สวดอิติปิโสฯ 108 จบ เพื่อขออโหสิกรรม-ลดกรรมและแก้กรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ธูปหอม, 14 มีนาคม 2007.

  1. ธูปหอม

    ธูปหอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +291
    พอดีได้อ่านเจอใน เรื่องเล่าบนฝาบาตร โดย : เนิน เคียงดาว ก็เลยเอามาฝากค๊ะ


    สวดอิติปิโสฯ 108 เพื่อขออโหสิกรรม-ลดกรรม และแก้กรรมffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    1. จัดหาเหรียญบาท ( ใหม่ๆ ยิ่งดี ) จำนวน 108 เหรียญ<O:p></O:p>
    2. เข้าห้องพระจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย ( ก่อนนอนหรือหลังตื่นนอน ) เริ่มสวด<O:p></O:p>
    - อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะวะวันตัง อภิวาเทมิ ( กราบ )<O:p></O:p>
    - สวากขโต ภะคะวะตาธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ( กราบ )<O:p></O:p>
    - สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ( กราบ )<O:p></O:p>
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )<O:p></O:p>
    3. สวดอิติปิโสฯ 108 จบ สวดจบแต่ละจบให้หยิบเหรียญบาทออก 1 เหรียญ <O:p></O:p>
    จนครบ 108จบ / 108 เหรียญ เริ่มสวด<O:p></O:p>
    - อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุธโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต <O:p></O:p>
    โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุธโธ ภะคะวาติ<O:p></O:p>
    ( 108 จบ / 108 เหรียญ )<O:p></O:p>
    4. นั่งสมาธิให้ใจใสเกิดกำลังบุญด้วยเวลาพอสมควร<O:p></O:p>
    5. เสร็จแล้วแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายffice:smarttags" /><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]เวร เทพเทวา</st1:personName> วิญญาณปู่ย่าตาทวด ทั้งญาติและมิใช่ญาติทั้งหลาย<O:p></O:p>
    คำแผ่เมตตา<O:p></O:p>
     
  2. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,516
    ค่าพลัง:
    +27,187
    สายกลางที่ว่าทำยังไงเหรอ
     
  3. toottoo

    toottoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +3,254
    อนุโมทนาครับก็เป็น .... อีกตำรานึง
    ส่วนหลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
    ให้สวดพาหุง มหากา + อิติปิโสเท่าอายุบวก 1
     
  4. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    อยากทราบที่มาของการสวด อิติปิโส 108 จบ แล้ว แก้กรรมได้นี้ ว่ามาจากแหล่งใดครับ
     
  5. wudiman

    wudiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +1,333
    อนุโมทนา สวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก(เดิม) ก็ได้ครับ เช้า-ค่ำ ทุกวัน จิตจะสงบเร็วครับ....สาธุ!!!
     
  6. ภัทรอังคาร

    ภัทรอังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    4,904
    ค่าพลัง:
    +14,098
    อันนี้ที่พูดมาถูกต้องเลยค่ะ แล้วก็บวกการเจริญพระกรรมฐานด้วยค่ะ กรรมฐานเพื่อการแก้กรรม แต่จะว่าไปมนต์บทไหนสวดแล้วก็ดีหมดค่ะ ยิ่งสวดแบบมีสติ มีสมาธิแน่วแน่ด้วยแล้วยิ่งดีมากๆ แต่สวดอิติปิโส 108 จบ ก็ไม่เคยรู้มาก่อนนะค่ะ ว่าจะสามารถแก้กรรมได้ เพราะภัทรก็สวด 108 จบทุกวันช่วงเข้าพรรษา แต่สวดเพื่อเป็นพุทธบูชาไม่ได้คิดว่าจะสามารถแก้กรรมอะไรให้กับชีวิตเราได้
     
  7. TKP969

    TKP969 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +34
    อนุโมทนาสาธุ<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message -->
     
  8. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    โทษนะคะ หลวงพ่อจรัญฯ ค่ะ เคยพิมพ์ชื่อท่านผิดเหมือนกับคุณน่ะค่ะ ตอนหลังมารู้ อายหลวงพ่อจริง ๆ ค่ะ เพราะพิมพ์ลงในหนังสือสวดมนต์แล้วนำไปถวายหลวงพ่อฯ ด้วย

    สาธุค่ะ
     
  9. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    ดีแล้วค่ะ ปฏิบัติต่อไปนะคะบทสวดมนต์เป็นพุทธคุณหมดนั่นแหละค่ะ เพราะว่าเป็นคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเป็นไมเกรน(ปวดศีรษะข้างเดียว) แล้วได้สวด 108 จบ แล้วก็ตามด้วยคาถาบทอื่น ๆ หลังจากนั้นไปทำบุญใส่บาตร ปล่อยปลา อฐิษฐานจิตแผ่เมตตาอุทิศกุศลผลบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวร ฯลฯ ที่สำคัญนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐานด้วยค่ะ ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ เลยค่ะ (เคยได้ไปปฏิบัติที่วัดอัมพวันมาด้วยค่ะ)
    สาธุค่า
     
  10. nui_sirada

    nui_sirada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2008
    โพสต์:
    399
    ค่าพลัง:
    +371
    ของเราสวดเท่าอายุจริง และบวกไปอีก1บท ของหลวงพ่อจรัญ เพื่อแก้กรรม ทำสมาธิร่วมด้วยค่ะ ชีวิตดีขึ้นค่ะ มีลุงยามแถวบ้านก็แนะให้สวด108จบ ทุกวัน ถ้ามีเวลามากพอก็จะหาเวลาสวดให้ครบค่ะ เพราะงานแต่ละวันก็ค่อนข้างเย่อะอิอิ
     
  11. benjaminben

    benjaminben Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +31
    ดีมากเลยจ๊ะ ไม่ใช่สิ่งใหม่นะจ๊ะ เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสไว้นานแล้ว ดังในพระธชัคคสูตร บทอิติปิโส เป็นบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วยพระองค์เองเลยนะจ๊ะ เอาเลยสนับสนุนสวดกันมาก ๆ ได้อานิสงค์มาก ทำให้มีความอาจหาญ ในคุณพระรัตนตรัย พ้นภัยทั้งปวง
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]ธชัคคสูตรนี้ สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ณ เมืองสาวัตถี ทรงมีพระประสงค์จะเตือนพุทธบริษัทให้ใส่ใจหมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพื่อเพิ่มพูนกำลังใจในการปฏิบัติ ระงับความฟุ้งซ่านจิต ระงับความสะดุ้งหวาดเสียวขณะที่ประสบภัย ทั้งประสงค์จะประกาศอานุภาพของพระรัตนตรัย ว่าทรงคุณ ควรแก่การระลึกถึงจริงๆ จึงได้แสดงธชัคสูตร [/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]เป็นความจริงเหลือเกิน ที่การใส่ใจ เป็นคุณสมบัติผลักดันสรรพธุระของทุกคนที่ประกอบให้พลันลุล่วง ไม่ว่าธุระนั้น จะเป็นทางโลก หรือ ทางธรรม ไม่ว่าจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระ ไม่ว่าจะเป็นธุระในป่าหรือในบ้าน จะเป็นส่วนตัวหรือส่วนรวม ถ้าได้ลงมือปฏิบัติแล้ว หากขาดความใส่ใจ ไม่ระลึกถึง ธุระนั้นก็ยากที่จะสำเร็จ ตรงข้ามกับมีคุณธรรม คือ การใส่ใจ หมั่นระลึกถึงธุระนั้นไว้เนื่องๆ แม้ที่สุด การหลีกจากความวุ่นวายของสังคม เร้นหาความสงบสุขก็ดี ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงอนุสสติไว้ ๑๐ ประการ ว่าเป็นอารมณ์ทำใจให้สงบสุข ในอนุสสติทั้ง ๑๐ นั้น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ ๓ ประการ ที่จะกล่าวในที่นี้เป็นอนุสสติที่ไม่จำกัดบุคคล ไม่เลือกนิสัย ไม่เป็นข้าศึกแก่ธรรมารมณ์ เหมาะแก่ชนทุกชั้น ทุกวัย ทุกเพศ และทุกกาล ดังนั้น ผู้รู้จึงสรรเสริญ[/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]อนุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า นั้น ความจริงไม่เพียงเป็นทางให้จิตผ่องใส สดชื่น มีปิติ อิ่มใจ ให้สงบอารมณ์ฟุ้งซ่าน เท่านั้น พระบรมศาสดายังตรัสบอกว่า ยังเป็นคุณช่วยกำจัดความสดุ้ง หวาดเสียว ถึงตัวสั่นได้ด้วย[/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]ความกลัว ซึ่งเรียกว่า ภัย นั้น ย่อมบังเกิดแก่ผู้แม้จะนั่งอยู่ในที่วิเวก ชนิดที่เรียกว่า ปลอดสรรพภัยพิบัติทั้งหลายแล้วได้ เพราะเขาผู้นั้นอาจกลัวต่อความเงียบ แปลว่า ความเงียบที่เขาต้องการกลับเป็นภัยขึ้นก็ได้ บางคราว ก็กลัวแม้แต่เสียงลมพัด นกร้อง จิ้งหรีดร้อง ตุ๊กแกร้อง เสียงใบไม้แกรกกราก เสียงกิ่งไม้แห้งตกลงมา ก็เกิดขนลุกขนพอง นั่งอยู่ไม่ได้ กลัวแม้แต่เงาของตัวเอง หวาดแม้แต่เสียงฝีเท้าของตัวเองและบางครั้งก็ขลาดต่ออารมณ์ที่นึกสร้างขึ้นมาเป็นรูปหลอนใจ ให้สะดุ้งคิดเห็นเป็นลางร้ายจักให้โทษ เบียดเบียน ภัยเหล่านี้ใครช่วยไม่ได้ แม้จะมีแสนยานุภาพก็ไม่สามารถจะช่วยบำบัดได้ ด้วยเป็นอารมณ์เกิดกับจิต ผู้นั้นอาจคิดเห็นไปว่า ผู้ที่ติดตามให้อารักขาเหล่านั้นแล กำลังจะเป็นศัตรูร้ายต่อตัวในขณะนี้ ดังนั้น ภัยเหล่านี้จึงมีอำนาจเหมือนภัยทั้งหลาย [/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]พระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณาประทาน ธชัคคสูตร โดยตรัสสอนให้ใส่ใจ หมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพราะอานุภาพของคุณพระรัตนตรัยที่บุคคลหมั่นระลึกไว้ดีแล้ว จักสามารถบำบัดสรรพภัยทั้งผองนี้ได้ ทั้งตรัสว่า ทรงอานุภาพเหนืออำนาจเทพเจ้าชั้นสูงสุดด้วย โดยตรัสเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า [/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]แต่ปางก่อน เมื่อสงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันขึ้นในเทวโลก ครั้งนั้น เหล่าเทวดาก็มีความสะดุ้งหวาดกลัวต่อพวกอสูรไม่น้อยถึงกับท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพเจ้า ๓ ชั้นฟ้า ให้ประชุมเทพยดาทั้งสิ้น แล้วจัดทำธงชัยประจำทัพทั้ง ๔ ทิศ เป็นสัญญาณต่อต้านพวกอสูร โดยเทวบัญชาว่า “ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ในขณะทำสงครามกับเห[/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif]ล่าอสูร ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า อันจะทำให้เสียกำลังรบ อาจเกิดมีแก่บางท่านได้ ดังนั้น ถ้าคราวใดเกิดมีความกลัวขึ้น ขอให้ทุกท่านจงมองดูชายธงของเรา แล้วความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไปได้ หรือถ้าไม่มองชายธงของเรา ก็จงมองดูชายธงของท้าวปชาบดี ของท้าววรุณ หรือของท้าวอีสานะ องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อท่านทั้งหลายได้มองดูชายธงแล้ว ความกลัว ความสดุ้ง ขนพองสยามเกล้าจักหายไป[/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]ภิกษุทั้งหลาย ถึงเทวดาที่มองดูชายธงของท้าวเทวราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น บางครั้งก็หาย บางครั้งก็ไม่หาย คือ หายบ้าง ไม่หายบ้าง หรือ หายแล้วก็กลับกลัวอีก ข้อนั้น เพราะอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะท้าวสักกะเทวราช ท้าวปชาบดี ท้าววรุณ และท้าวอีสานะ ผู้เป็นเจ้าของธงชัยนั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีกิเลส จึงยังกลัว ยังหวาดเสียว ยังสดุ้ง ยังหนีอยู่ ก็เมื่อจอมเทพ จอมทัพ ยังกลัว ยังสะดุ้ง ยังหนีอยู่แล้วอย่างไร ชายธงของท้าวเธอจึงจะบำบัด ความกลัว ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ที่ทำให้เสียขวัญถึงแก่หนี ไม่คิดสู้เขาเสมอไปได้เล่า[/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]ภิกษุทั้งหลาย ส่วนพระรัตนตรัย ที่ท่านทั้งหลายคารวะนับถือปฏิบัติอยู่นั้น ทรงคุณ ทรงอานุภาพ เหนือท้าวเทวราชเหล่านั้น เหนือธงชัยของท้าวเทวราชเหล่านั้น ดังนั้น เมื่อท่านทั้งหลาย จะอยู่ในป่าก็ตาม อยู่ที่โคนไม้ก็ตาม หรือจะอยู่ในเรือนว่างก็ตาม หากความกลัวหรือความหวาด ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ก็ดี บังเกิดขึ้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า “ อิติปิโส ภะคะวา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตโล ปิริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ติ” เป็นต้น เมื่อท่านทั้งหลายระลึกด้วยดีแล้ว ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าเหล่านั้นจักหายไป[/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]ภิกษุทั้งหลาย หากท่านทั้งหลายจะไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็พึงระลึกถึงพระธรรมเจ้าว่า “ สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” เป็นต้น หรือไม่ก็พึงระลึกถึงพระสงฆ์เจ้าว่า “ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ” เป็นต้น ก็ได้ ด้วยอานุภาพคุณพระธรรมและพระสงฆ์นั้น จัดบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าให้หายไปแท้เทียว ข้อนั้นเพราะอะไร [/FONT]
    [FONT=Comic Sans MS, sans-serif][/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif]ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีกิเลส ไม่กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าใดๆ ไม่หนี ดังนั้น อานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า จึงสามารถบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของบุคคลที่มาระลึกถึงให้หายไปได้เสมอแท้ทีเดียว ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ แสดงว่า พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นคุณอันทรงอานุภาพ ควรแก่การเจริญ ควรแก่การระลึกอย่างยิ่ง ฯ[/FONT][FONT=Comic Sans MS, sans-serif].[/FONT]
     
  12. Snow

    Snow เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    704
    ค่าพลัง:
    +2,379
    เคยลองสวดอิติปิโส 108 จบ ดูเหมือนกันค่ะ แต่แปลกใจตนเองเหมือนกันเพราะอยากสวดเองโดยไม่มีใครมาบอกว่าจะต้องสวดให้ถึง108 จบ ก็รู้สึกว่าจิตสงบดีค่ะ แต่หลังๆรู้สึกว่าสวดไม่ไหวเพราะเริ่มสวดบทอื่นเพิ่มเติมด้วยซึ่งถ้าสวดอิติปิโส108 จบจะกินเวลานานมาก จึงเหลือแค่ อิติปิโส เท่าอายุค่ะ
     
  13. viphard

    viphard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +1,877
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=EbOIZW_V39c"]http://www.youtube.com/watch?v=EbOIZW_V39c[/ame]


    หัวใจของการสวด บทพุทธคุณ หรือ อิติปิโส นั้น
    อยู่ที่ใจระลึกถึงคุณพระพุทธด้วยจิตตื่นซื่อๆ ครับ
    แล้วเมื่อใด ใจถึงซึ่งพุทธคุณ (พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ฯลฯ)
    ใจจะปรากฏตัวเป็นใจที่สว่าง ตื่น รู้ และเบิกบาน สงบแต่ร่าเริง

    และถ้าใครจิตไวๆ สักหน่อย ก็อาจจะสัมผัสได้ถึง
    พลังงานแห่งพุทธคุณ ที่มีอยู่แล้วแต่ไม่เคยหายไปไหนปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตา
    เป็น พลังงานแห่งความสว่าง เป็นพลังงานแห่งความตื่นครับ
    จิตใจมีแต่ตื่นรู้ โดยไม่ต้องมีการประคองให้นิ่งไรเลย
    ไม่มีทฏษฏี หรือ ความคิด ปน
    แต่อาจมีความคิดที่อาจจะมีทำงานขึ้นมาเองปรากฏให้เห็นตามหน้าที่ของเค้าได้ง่ายๆ
    เราจะเอามาใช้อธิษฐาน เพื่อประโยชน์อื่น
    หรือ เอามาใช้เจริญวิปัสสนา เพื่อทำประโยชน์ตนก็ได้
    จิตใจจะเกิดความรู้สึกตัวตามที่เค้ามีเค้าเป็นได้คล่องแคล่วมากๆเชียวครับ

    บางท่านเลยใช้บทพุทธคุณนี้มาสวดแบบวนเรื่อยๆ เพื่อช่วยปลุกจิตใจที่หลับหลง
    ให้เต็มตื่นขึ้น ด้วยการสวดเป็นจำนวนรอบ 3 รอบบ้าง 9 รอบบ้าง 56 รอบบ้าง
    หรือแบบสุดๆ หน่อย คือ อิติปิโสฯ 108 รอบ

    แต่ปัญหา ของคนที่หัดเริ่มสวด อิติปิโสฯ แบบ 108 รอบเองใหม่ๆ
    คือ ไม่รู้จะนับอย่างไรดี

    วิธี การนับ อิติปิโส 108 แบบง่ายๆ ครับ
    แบบพื้นๆ แบบเบื้องต้นพื้นๆ เลย คือ ให้คุณหาลูกประคำ 108 เม็ด มาใช้ครับ
    (ไม่ก็ใช้ วัตถุอื่นไรๆ อย่างที่เพื่อนๆ ท่านอื่นๆแนะนำก็ได้ ขอให้ได้ 108 )

    ข้อดีคือ เหมาะสำหรับ มือใหม่หัดขับครับ
    รอบนึงก็เลื่อนเม็ดลูกประคำไปหนึ่งเม็ด
    เราจะไล่ไปเรื่อยไม่ต้องสนใจจำนวนแล้ว
    ครบรอบเส้นประคำ ก็ได้ 108 รอบกันแล้วหล่ะ

    แต่ก็มีข้อเสีย ครับ
    คือ สำหรับผู้หากนิยมสวดแบบ 108 รอบ เรื่อยๆ
    อาจจะพบว่า บางครั้งบางคราว แทนที่จิตใจจะสวดแล้วตื่นสว่างไสว
    กลายเป็นว่า จิตใจคอยมานั่งมองดูว่าเมื่อไหร่จะครบเสียที แบบเอาปริมาณ
    ซึ่งใจจะคอยรอพลิกเป็น เบื่อๆ ๆ ๆ เมื่อไหร่จะได้ครบสักทีว้าาาาา....
    เกิดได้เป็นระยะๆแทนจะเกิดจิตตื่นได้ครับ

    วิธีถัดมา เกิดมาจากได้ลองประยุกต์เอาเองครับ
    อาศัย สวดประจำ แล้วพบว่า มัวไปถือประคำนับเป็นภาระอย่างนึง
    ใจมักจะคอยเบื่อแทนเอาบ้างอย่างนึง อยากให้จบไวๆ อย่างนึง
    เลยไม่ค่อยได้คุณภาพเท่าไหร่

    เลยได้ออกแบบวิธีไล่ลำดับขึ้นเองแบบไม่ต้องพึ่งวัตถุอื่นไรครับ
    และพบว่าเมื่อสวดด้วยวิธีนี้ จิตใจอย่างน้อยๆ จะเกิดความคล่องตัว
    และเมื่อสวดได้คุณภาพบวกด้วย
    จิตใจจะถึงพุทธคุณ เกิดจิตตื่นสว่างไสว
    โดยไม่ต้องทำอะไรได้ดีกว่ามากครับ

    แล้วจะพบว่า เหมือนเกิดเป็นสนามพลังงานแห่งความตื่นปรากฏอยู่รอบตัว
    เป็นปริมณฑล เป็น "มัณฑะละ" อยู่รอบตัวเชียว (ถ้าจิตไวๆ)


    เบื้องต้น แรกๆอาจงงนิดหน่อยช่วงแรกๆ
    แต่เมื่อคล่องแล้วต่อไปไม่ต้องกังวลเรื่อง จำนวน เรื่องตัวตัวเลขรอบ
    ว่าสวดไปได้ถึงกี่รอบกันแล้วหล่ะครับ

    เราจะอาศัย "กายเราที่มี" นี่แหละครับ มาใช้กัน
    มีลำดับที่ค้นพบขึ้นมาเองดังนี้ครับ

    **************************************
    Set A : "Set เปิดปราณร่างกาย"
    [ เมื่อสวดครบเราจะสวด อิติปิโสฯ ได้ถึง 7 รอบ ]

    โดยขณะสวดให้ไล่ไปรอบนึงไปตามจุดต่างๆร่างกาย
    เพื่อเปิดปราณของร่างกายให้ทำงานคล่องดังนี้

    "กระหม่อม, หน้าผาก, ลำคอ, หน้าอก,
    สะดือ, ท้องน้อย, และจุดกึ่งกลางระหว่างทวารหนัก-ทวารเบา"

    ไล่ 7 รอบนี้ แค่นี้ ก็จะช่วยกระตุ้นปราณร่างกายให้เปิดคล่องตัว
    ปราณเมื่อใดไหลเวียนไม่ติดขัด
    จะพาร่างกายเกิด ปัสสัททิ มีความสงบระงับกาย สบายกายกันง่ายกันแล้วหล่ะครับ

    **************************************
    Set B : "Set แห่งทิศทั้ง 8"
    [เมื่อสวดครบจะได้ อิติปิโสฯ เพิ่มถึงอีก 8 รอบ ]

    จากนั้นเมื่อไล่ตามจุดปราณสำคัญหลักๆของร่างกายแล้ว
    เราจะมาไล่รอบทิศทั้ง 8 กันครับ
    โดยเริ่มจาก 4 ทิศหลัก วนเป็นวงกลมรอบ ตัว คือ

    "ด้านหน้า -> ด้านขวา -> ด้านหลัง ->ด้านซ้าย"
    .... (ได้อิติปิโส 4 รอบ)

    แล้ว ต่อด้วยแนวทะแยงมุมทั้ง 4 วนเป็นวงกลมรอบดังนี้

    "ทแยงขวาหน้า -> ทแยงขวาหลัง ->ทแยงซ้ายหลัง->ทแยงซ้ายหน้า "

    รวมแล้วจะได้ อิติปิโส รอบตัว 8 ทิศ 8 รอบ
    ใครเมื่อสวดครบถึงตรงนี้ และด้วยจิตตื่นๆ
    (จิตไวๆ ) จะพอเริ่มเห็นเหมือนปรากฏสนามความตื่นของจิต เริ่มปรากฏขึ้นอยู่รอบตัว

    **************************************
    Set C : "Set แห่งการนมัสการพระรัตนตรัย"
    [ เมื่อสวดครบจะได้ อิติปิโสฯ ถึง 6 รอบ ]

    Set นี้ เราจะมาบูชา พระรัตนตรัยกันครับ
    โดยเริ่มจากมาสร้างพระพุทธรูปกันก่อน
    คือ เมื่อวาดพระพทธรูปลงที่ร่างกายตัวเอง นั่นแหละครับ

    "มีเศียร, มีลำตัว, มีหน้าตัก" .....

    สวดรอบนึง ก็วนเป็นเศียร สวดอีกรอบก็วนเป็นร่างกาย สวดอีกรอบก็วนเป็นหน้าตัก
    นี่ก็จะได้ถึง 3 รอบแล้วหล่ะ

    ต่อมาก็วางใจ ว่ามี "รัตนะประเสริฐ" ยิ่ง
    เป็น แก้วมณีที่มีค่าเหนือยิ่งกว่ารัตนะใดๆทั้งในโลกมนุษย์หรือในโลกแห่งเทพทั้งปวง 3 ดวง
    นั่นคือ รัตนตรัย 3 ...เรามาวางเป็น 3 เหลี่ยม รอบพระพุทธรูป ข้างต้น (คือ รอบตัวเอง)

    รัตนะทั้งสาม ไปวางไว้ที่ตำแหน่งดังนี้
    "ด้านหน้า, เฉียงขวาหลัง, เฉียงซ้ายหลัง" ...

    รวม Set นี้ก็ได้เป็น 6 รอบ กันหล่ะ
    และใครเมื่อสวดถึง Set นี้
    จะได้ทั้งประดิษฐาน พระพุทธลงที่ตัวเอง
    และจะเหมือนได้สักการบูชาทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    รัตนะ 3 ไปด้วยในตัวครับ

    **************************************
    Set D : "Set ปูชา จะ ปูชนียานัง - บูชาบุคคลที่ควรบูชา"
    [ เมื่อสวดครบจะได้ อิติปิโสฯ ถึง 12 รอบ ]

    Set นี้มีดังนี้
    1) "ตำแหน่งเหนือเศียร" : พระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์ มี พระตัณหังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาทิ
    2) "ตำแหน่งตาทั้งสอง" : พระธรรม
    3) "ตำแหน่งอก" : พระสงฆ์
    4) "ตำแหน่งหัวใจ" : พระอนุรุทธะ (ผู้เลิศด้านเจโตฯ)
    5) "ตำแหน่งปีกขวา" : พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา)
    6) "ตำแหน่งด้านหลัง" : พระอัญญาโกณฑัญญะ (พระอริยสาวกท่านแรก)
    7) "ตำแหน่งปีกซ้าย" : พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย)
    8) "ตำแหน่งหูขวา" : พระอานนท์และพระราหุล
    9) "ตำแหน่งหูซ้าย" : พระกัสสปะและพระมหานามะ
    10) "ตำแหน่งประธานหลัง" : พระโสภิโตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    11) "ตำแหน่งปาก" : พระกุมารกัสสปะ (เลิศด้านวาจา)
    12) "ตำแหน่งเจิมหน้าผาก" : พระอริยสาวกทั้ง 5 มี พระปุณณะ, อังคุลีมาล, อุปาลี, นันทะ , สีวลี

    ใครสวดบทชินบัญชร ประจำ จะพบว่า
    นี่แหละคือ ลำดับที่ความหมายที่ปรากฏในบทพระคาถาชินบัญชร
    ใครสวดจบ 12 รอบอย่างนี้ ก็จะเหมือนได้สวดบทชินบัญชร ไปด้วยในกลายๆ ในตัวเลยเชียวครับ

    หมายเหตุ
    ------------
    อนึ่ง Set D ที่มี 12 รอบ นั้น ข้างต้น
    อิง พระคาถาชินปัญชร เป็นหลัก
    แต่อาจจะจำยากได้สำหรับคนที่ไม่คุ้นบทชินปัญชร

    ก็จะเอาไปประยุกต์นับ วนรอบตัวแบบอื่นก็ได้ครับ แบบที่ท่านเองจำง่ายๆ เอา
    เช่น Set D 12 รอบ = 8 ทิศ + เพิ่ม 4 ทิศ ท้าวมหาเทพจตุโลกปาล
    ซึ่งมหาเทพผู้คุ้มครองพระพุทธศาสนา ทั้ง 4 ตามอาฏานาฏิยปริตร
    ก็ได้ครับ จำง่ายดี

    **************************************
    Set E :
    เหมือน Set C กลับไปนมัสการพระรัตนตรัย ก็จะได้เพิ่มอีก 6 รอบ

    Set F :
    เหมือน Set B กลับไปนมัสการรอบทิศ 8 รอบตัว ก็จะได้เพิ่มอีก 8 รอบ

    Set G :
    เหมือน Set A กลับไปเปิดปราณทั้ง 7 ก็จะได้เพิ่มอีก 7 รอบ
    **************************************

    จากนั้น ก็เริ่ม Set A - G ใหม่ อีกหน

    สูตรจำง่ายๆ คือ [ 7-8-6-12-6-8-7 ] แล้วให้วนไป 2 รอบ
    ได้ทั้งเปิดปราณ ได้ทั้ง สร้างพระ ได้ทั้งสักการะพระรัตนไตร- พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ได้ทั้งบทชินปัญชร โดยไม่ต้องสวดชินปัญชร
    และเมื่อครบตำแหน่งรอบตัวดังนี้
    เราก็ได้ อิติปิโสฯ ครบ 108 พอดีๆ เสียด้วยครับ!!

    แรกๆ คงต้องใช้เวลาสักนิดหน่อย เพื่อทำความเข้าใจเรื่องลำดับสักนิดครับ
    แต่ต่อไปจะไม่ต้องห่วงเรื่อง ว่าไปกี่รอบแล้วกันเลยแล้วครับ
    จากแทนที่ ใจจะเกิดเป็นเบื่อเอาปริมาณเป็นระยะๆ เพราะมัวสนใจว่าเมื่อไหร่จะได้จำนวนสักที
    ใจจะถูกปลุกให้มาตื่น เป็นระยะๆ ปรากฏไปตามรอบตัวของผู้สวดนั้นเอง
    กลายเกิดเป็นจิตพุทธะที่มีคุณภาพของผู้สวดนั้นแทน

    และใครเมื่อสวดจนครบดังนี้
    จิตใจที่ชำนาญขึ้นๆ จะสัมผัสได้ถึง จิตที่ตื่น รู้ เบิกบาน อยู่ในตัว
    เป็นจิตที่ตื่นสว่างไสวคล่องแคล่ว รู้ไม่ใช่คิด แต่เห็นคิดทำงานได้เอง
    เป็นจิตไม่เชื่องซึม ไม่นิ่งแบบโง่ๆ แบบสมถะ
    แต่เป็นจิตสงบที่ ตื่นร่าเริง เบิกบานอยู่ภายใน
    เอามาใช้เจริญวิปัสสนา เห็นสภาวะตามที่เขามีปรากฏเป็นขณะๆได้ดีทีเดียวเชียวครับ
    ref : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/04/Y10447536/Y10447536.html

    ในพระคาถาอิติปิโส จะประกอบด้วย ห้องพระพุทธคุณ 56 ตัว ห้องธรรมคุณ 38 ตัวและห้องสังฆคุณอีก 14 ตัว รวมเป็น 108 พอดี หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระคาถา อิติปิโส รัตนมาลา
    ๑. อิระชาคะตะระสา เรียกว่ากระทู้ ๗ แบก คุ้มทิศบูรพา เสกเป่าพิศสัตว์กัดต่อย
    ๒.ติหังจะโตโรถินัง เรียกว่า ฝนแสนห่า คุ้มทิศอาคเนย์ บทนี้ทำน้ำมนต์ รดคนเจ็บไข้ได้ป่วย
    ๓.ปิสัมระโลปุสัตพุธ เรียกว่านารายณ์เกลื่อนสมุทร คุ้มทิศทักษิน ภาวนากันภูตผีปีศาจ
    ๔.โสมานะกะริถาโธ เรียกว่านารายณ์คลายจักร คุ้มทิศหรดี เสกสวด108 คาบทำน้ำมนต์
    ไล่ผี หรือคน ท้องกินคลอดลูกง่าย
    ๕. ภะสัมสัมวิสะเทภะ เรียกว่านารายณ์ขว้างจักรไตรตรึงภพ คุ้มทิศประจิมเสกพรมร่างคนไข้
    ไล่ภูพผีปีศาจ
    ๖.คะพุทปันทูธัมวะคะ เรียกว่านารายณ์พลิกแผ่นดิน เสกน้ำมนต์ป้องกันผีเจ้าเข้าทรง
    หรือถูกคุณกระทำชะงักนัก
    ๗.วาโธโนอะมะมะวา เรียกว่าตวาดป่าหิมพานต์ คุ้มทิศอุดร เสกด้าย หวาย มีด ข้าวสาร ขับไล่ผี
    ผีป่าเวลาเดินทาง
    ๘.อะวิชสุนุตสานุสติ เรียกว่านารายณ์แปลงรูป คุ้มทิศอีสาน เสกเป่าตัวเอง
    เวลาออกจากบ้านแคล้วคลาด..
    ภาวนาป้องกันภัยอันตราย 108 มีคุณอเนกคณานับ
    จากหนังสือตำราพรหมชาติ หน้า 247-248 หมวด พระคาถามหาอาคม

    อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา
    ติ หัง จะ โต โล ถิ นัง
    ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุธ
    โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
    ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ
    คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ
    วา โธ โน อะ มะ มะ วา
    อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ

    ผู้รู้ ในสมัยก่อน ท่านว่า วิธี ใช้มากมายเพราะ อะไรครับ ทำไม ชื่อ อิติปิโส ๘ ทิศ เรียกกระทู้ ๗ แบก แต่ละบท มี ๗ คำ คูณ ๘ บท = ๕๖ คุณพระพุทธเจ้า


    อิติปิโสถอยหลัง

    ติวาคะภะโธพุทนังสา
    นุสมะวะเทถาสัตถิระ
    สามะทัมสะริปุโรตะ
    นุตอะทูวิกะโลโตคะ
    สุโนปันสัมณะระจะชา
    วิชโธพุทสัมมาสัมหังระ
    อะวาคะภะโสปิติอิ
    ให้ภาวนา ๓ / ๗ คาบ ก่อนเดินทางไปในทิศใดๆๆ จะแคล้วคลาดปราศจากทุกข์ภัยพิบัติทั้งปวง หากภาวนาได้ครบ 108 คาบ ติดต่อกัน ท่านว่าจะมีตัวเบา ตัวปลิว เสกหรือสะเดาะเคราะห์ สะเดาะ กุญแจ หรือโซ่ตรวนของจองจำทั้งปวงได้
    จาก หนังสือตำราพรหมชาติ หมวด คาถามหาอาคม หน้า 256
    กระทู้เจ็ดแบก อาจารย์จําแนกไว้บูชา เสกข้าวกินทุกวัน อาจป้องกันเครื่องศาสตรา อนึ่งภาวนา แล้วหันหน้าสู่ช้างสาร อาจหักงวงคชา ด้วยพลาอันห้าวหาญ มีกําลังเหลือประมาณ ยิ่งช้างสารอันตกมัน ฤษีทั้ง7องค์ ท่านดํารงอยู่ทิศนั้น เมื่ออภิวันท์ หันพักตร์นั้นทางทิศบูรพา
    อาคเนย์ฝนแสนห่า ใช้ภาวนาคราเดินทาง ถึงเดินสิ้นทั้งวัน เรื่องนํ้านั้นอย่าระคาง เสกหมากรับประทานพลาง สิบห้าคําอ้างกินเรื่อยไป แม้นใคร่ให้มีฝน อย่าร้อนรนจงใจเย็น ให้เสกไส้เทียนชัย เสกให้ได้แสนเก้าพัน แล้วให้นึกเทเวศ ผู้เรืองเดชในสวรรค์ อิทรพรหมสิ้นด้วยกัน ตลอดจนถึงชั้นอะกะนิฏฐ์ ฝนก็จะตกหนัก เพราะอารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีโรคอันวิปริต จงพินิจพิจารณา เอาทํานํ้ามนต์ แล้วพรํ่าบ่นด้วยคาถา เสกพ่นสัก7ครา มิทันช้าก็จักหาย อาคเนย์นามทิศศา จงหันหน้าไปโดยหมาย เคารพครูบรรยาย แล้วจึงร่ายคาถาเอย
    นารายณ์กลืนสมุทร์ ฤทธิรุททิศทักษิณ เรื่องฝีเกลื่อนหายสิ้น ไม่ต้องกินเสกพริกไทย เจ็ดเม็ดเสกเจ็ดหน แล้วจงพ่นลงทันใด สามครั้งก็จะหาย สมดังใจจํานง อนึ่งใช้เสกปูน สําหรับสูญฝีหัวลง มิช้าฝีก็คง ยุบย่อลงในบัดใด ภาวนาลงกระดาษ อย่าประมาทจงตั้งใจ ฟั่นเทียนเอาทําไส้ เทียนนั้นไซร้หนึ่งบาทหนา ลงคาถาล้อมให้รอบ ตามระบอบอย่ากังขา เท่ากําลังเทวดา ตามชันษาผู้เป็นไข้ แล้วจุดบูชาพระ อย่าได้ละภาวนาไป มิช้าไข้นั้นไซร้ จะหายดังปลิดทิ้ง
    หรดีพึงสําเหนียก มีชื่อเรียกเป็นสองอย่าง คือนารายณ์คลายจักรอ้าง กับอีกทั้งพลิกแผ่นดิน มีฤทธิ์และศักดา ทั้งเดชาและโกสินทร์ ภาวนาเป็นอาจิณ ยําเกรงสิ้นเหล่าศัตรู รําลึกแต่ในใจ ข้าศึกไซร้ปืนสู้ หย่อนกําลังพรั่งพรู ไม่คิดสู้เราต่อไป ถึงแม้คนใจกล้า พอเห็นหน้าก็อ่อนไป ครูเฒ่าท่านสอนไว้ แม้สิ่งใดมีประสงค์ สิ่งนั้นพลันต้องได้ สมดังใจจํานง เพราะคาถาเป็นมั่นคง อย่างวยงงจงบูชา คุณครูผู้บรรยาย ท่านเร่ย้ายหรดีทิศา เมื่อจะภาวนา จงหันหน้าทางนั้นเอย
    ทิศประจิมนามประหลาด ชื่อตวาดหิมพานต์ มีเดชอันห้าวหาญ ดุจช้างสารไม่กลัวตาย พบช้างและปะเสือ ที่ดุเหลือทั้งโคควาย อีกทั้งโจรดุร้าย ก็อย่าได้นึกกลัวมัน จงนิ่งภาวนา พระคาถาไปฉับพลัน เป็นมหาจังงังอัน วิเศษยิ่งอย่ากริ่งใจ สัตว์ร้ายและคนพาล ไม่อาจหาญเข้ามาใกล้ ให้แคล้วให้คลาดไป จงท่องไว้ทั้งเช้าคํ่า อนึ่งเมื่อภาวนา จงหันหน้าอย่าถลํา ทิศประจิมจงจดจํา ดังแนะนําดังนั้นเอย
    พายัพนามทิศ มหิทฤทธิ์นั้นมากนัก ชื่อว่านารายณ์กลืนจักร์ มีฤทธิ์ศักดิ์นั้นย้อนยอก ครูเฒ่าท่านกล่าวมา ถ้าแม้นลูกไม่ออก เอานํ้าใส่ขันจอก แล้วเปล่งออกซึ่งวาจา เสกนํ้าทํานํ้ามนต์ ร้อยแปดหนด้วยคาถา ให้กินอย่ารอช้า พรหมกายาตลอดศรีษ์ บุตรน้อยจะค่อยเคลื่อน ขยัยเขยื้อนเคลื่อนอินทรีย์ เสดาะเสกวารี หากไม่มีนํ้ากระสาย จงเป่าด้วยคาถา ไม่ทันช้าหลุดกระจาย ครูประสิทธิ์บรรยาย ท่านเร่ย้ายอยู่พายัพ เพื่อเป็นการคํานับ ตามตําหรับอาจารย์เอย
    นารายณ์ขว้างจักร์นี้เลิศลบ อีกนามหนึ่งตรึงไตรภพ สองชื่อย่อมลือจบ ทั่วพิภพเรืองเดชา ภาวนาสูดลมไป ว่าให้ได้สักสามครา คอยดูที่ฉายา ถ้าเห็นเงาว่าหายไป ครานั้นจงชื่นชม คนนับหมื่นหาเห็นไม่ บังตาหายตัวได้ ครูกล่าวไว้เร่งบูชา หันพักตร์สู่อุดรทิศ แล้วตั้งจิตภาวนา ตามบทพระคาถา ที่กล่าวมาแต่ต้นเอย
    อิสานนามแถลง นารายณ์แปลงรูปโดยหมาย ภาวนาอย่าระคาย ศัตรูร้ายแปลกเราไป เมื่อจะเสดาะแล้วไซร้ เสกให้ได้ร้อยแปดคาบ ตั้งใจให้แน่วแน่ ครั้นถ้วนแล้วเป่ากระหนาบ ต้องหลุดอย่างราบคาบ ได้เคยปราบเห็นประจักษ์ ถ้าชอบทางเสน่ห์ ทําเป็นเล่ห์ให้เขารัก นํ้าหอมอย่าหอมนัก จงรู้จักที่อย่างดี แล้วเสกให้บ่อยๆ อย่างน้อยๆ108ที แล้วเก็บไว้ให้ดี ถึงคราวที่จะต้องใช้ เสกอีกสักเจ็ดหน ประกายตนแล้วจึงไป เป็นเสน่ห์แก่ผู้ใช้ ทั้งหญิงชายทุกภาษา ไม่ว่าคนชั้นไหน แต่พอได้เห็นพักตรา ให้รักด้วยเมตตา ประหนึ่งว่าเป็นลูกหลาน แคล้วคลาดเหล่าศัตรู สิ้นทั้งหมู่อันธพาล ครูอยู่ทิศอิสาน จงนมัสการและบูชาเอย

    ref : http://www.traphangthong.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539369395&Ntype=1

    ทำไมต้องเป็น 108 จบ

    มีเหตุผล 3 ประการของการสวด เท่ากับ 108 จบ

    เหตุผลแบบที่ 1 ธาตุตามพระไตรปิฏกเท่ากัน 108 ธาตุ
    เหตุผลแบบที่ 2 แบ่งตามลักษณะภูมิอากาศของโลกนี้

    โลกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน
    แต่ละส่วนแบ่งออกเป็น 12 ฤดู
    จะได้ 12 X 9 = 108

    เหตุผลแบบที่ 3 มาจากสูตร (3X4)X(4+4+1)
    3 ตัวแรกคือ
    - อดีต
    - ปัจจุบัน
    - อนาคต
    4 ถัดมา คือ อริยะสัจ 4
    4 ตัวถัดมา คือ มรรค 4
    4 ถัดมาอีก คือ ผล 4
    1 สุดท้ายคือ นิพพาน 1
    จะได้ (12)X(9) = 108
    ref : http://www.pendulumthai.com/smf/index.php?topic=234.0
     

แชร์หน้านี้

Loading...