สอบอารมณ์ตนเองเมื่อปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 24 กรกฎาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้

    ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึง วิปัสสนาญาณ
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิสุทธิ ๗

    วิสุทธิ
    ความบริสุทธิ์, ความหมดจด, การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย คือ พระนิพพาน มี ๗ ขั้น (ในที่นี้ ได้ระบุธรรมที่มีที่ได้เป็นความหมายของแต่ละขั้น ตามที่แสดงไว้ในอภิธัมมัตถสงคหะ)
    คือ
    ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล (ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔)

    ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์ (ได้แก่ สมาธิ ๒ คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ)

    ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (ได้แก่ นามรูปปริคคหญาณ)

    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย (ได้แก่ ปัจจัยปริคคหญาณ)

    ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง (ได้แก่ ต่อสัมมสนญาณ ขึ้นสู่อุทยัพพยญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา เกิดวิปัสสนูปกิเลส แล้วรู้เท่าทันว่า อะไรใช่ทาง อะไรมิใช่ทาง)

    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ นับแต่อุทยัพพยญาณที่ผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เกิดเป็นพลววิปัสสนา เป็นต้นไป จนถึงอนุโลมญาณ)

    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ (ได้แก่ มรรคญาณ ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น แต่ละขั้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2017
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิปัสสนาญาณ 9 มีดังนี้

    1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ ญาณหรือปัญญาอันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕ = ร่างกาย กับจิตใจ ) จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า
    สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้
    หรือ
    เคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้ หรือผู้รู้ที่เกิดขึ้นแล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้

    2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

    3. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

    4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็น ของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

    5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

    6. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

    7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

    8. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา
    หรือ
    เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย

    ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

    9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ


    ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะปุถุชน กับ ภาวะอริยบุคคล) มาคั่นกลาง แล้วจึงเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

    โคตรภูญาณนี้ ท่านว่าอยู่ระหว่างกลาง ไม่จัดเข้าในวิสุทธิ ไม่ว่าข้อ 6 หรือ ข้อ 7 แต่ให้นับเข้าเป็นวิปัสสนาได้ เพราะอยู่ในกระแสของวิปัสสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2017
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (ญาณ ๑๖ ครอบ วิสุทธิ ๗ และวิปัสสนาญาณ ๙)

    หลักการปฏิบัติที่จัดเป็นระบบ

    พุทธพจน์ที่แสดงหลักการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน มักเป็นไปในรูปของคำสอนให้พิจารณาสภาวธรรมอย่างที่ได้ยกมาอ้างแล้วข้างต้น หากจะแสดงลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ ที่จะเรียกได้ว่าเป็นระบบ ก็เป็นเพียงการแสดงขั้นตอนอย่างกว้างๆ

    พุทธพจน์แนวนี้ ที่นับว่าละเอียดที่สุด และพบบ่อยที่สุด ก็คือ คำสอนแสดงความก้าวหน้าในการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุ ตั้งแต่ออกบวช จนบรรลุอาสวักขยญาณ * (ที.สี.9/102-138/82-112)

    อีกแนวหนึ่ง ที่นับว่าใกล้เคียง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงเองบ้าง พระสาวกแสดงบ้าง เป็นครั้งคราว คือ แนวจรณะ ๑๕ และวิชชา ๓ (ที.สี.9/163/129)

    นอกจากนี้ ก็มีแต่ที่แสดงเพียงลำดับหัวข้อ เป็นชุดๆ เช่น วิสุทธิ ๗ (ม.มู.12/298/295) วิสุทธิ ๙ (ที.ปา.11/456/329) เป็นต้น

    การที่เป็นอย่างนี้ สันนิษฐานได้ว่า แบบแผน และรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติ คงเป็นเรื่องที่ท่านทำและนำสืบๆกันมา ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ตามกระบวนวิธีที่อาจารย์สั่งสอนและฝึกหัดศิษย์ นอกจากนั้น รายละเอียดปลีกย่อยก็ย่อมแตกต่างกันไป ตามกลวิธีของอาจารย์ต่างสำนักกันด้วย ประเพณีปฏิบัติคงดำเนินมาเช่นนี้ จนถึงยุคอรรถกถาจารย์ ท่านจึงได้นำเอาแบบแผน และรายละเอียดบางส่วนของขั้นตอนการปฏิบัติเหล่านั้น มาเรียบเรียงบันทึกไว้ในคัมภีร์ ดังตัวอย่างที่เด่น เช่น ในวิสุทธิมัคค์

    คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ นอกจากแสดงลำดับขั้นตอนและแบบแผนการฝึกกิจกรรมภายนอกแล้ว ยังแสดงลำดับขั้นของความเจริญก้าวหน้าภายใน คือ การที่ปัญญาแก่กล้าขึ้นเป็นระดับๆจนตรัสรู้ อย่างที่เรียกลำดับญาณด้วย เค้าโครงทั่วไปของการปฏิบัติ ท่านถือตามหลักการของไตรสิกขา แล้วขยายออกตามแนววิสุทธิ ๗ ส่วนขั้นตอนของความเจริญปัญญาภายใน (วิปัสสนาญาณ) ท่านขยายความจากเนื้อหาบางส่วนในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/มาติกา/1-2 ฯลฯ)

    ในที่นี้ จะแสดงระบบการปฏิบัติ ที่สรุปตามแนวของคัมภีร์วิสุทธิมัคค์นั้น (วิสุทธิ.1/1-3/376) ซึ่งแสดงได้เป็นขั้นตอน ต่อไปนี้

    ก. ระดับศีล (อธิศีลสิกขา)

    ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ ประพฤติดี เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีศีลบริสุทธิ์ตามภูมิขั้นของตน คัมภีร์วิสุทธิมัคค์กล่าวมุ่งเฉพาะการปฏิบัติของพระภิกษุ หมายเอา ปาริสุทธิศีล ๔

    ๑) ปาฏิโมกข์สังวรศีล …
    ๒) อินทรียสังวรศีล …
    ๓) อาชีวปาริสุทธิศีล …
    ๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล …

    ข ระดับสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

    ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิต หรือพัฒนาคุณภาพและสมรรถภาพของจิต จนเกิดสมาธิ พอเป็นบาท หรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา คัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติทั้ง ๘ และแสดงวิธีเจริญสมาธิ จนถึงได้ผลพิเศษ คือ โลกิยอภิญญาทั้ง ๕

    ค. ระดับปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

    1) ขั้นญาตปริญญา คือ รู้จักสภาวะ

    - ขั้นทุกขววัฏฐาน คือ กำหนดทุกขสัจจ์

    3. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ทำให้ระงับความเข้าใจผิดว่า เป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด บางทีกำหนดเรียกเป็นญาณอย่างหนึ่ง มีชื่อว่า

    ๐) นามรูปปริจเฉทญาณ (1) หรือ เรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง หมายถึง ความรู้จักรูปธรรมนามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และกำหนดได้ว่า ในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม เช่น เมื่อเห็นรูป จักขุประสาท แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณ หรือ การเห็น เป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น

    - ขั้นสมุทัยววัฏฐาน คือ กำหนดสมุทัยสัจ

    4. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย หรือ ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ตาม ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ตาม ตามแนวกระบวนการรับรู้ก็ตาม ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ตาม หรือ ตามแนวอื่นก็ตามว่า นามธรรมและรูปธรรมล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยกัน อันเป็นความรู้ที่ทำให้สิ้นความสงสัยเกี่ยวกับกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต และปัจจุบัน ความรู้นี้ เป็นญาณขั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่า

    ๐) นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ (2) แปลว่า ญาณที่กำหนดปัจจัยของนามรูป ญาณขั้นนี้ เรียกได้หลายชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง

    ผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า “จูฬโสดาบัน” คือพระโสดาบันน้อย เป็นผู้มีคติ คือ ทางไปก้าวหน้า ที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา

    2) ขั้นตีรณปริญญา คือ รู้สามัญลักษณะ หรือ หยั่งถึงไตรลักษณ์

    - ขั้นมัคคววัฏฐาน คือ กำหนดมรรคสัจ (เฉพาะข้อ 5)

    5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ ที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ ยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ทีละอย่างๆ เช่น พิจารณารูป โดยอนิจจลักษณะ โดยทุกขลักษณะ โดยอนัตตลักษณะ แล้วพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามลำดับ และโดยลักษณะแต่ละลักษณะไปทีละอย่าง แล้วพิจารณาข้อธรรมอื่นๆ เช่น ในหมวดอายตนะ 12 ปฏิจจสมุปบาท 12 และอะไรก็ได้ทุกๆอย่าง ฯลฯ (รวมความก็อยู่ในขันธ์ 5 นั่นเอง) จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เรียกว่า เกิดเป็นตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ ในช่วงนี้ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ ขึ้นมา ชวนให้หลงผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึด เอาวิปัสสนูปกิเลสนั้นว่าเป็นทางที่ถูก

    ถ้าหลงไปตามนั้น ก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดแยกได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 นั้นไม่ใช่ทาง แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง พ้นจากอุปกิเลสแล้วว่า นั่นแหละเป็นทาง หรือมรรคาแท้จริง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป เมื่อความรู้นี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.

    ในวิสุทธิข้อนี้ มีเนื้อหาซับซ้อนที่พึงทำความเข้าใจ คือ

    การเจริญวิปัสสนาในขั้นที่จะให้เกิดวิสุทธิข้อนี้ เรียกว่า นยวิปัสสนา (การเจริญวิปัสสนาโดยนัย คือ พิจารณาโดยจับแง่ความหมาย ตามแนววิธีที่ท่านแสดงไว้ในพระบาลี เช่น ว่า รูปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็ตาม ฯลฯ ล้วนไม่เที่ยงดังนี้ เป็นต้น) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลาปสัมมสนะ (การ พิจารณาเป็นหมวดๆ หรือรวบเป็นกลุ่มๆ อย่างที่อธิบายแล้วข้างบน) และความรู้ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้ บางทีจัดกันเป็นญาณขั้นหนึ่ง เรียกว่า

    ๐) สัมมสนญาณ (3) แปลว่า ญาณที่พิจารณาหรือตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์) เมื่อพิจารณาด้วยสัมมสนญาณไป จนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปของสิ่งทั้งหลาย มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป มองเห็นการเกิดและดับสลายทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆอยู่และญาณนี้ ตอนนี้เองที่เรียกว่า ตรุณวิปัสสนา หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนาญาณอ่อนๆ)

    ผู้ได้ตรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า อารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มเห็นแจ้งหรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว) และในตอนนี้เอง วิปัสสนูปกิเลส * เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้นจะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ ถ้ากำหนดรู้เท่าทัน ก็ผ่านพ้นไปได้ กำหนดแยกว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว ก็เป็นอันจบสิ้นวิสุทธิข้อนี้.

    3) ขั้นปหานปริญญา คือ รู้ถึงขั้นละความหลงผิด ถอนตัวเป็นอิสระได้

    6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน โดยสาระแท้ๆ หมายถึงวิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอดด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ 8 กับวิปัสสนาญาณข้อที่ 9 คือ สัจจานุโลมิกญาณ แต่พูดอย่างกว้างๆ วิสุทธิข้อนี้ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 นั่นเอง คือ นับตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ ที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เป็นต้นไป จนสุดทางแห่งความเป็นปุถุชน หรือสุดวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ 9 มีดังนี้

    1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ (4) ญาณหรือปัญญาอันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า
    สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรมและตัวรู้หรือผู้รู้ที่เกิดขึ้นแล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้

    2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ (5) ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

    3. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ (6) ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

    4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ (7) ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

    5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ (8) ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

    6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ชื่อเดียวกัน 9) ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

    7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ (10) ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

    8. สังขารุเปกขาญาณ (ชื่อเดียวกัน 11) ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย

    ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

    9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (12) ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป
    เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

    ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ (13) (ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะปุถุชน กับ ภาวะอริยบุคคล) มาคั่นกลาง แล้วจึงเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

    โคตรภูญาณนี้ ท่านว่าอยู่ระหว่างกลาง ไม่จัดเข้าในวิสุทธิ ไม่ว่าข้อ 6 หรือ ข้อ 7 แต่ให้นับเข้าเป็นวิปัสสนาได้ เพราะอยู่ในกระแสของวิปัสสนา

    7. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ คือ ความรู้อริยมรรค 4 หรือมรรคญาณ (14) นั่นเอง ซึ่งเกิดถัดจากโคตรภูญาณ เมื่อมรรคญาณเกิดแล้ว ผลญาณ (15) ก็เกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆ ตามลำดับของแต่ละขั้นของความเป็นอริยบุคคล ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิหรือไตรสิกขาหรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งหมด

    ถัดจากบรรลุมรรคผลด้วยมรรคญาณ และ ผลญาณแล้ว ก็จะเกิดญาณอีกอย่างหนึ่งขึ้นพิจารณา มรรคผล พิจารณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ (16) * เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผลนิพพานขั้นหนึ่งๆ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อ้างอิง ( ) *
    * ญาณต่างๆที่มีเลขลำดับกำกับอยู่ใน ( ) ข้างหลังนั้น พึงทราบว่า ได้แก่ ญาณที่ในสมัยหลังๆ ได้มีการนับรวมเข้าเป็นชุด เรียกว่า ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ อัน เป็นที่รู้จักกันดีในวงการบำเพ็ญวิปัสสนา โดยเฉพาะใช้ในการตรวจสอบที่เรียกว่า ลำดับญาณ และพึงทราบว่า ในญาณ 16 นี้ เฉพาะมรรคญาณ และผลญาณ สองอย่างเท่านั้น เป็นญาณขั้นโลกุตระ ส่วนอีก 14 อย่างที่เหลือ เป็นญาณขั้นโลกีย์ทั้งสิ้น

    อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนาญาณ 9 นั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนับรวม สัมมสนญาณ (3) เข้าในชุดด้วย จึงเป็น วิปัสสนาญาณ 10 (สงฺคห.55)

    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน ๑๖ อย่าง, ญาณ ๑๖ นี้ มิใช่เป็นหมวดธรรมที่มาครบชุดในพระบาลีเดิมโดยตรง แต่พระอาจารย์ปางก่อนได้ประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์ แล้วสอนสืบกันมา บางทีเรียกให้เป็นชื่อชุดเลียนคำบาลี “โสฬสญาณ” หรือเรียกกึ่งไทยว่า “ญาณโสฬส” ทั้งนี้ ท่านตั้งวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักอยู่ตรงกลาง แล้วเติมญาณขั้นต้นๆ ที่ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ เพิ่มเข้าก่อนข้างหน้า และเติมญาณขั้นสูงที่เลยวิปัสสนาญาณไปแล้ว เข้ามาต่อท้ายด้วย ให้เห็นกระบวนการปฏิบัติตลอดแต่ต้นจนจบ จึงเป็นความปรารถนาดีที่เกื้อกูลแก่การศึกษาไม่น้อย
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า ขณะที่ฝึกกรรมฐานอยู่นั้น สังวรคือควบคุมกิริยาอาการให้อยู่ในภาวะถนัด หรือเหมาะดีที่สุดแก่งาน (= กรรมฐาน) เป็นอธิสีลสิกขา (= ศีล)

    การทำจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ อยู่กับงานคืออารมณ์ที่กำหนด เป็นอธิจิตตสิกขา (= สมาธิ)

    การใช้ปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในเวลานั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา (= ปัญญา)


    853bb110eacf5078abe937a7f14bc3e5.jpg
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ขณะจิตที่บรรลุมรรคผล

    ตามหลักที่ว่าในขณะที่บรรลุอริยมรรค แม้แต่ผู้ที่มิได้ฌานมาก่อน จิตก็จะเป็นสมาธิถึงขั้นอัปปนาคือถึงระดับฌาน

    หลักการที่ว่าจิตที่บรรลุมรรคผลต้องเป็นอัปปนาสมาธินี้ เมื่อมองอย่างกว้างๆทำให้เกิดความคิดว่า ความรู้ความเข้าใจหรือความหยั่งรู้หยั่งเห็น ที่จะแจ่มแจ้งชัดเจนและแล่นลึก ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงพื้นจิตของคนได้ กำจัดกิเลส เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพได้นั้น จะต้องเป็นประสบการณ์ภายในชนิดเต็มทั่วหมดทั้งจิตทั้งใจหรือโพลงทั้งชีวิตทีเดียว
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ที่ # 4 บอกแล้วว่าวิปัสสนูปกิเลสเกิดช่วงไหน ผู้บำเพ็ญเพียรทางจิตบ้างก็หลงติดวนอยู่แถวๆนั้นไม่ไปไหน บ้างก็หลงจนเพี้ยนไปก็มี

    ธรรมุทธัจจ์, วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด, สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา โดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐
    คือ

    ๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

    ๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

    ๓. ญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

    ๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

    ๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

    ๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

    ๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

    ๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิปัสสนูปกิเลสนี้ ไม่เกิดขึ้นแก่ท่านที่บรรลุมรรคผลแล้ว (เพราะท่านผ่านไปแล้ว) ไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ปฏิบัติผิดทาง และไม่เกิดขึ้นแก่คนขี้เกียจผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน แต่เกิดขึ้นเฉพาะแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนามาอย่างถูกต้องเท่านั้น ในพระไตรปิฎก เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด เอาโอภาส เป็นต้น นั้นเป็นมรรคผลนิพพานว่า "ธัมมุทธัจจะ" (ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน) แต่ท่านระบุชื่อ โอภาส เป็นต้นนั้น ทีละอย่าง โดยไม่มีชื่อเรียกรวม,

    "วิปัสสนูปกิเลส" เป็นคำที่ใช้ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาลงมา (พูดสั้นๆ ธัมมุธัจจ์ ก็ คือความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิดต่อวิปัสสนูปกิเลส) เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาน้อย จะฟุ้งซ่านเขวไป และเกิดกิเลสอื่นๆ ตามมาด้วย, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาปานกลาง ก็ฟุ้งซ่านไป แม้จะไม่เกิดกิเลสอื่นๆ แต่จะสำคัญผิด, ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้า ถึงจะฟุ้งซ่านเขวไป แต่จะละความสำคัญผิดได้ และเจริญวิปัสสนาต่อไป, ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้ามาก จะฟุ้งไม่ซ่านเขวไปเลย แต่จะเจริญวิปัสสนาก้าวต่อไป

    วิธีปฏิบัติต่อเรื่องนี้ คือ เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงรู้เท่าทันด้วยปัญญาตามเป็นจริงว่า สภาวะนี้ (เช่นว่า โอภาส) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วก็จะต้องดับสิ้นไป ฯลฯ เมื่อรู้เท่าทัน ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งไปตามมัน คือกำหนดได้ว่ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ทาง

    แต่วิปัสสนาที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ ซึ่งดำเนินไปตามวิถีนั่นแหละเป็นมรรคเป็นทางที่ถูกต้อง
    นี่คือเป็นญาณที่รู้แยกได้ว่ามรรค และมิใช่มรรค นับเป็นวิสุทธิข้อที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนาวิสุทธิ

    วิปัสสนาตั้งแต่ญาณเริ่มแรก (คือ นามรูปปริจเฉทญาณ) จนถึงมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้ ท่านจัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา)

    ส่วนวิปัสสนาตั้งแต่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปแล้ว (จนถึงสังขารุเปกขาญาณ) จัดเป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง ที่แรงกล้าหรืออย่างเข้ม (พลววิปัสสนา)
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    1000 ทิพ ก็มี กท. ถามเรื่องธัมมุทธัจจ์ หรือวิปัสสนูปกิเลส คำถามสั้นดังนี้

    โอภาส ที่เป็น วิปัสสนูปกิเลส เห็นตอนลืมตาหรือหลับตาครับ
    https://pantip.com/topic/36708349

    แรกๆ จะเห็นตอนหลับตาก่อน แต่ถ้ายึดติด (อุปาทาน) มากขึ้นๆ ทีนี้แม้ลืมตาก็เห็น แต่อาจเห็นคนเดียว ได้ยินคนเดียวนะ อิอิ

    ดังตัวอย่าง ถาม-ตอบ นี่

    ถาม 1. ที่คุณบอกว่า ฝึกสมาธินั้น คุณฝึกอย่างไร ฝึกด้วยวิธีไหน อาจารย์สอนคุณอย่างไร แล้วคุณทำไปอย่างไร ครับ

    ตอบ. ฝึกแบบอาณาปานสติ ตามลมหายใจ สูดลมหายใจยาวรู้ว่ายาว สั้นรู้ว่าสั้น ปกติรู้ว่าปกติ จนลมหายใจละเอียด แล้วหยุดจับที่ปลายจมูกเหมือนเป็นด่านเฝ้าดูลมหายใจเข้า และออก เขาสอนอีกเยอะแต่จำได้แค่นี้ ก็ทำตามนี้แหล่ะค่ะ
    แต่พอเจออะไรมากกว่านี้เลยไปไม่เป็น ....ขอไม่บอกชื่อผู้สอนค่ะ

    ถาม 2. เล่าอาการที่คุณพบ ให้ละเอียดขึ้นหน่อย

    ตอบ. ประมาณวันที่สี่เริ่มลูกตาหมุนติ้ว อดทนนั่งจนหายไป วันต่อมาเหมือนมีคนจับหน้าตาเราบิดเบี้ยว เป็นแม้แต่ตอนออกจากสมาธิแล้ว ก็อดทนนั่งจนหายไป มีเห็นแสงสี ต่อมา เริ่มหูแว่ว เหมือนคุยกับคนอื่นทางจิตได้
    กลับบ้านก็ตาฝาด เห็นธงวัด ธงชาติปักสลับ บอกว่าต่อไป เราจะไปสร้างวัดตรงนี้

    ถาม 3. ก่อนการฝึกสิ่งที่คุณเรียกว่าฝึกสมาธินี้ คุณเคยมีอาการทางจิตมาก่อนหรือเปล่า

    ตอบ. ไม่เคย

    ถาม 4. ก่อนการฝึกสิ่งที่คุณเรียกว่าฝึกสมาธินี้ คุณเคยมีความทุกข์ใจมาก กลัดกลุ้มมากๆ จนอยากหาทางออก มีปัญหาในชีวิตมากๆ อะไรอย่างนี้บ้างหรือเปล่าครับ ถึงได้หาหนทางออกด้วยการมาฝึกสมาธิเพื่อให้พ้นจากความกลัดกลุ้มมากๆเหล่านั้น

    ตอบ. มีใครบ้างไม่เคยมีปัญหาชีวิต จำได้ว่ากลุ้มมากสุดเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว หายแล้ว อภัยไปหมดแล้ว
    ดิฉันไม่ได้หาทางออกให้ชีวิตโดยการไปนั่งสมาธิแต่ชอบตั้งแต่สมัยเรียนปีหนึ่งที่มหาลัย
    เคยบวชธรรมทายาทที่วัดธรรมกายตอนเป็นนักศึกษา แต่เดินออกมาเพราะไม่เชื่อคำสอนหลายอย่าง
    แต่ก็ชอบนั่งสมาธิ แต่งานยุ่งก็ไม่ได้นั่งอีก จนมาเริ่มอีกทีไม่นานนัก ตอนไปคราวนั้นเป็นครั้งที่สาม
    ไม่ได้กลุ้มอะไรแล้วไป แค่เคยชอบ อยากทำอีก เพราะมันสงบ เย็น เบาสบาย

    ถาม 5. ก่อนการฝึกสิ่งที่คุณเรียกว่าฝึกสมาธินี้ คุณเคยไปเข้าตามสำนักทรงเจ้าเข้าทรง อะไรพวกนี้มาก่อนหรือเปล่า

    ตอบ. ดิฉันไม่เชื่อเรื่องพวกนี้เอาเลย จริงๆค่ะ

    ถาม 6. ใครแนะนำคุณไปฝึกสมาธิตามที่บอกข้างต้น เขาเป็นใคร มีพื้นเพ ความเชื่ออย่างไรครับ

    ตอบ. ไปเอง เพราะศัทรา ดิฉันเชื่อยากแต่พร้อมที่จะทดสอบจนเห็นเอง

     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ภาคปฏิบัติต่อ

    ขณะนั้น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ฯลฯ คิด รู้สึกยังไง เป็นยังไง พึงกำหนดยังงั้น ตามที่เห็นได้ยิน ฯลฯ เช่น เห็น ก็เห็นหนอๆๆ ได้ยินเสียง ก็เสียงหนอๆๆ ฯลฯ ทั้งกำลังปฏิบัติ ทั้งเลิกปฏิบัติแล้วก็กำหนดด้วย ไม่ใช่ปล่อยอารมณ์เรื่อยเฉื่อย
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นี่ก็เห็นคนเดียว ได้ยินคนเดียว

    นั่งสมาธินั่งดูลม แล้วมามองกระจกแบบใช้ตาเพ่ง กระจกมันบิดไปบิดมา บางทีก็ได้ยินเสียงคนพูดถึงเรืองที่ผมคิด แต่มองไม่เห็นคน ตอนนี้เพี้ยนครับ อาการแบบนี้เขาเรียกจิตหลอกรึเปล่า ตอนนี้ลำบากมาก หนวกหูเสียงด่ามาเป็นอาทิตย์แล้วครับ ได้ยินเสียงความคิดของตัวเองอีก หนวกหูมาก พอจะมีวิธีแก้ใหมครับ.
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อจาก # 9


    ทางออกหรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุทธัจจ์ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดโดยไตรลักษณ์ เกิดมี โอภาส ปีติ ญาณ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐาน อุเบกขาหรือนิกันติ ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาส เป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผล หรือนิพพาน) เพราะการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติ มีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะเป็นทุกข์ โดยภาวะเป็นอนัตตา ดังนั้น จึงเรียกว่ามีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุทธัจจ์

    แต่ครั้น มีเวลาเหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ มรรค ก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้ จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาส เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้

    เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุทธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย


    คัมภีร์ชั้นอรรถกถาเรียกธรรมุทธัจจ์นี้ว่า วิปัสสนูปกิเลส คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ๑๐ อย่าง ซึ่งจะเกิดขึ้นแก่ผู้ได้วิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) ภาวะ ทั้ง ๑๐ นี้ เป็นสิ่งน่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว ถ้าเข้าใจอย่างนั้น ก็เป็นอันคลาดออกนอกวิปัสสนาวิถี คือพลาดทางวิปัสสนาแล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง

    วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง คือให้รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอกาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เขา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นต้น จนมองเห็นว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วไม่ตื่นเต้นหวั่นไหวไปกับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้น เป็นอันสางอุปกิเลสเสียได้ ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคาที่ถูกต้องต่อไป จนบรรลุมรรคผล
     
  14. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339

แชร์หน้านี้

Loading...