สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 27 กันยายน 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร (วัดธรรมมงคล)
    สถาบันพลังจิตตานุภาพ, ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
    เลขที่ 132 ถ.สุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20
    แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
    โทรศัพท์ 02-332-4145, โทรสาร 02-730-6335


    สถาบันพลังจิตตานุภาพ โทร. 02-311-1387
    ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ โทร. 02-741-7822


    พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาส

    วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2506 เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร วัดธรรมมงคลเป็นที่ตั้งของ สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) และศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ อันมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่หลักการบำเพ็ญสมาธิ ทั้งสมถะและวิปัสสนา

    ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

    เป็นอาคารเพื่อการบำเพ็ญสมาธิที่มีความเพียบพร้อมทุกประการ ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของวัด ในหมู่บ้านรังสิยา ใกล้พระมหาเจดีย์ฯ เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นในพื้นที่ 600 ตารางวา เพื่อช่วยให้ฆราวาสผู้มาปฏิบัติธรรม มีที่พักที่สัปปายะ ภายในมีห้องพักแบบโรงแรม 80 ห้อง จุผู้มาปฏิบัติได้ประมาณ 180 คน แบ่งห้องพักเป็นกลุ่มๆ เพื่อไม่ให้แออัดและไม่รบกวนกัน มีทั้งห้องเดียว ห้องคู่ และห้องรวมสำหรับครอบครัว ทุกห้องมีเตียง มีที่นอนสปริง หมอน ผ้าปูที่นอน ตู้เสื้อผ้า และติดเครื่องปรับอากาศ มีห้องนั่งสมาธิเป็นคณะ บริเวณจงกรม มุมหนังสือธรรมะ ห้องอาหาร ห้องบรรยาย ห้องสนทนาธรรม ห้องสุขา ห้องครัว และมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำวิธีการบำเพ็ญสมาธิ พร้อมทั้งโปรแกรมประจำวัน

    จุดประสงค์ของศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
    1. ต้องการเผยแพร่สมาธิอย่างกว้างขวางแก่ทุกๆ คนให้มีความสงบและสุขใจ
    2. เพื่อความสะดวกแก่ผู้ประสงค์ทำสมาธิ เพราะว่าปัจจุบันมีคนจำนวนมากต้องการจะทำสมาธิ แต่ไม่ทราบจะไปที่ไหน จะหาครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ลำบากด้วยสถานที่ ทั้งไม่รู้จักใครบ้าง ไม่มีอิสระบ้าง เป็นต้น เมื่อมาที่ศูนย์สมาธิก็จะมีความสบายใจ
    3. เพื่อพักผ่อนทางใจ เพิ่มพูนพลังจิต พร้อมเพิ่มสมรรถนะทางใจให้มีความแกร่งสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน
    4. ให้บังเกิดความสุขพิเศษ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าไม่มีความสุขใดเท่าทำใจเราให้สงบสุขได้ เมื่อให้โอกาสแก่ทุกคนได้ศึกษาใจตนเองเพราะความสุขความทุกข์อยู่ที่ใจเรา

    [​IMG]

    นครธรรมและสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute)

    ระหว่างที่อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น หลวงพ่อวิริยังค์ได้ทราบข้อเท็จจริงต่างๆ มากมาย ในด้านสมาธิ ทั้งสมาธิตื้น สมาธิลึก ตลอดถึงวิปัสสนา ซึ่งเมื่อเข้าใจทุกประการแล้ว หลวงพ่อวิริยังค์จึงมีความรักและหวงแหนในหลักการต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง ไม่อยากที่จะให้หลักการเหล่านั้นต้องสลายไป เพราะท่านมีวิธีทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูงสุด

    หลวงพ่อวิริยังค์ถามหลวงปู่มั่นว่า “ต่อไปกระผมจะเขียนเป็นหลักการให้ชาวโลกเขาทำกันจะได้ไหม” หลวงปู่มั่นท่านตอบว่า “ต้องเอาแบบขั้นพื้นฐานสำหรับเป็นประโยชน์แก่มหาชน สำหรับขั้นสูงให้มีน้อย โอกาสที่เธอจะทำนั้นมีอยู่ แต่ต้องทำขั้นพื้นฐานเพื่อคนส่วนมากในโลกจะได้สงบ และเธอต้องไปอยู่กรุงเทพฯ เพราะคนกรุงเทพฯ ที่มีวาสนาบารมี มีอยู่ไม่น้อย”

    ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมานี้ เป็นแรงสนับสนุนในใจของหลวงพ่อวิริยังค์อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2529 ถึง พ.ศ.2534 หลวงพ่อวิริยังค์ได้มีโอกาสไปพักผ่อนที่วิทยาลัยสงฆ์น้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อันเป็นบริเวณป่าไม้และภูเขาบนดอยอินทนนท์ ทำให้ท่านได้ทบทวนหลักการต่างๆ ที่เคยได้ไต่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น ท่านจึงได้เขียนเป็นตำราสมาธิขึ้นจนเต็มรูปแบบสามารถใช้ในการเรียนการสอนวิชาสมาธิได้ รวมเวลาที่ใช้ในการทบทวนและรวบรวมการเขียนตำรานั้น ใช้เวลาถึง 5 ปีจึงสำเร็จ เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระที่สำคัญ ท่านจึงจัดทำเป็นรูปเล่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง รวม 3 เล่ม ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติสมาธิเป็นยิ่งนัก

    ในขณะเขียนตำราสมาธิ หลวงพ่อวิริยังค์ก็มาคำนึงว่าชาวโลกได้พัฒนาก้าวไปไกลถึงยุคโลกาภิวัฒน์ เขาได้ลงทุนสร้างวัตถุต่างๆ ทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมณ์ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลาย ทั้งที่อยู่อาศัย ทั้งรถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน สามารถย่นระยะทางไกลให้ใกล้ ไปมาได้ง่ายและสะดวก ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอีเมลล์ ก็ย่นระยะการติดต่ดสื่อสารกันได้อย่างสบาย ทั้งหมดเงินเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน เขาก็ยังลงทุนกันได้ แล้วทำไม ? เราจะลงทุนสร้าง “นครธรรม” ให้ทันสมัยด้วยไฮเทคต่างๆ เพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะบ้างมิได้หรือ ?

    หลวงพ่อวิริยังค์จึงได้คิดสร้างนครธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529 และได้ดำเนินการสร้างเมื่อ พ.ศ.2536 ซึ่งก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนส่วนมากเข้าใจแต่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ บวชพระ ถวายสังฆทาน เป็นต้น จึงจะได้บุญกุศล แต่จะมาสร้างนครธรรมสอนคนด้วยไฮเทคนี้ ไม่รู้ว่าจะได้บุญตรงไหน แต่ด้วยใจที่มีความมุ่งมั่นของผู้สร้าง จึงพยายามพูดให้สาธุชนทั้งหลายเข้าใจในการทำบุญกุศล

    จนสามารถมีผู้บริจาคสร้างสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2539 จึงเป็นนครธรรมยุคไฮเทค แหล่งย่นระยะการศึกษาธรรมะล้ำยุคสุดอลังการ ในเนื้อที่ 4,800 ตารางเมตร ใต้ฐานพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมทันสมัย มีห้องเรียนภาคทฤษฎี มีห้องเรียนภาคปฏิบัติทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม มีห้องชมธรรมะด้วยสไลด์มัลติวิชั่น มีห้องสนทนาธรรม มีห้องสมุดธรรมะ มีห้องธุรการ มีห้องอาหารและเครื่องดื่ม มีห้องสำนักงานประทีปเด็กไทยเพื่อช่วยเหลือเด็กทั่วเมืองไทย มีห้องถ้ำวิปัสสนาไว้ให้ปฏิบัติธรรม เป็นต้น

    ผู้ที่มาศึกษาและปฏิบัติธรรมจะได้รับความสะดวกสบายในห้องแอร์คอนดิชั่นอย่างดี เป็นการลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัยเพื่อสุขภาพใจโดยเฉพาะ จึงเหมาะแก่คนยุคโลกาภิวัฒน์ที่ได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรม ทั้งมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ทั้งจะได้รับความรู้และความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง นี้คือนครธรรม สถานที่ตั้งของสถาบันพลังจิตตานุภาพ ในใจกลางกรุงเทพมหานคร

    ด้วยเหตุนี้ จึงได้ประกาศเปิดสอนหลักสูตรครูสมาธิขึ้น ณ นครธรรม วัดธรรมมงคล และเปิดรับสมัครนักศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2540 มีบุคคลที่มีความรู้ตามกำหนดมาตรฐานมาสมัครเรียนถึง 200 กว่าคน เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2540 เป็นรุ่นแรกเรียกว่า รุ่นปฐโม (รุ่นพยัคฆ์) ดำเนินการสอนโดยหลวงพ่อวิริยังค์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติภาคสนาม จึงจะจบครบตามหลักสูตร

    ในหลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 เทอมๆ ละ 40 วัน มีการปิดภาคเรียนเทอมละ 7-15 วัน เปิดเรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 18.00 น.-20.20 น. วันละ 2 ชั่วโมง เริ่มชั่วโมงแรกเรียนภาคทฤษฎี 40 นาที, ถาม-ตอบเพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 20 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง หยุดพัก 20 นาที ต่อจากนั้นเรียนภาคปฏิบัติเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิอีก 30 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง เมื่อเรียนจบทั้ง 3 เทอมแล้ว มีการสอบข้อเขียนทั้งภาคทฤษฎีและสอบภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการสอบสัมภาษณ์ และในขั้นสุดท้ายจะต้องไปสอบปฏิบัติภาคสนามบนดอยอินทนนท์ สถานที่สูงที่สุดในเมืองไทย จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะมีสิทธิ์จบหลักสูตรครูสมาธิ 200 ชั่วโมง และสุดท้ายจึงจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้

    พิจารณาจากการเรียนการสอนที่ผ่านมาของนักศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ผลที่ออกมาจึงทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจ และได้ทั้งประสบการณ์ด้านการปฏิบัติเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง นับเป็นปรากฏการณ์ในการศึกษาสมาธิในยุคปัจจุบัน ทำให้ผลงานนี้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางทั่ววงการต่างๆ จะเห็นได้จากการมีผู้มาสมัครเรียนหลักสูตรครูสมาธิเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

    [​IMG]

    นครธรรม อันเป็นสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษาหลักสูตรครูสมาธิ ที่มีชื่อเรียกว่า “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” (Willpower Institute) นั้น เป็นสถานการศึกษาสมาธิที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน โดยเปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไป ในการเรียนการสอนนักศึกษาจะได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสมาธิเบื้องต้นตั้งแต่การเริ่มบริกรรม จนถึงสมาธิชั้นสูง ที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้เรียนรู้มาจากพระอาจารย์ใหญ่มั่น และพระอาจารย์กงมา รวมทั้ง จากประสบการณ์ในชีวิตการปฏิบัติสมาธิของท่านเองกว่า 60 ปี นอกจากผู้เรียนจะเข้าใจการทำสมาธิทั้งสมถะ-วิปัสสนา อย่างถี่ถ้วนแล้ว ยังสามารถเป็นครูสอนสมาธิให้แก่บุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องด้วย

    เมื่อมีการเรียนการสอนตามระบบของหลักสูตรดังได้กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) คือ มีทั้งอาจารย์ผู้สอน มีนักศึกษา มีอาคารสถานที่ มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบถ้วนบริบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่เข้ามาศึกษาจะได้รับประโยชน์จากสถาบันแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งจะเป็นผลดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และก่อให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นแก่โลกมากยิ่งขึ้นต่อไป

    นอกจากนี้แล้ว สถาบันพลังจิตตานุภาพ (Willpower Institute) ยังได้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ “การอบรมสมาธิภาคภาษาอังกฤษ” ให้กับชาวต่างชาติ เพื่อสร้างสันติภาพและสันติสุขให้ชาวโลกโดยการปฏิบัติสมาธิ วัตถุประสงค์ของการเปิดหลักสูตรนี้เพื่อให้ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ที่มีความสนใจการทำสมาธิ ได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมพลังจิตและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถ่องแท้ โดยปราศจากอุปสรรคทางด้านภาษา เพื่อนำเอาไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ ทั้งในด้านการทำงานและชีวิตในครอบครัว เพราะการทำสมาธิถือเป็นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่จะทำให้จิตใจของคนเราสงบ สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและมีความสุข ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้โลกก็จะสงบสุขและเกิดสันติภาพ การทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบมิได้จำกัดเฉพาะศาสนาหนึ่งศาสนาใด โปรแกรมการอบรมนี้จึงเปิดกว้างสำหรับคนทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา หรือแม้แต่คนไม่มีศาสนาก็มาเรียนได้เช่นกัน

    หลวงพ่อวิริยังค์ได้เปรียบเทียบระหว่างสมาธิกับการเรียน ไว้ว่า “คนเราได้ทำสมาธิมีพลังจิตแล้ว ก็เหมือนไปเรียนหนังสือ เมื่อไปเรียนทุกวันก็จะมีความรู้ เรียนจนจบมัธยมแล้วเป็นอย่างไร ความรู้เราก็ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนเลย ทุกอย่างจึงเป็นไปอัตโนมัติ พอมาเปิดหนังสือ จับปากกาก็รู้ ก็เข้าใจ แต่คนที่ไม่ได้ไปเรียนไม่มีความรู้ เปิดหนังสือเท่าไรก็ไม่รู้ จับปากกาก็เขียนไม่ได้ การมาเรียนจึงเป็นการสะสมความรู้ เช่นเดียวกับคนที่มาเรียนสมาธิก็เป็นการสะสมพลังจิต ทำทุกวันๆ ก็เป็นการสะสมโดยไม่รู้ตัว”

    อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเริ่มฝึกสมาธิให้ดีต้องทำอย่างน้อย 5 นาทีต่อวัน หรือ 6 ชั่วโมงต่อเดือน จะทำให้พลังจิตดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องทำให้ติดต่อกันทุกวันจึงจะได้ผล การฝึกทำสมาธิครั้งละ 5 นาทีวันละ 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน เย็น รวมแล้วก็จะตกวันละ 15 นาที รวมทั้งเดือน 415 นาที เมื่อทำสมาธิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรจะจดบันทึกลงในสมุดทุกครั้ง เพื่อจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาที่ฝึกปฏิบัติสมาธิ และนับว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการทำสมาธิเพื่อสันติภาพของโลก เพราะโลกจะสงบสุขได้ด้วยใจของคนเราที่มีเมตตาธรรม

    เว็บไซต์วัดธรรมมงคล
    <!-- m -->
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วัดธรรมมงคล
    สถาบันพลังจิตตานุภาพ, ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
    สุขุมวิท 101 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม.


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    เสถียรธรรมสถาน
    เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล (รามอินทรา 55)
    แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
    โทรศัพท์ 0-2510-6697, 0-2510-4756
    โทรสาร 0-2519-4633

    แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการ

    เสถียรธรรมสถาน (Sathira Dhammasathan) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพฯ สาธุชนทุกท่านสามารถเข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง

    กรณีปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง

    ลงทะเบียนเข้าที่พักช่วงบ่ายสองโมงเย็นถึงสี่โมงเย็น (14.00-16.00 น.) ของวันศุกร์ และร่วมปฏิบัติธรรมจนถึงเย็นวันอาทิตย์ ท่านสามารถ download file ระเบียบปฏิบัติ, วิถีชีวิตพักค้าง, สิ่งที่ต้องเตรียมมาและใบสมัครปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง และระเบียบการได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์ กรอกใบสมัคร เตรียมเอกสารแนบให้เรียบร้อย แล้ว FAX เอกสารเข้าไปที่เสถียรธรรม หลังจากนั้นประมาณ 15-30 นาที รบกวนโทรศัพท์ไปตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าทางเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารของคุณ และเจ้าหน้าที่หรือแม่ชีท่านใดท่านหนึ่งจะแจ้งให้ทราบว่า คุณจะได้เข้าปฏิบัติธรรมแบบพักค้างหรือไม่

    การปฏิบัติธรรมอานาปานสติภาวนา นอกจากท่านผู้ปฏิบัติธรรมจะได้เรียนรู้วิธีการภาวนาแบบอานาปานสติแล้ว ตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม ท่านจะได้เรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท, อุปกิเลส 16 , นิวรณ์ 5, อริยมรรค ฯลฯ ร่วมภาวนากับบทเพลง เจริญสมาธิในทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน และโยคะสมาธิ ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะร่วมสมาทานศีล 8 ในเย็นวันศุกร์และรักษาศีล 8 ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ

    ศีล 8
    1. เว้นจากทำลายชีวิต
    2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
    3. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
    4. เว้นจากพูดเท็จ
    5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
    7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
    การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเคลื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
    8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหราฟุ่มเฟือย

    วันแรกของการเข้าอบรม
    14.00 น.-16.00 น. ลงทะเบียน
    16.00 น โยคะสมาธิ
    17.30 น. ปฐมนิเทศและทำวัตรเย็น
    19.00 น. สมาทานศีล 8/ส่งอารมณ์กรรมฐาน
    21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

    วิถีชีวิตของชุมชน
    04.00 น. ระฆังแห่งสติ
    05.00 น. ทำวัตรเช้า
    06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
    08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
    09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
    10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
    11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
    12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
    13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
    16.00 น. น้ำปานะ
    18.00 น. ทำวัตรเย็น
    19.00 น. ธรรมบรรยาย/สมาธิภาวนา
    21.00 น. ทำความเพียรโดยส่วนตัว

    วันสุดท้ายของการเข้าอบรม
    04.00 น. ระฆังแห่งสติ
    05.00 น. ทำวัตรเช้า
    06.00 น. ธรรมรับอรุณ โยคะ-สมาธิ
    08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
    09.00 น. ร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ ‘สาวิกา’ ออกอากาศสด
    10.00 น. ภาวนากับบทเพลง/ธรรมบรรยาย
    11.30 น. พิจารณาอาหารกลางวัน
    12.00 น. ว่างอยู่ในปัจจุบันขณะ
    13.30 น. สมาธิภาวนา ยืน เดิน นั่ง นอน และตอบคำถาม
    16.00 น. จบกิจกรรมการเข้าอบรม

    [​IMG]

    กรณีปฏิบัติธรรมแบบไม่พักค้าง

    เชิญได้ทุกเสาร์-อาทิตย์ มาได้เลยไม่ต้องสมัคร โดยสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ที่ธรรมศาลา เพื่อร่วมฟังการจัดรายการวิทยุ “สาวิกา” ออกอากาศสด โดยท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

    วิถีแห่งสติ
    05.00 น. ทำวัตรเช้า ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
    08.00 น. พิจารณาอาหารเช้า
    09.00 น. วิทยุชุมชน
    10.00 น. ฟังเสียงธรรมะตามสาย
    11.00 น. พิจารณาอาหารเพล
    18.00 น. ทำวัตรเย็นและตามประทีป ณ ห้องพระบรมสารีริกธาตุ
    (ระหว่างวัน ภาวนากับการทำงานและทำความเพียรโดยส่วนตัว)

    หมายเหตุ : หากท่านต้องการมาทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะในวันธรรมดา กรุณาติดต่อมาที่ 02-509-0085, 02-510-6697 กด 6 และผู้สนใจมาสนทนาธรรม สอบถามปัญหากับคณะแม่ชีเป็นการส่วนตัว เชิญได้ในวันธรรมดา เวลา 09.00-11.00 น. และ 13.30-16.00 น.

    การเดินทาง

    การเดินทาง ถ้ามาจากบางเขน มีรถเมล์จากอนุสาวรีย์ สายปอ. 26, ปอ.พ. 2 และ ปอ.พ. 8 มีรถเมล์จากปากเกร็ด สาย 150 มาจากบางเขน รถเมล์จะผ่านป้ายกองบินตำรวจก่อน แล้วให้ลงรถเมล์ป้ายถัดไป จะเป็นปากซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

    ถ้ามาจากรามคำแหง มีรถเมล์จากรังสิต สาย 95, ปอ. 520 และ ปอ. 512 มาจากรามคำแหง ให้ลงป้ายแรกหลังจากที่รถเมล์ลอดใต้สะพานทางด่วน จะเป็นฝั่งตรงกันข้ามกับซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล-เพิ่มสิน ข้างๆ ร้านเซเวน-อีเลเวน-5 บาท) หรือขึ้นรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามา

    สำหรับท่านที่มีรถส่วนตัว เสถียรธรรมสถาน ตั้งอยู่เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล รามอินทรา 55 สุดทางด่วนอาจณรงค์-รามอินทรา จาก ถ.รามอินทรา เข้ามาประมาณ 400 เมตร มีจุดสังเกตคือรั้วก่ออิฐสีส้ม ตรงข้ามกับร้านขายเฟอร์นิเจอร์ ท่านสามารถจอดรถได้ที่ด้านหลังตลาดวัชรพล

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่เสถียรธรรมสถาน
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2351" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ը?ՂøÃ??ҹ ?Ø?෾Ϧlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน
    <!-- m -->”??յ鍹Ñ? ʙ蠊?ՂøÃ??ҹ<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    เสถียรธรรมสถาน
    เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล (รามอินทรา 55)
    แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
    ............................................................................

    วัดโสมนัสวิหาร
    เลขที่ 646 ถนนกรุงเกษม แขวงโสมนัส
    เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100

    พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาส

    วัดโสมนัสวิหาร มีการฝึกอบรมกรรมฐาน ซึ่งดำเนินการอบรมตลอดรายการโดยพระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาส เป็นระยะเวลา ๗ วัน ทั้งนี้หลักสูตรชั้นต้นจะฝึกในกรุงเทพฯ (ที่วัด) โดยมาเช้ากลับเย็น เป็นเวลาประมาณ ๖-๗ ชั่วโมงต่อวัน (๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.) เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ไม่อาจจะทิ้งบ้านไปค้างคืนที่วัดได้ อย่างไรก็ดี ทางวัดก็มีที่พักค้างคืนให้จำนวนหนึ่ง

    ผู้จะเข้าฝึกอบรมกรรมฐานในชั้นนี้ควรปฏิบัติดังนี้

    ๑) ทำตนให้ว่างจากการทำงาน โดยทำธุระให้เสร็จก่อนหรือเลื่อนธุระให้พ้นช่วงจะอบรม เพื่อไม่ให้กังวล

    ๒) ตั้งใจมาทุกวันให้ตรงเวลา อย่าขาดหรือมาสาย เพื่อไม่รบกวนผู้อื่นที่ปฏิบัติ

    ๓) รับประทานอาหารเช้าแต่พอประมาณ

    ๔) ทุกท่านต้องแต่งชุดขาวสุภาพ ไม่ควรใส่เสื้อยืด สำหรับสตรีห้ามนุ่งกระโปรงสั้นหรือกางเกง

    ๕) ตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ไม่คุยขณะปฏิบัติ สำรวมกาย วาจา ใจให้มาก

    ๖) หากมีข้อสงสัยให้เรียนถามอาจารย์ได้ตลอดเวลา

    ๗) ควรเตรียมตัวและใจให้พร้อมเพื่อเข้าฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง จริงจังตลอด ๗ วัน

    ๘) ไม่ควรใช้นาฬิกาที่มีเสียงปลุกหรือบอกนาทีและชั่วโมง เพราะจะรบกวนผู้นั่งใกล้เคียง

    ๙) สุภาพสตรี หากต้องการพักที่สำนักชีวัดโสมนัสวิหาร ก็ติดต่อได้ไม่เกิน ๕๐ คน โดยการบวชเนกขัมมะ
    ส่วนสุภาพบุรุษถ้าต้องการพักที่วัด ก็พักได้ไม่เกิน ๑๐ คน เพราะสถานที่มีจำกัด

    ๑๐) ไม่ควรนำเด็กมาด้วยเพราะจะทำให้เป็นภาระ

    กำหนดการฝึกอบรมประจำวัน

    ๙.๐๐ - ๙.๒๐ น. บูชาพระรัตนตรัย สวดมนต์และสมาทานศีล
    ๙.๒๐ - ๙.๕๐ น. บรรยายธรรม
    ๙.๕๐ - ๑๒.๐๐ น. ฝึกจิตตภาวนา (นั่งสมาธิสลับการเดินจงกรม)
    ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    (มีอาหารเลี้ยงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งแบบธรรมดาและมังสวิรัติ)
    ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. บรรยายธรรม
    ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ฝึกจิตตภาวนา (นั่งสมาธิสลับการเดินจงกรม)
    มีช่วงพักระยะเวลาประมาณ ๑๕ นาที และช่วงท้ายสุดมีการสวดอุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตาประจำวัน

    การสมัครเข้ารับการอบรมอบรมกรรมฐาน

    สมัครได้ที่วัดโสมนัสวิหาร ก่อนการอบรม ๑๕ วัน
    จำนวนผู้เข้าอบรมที่รับสมัคร รุ่นละไม่เกิน ๒๕๐ คน ไม่รับผู้ที่อายุต่ำกว่า ๑๔ ปี
    วันเวลาและสถานที่รับสมัคร กรุณาติดต่อที่

    ๑) กุฏิพระธรรมวิสุทธิกวี ข้างพระอุโบสถ โทร. ๐๒-๒๘๑-๗๙๔๔
    ๒) สำนักชี วัดโสมนัสวิหาร โทร. ๐๒-๒๘๑-๓๐๒๔

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    รายละเอียดตารางอบรมกรรมฐาน
    <!-- m -->Ǒ?⊁?ъǔ˒à:+: Watsomanas.com -<!-- m -->

    เสียงธรรมบรรยายพระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/mongkol/" target=_blank>?§?Ò¸Ã?- ??ŪՇԵ 38 ?Ð?҃ :: ?Ã?ѡælt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์วัดโสมนัสวิหาร
    <!-- m -->Ǒ?⊁?ъÒ?ǃǔ˒ëwatsomanas.com<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วัดโสมนัสวิหาร
    แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ


    [​IMG]
    พระวิหาร วัดโสมนัสวิหาร ซึ่งมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ตั้งอยู่ด้านหลัง

    [​IMG]
    ภายในพระระเบียง

    [​IMG]
    พระอุโบสถ วัดโสมนัสวิหาร

    [​IMG]
    ภายในพระอุโบสถ ที่เต็มไปด้วยภาพจิตรกรรมสวยงาม

    [​IMG]
    ภาพจิตรกรรมเนื้อสัตว์ที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม
     
  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร
    ............................................................................

    วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
    ศาลาพระราชศรัทธา
    ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330
    โทรศัพท์ 02-253-8822, 02-255-2271,
    02-251-6469 โทรสาร 02-255-5429

    พระเทพปัญญามุนี (อมร ญาโณทโย) เจ้าอาวาส

    พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

    วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2400

    วัดปทุมวนารามตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ อยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอน และห้างเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า หากเดินทางโดยรถประจำทางธรรมดา มีรถผ่าน สาย 2, 15, 16, 25, 40, 45, 48, 54, 73, 79, 204, 79 ฯลฯ หรือสามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสยาม แล้วเดินมาทางที่จะไปแยกเฉลิมเผ่า วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 07.00-18.00 น.

    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดปทุมวนาราม


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    “วัดปทุมวนาราม” แดนสงบงามกลางป่าคอนกรีต
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Ǒ???؁ǹ҃ҁ? ᴹʧ??ҁ?Œ??蒤͹?Õ?<!-- m -->

    เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
    <!-- m -->Thavorn.org - thavorn Resources and Information.This website is for sale!<!-- m -->
    <!-- m -->thavorn.net<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    ............................................................................

    วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ท่าพระจันทร์ เลขที่ 3
    แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. 10200
    โทรศัพท์ 02-222-6011, 02-222-4981

    พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) อธิบดีสงฆ์หรือเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    -- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน นั่งกรรมฐาณ เดินจงกรม
    ตามแนวของพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
    อดีตพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย คณะ 5

    -- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน นั่งกรรมฐาณ เดินจงกรม
    ตามโครงการพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ตามแนวของคุณแม่สิริ กรินชัย

    โดยมี พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) เป็นประธานจัดงาน

    สำนักงานพระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต) เจ้าอาวาส คณะ 1
    โทร. 02-226-4102, 02-221-1962, 08-1582-8242

    สำนักงานกลางกองการวิปัสสนาธุระ คณะ 5
    โทร. 02-222-4981

    [​IMG]
    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)

    [​IMG]
    พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)

    ประวัติและปฏิปทาพระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต)

    โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สังคมที่มีแต่ ‘ให้’
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สังคมที่มีแต่ ‘ให้’

    ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อีกหนึ่งความหวังของเด็กไทย
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ș?¬Ȗ?ɒ?Ð?ط?Ȓʹ҇ѹ͒?Ե¬ ͕?˹֨??ǒ?Ǒ??ͧധ?䷂<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดสังเวชวิศยาราม
    ............................................................................

    วัดสังเวชวิศยาราม
    ย่านบางลำภู แขวงวัดสามพระยา
    เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทรศัพท์ 02-282-8880, 02-282-4746
    โทรสาร 02-281-9735

    พระธรรมสิทธิเวที เจ้าอาวาส

    วัดสังเวชวิศยาราม มีการสอนพระอภิธรรม-บรรยายธรรมะ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา
    รวมทั้งมีหนังสือ-เทปธรรมะต่างๆ ให้ยืมด้วยที่ มูลนิธิปริญญาธรรม ตึกอเนกประสงค์ ชั้น 2

    วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมนั้นก็มีชื่อว่า วัดบางลำพู ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อวัดให้ใหม่เป็น วัดสังเวชวิศยาราม และกลายเป็นศูนย์รวมของชาวชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม มาจวบจนกระทั่งถึงในปัจจุบันนี้

    เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2551 พระเทพคุณาภรณ์ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมสิทธิเวที
     
  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    กระทรวงศึกษาธิการ
    ถ.ราชดำเนินนอก แขวงวังจันทรเกษม
    เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
    โทรศัพท์ 02-280-1104-9, โทรสาร 02-280-1180

    ทุกวันศุกร์ เวลา 12.00 น.-14.00 น.
    ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก

    แสดงธรรมโดย
    1. พระอาจารย์ธวัชชัย ธัมมฺทีโป
    2. พระอาจารย์สุรพจน์ สทฺธาธิโก

    [​IMG]
    พระอาจารย์ธวัชชัย ธัมมฺทีโป

    [​IMG]
    พระอาจารย์สุรพจน์ สทฺธาธิโก


    “ธรรมะ” (ดวงประทีปแห่งธรรม) คนที่ฝึกสติปัฏฐานสี่ ของนั้นดีใครไม่รู้ดูไม่เห็น การปล่อยวางขันธ์ห้านั้นสำคัญ ปล่อยไม่เป็นจิตตกฐานฌานตกลง ปฏิบัตินั้นต้องทิ้งสิ้นทุกสิ่ง เห็นของจริงเป็นสมมุติไม่มั่นหมาย จิตเริ่มดิ่งญาณเริ่มเกิดทิ้งรูปกาย สมดังหมายเห็นจิตลงภวังค์ แล้วจากนั้นเห็นจิตเจ็ดขณะ ขันธ์ห้าละออกจากจิตหรือไฉน กายก็ละจากขันธ์ห้าปิติใจ รู้ภายในเห็นจิตวิมุตติพลัน แล้วจากนั้นเห็นจิตหลุดจากจิต เพ่งพินิจว่าอะไรไฉนนั่น เหมือนพระจันทร์ทอแสงผ่องอําพัน จิตดวงนั้นเป็นวิมุติหลุดพ้นเอย

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
    <!-- m -->METTA**********<!-- m -->
    <!-- m -->MettaChit : Dhamma Teachings/Talks<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วัดลาดบัวขาว (วัดราชโยธา)
    เลขที่ 33 หมู่ 14 ริมถนนวงแหวนรอบนอก (บางปะอิน-บางนา)
    แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
    โทรศัพท์ 02-373-8899

    พระครูวินัยธรหลุย ธัมมธโร ประธานสงฆ์

    วัดลาดบัวขาว สร้างขึ้นโดยพระยาราชโยธาหรือพระยาสุรินทร์ราชเสนา (เนียม สิงหเสนี) และพระยาสุเรนทร์ราชเสนา สองพี่น้อง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2415 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.2425 พร้อมกับได้รับพระราชทานนามว่า “วัดลาดบัวขาว” เพราะว่าวัดนี้ตั้งอยู่ใกล้กับบึงน้ำซึ่งมีดอกบัวสีขาวเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่า “วัดราชโยธา” หรือ “วัดพระราชโยธา” มาจนทุกวันนี้

    หลังจากสร้างวัดเสร็จแล้วพระยาราชโยธาได้ไปนิมนต์หลวงปู่ทอง (อายะนะ) มาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ซึ่งท่านได้เป็นที่นับถือของประชาชนในละแวกวัด และบริเวณใกล้เคียงอย่างมากในเวลาต่อมา ท่านมีอายุยืนยาวถึง 117 ปี ปัจจุบันลูกศิษย์ได้สร้างรูปเหมือนหุ่นขี้ผื้งของท่านไว้ที่วัดแห่งนี้ด้วย วัดลาดบัวขาวนับเป็นวัดเพียงแห่งเดียวในพื้นที่เขตสะพานสูง
     
  12. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    บ้านซอยสายลม (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    เลขที่ 9 ถ.พหลโยธิน ซอย 8 ซอยสายลม
    (ระหว่างตึกชินวัตร 1 และตึกพหลโยธินเพส)
    แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

    บ้านซอยสายลม หรือบ้านสายลม เจ้าของบ้านคือท่านเจ้ากรมเสริม สุขสวัสดิ์ เป็นสถานที่ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อจะลงมารับสังฆทานที่บ้านสายลมทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน และจะมีการฝึกมโนมยิทธิในวันเสาร์อาทิตย์ทุกต้นเดือนด้วย ปัจจุบันพระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ได้เดินทางมาที่บ้านสายลม เหมือนสมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือนเช่นเดิม ปัจจุบันบ้านสายลมได้สร้างตึกกรรมฐานใหม่ 3 ชั้น โดย

    - ชั้น 1 จำหน่ายวัตถุมงคล หนังสือ เทป วีซีดี นิตยสารธัมมวิโมกข์ (เปิดทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ 9.00-17.00 น. บ้านสายลมหลังเก่าไม่มีจำหน่ายวัตถุมงคลแล้ว กรุณาไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ที่เดียวในวันธรรมดา)
    - ชั้น 2 เป็นห้องฝึกญาน 8
    - ชั้น 3 เป็นห้องไว้ฝึกมโนมยิทธิสำหรับผู้มาฝึกใหม่ มีจำนวนหลายห้อง

    การปฏิบัติธรรม : นั่งสมาธิภาวนาแบบนะมะพะทะ (มโนยิทธิ) จะปฏิบัติที่อาคารปฏิบัติด้านหน้าทางเข้าซึ่งเป็นอาคารใหม่ โดยจะสอนนั่งสมาธิ-ฝึกมโนมยิทธิ และญาณ 8 วันละรอบเดียว เวลาฝึกตั้งแต่ 12.00-15.00 น. ของทุกวันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือน

    การเตรียมตัว : ท่านที่จะมาฝึก ควรจะมาถึงที่บ้านสายลมอย่างน้อยตั้งแต่ 11.00 น. เพื่อทานอาหาร ทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย เมื่อพร้อมให้ไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ โดยตรงทางขึ้นบันไดให้หยิบดอกไม้ธูปเทียนบูชาครู ใส่เงินเหรียญบูชาครูสลึงนึงขึ้นไป แล้วแต่ศรัทธาของท่าน และเดินขึ้นไปชั้นสาม จะมีครูผู้สอนคอยจัดกลุ่มให้นั่งเป็นวงๆ ตามที่ครูเห็นเหมาะสม จะมีแบ่งวงชายและหญิง นั่งทำใจให้สงบ หรือซ้อมภาวนา นะมะพะธะ ไปสบายๆ ลืมเรื่องวุ่นวายปัญหาส่วนตัวไปซักชั่วโมง รอครูผู้สอนให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่ามาสายเกิน 12.00 น. เพราะจะไม่อนุญาตให้เข้ามาฝึก ประตูห้องฝึกจะล็อค

    ถวายสังฆทาน : ต้องเข้าที่บ้านสายลมด้านใน กำหนดการรับสังฆทานของบ้านสายลม คือ
    วันเสาร์-อาทิตย์ 9.00-11.00 น., 12.00-15.30 น. , 20.00-21.00 น.
    วันจันทร์ 10.00-11.00 น. , 12.00-15.30 น. , 20.00-21.00 น.

    การเดินทาง : ท่านที่ไปโดยรถเมล์ ถ้ามาจากสวนจตุจักร ให้ลงที่ป้ายรถเมล์ที่หน้าธนาคารเอเชีย ซึ่งจะมีป้ายรถเมล์อยู่..... ถ้ามาจากสะพานควาย ให้ลงป้ายตรงข้ามสถานีรถไฟฟ้าซอยอารีย์ แล้วเดินมาที่ซอยสายลม..... ท่านที่มาโดยรถไฟฟ้า BTS ให้ลงสถานีซอยอารีย์ แล้วเดินมาที่ซอยสายลม สังเกตได้จากธนาคารเอเชีย เมื่อถึงซอยสายลมแนะนำให้ขึ้นมอเตอร์รับจ้างหน้าปากซอย บอกเขาว่าไปบ้านซอยสายลม ราคาค่าโดยสาร 5-10 บาท หรือเดินเข้ามาเองก็ได้ประมาณ 10 นาที

    รถเมล์ : สาย 8, 26, 29, 34, 39, 59, 77 ปอ. 3, ปอ.9, ปอ.10, ปอ. 29 และ ปอ.77

    โทรศัพท์ : 02-616-7177 (เฉพาะวันจันทร์-เสาร์ ในเวลาราชการ เบอร์นี้คือเบอร์ของอาคารกรรมฐานตึกใหม่) หรือ 02-272-6759 เป็นระบบตอบอัตโนมัติ แจ้งกำหนดการของคณะพระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ ที่จะเดินทางมาบ้านสายลมครั้งต่อไป

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดท่าซุง
    <!-- m -->Ǒ??蒫ا : Ǒ?ࢩҾÃɒ
     
  13. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม
    เลขที่ 1/4-7 ถนนบรมราชชนนี ที่ 119
    กม. 16 ก่อนถึงพุทธมณฑลสถาน 4 กม. ซ้ายมือ
    แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170

    โทร. 02-441-1917, 02-441-1604, 02-441-1535
    มือถือ 086-003-5478, 087-100-3968

    เชิญร่วมฟังธรรมจากพระภิกษุผู้ทรงภูมิธรรมและภูมิปัญญา
    ในรายการ พบพระพบธรรม ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-17.00 น.
    ณ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา

    ท่านที่ร่วมฟังธรรมเทศนาจักได้รับหนังสือธรรมะเป็นธรรมทาน
    จากสถาบันบันลือธรรม ทุกสัปดาห์ทุกท่าน

    สอบถามองค์แสดงธรรมได้ที่ โทร. 02-441-1917

    [​IMG]

    ปณิธานของธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม

    สำนักพิมพ์ธรรมสภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2530 มีปณิธานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามเจตนารมณ์ของ ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี (นายบรรลือ สุขธรรม ป.ธ. 8) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ก่อสร้างธรรมสภา อันเป็นธรรมสภาแห่งแรกของประเทศไทย สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 7 ทรงปิดทองลูกนิมิตเอก ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492

    สืบเนื่องตามกาลเวลา ในยุคก่อนปีพุทธศักราช 2530 หนังสือธรรมะที่ได้จัดพิมพ์จำหน่ายในท้องตลาด โดยทั่วไปส่วนมากมีเนื้อหาสาระและมีคุณค่าเป็นอย่างมาก แต่ไม่มีผู้คนสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะรูปเล่มส่วนใหญ่ไม่มีความสวยงาม ไม่มีคุณสมบัติพอที่จะดึงดูดประชาชนให้สนใจหนังสือธรรมะ ทำให้ในอดีตหนังสือธรรมะไม่ได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย

    ด้วยเหตุผลดังกล่าว ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม ได้ตั้งปณิธานว่า ภายใน 10 ปีจะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการเผยแพร่หนังสือธรรมะ ให้มีรูปแบบสวยงาม น่าจับต้อง เป็นที่สนใจของประชาชน และจะทำให้หนังสือธรรมะขึ้นชั้นโชว์ตามร้านหนังสือชั้นนำ ติดอันดับ Best Seller เหมือนหนังสือชนิดอื่นทั่วๆ ไปที่วางจำหน่ายอยู่ จึงได้พัฒนารูปแบบปกและรูปเล่มให้มีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี และตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540 เป็นต้นไป จะทำให้ประชาชนเปลี่ยนวัฒนธรรมการอ่านมาสนใจหนังสือธรรมะเพิ่มมากขึ้น ธรรมสภามีความภูมิใจที่ได้นำเสนอและพัฒนาการอ่านหนังสือธรรมะของประชาชน ดังที่ท่านจะเห็นได้ในปัจจุบัน

    ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2540 ที่ผ่านมา ธรรมสภาได้ตั้งปณิธานให้หนังสือธรรมะเป็นหนังสือที่มีคุณภาพดีและราคาถูก จะพัฒนาหนังสือและสื่อธรรมะให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หนังสือธรรมะ ทั้งสวย ทั้งดี มีคุณภาพ และราคาไม่แพง

    ในปีพุทธศักราช 2550 เป็นต้นไป เป้าหมายของสำนักพิมพ์ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม คือการเผยแผ่ธรรมะที่ส่งเสริมให้ประชาชน ลด ละ เลิก อบายมุข และสิ่งเสพติดทั้งหลาย เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามและการนำมาซึ่งความสุขของมนุษยชาติ

    ธรรมสภาได้ตั้งปณิธานไว้ว่า ในปีพุทธศักราช 2560 ประชาชนชาวไทยจักมีอิสระ ปราศจากความงมงาย ปราศจากสิ่งเหลวไหล และจะส่งเสริมให้อบายมุขหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่ขอให้ลดลงๆ เรื่อยๆ รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนมีศีล มีธรรม มีวัฒนธรรมของชาวพุทธ และมีความปีติในการปฏิบัติธรรม เพื่อความสุขของชีวิตและเพื่อความสุขของสังคมโดยทั่วกัน

    ด้วยความสุจริตหวังดี
    ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบกับความสงบสุข

    ..........

    สถาบันบันลือธรรม

    สถาบันบันลือธรรม เป็นองค์กรเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสืบทอด และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่มั่นคง อันเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม สุราษฎร์ธานี, หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ องค์ประธานสถาบันบันลือธรรม และท่านเจ้าคุณพระสุธรรมเมธี ป.ธ. 8 ประโยค (นายบรรลือ สุขธรรม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ให้กำเนิดธรรมสภา

    กิจกรรมของสถาบันบันลือธรรม

    1. โครงการพบพระ พบธรรม มีพระเถระผู้ทรงภูมิธรรมและภูมิปัญญา แสดงธรรม ณ ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-17.00 น. สอบถามองค์บรรยายธรรมที่ โทรศัพท์ 08-6003-5478

    2. โครงการศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก, โครงการสำหรับเด็กและเยาวชน จัดที่ธรรมสถานสวนมุทิตาธรรมาราม ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม

    3. โครงการอยู่กันด้วยความรัก จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศล ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ และช่วยเหลือชุมชนในถิ่นทุรกันดาร

    4. ธรรมสถานสวนมุทิตาธรรมาราม ถ.พุทธมณฑลสาย ก ติดกับพุทธมณฑล ต.ศาลายา อ.สามพราน จ.นครปฐม อบรมการเรียนรู้ชีวิตตามธรรมใน 1 วัน ทุกวันพุธต้นเดือน เวลา 08.00-16.00 น. ติดต่อร่วมกิจกรรมที่ โทรศัพท์ 08-6003-5478

    5. กองทุนคลังธรรมทาน บริจาคหนังสือเป็นสาธารณกุศล เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน โดยแจ้งความจำนงเป็นจดหมายขอรับบริจาคได้ที่ธรรมสภา

    6. หอสมุดธรรมสมาธิ ห้องสมุดธรรมะและนั่งสมาธิภาวนา พร้อมกับฟังธรรมะในสวนใต้ร่มเงาไม้ตามธรรมชาติ สถานที่รื่นรมย์ติดกับพุทธมณฑล เปิดบริการตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. สอบถามข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์ 0-2482-1196

    การพิมพ์หนังสือธรรมเป็นอนุสรณ์นอกจากเป็นการจัดทำสิ่งซึ่งมีประโยชน์ที่คงอยู่ยืนนานแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญธรรมทาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทานอันยอดเยี่ยมอีกด้วย ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ชื่อว่าได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ธรรม อันจะอำนวยประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชน

    ท่านที่ประสงค์จัดพิมพ์หนังสือธรรมะที่ดีมีคุณภาพ เพื่อมอบเป็นที่ระลึกในทุกโอกาสของงานประเพณี อันเป็นการใช้จ่ายเงินอย่างมีคุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โปรดติดต่อที่...

    ธรรมสภา ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา
    1/4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
    โทรศัพท์ 0-2441-1588, 0-2434-4267
    โทรสาร 0-2441-1464 <!-- m -->http://www.thammasapa.com<!-- m -->

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์ธรรมสภา
    <!-- m -->ʓ?ѡ?ԁ?츃Áʀҭș?¬˹ѧʗ;Ð?ط?ȒʹҦlt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    549/94 ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ 37)
    ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี
    เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
    โทรศัพท์ 02-412-2752

    มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน

    ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน มีการทำบุญตักบาตร ฟังธรรม นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม และปฏิบัติจิตภาวนา นำพาโดยครูบาอาจารย์พระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น ตั้งแต่เวลา 07.00 น. - 11.30 น.

    ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน มีการตักบาตรและฟังธรรมจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ และปฏิบัติธรรมกรรมฐาน นั่งสมาธิภาวนา (รายการอาจเปลี่ยนแปลงควรสอบถามกับทางมูลนิธิก่อน)

    ทั้งนี้ ทางมูลนิธิมีการจำหน่ายเทปพระธรรมเทศนาโดยพระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น ได้แก่ หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ตื้อ, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่จวน, หลวงปู่วัน, หลวงปู่บุญจันทร์ และหลวงตามหาบัว ฯลฯ

    มูลนิธิหลวงปู่มั่น เป็นสถานที่ที่พระภิกษุผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาชุมนุมกันเพื่อโปรดญาติโยมที่มีจิตใฝ่บุญกุศล จัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นจะมีพระภิกษุมาหลายองค์หลายรูป มาทั้งรับบาตรและเทศนา

    สาธุชนผู้มีจิตกุศลสามารถทำบุญใส่บาตรได้ตั้งแต่เวลา 07.00 น. หลังจากนั้น (หลังพระฉันและสาธุชนรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว) ก็มีเทศนาโดยพระสุปฏิปันโน

    การเดินทาง : มูลนิธิหลวงปู่มั่นนั้นไปไม่ยาก มูลนิธิตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 (ซอยวัดเพลงวิปัสสนา) ถ้าขับรถไปเองก็เข้าไปจรัญสนิทวงศ์ 37 สุดถนนจะเป็นสามแยก ให้เลี้ยวซ้าย (นิดเดียว) ก็จะต้องเลี้ยวขวา (บังคับเลี้ยว) ผ่านวัดเพลงวิปัสสนา ตรงไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกทางไปมูลนิธิ ถ้าไม่มีรถ นั่งรถมอเตอร์ไซด์หน้าปากซอยก็ได้ บอกไปมูลนิธิหลวงปู่มั่น

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1991" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ը?ŹԸԾÐ͒?҃¬?蹠?Ø?෾Ϧlt;/a><!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?٨?蹠?Ô?ѵⵦlt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เลขที่ 549/94 ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ 37)
    แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร


    [​IMG]
    อาคารมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    [​IMG]
    รูปหล่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  16. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
    เลขที่ 42/660 หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม
    ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก
    เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510
    โทรศัพท์ 0-2993-2711, 081-8436467
    โทรสาร 0-2993-2700

    ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานีแห่งนี้ อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สอนตามแนวปฏิบัติของ “ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า” (S.N. Goenka) วิปัสสนาจารย์ชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่า ซึ่งท่านจึงได้ก่อตั้งและเป็นประธานสถาบันวิปัสสนานานาชาติศูนย์แรกชื่อ “ธรรมคีรี” ขึ้นที่เมืองอิกัตปุรี ใกล้ๆ กับเมืองบอมเบย์ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก

    มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร 10 วัน
    สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน
    เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี

    คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ

    วิปัสสนาเป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน แต่ก็ได้กลับมาค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว วิปัสสนาหมายถึง “การมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง” อันเป็นกระบวนการในการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการเฝ้าดูตนเอง เราจะเริ่มต้นด้วยการเฝ้าสังเกตดูลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ เมื่อมีสติที่มั่นคง เราก็จะก้าวไปสู่การเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งจะทำให้ได้พบกับสัจธรรมที่เป็นสากลคือ ได้เห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) การที่ได้รู้เห็นถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเหล่านี้จากประสบการณ์ของท่านเองโดยตรง จึงเป็นวิธีการในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ธรรมะเป็นเรื่องสากล มีไว้สำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นสากล มิได้ผูกขาดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บุคคลทุกคนจึงสามารถจะปฏิบัติได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องของเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ หรือศาสนา ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนโดยทั่วถึงกัน

    กฎระเบียบ

    พื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ ศีล ศีลจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมาธิ และกระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นจากปัญญา คือการรู้แจ้งเห็นจริง

    ตารางเวลา

    04:00 น. ระฆังปลุก
    04:30 น. - 06:30 น. นั่งปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
    06:30 น. - 08:00 น. อาหารเช้า
    08:00 น. - 09:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
    09:00 น. - 11:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวม หรือในที่พักส่วนตัวตามที่อาจารย์กำหนด
    11:00 น. - 12:00 น. อาหารกลางวัน
    12:00 น. - 13:00 น. พักผ่อน
    13:00 น. - 14:30 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
    14:30 น. - 15:30 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
    15:30 น. - 17:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักตามที่อาจารย์กำหนด
    17:00 น. - 18:00 น. พักดื่มน้ำปานะ
    18:00 น. - 19:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
    19:00 น. - 20:15 น. ฟังธรรมบรรยายในห้องปฏิบัติรวม
    20:15 น. - 21:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
    21:00 น. - 2130 น. สอบถามข้อสงสัยกับอาจารย์เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
    21:30 น. พักผ่อน

    การเดินทาง

    โดยรถประจำทาง : มี 2 เส้นทางคือ

    1. ทางลำลูกกา ให้ขึ้นรถโดยสารสายลำลูกกาตรงแยกลำลูกกา (ใกล้สนามกีฬาธูปเตมีย์) ไปลงหน้าตลาดใหญ่ คลอง 7 แล้วต่อรถตู้สายลำลูกกา-มีนบุรี ในตลาด

    2. ทางรามอินทรา ให้ขึ้นรถสองแถว หรือรถตู้สายมีนบุรี–ลำลูกกา ที่ตลาดมีนบุรี เมื่อถึงหน้าหมู่บ้านแล้ว ให้ท่านเดินเข้าไปตรงป้อมยามเพื่อต่อรถสองแถวที่วิ่งภายในหมู่บ้าน โดยบอกให้ไปส่งที่
    ศูนย์ฯ

    โดยรถส่วนตัว : มี 2 เส้นทางคือ

    1. ทางลำลูกกา ตรงที่จะให้ออกจากถนนวิภาวดี จะเห็นป้ายที่เขียนว่า ลำลูกกา-สะพานใหม่ ให้ชิดซ้าย เลี้ยวขึ้นทางที่โค้งมาลงยังถนนพหลโยธิน แล้วเลี้ยวซ้ายทันทีที่ลงเพื่อเข้าสู่ถนนลำลูกกา (ถ้าตรงไปคือไปสะพานใหม่) จากนั้นให้แล่นตรงมาเรื่อยๆ จะเห็นสัญญาณไฟจราจรอันแรก (จากแยกลำลูกกามาประมาณ 10.6 ก.ม.) พอผ่านถนนวงแหวน ซึ่งมีสัญญาณไฟจราจรอยู่ใกล้ๆ (ที่ระยะประมาณ 11.5 ก.ม.) ไปสักพัก จะเห็นป้ายซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท อยู่ทางด้านซ้าย (ที่ระยะประมาณ 14.4 ก.ม.) จากนั้นจึงเป็นสัญญาณไฟจราจร ให้ขับต่อไปจนกระทั่งเห็นป้ายบอก นครนายก-มีนบุรี เป็นสามแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร จึงค่อยเลี้ยวขวาเข้าถนนนิมิตใหม่ แล้วขับข้ามสะพาน 3 สะพาน ผ่านโรงเรียนสตรีวิทยาทางด้านซ้าย พอลงสะพานที่สี่ ให้ชิดซ้าย ขับมาเรื่อยๆ จะเห็นหมู่บ้าน เค.ซี.การ์เด้นโฮม ให้เลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้าน (จากหัวถนนนิมิตใหม่ถึงทางเข้าหมู่บ้านประมาณ 6.2 ก.ม.)

    2. ทางรามอินทรา ขับตรงมาเรื่อยๆ จนถึงประมาณ ซ.รามอินทรา 127 ซึ่งเป็นสี่แยกไฟแดงใหญ่ เขียนว่าซ้ายไปฉะเชิงเทรา ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุวินทวงศ์ ตรงไปจนเห็นปั๊มป.ต.ท. แล้วเลี้ยวซ้ายตามป้ายที่บอกว่าไปลำลูกกา เพื่อเข้าสู่ถนนนิมิตใหม่ เมื่อแล่นผ่านคลองสาม จะเห็นป้ายหมู่บ้านเค.ซี. อยู่ทางขวา ให้ยูเทิร์นรถกลับเพื่อเข้าหมู่บ้าน หลังจากที่เข้าไปในหมู่บ้านแล้ว ให้ตรงไปจนสุด แล้วเลี้ยวซ้ายจนเจอวงเวียน จากนั้นจึงเลี้ยวขวาวิ่งไปเรื่อยๆ จนเห็นป้ายหมู่บ้านธรรมธานีทางด้านขวา จึงเลี้ยวซ้ายเข้าไป จะเห็นศูนย์ฯ อยู่ทางขวามือ

    หมายเหตุ :

    กรุณาเตรียมเสื้อผ้าให้ครบพอที่จะใช้ได้ตลอดการอบรม เนื่องจากทางศูนย์ฯ ไม่มีที่ตากผ้า และไม่มีบริการซักผ้า นอกจากนี้ควรนำรองเท้าแตะสำหรับใส่ในเรือนพัก รวมทั้งเสื้อกันหนาวบางๆ ติดตัวไปด้วย เพราะศูนย์ฯ ใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนเรื่องการใช้รถส่วนตัวนั้น ทางศูนย์ฯ ไม่สามารถอำนวยความสะดวกเรื่องที่จอดรถให้แก่ท่านได้ เนื่องจากสถานที่จำกัด

    รายละเอียดเพิ่มเติมนอกจากนี้ สามารถสอบถามได้ที่
    สำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์
    โทร. 0-2993-2711
    โทรสาร 0-2993-2700 (ในเวลาราชการ)

    ศึกษาตารางการอบรมและการเดินทางจากเว็บไซต์
    <!-- m -->VIPASSANA MEDITATION WEBSITE<!-- m -->

    ใบสมัคร
    <!-- m -->http://www.thai.dhamma.org/application/lay.rtf<!-- m -->

    คำแนะนำ
    <!-- m -->INTRODUCTION AND CODE OF DISCIPLINE<!-- m -->

    มีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ทั้งหมด 5 ศูนย์ ดังนี้
    1. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    2. ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
    3. ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
    4. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
    5. ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ

    ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา จ.ปราจีนบุรี และศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา จ.พิษณุโลก เป็นศูนย์ใหญ่ที่สุด ใครติดสบายหน่อยก็ลองไปดู มีความสะดวกเหมือนอยู่โรงแรมชั้นดี

    ถ้าคนกรุงเทพฯ ไป ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี กรุงเทพฯ ก็จะใกล้ สะดวกดี ที่พักสบาย แต่ถ้าชอบเดินเหิน สูดอากาศธรรมชาติหน่อยก็อาจจะอึดอัดได้เพราะสถานที่ปฏิบัติอยู่ในตึก เปิดแอร์เกือบตลอด ศูนย์นี้จะสงบเงียบที่สุดเพราะตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร

    ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา จ.ขอนแก่น และศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา จ.กาญจนบุรี ก็เหมาะสำหรับคนที่ชอบธรรมชาติ บรรยากาศดี แต่ที่ จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์ที่เล็กที่สุด รับผู้ปฏิบัติได้ไม่เกิน 50 คน ความหรูอาจจะสู้ศูนย์อื่นไม่ได้ แต่ก็สะดวกและสงบทีเดียว ชาวต่างชาติชอบมาปฏิบัติกัน

    แต่อย่างไรก็ตาม ทุกศูนย์วิปัสสนาฯ ก็มีการจัดการ มีระเบียบ ข้อปฏิบัติ และคำสอนอย่างเดียวกัน ท่านจะเข้าศูนย์ไหนท่านก็จะได้ธรรมะเช่นกัน อยู่ที่ความตั้งใจจริงในการปฏิบัติของแต่ละบุคคลเป็นหลักสำคัญ ถ้าคนที่มีความเข้าใจหลักธรรมะแล้วมักจะไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสถานที่เท่าไหร่ ดังนั้น ขอให้พิจารณาจากศูนย์ไหนเดินทางใกล้สะดวก หรือตารางปฏิบัติตรงกับที่เราว่างเป็นหลักในการเข้าไปปฏิบัติ

    [​IMG]
    ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3702" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըș?¬ǔ?ъʹҸÃ?ҹՠ?Ø?෾Ϧlt;/a><!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  17. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ซี.พี. ยกวัด
    ห้องประชุมชั้น 11 อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์ (สีลม)
    ถ.สีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทรศัพท์ 0-2631-0231 ต่อ 1725,1753


    ทุกวันศุกร์ เวลา 12.05-13.30 น.

    บริษัท ซี.พี. เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด โดย พุทธปัญญาชมรม ได้จัด โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ ให้กับผู้สนใจได้ฟังธรรม ซักถามปัญหา และปฏิบัติธรรม ทุกวันศุกร์ ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคาร ซี.พี.เทาเวอร์ (สีลม) กทม. เวลา 12.05-13.30 น. ฟรี.....

    [​IMG]

    นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น ได้จัดตั้ง ชมรมพุทธปัญญา ขึ้นเพื่อปฏิบัติกิจที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมนำสมัย “ยกวัดมาไว้ที่เซเว่น” ณ อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม ทุกวันศุกร์ เวลา ๑๒.๐๕ น.-๑๓.๓๐ น. ประกอบด้วยกิจกรรม ชาวพุทธครบวงจร เริ่มต้นด้วยการทำวัตรสวดมนต์ ฟังธรรมเทศนาจากพระสงฆ์และวิทยากรผู้เคร่งธรรมวินัย ปิดท้ายด้วยการเจริญสติทำสมาธิ พร้อมแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา ๐๘.๐๐ น.-๐๘.๓๐ น. พนักงานเซเว่น อีเลฟเว่น ยังมีกิจกรรมทำวัตรเช้าด้วย

    โครงการยกวัดมาไว้ที่เซเว่น เป็นกิจกรรม เพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยจัดทำติดต่อกันมานานเป็นปีที่ ๑๑ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนในสังคมน้อม นำคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นหลักปฏิบัติในการครองตนในทางที่ชอบที่ควร และเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธองค์อย่างลึกซึ้งมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการดำรงชีวิต ตลอดช่วยลดความสับสนวุ่นวายในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นับเป็นความปีติอย่างยิ่งที่เราได้ร่วมอนุโมทนาบุญและช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    การปฏิบัติธรรมทุกวันศุกร์ได้รับความสนใจจากชาวพุทธมาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละสัปดาห์จะมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย ๑๕๐ คน รวมไปถึงการจัดงานบุญใหญ่หมุนเวียนกันไป อาทิ เทศน์มหาชาติ พิธิพุทธาภิเษกหรือพิธีปลุกเสกพระเครื่อง พิธีสืบชะตาสไตล์ล้านนา เป็นต้น การจัดงานแบบนี้ทุกครั้งจะมีชาวพุทธเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ คน

    [​IMG]

    “ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนไทยที่พร้อมใจในการร่วมบุญ ร่วมสร้างให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่สืบไปให้กับลูกหลาน ทางคณะกรรมการจึงได้ร่วมกันทำรายการธรรมะรูปแบบใหม่ สไตล์ ซี.พี. “พุทธปัญญาภิรมย์” ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ทางยูบีซี ช่อง ๗ ซึ่งจะเป็นรายการธรรมะเรียกว่าร่วมสมัยก็ว่าได้ ดูแล้วจะมีเนื้อหาธรรมะที่เข้าใจง่าย ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม” นายก่อศักดิ์ กล่าว

    นอกจากนี้ ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น ยังเป็นเอกชนรายแรกและรายเดียวที่ได้รับการอนุญาต จากแม่กลองธรรมสนามหลวงเป็นสนามสอบธรรมศึกษาตรี โท เอก สังกัดวัดบวรนิเวศวิหาร สำหรับผู้สนใจธรรมทั่วไปและให้การสนับสนุนหนังสือเรียนได้ และพนักงานในกลุ่มธุรกิจการตลาดเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่สอบผ่านธรรมศึกษาตรี จะได้รางวัลเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท ธรรมศึกษาโทเป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท และธรรมศึกษาเอกเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท ตรงนี้ถือเป็นแรงบันดาลใจให้พนักงานให้มีความสนใจในเรื่องหลักธรรมกันมากขึ้น
     
  18. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    สวนแสงธรรม
    ถ.พุทธมณฑลสาย 3 แขวงบางไผ่
    เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160
    โทรศัพท์ 0-2444-2812

    สวนแสงธรรม เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ณ ชานเมืองกรุงเทพมหานคร ขอเชิญสาธุชนทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนาภาคจิตตภาวนา ปฏิบัติธรรมภาวนา และถาม-ตอบปัญหาธรรม ณ กุฏิกลางน้ำ สวนแสงธรรม

    การเดินทาง : หากมาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าวิ่งขึ้น “ทางคู่ขนานลอยฟ้า”
    จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 3 จะสะดวกที่สุด

    รถเมล์สายที่ผ่านสวนแสงธรรม : สาย 91 ก วิ่งจากอู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
    ผ่านศิริราช-ท่าพระ-บางแค-ถ.พุทธมณฑลสาย 3 จอดหน้าสวนแสงธรรม และสิ้นสุดที่วัดศาลาแดง

    ศึกษารายละเอียดได้จากที่นี่
    <!-- m --><A href="http://www.luangta.com/" target=_blank>Luangta.Com - ˅ǧ?ҁ˒?ч ?ҳʑ?ѹ⹦lt;/a><!-- m -->

    [​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่สวนแสงธรรม
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2833" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըʇ?ኧ?Ã??Ø?෾Ϧlt;/a><!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?ҁ˒?ч ?ҳʑ?ѹ⹦lt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  19. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    สวนแสงธรรม ถ.พุทธมณฑลสาย 3
    แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  20. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาส
    ............................................................................

    วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)
    เลขที่ 685 ถ.ประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา
    เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทรศัพท์ 02-861-4319, 02-861-4530
    02-438-4442, 02-861-5425

    พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม)
    เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม และเจ้าคณะภาค 1

    แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม ผู้นำพาปฏิบัติธรรม

    ............................................................................

    ระเบียบการปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรม
    โดย แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม ณ วัดพิชยญาติการาม

    1. จะต้องมาบวชพราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว ที่วัด (บวชเช้าวันเสาร์-สึกลาวันอาทิตย์)
    2. กรอบใบสมัครและรับหมายเลขที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ ในเช้าวันเสาร์ไม่เกินเวลา 06.30 น.
    3. รับชุดขาวพร้อมหนังสือสวดมนต์ได้ที่โต๊ะลงทะเบียน (สำหรับเครื่องนอนจะแจกหลังทำวัตรเย็น)
    4. ของใช้ส่วนตัว กรุณาจัดเตรียมมาเอง
    5. ห้ามส่งเสียงดัง และกรุณาปิดโทรศัพท์มือถือ ในขณะสวดมนต์ และในขณะที่แม่ชีสอนธรรมะ
    6. รับประทานอาหารได้ที่โรงทาน ตั้งแต่เช้า-เที่ยงวัน
    7. กรุณาช่วยกันรักษาความสะอาด ห้องน้ำ-ห้องนอน-โรงทาน-อุโบสถ และบนพระปรางค์
    (ห้ามนำอาหารไปทานโดยเด็ดขาด)
    8. สึกในวันอาทิตย์ ก่อนสึกกรุณาช่วยทำความสะอาดห้องน้ำ-ห้องนอน
    และบริเวณวัด เพื่อเป็นบุญกุศลแก่ตัวท่านเอง
    9. ชุดขาว เครื่องนอน และหนังสือสวดมนต์ คืนได้ที่โต๊ะลงทะเบียน
    10. วันโกน-วันพระ แม่ชีไม่รับเปิดกรรม

    สำนักงานวัดพิชยญาติการาม วรวิหาร
    โทรศัพท์ 02-861-4530, 02-861-5425, 02-861-4319, 02-438-4442,
    02-861-4533, 02-5176377, 02-9188916, 081-622-7499
    สายรถเมลที่ผ่าน สาย 56, 542, 57

    กำหนดการและตารางการปฏิบัติธรรม
    ประจำวันเสาร์-วันอาทิตย์ ณ วัดพิชยญาติการาม

    วันเสาร์
    เวลา 06.00 - 08.00 น. - ลงทะเบียน รับชุดขาว รับประทานอาหารเช้า
    เวลา 08.00 น. - พร้อมกัน ณ ศาลาปฏิบัติธรรม ทำวัตรเช้าโดยพร้อมเพรียงกัน
    นำโดย : พระวิสุทธิธีรพงค์ หรือผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
    เวลา 08.45 น. - พิธีบวชเนกขัมมบารมี สมาทานศีล 8
    เวลา 09.30 - 11.00 น. - สมาทานกรรมฐาน-ปฏิบัติกรรมฐาน
    เวลา 11.00 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน) พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหา - กฎแห่งกรรม โดย : แม่ชีทศพร ชัยประคอง
    เวลา 16.00 - 17.00 น. - พักดื่มน้ำปานะ พักผ่อนตามอัธยาศัย
    เวลา 17.00 - 21.00 น. - ทำวัตรเย็น-ปฏิบัติกรรมฐาน โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
    เวลา 21.00 น. - พักผ่อน

    วันอาทิตย์
    เวลา 04.00 น. - สัญญาณระฆัง
    เวลา 05.00 - 07.00 น. - ทำวัตรเช้า-ปฏิบัติกรรมฐาน โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
    เวลา 07.00 - 08.00 น. - รับประทานอาหารเช้า (ที่โรงทาน)
    เวลา 08.00 - 09.00 น. - ฟังโอวาทเทศนา (หลวงพ่อเจ้าอาวาส)
    เวลา 09.00 - 10.00 น. - ร่วมพิธีถวายสังฆทาน โดย : แม่ชีทศพร ชัยประคอง
    เวลา 11.00 - 12.30 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน)
    เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหา กฎแห่งกรรม โดย : แม่ชีทศพร ชัยประคอง

    หมายเหตุ : กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

    วัดพิชยญาติการาม (วงเวียนเล็ก) อยู่ใกล้สะพานพุทธฯ, สะพานปกเกล้าฯ, ตรงข้ามกับโรงเรียนศึกษานารี ถ้ามาจากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานทั้งสอง พอลงสะพาน สังเกตวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือ มีเจดีย์เป็นยอดพระปรางค์สีขาว นั่นแหละวัดพิชยญาติการาม ถ้ามาจากวงเวียนใหญ่ วัดจะอยู่ด้านขวามือ ก่อนขึ้นสะพานพุทธฯ, สะพานปกเกล้าฯ ก็จะเห็นวัด ที่จริงคลองสาน หรือมาทางศิริราช ถนนอรุณอัมรินทร์ ก็ได้

    ได้ข่าวว่าที่วัดจะรับสมัครอบรมกรรมฐาน ในวันเสาร์อาทิตย์ (วันไม่ทราบ) ก็ดูกรรมก็จะมีกฎเกณฑ์คือ แม่ชีจะทำการเสี่ยงทาย โดยการหยิบหางเลขของผู้อบรม เพราะผู้ที่เข้าอบรมจะได้รับหมายเลข แม่ชีหยิบหมายเลขของผู้ใดก็จะให้แก่คนนั้น อาทิตย์หนึ่งก็ไม่ดูกี่คนเท่านั้น ส่วนคนที่พลาดโอกาสก็ต้องมีใหม่อาทิตย์หน้าและอาทิตย์ต่อๆๆ ไป จะไม่มีการดูให้กับคนที่ไปนอกเวลาอบรม คือต้องไปสมัครอบรมกรรมฐานเท่านั้นจะมีสิทธิ์ได้ดู (ได้ยินมา จริงเท็จอย่างไรก็ขอให้เสี่ยงดูนะ)

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3993" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??Ԫ&shy;ҵԡ҃ҁ (Ǒ??Ԫт?ҵԩ ?Ø?෾Ϧlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)
    <!-- m --><A href="http://www.phichaiyat.com/" target=_blank>Ǒ??Ԫ&shy;ҵԡ҃ҁ ǃǔ˒à(Ǒ??Ԫт?ҵԩ ᢇ?ʁധ?਩ҾВ ࢵ?ō?ʒ? ?Ø?෾Ϧlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
    <!-- m -->˹钋ő?Thossaporn.com<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]
    แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    1. สัมภาษณ์พิเศษ “แม่ชีทศพร ชัยประคอง” ผู้มีตาทิพย์
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ʑ?҉?쾔? ၨ?շȾà?т?Ð?ͧ ?٩??ҷԾ¬<!-- m -->

    2. กะเทาะชีวิตแม่ชีทศพร ผู้หยั่งรู้ “เกิดแต่กรรม”
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Р?Ґ?ՇԵၨ?շȾà?٩˂Ѩ?Ù頓ࡔ?ᵨ?Ã? !!<!-- m -->

    3. แก้กรรมด้วยพลังธรรม
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ᡩ?Ã?釂?ő??Ã?˂Ѩ?Ù龄?ԡÃ?釂?҃??ҹ<!-- m -->

    4. เมื่อ...แม่ชีทศพร “ตรวจกรรมในคุกคลองเปรม”
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?荮..ၨ?շȾà??Ç??Ã???ء?ō?ໃ?<!-- m -->

    5. ทำไม !...แม่ชีธนพรถึงล่วงรู้เรื่องกรรม
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6701" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Ӥ?!...ၨ?ո??ö֧ŨǧÙ頃רͧ?Ã?lt;/a><!-- m -->

    6. รู้ชอบ ชั่วดี ย่อมเกิดกับผู้มีสติ
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ù骍? ?ѨǴՠ΅ࡔ??Ѻ?٩?ʵԠ(ၨ?շȾà?т?Ð?ͧ)<!-- m -->

    7. ระเบียบการปฏิบัติธรรม ณ วัดพิชยญาติการาม และแผนที่
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ðຕº?҃??ԺѵԸÃ?? Ǒ??Ԫ&shy;ҵԡ҃ҁ ᅐἹ?ը<!-- m -->

    8. เที่ยว “วัดพิชัยญาติ” ชมภาพสลัก “สามก๊ก” หนึ่งเดียวในประเทศ
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ෕肇 ?Ǒ??Ԫт?ҵԔ ??Ҿʅѡ ?ʒ?ꡔ ˹֨?ക‡㹻Ð෈<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     

แชร์หน้านี้

Loading...