สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในพิธีกล้าไม้มงคล “ต้นกล้าจิตอาสา รวมพลังศรัทธา...

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8b1e0b887e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b897e0b8a3e0b887e0b980e0b89be0b987.jpg

    ปัจจุบันเราจะพบว่าป่าไม้ในบ้านเราลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 พื้นที่ป่าไม้ของประเทศเหลืออยู่ราว 171 ล้านไร่ จนมาถึงปี พ.ศ. 2536 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้รวมทั้งประเทศ ประมาณ 83.47 ล้านไร่

    แม้รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกสัมปทานทำไม้ในพื้นที่ป่าบกทั้งหมด แต่ก็ไม่เป็นผลนัก เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างไม่มีประสิทธิภาพในอัตราที่สูงมาก ส่งผลให้ป่าไม้ของประเทศไทยเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ แต่อีกหนทางหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ที่ได้ผลดีก็คือ การปลูกป่า

    b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8b1e0b887e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b897e0b8a3e0b887e0b980e0b89be0b987-1.jpg

    ปตท. และภาคีเครือข่าย อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ศปทส.ตร.) จึงร่วมจัดกิจกรรม “ต้นกล้าจิตอาสา รวมพลังศรัทธา ปลูกป่าทั่วแผ่นดิน” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ที่ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช พุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทั้งประเทศ เป็นองค์ประธานในพิธีประทานกล้าไม้มงคล 6 ชนิด เพื่อนำไปปลูกในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย

    อีกทั้งการปลูกป่าครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในมงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา ในปี 2560 และให้ผู้ร่วมปลูกป่าได้รับรู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าที่กำลังจะหายไป

    การปลูกต้นไม้ในป่านั้น ถึงแม้จะใช้เวลานาน แต่จะเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าในอนาคตพื้นที่และร่มเงาของต้นไม้ที่ได้ร่วมกันปลูกจะสร้างพื้นที่และฟื้นฟูป่าได้อย่างมหาศาล โดยต้นไม้ทั้ง 6 ชนิดนั้น เป็นต้นไม้ยืนต้นสูงใหญ่มงคลและเป็นที่นิยม

    ต้นไทร เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เจ็ดวันขณะเสวยวิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้น) ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์ทุกชาติ แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าธิดามาร 3 ตน ได้มาประโลมพระองค์ ด้วยเสน่ห์กามคุณต่างๆ นานา พระองค์กลับไล่ไปเสียแสดงถึงบุคลิกลักษณะอันประเสริฐของผู้ชนะตนได้แล้ว จะไม่ยอมกลับเป็นผู้แพ้อีก

    ต้นราชพฤกษ์ ไม้ยืนต้นที่สูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกต้นอ่อนมีลักษณะเรียบ สีเทาแกมเขียว ต้นที่มีอายุมากเปลือกแตกสะเก็ดเป็นสี่เหลี่ยม สีน้ำตาล ต้นเล็กแตกกิ่งในระดับล่าง เมื่อต้นใหญ่ลาต้นสูง แตกกิ่งมากบริเวณส่วนยอด ใบ เป็นใบช่อสีเขียวเป็นมัน มีใบย่อยรูปป้อมๆ หรือรูปไข่ 3-6 คู่ เป็นต้นไม้ประจำชาติ ที่มีสีเหลืองอร่ามเต็มต้น

    b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8b1e0b887e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b897e0b8a3e0b887e0b980e0b89be0b987-2.jpg

    ต้นโพธิ์ พบตามอาคาร และนิยมปลูกตามวัด เป็นต้นไม้สำคัญในศาสนาฮินดูและพุทธ เป็นต้นไม้ที่เป็นสหชาตกับพระพุทธเจ้าคืออุบัติขึ้น ในโลกในวันเดียวกับที่ทรงประสูติ และเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับและตรัสรู้ เป็นสัญลักษณ์ของโพธิญาณหรือปัญญาตื่นรู้

    ต้นรวงผึ้ง จัดเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบบริเวณป่าดิบเขา และเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 อีกด้วย
    ต้นประดู่ป่า ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าองค์ที่ 20 พระนามว่า พระติสสพุทธเจ้าประทับตรัสรู้ อีกนัยหนึ่ง เป็นต้นไม้ต้นแรกที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

    ต้นพะยูง ไม้ยืนต้น สูง 15-30 ม. กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนละเอียด ใบในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบมากทางภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง พะยูงเป็นไม้ที่มีราคาสูง เป็นไม้มงคลตามความเชื่อของคนไทย ที่ว่าบ้านใดปลูกจะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ ชีวิตไม่ตกต่ำ

    การดำเนินงานด้านปลูกป่า และสร้างพื้นที่สีเขียว เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและลดภาวะโลกร้อน ถือเป็นภารกิจที่ ปตท.ร่วมกับหน่วยงานภาคีทั้งภายในและภายนอก เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืนระยะยาว

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/advertorial/news-33958
     

แชร์หน้านี้

Loading...