สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ กับการตามรอยเบื้องพระบุคลบาท

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 16 กันยายน 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    [​IMG]





    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ กับการตามรอยเบื้องพระบุคลบาท โดย ดร.เอมอัชฌา พงศ์พรรณภาณุ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญและทรงมีความสุขทุกครั้งที่ช่วยเหลือประชาชน ดังพระราชดำรัสความว่า “ ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้นอกจากมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น…”


    ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ด้วยพระวิริยะอุตสาหะในการทรงงาน เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพอนามัย ทั้งของผู้ป่วยโรคมะเร็งในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ผู้ป่วยโรคลมชักในศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และผู้ป่วยในถิ่นทุรกันดาร ในมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ทรงเสียสละและทุ่มเทพระวรกายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทย ทั้งยังทรงนำความสำเร็จ และเกียรติยศชื่อเสียงในระดับโลก จากงานค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มาสู่ประเทศไทยอีกเป็นอันมาก

    ด้วยพระเมตตาที่มีต่อผู้ป่วยโรคลมชัก ทรงรับโครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2541 และในปี 2548 มีพระประสงค์ให้รักษาผู้ป่วยโรคลมชักให้หายขาดด้วยการผ่าตัดเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยทรงเห็นผลสัมฤทธิ์ของการรักษา อันทำให้ผู้ป่วยได้รับชีวิตใหม่ที่มีคุณภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายงานโรคลมชักยังศูนย์โรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ชั้นที่ 12 และ 14

    [​IMG]

    ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปี ที่ผ่านมา โครงการฯ ได้พัฒนาวิทยาการโรคลมชักและผลการผ่าตัดจนก้าวหน้าเท่าเทียมศูนย์โรคลมชักในประเทศตะวันตก มีผู้ป่วยโรคลมชักจากทุกภาคของประเทศไทยมาเข้าโครงการฯ เป็นจำนวนกว่า 4,000 คน โดยขณะนี้ศูนย์ฯ สามารถผ่าตัดผู้ป่วยได้ 80-100 คนต่อปี การผ่าตัดผู้ป่วยให้หายขาดจากโรคลมชักจึงเป็นมิติใหม่ของการรักษาโรคลมชักในประเทศไทย

    ในวโรกาสอันเป็นมงคลวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 4 ก.ค. 2553 พระองค์ได้พระราชทานพระวโรกาสให้คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและผู้มีอุปการคุณของศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมูลนิธิเทียนส่องใจ เพื่อคนไข้โรคลมชัก เข้าเฝ้าถวายพระพร ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันเสาร์ที่ 24 ก.ค. 2553

    ท่ามกลางความปลื้มปิติของคณะทำงานศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยเหล่าผู้ป่วยโรคลมชักที่ได้รับพระราชทานชีวิตใหม่หลังการผ่าตัด ตลอดจนผู้มีอุปการคุณต่อศูนย์โรคลมชักทุกท่าน ต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมถวายพระพรชัยมงคล ถวายช่อดอกไม้ และบทกลอนสดุดีอันไพเราะซึ่งประพันธ์โดยผู้ได้รับชีวิตใหม่ ด้วยความสำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และวงดนตรีอังกะลุง ของคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ พร้อมใจบรรเลงเพลงถวายพระพร และพระราชทานพระวโรกาสให้ผู้ป่วยโรคลมชักที่ได้รับพระราชทานชีวิตใหม่ มีโอกาสเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด พระเมตตาธิคุณครั้งนี้จะเป็นความทรงจำที่ประทับอยู่ในใจของทุกคน...อย่างไม่รู้ลืมเลือน

    โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยชน โลว์เจริญกูล ผู้อำนวยการศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และประธานมูลนิธิเทียนส่องใจ เพื่อคนไข้โรคลมชัก ได้กราบทูลถวายรายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานของศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และมูลนิธิเทียนส่องใจ เพื่อคนไข้โรคลมชักในรอบปีที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาวิทยาการในการรักษาและผ่าตัดโรคลมชักมาอย่างต่อเนื่อง มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือกับศูนย์วิจัยรหัสพันธุกรรมมนุษย์ไรเคน สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยโตเกียว อันนำไปสู่การวิจัยเรื่องพันธุศาสตร์ในโรคลมชัก และเภสัชพันธุศาสตร์ของยากันชัก

    ในด้านการศึกษา ศูนย์ฯ ได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาโรคลมชัก หรือ Higher Graduate Diploma of Clinical Sciences Program in Epilepsy อันเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และเริ่มเปิดรับนักศึกษาเป็นปีแรก ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2553 เป็นต้นมา

    นอกจากนี้ยังคงสานต่อกิจกรรมทางจิตสังคมต่างๆ เพื่อผู้ป่วยโรคลมชักมาโดยตลอด อาทิ โครงการน้อมเกล้าฝึกอาชีพให้ผู้ป่วยโรคลมชัก โครงการบริจาคโลหิตชีวิตใหม่ ปีที่ 3 โดยผู้ป่วยที่ผ่าตัดหาย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ บริจาคโลหิตถวายเป็นพระกุศล และโครงการอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล ปีที่ 4 โดยผู้หายจากโรคลมชักอุปสมบทถวาย 9 ราย

    ทั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้เปิดโครงการสายฝนสู่รากหญ้า หรือ R2G เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคลมชักในชนบท ผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งภาพและเสียง ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2552 เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีจดหมายเข้ามายังศูนย์ และผู้ป่วยจากการตามเสด็จโครงการ (พอ.สว) ในทุกจังหวัดที่เสด็จไปเยี่ยมราษฎร พร้อมจัดส่งยาไปให้ทางไปรษณีย์ ร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครผู้ป่วยที่ผ่าตัดหาย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่น และในขณะนี้ศูนย์ฯ ได้ดำเนินการผ่าตัดผู้ป่วยโรคลมชักตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันรวม 603 ราย

    ในปี 2553 นี้ ศูนย์ฯ ริเริ่มโครงการบุญญชาติ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมชักที่ยากไร้ โดยผู้มีจิตศรัทธาแสดงความจำนงบริจาคเงินเป็นเจ้าภาพ สำหรับผ่าตัดผู้ป่วยโรคลมชักแต่ละราย เพื่อทำบุญด้วยการให้โอกาสมีชีวิตใหม่ที่ปราศจากโรคลมชัก จากผู้ริเริ่มเป็นเจ้าภาพผ่าตัด 3 ราย


    [​IMG]


    การนี้ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานพระดำรัสเพื่อให้กำลังใจและให้แนวทางในการปฏิบัติงานแก่คณะผู้เข้าเฝ้า ความตอนหนึ่งว่า

    “สำหรับผู้ที่เป็นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ขออัญเชิญพระดำรัสของพระราชบิดา ทรงรับสั่งว่า เราไม่ต้องการให้พวกเธอเป็นแพทย์เท่านั้น แต่ต้องการให้พวกเธอเป็นมนุษย์ด้วย เป็นมนุษย์นี้หมายถึงอะไร มนุษย์ เป็นคำสูง คำธรรมดาคือคำว่า คน คนก็คืออย่างพวกเราๆ ที่เกิดมาเป็นคน แต่คนที่มีจิตใจประเสริฐเท่านั้นจึงเรียกว่ามนุษย์ สำหรับแพทย์ พยาบาล ต้องมีความเป็นมนุษย์อย่างมาก ซึ่งข้าพเจ้ามั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล ของศูนย์โรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความเป็นมนุษย์อยู่เต็มเปี่ยม จึงได้ทำหน้าที่ได้อย่างดี จนเป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วๆ ไป ไม่ใช่ชื่นชมเฉพาะผู้ป่วยที่หายเท่านั้น”



    อีกกิจกรรมหนึ่งที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับสถาบันบ้านฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้จัดขึ้น คือการบรรยายพิเศษเรื่อง “หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” โดย ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในโอกาสบรมราชาภิเษก 60 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา โดยการเผยแพร่หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้แก่บุคลากรเพื่อน้อมนำไปปฏิบัติและดำเนินรอยตาม เมื่อวันพุธที่ 28 ก.ค 2553 ที่ผ่านมา ณ อาคารศูนย์ประชุม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์


    สำหรับการบรรยายพิเศษเรื่อง “หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้นำหลักการอ้างอิงจากหนังสือ 60 ปี ครองราชย์ ประโยชน์สุขประชาราษฎร์ และหนังสือตามรอยเบื้องพระยุคลบาท มาบรรยายในครั้งนี้ โดยมีใจความสำคัญคือ มีหลักในการคิดว่าจะทำอะไร เพื่อประโยชน์อะไร มีหลักวิชาคือ จะทำอย่างไรจึงจะถูกต้องและได้ผล และสุดท้ายหลักปฏิบัติคือ ต้องปฏิบัติตามวิธีที่คิด เพื่อให้ได้ผล และต้องประเมินผล รวมถึงการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในด้านต่างๆ อาทิ ปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเสริมแนวทางการดำเนินชีวิตให้มีความเข้มแข็ง ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้ ส่วนหลักการทำงานให้ทำงานอย่างผู้รู้จริง ศึกษางานที่จะทำให้ดี อย่าผลีผลาม ส่วนความรู้ ต้องพัฒนาอย่างเรื่อยๆ ต้องรู้หมดและรู้อย่างแท้จริง นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนทุกฝ่าย ควรน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติในการสร้างคุณประโยชน์ให้เกิดมีขึ้นได้


    [​IMG]
    http://www.siamrath.co.th/?q=node/73148
     

แชร์หน้านี้

Loading...