สติ สัมปยุตกับอะไรได้มั่ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 14 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,912
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เหมือนๆ จะเพิ่งเข้าใจ เรื่องจิตพ้นเจตนา แต่เป็นมิจฉาทฏฐิก็มีได้
    แบบจิตมีปัญญาละเอียดสร้างนิมิตเองแล้วหลงเอง จิตมันทำของมันเอง
    ถ้าไม่หลงนิมิตถึงเรียกว่ามีปัญญาเจตสิก รู้รอบ รู้ชัด รู้โลภะ รู้โมหะได้
    แต่วิปัสนูกิเลสไม่น่าจะประกอบด้วยปัญญาเจตสิกนะเพราะมีแต่ความหลงรู้
    น่าเป็นความฉลาดของจิตที่ปฏิบัติสมถะจนมีฤทธิ์แต่ขาดปัญญา แล้วโดน
    โลภะโมหะครอบงำเพราะไม่รู้เท่าทันโลภะโมหะ หรือรู้แล้วแต่ชอบมัน
    เลี้ยงไว้ใกล้ตัวเพราะไม่เห็นโทษของมัน คิดว่า เอาอยู่ เลยโดนย้อนศร

    เริ่มต้นปฏิบัติด้วยความเห็นผิด จากโลภะ โมหะ มีความยึดติดในอารมณ์เป็นเชื้อติดตัว
    พอได้ฌาณก็หลงฌาณ ได้ปัญญาก็หลงปัญญา เพราะมีเชื้อโลภะ โมหะ
    แทรกเกิดที่จิตได้ตลอดเนืองๆ คู่กับสติเจตสิก(เจริญสมถะกรรมฐาน)
    และปัญญาเจตสิก(เจริญสมถะวิปัสสนา) พออกุศลจิตมีแรงมากกว่าก็เลย
    ครอบงำพาเอาสิ่งที่ได้มาไปเข้าทางมิจฉาทิฏฐิเฉยเลย และพอยัง
    ไม่ข้ามโคตร สิ่งที่เจริญมาได้ก็เสื่อมเพราะโดนโลภะกับโมหะครอบงำมิด

    ไม่รู้คิดมากไปไหม แต่รู้ว่า ถ้าจิตที่พ้นเจตนามันปรุงแต่งไปทางอกุศลแล้ว
    จะถอนยาก เพราะมันฉลาดคิดเองทำเองเป็น เราจะโดนมันควบคุมแทน!!!
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    เช่นนั้นแล้ว มีตังค์เท่าไรส่งมาให้หมด
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    เจ่เค ต้องเป็นอย่างที่หลวงปู่พุธ ท่านอธิบายซัก ครั้งสองครั้ง
    แล้วก็เพียรให้เกิดซ้ำๆ จึงจะเห็นว่า การทำซ้ำ
    มันมีทางเห็นมุมที่แหวกออก
    นั่นคือความเข้าใจในปัญญาที่มันกล้าขึ้น
    มันจะอบรมแหวกออก ด้วยตัวมันเอง
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    บทนี้นำมาแปะไว้เผื่อ ใครสนใจ

    ลักษณะจิตที่เห็นไตรลักษณ์

    เกร็ดธรรม หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    (ถอดเทปโดย เพื่อนสมาชิก พลูโตจัง)

    การที่จิตรู้พระไตรลักษณ์เนี่ย มิใช่ว่าจิตจะรู้ขึ้นมาในขณะนั้นว่า...
    อันนี้..คืออนิจจังไม่เที่ยง ..อันนี้คือทุกขัง เป็นทุกข์ ..อันนี้คืออนัตตา ความไม่มีตัว ไม่ใช่ตน

    เพราะอาศัยที่รู้อยู่..ดูอยู่..จดจ้องอยู่ แต่จิตจะรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไปในที โดยไม่ออกปากพูด แต่จิตจะรู้ซึ้ง ว่าสิ่งที่ปรากฎการณ์อยู่นั่น คือตัวอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่จิตจะไม่บอกว่า นี่คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพียงแต่รู้อยู่ในที

    ในขณะใดที่จิตกำลังกำหนดรู้ ความเปลี่ยนแปลงสภาวะที่เกิด-ดับ กับจิตอยู่ตลอดเวลา ถ้าช่วงใดสติสัมปชัญญะยังเด่นอยู่
    วิชาความรู้แจ้งเห็นจริง ยังเด่นชัดอยู่ ความรู้สึกภายในจิต ก็สักแต่ว่า รู้แล้ว ปล่อยวางไป..รู้แล้ว ปล่อยวางไป..รู้แล้ว ปล่อยวางไป

    ถ้าช่วงใดอวิชชาเข้าครอบงำ จิตยึดสิ่งรู้ทันที เมื่อจิตมายึดสิ่งรู้ทันที ปัญหาที่จะพึงเกิดขึ้น
    ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับขณะจิตที่ยึด แล้วจิตก็จะมีปัญหาขึ้นมาว่า..นี่คืออะไร หรือมิฉะนั้นก็จะปรุงขึ้นมา ให้เป็นสิ่งที่พอใจกับไม่พอใจ

    พอเกิดยึดปั๊บ..ต้องมีความยินดีเกิดขึ้น ยึดปั๊บ..ต้องมีความยินร้ายเกิดขึ้น
    ความยินดี คืออิฏฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่น่าใคร่ มีแนวโน้มให้เกิด..กามตัณหา
    ความยินร้าย เป็น อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา มีแนวโน้มให้เกิด..วิภวตัณหา

    เมื่อเกิดมีปัญหาอย่างนี้ขึ้นมา จิตก็ยึดอารมณ์ทั้ง 2 อย่าง คือ สิ่งที่ยินดีและสิ่งที่ยินร้าย เมื่อมีการยึด ก็กลายเป็นภวตัณหา

    เมื่อจิตมีกามตัณหา ภวตัณหา อยู่พร้อม ความทุกข์..ความสุข ย่อมบังเกิดขึ้นสลับกันไป บางขณะจิตก็ทุกข์ บางขณะจิตก็สุข สุข-ทุกข์
    เกิดคละกันไป เปลี่ยนวาระกัน เกิด-ดับๆๆๆๆ อยู่อย่างนั้น เมื่อทุกข์ดับไป..สุขก็ปรากฏขึ้น เมื่อสุขดับไป..ทุกข์ก็ปรากฏขึ้น

    เมื่อทุกข์..ดับไป ความเฉยๆ เป็นกลางปรากฏขึ้น..เมื่อสุขดับไป....
    เมื่อผู้ภาวนา มามีสติกำหนดรู้ อารมณ์จิตของตัวเองอยู่ในขณะจิตนั้น เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นมาเมื่อใด
    ก็จะรู้ว่า นี้..คือทุกข์อริยสัจ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้...


    ...เมื่อสติปัญญารู้ว่านี่คือ..ทุกข์อริยสัจ ทีนี้บางทีจิตของผู้ภาวนา ก็จะหวลหาวิธีการเพื่อจะขจัดทุกข์ในจิตออกไป แล้วก็จะรู้อุบายวิธี และรู้เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ว่ามันเกิดมาจากไหน เกิดจากความยินดี เกิดจากความยินร้าย เกิดจากกามตัณหา..ภวตัณหา..วิภวตัณหา

    ทีนี้..ทุกข์เป็นสภาวะที่ควรกำหนดรู้เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะไปตั้งใจละ
    เมื่อทุกข์เกิดขึ้นก็ดี สุขเกิดขึ้นก็ดี กำหนดรู้อย่างเดียว ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า..

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
    ทุกข์เป็นสภาวะที่พึงกำหนดรู้ เมื่อผู้มีสติกำหนดรู้ทุกข์อยู่ ทุกข์เป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้น รู้ทุกข์แจ่มแจ้งชัดเจน จิตก็ก้าวลงสู่ความสงบอีกทีหนึ่ง คือสงบก้าว...วูบ..ลง สว่างขึ้นมา แล้วก็ไปยับยั้งอยู่ เรียกว่า...

    จักขุง อุทะปาทิ...จิตวูบลงไป สว่าง จักษุบังเกิดขึ้นแล้ว จิตนิ่งอยู่ในท่ามกลางแห่งความสว่าง

    ญาณัง อุทะปาทิ... การหยั่งรู้ได้บังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจิตมีการยับยั้ง หยั่งรู้อยู่

    ปัญญา อุทะปาทิ...การไหวตัวของจิต เกิดความคิดปรุงแต่งขึ้นมา เป็นปัญญาความรู้ปรากฏขึ้น จึงจะมีอาการ เกิด-ดับ...เกิด-ดับ...เกิด-ดับ...เกิด-ดับ อยู่ตลอดเวลา เมื่อจิตกำหนดดูสิ่งที่ เกิด-ดับ...เกิด-ดับ...เกิด-ดับ...อยู่ตลอดเวลา ถ้าช่วงใดรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว วิชชาเกิดขึ้น

    วิชชา อุทะปาทิ...รู้แจ้งเห็นจริง หายสงสัยว่านี่...คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อรู้จริงแล้วจึงปล่อยวางอารมณ์สิ่งรู้ทั้งหมด

    อาโลโก อุทะปาทิ...ก้าวเข้าไปสู่ความสว่างไสว เบิกบาน กายตัวตนหายไปหมด มีแต่ความสว่างไสวปรากฏอยู่เท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจิตกำหนดรู้ทุกข์ เห็นจริงแจ่มชัดแล้ว จิตปลงตกว่านี่ทุกข์

    พอรู้ว่านี่คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ทีนี้ญาณหยั่งรู้ จักษุก็บังเกิดขึ้น ลักษณะที่จักษุบังเกิดขึ้น จิตสงบวูบลง..สว่างโต้งขึ้นมาแล้วนิ่ง ในเมื่อนิ่ง..อาการนิ่งนั่นแหล่ะคือญาณหยั่งรู้อยู่เฉพาะที่จิต เมื่อจิตมีญาณหยั่งรู้อยู่เฉพาะที่จิต หากจิตมีพลังพอสมควร ก็ปฏิวัติตนให้เกิดความคิดอ่าน ซึ่งเรียกว่าปัญญาปรากฏขึ้น ในเมื่อปัญญาปรากฏขึ้น สติสัมปชัญญะเป็นตัวปัญญาอันวิเศษ เป็นตัววิชชารู้แจ้งเห็นจริง รู้ทันอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีวิชชารู้แจ้งเห็นจริง รู้ชัดลงไปแล้ว

    อาโลโก อุทะปาทิ...ความรู้แจ้ง หายสงสัยก็บังเกิดขึ้น
    ดังที่มีในคัมภีร์แห่งพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    วิปัสนูกิเลส เป็นเรื่อง เห็นถูกสภาวะแต่เข้าใจผิดสภาวะ แปลความเข้าใจผิด

    เช่นเห็นไตรลักษณ์อยู่ตรงหน้า แต่เข้าใจว่า อะไรๆมันก็ดับสูญ แปลความเป็น ว่างเปล่าไปหมด

    หรือ เห็นไตรลักษณ์อยู่ตรงหน้า แต่เข้าใจว่า อะไรๆมันดับสูญ แปลความว่า ความสูญเป็นของเที่ยง

    ๒ อย่างนี้ไม่ใช่สายกลาง แต่เกิด สสัตตทิฏฐิ และ อุจเฉททิฏฐิ ก็ได้

    ที่จริงแล้ว มันเป็นอนัตตาโดยสภาวะ โดยลักษณะ โดยปัจจัย แต่ก็อาศัยปัจจัย

    หมายความว่า ไม่มีสาระอะไร ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ ไม่มีผู้รู้ แต่ธรรมชาตินั้นมันก็คงความเป็นอนัตตาอยู่ดี
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ลองไปอ่าน ที่ผมยกมาอีกทีนะ เรื่อง วิปัสนูกิเลส
     
  7. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ก็นำมาแปะใหม่ก็ได้ครับ ไม่ผิดกติกา

    ที่อธิบายในมุมนี้เพราะว่า วิปัสสนูกิเลสเกิดได้ ในญาณที่ ๔ ขึ้นไป ถ้าจำไม่ผิด

    หมายถึง เจริญสติ รู้รูปนาม ปัจจัย ไตรลักษณ์ เมื่อเห็นครั้งแรก เกิดการตัดสิน ปลงใจเชื่อ

    ตรงนี้ล่ะเคยสั่งสมภูมิอะไรมา มันจะมาตัดสินให้ติดได้
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เงี่ยหูฟัง ข้างนึง ต่อเลยครับพี่เจ๋ง
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ลองให้ความหมายในที่ขีดเส้นซิ เพราะว่า
    อ่านดูนี่ข้างล่างนี่


    วิปัสสนูปกิเลสทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกผู้ถึงปฏิเวธแล้ว
    และไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เกียจคร้าน ทอดทิ้งธุระในกรรมฐาน แต่ย่อมเกิดแก่กุลบุตรผู้ปฏิบัติชอบ ประกอบการภาวนาที่ถูกต้อง เป็นอารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มต้นเห็นแจ้ง) เท่านั้น
     
  10. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อย่างที่ชี้ไปแล้ว ว่า ถ้าปักใจเชื่อเมื่อไหร่ ทิฏฐิเกิดเมื่อนั้น

    เห็นว่ามันสูญ มันก็ปฏิเสธกรรม ปฏิเสธปัจจัย ปฏิเสธเหตุ ปฏิเสธผล

    เห็นว่าเที่ยงในสูญ คือ เห็นเป็นของเที่ยง ว่าความสูญเป็นของเที่ยงแท้

    ๒ ทิฏฐินี้ ปฏิเสธความเป็นปัจจัย

    เพราะดูทีไรมันก็สูญ ดูมากก็สูญมาก หลังๆไม่ต้องดูมันแล้ว ปักใจเชื่อเลยว่าสูญ เป็นอุเฉทเลย

    เมื่อปักใจมากๆ เป็นเป็นของเที่ยงขึ้นมา เป็นสสัตทิฏฐิ มันเฉือนกันนิดเดียว มันละเอียดมาก เป็นชั้นๆ

    ขอตัวก่อนครับ ^^
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    แล้วมั่นใจหรือว่า ปฏิบัติถูก

    ปฏิบัติผิด ความเห็นย่อมผิดได้แน่นอนครับ และไม่รู้ตัวด้วยว่าผิดอยู่

    มิจฉาทิฏฐิ คือเห็นไม่ตรงตามความจริง เห็นผิด หรือ ความเห็นผิด

    ซึ่ง เหมารวม กำหนดถูกสภาวะ แต่เห็นผิดก็ได้

    เช่น เห็นความตั้งมั่น เป็น ความเที่ยง :cool:

    อันนี้ไม่พูดเยอะนะครับ
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>เจ่หลง

    ที่ขีดเส้นใต้ มันตรงกับ วิปัสนูกิเลสทั้ง 10
    ข้อไหนครับ เชิญครับ^^

    ว่างค่อยมาตอบกะด้ายฮะ เดี๋ยวไปหาอาหารก่อน^^



    <!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/818517/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=b2a78f01-1304-47c3-8524-8df944047e53"></SCRIPT><!-- Zone Tag : Palungjit dot com Palungjit 300x250 --><SCRIPT type=text/javascript>innity_pub = "978d76676f5e7918f81d28e7d092ca0d";innity_zone = "25638";innity_width = "300";innity_height = "250";innity_country = "TH";</SCRIPT><SCRIPT src="http://cdn.innity.com/network.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://as.innity.com/synd/978d76676f5e7918f81d28e7d092ca0d/25638/js/300/250/0/1329993473703" type=text/javascript></SCRIPT><NOSCRIPT>[​IMG]</NOSCRIPT>
    วิสุทธิมรรค ภาค ๓ ตอนจบ ฉบับมหามกุฏ หน้า ๑๑๐ อธิบายเรื่องวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ สรุปได้ดังนี้

    วิปัสสนูปกิเลสทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกผู้ถึงปฏิเวธแล้ว และไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เกียจคร้าน ทอดทิ้งธุระในกรรมฐาน แต่ย่อมเกิดแก่กุลบุตรผู้ปฏิบัติชอบ ประกอบการภาวนาที่ถูกต้อง เป็นอารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มต้นเห็นแจ้ง) เท่านั้น

    อุปกิเสล ๑๐ นั้น คือ
    ๑. โอภาสปรากฎแสงสว่างขึ้น อาจสว่างอยู่เฉพาะที่นั่งอยู่เท่านั้น หรืออาจกว่างออกไปมากไปไกลได้มากๆ ก็ได้ และทำให้เห็นภาพปรากฏชัดเจนในบริเวณที่แสงสว่างนั้น แผ่ไปถึง เมื่อโอภาสเกิดขึ้นแล้ว พระโยคาวจรตื่นคิดไปว่า "ก่อนแต่นี้ โอภาสเห็นปานนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นแก่เราเลย เราเป็นผู้บรรลุมรรค บรรลุผลแล้วเป็นแน่" ดังนี้แล้ว ถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรคไป และถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ผลว่าเป็นผล เมื่อเธอถือเอาผิดเช่นนี้ วิปัสสนาวิถีก็เป็นอันชะงักไป เธอก็ปล่อยมูลกรรมฐานของตนเสีย นั่งชมโอภาสอยู่นั่นเอง
    วิปัสสนูปกิเลส ที่เป็นโอภาสนี้ย่อมเกิดขึ้นแก่สมถวิปัสสนาลาภีบุคคล (คือผู้ที่ได้ทั้งสมาถะและวิปัสสนา) เพราะความไม่ปรากฏขึ้นแห่งกิเลสทั้งหลายที่สมาบัติข่มไว้จึงยังจิตให้เกิดขึ้น ว่าเราเป็นพระอรหันต์

    พระธรรมเสนาบดีได้กล่าวไว้ว่า ปุจแาว่า ใจอันถือเอาผิดด้วยธรรมอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่านคือตื่นอุปกิเลสว่าเป็นธรรม) เป็นอย่างไร? วิสัชนาว่า เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยงอยู่ โอภาสเกิดขึ้น เธอนึกหน่วงเอาโอภาสว่า "โอภาสเป็นธรรม" ความฟุ้งซ่านไปเพราะโอภาสนั้น เป็นอุทธัจจะ เธอเป็นผู้มีใจถือเอาผิดด้วยอุทธัจจะนั้นย่อมไม่รู้ความปรากฏ โดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ย่อมไม่รู้ความปรากฏโดยความเป็นทุกข์... ย่อมไม่รู้ความปรากฏความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง
    ๒. ญาณ (คำว่า ญาณในที่นี้ วิสุทธิมรรคฎีกาท่านอธิบายว่า หมายถึงการพินิจและการพิจารณา คือ การพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปโดยนับเป็นต้นว่า รูปเกิดขึ้นอย่างนี้บ้าง รูปเสื่อมไปอย่างนี้บ้าง) ญาณอันคมกล้าเฉียบแหลมยิ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคี ผู้ได้อุทยัพพยญาณผู้พิจารณารูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอยู่
    ๓. ปีติ ปีติทั้งห้า คือ ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ และผรณาปีติ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีนั้นทั่วสรีระ
    ๔. ปัสสัทธิ ได้แก่ วิปัสสนูปัสสัทธิ ในสมัยนั้น ความกระวนกระวายแห่งกายและจิตย่อมไม่มีแก่พระโยคีนั้น ความหนักแห่งกายและจิตก็ไม่มี ความกระด้าง... ความไม่ควรแก่การงาน... ความไข้... ความโกงแห่งกาย และจิตก็ไม่มี กายและจิตของพระโยคีีนั้นย่อมรำงับ (ปัสสัทธิ) เบา(ลหุตา) อ่อน (มุทุตา) ควรแก่การงาน (กัมมัญญตา) ความคล่องแคล่ว (ปาคุญญตา) ตรง (อุชุกตา) โดยแท้ทีเดียว (ธรรมทั้งหกนี้เรียกยุคลธรรม มหาฎีกาท่านว่าจะเกิดร่วมกันเสมอ)
    เมื่อกายและจิตอันปัสสัทธิ เป็นต้นอนุเคราะห์แล้ว สมัยนั้นเธอย่อมได้เสวยความยินดีอันไม่ใช่ของมนุษย์สามัญ (อมานุสี) ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นคาถาดังนี้
    ความยินดีชนิดอมานุสีย่อมมีแก่ภิกษุ
    ผู้เข้าไปสู่สุญญคาร มีจิตสงบ เห็นแจ้ง
    ธรรมโดยขอบอยู่ ภิกษุพิจารณาเห็น
    ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์
    ทั้งหลายทางไรๆ (ทางรูปหรือทางนาม) ก็ตาม
    เธอย่อมได้ปีติปราโมทย์ ปีติปราโมทย์เช่นนั้น
    เป็นน้ำอมฤตของท่านผู้รู้ทั้งหลาย

    ๕.สุข เป็นความสุขประณีตยิ่งที่แผ่ไปทั่วร่างกาย ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีผู้เห็นแจ้งการเกิดขึ้นและการเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย

    ๖. อธิโมกข์ ได้แก่ศรัทธาที่สัมปยุตกับวิปัสสนา เป็นศรัทธาที่มีกำลังยังจิตและเจตสิกให้ผ่องใสอย่าล้ำเลิศ

    ๗. ปัคคาหะ ได้แก่วิริยะ หรือความเพียร เป็นความเพียรที่ได้ประคองไว้เป็นอย่างดีไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก

    ๘. อุปัฏฐาน คือสติ สติที่สัมปยุตกับวิปัสสนา ที่เข้าไปตั้งอยู่อย่างดี ตั้งอยู่อย่างมั่นคง เป็นหลักไม่หวั่นไหวเช่นกับภูเขาหลใวง เมื่อเธอนึกหน่วงกำหนดในใจพิจารณาดูฐานะใดๆ ฐานะนั้นๆ ก็แล่นเข้าไปปรากฏแก่เธอด้วยสติ ดุปรโลกปรากฏแก่ท่านผู้มีทิพยจักษุ ฉะนั้น

    ๙. อุเบกขา หมายเอาวิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนา) และอาวัชชนูเบกขา (อุเบกขาในอาวัชชนจิต) ด้วยว่าในสมัยนั้น ทั้งวิปัสสนูเบกขาอันเป็นความเป็นกลาง (คือวางเฉย) ในสังขารทั้งปวงอย่างมีกำลังก็เกิดขึ้น ทั้งอาวัชชนูเบกขาในทวาร (การวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบทวาร) ก็เกิดขึ้นแก่พระโยคีนั้น อันอุเบกขานั้น เมื่อพระโยคีอาวัชชนาการ (นึกหน่วง) ถึงฐานะนั้นๆ ย่อมนำไปอย่างกล้าแข็ง

    ๑๐. นิกันติ ได้แก่ความยินดีในวิปัสสนานั้น เป็นความยินดีพอใจอย่างสุขุมมีอาการสงบ ทำความยินดีในวิปัสสนาที่ประดับไปด้วยอุปกิเลสทั้งหลาย มีโอภาสเป็นต้น เมื่อเกิดกับพระโยคีนั้น ทำให้เธอไม่อาจแม้แต่จะกำหนดจับได้ว่านั่นเป็นกิเลส (นิกันตินี้จะเกิดร่วมไปกับอุปกิเลสอื่นๆ ทำให้ยากที่จะรู้ได้ว่า วิปัสสนูปกิเลสได้เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ)
    ก็เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้เกิดขึ้น พระโยคาวจรก็คิดตื่นไปว่า ก่อนแต่นี้ แสงสว่าง... ญาณ... ฯลฯ นิกันติเป็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแก่เราเลยหนา เราเป็นผู้เป็นผู้บรรลุมรรค เป็นผู้บรรลุผลแล้วเป็นแน่ ดังนี้แล้ว ก็ถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคเลยว่าเป็นมรรคไป ถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ผลเลย ว่าเป็นผลไป เมื่อเธอถือเอาเช่นนี้ วิปัสสนาวิถีก็เป็นอันชะงักไป เธอปล่อยมูลกรรมฐานของตนเสีย นั่งชมวิปัสสนูปกิเลสอยู่นั่นแล

    ฝ่ายพระโยคาวจรผู้ฉลาด เป็นบัณฑิตคงแก่เรียน ถึงพร้อมด้วยความรู้ เมื่ออุปกิเลสเช่นโอภาส เป็นต้นเกิดขึ้น ย่อมกำหนดพิจารณาด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า โอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้วนะ ก็แต่ว่าโอภาสนั้นไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัย เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้บ้าง หรือมิฉะนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ " ถ้าว่าโอภาสพึงเป็นอัตตาไซร็ จะถือว่ามันเป็นอัตตาก็ควรละ แต่นี่มันเป็นอนัตตาแท้ แต่มาถือเอาว่ามันเป็นอัตตา เพราะเหตุนั้นโอภาสจึงเป็นอนัตตา โดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอำนาจ (ของใครๆ ) มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง... โดยความหมายว่ามีแล้วก็ไม่มี เป็นทุกข์... โดยความหมายว่า ถูกความเกิดและความเสื่อมบีบคั้น

    พระโยคาวจรนั้น ครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมเข้าใจโอภาสได้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เมื่อเข้าใจได้อย่างนี้อยู่ ก็ไม่หวั่นไหว ไม่สะดุ้งสะเทือนในเพราะอุปกิเลส มีโอภาส เป็นต้น

    พระโบราณจารย์กล่าวเป็นคาถาไว้ว่า
    ปัญญาของพระโยคาวจรผู้ใดเชี่ยวชาญ
    (คือรู้ทั่ว) ฐานะที่ตั้งของอุปกิเลส ๑๐ นี้
    พระโยคาวจรผู้นั้น ย่อมเป็นผู้ฉลาดในธัม-
    มุทธัจจะ (ความตื่นอุปกิเลสว่าเป็นธรรม)
    และย่อมไม่ถึงซึ่งความฟุ้งซ่านไป

    นิจสัญญา ปรากฏในรูปความฟุ้งซ๋านเพราะคิดว่าได้พบสิ่งที่เที่ยงแท้ คือนิพพานแล้ว
    ----------------------
    [๔๒] (ถาม) จะละมานะได้อย่างไร?
    (ตอบ) ในครั้งแรก การเกิดขึ้นแห่งโอภาสจากการปฏิบัติธรรม เธอจึงคิดว่า เธอได้บรรลุโลกุตรธรรมแล้ว เธอคิดว่าเธอได้บรรลุในสิ่งที่เธอไม่เคยบรรลุ และหยุดการปฏิบัติต่อไป มานะเกิดขึ้นอย่างนี้ โยคีผู้ฉลาดรู้ว่ากิเลสได้รบกวนสมาธิ (การภาวนา) แล้วเธอรู้ว่ายังเป็นโลกียธรรมเพราะยังมีสังขารเป็นอารมณ์ แต่โลกุตตรภาวะมีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อรู้เช่นนั้น เธอจึกกำจัดความฟุ้งซ่านและมานะได้ด้วยความรู้นี้ และเฝ้าดูเฉพาะการดับไปต่อไป เธอปฏิบัติได้ดีและปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีก

    ข้อควรสังเกตในวิสุทธิมรรค วิปัสสนูปกิเลสมักจะเกิดกับท่านที่ได้อุทยัพพยญานแก่กล้าแล้ว แต่ในวิมุตติมรรคนี้ ท่านกล่าวหลังภังคญาณ ซึ่งเมื่อค้นคว้าจากบาลีและอรรถกถาแล้ว ก็เห็นได้ว่าไม่ใช่ความคลาดเคลื่อนในหนังสือเล่มใด ในปฏิสัมภิทามรรคก็ไม่ได้กล่าวไว้ในลำดับของวิปัสสนาวิถี เรื่องวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ นี้ มีกล่าวอยู่ในปฏิสัมภิทามรรคยุคนัทธวรรค ตอนยุคนัทธกถา ข้อ ๕๔๒-๕๔๓ ท่านก็ว่าวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นภายหลังจากการมนสิการโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา วิปัสสนูปกิเลสอาจจะไม่เกิดเลย หรือเกิดขึ้นได้แม้ในพระอริยบุคคล ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ คืออาจเกิดขึ้นในมรรคใดมรรคหนึ่ง เช่นอนาคารมีก่อนจะได้อรหัตมรรค เป้นต้น (ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๕๓๔ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า "ดูก่อนอาวุโส ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตตในสำนักเราด้วยสรรคสี่ทั้งหมด หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่ง" ซึ่งหมายความว่า อาจจะผ่านมรรคที่ต้องถอนวิปัสสนูปกิเลสก่อนก็ได้

    การเรียงลำดับวิสุทธิเจ็ด ท่านก็กล่าวแต่เพียงว่า มัคคามัคคญาทัสสนวิสุทธิมีภายหลังกังขาวิตรณวิสุทธิ เมื่อผ่านมัคคามัคคญาทัสสนวิสุทธิไปแล้ว จึงจะเข้าสู่วิปัสสนาวิถีที่ถูกต้อง โดยต้องเริ่มต้นตั้งแต่อุทยัพยญาณใหม่

    อีกประการหนึ่ง วิปัสสนูปกิเลส มักจะเกิดแก่ผู้ที่มีอินทรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งกล้าแข็งแต่ยังบกพร่องอยู่บ้างในปัญญินทรีย์ เมื่อได้รับการชี้แนะที่ถูกทางก็จะบรรลุมรรคผลได้ดังกล่าวไว้ในยุคนัทธกถาที่อ้างแล้ว


    (ภังคญาณจบ)

    (ผูกที่ ๑๑ จบแล้ว)
     
  13. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ผมหยิบส่วนนี้มาขยาย ในมุมของการเกิดทิฏฐิ

    ส่วนในวิปัสนูกิเลส เป็นส่วนของ ญาณ มีปักใจเชื่อ

    เหตุเพราะอินทรีย์อ่อน
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    แสดงว่า ที่เอามาขยายนั้น ปฏิบัติมาถูกทางใช่ไหม
     
  15. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    น้าปราบเข้าใจใจความ หลวงพ่อว่าอย่างไรล่ะ
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    อันนี้ถูกหรือไม่ ต้องไปแย้งตำราเอาครับ
     
  17. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    กลายเป็นคนเชื่อเทป เชื่อตำรา ไม่ลืมหูลืมตาตั้งแต่เมื่อไหร่เนี่ย ^^

    ให้เหตุผลอย่างนี้นะ

    โมหะเขาก็รู้ปรมัตถ์ได้ แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรมที่ปรากฏ

    ทีนี้ แม้เห็นสภาพธรรมอยู่ต่อหน้า แต่เข้าใจผิดได้ นั้นมีอยู่หรือ

    นี่ก็ขยายมาจากเทปนั้นแล


    นี่ต้องไม่ลืมสิ ว่า ปิติ สุข เอกคัตตา นี้ก็เป็นองค์ธรรมในสมถะเช่นกัน

    ผมถามกลับนะ ว่า ทำไมถึงคิดว่าตนเดินวิปัสสนาอยู่ล่ะ
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    เข้าใจว่า
    ท่านอธิบายสำหรับผู้เริ่มเห็นธรรมที่ไม่มีชื่อเรียก
    ไม่มีสมมุติบัญญัติจะเรียก

    นั่นคือเริ่มเห็นธรรมเข้าสู่ปรมัตถ์ (ซึ่งเรียกว่า ฌานในอริยะมรรค)

    คนที่ไม่เคยเห็น
    หากเห็นครั้งแรก ก็จะเอะใจแปลกใจ
    หากไม่ได้รับคำแนะแนว โอกาสคลาดตรงนี้เยอะ

    เพราะว่า เป็นเพียงจะเริ่มเข้าการอบรม วิปัสนาญาณขั้นที่ 1

    เห็นไหมตอนท้าย ที่ว่าบุญบาปไม่มี

    แต่ ว่าเมื่อผ่านการเห็นซ้ำ เห็นย้ำ
    ด้วยสติที่เกิดได้บ่อยขึ้น
    ความบ่อยนี้มันจะทำให้จิตตั่งมั่นได้มากขึ้น
    ความตั่งมั่นช่วงนี้เป็นสัมมาสมาธิแม้จะได้ชั่วขณะ
    สัมมาสมาธิตรงนี้มันจะหนุนให้กำลังปัญญาบ่มญาณไปเรื่อยๆ
    เมื่อมีการเห็นซ้ำ เห็นย้ำ

    และสติตัวนี้ มันไม่ใช่ สติที่สั่งได้เป็นสติที่เกิดจากการอบรม
    เรียกว่าการสร้างเหตุในการจงใจระลึก จนไม่ได้จงใจระลึก
    แต่สภาวะธรรมที่ปรากฎหลังจากผัสสะ
    สภาวะใดที่ผ่านการฝึกแล้วมีการจดจำได้แม่นยำ
    สติมันจะระลึกได้ทันทีในขณะจิตนั้น

    สติตัวนี้ล่ะเรียกว่า สติสัมโพฌชงค์

    องค์ประกอบของสติสัมโพชฌงค์
    จะเกิดประกอบกับปัญญาเจตสิกเสมอ
    หรือจะเรียกว่า สัมปยุติด้วยปัญญาเจตสิกเสมอ

    แต่ว่ามันไม่ได้ค้างเติ่ง มันเกิดแล้วก็ดับไป
    พอมันเกิดได้ถี่ขึ้น ขณะที่ดับไป ขณะเกิดใหม่ตามมา
    ด้วยความที่จิตมีความตั่งมั่นในชั่วขณะ
    มันจึงเอาสภาวะที่เกิดใหม่ตามมานั้น
    ทำการระลึกต่อไป

    ซึ่งตรงนี้มันก็ยังเป็นการจงใจอยู่

    แต่ว่า

    มันจะแม่นขึ้นเรื่อยๆ ก็ต่อเมื่อ
    มันมีการเกิดขึ้น ของสติสัมโพชฌงค์ ที่เกิดได้ถี่ขึ้น
    สภาวะใหม่ก็ถูกฝึกเอามาระลึก มันก็จะทำหน้าที่เห็นสิ่งละเอียด
    เรียกว่า เอาของที่ละเอียดมาทำการฝึกระลึก
    จนเป็นขั้นๆไป ละเอียดลงเรื่อยๆ
    ความเป็นอัตโนมัติก็จะเริ่มเป็นขึ้นตามเรื่อยๆ
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    โมหะเจ่หลงละมั๊ง สามารถรู้ปรมัตถ์ได้

    โมหะไม่สามารถเกิดประกอบกับจิตที่มีปัญญาเจตสิกได้

    จิตที่มีปัญญาเจตสิกประกอบ จะเกิดสัมปยุตด้วยสติเสมอ

    และ ผลของการที่ จิต สติ ปัญญา เกิดสัมปยุตกัน
    กิเลสจะแยกออกจากจิตในขณะจิตนั้น จึงเรียกว่า
    รูปนามปริเฉท
    เป็นวิปัสนาญาณ
    และรูปนามปริเฉทนี่ล่ะ
    ที่ทำให้เห็นปรมัตถธรรมเป็นครั้งแรก
    ตรงนี้จึงเป็นต้นทางของการเดินภาวนามยปัญญา


    ส่วนเรื่องตำรา ยกมาไว้อ้างอิง
    สำหรับผู้ชอบกอดตำรา
    เวลามาถามหาก็จะได้อ้างอิงได้
     
  20. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ขึ้นชื่อว่าบัญญัติ ล้วนมีสภาวะมารองรับ

    การรู้จักลักษณะของสภาวะ ได้ชื่อว่ารู้จักปรมตถ์

    รู้ ก็เป็นปรมัตถ์ ไปรู้ลักษณะปรมัตถ์ เรียกว่า ปรมมัตถ์ รู้ ปรมมัตถ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...