สัญญา ๑๐ ประการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 18 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    [​IMG]
    อาพาธสูตร
    [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา-
    *นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้
    มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์
    อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้
    โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา
    ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับ
    โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้
    สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ
    อนิจจสัญญา ๑
    อนัตตสัญญา ๑
    อสุภสัญญา ๑
    อาทีนวสัญญา ๑
    ปหานสัญญา ๑
    วิราคสัญญา ๑
    นิโรธสัญญา ๑
    สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑
    สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑
    อานาปานัสสติ ๑ ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่
    เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วย
    ประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น
    อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา
    โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็น
    โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการ
    เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา
    มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้
    มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ
    ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
    หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์
    นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
    โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก
    โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง
    โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก
    โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด
    โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม
    โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
    อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
    อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
    อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
    ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วย
    ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความ
    ไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้
    หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี
    ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตก
    อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อม
    ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว
    ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส
    ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่
    เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ละอุบาย ๑- และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็น
    อนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรต
    สัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์
    นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ

    ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติ
    หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็
    รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ
    หายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง
    @๑. อุบาย คือ ตัณหาและทิฐิ อุปาทาน คือ อุปาทาน ๔
    (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า
    จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อม
    ศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา)
    หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
    จักระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อม
    ศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง
    หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้
    มั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้อง
    จิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหาย
    ใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษา
    ว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็น
    ผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น
    โดยความดับสนิทหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัด
    คืนหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
    ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ

    ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่
    คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน
    เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
    ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของ
    พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
    สัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่าน
    พระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระ-
    *คิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น
    ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้
    แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
    จบสจิตตวรรคที่ ๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2018
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    [​IMG]
    สัญญาสูตรที่ ๒
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
    ที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ
    อสุภสัญญา ๑
    มรณสัญญา ๑
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
    สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑
    อนิจจสัญญา ๑
    อนิจเจทุกขสัญญา ๑
    ทุกเขอนัตต-*สัญญา ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
    เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอัน
    อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
    การร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
    ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ
    เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว
    ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความ
    เป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่
    เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของ
    เราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก
    จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ
    ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อ
    นั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
    ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้
    ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอัน
    ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
    ที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรม
    แล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจาก
    การรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
    เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก
    ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดย
    มาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้
    ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
    และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมี
    ใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ
    จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้ง
    อยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
    เบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุ
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
    มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
    มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
    มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ
    ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของ
    ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
    หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วย
    อาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็น
    ของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอัน
    เราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่ง
    ภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูล-
    *สัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-
    *สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่น
    ไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
    ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
    และเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ
    นั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอัน
    ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวน
    กลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก
    อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
    ใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า
    เมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
    ไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ
    พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษ
    ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
    ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดย
    มาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับ
    ความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
    ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้อง
    ต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว
    เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
    เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
    แล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่น
    ไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล
    ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า
    หากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว
    ด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความ
    สรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้
    ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี
    ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน
    อนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา
    อยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะ
    และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึง
    ทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้อง
    ปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
    ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา
    อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
    เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรม
    แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรง
    กล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ใน
    การไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือน
    ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก
    ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ใน
    ความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ
    เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น
    ฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิ-
    *เศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะ
    ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา
    อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
    ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือน
    ความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้
    ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง
    เบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น
    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ

    ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญ
    แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ
    มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
    มีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา
    ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอก
    เสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจ
    ย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้
    และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยัง
    ไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่
    เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรา
    ยังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดย
    มาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกาย
    ที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ
    ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญา
    อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่
    อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

    จบสูตรที่ ๖
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์
    [​IMG]
    สัญญาขันธ์
    [๑๔] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
    สัญญาอดีต
    สัญญาอนาคต
    สัญญาปัจจุบัน
    สัญญาภายใน
    สัญญาภายนอก
    สัญญาหยาบ
    สัญญาละเอียด
    สัญญาทราม
    สัญญาประณีต
    สัญญาไกล
    สัญญาใกล้
    ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์

    [๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน
    สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
    ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า
    กับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา
    สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา
    นี้เรียกว่าสัญญาอดีต

    สัญญาอนาคต เป็นไฉน
    สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
    ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น
    ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุ-
    *สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต

    สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน
    สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว
    ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
    ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ
    มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน

    [๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน
    สัญญาใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน
    เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา-
    *สัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน

    สัญญาภายนอก เป็นไฉน
    สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
    ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่
    จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก

    [๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน
    สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา
    หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา
    ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
    สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา
    เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่
    สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต
    ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
    เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา
    ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา
    หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด
    หรือพึงทราบสัญญาหยาบสัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา
    นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป

    [๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน
    อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญา
    ประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็น
    สัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญาที่
    สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุต
    ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
    เวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของ
    ผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม
    สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต
    หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
    เป็นชั้นๆ ไป

    [๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน
    อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล
    สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
    ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
    สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ
    อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา
    สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
    และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
    สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
    เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่
    สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุต
    ด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญา
    ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกข-
    *เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่
    เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
    เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
    เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของ
    อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสัญญาไกล

    สัญญาใกล้ เป็นไฉน
    อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
    ใกล้กับกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่
    สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญา
    ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญา
    ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
    เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
    สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น
    อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่
    ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้
    เรียกว่าสัญญาใกล้
    หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
    เป็นชั้นๆ ไป
     
  4. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    สละนันทิทันทีที่จิตเกิดมันเป็นการทำสมถะภาวนา เพื่อให้เกิดสมาธิ ในสัมมาสมาธิ จะสละในหรือนอกณานก้ตาม จะสละในณานที่ 1 2 3 4 อรูป 1 2 3 4 ก้ตามการเห็นมันก้ยังคงเป็นการข่ม เพราะละออกด้วยหวังไม่เอาไม่ได้ละออกด้วยเห็นว่าไม่ควรเอา
    การเห็นด้วยปัญญา เป็นการเห็นด้วยสัญญาที่นอนเนื่องด้วย อาสวะกิเลศ แล้วพลักกิเลศที่เกิดขึ้นให้ล้มไปด้วย กุศลสัญญา ทำให้อกุศลสัญญา อาสวะกิเลศไม่ปรุงแต่งร่วมกับอวิชา จนกลายเป็นสังขารกิเลศ
    สองแบบนี้แตกต่างกันมากแบบหนึ่งเกิดตอนมรรคปติบัติเพื่อละ แบบที่สองเกิดตอนผลปติบัติหลังจากการเห็นโดยรอบแล้ว
    มันก้มีทั้งอัตโนมัติข่ม กับอัตโนมัติรู้แจ้ง
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    เป็นสัญญาที่เป็นไปเพื่อ......
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    กำจัดอาสวะกิเลศครับ
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ....เป็นแนวทางเดินให้จิตสำหรับใช้
    เดินปัญญาในอนาคต เป้าหมายเพื่อละกิเลส

    “ โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ใช่กิเลสนะครับ
    มันเป็นอะไรที่มีอยู่แล้วในจิตเรา
    มันซ้อนตัวในที่ว่างของจิตตั้งแต่ก่อนจะ
    มีกายนี้ขึ้นมา และลาภ ยศ สุข สรรเสริญ
    ก็ไม่ใช่กิเลส มันเป็นภายนอก ที่มีอยู่
    แล้วเป็นปกติของมัน. แต่ถ้า ตัวโลภะ โทสะ หรือ โมหะ ส่งตัววิญญาณการรับรู้
    ไปดึง เอา ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามา. จนกลายเป็นตัวเราเอง
    เมื่อไร มันถึงจะเป็นกิเลสครับ”
    ปล. แค่เพียงแต่เล่าสู่กันฟังครับ (^_^)

     
  8. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    อาสวะ ก้คือ สัญญากิเลศ
     
  9. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    [๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
    เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    วามสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร
    ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้ รู้เห็นโยนิโสมนสิการ และ อโยนิโสมนสิการ
     
  10. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เพราะมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ

    ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า
    เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
    เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
    ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ
    ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ
    ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ
    ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ
    ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ
    ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ
    ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
    ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ


    หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความสงสัยขึ้นภายในว่า
    เรามีอยู่หรือ
    เราไม่มีอยู่หรือ
    เราเป็นอะไรหนอ
    เราเป็นอย่างไรหนอ
    สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.


    เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้
    บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
    ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า
    ตนของเรามีอยู่ หรือว่า
    ตนของเราไม่มีอยู่ หรือว่า
    เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า
    เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตนด้วยตนเอง หรือว่า
    เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน อีกอย่างหนึ่ง


    ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า
    ตนของเรานี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ
    ก็ตนของเรานี้นั้นเป็นของแน่นอนยั่งยืนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
    จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้


    ข้อนี้เรากล่าวว่าทิฏฐิ
    ชัฏคือทิฏฐิ
    กันดารคือทิฏฐิ
    เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
    ความดิ้นรนคือทิฏฐิ
    สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือทิฏฐิ
     
  11. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เพราะไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

    อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า
    นี้ทุกข์
    นี้เหตุให้เกิดทุกข์
    นี้ความดับทุกข์
    นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์


    เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการอยู่โดยแยบคายอย่างนี้
    สังโยชน์ ๓ คือ
    สักกายทิฏฐิ
    วิจิกิจฉา
    สีลัพพตปรามาส ย่อมเสื่อมสิ้นไป


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการเห็น
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    เด่วช่วยขยายความทางกิริยานะครับ

    จิตแท้จริงมันไม่มีรูปร่าง
    แต่มันมีผัสสะของมัน
    และมีตัววิญญาณเป็นอาการของมัน
    เมื่อตัววิญญาณเกิด จิตมันถึงจะเป็น
    ดวงกลมๆ ที่เรามักเรียกว่าดวงจิตครับ.

    ที่นี้ตัวผัสสะของจิต ส่งตัววิญญาณออกไป
    เมื่อมันไปกระทบ
    อะไรก็ตาม ถ้ามันไม่รู้ มันก็มักจะเก็บ
    เอาไว้ในตัวจิตที่เราเรียกว่าสัญญานั่นหละครับ

    ที่นี้เมื่อมันไม่รู้มากขึ้น เรื่องจากมัน
    มีทั้งโลภะ โมหะ โทสะ เดิมเป็นทุนในจิต
    มันก็เลยสร้างช่องทาง
    ให้ตัววิญญานนี้ผ่านหรือเดินทางเกิด
    เป็นกายต่างๆขึ้นมา
    ให้มี ตา หู จมูก ปาก นั่นหละครับ

    นี่หละครับที่มันเกิดเป็นกายได้
    เพราะมันยังไม่รู้เท่าทันตรงนี้

    แต่เมื่อเรามีกาย และ จิตแล้ว
    ข้อดีคือ เราสามารถปฎิบัติ
    เพื่อถอดถอนความไม่รู้ของจิต
    ในขณะที่มันอยู่ร่วมกับกายได้
    ไม่เหมือนกรณีที่มีแต่ดวงวิญญาณนั่นเอง
    นี้คือข้อได้เปรียบของการเป็นมนุษย์ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...