สวดมนต์ทุกวัน แต่ไม่มีพระพุทธรูปเป็นประธาน

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย กนกพลศรี, 4 กรกฎาคม 2008.

  1. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    เรียนคุณ slamb ครับ

    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>อัชฌาสัย ๔ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>อัชฌาสัย ความต้องการของอารมณ์ เรียกว่า อุดมคติ หรือแบบที่ผู้ใหญ่โบราณสักหน่อย เรียกว่า อัชฌาสัย หรืออุดมคติ อัฌชาสัยในการปฏิบัติมี ๔ อย่างด้วยกัน คือ สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>อัชฌาสัย</TD><TD bgColor=#cccccc></TD><TD bgColor=#cccccc></TD><TD bgColor=#cccccc></TD><TD bgColor=#cccccc></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>๏ การเจริญพระกรรมฐาน ท่านแบ่งออกเป็น ๔ ประเภทคือ

    ๑. สุกขวิปัสสโก

    ๒. เตวิชโช ทรงวิชชาสาม วิชชาสามนี่ท่านเขียนย่อไว้ว่า หนึ่งได้ทิพจักขุญาณ สองปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามอาสวักขยญาณ สำหรับ ทิพจักขุญาณ นี่ก็หมายถึงว่ารู้สวรรค์ได้ รู้นรกได้ รู้พรหมได้ เรานั่งอยู่ตรงนี้จะคุยกับพระยายมก็ได้ จะคุยกับสัตว์นรกก็ได้ เปรตก็ได้ อสุรกายก็ได้ นั่งอยู่ตรงนี้ จะคุยกับเทวดาหรือพรหมก็ได้ นี่สำหรับทิพจักขุญาณ ถ้าหากว่าเราได้ อาสวักขยญาณ ด้วย เรานั่งอยู่ตรงนี้ ก็สามารถคุยกับพระอรหันต์ก็ได้ จะคุยกับพระพุทธเจ้าก็ได้ที่นิพพานไปแล้ว ถ้าถามว่าจะคุยได้อย่างไร ท่านผู้นั้นนิพพานไปแล้ว ก็ต้องย้อนถามไปอีกว่า เทวดากับพรหมเขาก็ตายไปแล้ว ทำไมเรายังคุยได้ ใช่ไหม อันนี้จะทราบเมื่อถึงเอง แล้วก็สำหรับ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็ได้แก่การระลึกชาติได้ ถอยหลังเข้าไปกี่ชาติก็ได้ตามอัธยาศัย

    แต่ทว่าสำหรับวิชชาสามจริงๆ เป็นเรื่องของวิชชาสาม อันดับที่สามก็ได้แก่ อาสวักขยญาณ ทำกิเลสให้สิ้นไป แต่ว่าส่วนฌาณทั้งสองคือ ทิพจักขุญาณ ก็ดี ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็ดี อันนี้พื้นฐานที่จะพึงได้ก็ได้ถ้าฝึก ทิพจักขุญาณ ได้อย่างเดียวก็ได้หมด ถ้าจะนับให้ละเอียดก็ต้องเป็น ญาณ ๘ แต่เนื้อแท้จริงๆ ก็ ทิพจักขุญาณ สุดแล้วแต่เราจะใช้ อย่างมือเราจะใช้ไหว้คน เขาเรียกว่ามือสำหรับไหว้คนใช่ไหม ถ้ามือจะยกมะเหงกให้ชาวบ้าน เขาเรียกมือยกมะเหงก มือเดียวกันใช่ไหม แล้วมือจะใช้หยิบทัพพีตักข้าวก็เป็นมือจับทัพพีนั่นแหละ

    นี่สำหรับ ทิพจักขุญาณ ถ้าหากว่าท่านฝึกได้ เราก็ใช้ญาณได้แปดอย่าง คือ สามารถเห็นผีได้ เห็นเทวดาได้ เห็นพรหมได้ เห็นสัตว์นรกได้ เห็นเปรตได้ เห็นอสุรกายได้ เห็นสตางค์ในกระเป๋าชาวบ้านได้ นี่เห็นได้จริงๆ นะ แต่หากว่าทำได้เขาไม่ให้เห็นหรอกนะ ถ้าทำได้จริงๆ นี่เขาไม่อยากจะเห็น แ้ล้วก็ประการที่สอง ทิพจักขุญาณอันนี้ถ้าใช้อารมณ์เข้มข้น ก็จะเรียกกันได้ว่าเป็น จุตูปปาตญาณ คำว่า จุตูปปาตญาณ นี่ ก็สามารถจะรู้ว่าคนที่มานั่งอยู่ที่นี่ ก่อนจะเกิดนี่มาจากไหน ถ้าตายไปแล้วไปอยู่ที่ไหน ความจริงก็เป็น ทิพจักขุญาณ นั่นเอง เพราะเราใช้ในการที่จะรู้ว่าเขาก่อนจะมาเิกิดเขามาจากไหน แล้วเวลาตายไปแล้ว เขาไปอยู่ที่ไหน ก็ใช้ ทิพจักขุญาณ เป็นเครื่องรู้ ท่านเรียกว่า จุตูปปาตญาณ

    ต่อไปก็เป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เราต้องการอยากจะรู้ตัวของเราเองว่า ตอนก่อนจะเกิดมาที่นี่ เราเกิดมาแล้วกี่ชาติ เป็นอะไรบ้าง เคยตกนรกมาเท่าไร เคยเป็นเปรตเท่าไร เป็นสัตว์เดรัจฉานเท่าไร เป็นมนุษย์เท่าไร มนุษย์เราเป็นสภาวะอะไรบ้า่ง เป็นเทวดามาแล้วเท่าไร เป็นพรหมมาแล้วเท่าไร เราก็รู้ได้ แล้วก็มา เจโตปริยญาณ แล้วก็สามารถจะรู้วาระน้ำจิตของคน วาระน้ำจิตของสัตว์ จิตของตัวเอง ว่าจิตนี่มีสภาพเป็นสุขหรือมีสภาพเป็นทุกข์ มีอารมณ์กลุ้มๆ แบบไหน มีอารมณ์สบายใจแบบไหน มีกิเลสขนาดไหนบ้าง หรือว่ามีการบรรลุมรรคผลถึงขั้นไหน

    แต่การบรรลุมรรคผลนี่ เราจะต้องทำตนให้ถึงขั้นนั้น ถ้าเราได้ญาณโลกีย์ เราจะไปรู้เรื่้องของพระอริยเจ้าไม่ได้ ถ้าเราเป็นพระอริยเจ้าขั้นโสดาบัน ก็จะไปรู้เรื่องของพระสกิทาคามีไม่ได้ เราอยากจะรู้เขาเป็นระดับไหนก็รู้แค่ที่เราจะพึงได้ ถ้าสูงกว่าเรา เราไม่รู้ ถ้าทำไมจึงรู้ว่าสูงกว่าเรา เราก็จะวัดระดับจิตได้ ถ้าเราต้องการความรู้สูงขึ้นไปกว่าเรา อันนี้อารมณ์มันจะมืดรู้ไม่ได้ ถ้าหากว่าเราจะเป็นพระอรหันต์ เราก็รู้คนได้ทุกระดับ

    แล้วก็ต่อไป อตีตังสญาณ ก็รู้เรื่องราวในอดีตของคนและวัตถุ หรือว่าสัตว์ว่าในอดีตเขามีสภาวะเป็นอย่างไรมาบ้าง อนาคตังสญาณ อยากจะรู้ว่าต่อไปคนที่มานั่งอยู่ที่นี่ หรือไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม หรือวัตถุหรืออาคารสถานที่ว่าสภาพข้างหน้ามันจะเป็นอย่างไร หรือว่า ปัจจุปปันนังสญาณ เวลานี้คนที่นั่งที่นี่ก็ดี ที่อื่นก็ดี มีอารมณ์จิตอยู่ในระดับไหน ใครบ้างมีอารมณ์สูง ใครบ้างมีอารมณ์ต่ำ ใครมีสุข ใครมีทุกข์ หรือว่าใครอยู่ที่ไหน เวลานี้เขาทำอะไรอยู่ อันนี้เราก็รู้ได้ และ ยถากัมมุตาญาณ คนที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ดี หรือว่าตายไปแล้วก็ดี เขามีความสุขหรือมีความทุกข์ เพราะอาศัยกรรมอะไรเป็นปัจจัย

    ความจริงวิชชาสาม แต่ว่าอารมณ์ญาณตามสมรรถภาพของวิชชาสามนี่ก็รู้ได้ตามนี้ ไม่ใช่รู้แค่แต่สามตามที่ว่านะ

    ๓. ฉฬภิญโญ หรืออภิญญาหก อภิญญาหก ก็มีแปลกกว่าวิชชาสามเข้าไป คือ อิทธิฤทธิ์ สามารถแสดงฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ เนรมิตอะไรต่างๆ ได้ แล้วก็ ทิพโสตญาณ มีประสาทหูเป็นทิพย์ ประสาทหูเป็นทิพย์นี่มันไม่ได้เป็นทิพย์ตลอดเวลา ถ้าให้ทิพย์ตลอดวันกลุ้มใจตาย คนประเทศไทย ๔๓ ล้านคน แกพูดกันคนละคำก็ฟัง ๔๓ ล้านเสียง เสร็จ ตายหมดใช่ไหม แต่ก็ต้องการจะรู้ว่าใครพูดอะไรเมื่อไร พูดมาแล้วเสีย ๒๐ ๓๐ ปี หรือร้อยปี พันปี สองพันปี ก็รู้ได้ หรือว่าเวลานี้ เราต้องการอยากจะรู้ใครคนใดคนหนึ่ง พูดในเรื่องเนื่องถึงเราหรือไม่ เราก็รู้ได้โดยเฉพาะ ไม่ใช่ฟังรู้หมด จิ้งจก ตุ๊กแก ร้องก็รู้ คนพูดก็รู้ แมวร้องก็รู้ หมาหอนก็รู้ ควายคุยกัน ว๊า ตาย เสร็จไม่มีเหลือ ผลที่สุดเป็นโรคเส้นประสาทตาย นี่เขาเรียก ทิพโสตญาณ นะ คำว่า ทิพโสตญาณ นี่ไม่ใช่อารมณ์ประสาทเป็นทิพย์โดยเฉพาะ คือต้องใช้กำลังจิตเข้าไปบังคับประสาทเพื่อรับทราบ

    ๔. ปฏิสัมภิทาญาณ สำหรับ ปฏิสัมภิทาญาณ นี่ฝึกง่าย ฝึกง่ายกว่าวิชชาสามหรือว่าอภิญญาหก แต่ว่าในสมัยที่ทรงญาณโลกีย์อยู่นี่ไม่ได้ จะต้องได้เมื่อถึงคราวเป็นพระอนาคามี คือ สำหรับ ปฏิสัมภิทาญาณ ท่านก็ปฏิบัติกรรมฐานแบบเรียบๆ แต่ว่าเจริญพระกรรมฐานฝ่ายรูปฌานไปถึงฌาน ๔ รูปฌานไปถึงฌาน ๔ นี่จะเป็นฌานอะไรก็ได้จะเป็นกสิณก็ได้ เป็นอานาปานุสสติกรรมฐาน ก็ได้ เป็นพรหมวิหาร ๔ ก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ทรงฌาน ๔ ไว้ให้คล่องตัว ถ้าหากว่าเป็นฌาน ๔ ในรูปฌานแล้วถ้าจะได้ใน อรูปฌาน ก็ต้องจับกสิณกองใดกองหนึ่งขึ้นมา

    ความจริงถ้าจิตถึงฌาน ๔ แล้ว ทำอะไรก็ได้ ใช้กสิณกองนั้นให้ทรงถึงฌาน ๔ แล้วก็เพิกกสิณไป ก็จับ อากาสานัญจายตนะ คือจับอากาศขึ้นมาเป็นอารมณ์ แล้วก็จับ วิญญาณัญจายตนะ จับวิญญาณ อารมณ์รู้เมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน ขึ้นมาเป็นอารมณ์ จับ อากิญจัญญายตนะ คือความไม่มีอะไรในโลกเป็นอารมณ์ แล้วก็จับ เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือคนมีสัญญาทำเหมือนคนไม่มีสัญญา สัญญานี่แปลว่ามีความจำ ความจำมันจำได้ ว่าอากาศประเภทนี้หนาว อากาศประเภทนี้ร้อน ก็ทำเหมือนเป็นคนไม่หนาว ไม่ร้อน มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน แต่ว่าต้องทรงฌานไว้ มันจะมีความรู้สึกอยู่อย่างนั้น

    ทั้งสามอย่างนี่คือ วิชชาสาม ก็ดี อภิญญาหก ก็ดี ปฏิสัมภิทาญาณ ก็ดี ก็ถือว่าเป็นเรื่องกีฬาสมาธิ แล้วพื้นฐานที่จะเป็นพระอรหันต์จริงๆ ก็ต้องทำสาย สุกขวิปัสสโก สายนี้ถือว่าเป็นสายพื้นฐาน เดินทางเรียบๆ เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่เห็นผี ไม่เห็นเทวดา ไม่กลุ้มใจดีใช่ไหมล่ะ รู้จักผีได้ ดีไม่ดีนอนๆ จะหลับเสียหน่อย ผีมาคุยเยอะแล้วนอนไม่หลับ อ้าว นอนๆ นั่งๆ เพลินๆ จะทำอะไรสักหน่อย เทวดาย่องมาคุยเสียแล้ว ไม่เป็นเรื่อง กวนใจ ถ้าเป็นสุกขวิปัสสโก แกจะคุยแกก็คุย ฉันไม่ได้ยินเสียก็หมดเรื่อง ใช่ไหม แกจะมาอย่างไรก็ช่าง ไม่เห็นเสียก็หมดเรื่อง สบาย แต่จิตใจท่านมีความสุข ถือความเป็นอรหันต์ พื้นฐานอยู่ที่ สุกขวิปัสสโก

    การปฏิบัติของบรรดาท่านพุทธบริษัท ก็ควรจะยึดสาย สุกขวิปัสสโก เป็นสำคัญนะ ถือว่าเป็นสายพื้นฐาน แต่ถ้าหากว่าเราจะฝึกวิชชาสามก็ดี อภิญญาหกก็ดี อันนี้หมายถึงว่าเราไม่มั่นใจในอารมณ์ของสมาธิ ว่าสมาธิของเราจะมีความเข้มแข็งหรือไม่ ถ้าหากว่าใช้หลักของวิชชาสาม หรืออภิญญาหกเข้าช่วย อันนี้ก็มีประโยชน์มาก ก็ความเข้มแข็งของจิตมันมี แล้วอีกประการหนึ่ง ถ้าได้ฝึกวิชชาสามหรืออภิญญาหกอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นการป้องกันความสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    มันจะมีการเถียงกันอยู่เสมอว่าสวรรค์มีจริงไหม นรกมีจริงไหม วันนี้ก็มีเด็กมาถามว่าแขกก็มีนรกแขก ฝรั่งก็มีนรกฝรั่ง เจ๊กก็มีนรกเจ๊ก จีนก็มีนรกจีน เอ๊ะ เจ๊กกับจีนเหมือนกันไหม ไม่เหมือนกันนะ ลองเขียนดูมันไม่เหมือนกันหรอก จีน จอสระอี นอหนูสะกด เจ๊ก สระเอ จอจาน กอไก่ อะไรน่ะ มันไม่เหมือนกัน เจ๊กกับจีน เป็นอันว่าเขาพูดกันก็ชักจะยุ่ง ว่าศาสนาหนึ่งก็มีนรกขุมหนึ่ง นรกสายหนึ่ง สวรรค์ก็เป็นสายหนึ่ง ถ้าว่าในนรก ต่างนรกมีต่างพวก สวรรค์ก็ต่างพวก ผลที่สุดก็ไปตีกันในนรก ในสวรรค์อีก พวกนรกพวกนี้ยกไปตีพวกนรกพวกนั้น ใช่ไหม รุกรานยึดอำนาจกัน พวกสวรรค์ศาสนานี้ก็ไปตีกับสวรรค์ศาสนาโน้น ไม่ต้องหยุดกันหรอกใช่ไหม

    นี่ความจริงเมื่อเขาพูดกันอย่างนี้ เราก็มีความสงสัย ถ้าเราสงสัยในด้านที่เขาพูดอย่างนี้มันเกิดเถียงกัน เราก็ใช้อำนาจในด้านวิชชาสาม เราก็ใช้อำนาจของ ทิพจักขุญาณ ตรวจดูนรก ตรวจดูสวรรค์ ว่ามันมีกี่แหล่งกันแน่ ถ้าหากันจริงๆ จังๆ นรกมันก็มีนรกเดียว สวรรค์ก็มีสวรรค์เดียว พรหมก็มีพรหมเดียว ไม่ได้มีกันกี่พรหม เป็นอันว่าถ้าเราจะพูดกันถึงโลกมนุษย์ มันมีกี่มนุษย์ล่ะ เพราะไอ้สวรรค์หรือนรกนี่เขาเก็บไว้เพื่อมนุษย์ที่ดีหรือที่ชั่ว มนุษย์ชั่วเขาก็ไปเก็บไว้ในนรก มนุษย์ดีเขาก็ไปเก็บไว้ในสวรรค์หรือพรหม ถ้าดีถึงที่สุดเขาก็ไปเก็บไว้ที่นิพพาน เขาไม่ได้แยกชาติ ไม่ได้แยกศาสนา เป็นอันว่ามีแห่งเดียว นี่ถ้าเรามีวิชชาสามได้ เราก็เปลื้องความสงสัยได้ นี่ถ้าหากเขาถาม

    ถ้าเกิดเราอยากจะรู้ว่าเมื่อวานนี้เตี่ยตายไปนะ เตี่ยนะไม่ใช่พ่อ ไอ้เราไม่ได้เป็นเจ๊ก เราสบาย เราไม่มีเตี่ยใช่ไหม เป็นอันว่าพวกเรานี่ไม่มีเตี่ย เตี่ยเราไม่เคยตาย เพราะเราไม่มีเตี่ย เตี่ยตายไปแล้ว นี่เตี่ยเราไปไหน ถ้าเราได้คล่องในวิชชานี้ มันก็เป็นของไม่หนัก ถ้าอยากจะรู้ก็รู้ได้ทันทีว่าท่านไปอยู่ที่ไหน แล้วจะหาทางแก้ไขได้ไหม ถ้าหากว่าท่านมีทุกข์ ถ้าท่านทุกข์หนัก ลงถึงอบายภูมิเราหมดท่า ไม่มีทางแก้ไขได้ ถ้าท่านทุกข์เบาไปอยู่ขั้นเปรต แต่ว่าไม่ถึงนรก อย่างนี้พอมีทาง

    ทางที่จะมีได้ก็ต้องไปถามว่าไอ้กฎของกรรมแบบนี้ ที่ท่านมีความทุกข์อยู่จะแก้ไขอย่างไรมันถึงจะได้ ต้องถามนะ จะว่ากันดะไปนี่ไม่สำเร็จ เพราะว่ามีผีบางท่านมาขอของเฉพาะอย่าง ถ้ามีที่ทั่วๆ ไปนี่เขาจะขอ ขอแบบนี้ ที่แนะนำให้ทำแบบนี้มีส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ที่มีความสุขหรือมีความทุกข์ ถ้าสุขไม่พอเขาก็ขอพระพุทธรูปหนึ่งองค์ ขอผ้าไตรหนึ่งไตร หรือถ้าไม่มีถึงไตร ก็ผ้าสบงตัว จีวรตัวก็ได้ อาหารหน่อยหนึ่งก็ได้ ใช่ไหม

    แล้วบางผีไม่อย่างนั้น ขอโผล่หน้ามาขอให้บวชเณรสักองค์ ผีขอเณร ไม่ใช่ผีขาดเณร นี่แกขอเณรองค์ เราก็คิดว่าเอ๊ะ เณรนี่มีศีล ๑๐ แล้วการลงทุนในการบวชเณรมันก็น้อย แต่เคยถามว่าเอาอย่างนี้ไหมล่ะ อาตมาจะสร้างพระพุทธรูป ๒๕ นิ้วให้สักองค์ ราคาแพงกว่าเณรมาก แล้วก็ปรากฏว่าผี ผีขาดเณรแกไม่เอา บอกไม่ได้นะ ผมไม่ต้องการ ต้องการเณร ก็ถามต่อไปว่าอาตมาจะบวชพระให้สักองค์เอาไหม อานิสงส์การบวชพระมากกว่า เขาบอกเขาไม่เอา เขาต้องการเณร ถามว่าทำไมต้องการอย่างนั้น เขาบอกแกบอกมันพร่องตรงนั้น ว่าขาดอานิสงส์ของการบวชเณร อย่างอื่นนี่แกมีแล้วทุกอย่าง ทุกอย่างมันมีความสุขหมด

    เหมือนกับบ้านเราทั้งบ้าน ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีหมด ตุ่มน้ำ ตุ่มท่า ข้าวของเครื่องใช้มี แต่มันขาดไอ้ขันตักน้ำลูกเดียว ใช่ไหม ทีนี้เราบอกนี่เราจะขอขันตักน้ำ บอกอย่าเลยมันเล็ก ไปซื้อตุ่มให้เอาไหม แกบอก ยี้ จะเอามาทำหอกอะไร ตุ่มมีตั้งเยอะแยะไป ใช่ไหม นี่มันเป็นแบบนี้ เมื่อก่อนฉันเคยคิดเหมือนกันว่าทำไมเขาถึงขอแบบนั้นนะ เคยคิด พอไล่ไปไล่มาแกบอก ถ้าเราไม่ตามใจเขาจะไม่มีความสุข เพราะขาดขันตักน้ำ มันมีตุ่มแล้ว เป็นอันว่าคนที่ตายไปแล้ว ถ้าหากว่าเราจะช่วยเขาให้มีผล ก็ต้องถามกัน โธ่ เหลือ ๒ นาที เสร็จ

    เปรตมารดาพระสารีบุตร


    อย่าง พระสารีบุตร ท่านไปพบมารดาท่านในสมัยที่ร้อยชาติผ่านมาแล้ว เป็นเปรตผอมโซ ซี่โครงขึ้น เมื่อท่านเดินผ่านไป เปรตผู้หญิงก็มองหน้า ถามว่าท่านจำฉันได้ไหม พระสารีบุตร ถามว่าท่านเป็นใคร ท่านเปรตคนนั้นบอกสมัยหลังจากนี้ไปร้อยชาติ ฉันเคยเป็นมารดาของท่าน แต่อาศัยที่ำไม่ทำความดี จึงมาเกิดเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่นาน ท่านพระสารีบุตร ก็ถามว่า โยมต้องการอะไร จะทำให้ ท่านก็บอกว่าจะขอให้ถวายสังฆทาน แล้วก็มีผ้าสักผืนหนึ่งเล็กๆ กว้างคืบยาวคืบก็ได้ ถวายสังฆทานคืออาหารแล้วขอน้ำสักหน่อย

    พระสารีบุตร ท่านกลับมา ท่านบิณฑบาตแล้วก็เอาใบไม้มา สมัยนั้นมันหาข้าวยาก เอาใบไม้มา เอาข้าวใส่ไปสักหน่อยหนึ่ง แล้วเอาใบไม้มาอีกใบ ใส่กับข้าวไปหน่อยหนึ่ง แล้วเอาน้ำใส่บาตร มีผ้ากว้างคืบ ยาวคืบ ผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดมือเรานี่นะ ถวายเข้าไปในหมู่สงฆ์ ลูกศิษย์ของท่าน ก็เป็นสังฆทาน อานิสงส์เพียงเท่านี้ เมื่อท่านอุทิศส่วนกุศลให้ ปรากฏว่ามารดาของท่านไปเป็นนางฟ้า อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีวิมานสวย มีสระโบกขรณี

    พอรุ่งขึ้นมาอีกคืน นางฟ้าก็ลงมาหา พระโมคคัลลาน์ มาแสดงตัวให้ปรากฏมีแสงสว่างจ้า พระโมคคัลลาน์ ถามว่า ภคินิ ดูกร น้องหญิง เธอเป็นใคร เธอก็บอกว่า ฉันเป็นมารดาของ พระสารีบุตร วานนี้ พระสารีีบุตร อุทิศส่วนกุศลให้ฉัน เพราะถวายสังฆทาน อาศัยข้าวหน่อยหนึ่ง ที่ถวายสังฆทาน เป็นกำลังให้มีกายอันเป็นทิพย์ มีความอิ่ม อาศัยผ้ากว้างคืบ ยาวคืบ เป็นเครื่องประดับ แล้วอาศัยที่ ท่านพระสารีบุตร ถวายน้ำฝาบาตรหนึ่งกับพระ กลายเป็นสระโบกขรณี แล้วด้วยอานิสงส์ที่ท่านผู้เป็นพระแล้วทำบุญประเภทนี้ ท่านผู้ให้เป็นผู้บริสุทธิ์ วัตถุทานเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ การถวายสังฆทานย่อมเป็นทานมีผลเลิศ ก็เป็นปัจจัยให้ได้วิมาน มีความสวยสดงดงาม นี่เป็นอันว่าท่านไม่ได้เลือกนะ

    ตอนนี้ก็มาสมัยอาตมาเคยเจอะผีหลายผี แล้วก็แปลกกว่าที่เขาขอ พระสารีบุตร ถ้าผีสมัยนี้แอบขอพระพุทธรูปด้วย สมัยนั้นถ้าขอพระพุทธรูปก็คงจะแย่ เพราะว่าพระพุทธรูปเขายังไม่สร้าง ต้องไปเอาพระพุทธเจ้ามาถวายสังฆทาน หึ หึ เห็นจะสนุกดีเหมือนกันนะ ไปยกพระพุทธเจ้า เวลานี้ผีมาขอพระพุทธรูป ก็ถามว่า ประโยชน์อะไรของเธอในการขอพระพุทธรูป

    แกบอกว่าถ้ามีพระพุทธรูปร่วมด้วย รัศมีกายจะสว่างไสวมาก เพราะว่าเทวดานี่เขาถือรัศมีกายเป็นสำคัญ คล้ายๆ มีแสงสว่างมาก ถือว่าคนนั้นมีอานุภาพมาก เขาไม่ได้ดูเครื่องประดับ ไอ้เครื่องแต่งตัวน่ะมันก็เหมือนๆ กันนะ มีเพชรนิลจินดาแพรวพราว ไอ้เครื่องประดับเขาไม่ได้มานั่งห้อยคอใส่อย่างนี้ อย่างพวกเรานี้หรอก พวกเรามันรวยมาก ห้อยคอ ผูกข้อมือ ใส่นิ้ว แหม มันเก๋เต็มที ถ้ายายพวกนี้แกประัดับ ติดผ้่าทั้งผืนเลย เสื้อแกยาวเท่าไร ผ้ายาวเท่าไร แหม ไอ้เพชรนะประดับ บางทีดันเข้าไปตั้งสามชั้น เคยเดินตามแกบ่อยๆ นึกว่าจะหล่น มันก็ไม่หล่น ขี้เหนียวบรรลัยเทวดา ขี้เหนียวบอกไม่ถูก ไอ้เราอุตส่าห์ตามแกไปนะ คิดว่าหล่นสักเม็ดสองเม็ดก็จะมาแจกพวกเรานะ ฮึ แกไม่ยอมหล่น ฉะนั้นไอ้เครื่องประดับเขาจึงไม่นับเป็นของสำคัญ ความสำคัญของเทวดาหรือพรหมก็อยู่ที่รัศมีกาย สว่างมาก สว่างน้อย ความจริงวันนี้ก็สว่างมาก แต่ไฟดับไปบางดวงนะ หมดเวลาเดี๋ยวขึ้นธรรมาสน์ดีกว่า

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>๏ คำว่าฌานสมาบัตินี่ มันมีอยู่ ๔ ตอนด้วยกันคือ หมวดที่ ๑ สุกขวิปัสสโก ฌานสมาบัติด้านนี้ไม่มีความเป็นทิพย์ ไม่สามารถเห็นผี เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ แต่ท่านพวกนี้มีอาการสงบเสงี่ยม หมายความว่า คำว่าคัดค้านพระพุทธศาสนานี่ไม่มี พระอริยเจ้านี่ไม่ค้านพระพุทธศาสนา หมวดที่ ๒ เตวิชโช คือ วิชชาสาม ฌานสมาบัติของหมวดนี้ เห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรกได้ ระลึกชาติได้ แต่ไม่สามารถจะไปเที่ยวได้ หมวดที่ ๓ คือ ฉฬภิญโญ ได้แก่ อภิญญา หมวดนี้ เห็นเทวดาได้ เห็นนรกสวรรค์ได้ เห็นพรหมได้ เห็นนิพพานได้ และไปได้ด้วย หมวดที่ ๔ เรียกว่า ปฏิสัมภิทาญาณ</TD></TR><TR><TD>
    ยมกปาฏิหาริย์ คือพระแสดงฤทธิ์ นี่ลูกหลานทุกคนฟังกันให้ดีนะ พระที่ทรงอภิญญาสามารถแสดงฤทธิ์ได้ แต่ว่าจะแสดงโดยพลการไม่ได้รับอนุญาตจากพระพุทธเจ้า อันนี้ไม่ได้ ต้องได้รับอนุญาตจากพระพุทธเจ้าก่อน ถ้าถามว่า เวลานี้พระพุทธเจ้านิพพานแ้ล้วพระแสดงอภิญญาจะแสดงได้อย่างไร ก็ขอตอบว่า ถ้าคนที่เขาได้อภิญญานี่เขาติดต่อพระพุทธเจ้าได้ในเวลานี้

    แล้วประการที่สอง ถ้าจะมี มีความจำเป็นเกิดขึ้น อย่างอยู่ในป่าไกลๆ ต้องการจะเดินทาง ถ้าคนไม่เห็นสามารถเหาะได้ แต่ถ้าคนจะเห็น ต้องลงเดินก็เป็นธรรมดา อันนี้ทำได้ถ้าความจำเป็นเกิดขึ้นนะ ก็ถ้าถามว่า พระอรหันต์ทุกองค์เหาะได้ไหม ก็ต้องตอบว่า พระอรหันต์ทุกเหล่าไม่ได้เหาะได้ทั้งหมด อรหันต์ขั้น สุกขวิปัสสโก เหาะไม่ได้ อรหันต์เหมือนกันแต่เหาะไม่ได้ อรหันต์ เตวิชโช วิชชาสาม เหาะไม่ได้ใช่ไหม

    แต่ชอบนึกว่าเหาะได้นะถ้าหากว่าชาติก่อนเคยได้อภิญญามาก่อน ชาตินี้จะเป็นสุกขวิปัสสโกก็ตาม เตวิชโชก็ตาม เหาะได้เหมือนกันถ้าฝึกใหม่
    โดยเฉพาะเป็นสุกขวิปัสสโกเป็นอรหันต์เหาะไม่ได้ถ้าฝึกใหม่ถึงอรหันต์เตวิชโชเตวิชโชเหาะไม่ได้ ถ้า ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต เหาะได้

    แต่ว่าการเหาะหรือการแสดงฤทธิ์ต่างๆ พระอรหันต์ย่อมไม่ยินดียินร้ายในถ้อยคำของคน คำสรรเสริญให้ท่านคล้อยตามไปด้วย คำนินทาทุกอย่างนั้น ท่านถือว่าถ้อยคำของคนไม่มีความหมายที่จะบอกให้ท่านเหาะ ถ้าไม่มีความจำเป็นท่านไม่เหาะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#99ccff>๏ เวลาที่จิตมันฟุ้งซ่าน ไอ้คำว่าเวลาจิตฟุ้งซ่านนี่ ความจริงไม่น่าพูด ปกติมันฟุ้งซ่านเป็นปกติ ฉะนั้นใน มหาสติปัฏฐานสูตร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรง ยกอานาปานุสสติกรรมฐานขึ้นเป็นที่ตั้ง เอาไว้เป็นเบื้องหน้า แต่ทว่าการปฏิบัติใน มหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าปฏิบัติโง่ก็ไม่มีผลอะไรเหมือนกัน ต้องปฏิบัติแบบฉลาด คือจับ อานาปานุสสติกรรมฐาน ไว้เป็นพื้นฐาน จะทำกรรมฐานส่วนใดส่วนหนึ่งใน มหาสติปัฏฐานสูตร ก็ตาม จะต้องยก อานาปานุสสติกรรมฐาน ขึ้นเป็นเบื้องหน้า จนกว่าใจจะสบาย แล้วต่อไปจึงจะได้ใคร่ครวญอาการต่างๆ ในมหาสติปัฏฐานสูตร เอากันแบบนี้มันถึงจะมีผล

    ถ้าเราจะมาพูดกัน เอากันแบบกรรมฐานทั้ง ๔๐ ประการ อันนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงอธิบายไว้ละเอียดใน กรรมฐาน ๔๐ มีทรงทุกอย่างอยู่นี่ แต่ว่าใน มหาสติปัฏฐานสูตร ท่านสอนเป็นสาย สุกขวิปัสสโก ควบคุมกำลังใจได้นิดหน่อยก็พิจารณากันไปเลย

    แต่ว่าใน กรรมฐาน ๔๐ นี่ใช้กำลังฌานกันอย่างหนัก มีทั้ง สุกขวิปัสสโก ปฏิบัติแบบสบาย หลับตาแล้วไม่เห็นอะไร มืดตื้อ แต่ว่าใจสบาย เป็นอรหันต์ได้ แล้วก็มี เตวิชโช วิชชาสาม มีตาทิพย์ที่เรียกกันว่า ทิพจักขุญาณ มีญาณคล้ายตาทิพย์ แต่ว่ามีความรู้ ญาณนี่แปลว่ารู้ รู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ บอกลักษณะของบุคคล บอกสีสรรวรรณะได้ แล้วก็มี ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ และยิ่งไปกว่านั้นก็มี ฉฬภิญโญ อภิญญาหก มี อิทธิ์ฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้ ทิพโสตญาณ มีญาณทำให้หูเป็นทิพย์ อย่างนี้เป็นต้น และนอกจากนั้น องค์สมเด็จพระทศพล ก็สอนถึง ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอรหันต์ขั้นสำคัญ ที่จบเป็นอรหันต์ ปุ๊บ แม้แต่ไม่เคยเขียนเรียนอะไรมาเลย ก็ทรงพระไตรปิฎก มีปัญญาดี รู้ภาษาสัตว์ทุกอย่าง จะเป็นสัตว์คนหรือว่าสัตว์มนุษย์ก็ตาม มีกี่ร้อยกี่พันภาษาในโลกนี้ โลกหน้า โลกไหนก็ตาม รู้หมด ไม่ต้องเรียน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เล่ม ๘, ๑๑
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    ตอบแบบไม่ต้องเฉไฉนะครับ

    หลวงปู่ ท่านไม่ใช่ ฉฬภิญโญ ก็ ปฏิสัมภิทัปปัตโต อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เกินที่ผมรู้ผมไม่ตอบนะครับ ฟันธงก็ไม่ได้ เพราะฟันธงได้ก็ต้องเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง รู้แต่ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ครับ

    ว่าแต่คุณถามแบบนี้ เจตนาคุณคือ.................
     
  3. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>อัชฌาสัยฉฬภิญโญ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>อัชฌาสัยของท่านที่ชอบมีฤทธิ์มีเดช ทำอะไรต่ออะไรเกินกว่าสามัญชนจะทำได้ เรียกว่าอัชฌาสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ หรือท่านผู้ทรงอภิญญา ๖อภิญญา ๖ นี้ เป็นคุณธรรมพิเศษสำหรับนักปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องฝึกฝนตนเป็นพิเศษให้ได้คุณธรรมห้าประการก่อนที่จะได้บรรลุมรรคผล หมายความว่าในระหว่างที่ทรงฌานโลกีย์นั้น ต้องฝึกฝนให้สามารถทรงคุณสมบัติห้าประการดังต่อไปนี้

    ๑. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพยโสต มีหูเป็นทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกล หรือเสียงอมนุษย์ได้ยิน
    ๓. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์
    ๔. เจโตปริยญาณ รู้ความรู้สึกในความในใจของคนและสัตว์
    ๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้

    ทั้งห้าอย่างนี้ จะต้องฝึกให้ได้ในสมัยที่ทรงฌานโลกีย์ ต่อเมื่อฝึกฝนคุณธรรมห้าประการนี้ คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว จึงฝึกฝนอบรมในวิปัสสนาญาณต่อไป เพื่อให้ได้อภิญญาข้อที่ ๖ คือ

    ๖. อาสวักขยญาณ ได้แก่การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>อัชฌาสัยปฏิสัมภิทัปปัตโต <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>อัชฌาสัยของท่านผู้มีความต้องการในความรู้พิเศษ ที่มีความรู้รอบตัวยิ่งกว่าท่านผู้ทรงอภิญญา ๖ เรียกว่าอัชฌาสัยของท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโต ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ แปลว่ามีความรู้พร้อม คือท่านทรงคุณธรรมพิเศษกว่าท่านเตวิชโช ฉฬภิญโญหลายประการ เช่น

    ๑. มีความสามารถทรงความรู้พร้อม ไม่บกพร่องในหัวข้อธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ได้โดยครบถ้วน แม้ท่านจะย่างเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพียงวันเดียว ทั้งๆ ที่ไม่เคยศึกษาคำสอนมาก่อนเลย ตามนัยที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ที่มาในพระไตรปิฎกว่ามีมากท่านที่มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพอฟังเทศน์จบ ท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ชั้นปฏิสัมภิทาญาณ ท่านทรงพระไตรปิฏก คือเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติครบถ้วนทุกประการได้ทันท่วงที
    ๒. มีความฉลาดในการขยายความในธรรมภาษิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้พิสดารได้อย่างถูกต้อง
    ๓. ย่อความในคำสอนที่พิสดารให้สั้นเข้า โดยไม่เสียใจความ
    ๔. สามารถเข้าใจ และพูดภาษาต่างๆ ได้ทุกภาษา ไม่ว่าภาษามนุษย์หรือภาษาสัตว์



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    คุณรู้ได้อย่างไรครับ ว่าหลวงปู่ในเวปคุณ ท่านอรหันต์??

    ผมไม่ต้องเป็นกระเทย ผมก็รู้ว่าคนไหนเป็นกระเทย
    ผมไม่ได้ฝึกจิตจนเป็นพระอรหันต์ ผมก็รู้ว่าองค์ไหนเป็นพระทุศีล องค์ไหนเป็นพระอรหันต์ องค์ไหนเป็นพระอริยเจ้า

    ผมใช้วิธี ศึกษา สังเกต และเทียบเคียงเป็นครับ
     
  6. slamb

    slamb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,021
    ค่าพลัง:
    +538
    รวมความว่าคุณเดาเอา หรือคิดไปเอง

    ผมก็หวังว่า คุณจะเดากระเทยถูกนะ
     
  7. slamb

    slamb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,021
    ค่าพลัง:
    +538
    แต่พระอรหันต์ ท่านไม่ใช่สิ่งที่คุณจะเดาเอาเองเหมือนอย่างอืนนะ

    มีพระบรมศาสดา เท่านั้น ที่มีสิทธิ์ บอกได้ว่าใครสําเร็จเป็นพระอริยะหรือไม่
     
  8. slamb

    slamb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,021
    ค่าพลัง:
    +538
    เอาล่ะครับ พอสมควรแค่นี้ก่อน ที่ผมถามตอบมากับคุณมา
    ผมก็เพื่อหวังว่าจะให้กัลยาณมิตร ได้พิจารณา
    สิ่งสําคัญที่สุด เราชาวพุทธ มีประเพณีที่ปู่ย่าตายายสั่งสอนกันมา
    เราก็ควรสานต่อ อย่าให้ใครมาทําลาย

    คุณพระรักษาทุกท่านครับ
     
  9. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    นี่ละครับ........ผลของการยึดรูป มากกว่ายึดธรรม
    ที่กัณลยาณมิตรจะได้ศึกษา

    ข้อความไหนเห็นด้วย ผมก็เห็นด้วย ผมก็อนุโมทนา(แม้จะเป็นผู้ไม่เห็นด้วยกับผม)
    ข้อความไหนผมไม่เห็นด้วย ผมก็ชี้แจงที่ละประเด็น
    ข้อความบางข้อความไม่มีความคิดเห็นของผมแม้แต่พยางค์เดียว แต่เป็นคำพูดคำสอนของครูบาอาจารย์ของคุณ slamb เอง คุณก็ไม่อนุโมทนา
    เพราะอะไร........เพราะ คุณไม่เห็นด้วยกับตัวผม ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับข้อความที่ผมโพสต์
    (ข้อความที่องค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำเทศน์สอน) คุณไม่ยึดในเนื้อหา สาระ คุณกำลังมีอคติกับผู้โพสต์คือตัวผม
    แต่พระอรหันต์ ท่านไม่ใช่สิ่งที่คุณจะเดาเอาเองเหมือนอย่างอืนนะ

    มีพระบรมศาสดา เท่านั้น ที่มีสิทธิ์ บอกได้ว่าใครสําเร็จเป็นพระอริยะหรือไม่
    <!-- / message --><!-- sig -->
    งั้นคุณก็ไม่เชื่อในคำรับรองพระอริยเจ้า ของครูบาอาจารย์คุณเองหรือครับ(เพราะหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านก็รับรองพระอริยเจ้าหลายองค์) และท่านก็ไม่ใช่พระพุทธเจ้า

    และข้อความนี้เอง คุณก็มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่มาก
    สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้ารับรองได้เพียงพระองค์เดียว ไม่ไม่พระอรหันต์องค์ใดรับรองได้ก็คือ ผู้ที่จะมาเป็น พระพุทธเจ้าองค์ ต่อๆๆๆๆๆๆไป
    ส่วนพระอรหันต์หรือพระอริยเจ้าสามารถรับรองกันได้ ในกรณีที่มีภูมิจิตเสมอตน หรือ ต่ำกว่าตนครับ
    เช่นพระอรหันต์สามารถรับรองผู้ที่สำเร็จโสดาบันได้ แต่ผู้สำเร็จโสดาบันไม่สามารถรับรองผู้เป็นอรหันต์ได้ หรือ พระอนาคามีสามารถรับรองพระอนาคามีด้วยกันได้แต่รับรองผู้เป็นอรหันต์ไม่ได้

    ว่าแต่ผมไปรับรองใคร ไป ฟันธงตั้งแต่เมื่อไหร่


    รวมความว่าคุณเดาเอา หรือคิดไปเอง (ข้อความคุณslamb)

    แล้วคุณรู้ไหมครับว่าหลวงปู่ฤาษีลิงดำเป็นพระอริยเจ้า หรือคุณไม่รู้ คุณไม่เชื่อ
    แล้วถ้าคุณรู้ คุณรู้ได้ไงครับ มันก็ตรรกะแบบเดียวกันกับที่คุณถามผมแหละครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  10. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    รวมความว่าคุณเดาเอา หรือคิดไปเอง

    ผมก็หวังว่า คุณจะเดากระเทยถูกนะ


    ข้อความนี้ผมรอเฮียปอมาสะกิดตักเตือนเองว่าเข้าข่ายส่อเสียดหรือไม่
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  11. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    เรียนคุณ miraclei ครับ


    อเสขบุคคล หรือ ไม่ จำเป็น ที่ต้อง รู้ เรื่องของ บุคคล ผู้นั้น เพื่ออะไร?

    คุณอ่านมาตั้งแต่ต้นหรือเปล่าครับ.........ใครเป็นคนอยากรู้ครับ

    อย่าเที่ยว สั่งสอน ใคร หรือ ต้องการเอาชนะ ถัดทาน เพราะ เจ้าเอง ก็ ไม่ได้ เเตกฉาน

    หากเเตกฉาน คงไม่นำ สิ่งที่ อ่าน มา เเจง เพราะ นำข้อความมา ชี้เเจง

    นั้นก็ ไม่ต่างอะไร จาก หนังสือ เล่มหนึ่ง เพียงเท่านั้น หาใช่ ปัญญา ไม่


    ครับ เห็นด้วยครับ ไม่ได้แตกฉานแล้วก็ไม่ใช่ปัญญาแท้ๆของผมด้วยครับ ยอมรับครับ

    ไม่ได้มีเจตนากระแทกแดกดันด้วยนะครับ .........ถ้าคุณอ่านตั้งแต่ต้น คุณจะรู้ครับว่าผมมาแนะนำ ชักชวนให้ไปศึกษาครับ
    <!-- / message -->
     
  12. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    พอผมตักเตือนคุณก็มาอนุโมทนา ในข้อความคำสอนหลวงปู่เพราะตอนแรกคุณมัวแต่มองชื่อผู้โพสต์ อีก2 ข้อความล่างต่อมาก็คำสอนหลวงปู่ครับ แต่ผมไม่ได้ลงชื่อหลวงปู่ไว้

    ดีครับ........อย่ามีทิฐฐิกันเลย คุณไม่ชอบผม ไม่เห็นด้วยกับผม ไม่เป็นไรครับ
    เพียงแต่ผมมีข้อมูลดีๆอะไร ผมก็นำเสนอไปตามนั้นเพื่อเพื่อนๆพี่จะได้ประโยชน์อะไรบ้างไม่มากก็น้อย
    ส่วนข้อมูลไหนที่เฮีย หรือคุณ slamb หรือเพื่อนๆพี่ๆท่านอื่นๆทักท้วง ท้วงติงมาผมก็นำไปศึกษา ตรวจสอบกับในพระไตรปิฏกถ้าถูกต้องผมก็นำไปปรับปรุงแก้ไขและจะมาขอขมาผู้ที่ผมล่วงเกินด้วย (ถ้าผมเป็นฝ่ายเข้าใจผิด)
    สังคมมันตักเตือนกันได้(แบบมีเหตุมีผล)ซิครับมันถึงจะเจริญขึ้น
     
  13. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มี เล่ม 32 หน้า 214

    อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพ ( ความเป็นตัวตน ) เรียกว่ารูปเปรียบ
    ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี
    อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น
    ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย (แม้เพียงนิ๊ดนึง)
    ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี
    เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.

    อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ
    เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต นั้นไม่มี
     
  14. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    รูปเหมือนพระพุทธเจ้า...ไม่มี (อีกที) เล่ม 11 หน้า 66

    ….ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่
    ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต......
     
  15. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    เล่ม 13 หน้า 121

    ...ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษทรงปลื้มพระทัยนักแล
    เมื่อผลกรรมปรากฏ ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดยาว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ยาว ทรงงดงาม
    เพราะอวัยวะส่วนใดสั้นอวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่สั้น ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดล่ำ
    อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ล่ำ ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดเรียว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่เรียว
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดกว้าง อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กว้าง
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดกลม อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กลมดังนี้
    อัตตภาพของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยทานจิต บุญจิต
    ตระเตรียมไว้ด้วยบารมี ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.
    ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ไม่สามารถสร้างรูปเปรียบได้.....
     
  16. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    ธรรม – วินัย ที่พระองค์ตรัสต่างหากเล่า คือตัวแทนพระศาสดา เล่ม 13 หน้า 320

    ....ดูก่อนอานนท์ บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์)
    มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
    ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ
    ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา......


    ความหมายของอุทเทสิกเจดีย์ที่แท้จริง เล่ม 60 หน้า 267

    ...พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง.
    พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.
    พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้าง พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑.
    พระอานนทเถระทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป
    ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์ได้หรือ.
    พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์นั้น
    จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

    สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น...

    *** เจดีย์ แปลว่า ที่เคารพนับถือ , บุคคล – สถานที่ หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา
    *** ภิกษุสงฆ์รุ่นหลังให้ความหมายของอุทเทสิกเจดีย์ว่า
    เจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป


    แต่พระพุทธเจ้าให้ถือเจดีย์คือธรรม (คำสอนของพระองค์) เล่ม 21 หน้า 202

    ครั้งนั้นแล มื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้
    ตรัสธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม ทรงลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
     
  17. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    เล่ม 9 หน้า 536

    .......พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบ้าน เธอพยากรณ์ ( ตอบปัญหา )
    อย่างนี้ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม
    และสหธรรมิก ( ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน ) บางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน
    ดูก่อนนายบ้าน ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้
    สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน
    สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน
    ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณ ( สิ่งที่น่าปราถนา ) ทั้งห้าก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด
    เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วนเดียวว่า มีปกติมิใช่สมณะ ( ผู้สงบ ) มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
    เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้
    ผู้ต้องการเกวียน พึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ
    แต่เราไม่กล่าวโดยปริยายไร ๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.....


    แล้วยังมีระบุเอาไว้โต้งๆ ในหมวดอาบัตินิสสัคคีย์ ข้อ 18 อีก
    เรื่องเงิน - ทองกับสมณะในพุทธศาสนานี้ พระองค์เจ้ากำชับเอาไว้อย่างมากทีเดียว

    การตำหนิแบบนี้เรียกว่าตำหนิตามธรรมของพุทธองค์ จึงไม่มีบาป
    แต่กลับเป็นบุญเสียอีกเพราะรักษาและธำรงไว้ซึ่งพระธรรม - วินัยขของพระตถาคตเจ้า

    เพราะการกระทำผิดทางกาย -วาจา - ความคิด มีได้ทั้งปุถุชนและพระอรหันต์
    เมื่อมีผิดก็ต้องตำหนิ เมื่อมีถูกก็ยกย่องชมเชย

    แต่ถ้าหากมีความผิดอยู่แล้วยังไปยกย่องชมเชยกัน อันนี้ผิดจากธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นบาปไม่น้อยเลย

    ในพระไตรฯ ระบุไว้ชัดที่เล่ม 25 หน้า 165
    ผู้ใด ตำหนิผู้ที่ควรยกย่อง และ ผู้ใดยกย่องคนที่ควรตำหนิ มีโทษคือมีบาปเท่ากัน

    เพราะฉะนั้นใครจะยกย่องใคร หรือ ใครจะตำหนิใคร ก็ให้เีรียนรู้จักพระธรรมของพระพุทธเจ้าให้ดี
    จากนั้นค่อยตำหนิและยกย่องกันไปตามธรรม อย่ายกย่องหรือตำหนิใครไปตามอคติส่วนตัว
     
  18. paranyu

    paranyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +122
    หลักการที่ควรใส่ใจก่อนที่จะมีการตักเตือนกัน เล่ม 22 หน้า 68

    ....พวกเธออย่าเพิ่งโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท (ข้อที่น่าตำหนิ) พึงสอนสวนบุคคลก่อนว่า
    ด้วยอาการนี้ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ (มีการละเมิด)
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น (ไม่ถือแต่ความคิดตนเป็นใหญ่)
    ยอมสละคืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น (ถือแต่ความคิดตนเป็นใหญ่)
    แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้
    เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก
    แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้
    ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย
    ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

    แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ (ผู้มีการละเมิด)
    เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก
    ทั้งเราก็ไม่อาจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

    สูตรนี้ถึงแม้จะสอนพระ แต่โยมก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เหมือนกัน
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขออนุโมทนากับความคิดเห็นของแต่ละท่านนะครับ
    ผมว่าอะไรที่เรายังไม่รู้แจ้ง ก็ไม่ควรจะนำมากล่าวอ้างนะครับ
    การอ้างหลักคำสอนเพื่อประกอบนั้น เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่ว่าเราต้องศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธองค์ให้แตกฉานเสียก่อน
    ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง เพราะคำสอนของพระพุทธองค์นั้น ถ้าเรายังตีความหมายไม่ออก
    จะทำให้เราเข้าใจผิดได้ เหมือนอย่างในสมัยหลังที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว
    พระพุทธศาสนาก็ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายมาจนถึงปัจจุบัน
    นั่นแสดงให้เห็นว่า แม้จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาจะมีอยู่อย่างเดียวคือ การหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง แต่วิธีการที่จะเข้าสู่สภาวะนั้น ก็มีอยู่หลายวิธี
    ดังที่หลวงปู่และอาจารย์หลายท่านได้ปฏิบัติกันมา เพราะฉะนั้นเราต้องศึกษาหลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติให้ถ่องแท้จริง ๆ ก่อนจะนำมาใช้ครับผม
    ที่ผมพูดมาก็ไม่ใช่ว่าจะเก่งหรอกนะครับ ก็พยายามศึกษาแนวทางการปฏิบัติของหลายๆ สำนัก เพื่อมาพิจารณาครับ
    ขอบคุณและอนุโมทนาทุกความคิดเห็นนะครับ
     
  20. Falcon_Se

    Falcon_Se เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2008
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +223
    ระลึกถึงพระพุทธรูปจนขึ้นใจ เป็นพุทธานุสติจับที่องค์พระพุทธรูปตลอดเวลาจนนึกขึ้นเมื่อใดก็เห็นเป็นภาพพระพุทธครับ ..ผมว่าวิธีนี้น่าจะได้ผลกว่าการมีพระพุทธรูปเป็นประธานในการสวดมนต์จริงเสียอีก ลองนึกถึงพระที่ต้องธุดงค์ไปตามป่าเขาสิครับ พวกท่านก็ไม่มีพระพุทธรูปเป็นประธานในการสวดมนต์ทำวัตรเหมือนกัน ..ให้ระลึกถึงพระพุทธรูป แล้วขึ้นพุทธังสรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิครับ ..แล้วสวดตามด้วยบทที่คุณอยากสวดครับ ผมอยากให้คุณนั่งสมาธิด้วยทุกครั้งที่สวดมนต์แล้วอุทิศบุญให้เทวดาที่มาร่วมสวด และเจ้ากรรมนายเวรครับ จะทำให้เราสบายใจขึ้นเยอะเลย

    อ้อ คุณ paranyu ครับ ผมไม่รู้ว่าจะโดนคุณไม่เห็นด้วยอีกคนหรือเปล่า ..เพราะผมบอกเจ้าของกระทู้ไปว่าให้สวดพุทธังสรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิก่อน ..อย่าบอกนะครับว่าแค่บทขอระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็สวดไม่ได้ ..บทนี้ผมว่าทุกคนสวดได้ และรู้ความหมายกันหมดทุกคนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...