สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดนนทบุรี

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 23 กันยายน 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
    ............................................................................

    วัดสังฆทาน
    เลขที่ 100/1 หมู่ 3 บ้านบางไผ่น้อย
    ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
    โทรศัพท์ 02-447-0799, 02-447-0800


    หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ เจ้าอาวาส

    หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ ท่านเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก
    แห่งวัดทุ่งสามัคคีธรรม
    ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี

    [​IMG]
    หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก-หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    การปฏิบัติธรรม ณ วัดสังฆทาน

    ๑. การอุปสมบทหมู่พระภิกษุสงฆ์
    จัดอุปสมบทหมู่ปีละ ๔-๕ ครั้ง ปีละประมาณ ๑๕๐ รูป


    หลักการและเหตุผล

    การอุปสมบทหมู่พระภิกษุสงฆ์เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นการสร้างให้สังคมมองเห็นว่าการบวชตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่จำเป็นต้องฟุ่มเฟือย ไม่จำเป็นต้องมีการละเล่น ไม่ดื่มสุรา ผู้อุปสมบทจะได้มีโอกาสปฏิบัติเพื่อความสงบ และเพื่อความดับทุกข์ มิใช่บวชแล้วพ่อแม่ต้องเป็นทุกข์กับการกู้หนี้ยืมสิน การบวชในพระพุทธศาสนาต้องใช้เวลาในการอบรม ต้องคัดเลือกกลั่นกรองตัวบุคคลผู้ศรัทธา เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นคนที่พูดมาก มีเรื่องราวมาก เป็นคนสงบ ขยัน ไม่เอาเปรียบหมู่คณะ เคารพในการประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เมื่อดูจริตนิสัยแล้วเห็นว่าเป็นพระได้ก็ให้บวช

    วันเวลาการอุปสมบทในปีหนึ่งมีการอุปสมบทดังนี้
    ๑. วันมาฆบูชา
    ๒. วันวิสาขบูชา
    ๓. วันอาสาฬหบูชา (ก่อนวันเข้าพรรษา)
    ๔. วันพ่อแห่งชาติ (วันที่ ๕ ธันวาคม)

    ค่าใช้จ่ายในการอุปสมบทหมู่ ได้จากญาติโยมผู้มีศรัทธาบริจาค ถ้าไม่เพียงพอทางมูลนิธิฯ จะจัดกองทุนให้ การสมัครบวช และรับทราบระเบียบการบวช ที่โต๊ะพระเจ้าหน้าที่ ใต้โบสถ์แก้วทุกวันจำนวนพระภิกษุที่ผ่านการอุปสมบทปฏิบัติตามแนวธุดงคกรรมฐานจากวัดสังฆทานมีประมาณกว่า ๒,๕๐๐ รูป

    ๒. การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
    จัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปีละ ๓๐๐ องค์


    หลักการและเหตุผล

    ในยุคปัจจุบันช่วงปิดเทอม นักเรียน นิสิต นักศึกษา อยู่บ้านมีเวลาว่างมาก มักจะไปเล่น เที่ยว อาจถูกชักจูงจากเพื่อนให้ทดลองสิ่งเสพย์ติด หรือหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำให้พ่อแม่ลำบากใจในการดูแล จึงควรมาบวชเพื่อจะได้ศึกษาธรรมะ และได้เห็นแบบอย่างที่ดีของพระภิกษุสงฆ์ หัดทำวัตร สวดมนต์ ไหว้พระ อดทน ขยัน เป็นการช่วยตัวเองตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อรู้หลักธรรมวินัยก็นำไปปรับตัวเองให้เป็นเด็กว่าง่ายสอนง่าย กตัญญูรู้คุณพ่อแม่ รู้จักบาปบุญคุณโทษ สำนึกบาปที่ตนเองทำมาแล้ว ได้ มีปัญญาแยกแยะดีชั่ว ได้ประโยชน์ทั้งทางครอบครัวและการศึกษาเล่าเรียน

    มูลนิธิฯ ต้องการแก้ไขปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและก่อความเดือดร้อนอย่างทุกวันนี้ ด้วยการนำเยาวชนให้เข้าถึงธรรม เข้าถึงพระพุทธเจ้า ด้วยการปฏิบัติจริง ผู้มีความประสงค์จะบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ต้องมีอายุระหว่าง ๑๐-๑๕ ปี เมื่อมาสมัครแล้วจะต้องอยู่เป็นผ้าขาวน้อย เพื่อรอการพิจารณาบรรพชาในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม และลาสิกขาในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน

    ค่าใช้จ่ายในการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วันละ ๑๐,๐๐๐ บาท ได้จากญาติโยมผู้มีศรัทธาบริจาค ถ้าไม่เพียงพอทางมูลนิธิฯ จะจัดกองทุนให้

    การสมัครบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ในสัปดาห์ที่ ๓ เดือนมีนาคมของทุกปี ที่ ซุ้มประชาสัมพันธ์ทรงไทย ใกล้ศาลาพระนวกะ จำนวนสามเณรที่ผ่านการบรรพชาปฏิบัติตามแนวธุดงกรรมฐาน จากวัดสังฆทานมีประมาณกว่า ๗๕๐๐ องค์

    ๓. การบวชเนกขัมมปฏิบัติ
    จัดบวชเนกขัมมปฏิบัติทุกวัน


    หลักการและเหตุผล

    การบวชเนกขัมมปฏิบัติ (บวชไม่โกนผม) ถือว่าเป็นการชักจูงศรัทธา มีทั้งบวชคนเดียวและบวชหมู่ เป็นการฝึกให้ทุกคนได้มาปฏิบัติธรรม มีการพิจารณาอาหารมื้อเดียว ใช้ภาชนะใบเดียว มีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ถือเนสัชชิก รักษาศีลแปด ทำให้เกิดศรัทธาและปีติ มองเห็นวัดเป็นที่สงบ มองเห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทางแก้ทุกข์ มีประโยชน์กับสังคมที่จะช่วยแก้จิตใจคนเราให้ดีขึ้น เมื่อมาบวชแล้วได้รับความสุขสงบ ทำให้เข้าใจธรรมะ จิตใจก็ดีขึ้น บ้านเรือนก็ดีขึ้น ก็นำเอาไปใช้ประโยชน์ได้มาก

    ระยะเวลาการบวช ๓-๗ วัน

    การรับสมัคร รับสมัครและขอทราบรายละเอียดได้ทุกวันที่สำนักงานวัดสังฆทาน (ท่านหญิง)
    ส่วนท่านชายสมัครที่โต๊ะพระเจ้าหน้าที่ ใต้อุโบสถ

    ค่าใช้จ่ายในการบวชเนกขัมมปฏิบัติ ตามกำลังศรัทธาบริจาค จำนวนเนกขัมมปฏิบัติที่มาสมัครบวชปฏิบัติตามแนวธุดงคกรรมฐานจากวัดสังฆทาน มีประมาณกว่า ๒๐,๐๐๐ คน

    [​IMG]

    โครงการปฏิบัติธรรม ณ วัดสังฆทาน
    ระเบียบของวัดสังฆทานว่าด้วยผู้บวชเนกขัมมปฏิบัติ (หญิง)


    เตรียมตัวก่อนรับศีล

    ๑. ผู้ที่บวชเนกขัมมาปฏิบัติ (ไม่ปลงผม) ให้อยู่ปฏิบัติได้ไม่เกินครั้งละ ๗ ราตรี
    นอกจากเป็นผู้ทำงานช่วยวัด หรือเป็นผู้ที่พระ, เจ้าหน้าที่ หรือหัวหน้าแม่ชีรับรองให้อยู่ต่อได้

    ๒. ต้องนำหลักฐานต่อไปนี้ คือ รูปถ่าย ๒ นิ้ว ๑ รูป สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ (พร้อมสำเนา) มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันสมัครบวช

    ๓. ผู้ที่เคยมาสมัครบวชแล้วและได้กรอกประวัติโดยละเอียดลงในใบสมัครบวชครั้งแรก เมื่อจะบวชในครั้งต่อไป ไม่ต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติลงในใบสมัครซ้ำอีก เพียงแต่เซ็นชื่อและนำบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ มาสมัครบวชได้ที่ทำการรับสมัครบวช

    ๔. ให้เตรียมเครื่องนุ่งห่มที่ถูกต้องตามแบบที่ทางวัดกำหนดไว้แล้วเท่านั้น ห้ามใช้ผ้าสไบลูกไม้ สไบที่ถัก

    ๕. ห้ามรับจ้างบวชแก้บนแทนผู้อื่น ห้ามหญิงมีครรภ์ หญิงแม่ลูกอ่อน หญิงที่มีสามีหรือผู้ปกครองไม่อนุญาตและผู้ป่วยทางกายและจิต ทั้งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่พิจารณาให้บวชในสำนักนี้ ต้องเป็นผู้ไม่กระทำความผิดอันกฎหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิด

    ๖. ต้องเป็นผู้ไม่กระทำความผิดอันกฏหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิด

    ๗. ห้ามนำของมีค่าติดตัวมา และห้ามแต่ตัวด้วยเครื่องประดับต่างๆ
    หากฝ่าฝืนเกิดการสูญหายทางวัดจะไม่รับผิดชอบ

    ๘. ต้องอาราธนาศีล ๕ และศีล ๘ ได้ด้วยตนเอง

    การปฏิบัติตัวขณะปฏิบัติธรรมอยู่ในวัด

    ๑. ไม่ควรมีกิจธุระภายนอกในขณะถือบวช ควรทำกิจภายนอกให้เรียบร้อยก่อน
    ห้ามนำโทรศัพท์มือถือหรือสัญญาณติดตามตัวเข้ามาใช้ในช่วงบวช

    ๒. ไม่เป็นผู้เสพของเสพติด ของมึนเมาทุกชนิด เช่น หมาก พลู บุหรี่ นัดยานัตถุ์ และสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ

    ๓. ต้องทำวัตรสวดมนต์เจริญพระกัมมัฏฐานทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น และเดินจงกรมในเวลาที่ทางวัดกำหนด เมื่อทำกิจวัตรสวดมนต์ เดินจงกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องรีบกลับที่พักของตน (หากทางวัดมีกิจกรรม อาจได้รับการยกเว้น) และเมื่อมีเหตุจำเป็นที่จะทำวัตรสวดมนต์ไม่ได้ ต้องแจ้งให้หัวหน้าแม่ชีทราบ

    ๔. ต้องช่วยเหลือกิจกรรมภายในวัด เช่น ทำความสะอาด ปัดกวาดทั้งที่ส่วนรวมและที่อยู่ของตน ต้องช่วยกันทำและรักษาความสะอาดห้องน้ำส่วนรวมทุกวัน ในเวลาหลังจากที่เลิกทำวัตรเช้าแล้ว ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด ผ้าอนามัยควรใส่ถุงพลาสติกห่อกระดาษให้มิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะ ห้ามนำไปทิ้งในโถส้วม

    ๕. ห้ามจับกลุ่มคุยกันเสียงดัง และห้ามรับแขกในที่พัก ให้รับแขกที่โรงตักอาหาร ห้ามพูดคุยกับโยมผู้ชายตามลำพัง ยกเว้นเพื่อนผู้หญิงอยู่ด้วย ต้องเป็นคนว่านอนสอนง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดื้อถือตัว ไม่ประพฤติตัวให้เป็นภาระกับผู้อื่น เป็นผู้สำรวม เป็นผู้มีมารยาทอันเรียบร้อยสงบ เป็นผู้ใคร่ต่อความเพียรในการเจริญสติปัฏฐานสี่ทั้งกลางวันและกลางคืน

    ๖. ห้ามดูหมอ เล่นไสยศาสตร์ บวงสรวงถือเจ้าเข้าทรง

    ๗. เมื่อมีกิจธุระที่ศาลา หรือประสงค์ที่จะพบพระรูปใดรูปหนึ่ง ต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง
    ขณะสนทนากับพระหรือสวนทางกับพระ จะต้องนั่งลงประนมมือทุกครั้ง

    ๘. เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องออกนอกวัด ต้องบอกกับแม่ชีเจ้าหน้าที่
    และจะต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง วันพระไม่ควรออกนอกวัด

    ๙. ต้องรับประทานอาหารมื้อเดียว ภาชนะเดียว ต้องสำรวม มีสติในการพิจารณาตักอาหาร ต้องไม่แซงแถว ไม่ตัดแถว ไม่พูดคุยกันเสียงดังในขณะตักอาหารที่โรงตัก ไม่รับประทานอาหารในที่พัก ต้องออกมารับประทานในที่ส่วนรวม เมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม ต้องนั่ง ห้ามยืน ห้ามนั่งเท้าแขนรับประทานอาหาร ห้ามดื่มนมโอวัลติน น้ำเต้าหู้ และของเคี้ยวทุกชนิดหลังเที่ยงวันไปแล้วจนตลอดรุ่งราตรี ยกเว้นสมอ และมะขามป้อม ห้ามเก็บอาหารไว้ในที่พัก ห้ามหุงต้มอาหารในที่อยู่โดยเด็ดขาด ถ้ามีความจำเป็นควรเก็บหรือประกอบอาหารในโรงครัว

    ๑๐. เมื่อรับศีล และลาศีลทุกครั้ง จะต้องมีแม่ชีพี่เลี้ยงไปด้วย

    ๑๑. เมื่อลาศีลแล้ว ห้ามรับประทานอาหารที่ร้านค้า หรือนอกเวลาในชุดนักบวช ต้องเปลี่ยนเป็นชุดอื่นก่อน
    (เวลา ๑๗.๐๐ น. ผู้สมัครบวชเนกขัมมปฏิบัติในวันนี้ทุกท่าน ให้มาพร้อมกันที่รับสมัครบวชหญิงชั้นล่างพระอุโบสก)

    [​IMG]

    กำหนดกิจวัตร

    03.30 น. ระฆังทำวัตรเช้า
    04.00 น. ทำวัตรเช้า
    05.30 น. ทำความสะอาดสถานที่ และพระภิกษุ-สามเณรเตรียมตัวออกรับบิณฑบาต
    07.00 น. รับน้ำปานะ
    07.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ เดินจงกรม
    09.15 น. ระฆังฉันภัตตาหาร (วันพระ, วันหยุด, 09.30 น.)
    12.00 น. ระฆังทำวัดกลางวัด (วันพระ, วันหยุด, 12.30 น.)
    12.30 น. ทำวัดกลางวัน (วันพระ,วันหยุด, 13.00 น.)
    15.30 น. ระฆังปัดกวาดทำความสะอาด
    16.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ เดินจงกรม
    17.00 น. พระภิกษุ-สามเณร รับน้ำปานะ
    17.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ รับน้ำปานะ
    18.00 น. ระฆังทำวัตรเย็น (วันพระ, วันเสาร์, 19.00 น.)
    19.00 น. ทำวัตรเย็น (วันพระ, วันเสาร์, 20.00 น.)

    หมายเหตุ (๑) วันพระ, วันเสาร์ และโอกาสพิเศษ รับศีลอุโบสถฟังธรรม-ปฏิบัติธรรมตลอดรุ่ง (เนสัชชิก) และช่วงเช้าสวดมนต์พิเศษ ๐๘.๔๕ น. , (๒) วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ (เดือนเพ็ญ) มีการเวียนเทียน ๔ ครั้ง (เวลา ๒๐.๐๐ น., ๒๔.๐๐ น.และ ๐๔.๐๐ น.) วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มรอบ ๑๖.๐๐ น.

    ๔. การเข้าค่ายปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชน
    จัดเข้าค่ายปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชนตลอดปี
    โดยนักเรียน นักศึกษา ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล


    หลักการและเหตุผล

    นักเรียน นิสิต นักศึกษา ส่วนใหญ่ในปัจจุบันห่างไกลศาสนา มองเรื่องศาสนาไม่สำคัญ ไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีผลสะท้อนไปถึงการไม่เคารพครูบาอาจารย์ บิดามารดา กลายเป็นเด็กหัวดื้อ ก้าวร้าว หลงผิดเป็นชอบ ถูกเพื่อนชักจูงในทางที่ผิด อาจเข้าหาสิ่งเสพย์ติดได้ง่าย จึงได้จัดค่ายอบรมเนกขัมมปฏิบัติขึ้น เพื่อให้รู้จักศีลธรรม-จริยธรรม ซึ่งจะทำให้เป็นคนเรียบร้อย เป็นคนงดงามได้ ทำให้ซาบซึ้งและศรัทธาในพระศาสนา กลายเป็นคนมีสติปัญญา มีเหตุผล ไม่มุทะลุดุดัน รู้จักความสงบ มีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุของกระแสที่เสื่อมของสังคมได้ เป็นการช่วยเหลือสังคม ผลที่ได้รับก็เกิดขึ้นกับครูอาจารย์และบิดามารดา ตลอดจนเลยไปถึงประเทศชาติและพระศาสนาในที่สุด นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มาเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ต้องนุ่งขาวห่มขาวเหมือนนักบวชเนกขัมมปฏิบัติ (บวชไม่โกนผม)

    ระยะเวลาการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ๒-๓ วัน (ศุกร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์)

    การรับสมัคร แจ้งความจำนงเข้าค่ายปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะได้ตลอดปี ค่าใช้จ่ายในการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม ตามกำลังศรัทธาบริจาค

    การเข้าค่ายปฏิบัติธรรมของนักเรียน เริ่มเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ คือ โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๙๖ คน ปัจจุบันมีโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล วิทยาลัย มหาวิทยาลัย

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดสังฆทาน
    <!-- m -->::
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอุโบสถ วัดชลประทานรังสฤษฎ์
    ............................................................................


    วัดชลประทานรังสฤษฎ์
    เลขที่ 78/8 หมู่ 1 ก.ม. 14 ถ.ติวานนท์
    ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
    โทรศัพท์ 02-583-8845,
    02-583-4243, 02-584-3074

    พระเทพปริยัติเมธี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.9, ศน.บ.) รักษาการแทนเจ้าอาวาส

    พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) อดีตเจ้าอาวาส

    วัดชลประทานรังสฤษฎ์ เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
    ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    วัดชลประทานรังสฤษฎ์ ตั้งอยู่หลักกิโลเมตร 14 เลขที่ 78/8 หมู่ที่ 1 ถ.ติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 (ตำบลคณะสงฆ์ ต.ปากเกร็ด) เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย เนื้อที่ของวัดที่กรมชลประทานถวายตอนแรก มีลักษณะคล้ายหัวหมู 2 หัวชนกัน มีที่ดินของชาวบ้านเว้าเข้ามา ทางวัดจึงขอซื้อที่ดินติดวัดทางทิศเหนือจากชาวบ้าน ปัจจุบัน วัดชลประทานรังสฤษฏ์ มีเนื้อที่ 48 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์ทางเหนืออีก 9 ไร่ (ปัจจุบันให้บริษัทวนารมย์เช่า)

    หากพูดถึงวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งจังหวัดนนทบุรี “วัดชลประทานรังสฤษฎ์” คงเป็นวัดที่ทุกคนรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี ในฐานะวัดที่ปราศจากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เครื่องรางของขลัง การบอกใบ้หวย การเข้าทรงองค์เจ้า แต่วัดแห่งนี้มุ่งเน้นในเรื่องของหลักธรรมคำสอนและการปฏิบัติตามแก่นธรรมแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้คนให้หลุดพ้นจากกิเลสที่พอกพูน โดยมี “หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ” หรือ “พระพรหมมังคลาจารย์” อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ทำหน้าที่เป็นนักรบแห่งกองทัพธรรม ขับเคลื่อนหลักธรรมคำสอนเผยแพร่สู่สาธารณชนมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

    “หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ” ผู้ลาลับ ท่านถือเป็นหนึ่งในผู้มอบกายถวายชีวิตให้กับพระพุทธศาสนาอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยมีความมุ่งหมายในเกณฑ์ 2 ประการคือ ประการแรกเพื่อประกาศความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ และประการที่สองเพื่อทำลายความเห็นผิด และการกระทำที่ผิดๆ ในหมู่พี่น้องชาวพุทธทั้งหลายให้หมดไป

    [​IMG]
    ทุกวันอาทิตย์พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก


    ด้วย 2 หลักเกณฑ์ที่หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุพึงยึดถือและปฏิบัติมาโดยตลอด รวมถึงการประยุกต์ธรรมต่างๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจและเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่ได้ฟังธรรมของท่านได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจนกลายเป็นมหาศรัทธาของมหาชน

    หนึ่งในนั้นก็คือ ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในช่วงเมื่อปี พ.ศ.2492-2509 หรือบิดาแห่งชลกร หลังได้ฟังการแสดงธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้เกิดความเลื่อมใสวิธีการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จากเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรม แบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นอย่างมาก

    [​IMG]
    ผู้มาทำบุญใส่บาตรมีกันทุกเพศทุกวัย
    ทั้งมากันเป็นครอบครัวหรือจะมาคู่มาเดี่ยวก็ได้


    และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและวิธีการถ่ายทอดธรรมมะของหลวงพ่อปัญญานันทะ ม.ล.ชูชาติ และกรมชลประทานจึงได้มอบที่ดิน และสร้างวัดชลประทานรังสฤษฎ์แห่งนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502 ที่ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พร้อมได้อาราธนาหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นต้นมา

    หากใครได้มีโอกาสเข้าไปเยือนยังวัดชลประทานฯ แห่งนี้ จะรู้สึกได้ถึงบรรยากาศอันร่มรื่นร่มเย็นทั่วทั้งบริเวณวัด ด้วยต้นไม้น้อยใหญ่มากมาย หรือจะเรียกว่าวัดป่าก็คงจะได้ ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ถึง 48 ไร่ แต่ภายในกลับมีสิ่งปลูกสร้างเพียงน้อยนิดเพียงพอต่อการใช้งานเท่านั้น โดยสิ่งปลูกสร้างใหญ่ๆ ที่หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุได้สร้างไว้มีเพียง 3 สิ่งเท่านั้นคือ โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (สำหรับเด็กเยาวชน), โรงเรียนพุทธธรรม (สำหรับอุบาสกอุบาสิกา) และ กุฏิสี่เหลี่ยม เท่านั้น นอกนั้นเป็นบุคคลภายนอกสร้างให้ตามสมควรทั้งสิ้น

    [​IMG]
    อุโบสถเล็กๆ ใช้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์


    หากใครได้สังเกตก็จะเห็นอีกว่าวัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปเพียงไม่กี่องค์ เนื่องจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุไม่เน้นในเรื่องของวัตถุ หากแต่เน้นให้คนเข้าถึงคำสั่งสอนและปฏิบัติตามขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากกว่า ดังป้ายธรรมมะเตือนใจป้ายหนึ่งในหลายๆ ป้ายที่ติดไว้ตามต้นไม้ทั่วบริเวณวัดว่า

    “คนไหว้พระเท่าใดไม่ถูกพระ
    ไหว้เปะปะพระประดิษฐ์อิฐปูนปั้น
    ใจกระจ่างแจ้งธรรมที่สำคัญ
    พระจะพลันพบได้ในใจเรา”

    จากการยึดหลักความพอเพียงมาโดยตลอดการสร้างวัด อุโบสถของวัดแห่งนี้จึงเป็นเพียงอุโบสถเล็กๆ สีขาวตั้งอยู่หน้าวัด ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิเป็นพระประธาน อุโบสถแห่งนี้จะเปิดเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสังฆกรรมของสงฆ์ในวันธรรมดา และจะเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าไปกราบนมัสการพระประธานเฉพาะวันพระและวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ส่วนหน้าอุโบสถนอกเขตพัทธสีมาด้านซ้ายและขวามีต้นสาละลังกาและต้นเหลืองปรีดิยาธร ที่หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุได้ปลูกไว้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2547

    [​IMG]
    ต้นไม้ให้ข้อคิดมีอยู่ให้เห็นมากมายภายในวัด


    เมื่อเดินเข้าไปด้านในจะพบกับลานธรรมหรือลานหินโค้งใหญ่ ร่มรื่นด้วยแมกไม้ หากใครที่เคยไปวัดสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คงจะต้องคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี เพราะลานหินโค้งแห่งนี้ได้สร้างขึ้นเลียนแบบขึ้นมา เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.2480 หลวงพ่อปัญญาเคยไปจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม และได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับ ท่านพุทธทาสภิกขุ และท่าน บ.ช.เขมาภิรัต (พระราชญาณกวี อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร และอดีตเจ้าอาวาสวัดขันเงิน) เป็นสามสหายธรรมร่วมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ลานแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่ให้การแสดงธรรมภายในวัด เป็นแบบเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติ เช่นเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างศาลาอาคารต่างๆ ภายในวัดจึงมีอาคารเท่าที่จำเป็นแก่ศาสนกิจเท่านั้น

    ลานหินโค้งแห่งนี้ เดิมชื่อว่า ลานไผ่ หรือสวนไผ่ เนื่องจากตอนนั้นบริเวณนี้มีต้นไผ่เยอะ กระทั่งปีพ.ศ.2536 หลวงพ่อได้ไปจำพรรษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้รักษาการเจ้าอาวาทแทนหลวงพ่อได้เอาต้นไผ่ออกแล้วแทนด้วยต้นไทร เนื่องจากต้นไผ่มีใบร่วงเยอะต้องเก็บกวาดบ่อย และต้นไทรก็ให้ร่มเงาที่ร่มเย็นกว่าด้วย

    [​IMG]
    กุฏิสงฆ์ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติสมถะ


    เมื่อหลวงพ่อกลับมาเห็นความเปลี่ยนแปลง ก็ได้ถามหาต้นไผ่ ผู้รักษาการเจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงตอบไปว่า หลวงพ่อไม่อยู่ ต้นไผ่เลยหนีไปเที่ยว แล้วต้นไทรก็อยากมาอยู่กับหลวงพ่อแทน หลวงพ่อได้ฟังดังนั้นก็หัวเราะแล้วบอกว่าดี จะได้ร่มเย็น จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า “ลานหินโค้ง” ตามลักษณะของลานนั่นเอง

    ที่ “ลานหินโค้ง” แห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในทุกๆ วันอาทิตย์ เวลาประมาณ 07.00 น. ลานหินโค้งกว้างแห่งนี้จะเต็มไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมกันกิจกรรมทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม รายล้อมด้วยพระสงฆ์ที่นั่งรับบาตรอยู่บนอาสนะจำนวนหลายสิบรูป หากใครมาไม่ทันช่วงเช้าก็ไม่ต้องกังวล เพราะตั้งแต่เวลา 09.30 น. พระภิกษุสงฆ์ก็จะออกมาที่ลานหินโค้งอีกครั้งเพื่อรับบาตรฉันเพล บรรยายปาฐกถาธรรม ให้ศีลให้พร ถวายสังฆทานร่วมกัน จากนั้นพระท่านจะสวดมนต์พร้อมๆ กับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมธรรมอย่างพร้อมเพรียง หากใครที่สวดมนต์ไม่เป็นก็มีหนังสือบทสวดให้ได้ยืมกัน ส่วนวันจันทร์-เสาร์นั้นพระสงฆ์จะออกรับบาตร ณ ลานหินโค้ง ในเวลาประมาณ 07.00 น. เพียงรอบเดียวเท่านั้น

    [​IMG]
    บรรยากาศร่มเย็นเป็นธรรมภายในวัดชลประทานฯ


    ส่วนในบริเวณสวนป่าที่ร่มรื่นสงบใกล้ลานหินโค้ง ยังมีโต๊ะม้านั่งมากมายเพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาและปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งต้นไม้ให้ข้อคิด ซึ่งก็คือต้นไม้ที่ถูกปิดป้ายด้วยข้อคิดข้อธรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีรูปปั้น ม.ล.ชูชาติ กำภู ผู้สร้างวัด และไม่ไกลกันก็มีรูปปั้นหลวงพ่อปัญญา ให้ประชาชนได้เคารพกันด้วย

    นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนพุทธธรรม มีอุบาสกอุบาสิกา มาถือศีลอุโบสถปฏิบัติธรรมกันทุกวัน โดยมีพระภิกษุผลัดเปลี่ยนกันมาเทศนาแนะนำสั่งสอนเป็นประจำ อีกทั้งทางวัดได้จัดพระภิกษุคณะหนึ่งให้การศึกษาแก่เยาวชนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณวัดด้วย ซึ่งมีเยาวชนให้ความสนใจมากมาย อีกทั้ง ยังมีศูนย์จำหน่ายหนังสือธรรมะ รวมถึงเทปและซีดีธรรมะต่างๆ ให้ชาวพุทธได้เลือกสรรนำไปศึกษาปฏิบัติต่อไป

    [​IMG]
    แม้จะหมดช่วงเวลาตักบาตรฟังธรรมแล้ว
    ก็ยังสามารถปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิกันได้ทุกเมื่อ


    ณ เวลานี้ แม้หลวงพ่อปัญญาจะลาลับไปจากวัดชลประทาน แต่ว่าหลักธรรมคำสอน เจตนารมณ์ ความมุ่งหมาย รวมสิ่งที่นักรบแห่งกองทัพธรรมท่านนี้ปฏิบัติ ยังคงอยู่ในจิตใจของชาววัดชลประทานทุกคน รวมถึงยังคงอยู่ในจิตใจของชาวพุทธส่วนใหญ่ไปตลอดกาล

    “การสร้างพระคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด วิเศษที่สุด ก็คือคัมภีร์ธรรมที่อยู่ในใจของเรา เอาร่างกายเป็นตู้ใส่คัมภีร์ เอาใจเป็นที่จารึกพระคัมภีร์ จารึกไว้ในใจตลอดเวลา”

    [​IMG]
    ประชาชนยังคงเดินทางมาเคารพสรีระสังขารหลวงพ่อปัญญาอย่างต่อเนื่อง


    เว็บไซต์วัดชลประทานรังสฤษฎ์
    <!-- m -->Ǒ??ŻÐ?ҹÑ?ʄɯ젮.. ਃԭ?à?ء样蒹<!-- m -->
    <!-- m -->˅ǧ?荻ѭ?ҹ?ѹ????ؠ(?Ð?٩͘?Ԉ?ՇԵྗ荈Ҋ?Ң?Ԡ˹素˹ר͂)<!-- m -->
    <!-- m -->Watpanyanantaram<!-- m -->
    <!-- m -->scratch cards free internet calls at watpanya.org<!-- m -->
    <!-- m -->Panyanandha amtadham OnlinE 2002<!-- m -->
    <!-- m -->http://www.panya.iirt.net/watpanya/<!-- m -->

    [​IMG]
    พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)

    [​IMG]
    พระเทพปริยัติเมธี (รุ่น ธีรปญฺโญ)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1551" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??ŻÐ?ҹÑ?ʄɮ젨.????؃զlt;/a><!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาพระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)

    รวมคำสอนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
    <!-- m -->?Ã?ѡà>> ?ӊ͹?ҡ?Ù?ҍҨ҃¬<!-- m -->

    รำลึกหลวงพ่อปัญญา ที่ “วัดชลประทานรังสฤษฎ์”
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ÓŖ?˅ǧ?荻ѭ?Ҡ?ը ?Ǒ??ŻÐ?ҹÑ?ʄɮ씦lt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วัดสนามใน
    เลขที่ 27 หมู่ 4 ต.วัดชลอ
    อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
    โทรศัพท์ 02-883-7251, 02-429-2119
    โทรสาร 02-883-7275

    หลวงพ่อทอง อาภากโร เจ้าอาวาส

    วัดสนามใน มีแนวการปฏิบัติแบบ “การเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน 4” แนวของ “หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ” โดยเน้นสติสัมปชัญญะในอิริยาบถต่างๆ มีรูปแบบของการเดินจงกรม การทำจังหวะมือ และการทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น

    [​IMG]

    หลวงพ่อเทียนกับวัดสนามใน

    “วัดสนามในนี้ เริ่มแรกอาตมามาจำพรรษาที่วัดชลประทาน ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องกรรมฐานที่วัดชลประทาน เจ้าคุณปัญญาพร้อมด้วยเจ้าคณะจังหวัดเลย และคณะสงฆ์อื่นๆ ลงมติให้อาตมามาจำพรรษาที่วัดชลประทาน เมื่อมาจำพรรษาที่วัดชลประทาน ก็ปรากฏว่ามีโยมคนหนึ่ง คือคุณวิโรจน์ ศิริอัฐิ และมหาสุขสันต์ เล่าเป็นประวัติเรื่องวัดสนามในนี้ เป็นวัดร้างมา ไม่มีพระ ไม่มีเณร รกรุงรัง ใครมาก็กลัวว่ามีผี มีอะไรต่างๆ ไม่มีคนเข้ามา เมื่อได้พูดตกลงกันแล้ว อาตมาก็ให้ลูกศิษย์หลายท่านเข้ามาอยู่ที่ตรงนี้

    ทีแรกอาตมาก็ยังมาไม่ได้ เพราะยังมีการเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดชลประทาน ก็ต้องจำพรรษาที่วัดชลประทานอีก ๑ ปี พร้อมกันทั้ง ๒ ปี ปีแรก กับปีที่ ๒ ก็เลยมาจำพรรษาที่ตรงนี้ เมื่อมาจำพรรษาที่ตรงนี้ ก็อยากให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เพราะว่าวัดต่างๆ นั้นมีการก่อสร้างวัตถุกันมาก เช่น โบสถ์ เจดีย์ อะไรต่างๆ นั้นสร้างกันมากแล้ว ที่วัดสนามใน ไม่ต้องสร้างอะไรให้มาก เพราะว่าเราจะดูธรรมชาติ ต้นไม้ หรือใบไม้ พื้นดินมันทำประโยชน์อะไรให้คนได้ เมื่อเรามาศึกษาที่ตรงนี้ ก็พร้อมๆ กันกับลูกศิษย์หลายท่าน ได้ตกลงกันเอาไว้ว่า ไม่ต้องสร้างอะไรมาก เพียงมีกุฏิเล็กๆ นอน แล้วก็พอกันแดดกันฝนเล็กๆ น้อยๆ เมื่อตกลงกันเช่นนั้น ก็ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่บัดนั้นมา จนถึงบัดนี้ เมื่อถึงตอนนี้ก็ยังคงที่ พื้นที่ก็ยังเหมือนเดิม เป็นอย่างนั้น

    ดังนั้น วัดนี้จึงเป็นสถานที่ปฏิบัติ ทุกคนมาปฏิบัติได้ วิธีปฏิบัติธรรมะก็ไม่เหมือนกันกับที่อาจารย์อื่นๆ ที่สอนกันมาวิธีที่อาจารย์อื่นๆ ที่สอนกันมานั้น ตัวของอาตมาเองหรือตัวของผมเองก็เคยปฏิบัติมาไม่น้อย ระยะเมื่อเป็นโยมอยู่ เคยรักษาศีลเคยให้ทาน เคยทำกรรมฐานมา แต่ไม่รู้ว่าให้ทานคืออะไรรักษาศีลคืออะไร ทำกรรมฐานคืออะไรไม่รู้ เพียงทำตามครูอาจารย์มาเท่านั้นไม่เกิดสติ ไม่เกิดปัญญา ไม่เห็นแจ้ง ไม่รู้จริง

    ที่วัดสนามใน ความเป็นอยู่ของพระเณร ตอนเช้า ตีสี่ ต้องตีระฆัง ทำวัตรเช้า พอดีทำวัตรเสร็จ ก็อบรมกันน่ะ ให้โอวาทแนะนำแนวปฏิบัติกันภายใน ๓๐ นาที หรือ ๒๐ นาที แล้วแต่โอกาสที่จะเหมาะสม เมื่อให้โอวาทพอเหมาะพอควรแล้ว ก็ออกไปบิณฑบาต เมื่อไปบิณฑบาตมาแล้ว อาหารตกใส่บาตรมาทุกคน แม้ปัจจัยก็ตาม โดยมากคนกรุงเทพชอบมีปัจจัยใส่ในบาตร ไม่เหมือนกับอย่างที่บ้านนอก อย่างที่ชนบทบ้านนอกไม่ค่อยมี คนกรุงเทพต้องมีสตางค์ มีซอง มีซองปัจจัยมาใส่ในบาตร เมื่อมาถึงก็เก็บออกให้หมด เก็บปัจจัยออกในบาตรอาหารเก็บออกในบาตร มีกะละมังคอยรับไว้ แล้วคนหนึ่งก็คอยเก็บเอาอาหารจากกะละมังมาไว้ให้เป็นล้อ ยู้ไป (ผลักไป) แน่ะ...แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งก็เอาไว้กิน-ฉันกลางวัน ส่วนนึงก็เอาไว้ฉันตอนเช้า เสร็จแล้วต้องตีระฆังสัญญาณ พระเณรก็เดินมาฉัน เมื่อฉันแล้วพระเณรก็ไปล้างถ้วยล้างจานเอาเอง ล้างบาตรตัวเอง มันเป็นอย่างนั้น แล้วก็มาทำธุระหน้าที่ของตัวเองปฏิบัติตัวเอง รู้ตัวเอง เข้าใจตัวเอง ต้องมีหน้าที่อย่างนั้น

    ตอนกลางวันก็เหมือนกัน ตอนเช้าก็เหมือนกัน...ตอนเย็นบัดนี้ เวลาตีสี่ เอ้อ...เวลาสี่โมงหรือห้าโมง ก็ต้องตีระฆัง ทำวัตรเย็นกัน เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ก็จะมีการอบรมกัน ให้ข้อคิดเตือนจิตสะกิดใจกัน เพื่อให้รู้ ให้ปฏิบัติ แต่ไม่ใช่จะมาเล่นๆ แต่โดยมากวัดสนามในไม่เดือดร้อน เพราะว่าไม่มีอติเรกลาภมาก ไม่มีคนอยากเข้ามาอยู่ มาอยู่ก็เฉพาะบุคคลที่ต้องการปฏิบัติจริงๆ ปฏิบัติเพื่อรู้ คนที่ไม่อยากรู้ ก็มาอยู่ลำบากลำบน รำคาญ เอ้า...ไม่อยากอยู่ ดังนั้น ที่มาอยู่น้อยๆ อย่างที่ร่มไม้ ต้นไม้ มันเป็นธรรมชาติของมันแล้วเราก็มาศึกษากับธรรมชาติได้ หลักพุทธศาสนารวมลัดๆ สั้นๆ จับใจความได้ทันที” (คัดจากแถบบันทึกเสียง รหัสท.๑๙)

    [​IMG]
    หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดสนามใน
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=394" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ?ʹҁ㹠?.????؃զlt;/a><!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7701" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?荠?Ղ? ?Եڵʘ…lt;/a><!-- m -->

    รวมคำสอนหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m -->?Ã?ѡà>> ?ӊ͹?ҡ?Ù?ҍҨ҃¬<!-- m -->

    เสียงธรรมบรรยายหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/thien.php" target=_blank>?§?Ã?Ò - ˅ǧ?荠?Ղ? ?Եڵʘ†:: ?Ã?ѡælt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์พ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m -->http://www.lungporteean.com/<!-- m -->
    <!-- m -->http://se-ed.net/theeranun/<!-- m -->
    <!-- m -->˅ǧ?荠?Ղ?<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดป่ามณีกาญจน์
    เลขที่ 67/3 หมู่ 3 ถ.บางม่วง-บางคูลัด (สาย 1)
    ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
    โทรศัพท์ 02-449-2234 โทรสาร 02-449-2096


    พระครูภาวนาสุทธาจาร (พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ) ประธานสงฆ์

    พระอาจารย์อำนวย จิตตสังวโร เจ้าอาวาสวัดป่ามณีกาญจน์


    พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ โทร. 081-375-7222
    พระอาจารย์อำนวย จิตตสังวโร โทร. 086-069-8893


    วัดป่ามณีกาญจน์ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร โดยเป็นวัดป่าปฏิบัติที่ตั้งอยู่ชานเมืองไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก สถานที่มีความร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างยิ่ง วัดป่ามณีกาญจน์ มีการจัดปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนา และจัดโครงการเกี่ยวเนื่องมากมาย อาทิเช่น โครงการอุปสมบท บรรพชา บวชเป็นผ้าขาว บวชชีพราหมณ์ และบวชเนกขัมมะ ในวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญของชาติ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ตลอดจน โครงการหนึ่งบวกหนึ่งได้สาม โดยนำบุตรหลาน เด็ก เยาวชน และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดอายุและการศึกษา มาร่วมปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาคฤดูร้อน

    [​IMG]

    ประวัติการสร้างวัดป่ามณีกาญจน์

    สืบเนื่องจากเมื่อช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2545 คราวเตรียมงานฉลองเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน ได้รับมอบหมายจากคณะทำงานคราวนั้น ให้รับหน้าที่ติดต่อประสานงานทั้งระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และองค์พระเถรานุเถระที่เมตตารับนิมนต์มาร่วมพิธีในคราวนั้น

    ในการนี้พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ ต้องเดินทางระหว่างจังหวัดกาญจนบุรีกับจังหวัดอุบลราชธานีบ่อยครั้ง อีกทั้งยังต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านจึงต้องพำนักพักแรมในกรุงเทพฯ ด้วยเหตุความจำเป็นในการที่จะต้องพักแรมในกรุงเทพฯ นี้เอง ท่านพิจารณาเห็นว่าสถานที่พักที่เหมาะสำหรับพระภิกษุสามเณร สังกัดธรรมยุต ในกรุงเทพฯ นั้นมีไม่เพียงพอกับจำนวนพระภิกษุสามเณรที่มีความจำเป็นต้องมาพักแรม ทั้งกรณีอาพาธต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือมีกิจนิมนต์ ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล หรือจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งสถานที่พักส่วนใหญ่ไม่สะดวกในการรักษาข้อวัตรปฏิบัติให้สมบูรณ์ ท่านจึงได้ปรารภเรื่องนี้ในหมู่ลูกศิษย์ของท่าน

    เวลานั้นลูกศิษย์ท่านหนึ่ง ทราบความประสงค์อันกอปรด้วยกุศลเจตนาของพระอาจารย์สาคร จึงนำความไปปรึกษากับกลุ่มญาติ ซึ่งมีที่ดินอยู่ ณ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จำนวน 9 ไร่ 2 งาน ที่ซื้อมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว กลุ่มญาติทั้งหมดอันประกอบด้วย ม.ร.ว.วรรณี มณีกาญจน์, นายสันติ มณีกาญจน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลยและจังหวัดหนองคาย, นางสาวชูพักตร์ มณีกาญจน์, นางบุญล้อม มณีกาญจน์ และลูกๆ ของนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรถวายที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อก่อสร้างวัดในสังกัดธรรมยุต เพื่อเป็นสถานที่พักปฏิบัติธรรมและประกอบศาสนกิจในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป ซึ่งพระอาจารย์สาครได้ให้ชื่อวัดแห่งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กุศลธรรมของญาติโยมที่มีจิตศรัทธาถวายที่ดินว่า “วัดป่ามณีกาญจน์” การดำเนินการก่อสร้างจึงได้เริ่มขึ้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 โดยรวบรวมจตุปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธา ภายในวัดมีเสนาสนะ อาทิเช่น ศาลาเอนกประสงค์ ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร และกุฏิที่พักสงฆ์ ขนาดกว้าง 2.5 เมตร ยาว 3 เมตร เป็นต้น

    [​IMG]

    ครั้นต่อมา พระอาจารย์สาครได้กราบปรึกษา หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เรื่องการขยายเนื้อที่ของวัดป่ามณีกาญจน์ เพื่อให้เพียงพอแก่การสร้างที่พัก ทั้งของพระภิกษุสงฆ์และฆารวาส ตลอดจนคนขับรถ พร้อมทั้งที่จอดรถที่สามารถจุรถได้มากเพียงพอแก่การใช้งานจริง โดยเฉพาะพ่อแม่ครูบาอาจารย์จากทุกจังหวัด จะได้รับความสะดวกใช้เป็นสถานที่พำนักอาศัยและปฏิบัติธรรม ทั้งในกรณีที่ท่านเดินทางเข้ามาเพื่อประกอบศาสนกิจหรือรักษาอาการอาพาธ อีกทั้ง ยังเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุอันอาจจะเกิดขึ้นแก่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ในกรณีที่คนขับรถไม่มีที่หลับที่นอน ทำให้เกิดเหตุคนขับรถหลับในได้ ตลอดจนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ศรัทธาญาติโยมที่สนใจการปฏิบัติธรรม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งในการนี้หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ รับเป็นประธานสงฆ์

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2547 คณะศิษยานุศิษย์และคณะศรัทธาญาติโยมได้ร่วมกันจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อขยายเนื้อที่ของวัด อีกจำนวน 15 ไร่ ดังนั้น ปัจจุบันเนื้อที่ของวัดป่ามณีกาญจน์ จึงมีรวมทั้งหมดจำนวน 24 ไร่ 2 งาน

    การเดินทาง :

    ไปทางถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เลยทางแยกเข้าถนนราชพฤกษ์ และห้างสรรพสินค้าโลตัส ไปประมาณ 300 เมตร มีทางแยกซ้ายมือ เป็นทางแยกเข้าโรงเรียนเปรมประชากร ขับเข้าไปในซอยประมาณ 100 เมตร จะเจอ 3 แยก แล้วเลี้ยวซ้าย จากนั้นตรงไปตามถนนประมาณ 4 กิโลเมตร วัดป่ามณีกาญจน์อยู่ซ้ายมือ ทางเข้าสะดวก

    [​IMG]
    พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดป่ามณีกาญจน์
    <!-- m -->::
     
  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    ศาลาปฏิบัติธรรม วัดละหาร จ.นนทบุรี
    ............................................................................


    วัดละหาร
    เลขที่ 17 หมู่ 2 บ้านบางบัวทอง
    ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110
    โทรศัพท์ 02-571-7415, 02-920-3709,
    02-920-1315, 08-1403-1798

    พระราชนันทมุนี (หลวงพ่อสำรวย อาภากโร)
    เจ้าอาวาสวัดละหาร และรองเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี

    วัดละหาร เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
    ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    วัดละหาร เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย มีความสำคัญดังนี้

    1. สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ 1
    กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

    2. วัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2535

    3. หน่วยอบรมประชาชน ประจำตำบลโสนลอย

    4. โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดละหาร

    5. ศูนย์สงเคราะห์พุทธมามกะ

    [​IMG]
    พระราชนันทมุนี (หลวงพ่อสำรวย อาภากโร)
    ............................................................................


    ทางวัดละหารมีการจัดโครงการเข้าค่ายปฏิบัติธรรม อบรมจริยธรรม ศีลธรรม ให้แก่ข้าราชการ-พนักงานเอกชนตามหน่วยงานต่างๆ รวมทั้ง จัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับบุคคลทั่วไปและสำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ใน โครงการอบรมพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ของ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย มีระยะเวลาการฝึกในแต่ละคอร์ส 7 คืน 8 วัน (จัดช่วงระหว่างวันที่ 13-20 ของเดือนมกราคม และวันที่ 11-18 ของเดือนมิถุนายน ของทุกปี) ตลอดจน จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดทั้งปี

    นอกจากนี้แล้ว ทุกวันพระและวันพฤหัสบดี พระราชนันทมุนี (หลวงพ่อสำรวย อาภากโร) เจ้าอาวาส จะนำพาสาธุชนปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ไหว้พระ ช่วงเย็นหลังเลิกงาน ระหว่างเวลา 18.00-20.00 นาฬิกา ณ ศาลาปฏิบัติธรรม และพระอุโบสถ วัดละหาร

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=9&t=18573
     
  6. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...