สรรพคุณสมุนไพรไทย 200 ชนิด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 พฤศจิกายน 2013.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ : ว่านนางคำ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aromatica Salisb.

    ชื่อสามัญ : -

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก เหง้าและหัวสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกใกล้ราก ประมาณ 5-7 ใบ รูปใบหอกกว้าง กว้าง 10-14 ซม. ยาว 40-70 ซม. ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน ดอกช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 ซม.ใบประดับที่ปลายช่อสีชมพู ใบประดับที่รองรับดอกสีขาวแกมเขียว ปลายโค้ง ยาวได้ถึง 6 ซม. ใบประดับย่อยสีขาว ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกสีขาวแกมชมพู แฉกกลางรูปไข่กว้าง แฉกข้างรูปขอบขนาน กลีบปากรูปโล่แยกเป็น 3 แฉก สีเหลืองเข้ม

    ส่วนที่ใช้ : หัว ราก

    สรรพคุณ :

    หัว
    - ใช้ฝนทาแก้เม็ดผื่นคัน prurigo
    - เป็นยาขับลมในลำไส้และแก้ปวดท้อง
    - ใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำ และข้อเคล็ด

    ราก - ใช้เป็นยาขับเสมหะและยาสมาน แก้ลงท้อง แก้โรคหนองในเรื้อรัง แยกสารได้
    น้ำมันหอมเรซิน 4.47
    น้ำตาล 1.21
    ยาง กรด ฯลฯ 10.10
    แป้ง 18.75
    ใยไม้ 25.40
    เถ้า 7.51
    ความชื้น 9.76
    ธาตุ ไข่ขาว (Albuminiadse)
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ : ไพล

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.

    ชื่อสามัญ : Z.purpureum Roscoe

    วงศ์ : Zingiberaceae

    ชื่ออื่น : ปูลอย ปูเลย (ภาคเหนือ) ว่านไฟ (ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ซึ่งประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม

    ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่จัด เก็บหลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

    สรรพคุณ :

    เหง้า
    - เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
    - แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน
    - เป็นยารักษาหืด
    - เป็นยากันเล็บถอด
    - ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด

    น้ำคั้นจากเหง้า - รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย

    หัว - ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน

    ดอก - ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย

    ต้น - แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ

    ใบ - แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
    ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม

    รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
    ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอก

    ใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)

    แก้บิด ท้องเสีย
    ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน

    เป็นยารักษาหืด
    ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น

    เป็นยาแก้เล็บถอด
    ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง

    ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
    ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย

    สารเคมี - Alflabene : 3,4 - dimethoxy benzaldehyde, curcumin, beta-sitosterol, Volatile Oils
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ : ส้มป่อย

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) D.C.

    ชื่อสามัญ : -

    วงศ์ : LEGUMINOSAE - MIMOSOIDEAE

    ชื่ออื่น : ส้มขอน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 7-20 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอด สีนวล ผลเป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ขอบมักเป็นคลื่น

    ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ผล ราก ฝัก เมล็ด

    สรรพคุณ :

    ต้น - แก้ตาพิการ

    ใบ - แก้โรคตา ชำระเมือกมันในลำไส้ ยาถ่ายเสมหะ แก้บิด ฟอกล้างโลหิตระดู

    ดอก - แก้เส้นพิการให้บริบูรณ์

    ผล - แก้น้ำลายเหนียว

    ราก - แก้ไข้

    ฝัก - ปิ้งให้เหลือง ชงน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาถ่ายทำให้อาเจียน ฟอกผมแก้รังแค แก้ไข้จับสั่น ปิดแผลโรคผิวหนัง

    เมล็ด - คั่วให้เกรียมบดให้ละเอียด นัตถุ์ทำให้คันจมูกและจามดี

    ใบ - ตำห่อผ้าประคบเส้นให้เส้นอ่อน
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ : แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strychnos nux-vomica L.

    ชื่อสามัญ : Nux-vomica Tree, Snake Wood

    วงศ์ : Strychnaceae

    ชื่ออื่น : กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง แสลงทม แสลงเบื่อ แสลงเบือ

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
    ส่วนที่ใช้ :ไม้ต้น สูงประมาณ 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 7 - 12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลสด รูปกลม เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม สีเขียวแกมเทา มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่มปกคลุม

    สรรพคุณ :

    เมล็ด
    - มี Alkaloid เรียกว่า Strychnine
    - เป็นยาบำรุงหัวใจให้เต้นแรงและบำรุงประสาทอย่างแรง
    - ยาที่เบื่อสุนัขให้ผงอัลคาลอยด์ของสตริกนิน 1 เกรน เบื่อสุนัขได้ 1 ตัว ก่อนตายมีอาการชักกะตุกจนตาย ภายใน 1-3 ชั่วโมง (**ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตถือเป็นบาป ไม่ควรทำ)
    - มีรสเมาเบื่อขมเล็กน้อย ตัดไข้ตัดพิษกระษัยเจริญอาหาร

    วิธีและปริมาณที่ใช้
    ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) เป็นยาน้ำสีเหลืองทำจากเมล็ดของต้นแสลงใจ รับประทานได้ 5-15 หยด

    - เป็นยาบำรุงประสาท ให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ

    -ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก

    -ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด

    -ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาระบายอย่างอ่อน
    ยานี้รับประทานมากไม่ได้เป็นยาพิษ
    สตริกนินเป็นยาด่างที่แยกออกจากยานี้ รับประทานได้ 1/200 เกรน หรือ 1/100 เกรน ใช้ยาอย่างเดียวกับยานักสะวอมมิกา

    -ใช้แก้ในทางประสาทพิการ เส้นตาย หรือเป็นเหน็บชาต่างๆ

    -แก้โรคอันเกิดจาก ปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นเหียน แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น ขับลมในลำไส้

    ในเภสัชตำรับกล่าวว่า ลูกโกฏกะกลิ้งหรือลูกกกะจี้ หรือแสลงใจนั้น ประกอบด้วยเมล็ดแห้งสุกของ Strychnos nux vomica L. มีไม่มากกว่า 1% ของ Oganic วัตถุอื่นๆ และไม่น้อยกว่า 1.2% ของ Strychnos สรรพคุณ ของ Strychnos nux vomica เนื่องจาก Strychnine ที่มีอยุ่ ใช้ผงผสมกับ Bismuth หรือ Pepsin ใส่ Cachet ใช้ในโรคธาตุพิการไม่มีกำลังย่อยอาหาร ใช้มากในยาผสมต่างๆ สำหรับบำรุงการย่อยอาหารในปาก ทำให้ขมและอยากอาหารในลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดอาการไหวตัว ใช้ผสมกับยาถ่ายต่างๆ เช่น Cascara ใช้ในโรคพรรดึกเรื้อรัง เนื่องขากลำไส้ไม่มีกำลัง ใช้ Extract อย่างแห้งผสมน้ำ เป็นยาเม็ดประกอบด้วยยาระบายหรือยาจำพวกเหล็ก สำหรับโรคโลหิตจาง

    ใบ - ตำกับสุรา พอกปิดแผลเรื้อรัง เน่าเปื่อยได้ดี แก้โรคไตพิการ

    ราก - รับประทานแก้ท้องขึ้น
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ : เสม็ดแดง (ผักเม็ก)

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum

    ชื่อสามัญ : -

    วงศ์ : Myrtaceae

    ชื่ออื่น : ไคร้เม็ด (เชียงใหม่) เม็ก (ปราจีนบุรี) เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) เสม็ด (สกลนคร) เสม็ดเขา เสม็ดแดง (ตราด) เสม็ดชุน (ภาคกลาง)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน ผล กลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน

    ส่วนที่ใช้ : ใบสด

    สรรพคุณและวิธีใช้ :
    ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ : สายน้ำผึ้ง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonicera japonica Thunb.

    ชื่อสามัญ : Honey Suckle

    วงศ์ : Caprifoliaceae

    ชื่ออื่น : -

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา กิ่งสีน้ำตาลเป็นมัน มีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเกิดเป็นคู่ตรงกันข้าม มีขนตามเส้นกลางใบทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นหลอดยาว 1.5-3 ซม. แยกเป็น 2 กลีบๆ บนมี 4 หยัก กลีบล่างมี 1 กลีบ เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบดอก ผลกลมสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ซม. เกลี้ยงไม่มีขน

    ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ดอกตูม เถาสด

    สรรพคุณ :

    ทั้งต้น
    -ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้แผลฝีต่างๆ
    - แก้ท้องร่วง ตับอักเสบ โรคลำไส้
    - ปวดเมื่อยตามข้อ

    ดอกตูม
    - ใช้รักษาโรคผิวหนัง
    - ดอกคั้นรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร

    เถาสด - ใช้รักษา บิดไม่มีตัว (ท้องเสีย) ลำไส้อักเสบ

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :
    ใช้เถาสด 100 กรัม สับเป็นท่อนเล็กๆ ใส่ลงในหม้อเคลือบ เติมน้ำลงไป 200 มิลลิลิตร แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง แล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆ 3 ชั่วโมง แล้วเติมน้ำให้ได้ 100 มิลลิลิตร กรองเอาน้ำรับประทานวันละ 1.6-2.4 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพิ่มหรือลดขนาดของยาตามอาการ โดยทั่วไปเริ่มต้นให้รับประทาน 20 มิลลิลิตร ทุก 4 ชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นให้รับประทานครั้งละ 20 มิลลิลิตร ทุก 6 ชั่วโมง หลังจากอาการท้องร่วงหายไปให้รับประทานต่ออีก 2 วัน

    สารเคมี

    ใบ มี lonicerin และ luteolin-7-rhamnoglucoside

    ดอก มี luteolin-7-glucoside, inositol และ saponin

    ผล มี Cryptosanthin
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู : ข้าวสารเถา

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Raphistemma pulchellum Wall.

    วงศ์ : ASCLEPIADACEAE

    ชื่ออื่น : ข้าวสารดอกใหญ่, มะโอเครือ, เครือเขาหนัง, ข้าวสารดอกใหญ่ (กรุงเทพฯ); ข้าวสาร (ทั่วไป); เคือคิก (สกลนคร); เซงคุยมังอูหมื่อ , มังอุยหมื่อเซงครึย (กะเหรี่ยง-ลำปาง); มะโอเครือ , เครือเขาหนัง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปหัวใจ โคนใบเว้า ปลายใบแหลมเป็นหาง ขอบใบเรียบ ขนาดกว้าง 4-15 ซม. ยาว6-20 ซม. บริเวณกลางใบด้านบนมีขนขึ้นเป็นกระจุก ก้านใบ ยาว4-12 ซม. ดอกสีขาวหรือครีมออกเป็นช่อซี่ร่มตามซอกใบ ช่อหนึ่งมีดอก4-10 ดอก ก้านช่อดอกยาว 6-10 ซม. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบรูปขอบขนานโคนเชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูประฆัง แยกเป็น 5 แฉก มีเส้าเกสรสีขาวตรงกลาง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 4 ซม. ผลเป็นฝักรูปโค้ง เมล็ดรูปไข่มีขนเป็นพู่ยาวได้ถึง 4 ซม.

    ส่วนที่ใช้ : ราก

    สรรพคุณ : ใช้รากปรุงเป็นยา หยอดรักษาตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว

    ส่วนที่เป็นพิษ เมล็ดมีสารพวกกลัยโคไสด์ ที่เป็นพิษต่อหัวใจ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู : ตะลิงปลิง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa bilimbi L.

    ชื่อสามัญ : Bilimbing

    วงศ์ : OXALIDACEAE

    ชื่ออื่น : ลิงปิ้ง หลิ้งปิ้ง หลี้งตี้ง ลีหมิง เฟืองเทศ มะเฟืองตรน หลิงปลิง (ภาคใต้) กะลิงปริง ปลีมิง ลิงปลิง ลิงปลิง (ระนอง) มูงมัง (เกาะสมุย) บลีมิง (มลายู-นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งก้านเปราะหักง่าย มีขนนุ่มตามกิ่ง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อยเรียงตัวกันเป็นคู่ ใบย่อยรูปหอก ปลายใบแหลม โคนมน จะเรียงจากขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ที่โคนจะมีขนาดเล็ก ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนมีขนนุ่มๆ ปกคลุมอยู่ ดอก ออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่ง (ดอกขนาดเล็กหลายช่อ) แต่ละช่อยาวราว 6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบ มีสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู เกสรกลางดอกมีสีเขียวแดง ดอกมีกลิ่นหอม ผลกลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลสีเขียว เป็นพูตามความยาวผล 5 ร่อง ออกเป็นช่อห้อย เมื่อสุกมีสีเหลือง ฉ่ำน้ำ เมล็ดแบน ผลมีรสเปรี้ยวจัด

    ส่วนที่ใช้ : ใบสด

    สรรพคุณ : ยารักษาคางทูม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย พอกบริเวณที่บวม พอกวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เปลี่ยนยาใหม่ทุกครั้ง ในชวานิยมใช้ยานี้มาก
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู : เต่าร้าง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour.

    ชื่อสามัญ : Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm

    วงศ์ : PALMAE

    ชื่ออื่น : เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า กว้างประมาณ 13 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน กาบใบ ยาว 0.5-2 เมตร โคนกาบใบมีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม ดอก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบหรือใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาว 60-80 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกเป็นพวงๆ ทรงกลม ขนาด 2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงคล้ำ

    ส่วนที่ใช้ : หัว ราก

    สรรพคุณ : หัวและราก มีรสหวานเย็นขม ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู เปราะหอมแดง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia galanga L.

    ชื่อสามัญ : Sand Ginger, Aromatic Ginger, Resurrection Lily

    วงศ์ : ZINGIBERACEAE

    ชื่ออื่น : หอมเปราะ (ภาคกลาง) ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น ว่านหอม (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน 2-3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบเป็นกาบยาว 1-3 ซม.ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 ซม.มี 4-12 ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง แต่ละดอกมี กลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1 – 2 ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง

    ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ต้น หัวสดหรือแห้ง

    สรรพคุณ :

    ใบ - แก้เกลื้อนช้าง

    ดอก - แก้โรคตา

    ต้น - แก้ท้องขึ้นเฟ้อ ขับลม

    หัว
    - ขับเลือด และหนองให้ตก
    - แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล

    หัวและใบ - ใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม

    วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้หัวสด 10-15 กรัม แห้ง 5-10 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่ม 1-2 คร้ง
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลุ่มยารักษาตา คางทูม แก้ปวดหู : หูเสือ

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.
    ( Syn. Coleus amboinicus Lour.)

    ชื่อสามัญ : Indian borage
    วงศ์ : LAMIACEAE (LABIATAE)

    ชื่ออื่น : หอมด่วนหลวง (เหนือ), ผักหูเสือ, เนียมอีไหลหลึง, โฮว้หีเช่า (จีน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว 2-4.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน

    ส่วนที่ใช้ : ใบสด

    สรรพคุณ :

    ใบ - แก้ปวดหู แก้ฝีในหู แก้หูน้ำหนวกได้ดี รับประทานเป็นผักกับเครื่องจิ้ม

    วิธีใช้ - ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำมาหยอดหู แก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู หูน้ำหนวก
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร : กรรณิการ์

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes arbor-tristis L.

    ชื่อสามัญ : Night blooming jasmine

    วงศ์ : OLEACEAE

    ชื่ออื่น : กณิการ์ , กรณิการ์

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม มีขนสาก ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3.5-10 ซม. ปลายแหลมหรือยื่นเป็นติ่งแหลม โคนมน ขอบเรียบหรือจักแหลมใกล้ๆ โคนใบ แผ่นใบหนาสากมือ มีขนแข็งตามแผ่นใบและเส้นใบ ตามขอบใบอาจมีขนแข็งๆ เส้นแขนงใบข้างละ 3-4 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ช่อดอกออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 1.2-2 ซม. มีใบประดับรูปคล้ายใบเล็กๆ 1 คู่ที่ก้านช่อดอก แต่ละช่อมี 3-7 ดอก กลิ่นหอม บานตอนเย็นและจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่มีก้านดอก แต่ละดอกมีใบประดับ 1 ใบ ดอกตูมมีกลีบดอกเรียงซ้อนกันและบิดเป็นเกลียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน ติดกันเป็นหลอดรูปกรวยปลายตัดหรือหยักตื้นๆ 5 หยัก ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดสีแสด ยาว 1.1-1.3 ซม. ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนยาวๆ สีขาวที่โคนหลอด ปลายหลอดแยกเป็นกลีบสีขาว 5-8 กลีบ แต่ละกลีบยาว 0.9-1.1 ซม. โคนกลีบแคบ ปลายกลีบกว้างและเว้าลึก เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดอยู่ภายในหลอดกลีบดอกตรงบริเวณปากหันด้านหน้าเข้าหากัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกับหลอดดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลม มี 2 ช่อง มีออวุลช่องละ 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มมีขน ผลรูปไข่หรือกลม ค่อนข้างแบน ปลายมีติ่งสั้นๆ

    ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ ดอก ราก ก้านดอก

    สรรพคุณ :

    ต้น - รับประทานแก้ปวดศีรษะ

    ใบ - บำรุงน้ำดี

    ดอก - แก้ไข้ และแก้ลมวิงเวียน

    ราก - แก้อุจจาระเป็นพรรดึก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ลม แก้ผมหงอกบำรุงผิวหนังให้สดชื่น

    ก้านดอกสีแดงแสด (สีส้ม) - คั้นเอาน้ำไปทำสีขนมหรือสีย้อมผ้าได้ดี

    วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำ เติมน้ำคั้นเองาแต่น้ำ 1 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง เป็นยาขม เจริญอาหาร

    สารเคมี - กลุ่ม Carotenoid
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร : ขนุน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.

    ชื่อสามัญ : Jack fruit tree

    วงศ์ : MORACEAE

    ชื่ออื่น : ขะนู (ชอง-จันทบุรี) ขะเนอ (เขมร) ซีคึย, ปะหน่อย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นะยวยซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) นากอ (มลายู-ปัตตานี) เนน (ชาวบน-นครราชสีมา) มะหนุน (ภาคเหนือ,ภาคใต้) ล้าง,ลาน (ฉาน-เหนือ) หมักหมี้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากกลาง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม การออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่

    ส่วนที่ใช้ : ยวง เมล็ด แก่นของขนุน ส่าแห้งของขนุน ใบ

    สรรพคุณ :

    ยวงและเมล็ด - รับประทานเป็นอาหาร

    แก่นของขนุน - ต้มย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแก่

    ส่าแห้งของขนุน - ใช้ทำชุดจุดไฟได้

    แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด - มีรสหวานชุ่มขม บำรุงกำลังและโลหิต ทำให้เลือดเย็น สมาน

    ใบขนุนละมุด - เผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู แก้ปวดหู และหูเป็นน้ำหนวก

    ไส้ในของขนุนละมุด - รับประทานแก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรีที่มากไปให้หยุดได้

    แก่นและเนื้อไม้ - รับประทานแก้กามโรค
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร : คำแสด

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bixa orellana L.

    ชื่อสามัญ : Annatto Tree

    วงศ์ : BIXACEAE

    ชื่ออื่น : คำเงาะ คำแงะ คำไทย คำแฝด คำยง ชาตี จำปู้ ส้มปู้ (เขมร-สุรินทรฒ) ชาด (ภาคใต้) ซิติหมัก (เลย) มะกายหยุม แสด (ภาคเหนือ) หมากมอง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-8 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนาทึก แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบบาง เกลี้ยงนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ใบอ่อนมีสีแดง กว้าง 8-10 ซม. ยาว 11-18 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตั้งบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-10 ดอก กลีบดอกรูปไข่ยาว สีขาวแกมชมพูหรือสีชมพูอ่อน กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกอ่อนจะกลม ผิวสีแดง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีเกษรตัวเมีย 1 อัน ภายในมีช่อง 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ผล เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงเข้มหนาทึบคล้ายผลเงาะ ผลแก่จัดแตกออกได้ 2 ซีก ภายในมีเมล็ดกลมเล็กๆ สีน้ำตาลแดงจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดงหรือสีแสด

    ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ดอก ใบ เนื้อหุ้มเมล็ด เปลือก ราก

    สรรพคุณ :

    เมล็ด
    - ให้สารสีแสด ชื่อสาร Bixin
    - ใช้แต่งสีอาหารประเภทไขมัน เช่น ฝอยทอง เนย ไอศครีม
    - ใช้ย้อมผ้าฝ้าย หรือ ผ้าไหมได้ด้วย
    ** องค์การอนามัยโลกกำหนดให้รับประทานสีที่สกัดจากเมล็ดคำแสดได้ไม่เกิน 0.065 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน
    - มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ลดไข้ ฝาดสมาน

    ดอก
    - มีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงเลือด แก้โลหิตจาง แก้แสบร้อนคันตามผิวหนัง
    - รักษาโรคไตผิดปกติ แก้บิด แก้พิษ ฝาดสมาน

    ใบ - แก้ดีซ่าน แก้เจ็บคอ ลดไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ

    เนื้อหุ้มเมล็ด - เป็นยาระบายและขับพยาธิ แก้โรคผิวหนัง ใช้แต่งสีอาหาร และเนย

    เปลือกราก - ใช้ป้องกันไข้มาเลเรีย ลดไข้ และโรคหนองใน

    สารเคมี : ที่พบ

    เนื้อหุ้มเมล็ด ให้สีที่เรียกว่า annatto ซึ่งเป็นสีอนุญาตให้ใช้ประกอบอาหารได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2515)
    annatto ประกอบด้วยสาร Bixin (C25 H30 O4) สีแสดสด และสาร Bixol (C18 H30 O) สีเขียวเข้ม ใช้แต่งสีอาหารประเภทเนย และเนยเทียม (margarine) สีที่ได้จากเมล็ดคำแสด มีความคงทนและมีสีเข้มกว่าสีที่ได้จากแคโรทีนในต่างประเทศ นิยมใช้กันในผลิตภัณฑ์นม เช่น เนยเหลว เนยแข็ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้ผสมในยาขัดหนังที่ให้สีแดงคล้ำ

    วิธีเตรียมสีจากเมล็ดคำแสด : โดยแกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลายๆ วันจนสารสีตกตะกอน แยกเมล็ดออก นำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดเกือบแห้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งเป็นผงเก็บไว้ใช้
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร : ฝาง

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan L.

    ชื่อสามัญ : Sappan Tree

    วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

    ชื่ออื่น : ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ฝาง (ทั่วไป); ฝางส้ม (กาญจนบุรี)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน สูง 5-8 เมตร สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็งทั่วทุกส่วน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ ผล เป็นฝักแบนแข็งเป็นจงอยแหลม เปลือกเป็นสันมน ปลายแหลม มีเมล็ดเป็นรูปรี 2-4 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ : แก่นของไม้มีสีแดง
    - มี วัตถุไม่มีสี ชื่อ Haematoxylin อยู่ 10% วัตถุนี้เมื่อถูกอากาศ อาจจะกลายเป็นสีแดง
    - มี แทนนิน เรซิน และน้ำมันระเหยนิดหน่อย

    สรรพคุณ :

    ฝาง มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า ฝางเสน อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลือง เรียกว่าฝางส้ม ใช้ทำเป็นยาต้ม 1 ใน 20 หรือยาสกัดสำหรับ Haematoxylin ใช้เป็นสีสำหรับย้อม Nuclei ของเซล ใช้แก่นฝางต้มเคี่ยว จะได้น้ำสีแดงเข้มคล้ายด่างทับทิมใช้ย้อมผ้าไหม งามดีมาก ใช้แต่งสีอาหาร ทำยาอุทัย

    สรรพคุณทางยา

    แก่นฝาง
    - รสขื่นขมหวาน ฝาด รับประทานเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน แก้ปอดพิการ ขับหนอง ทำโลหิตให้เย็น รับประทานแก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา
    - รักษาน้ำกัดเท้า แก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้เลือดกำเดา

    น้ำมันระเหย - เป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้ท้องเดิน

    วิธีและปริมาณที่ใช้

    แต่งสี ย้อมสี
    นำแก่นฝางเสนหรือฝางส้ม มาแช่น้ำหรือต้มเคี่ยวจะได้สีชมพูเข้ม (Sappaned) นำมาใช้ตามต้องการ

    เป็นยาขับประจำเดือน
    ใช้แก่น 5-15 กรัม หรือ 5-8 ชิ้น ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เติมเนื้อมะขามที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว) ประมาณ 4-5 ฝัก เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว รับประทาน เช้า-เย็น

    เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า
    ใช้แก่น 2 ชิ้น ฝนแก่นฝางกับน้ำปูนให้ข้นๆ ทาบริเวณที่น้ำกัดเท้า ในแก่นฝางมีตัวยาฝาดสมาน

    แก้ท้องร่วง ท้องเดิน
    ใช้แก่น หนัก 3-9 กรัม 4-6 ชิ้น ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว หรือใช้ฝาง 1 ส่วน น้ำ 20 ส่วน ต้มเคี่ยว 15 นาที รับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ หรือ 4-8 ช้อนแกง
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมุนไพรให้สีแต่งสีอาหาร : อัญชัน

    [​IMG]


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.

    ชื่อสามัญ : Blue Pea, Butterfly Pea

    วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

    ชื่ออื่น : แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด

    ส่วนที่ใช้ :

    กลีบดอกสดสีน้ำเงิน จากต้นอัญชันดอกสีน้ำเงิน

    รากของต้นอัญชันดอกขาว

    สรรพคุณและวิธีใช้ :

    ดอกสีน้ำเงิน ใช้เป็นสีแต่งอาหาร ขนม
    ใช้กลีบดอกสด ตำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ใช้เป็น indicator แทน lithmus
    ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู

    รากต้นอัญชันดอกสีขาว
    ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย

    สารเคมี : anthocyanin
     
  17. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ดีครับ
    สมุนไพรใกล้ตัวน่ารู้มากๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...