สมาธิ-วิปัสนา-โสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย noom8a, 23 กันยายน 2014.

  1. noom8a

    noom8a เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +226
    อยากทราบว่่าสมาธิเป้นฐานของวิปัสนาใช่ไมีครับ
    ถ้าเราวิปัสนาผ่านแล้วได้((โสดาบันแล้วสมาธิไม่จำเป็นไช่ไม๊ครับ
    เห็นหลายท่านบอกไปนอนทำไมเราไม่เข้า เราไปทำอย่างอื่นดีกว่าไม๊กินเหล้า
    กับเพื่อนหลีหญิงในเมือ่เราไม่เกาะไม่ไล่ไม่เหนี่ยลั้งแล้วไช่ไม๊ครับทำอะไรก็ทำไปนั่งสมาธินอนทำไมตังก็ไม่ได้ผมคิดแบบนี้ถูกไมีครับ:cool:
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผมว่า วิปัสนา ยังไม่ผ่านแน่ๆ ครับ จขกท

    เป็น โสดาเดา คิดเองเออเอง จัดตั้งเอง มากกว่านะ ไม่ได้เป็น อริยเจ้า แน่ๆ ครับ


    ไม่เชื่อ ก็ ลองถามตัวเองดูว่า จิตเป็นสมาธิขั้นไหน ระดับไหน ผ่าน วิปัสนาผ่านแล้ว ผ่านยังไง กรรมฐานกองไหนละครับ

    คำตอบอยู่ในคำถามนี้แล้วละ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สมาธินั้นไม่ว่าจะทำกุศลหรืออกุศลต้องใช้สมาธิเป็นฐานทั้งนั้นแหละครับ

    ส่วนที่จะเจริญวิปัสสนาก็ใช้ขณิกสมาธิเป็นบาทฐาน
    ถ้าเป็นอุปจาระสมาธิ กับอัปนาสมาธิไม่ได้ จะเป็นสมถกัมมฐาน

    การเจริญวิปัสสนากรรมทำได้ทุกกิริยาบท มี ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2014
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ...............อยู่ที่ว่า เข้าใจ คำว่า สมาธิคืออะไร?..คือความตั้งมั่นของจิตใช่หรือไม่?...สร้างเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิได้หรือไม่....จิตที่ปราศจากนิวรณ์ ทำไม ถึงเกิดสมาธิ...คนคนนึง จะมีจิตตั้งมั่น ในทุกขณะ ในชีวิตประจำวัน มีลักษณะแบบใหน....ส่วนตัวผมคิดว่า ทั้งหมดนั้นเป็นสมาธิ...เมื่อเข้าใจลักษณะของ คำว่า จิตตั้งมั่น แล้ว มัน จะไม่ค่อยมีปัญหา กับคำว่า "รูปแบบ"เพราะ คุณ เห็น คุณประโยชน์ที่แท้จริงของมัน และ รู้จักมันดี ขึ้น ..:cool:ในเมื่อ องค์ธรรมของ สมาธิ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข อุเบกขา...เมื่อรู้รสของมันจริงจริง เมื่อ นั้น คุณจะเลือกเองแหละว่า สมาธิมันมีประโยชน์อย่างไร...มันคืออะไร มันนำพาไปสู่อะไร ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  5. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    เออ ผมเคยเจอเพื่อนคนหนึ่ง ชื่อโดเรมอน อยู่ที่ ชัยภูมิ เขาบอกว่า ทุกเช้าทุกเย็น เขาต้องนั่งเข้าสมาธิเพื่อ ลบ เพื่อทำความสะอาดจิตของเขาน่ะครับ ไม่ว่าจะไปทำอะไรมา ก็ต้องมานั่งลบ ออก ทุกวันน่ะ ประมาณว่าล้างกรรม ในแต่ละวันน่ะ

    เอ ความคิดแบบนี้ ดีจริงหรือเปล่านะ หรือเพียงแค่หลอกตนเองและเอามาหลอกคนอื่นไปวันวัน นะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2014
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ...............เขาทำเพื่อ สัมผัส ความสุขแหละ...แต่ คงล้างกรรมไม่ได้ นะผมว่า:cool:
     
  7. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    พระโสดาบันควรได้อัปปนาสมาธิหรือฌาณ 1 ปฐมฌาณ
     
  8. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    คุณใช้คำว่าอุเบกขา ผมสงสัยครับ บางตำราใช้คำว่าเอกคตาอันเดียวกันหรือเปล่า
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อุเบกขา คือ เวทนา "วางเฉย" เอกัคคตา คือตัว สมาธิ "ตั้งมั่น" ทั้งสองต่างกัน
     
  10. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    เอกัคคตา ไม่ได้เป็นองค์ฌานโดยตรงครับ
    แต่เป็นตัวกำกับว่า ไม่เกินเลยอันที่มี
    เช่น ฌาน 1 นั้นมีอารมณ์ วิตก วิจาร ปีติ สุข 4 ตัว และ เอกัคคตาคือ การไม่รั่วไหลมีอารมณ์เพียง 4 อย่างนี้ คือ วิตก วิจาร ปีติ และสุขล
    ส่วนทำไมเขาถึงไม่เขียนว่าเอกัคคตา
    เข้าใจว่า เขาเอาอารมณ์ฌาน 4 มารวม
    ในฌาน 3 จะเหลืออารมณ์ สุข เพียงอารมณ์เดียว คือเอกัคคตาในสุข ไม่รั่วไหล ไม่มีอารมณ์ือื่น
    พอมาถึงฌาน 4 สุขมันก็หายไป กลายมาเป็น อุเบกขา คือเอกัคคตาในอุเบกขา วางเฉย ไร้อารมณ์ ไม่รับรู้

    เดิมควระจะเป็นองค์ฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา
    แต่เขาคงไปรวมฌาน4 เอามาแต่ตัวอารมณ์ เลยได้มาเป็น วิตก วิจาร ปีติ สุข และ อุเบกขา นั่นเอง
     
  11. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    เอกคตา หมายถึง รู้ในอย่างเดียว เพียงหนึ่งเดียว เช่นรู้ลม เข้าออก
    ต่อมา รู้ ลมหาย
    ต่อมา รู้ กาย
    ต่อมา รู้กายหาย

    พอกายหาย สว่างจ้าแทน คำว่า อุเบกขาคือ เมื่อสงบจากลมจากกาย คืออุเบกขาจากลมจากกาย แต่ยังไม่อุเบกขาจากรู้ ยังเป็นเอกคตา ในรู้สว่างจ้าอยู่
     
  12. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ถ้าจิตไปเกาะรูปผลลัพท์เป็นอุเบกขาครับ เหมาะกับคนธรรมดาที่สุดแล้วผมว่านะ ถ้าไปอยู่กะอีก 3 ฐานที่เหลือ จิตมันผูกติดอารมณ์ได้ง่าย มันเสี่ยง ฉะนั้นเกาะกายผลข้างเคียงน้อย ส่วนตอนจะตัดสิน อุเบกขานี้กะอุเบกขาสัมโพฌงค์ คนละตัวครับ

    อาศัยจิตเกาะรูป ให้จิตมันตั้งมั่น เหมือนน้ำขุ่นให้มันตกตะกอนก่อน พอตกตะกอนน้ำใสจะได้เห็นกุ้ง หอย ปู ปลา(ธรรมตามความเป็นจริง)
     
  13. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    สติปัฏฐาน นี่ เขาไม่ได้พูดว่า สติไปเกาะกายนะครับ

    ใช้ภาษาผิดอีกแล้วนะ ทำไมต้อง เปลี่ยนแปลงภาษาที่ใช้ด้วยล่ะ :cool:
     
  14. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    เป็นวิหารธรรมน่ะครับ
     
  15. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    อ๋อ ต้องจบหลักสูตรวิชา จุงเบย ซะก่อน พอมาอ่านถึงจะเข้าใจในภาษาที่คุณใช้ว่างั้นเถอะ

    ชอบทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก เน๊าะ
    อย่าลีลามากมายหลายเหตุผล
    อย่ามากกลมากเหลี่ยมเทียมเท็จหลง
    พูดซื่อๆเว้าง่ายๆบอกตรงๆ

    หรือท่านคงทำไม่ได้ เพราะง่ายๆทำไม่เป็น เหรอ จ๊ะ
     
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ถือศีล 5 ได้ดีก็เป็นพระโสดาบันได้
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สักกายทิฏฐิที่ว่าถือกายเป็นตนถือใจเป็นตนนั่นล่ะสักกายทิฏฐิ ละได้ก็ด้วยปัญญาว่ากาย-ใจ ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา
     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สติปัฐฐาน 4 ในส่วนของธรรมานุปัสนาวิปัสสนากรรมฐานหมายความว่า ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา มีตัวอย่างสภาวะของอนัตตามาฝาก ท่านๆลองบี้ดิน บี้น้ำ บี้ลม บี้ไฟ ( ความร้อนที่กายเรา ) จะเห็นว่ามันไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน นั่นล่ะอนัตตา
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    สมาธิเป็นฐานของวิปัสสนา

    - ใช่ จะทำอะไรให้สำเร็จผลต้องอาศัยการมีสมาธิทั้งนั้น

    ถ้าเราวิปัสสนาผ่านแล้ว

    - ผ่าน แปลว่า จบกิจ ถ้าไม่จบกิจแปลว่ายังไม่ผ่าน

    ประเด็นสุดท้ายนั้นก็มีคนเข้าใจแบบนั้นจริง ๆ เหมือนกัน

    - นั่นเพราะยังไม่เห็นแจ้งในทุกข์ที่แท้จริงนั่นเอง วิบากกรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มากน้อยไม่เท่ากัน เอาใครเป็นเกณฑ์ใครก็ไม่ได้ วิบากกรรมของแต่ละคนที่มีอยู่นั่นแหละจะเป็นตัวชักนำไปเอง ให้ไปเรียนรู้ทุกข์ในส่วนที่ยังติดค้างอยู่นั้นก่อน ไปแก้ไปคลายความเห็นผิดในส่วนนั้นให้หมดเสียก่อน หายสงสัยหายโง่แล้วจึงค่อยมาพิจารณาเห็นทุกข์ตามความเป็นจริงได้ ค่อย ๆ ปลดโซ่ทางใจไปทีละเปราะ ๆ นั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...