-ไม่พอใจ(ทุกขเวทนา)-เฉยๆต่ออารมณ์(อทุกขมสุขเวทนา)

    จดจำอารมณ์นั้นๆไว้
    สัญญาขันธ์
    จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส จำธัมมารมณ์

    แล้วนึกคิดถึงอารมณ์นั้นๆ
    สังขารขันธ์
    คิดดี(กุศลเจตสิก) คิดไม่ดี(อกุศลเจตสิก) คิดไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว(อัญญสมานาเจตสิก)

    ถ้าเป็นอารมณ์ที่พอใจ ทำให้เกิดสุขเวทนา
    จิตก็จะจดจำอารมณ์นั้นไว้ในใจ ดื่มด่ำกับอารมณ์นั้นๆ
    นึกคิดถึงอารมณ์นั้นๆ อยากให้อารมณ์นั้นๆอยู่ด้วยนานๆ
    มีปฏิกิริยาแสดงออกมาให้เห็นทางกาย เช่น สีหน้า แววตา หัวเราะ ดีใจ ฯลฯ
    และมีการกระทำบางอย่างเกิดขึ้น...ฯลฯ...เกิดกระบวนการของขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตต่อไปอีก...

    แต่ถ้าเป็นอารมณ์ไม่พอใจ ทำให้เกิดทุกขเวทนา
    จิตก็จดจำอารมณ์นั้นไว้ในใจเช่นกัน และคิดผลักไสอารมณ์นั้นๆให้ออกไป
    มีปฏิกิริยาแสดงออกมาให้เห็นทางกายเช่น สีหน้า แววตา การหยุดชะงัก การร้องไห้ เสียใจ ฯลฯ
    และมีการกระทำบางอย่างเกิดขึ้น...ฯลฯ...เกิดกระบวนการของขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตต่อไปอีก...

    ดังนั้น จะเห็นว่ากระบวนการเกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต เกิดขึ้นตลอดเวลา
    ทับถมทวีคูณ ของใหม่พอกหนาซ้ำของเดิม ซ้ำแล้วซ้ำอีก วนเป็นวัฏฏะไม่รู้จักจบสิ้น

    เมื่อเด็กโตขึ้น ผ่านกระบวนการเกิดขันธ์ ๕ มากขึ้น
    ก็ได้เรียนรู้จดจำอารมณ์ต่างๆไว้ได้ดีขึ้น
    ก็จะรู้จักแสดงออกตอบโต้ต่ออารมณ์ได้ดีขึ้น แนบเนียนขึ้น
    จนเข้าใจไปว่า
    "เกิดอารมณ์ใดขึ้น ก็ตามรู้ตามดูสติจะเกิดเอง"

    ทั้งๆที่ความจริง เป็นกระบวนการเกิดขันธ์ ๕ ที่จิต ที่พอกพูนทวีหนาขึ้นโดยไม่รู้ตัว
    ก็เลยคิดเดาสวดไปเองว่า เกิดได้เอง

    (smile) ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ


     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    การเจริญสติให้เป็นสัมมาสติ ก็คือการปฏิบัติเพื่อให้จิตมีคุณภาพ
    ^
    ปฏิบัติอย่างไรคะ ให้จิตมีคุณภาพ อย่างนี้หรือคะ
    v
    จนสามารถรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของรูปนาม
    จนเกิดสภาวะที่เรียกว่าไตรลักษณ์
    พูดง่ายๆว่า
    "จิตไปรู้อารมณ์ในสภาวะไตรลักษณ์ สติก็มาหยุดหรือละ
    อารมณ์นั้น โดยไม่ปรุงแต่งต่อ
    ^
    จิตเอาพลังมาจากไหนคะ ในการที่จะไม่ปรุงแต่งต่อ

    ในเมื่อจิตมีปกติตกไปในอารมณ์ และปรุงแต่งไปตามอารมณ์
    ทำให้เกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตตลอดวัน ตลอดคืน


    (smile)
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ คุณบุญญสิกขา

    พรหมจรรย์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘

    ย่อมเจริญ อริยมรรค ๘ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะอาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ

    อันอาศัยวิเวก

    คือ ต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดวิเวก ๓ (กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก)

    อาศัยวิราคะ
    อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ

    คือ ต้องอยู่ที่สัมมาสมาธิฌานที่ ๔ อุเปกขา สติปา่ริสุทฺธึ

    (smile) เดี๋ยวว่างจะยกพระสูตรมาประกอบอีกทีค่ะ
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471



    ?? สาธุการค่ะ :)
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    [FONT=&quot]อุปธิวิเวกเป็นไฉน? [FONT=&quot]กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า อุปธิ. [/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]อมตนิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก[/FONT]
    [FONT=&quot]ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา [/FONT]
    [FONT=&quot]เป็นที่สำรอกตัณหา เป็นที่ดับตัณหา เป็นที่ออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.[/FONT]

    [FONT=&quot]ก็กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ [/FONT]
    [FONT=&quot]จิตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง [/FONT]
    [FONT=&quot]อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.

    (smile) ที่นี่ค่ะ
    [/FONT]
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อุเปกขา สติปา่ริสุทฺธึ?

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ (อุเปกขา สติปา่ริสุทฺธึ)

    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

    (smile) ที่นี่ค่ะ
     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สัมมาสมาธิ พระพุทธองค์ได้ทรงแบ่งออกเป็น ๔ ฌาน
    ตามความสามารถที่จิตปล่อยวางอารมณ์ได้ ดังนี้:

    ๑.ปฐมฌาน ประกอบด้วยองค์ธรรม คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข
    ๒.ทุติยฌาน ประกอบด้วยองค์ธรรม คือ ปีติ สุข
    เพราะ ปล่อยวางวิตก วิจารออกไปเสียได้
    ๓.ตติยฌาน ประกอบด้วยองค์ธรรม คือ สุข เพราะปล่อยวางปีติได้
    ๔.จตุตถฌาน หมดอารมณ์และอาการแห่งจิต เพราะปล่อยวางสุข
    จิตสงบถึงขีดสุดพ้นจากการถูกอารมณ์ปรุงแต่งใดๆ

    ● องค์ของปฐมฌาน

    ถ้าผู้ปฏิบัติเพิกอารมณ์ที่จะเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส
    และยกจิตเข้าไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ (วิตก)
    และประคองจิตไว้ไม่ให้แลบหนีออกไปได้สำเร็จ (วิจาร)
    ก็ย่อมเกิดความอิ่มใจ (ปีติ)
    และความสุขจากความสงบเบื้องต้น (สุข)

    รวมเป็นองค์ของปฐมฌาน ๔ ประการ คือ วิตก วิจาร ปีติ และสุข
    วิตก กับ วิจาร เป็นเหตุให้เกิด ปีติ และ สุข
    (ขณะนี้ กาย และ จิตเข้าสู่ความวิเวกแล้ว)

    หมายเหตุ
    กายวิเวก คือ เพิกอารมณ์ที่เข้ามารบกวนทางร่างกาย
    ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส รวม ๕ ทางได้
    จิตวิเวก คือ เพิกอารมณ์ที่นึกคิดออกไปได้

    ● องค์ของทุติยฌาน

    ในขณะนี้จิตจะเริ่มเชื่องขึ้น
    คือไม่ปราดเปรียวแลบหนีออกไปสู่อารมณ์อื่นโดยง่าย เหมือนขณะลงมือปฏิบัติใหม่ๆ
    ดังนั้น จึงเกิดความผ่องใสของตัวเองขึ้น
    และไม่ต้องคอยระวังเรื่องการดึงจิตและประคองจิตต่อไปอีก

    จิตเป็นสมาธิเกาะอยู่กับ ปีติ และ สุข ที่ได้รับอยู่ เพราะวิตก กับ วิจาร ได้ดับไปแล้ว

    ● องค์ของตติยฌาน

    จากการประคองจิตให้ตั้งอยู่ที่ฐานที่ตั้งสติได้นานขึ้น
    จึงเป็นผู้ที่วางเฉยในอารมณ์ต่างๆ ปีติก็ย่อมจางหายไป
    มีความรู้ตัวทั่วพร้อม และเป็นผู้เสวยสุขอยู่ด้วยนามกาย
    เพราะปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คล้ายกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย

    ขณะนี้ วิตก วิจาร กับ ปีติ ได้พากันดับไปหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่ สุข อยู่เท่านั้น

    ● องค์ของจตุตถฌาน

    ถ้าผู้ปฏิบัติเพียรประคองจิตให้เพ่งดูที่ฐานที่ตั้งสติที่ได้อุปโลกน์ไว้อย่างแนบแน่นต่อไป
    ความพอใจ(ยินดี)-ไม่พอใจ(ยินร้าย) สุขและทุกข์ทั้งหลาย ได้ถูกละวางไปหมดสิ้น

    จนไม่มีนิมิตหมายของอารมณ์เหลืออยู่เลย
    จิตย่อมสะอาดและสงบถึงขีดสุด หลุดพ้นจากการครอบงำของอารมณ์ทั้งหลาย
    (อุปธิวิเวกได้เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้)

    หมายเหตุ
    อุปธิวิเวก คือ เพิกความยินดียินร้ายที่ปรุงแต่ง
    ให้จิตแลบออกไปยึดถืออารมณ์ทั้งปวง ออกไปหมดอย่างสิ้นเชิง

    (smile) วิเวก ๓ ฌานในพระพุทธศาสนา
    จากธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ อ.ไชยทรง จันทรอารีย์
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
    เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
    เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
    จบอุทเทสวารกถา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า


    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น


    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
    แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    **************
    ^
    ^
    ท่านครับ พระสูตรกล่าวไว้ชัดเจน
    เธอต้องดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    ในพระสูตรบอกถึงวิธีสร้างสติที่ถูกต้อง ที่เรียกว่าสัมมาสติ

    ส่วนที่มีสอนการสร้างสติอย่างทุกวันนี้ที่นิยมทำกันอยู่นั้น
    โดยอ้างว่าเป็นสติปัฏฐาน(ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง) แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย
    เป็นเพียงสัญญาที่ไหลไปตามอารมณ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง ที่เรียกว่าปล่อยไปตามยถากรรม
    ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ในมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งอานาปานสติเป็นอารมณ์บาทฐานในมหาสติปัฏฐาน...

    ;aa24
     
  15. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขออนุญาตเสนอ ประเด็น

    ขออนุญาตเสนอ ประเด็น


    "ข่มจิต-ประคองจิต-ยังจิตให้ร่าเริง" ในสมัยที่ควร. ท่านเห็น เช่นใด?


    "
     
  16. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ส ติ เ ป็ น ข อ ง สำ คั ญ


    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    • สติเป็นของสำคัญ

    เวลามันตั้งไม่ได้อยู่ในวงใน ก็ให้มันอยู่ในวงกาย
    ไม่ได้หนีจากนี้ เป็นสัมปชัญญะอยู่ในนี้

    ระลึก เป็นที่ เป็นฐาน เป็นจุด เป็นต่อม นี่เรียกว่าสติ

    ความระลึกรู้อยู่ทั้งตัว ความรู้ตัว ซ่านไปหมดในตัวนี้ เรียกว่าสัมปชัญญะ

    รู้พร้อม รู้รอบ นี้แหละที่จะไปรวมตัวให้เป็นกำลังขึ้นมา
    กลายมาเป็นมหาสติขึ้นมาได้ เพราะอันนี้รวมตัว

    ถ้าเป็น มหาสติ แล้วตั้งไม่ตั้ง ....มันก็รู้

    มหาสติมหาปัญญาคือปัญญาที่ทำงานภายในตัวเอง โดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ นั้น เป็นปัญญาที่ควรแก่การรื้อภพรื้อชาติ ได้อย่างมั่นเหมาะ ไม่มีอะไรสงสัย


    ท่านใช้ชื่อว่ามหาสติมหาปัญญา
    ก็ไปตั้งแต่ปัญญาล้มลุกคลุกคลานนี้แล
    จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาขึ้นมาได้
    เพราะการฝึกการอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอหนุนกันไปเรื่อย
    พิจารณาเรื่อยจนมีกำลังแล้วกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นมา



    (คัดลอกบางตอนมาจาก : ธรรมวิสุทธิ์ ใน “มหาสมัยในปัจจุบัน”
    โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)


    .................................................


    สติปัฏฐาน ๔


    พระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน


    การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

    ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

    เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

    แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

    การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

    การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

    การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

    ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
    เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

    ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

    จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา


    ..................................


    และ จาก

    Luangta.Com -


    เรื่องผู้ที่บรรลุพวก ขิปปาภิญญา มีแต่พวกปัญญารวดเร็วผ่านออก ๆ จากพุทธศาสนา ผ่านออก ๆ

    ผู้ที่ไม่รวดเร็วก็หนุนกันไปตั้งแต่ ศีล สมาธิ ไปเรื่อย ๆ

    ผ่านออก ๆ นี่เรียกว่า ศาสนาที่สมบูรณ์แบบคือพุทธศาสนา

    มีทั้ง ก.ไก่ ก.กา มีทั้งประถมมีทั้งมัธยมตลอดดอกเตอร์เข้าใจไหม

    นี่ขึ้นเป็นขั้น ๆ ทีนี้ไปทางโน้นไปหาขั้นดอกเตอร์เลย ผู้ที่ควรแก่ขั้นนั้นมันก็ไปได้

    ผู้ไม่ควรแก่นั้น ก.ไก่ ก.กา มันยังไม่ได้มันจะไปเอาดอกเตอร์มาจากไหน เข้าใจไหม



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2009
  17. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    มหาสติมหาปัญญา มีในเฉพาะพระอริยะเจ้าเท่านั้น

    มรรคปฏิปทาของ
    พระอริยะเจ้าเป็นมรรคภายในมิใช่มรรคภายนอก

    เพราะเป็นสัมมาสติและสัมมาทิฐิในองค์มรรค


    อยู่ในฐานกายและใจเป็นที่ตั้ง
    เป็นมรรคภายใน

    นอก
    ฐานกายและใจเป็นที่ตั้งเป็นมรรคภายนอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 พฤศจิกายน 2009
  18. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขออนุญาต เสนอ ความเห็น

    ปัจจุบัน จะมี ความเห็นของชาวพุทธในการปฏิบัติต่อจิต ที่มีความแตกต่างกัน
    เสนออ่าน รายละเอียด จาก

    http://larndham.net/index.php?showtopic=37122&st=0
    >


    กรณีหนึ่ง ที่น่าสนใจ ก็คือ

    เรื่อง การเพียรละอกุศลที่อาจจะต้องอาศัยการฝืนอกุศลจิต(เช่นโทสะ)ในบางครั้งสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุอริยมรรคผล
    และ ฝึกหัดเจริญกุศลที่ในเบื้องต้นอาจจะยังไม่เป็นระดับอัตโนมัติ(เช่น ฝืนจิตหัดแผ่เมตตาเมื่อรู้สึกตนว่าโกรธ)

    ซึ่ง อาจจะต้องมีการปฏิบัติต่อจิต ที่มากไปกว่า”การตามรู้อย่างเดียว” ดังเช่น ที่ปรากฏในหลักสัมมัปปธาน๔

    สัมมัปปธาน๔ เป็นส่วนแห่งโพธิปักขิยธรรม(ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) ซึ่งจะมีลักษณะที่ มากกว่า”การตามรู้อย่างเดียว” คือ มี “การเพียร ระวัง-ละ-เจริญ-รักษา” ร่วมด้วย ได้แก่
    1. เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
    2.เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    3.เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    4.เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์



    ( จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์

    สัมมัปปธาน ความเพียรชอบ;
    ดู ปธาน, โพธิปักขิยธรรม


    ปธาน ความเพียร,
    ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
    ๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
    ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์;
    สัมมัปปธาน ก็เรียก


    โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้,
    ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการ
    คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘ )

    ..........................................



    ### ปัจจุบัน จะมี ความเห็นของชาวพุทธในการปฏิบัติต่อจิต ที่มีความแตกต่างกัน

    เช่น ใน กรณีของการแผ่เมตตาเมื่อรู้ว่าจิตมีโทสะ



    บางฝ่ายจะมองว่า การเพียรฝืนอกุศลจิตเจริญเมตตาเมื่อรู้สึกตัวว่าโกรธ(เมตตาที่ยังไม่เป็นอัตโนมัติเสียทีเดียว) มีการปฏิบัติต่อจิตที่มากไปกว่า”การตามรู้จิตอย่างเดียว” ........ และ อาจจะเป็นลักษณะ “แบ่งแยกชั่ว-ดี/ ผลักชั่ว-ยึดดี /แทรกแซงจิต/ปิดกั้นปัญญา”

    http://larndham.net/index.php?showtopic=37122&st=39
    >

    เสนอ พิจารณา เปรียบเทียบ กลุ่มแห่งวลี 2กลุ่มนี้ ครับ


    1.
    แบ่งแยก ชั่ว-ดี
    จึง หนี(หรือ ผลักไส)กิเลส ยึดติดความดี
    เป็นการแทรกแซงจิต
    ปิดกั้นการเห็นกิเลส ปิดกั้นปัญญา

    2.
    รู้ กุศล-อกุศล
    จึง เพียรละอกุศล เจริญกุศล
    เป็นการอบรมจิต สงเคาะห์ใน สัมมัปปธาน๔ และ สัมมาวายามะ
    สนับสนุนการเกิดปัญญา


    เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ยินดีที่ได้สนทนา

    เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ยินดีที่ได้สนทนา



    มี ความเห็นเพิ่มเติม ที่

    http://www.budpage.com/forum/view.php?id=5462
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2009
  19. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขออนุญาต

    เสนอเรื่อง สติอัตโนมัติ



    พระสุปฏิปันโน ท่านเคยสอนไว้ว่านี่คือ สตินทรีย์

    คือ รู้ชัดโดยไม่จงใจรู้.... มหาสติ สติอัตโนมัติ


    การไม่จงใจ..ก็รู้เอง เป็นผลที่เกิดจาก การฝึกฝนจนชำนาญในสติปัฏฐาน

    จากการตกผลึกของการเจริญมรรค


    ถ้า ไม่ใช่ขิปปาภิญญา ที่ตรัสรู้อย่างฉับพลันแล้ว.... การจะบังเกิดขึ้นของ มหาสติ หรือ สติอัตโนมัติ ต้องอาศัยความพากเพียรพยายามเจริญ(สัมมาวายามะ วิริยินทรีย์) เป็นลำดับๆ



    สัมมาสติ รวมทั้ง สตินทรีย์ ไม่ใช่ อสังขตธรรม...

    มีพระพุทธพจน์ตรัสว่า อริยมรรค(รวมทั้งสัมมาสติ)ยังคงเป็นธรรมที่ยังคงมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งอยู่(สังขตธรรม) .

    แต่ อริยมรรคเป็นยอดแห่งสังขตธรรม คือ เป็นสังขตธรรมที่นำไปสู่อสังขตธรรม

    หน้าที่ของเรา-ท่าน จึง เพียร(สัมมาวายามะ)ประกอบเหตุแห่งมหาสติ และ ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปเอง....

    การประกอบเหตุอันควร ซึ่งนำไปสู่ผลอันควร นี้ หาใช่ การไปบังคับให้สติเกิดขึ้นแต่อย่างใด

    สัมมาสติ เป็นอนัตตา ก็จริง.... แต่ สัมมาสติ สามารถฝึกฝนอบรมให้เจริญขึ้นได้(มรรค พึงทำให้เจริญ).

    ปล...อย่าไปใช้คำว่า"บังคับให้สติเกิด" ซึ่ง เป็นความหมายในทางลบ
    แต่ ควรใช้คำว่า เจริญสติ กระทำให้มาก(พหุลีกตา) ภาวนา ๆลๆ ตามภาษากลางที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทย

    ดังเช่น ที่ปรากฏ

    เพราะ มีสัมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะ หรือ บริบูรณ์(จาก มหาจัตตารีสกสูตร)

    วิริยินทรีย์(ความเพียร)นำไปสู่ สตินทรีย์ สู่สมาธินทรีย์ และ ปัญญินทรีย์(จาก สัทธาสูตร)



    คือ ในเบื้องต้นที่สติอัตโนมัติยังไม่เป็นเอง เราจำเป็นต้องมีความตั้งใจ(หรือ จงใจ) พากเพียร อยู่....


    สติอัตโนมัติ มันเป็นมาหลังเหตุปัจจัยแห่งสติประชุมพร้อม...

    ถ้าเหตุปัจจัยแห่งสติไม่ประชุมพร้อม สติอัตโนมัติมันก็ไม่ปรากฏ....



    และ ความเพียรนี้ ต้องเพียรให้"พอดี"

    คือ ไม่ตั้งใจมากเกินไปจนเครียดเกร็ง(อุทธัจจะ) .
    ท่านผู้รู้ ท่านสอนไว้ว่า เป็นลักษณะเฝ้าสังเกตุ สบายๆ ไม่ตั้งใจที่จะรู้มากเกินไป จนเครียดเกร็ง

    และ ไม่ เพียรน้อยเกินไปจนสติเลื่อนลอย....


    ......................................




    ขอนำ โอวาทธรรม พระสุปฏิปันโน มาฝาก เพื่อนผู้ร่วมสนทนาน่ะครับ

    เห็นว่า น่าสนใจ และ อาจมีประโยชน์กับทุกท่าน

    ท่านกล่าวชัดเจน ถึง การฝึกฝนอบรมสติ.... ไม่ใช่ จู่ๆ จะให้สตินทรีย์ ปรากฏขึ้นเองลอยๆ



    โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo-->


    ถ้าสติมันกลายเป็นมหาสติ จะสามารถประคับประคองจิตให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย

    เมื่อสติตัวนี้เป็นมหาสติแล้ว เพิ่มพลังขึ้นด้วยการฝึกฝนอบรม กลายเป็น สตินนทรีย์

    เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์แล้ว พอกระทบอะไรขึ้นมา จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์ เป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับว่า จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ หรือ เอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เพราะ สติตัวนี้เป็นใหญ่ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์ และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สติตัวนี้จะกลายเป็น สติวินโย

    ในเมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสติวินโย..... สมาธิ สติ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น
     
  20. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    อนุโมทนา สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...