สันตติ,อิริยาบถ,ฆนะ ปิดบังไตรลักษณ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 14 กรกฎาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์


    ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา นี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น
    ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้

    ถ้าไม่มนสิการ คือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

    สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ (วิสุทธิ.3/275 วิภงฺค.อ.65 วิสุทธิ.ฎีกา.3/522)

    1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ

    2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

    3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2017
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (อธิบายข้อที่ 1 สันตติ บังอนิจจลักษณะ)

    1. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับหรือความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไปก็ถูก สันตติ คือ ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่องปิดบังไว้ อนิจจลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

    สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้น ล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความเกิด-ดับ นั้น เป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ-เกิด-ดับ ฯลฯ ความเป็นไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างตัวเราเองหรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่า เป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานสังเกตดู หรือไม่เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีความเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากเดิม

    แต่ความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทีละน้อยและต่อเนื่องจนไม่เห็นช่องว่าง

    ตัวอย่างเปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่าง เร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็ เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหวแยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดู ก็เห็นชัดว่า เป็นใบพัดต่างหากกัน 2 ใบ 3 ใบ 4 ใบ
    หรือ
    เหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็วเป็นวงกลม มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม แต่ความจริงเป็นเพียงธูปก้านเดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป
    หรือ
    เหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟ อยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่ แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้า ที่เกิด-ดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว
    หรือ
    เหมือนมวลน้ำในแม่น้ำ ที่มองเห็นดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆ มากมายมารวมกันและไหลเนื่อง สิ่งทั้งหลายเช่นดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่ถูกต้องมากำหนดแยกมนสิการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (อธิบายข้อที่ 2 อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ)

    2. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูกอิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ

    ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือความรู้สึกของคน มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น

    ถ้ามีการคืบเคลื่อนยักย้าย หรือทำให้แปรรูปเป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

    สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือ ผู้สังเกตแยกพรากจากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อน ก็ดี

    ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

    ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลาทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้

    ถ้าเราอยู่หรือต้องอยู่ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดันที่คนทั่วไปเรียกว่า ทุกข์ เช่น เจ็บปวดเมื่อย จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่า อิริยาบถ อื่น เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย (ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า ความสุขเกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

    ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์ เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือเรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอดจากความรู้สึกทุกข์ไปได้

    เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย ท่านจึงว่า อิริยาบถบังทุกขลักขณะ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    (อธิบายข้อที่ 3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ)

    3. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูกฆนะคือความเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ

    สิ่งทั้งหลาย ที่เรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลาย มารวบรวมปรุงแต่งขึ้น

    เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวม ซึ่งเรียกว่า อย่างนั้นๆ ก็ไม่มี
    โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญาคือความจำหมายหรือความสำคัญหมายเป็นหน่วยรวม คอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็นเนื้อยาง
    คือ
    คนที่ไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้น เป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริง ผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มาเรียงกันเข้าตามระเบียบ

    ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี
    หรือ
    เด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่

    แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา

    ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้

    เมื่อใช้อุปกรณ์หรือวิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการเห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็นว่า เป็นอนัตตา
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    โบราณาจารย์ท่านอธิบายไว้ มจด.ไม่ได้อธิบายนะครับ นำมาจากหนังสือพุทธธรรมหน้า ๗๑
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ความหมายของไตรลักษณ์แต่ละข้อ ได้แสดงไว้พอเห็นเค้าในเบื้องต้นแล้ว ในที่นี้จะวิเคราะห์ความหมายของไตรลักษณ์เหล่านั้นให้ละเอียดลึกซึ้งลงไปอีก ตามหลักวิชาโดยหลักฐานในคัมภีร์

    snow-930703__340.jpg
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อนิจจตา และอนิจจลักษณะ

    คัมภีรร์ปฏิสัมภิทามัคค์แสดงอรรถ (ความหมาย) ของอนิจจตาไว้อย่างเดียวว่า ชื่อว่าเป็นอนิจจัง โดยความหมายว่า เป็นของสิ้นไปๆ (ขยฏฺเฐน) หมายความว่า เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อใด ก็ดับไปที่นั่น เมื่อนั้น เช่น รูปธรรมในอดีต ก็ดับไปในอดีต ไม่มาถึงขณะนี้ รูปในขณะนี้ ก็ดับไปที่นี่ ไม่ไปถึงข้างหน้า รูปในอนาคตจะเกิดถัดต่อไป ก็จะดับ ณ ที่นั้นเอง ไม่มีอยู่ถึงเวลาต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น

    ต่อมาในคัมภีร์อรรถกถา ท่านต้องการให้ผู้ศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น จึงได้ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ ยักย้ายคำอธิบายออกไปให้เห็นความหมายในหลายๆแง่ และหลายๆระดับ ตั้งแต่ระดับคร่าวๆ หยาบๆลงมาจนถึงความเป็นไปในแต่ละขณะๆ
    เช่น
    เมื่อมองชีวิตของคน เบื้องต้นก็มองอย่างง่ายๆ ดูช่วงชีวิตทั้งหมด ก็จะเห็นว่าชีวิตมีการเกิดและการแตกดับ เริ่มต้นด้วยการเกิดและสิ้นสุดลงด้วยความตาย
    เมื่อซอยลงไปอีก ก็ยิ่งเห็นความเกิดและความดับ หรือการเริ่มต้นและการแตกสลายกระชั้นถี่เข้ามา เป็นช่วงวัยหนึ่งๆ ช่วงระยะสิบปีหนึ่งๆ ช่วงปีหนึ่งๆ ช่วงฤดูหนึ่งๆ ช่วงเดือนหนึ่งๆ ฯลฯ ช่วงยามหนึ่งๆ
    ตลอดถึงชั่วเวลาขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแต่ละครั้งแต่ละหน จนกระทั่งมองเห็นความเกิดดับที่เป็นไปในทุกๆขณะ ซึ่งเป็นของมองเห็นได้ยากสำหรับคนทั่วไป

    อย่างไรก็ตาม ในสมัยปัจจุบันนี้ ที่วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากแล้ว อนิจจตาหรือความไม่เที่ยง โดยเฉพาะในด้านรูปธรรม เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก จนเกือบจะกลายเป็นของสามัญไปแล้ว ทฤษฎีต่างๆตั้งแต่ทฤษฎีว่าด้วยการเกิดดับของดาว ลงมาจนถึงทฤษฎีว่าด้วยการสลายตัวของปรมาณู ล้วนใช้ช่วยอธิบายหลักอนิจจตาได้ทั้งสิ้น

    ที่ว่าคัมภีร์ชั้นอรรถกายักเยื้องคำอธิบายออกไปหลายๆแง่ ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ นั้น เช่น บางแห่งท่านอธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นอนิจจัง ก็เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (อนจฺจนฺติกตาย) และเพราะเป็นสิ่งที่มีความเริ่มต้นและความสิ้นสุด (มีจุดเริ่ม และมีจุดจบ อาทิอนฺตวนฺตตาย)

    แต่คำอธิบายอย่างง่ายๆที่ใช้บ่อย ก็คือข้อความว่า ชื่อว่าเป็นอนิจจัง โดยความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีแล้วก็ไม่มี (คือมีหรือปรากฏขึ้นแล้ว ก็หมดหรือหายไป หุตฺวา อภาวฏฺเฐน) บางแห่งก็นำข้อความอื่นมาอธิบายเสริมเข้ากับข้อความนี้อีก เช่นว่า ชื่อว่าเป็นอนิจจัง เพราะเกิดขึ้น เสื่อมสลาย และกลายเป็นอย่างอื่น หรือเพราะมีแล้ว ก็ไม่มี (อุปปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา)


    แต่ที่ถือว่า ท่านประมวลความหมายต่างๆ มาแสดงไว้โดยครบถ้วน ก็คือ การแสดงอรรถแห่งอนิจจตา เป็น ๔ นัย หมายความว่า เป็นอนิจจังด้วยเหตุผล ๔ อย่าง คือ (วิสุทธิ.3/246 ฯลฯ)

    ๑. อุปฺปาทวยปฺปวตฺติโต เพราะเป็นไปโดยการเกิดและการสลาย คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

    ๒. วิปริณามโต เพราะเป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อยๆ

    ๓. ตาวกาลิกโต เพราะเป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

    ๔. นิจฺจปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่อความเที่ยง คือ สภาวะของมันที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง ขัดกันอยู่เองในตัวกับความเที่ยง หรือโดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว เมื่อมองดูรู้เห็นตรงตามสภาวะของมันแล้ว ก็จะหาไม่พบความเที่ยงเลย ถึงคนจะพยายามมองให้เห็นเป็นเที่ยง มันก็ไม่ยอมเที่ยงตามที่คนอยาก จึงเรียกว่า มันปฏิเสธความเที่ยง
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    จะไปยาวหรือยังจะได้เข้ามาบ้าง
    เสือกะแมว จะอยู่ในถ้ำเดียวพร้อมกันไม่ได้
    จำไว้นะ
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เหมือนเคยบอกทีแล้วนะว่าอยู่ยาว :) ทนๆหน่อยน่าอาจารย์แมวเดี๋ยวก็ชินไปเอง คิกๆๆ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สันตติ การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็น อย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง ในทางนามธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป


    อิริยาบถ "ทางแห่งการเคลื่อนไหว" ท่าทางที่ร่างกายจะเป็นไป, ท่าที่เคลื่อนไหวตั้งวางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง, อิริยาบถหลักมี ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน, อิริยาบถย่อย เรียกว่า จุณณิยอิริยาบถ หรือ จุณณิกอิริยาบถ ได้แก่ ท่าที่แปรเปลี่ยนยักย้ายไประหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น


    ฆนะ ก้อน,แท่ง

    ฆนสัญญา ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เรียกว่าไตรลักษณ์ เป็นไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่มีปัญหาในเรื่องที่ว่า สิ่งทั้งหลายมีหรือไม่มีจริง ยั่งยืนหรือขาดสูญ เป็นต้น แต่ผู้ไม่รู้ความหมายของหลักปฏิจจสมุปบาท มักเข้าใจไตรลักษณ์ผิดพลาด โดยเฉพาะหลักอนัตตานั้น มักได้ยินได้ฟังกันอย่างผิวเผิน แล้วตีความเอาว่า อนัตตาหมายถึงไม่มีอะไร กลายเป็นนัตถิกวาท อันเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างร้ายแรงไปเสีย
     
  12. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    งั้นตามบาย
    เรื่องนี้ริวจะไม่ยุ่งนะ
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มีหลักธรรมใหญ่อยู่ ๒ หมวด ที่ถือได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ ไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท

    ความจริง ธรรมทั้ง ๒ หมวด นี้ ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่ หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ

    ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้น เป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท

    ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณะได้ว่าเป็นไตรลักษณ์

    กฎธรรมชาตินี้ เป็นธาตุคือภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา เป็นธรรมฐิติคือภาวะที่ตั้งอยู่หรือยืนตัวเป็นหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา เป็นธรรมนิยาม* คือกฎธรรมชาติหรือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่เกี่ยวกับผู้สร้างผู้บันดาล หรือการเกิดขึ้นของศาสนาหรือศาสดาใดๆ กฎธรรมชาตินี้แสดงฐานะของศาสดาในความหมายของพุทธธรรมด้วยว่าเป็นผู้ค้นพบกฎเหล่านี้ แล้วนำมาเปิดเผยชี้แจงแก่ชาวโลก

    ไตรลักษณ์นั้น มีพุทธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติ ว่าดังนี้

    "ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุนั้นก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า

    ๑. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง...

    ๒. สังขารทั้งปวง* เป็นทุกข์...

    ๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา...

    ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า "สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง...สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ...ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา" (องฺ.ติก.20/576/368)

    ไตรลักษณ์นี้ ในอรรถกถาบางทีเรียกว่าสามัญลักษณะในฐานะเป็นลักษณะร่วม ที่มีแก่สิ่งทั้งหลาย เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ไม่ว่าสังขตะคือสังขาร หรืออสังขารคือวิสังขาร ก็ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น


    เพื่อความเข้าใจง่ายๆแสดงความหมายของไตรลักษณ์ (The Three Characteristics of Existence) โดยย่อ ดังนี้

    ๑. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อม และสลายไป

    ๒. ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน

    ๓. อนัตตตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนจริงแท้ที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆได้
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ที่อ้างอิง * คคห. บน

    -ในคัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา แบ่งนิยามหรือกฎธรรมชาติเป็น ๕ อย่าง คือ

    ๑. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องลมฟ้าอากาศ และฤดูกาล ในทางอุตุนิยม อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์

    ๒. พืชนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์ รวมทั้งพันธุกรรม

    ๓. จิตตนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของจิต

    ๔. กรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับเจตจำนง และพฤติกรรมมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ

    ๕. ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสภาวะแห่งธรรมดาทั่วไป เฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์และความเป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย

    * คำว่า "สังขาร" ในไตรลักษณ์นี้ ต้องเข้าใจว่าต่างกับคำว่า สังขารในขันธ์ ๕ ในขันธ์ ๕ สังขาร = ความดีความชั่วที่ปรุงแต่งจิตใจ เป็นนามธรรมอย่างเดียว ส่วนในไตรลักษณ์ สังขาร = สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งหรือที่เกิดจากส่วนประกอบต่างๆ ประชุมกันเข้า จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม คือ เท่ากับขันธ์ ๕ ทั้งหมด
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ธรรมฐิติ ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา

    ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ

    ธาตุ สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

    ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ, ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ตามธรรมดาของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายได้รู้ตาม มี ๓ ตามพระบาลี ดังนี้

    ๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง

    ๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้

    ๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง มิใช่เป็นตน
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมให้ผลเนื่องถึงกันหมด ดังนั้น การการพิจารณาลักษณะทั้งสาม จึงมีคุณค่าส่งถึงความหลุดพ้นได้ทั้งสิ้น แต่กระนั้น ตัวตัดสินชี้ขาดจะอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจอนัตตา ดังจะเห็นได้ จากพุทธพจน์ที่ว่า "พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอัสมิมานะ ดูกรเมฆิยะ แท้จริง เมื่อมีอนิจจสัญญา อนัตตาสัญญาจึงปรากฏ ผู้มีอนัตตสัญญา จะลุถึงภาวะที่ถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ เป็นนิพพานในปัจจุบันนี้แหละ" (ขุ.อุ.25/89/128)
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อัสมิมานะ การถือว่านี่ฉัน นี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขา

    อนิจจัง
    ไม่เที่ยง, ไม่คงที่, สภาพที่เกิดมีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป

    อนิจจสัญญา
    กำหนดหมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร

    อนัตตา
    ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน

    อนัตตสัญญา
    กำหนดหมายถึงความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การประสบไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน กลับทำให้เกิดทุกข์” (สํ.ข.17/4/4; 32/21; 87/53)

    ธรรมชาติมันเป็นยังงี้ แต่เราจะเอายังงั้น เลยกลายเป็นว่าคนที่ปฏิบัติธรรมแล้วประสบสภาวธรรมนั่นแหละเกิดทุกข์ใจขึ้น (ทำไมเป็นยังงี้ละหือ) ท่านจึงว่า ประสบกับไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน กลับทำให้เกิดทุกข์ ด้วยประการฉะนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...