สวดมนต์สิบสองตำนาน

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 6 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]


    อานิสงการสวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน พาหุง อานุภาพของพระปริตร ทำไมพระสงฆ์สามเณรจึงลงโบสถ์ สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นทุกวัน<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->?<!--fontc--><!--/fontc--> เมืองไทยเรายังมีวัตถุมงคลของขลังต่าง ๆ มากมาย แม้งานศพก็ยังมีการแจกพระกันอยู่ แต่ละบ้านจะมีพระทั้งที่เป็นเนื้อผง และเหรียญหลวงพ่อต่าง ๆ มากมาย แต่ละบ้านจะมีไม่ต่ำกว่า ๕๐ องค์หรือ ๕๐ เหรียญ ถ้าเป็นนักเล่นหรือนักสะสมพระ จะมีเป็นจำนวนร้อย ๆ องค์ขึ้นไป ก็ยังดีกว่าไปสะสมอย่างอื่น ถ้าได้ใช้วิจารณญาณให้ดีแล้ว ก็จะไม่เกิดโทษกับตนเอง หรือไปกระทบกระเทือนผู้อื่นที่อยู่ใกล้ตัว

    การสวดมนต์ สวดพระปริตร ถ้าได้ทำเป็นประจำจะเกิดอานุภาพปรากฎให้เห็นกับผู้ที่ปฏิบัติอยู่มากราย ที่ได้เล่าสู่กันฟัง

    การสวดมนต์เป็นการอบรมจิตด้วยการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ พร้อมทั้งแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ เป็นกิจของชาวพุทธที่ทำกันอยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่มพูนภาวนาบารมี และขัดเกลากิเลสให้ลดน้อยลงเท่าที่จะกระทำได้

    อัญมณีย่อมมีคุณค่าเหมาะแก่ผู้มีฐานะ พระรัตนตรัยก็เช่นเดียวกัน ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่มีใจอันประเสริฐ บุคคลผู้สวดมนต์เป็นนิตย์จะมีใจเบิกบาน ใบหน้าผ่องใส อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุจิตใจได้ดี และมีสง่าราศรี เป็นที่เคารพนับถือของปวงชน

    วิธีสวดพระปริตรนั้น ต้องสวดคำบาลีมิให้เพี้ยน สวดคำแปลควบคู่กับคำบาลีไปด้วย เพื่อน้อมใจไปในความหมายแห่งพระพุทธพจน์

    การสวดมนต์เป็นประเพณีที่สืบเนื่องกันมาช้านานของชาวพุทธในหลายประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และเจริญเมตตา จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเจริญวิปัสสนาอันเป็นแก่นสารของพระพุทธศาสนา ดังคำกล่าวว่า <!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->“<!--fontc--><!--/fontc-->สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->”<!--fontc--><!--/fontc--> คนสมัยก่อนนิยมสวดมนต์ด้วยบทสวดที่เรียกว่า เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน แต่ในปัจจุบัน นิยมสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔

    บทสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า <!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->“<!--fontc--><!--/fontc-->พระปริตรร<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->”<!--fontc--><!--/fontc--> แปลว่า <!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->“<!--fontc--><!--/fontc-->เครื่องคุ้มครอง<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->”<!--fontc--><!--/fontc--> เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนถึงปัจจุบัน เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี

    พระปริตรมีปรากฏในพระไตรปิฏกคือ

    ๑. เมตตปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต

    ๒. ขันธปริตร มีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต วินัยปิฏก จุฬวรรค และชาดก ทุกนิบาต

    ๓. โมรปริตร มีในชาดก ทุกนิบาต<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->

    ๔. อาฏานาฏิยปริตร มีในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

    ๕. โพชฌังคปริตร มีในสังยุตตนิกาย มหาวรรค

    ๖. รัตนปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต

    ๗. วัฏฏกปริตร มีในชาดก เอกนิบาต และจริยาปิฏก

    ๘. มังคลปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต

    ๙. ธชัคคปริตร มีในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค

    ๑๐. อังคุลิมาลปริตร มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

    คุ้มครองผู้สวด

    ในคัมภีร์อรรถกถามีเรื่องอานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้สวดได้ เช่น เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดักไว้ และเรื่องในสมัยพุทธกาล มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่าได้ถูกเทวดารบกวน จนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องเดินทางกลับ เมืองสาวัตถี ในขณะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเมตตปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจึงปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก

    โบราณจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ถึง ๑๒ ประการคือ

    ๑. เมตตปริตร ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน

    ๒. ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้ายอื่นๆ

    ๓. โมรปริตร ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย

    ๔. อาฏานาฏิยปริตร ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข

    ๕. โพชฌังคปริตร ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง

    ๖. ชัยปริตร ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี

    ๗. รัตนปริตร ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย

    ๘. วัฏฏกปริตร ทำให้พ้นจากอัคคีภัย

    ๙. มังคลปริตร ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย

    ๑๐. ธชัคคปริตร ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย การตกจากที่สูง

    ๑๑. อังคุลิมาลปริตร ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย

    ๑๒. อภยปริตร ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย

    คุ้มครองผู้ฟัง

    อานุภาพของพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย คัมภีร์อรรถกถากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัย ๓ อย่างคือ ความอดอยากแร้นแค้น การเบียดเบียนจากอมนุษย์ และการแพร่ของโรคระบาด พระพุทธเจ้าได้รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงสงบลง

    ในคัมภีร์ยังกล่าวไว้ว่า เด็กคนหนึ่งจะถูกยักษ์จับกินภายใน ๗ วัน พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ภิกษุสวดพระปริตรตลอดเจ็ดคืน และพระองค์ได้เสร็จไปสวดด้วยพระองค์เอง พอคืนที่แปด เด็กนั้นก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีมารดาจึงตั้งชื่อว่า อายุวัฑฒนกุมาร แปลว่า เด็กผู้มีอายุยืน เพราะรอดพ้นจากอันตรายดังกล่าว

    การสวดพระปริตรต้องปฏิบัติอย่างไร<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->?<!--fontc--><!--/fontc-->

    พระปริตรจะมีอนุภาพมาก เมื่อผู้สวดพระปริตรเพียบพร้อมด้วยหลัก ๓ ประการคือ

    ๑.<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->ต้องตั้งจิตใจให้มีเตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง

    ๒.<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->ต้องสวดไม่ผิด ออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกดไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม และรู้ความหมายของบทสวด

    ๓.<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->ไม่เคยทำอนันตริยกรรม คือ ฆ่ามารดา บิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท

    นองจากนี้แล้ว ยังต้องไม่มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดว่ากรรมและผลของกรรมไม่มี มีความเชื่อมั่นในอานุภาพพระปริตรจริง สามารถคุ้มครองผู้ฟังได้

    บทสวดพระปริตรมีอะไรบ้าง<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->?<!--fontc--><!--/fontc-->

    โบราณจารย์ได้จำแนกพระปริตรออกเป็น ๒ ประเภทคือ

    -<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->เจ็ดตำนาน มี ๗ พระปริตรคือ<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->๑. มังคลปริตร<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->๒. รัตนปริตร<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->๓. เมตตปริตร๔. ขันธปริตร ๕. โมรปริตร<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->๖.<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->ธชัคคปริตร ๗. อาฏานาฏิยปริตร

    -<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->สิบสองตำนาน มี ๑๒ พระปริตร โดยเพิ่มจากเจ็ดตำนานอีก ๕ พระปริตรคือ

    <!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto-->๑. <!--fontc--><!--/fontc-->วัฏฏกปริตร<!--sizeo:3--><!--/sizeo--> ๒. อังคุลิมาลปริตร<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->๓.<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->โพชฌังคปริตร<!--sizec--><!--/sizec-->๔.<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->อภยปริตร<!--fonto:Times New Roman--><!--/fonto--> <!--fontc--><!--/fontc-->๕.ชัยปริตร

    พระปริตรยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค และอรรถกถาต่าง ๆ โดยเพิ่ม อิสิคิลิปริตร เป็นอีกหนึ่งปริตรด้วย

    พระปริตรที่ปรากฏในบทสวดมนต์ไทย ฉบับปัจจุบันมี ๑๒ ปริตร อิสิคิลิปริตรไม่ได้จัดไว้ในบทสวดมนต์ เพราะเป็นพระปริตรที่กล่าวถึงชื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่เหมือนพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัย หรือเมตตาภาวนา

    พระปริตรที่ควรสวดเสมอ ๆ

    ผู้มีเวลาน้อย ควรสวดพระปริตรที่สั้นและสำคัญ จึงควรสวดพระปริตร ๔ บทแรก คือ เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เมตตปริตร และขันธปริตร เน้นการเจริญเมตตาภาวนา โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เน้นการเจริญพระพุทธคุณ ผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ควรสวดโพชฌังคปริตร

     
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ทำวัตรเช้า เย็น

    อานิสงส์ของการสวดมนต์ เทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

    ดังปรากฏในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน

    ครั้นพลบค่ำ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตพร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังมายังบ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี ซึ่งในขณะนั้นมีอุบาสก อุบาสิกา นั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยา

    เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์ “ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดมนต์ ”

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่ายังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย

    เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร

    การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ

    • เมื่อฟังธรรม
    • เมื่อแสดงธรรม
    • เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
    • เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
    • เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ

    การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม

    การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ

    • กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
    • ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
    • วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว

    อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอน

    การสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดับพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น

    *ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้น ๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด

    *ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอย ได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก

    ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดา ทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตราย ได้อย่างดีเยี่ยม

    ดูก่อน.. ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใด ๆ ก็ดีจะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล..
     
  3. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    พระคาถาชินบัญชร๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรส คืออริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

    ๒. มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

    ๓.ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

    ๔.พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

    ๕. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

    ๖. มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

    ๗. พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

    ๘. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฎเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

    ๙. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัยแต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

    ๑๐. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตร อยู่เบื้องหลัง

    ๑๑. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

    ๑๒. อนึ่งพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

    ๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตะชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

    ๑๔. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้นจงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

    ๑๕. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ

    อานิสงส์ชินบัญชร

    พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกาเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ

    พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านั้น จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่า เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้

    อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร

    ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กลํ้ากราย ไปทางใด ย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ

    การเริ่มต้นและวิธีสวด

    การเริ่มต้นสวดภาวนาให้หาวันดีคือ วันพฤหัสบดีเป็นวันเริ่มต้น โดยน้อมนำดอกไม้ ธูปเทียนถวายบูชาคุณพระรัตนตรัยและดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ถ้าไปที่วัดระฆังก็ใช้ได้ ถ้าไปไม่ได้ก็ให้ระลึกถึงท่านและหันหน้าไปทางวัดระฆังก็ใช้ได้ เมื่อบูชาพระรัตนตรัยและดวงวิญญาณของเจ้าประคุณสมเด็จแล้ว จึงเริ่มต้นสวดโดยอ่านตามบทให้ได้ ๑ จบ ก็เป็นอันเสร็จพิธีเริ่มต้น
     
  4. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    พระคาถา ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก
    ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอม
    ซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น
    จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับ
    อานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว
    ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง
    ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
    นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
    ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ
    อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว
     
  5. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ความคิดเห็นส่วนตัว
    1. คาถาชินบัญชร ผมคิดว่าในคำแปลก็อธิบายความหมายไว้แล้วว่าแต่ละบทส่งอนิสงค์อะไรบ้าง เช่น สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น เป็นต้น
    2. บท 7 หรือ 12 ตำนาน นั่นคือบทสวดพระปริตร นั่นเองมีอนิสงค์ ถึง 12 ประการ ซึ่งบทพาหุง ก็คือบทหนึ่งในพระปริตรครับ เรียกว่า มงคลปริตร
    3. มีคำกล่าวถึงการสวดมนต์ไว้ว่า
    <!--sizeo:4-->
    <!--/sizeo-->ใจท่องแต่ไม่ได้ออกปาก มีอานิสงส์กว่า ปากท่องไม่ได้ออกจากใจ
    <!--sizec-->
    <!--/sizec--><!--sizeo:4--><!--/sizeo-->
    <!--sizeo:4--><!--/sizeo--><!--sizec--><!--/sizec-->ใจต้องอยู่กับบทสวด ไม่ใช่ปากท่องขึ้นใจ แต่ใจไปคิดเรื่องต่างๆ

    ตั้งสติพิจารณาอักษร หรือคำ หรือความหมาย

    หรือตั้งสติรู้ที่ ลมหายใจ หรือ ปากที่กำลังสวด

    สวดมนต์ควรจะรู้คำแปล เพื่อจะได้ปัญญา

    แม้ยังแปลไม่ออก ใจควรเลื่อมใส ศรัทธา นำ

    น้อมจิตใจ สวดบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    สวดรู้คำแปลได้ปัญญา

    สวดไม่รู้คำแปลได้ศรัทธา

    อานิสงส์จากการสวดมีจริง<!--sizec-->
    <!--/sizec-->

    **********************************

    ท่านใด ประสงค์ สนทนาธรรมตามกาล ก็ทาง MSN ได้ครับ thaibiztrp@hotmail.com



    ที่มา http://www.dmc.tv/forum/lofiversion/index.php/t9254.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...