สอบถามเรื่องการฝันเห็นอนาคต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tonkubpom, 12 กันยายน 2017.

แท็ก: แก้ไข
  1. tonkubpom

    tonkubpom สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผม เกิดเมื่อตอนสมัยเด็กๆ ซึ่งในทีแรกผมก็ไม่เชื่อว่าที่เห็นมันเป็นอนาคตจริงๆ พอฝันอีกครั้งผมจึงตื่นขึ้นมาเล่าให้เพื่อนฟัง ซึ่งเหตุการณ์ก็ไม่ได้สลักสำคัญอะไรมากมาย แต่เรื่องที่เกิดกับเกิดขึ้นได้ตรงกับความฝัน เรื่องนี้ผมนำไปเล่ากับอาจารย์ที่สอนเรื่องพระพุทธศาสนา แต่ท่านกับบอกว่าจิตฟุ้งซ่าน แต่เมื่อผมเจาะลึก ในต่างประเทศก็มีเหตุการณ์คล้ายๆแบบนี้เหมือนกัน แต่ผมก็ยังไม่กระจ่างอยู่ดี ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นคืออะไร พอโตขึ้นมาความสามารถนี้ก็ได้เริ่มค่อยๆ จางหายไปจนไม่เห็นเหตุการณ์ในอนาคตอีก (ยังไม่พอแถมมีแต่ฝันไรสาระเข้ามา) ลืมบอกผมไปเป็นเด็กวัด อยู่สองปี ช่วงอายุ 10-12ปี ได้สมาธิ สวดมนต์กับพระอาจารย์เกือบทุกวัน จึงอยากถามว่าเรื่องที่เกิดคือเรื่องจริงหรือคิดไปเองครับ ถ้าเป็นเรื่องจริงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับผมอีกไหม อีกอย่างช่วงนี้ผมเริ่มห่างหายไปจากสมาธิเรื่อยๆ เนื่องด้วยหน้าที่การงาน ของคนที่กำลังสร้างตัว ผมควรจะทำอย่างไร
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    พุทธศาสนา เป็นเรื่อง "การรู้ถึง เหตุของความเป็นอย่างนี้ ...."
    การรู้รอบ(ปริญญา) จะเป็นการรู้การดับไปของ "เหตุ" เหล่านั้น


    เป็นเด็กวัดมา ก็ ตัดตรงเข้าศาสนาพุทธเข้ามาเลย

    สังเกตลงเข้ามาเลย การเห็นอนาคต(เท็จจริง ตะเอาไว้ ไม่ใช่ประเด็น)

    สังเกตลงเข้ามาเลย การเห็นอนาคต นั้นมี เหตุ คือมี โคจร และ วัตร อย่างไร

    เมื่อก่อน มีโคจร และ วัตร เหล่านั้น สามัญผลเช่น มีฌาณ มีญาณ มันก็เกิด
    เพราะว่า เหตุของการโคจร และ วัตร ของเด็กวัด(ใน วัดที่ดี)จะมุ่งขจัดตัณหา

    ดังนั้น

    จิตที่ปราศจากตัณหา อุปทาน จิตนั้นก็ มีสามัญผลโลกๆ เช่น เห็นอนาคต
    หายตัวได้ แตกกายออกเป็นพัน ....ซึ่ง สามัญผล เหล่านี้ จะแปรไปตามวาสนา
    ที่เคยประกอบมาเป็นแสนอสงไขย ไม่ใช่เกิดเอาลอยๆ หรือ จะมา มุ่งมีเอา
    ในชาตินี้

    ทีนี้

    การรู้รอบ หรือ ศาสนาพุทธสอนอะไร

    สอนการเห็น การดับไปของเหตุ เหล่านั้น เหตุที่ทำให้ได้สามัญผลต่างๆนานา
    เหล่านั้น ดับไปเป็นธรรมดา ถ้าไม่บรรลุธรรม อีกแสนอสงไขย ก็ รู้เห็นอนาคต
    แตกตัวเป็นพัน เหาะไปในอากาส ตายเปล่าอยู่อย่างนั้น ไม่เห็นธรรม

    การรู้รอบ หรือ ศาสนาพุทธสอนอะไร

    สอนการเห็น การดับไปของเหตุ เหล่านั้น ดับไปเป็นธรรมดา

    ดับไปเป็นธรรมดาเพราะอะไร

    เพราะ จิตไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา ของเรา พอถึงเวลาก็ ลืม โคจร และ วัตร

    พอไม่ได้หมั่นประกอบ ต่อให้เป็น อรหันต์ ก็เห็นอนาคต เหาะไปในอากาส
    แตกตัวเป็นพัน ไม่ได้

    แถมถ้าไป มุ่งเอา โลกียธรรมเหล่านั้น แทนที่จะ แทงเข้ามายัง

    "ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    สัพพันตัง นิโรธธัมมัง สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา"

    ก็ตายเปล่า ไม่ใช่คนศาสนาพุทธแต่อย่างใด แถมพระพุทธองค์
    ทรงเรียกว่า มาร มาร มาร อีกต่างหาก
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    สรุปอีกที

    กำหนดรู้เข้ามา ตรงที่ตอนนี้ ไม่เห็น เข้ามาเลย รู้ลงไปที่เหตุ

    เหตุ คือ ขาดโคจร และ วัตร หรือ ขาดการหมั่นประกอบ

    สาวไปอีก ทำไมถึง ขาดการหมั่นประกอบ

    กำหนดรู้เหตุเข้ามาเลย ว่า โลกเข้าล้อมจับเอาไว้ บีบเค้น
    ให้เป็นไปตามอำนาจของเขา

    ต่อให้ขยันกลับไปหมั่นประกอบ ก็ใช่ว่า จะกลับมาเห็น หน่าคร้าบ
    อย่าใช้ตรรกศาตร์มาเรียนธรรมะ

    เรากำหนดรู้ การเกิด การดับ ของเหตุ แล้วมันจะเห็น ทุกขสัจจ

    แล้วพิจารณาเอา จิตที่ประมาท ขาดการสดับ จะไม่ปรารภ ออกจากสังสารวัฏ

    เห็นเข้ามาตรงๆ

    ไม่ใช่มุ่งปฏิบัติเอาความเจริญ ความเสื่อม ซึ่งเป็นเรื่อง เดียรถีย์(ข้ามวัฏสงสารผิดท่า)
     
  4. tonkubpom

    tonkubpom สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบพระคุณอย่างสูงครับ ละเอียดมากครับ ทำให้ผมรู้ว่าควรจะหันหน้าเข้าทางธรรม ก่อนลาภยศ ซึ่งเป็นกิเลสจะดึงเข้าสู่ห้วงวัฎสงสาร มากไปกว่านี้ (นี้ขนาดผมยังโสดนะครับ ถ้าเกิดมีลูกมีภรรยาจะขนาดไหน) ถึงกระนั้นผมก็ยังไม่ลืมคำๆนึงที่ได้ยินมาครับว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" ถ้ามีอะไรแนะนำเพิ่มเติมหรือมีกระทู้ดีๆกรุณาให้ผมได้เข้าไปศึกษาหน่อยครับ เพื่อความกระจ่างชัด เพราะตอนนี้รู้สึกจิตใจ หว้าวุ่นและหมองหม่นจริงๆ ครับ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เคยฟังคำสอนพระ ท่านเล่าต่อๆ กันมา ....

    จำชื่อไม่ได้ เป็น หลวงปู่มีชื่อท่านนึง ชีวิตก็น่าจะคล้ายๆกับ เจ้าของกระทู้
    คือ คุ้นเคยแต่ชีวิตในวัด บวชเณรบ้าง เป็นเด็กวัดบ้าง เป็นภิกษุบ้าง

    ตอนเป็น ภิกษุก็เบื่อหน่ายแล้ว ปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้า เลยคิดจะสึก

    พอจะสึก เนื่องจากตัวเองไม่คุ้นเคย ชีวิตที่มีการแข่งขัน เสียดสี ชิงไหวชิงพริบ
    ก็เกิดวิตก ไม่กล้า

    ก็เลยตรึกไปว่า งั้นหา ภรรยาที่เป็นลูกเศรษฐี ที่เขาบุกเบิกธุรกิจอยู่ น่าจะดี

    ถ้าพ่อตาเสีย มรดกในการทำธุรกิจ เทคนิค วิธีการ ก็จะถ่ายทอดมาให้ ไม่เหนื่อย
    เกินไปนัก

    แต่พอตรึกในการมีภรรยา ก็ตรึกอีกว่า คงจะต้องมีลูก

    พอตรึกว่ามีลูก ก็ตรึกเรื่องการสร้าง บันดาลชีวิตลูกไม่ให้เหนื่อยยาก เหมือนตน

    พอตรึกเรื่องลูกจบการศึกษา ถ้าเป็นหญิงก็จะเจอ สามี ที่คิดรวยทางลัด !?

    พอตรึกถึงลูกชาย ก็รู้ถึงความด้าน ดื้อ อาจจะเข็นไม่ไปไหน

    พอตรึกเลยไป.....ถึงแก่เฒ่า พลัดพราก ไม่กตัญญู...สารพัด เลยสรุป

    สรุปแว้ บวชดีกว่า เลยไม่สึก

    พอไม่สึก อาศัย จิตที่ดำริออกจากโลก ก็เป็น อารมณ์ความรู้สึกไม่เที่ยง
    ก็สาวไปถึง จิตที่เป็นตัวทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้โดยสามัญลักษณะ ไม่มีใคร
    เป็นเจ้าของจิต สั่งจิตได้ มันแปรผันไปตาม ผัสสะ อีกทั้ง ผัสสะ ก็เป็น
    อนัตตาไม่ใช่ตน ของตน ของใคร ก็เลย รู้รอบความเกิดดับของปรมัตถธรรม
    ที่ชื่อว่าจิต วางจิตด้วยอำนาจญาณเห็นไตรลักษณ์ด้วยจิตตั้งมั่นเป็นกลาง

    พรึบ !! ว่ากันไป

    แต่คนที่เล่าให้ผมฟังนี่ ท่านเป็น ข้าราชการ ตำแหน่งก็สูงพอใช้ มีภรรยา
    มีภาระ มีบ้าน มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ หาทรัพย์
    ไปตามกำลังของศีล สัตย์ เจอทุกข์บีบคั้นรุนแรงกว่าชีวิตคนในวัด ก็ภาวนา
    ได้ผลอันชื่นใจ ตามอัตภาพได้เหมือนกัน

    ทุกข์ ที่ควรกำหนดรู้(ปริญญาโย) มันอยู่ที่ ปรมัตถธรรมที่เรียกว่า
    จิต(นาม ฯ) กาย(รูป ฯ) ความรู้รอบ(ปริญญา)จะเป็นเรื่องเห็นไตรลักษณ์

    ส่วนเรื่องราว ข้ออ้าง นั่นแล้วแต่ สัญญาของแต่ละคนว่า จะยกกล่าว
    อย่างไหนไปตามความพอใจของจิต

    ชีวิตฆราวาสก็ภาวนาได้ รวยจน มั่งมี อดอยาก ไม่เกี่ยว

    เป็นพระ ขอโทษนะ บางทีมี "เงินทอนวัด" ก็รวยกว่าฆราวาสทำงานทั้งชีวิต

    พิจารณาเอาเองครับ .....ไม่ได้บอก กำกับให้เลือก.....
    ...ศรัธทา ชีวิต...ของแบบนี้ ต้องเสก โลโซ



    ปล.ลิง : ทั้งนี้ "วิริยะ" ที่เกิดจากตน จะให้รสชาติ
    " ไม่เป็นหนี้ใคร แม้นไม่ถึงฝั่ง " (อิง พระมหาชนก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2017
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ฝันเรื่องอะไร
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    พวกนี้จริงๆเป็นเรื่องธรรมดามากครับ
    เกิดขึนกับใครก็ได้ครับ
    เพียงแต่เล่าไม่ต้องไปยึดไปสนใจกับมัน
    ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ.....

    การฝันแบบมีเหตุการณ์ขึ้นจริง
    หรือไปสถานที่นั้น เหตุการณ์นั้น
    แล้วคุ้นๆว่าเราเคยฝันอะไรพวกนี้
    เป็นอะไรที่ธรรมดาและแสนธรรมดามากครับ

    เรียกให้หล่อๆ ว่า อนาคตังสญาน แต่
    เป็นแบบที่เรียกว่า อย่างอ่อน คำว่าอย่างอ่อน
    ก็คือ เกิดขึ้นกับใครก็ได้ แต่ไม่ใช่ระดับใช้งานได้นั้นเอง

    พวกนี้มันมีลำดับในการพัฒนาดังนี้ครับ
    ลำดับแรก เหตุการณ์จะเริ่มจากหลักปีก่อน
    แล้วพัฒนามาเป็นหลักเดือน
    แล้วพัฒนามาเป็นหลักสัปดาห์
    และพัฒนามาเป็นหลักวัน....
    ซึ่งข้างบนที่เล่ามานั้น มักจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้
    เพราะว่า ผู้ที่รับรู้และสัมผัสได้ มักจะปล่อยวางไม่เป็นนั่นเอง


    ถ้าเราเฉยๆ เรียกว่า จะฝันอะไร เรื่องอะไร สถานที่อะไร
    ก็ช่าง หัวพระญาติมัน เรียกว่า ไม่เคยมีเหตุการณ์นี้
    เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ต่อไปลำดับการพัฒนามันจะเป็นอย่างนี้ครับ
    คือ เริ่มจากหลักไม่กี่นาที ไปเป็นชั่วโมง ไปเป็นวัน
    ไปเป็นสัปดาห์ ไปเป็นเดือน ไปเป็นปี ไปเป็นหลายปี
    ไปจนกระทั่งดวงจิตนั้นเปลี่ยนภพภูมิและทิ้งกายไปเลย
    ซึ่งถ้ามาถึงระดับนี้ มันจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
    ตามแต่พฤติกรรมแห่งจิตของบุคคลผู้นั้น
    หรือพฤติกรรมแห่งจิตของบุคคลภายนอกนั้นๆครับ.....

    ปล. ท้ายนี้ ถ้าคิดอะไรไม่ออก ไม่ว่าจะฝันอะไรก็ไม่ต้องไปคิด
    เพราะแม้เห็นได้ด้วยตาเปล่า มันก็ยึดอะไรไม่ได้อยู่แล้วครับ...
    เอาที่เราเห็นอยู่ตรงหน้า เอาปัจจุบันตรงหน้าก็พอครับ
    จะปลอดภัยทั้งกายและใจครับ....
     
  8. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    เห็นคุณนิวรณ์โพส เรื่องทุกข์ สมมติไปปรมัตถ์

    พอดีนึกได้ว่าไปอ่านกระทู้ของหลวงพ่อ(ศรีราชา)ตอนยังไม่บวช คุยเรื่องปรมัตถ์กับสมมติ

    อันนี้ประเด็นในกระทู้นั้น“ผมเคยได้ยินอาจารย์สอนอภิธรรมพูดว่าการเห็นไตรลักษณ์นั้น จะต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นปรมัตถฺ์เท่านั้น จะเห็นโดยสมมติไม่ได้ …..”

    ตามกระทู้หลวงพ่อท่านว่า ค้นหาในพระไตรปิฎก พุทธองค์ก็ไม่ได้ยืนยันว่าต้องเห็นปรมัตถ์เท่านั้นจะเป็นไตรลักษณ์

    ทีนี้ตามความเห็นผม ทุกข์นั้นสมมติ

    พุทธองค์ท่านเทศน์เพื่ออิงอาศัย เชื่อมโยงเข้ากับชีวิต แล้วไป อนิจจัง อนัตตา ซึ่งเป็นสภาวะ

    ส่วนตัวเชื่อตามท่านว่าต้องเห็นไปถึงปรมัตถ์จริงๆ ถึงจะข้ามไปได้

    สำหรับอินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ไปปรมัตถ์ อนิจจัง อนัตตา เลย

    ขอความเห็นคุณนิวรณ์ เทียบเคียงจากพระไตรปิฎกหน่อยครับ ขอบคุณครับ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    แป่ว...

    งั้นต้อง อิงหลวงพ่อ(ศรีราชา) ต่อ

    ไปยังพระสูตร อนาถบิณฑิกเศรษฐี ขออราถนา พระสารีบุตร ว่า ต่อไปนี้
    ขอให้แสดงธรรม ที่ลึกซึ้งเป็น ปรมัตถ ให้แก่ ฆราวาส บ้าง ( มีแต่พระสูตรนี้
    ที่ ระบุชัดเจน ว่าขอ ฆราวาส ฟังแบบ พระ บ้าง )

    แต่ถ้าเอาตาม พุทธวจน ก็ต้องอิง อภิธรรม ที่ร่ายเป็น ข้อธรรม
    ซึ่งก็คงไม่เจอคำว่า ปรมัตถ กับ สมมติ หรือ แม้นแต่ วิญญติรูป ฯลฯ

    อย่างไรก็ดี พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

    "พระพุทธองค์ย่อมบัญญติไปตาม ที่ ปุถุชน บัญญติ ไม่ขัด ไม่แย้ง"

    .........
    .........
    .........

    "พระพุทธองค์ย่อมบัญญติไปตาม ที่ ปุถุชน บัญญติ ไม่ขัด ไม่แย้ง"
    นัยความหมายก็น่าจะ ไม่ต้องไปแบ่งหรอก ใช้อะไรก็ได้ ถ้า ปุถุชน
    คนนั้นๆกล่าวในแง่ของ "การเห็นทุกข์เพื่อหา อุบายนำออก" ก็ใช้คำ
    เหล่านั้นได้หมด

    โดยส่วนตัว

    เวลาเจอคำพื้นๆ เช่น ปวดหัว ตัวร้อน พ่อตาตาย แม่ยายเตะ ร้องไห้รำพัน
    ตีอก ชกหัว .....ถ้าคำเหล่านี้มากระทบ จิตมันจะแย๊บแบบ "ดื้อด้าน แอบคัดค้าน"

    นานๆ ถึงจะ ระลึกได้

    "พระพุทธองค์ย่อมบัญญติไปตาม ที่ ปุถุชน บัญญติ ไม่ขัด ไม่แย้ง"

    ซึ่งวันนี้ กำลังเล่นเกมส์ กันดัมวอร์ อยู่บนรถไฟฟ้าอยู่ดีๆ ก็เกิดธรรม
    ย้อนแย้งมาเรื่อง

    "พระพุทธองค์ย่อมบัญญติไปตาม ที่ ปุถุชน บัญญติ ไม่ขัด ไม่แย้ง"

    พอมาเปิด กระมูว์ ก็ อ๋อ


    ปล.ตอนนี้กำลัง อิน ปรมัตถ พอใช้ อุบายคำนี้ แรกๆจะแน่นหน่อยๆ
    เจตนามันดิ้น จะปฏิบัติ จะหาคำตอบ พอได้จังหวะหมดความจงใจ
    ก็ พรึบ จึ๊ด จึ๊ด แล้วถอย มะรอด @*(#*@&$&@#(@_)($#*$(

    ปล2. ธรรมหลวงพ่อราชรี ช่วงหลังๆนี่ แย๊บเข้า อินทรีย์22 เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2017
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ตรงนี้ ขาแจม ลองแย๊บเข้าไปที่ บัญญัติ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา (เติม สัญญาเข้าไป เป็น ปรมัตถ ซะงั้น)

    แล้วตามเห็น ความเกิดดับของ อนิจสัญญา อนัตตาสัญญา ในมุมการเป็น ผัสสะ

    อย่าไปกลัว จิตมันพยายามค้นคว้า อย่าถอย อย่าหนี ที่จะ สมาทาน บัญญัติ
    [ ถ้ายังมี ปิติ ปรากฏอยู่ ลุยลุกเดียว ]

    ถ้า จิตคุ้นเคยกับ ความหมดความจงใจ จิตมันน้อมไปใน สัมมาสมาธิ
    มันจะมี ความพอดี บางอย่าง ให้สังเกต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กันยายน 2017
  11. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    ไปวัดมาวันนี้ แย๊บไปก่อนแล้วงับ (พักหลัง ภาวนายัดบัญญัติลูกเดียว)

    อนิจจัง อนัตตา พอมันพอดี มันเห็นส่งนอกเป็นกระแส พอส่งนอกมากมันเหนื่อย เห็นกระแสส่งเข้าใน

    มันหดเข้าใน ทีนี้หายเงียบ เลยลอง

    คราวนี้พอมันจะออก ก็ไม่ให้ออก จะเข้าก็ไม่เข้า

    วูบ ...เอ๊อะ สมาธิตรงนี้แปลกดี แต่ก็เลิกซะก่อน
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    [๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้
    อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา
    แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา
    ... นิพพิทานุปัสนา ... วิราคานุปัสนา ... นิโรธานุปัสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนา
    ... ขยานุปัสนา ... วยานุปัสนา ... วิปริณามานุปัสนา ... อนิมิตตานุปัสนา ...
    อัปปณิหิตานุปัสนา ... สุญญตานุปัสนา ... เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรม
    นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
    [๖๒] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การ
    พิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนาแล้ว ธรรม
    นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายาม
    เพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณทัสนะ ... อาทีนวานุปัสนา ... ปฏิสังขานุปัสนา ...
    วิวัฏฏนานุปัสนา ... เป็นอันได้วิวัฏฏนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอัน
    บุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
    [๖๓] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็นอันได้
    โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณา
    แล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทาคามิมรรค ... อนาคามิมรรค
    ... อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้น
    กำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใดๆ
    เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว
    และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา
    เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้
    สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนด
    รู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
    [๖๔] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม
    ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ
    ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ อัสมิมานะ ธรรม ๒ ควรละ คือ อวิชชา ๑
    ตัณหา ๑ ธรรม ๓ ควรละ คือ ตัณหา ๓ ธรรม ๔ ควรละ คือ โอฆะ ๔ ธรรม ๕
    ควรละ คือ นิวรณ์ ๕ ธรรม ๖ ควรละ คือ หมวดตัณหา ๖ ธรรม ๗ ควรละ
    คือ อนุสัย ๗ ธรรม ๘ ควรละ คือ มิจฉัตตะ ความเป็นผิด ๘ ธรรม ๙ ควรละ
    คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ธรรม ๑๐ ควรละ คือมิจฉัตตะ ๑๐ ฯ
    [๖๕] ปหานะ ๒ คือ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑
    สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล
    ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นไป ฯ
    ปหานะ ๓ คือ เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม ๑ อรูปญาณ
    เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ๑ นิโรธ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขต
    ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ๑ บุคคลผู้ได้
    เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว บุคคลผู้ได้อรูปญาณเป็นอันละและสละ
    รูปได้แล้ว บุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว ฯ
    ปหานะ ๔ คือ บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วย
    การกำหนดรู้ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดสมุทัยสัจ อันเป็น
    การแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจ
    อันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้
    แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควร
    ละได้ ๑ ฯ
    ปหานะ ๕ คือ วิกขัมภนปหานะ ๑ ตทังคปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ ๑
    ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นิสสรณปหานะ ๑ การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่
    บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอัน
    เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และ
    ปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญ
    มรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ฯ
    [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่ง
    ทั้งปวงควรละคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา
    ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
    ควรละทุกอย่าง
    หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ
    ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา
    ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย
    ควรละทุกอย่าง ฯ
    เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควร
    ละได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... จักษุ ...
    ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อ
    พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ [ด้วยความเป็นอนัตตา] ด้วยความว่าเป็น
    ที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ธรรมใดๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้นๆ เป็น
    อันสละได้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า
    รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ
    เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
    จบตติยภาณวาร ฯ
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถ้าไม่เลิกไปเลย

    แล้ว บังเอิญ เดินไปเจอ พระสารีบุตร

    มีหวัง ท่านเทิญขึ้น ศรีษะ แห่ไปสามบ้าน แปดบ้าน แน่ๆ

    ฮิวววววววส์


    ปล.ลิง พระสารีบุตร ทำ เถรกถา ปรารภไว้ ถ้าเจอแจ่มๆ
    จะจับเทิญขึ้นศรีษะเลย ฯ
     
  14. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    จากที่ลองเอาบัญญัติใส่ไปดู (ทำเฉพาะ อนิจจัง อนัตตา)

    เวลาทั่วๆไป มันจะโคจรไปอายตนะ แล้วมันจะแทงสมมติไปไวมาก

    คล้ายๆมันจะขึ้น จะขึ้น แต่ไม่ขึ้น แล้วมันพรึบ

    ส่วนบัญญัติอื่น นิวรณ์ อวิชชา ตัณหา ชาติ ชรา ... ไม่เคยลอง เดี๋ยวจะไปลองดู
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ไหนๆ ก็ไหนๆ และ

    ขออีกนิด

    ๑๐. สัญญาสูตร...ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา
    ...๑๐. สัญญาสูตร...ว่าด้วยการเจริญอนิจจสัญญา
    ...[๒๖๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก (หญ้า)ทุกชนิด แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ กาม ราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ รูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวหญ้ามุงกระต่ายแล้ว จับปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว ในมะม่วงเหล่านั้น มะม่วงเหล่าใดเนื่องด้วยขั้ว มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของหลุดไปตามขั้วมะม่วงนั้น แม้ฉันใด.อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนใดๆ แห่งเรือนยอด กลอนทั้งหมดนั้นไปสู่ยอดน้อมไปที่ยอด ประชุมลงที่ยอด ยอด ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด.อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแลฯ
    ...[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากใดๆ ไม้กะลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นใดๆ จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้ที่มีกลิ่นเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกใดๆ มะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อยใดๆ ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้เสด็จไปตาม(คล้อยตาม) พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชนทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เลิศกว่าพระราชาผู้น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงดาวทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง แสงดาวทั้งหมดนั้นไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงพระจันทร์ แสงพระจันทร์ ชนทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าแสงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันอยู่ในอากาศทั่วไปแม้ฉันใด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    ...[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร? กระทำให้มากแล้วอย่างไร? จึงครอบงำกามราคะทั้งปวง ฯลฯ ถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด. อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า รูปดังนี้ ความเกิดแห่งรูปดังนี้ความดับแห่งรูปดังนี้. เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ฯลฯ ถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้ทั้งหมด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะได้หมด.
    จบ สูตรที่ ๑๐.
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    KEY WORD ....... I Can See Your Meditation คือคำว่า

    " ย่อมครอบงำ "

    !!!!!??????

    วื๊ดๆ แป่ว
     
  17. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    เมื่อกี้งง ย้อนอ่านทวนไปหลายเที่ยว

    มันเอ๊อะ ... หลุด

    เหมือนจะเข้าใจว่าตรงไหน

    เดี๋ยวลองไปเปิดตู้พระไตรปิฏกมาอ่านดู ขอบคุณครับ
     
  18. ZIGOVILLE

    ZIGOVILLE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    196
    ค่าพลัง:
    +792
    1. เราไม่ได้คิดไปเอง นึกดูถ้าคิดไปเองแล้วรู้อนาคตได้ขนาดนั้น ส่วนใหญ่ก็อยากรู้หวยจะออกอะไร จริงมั้ย ? นี่จิตมันทำงานของมันเอง จิตมนุษย์และสัตว์มีความเท่าเทียมกัน มีความสามารถแบบนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ได้วิเศษวิโส อะไร

    2. ก็ต้องมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ก็ของมันเคยเกิดแสดงว่าอดีตมีทุนเดิมมาทางนี้เยอะ ถ้านานๆ เกิดทีจะตื่นเต้นแบบคุณนี่แหละ แต่ถ้าเกิดบ่อย เด่วก็ชิน เด่วก็จะแยกแยะออกได้ว่าอันไหนฝัน อันไหนนิมิต อย่าไปใส่ใจ/ให้ความสำคัญกับมันมาก แต่ถ้าบางฝัน/นิมิตที่สำคัญหรือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตก็เป็นเรื่องดี ให้เราป้องกันเหตุล่วงหน้าได้ทัน

    3. 555+ ขออภัยที่ขำนะ คนจะห่างจากสมาธิก็หาข้ออ้างไปได้เรื่อยๆ งานยุ่งบ้าง กำลังสร้างตัวบ้าง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคุณบริหารจัดการเวลายังไม่ดีพอนะ คนที่ manage เวลาเก่งเค้าจะรู้ว่างานไหนสามารถทำควบคู่ไปพร้อมกับงานไหนได้บ้าง จะได้ไม่เสียเวลารอ เพราะถึงจุดหนึ่งของชีวิตคุณจะรู้ว่าเวลามีค่ามากกว่าทรัพย์สิน จงใช้เวลาให้คุ้มค่าอย่าให้เสียเปล่า
    เหมือนกันคนมีปัญญาจะรู้ว่าสมาธิอยู่กับลมหายใจเรานี่เอง ทำได้ทั้งวัน เวลาขับรถว่างๆ ก็หาบทสวดเช่นคาถาเงินล้าน นับจำนวนไปเรื่อยๆ ครบวันละ 108 จบ หรือทำงานด้วยพุทโธด้วย ก่อนนอนก็สวดคาถาบทยันทุนนิมิตตัง ฯลฯ เห็นมั้ยว่าจะฝึกสมาธิ ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ฝึกวันละนิด สะสมวันละหน่อย สมาธิก็จะแก่กล้าขึ้นเอง นั่นล่ะ จะฝันแบบรู้ตัวว่าฝันเลยทีเดียว logicง่ายๆ คือ "ทำอะไรด้วยความมุ่งมั่น แบบไม่มีข้อแม้ ก็สำเร็จได้ทั้งนั้น"
     
  19. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,009
    ค่าพลัง:
    +470
    ลองมาละ
    พอตามเห็นมุมนี้
    มันเหมือนรู้เล็กๆ เบาๆ มาแตะๆ แปลกดี
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถามหน่อยฮับ

    รุจัก สมาชิกชื่อ เตรียมเหาะ ปะ

    ถ้ามะรุจัก มะเปนไร

    *******

    เบา ไม่เสียว พ้น "รูปราคะสัญญา" กองสัญญิงฯ
    เบา ไม่คว้า แต่ลืมกาย ผุรุ ผุรุ กลับมารุนอกๆนี่ พ้นนานัตสัญญา

    ถ้าเบา อายตนะมีอยู่ ไม่ลืมกาย ลหุสัญญา ของผู้ใหญ่ลี

    นิมิตระหว่างภาวนาไม่มี ระวังตกเตียง

    แสบ

    โอยยยย เยอะ อยากไขก๊อก แต่ยกให้ ฝีฯ ดีก่า

    _/\_ _/\_ _/\_
     

แชร์หน้านี้

Loading...