สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ ของดี อ่านกันให้มากๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 10 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนัตตา คือ ยอดธรรมทั้งปวง

    กระทู้นี้ ขอยกพระสูตร ความสำคัญและใจความ ในพระคาถาเกี่ยวกับอนัตตา

    ความหมาย อนัตตา เปรียบเทียบในเชิงอรรถบัญญัติ

    เป็นพระคาถาแรก หลังตรัสรู้ และเสวยวิมุติ

    แล้วจึงโปรดปัจจวัคคี เมื่อนั้นจึงมีพระโสดาบันเกิดขึ้น

    วิธีเข้าถึง พระไตรลักษณ์ การพิจารณาสภาวะปรมัตถ์ธรรม

    ซึ่งบัญญัติไม่ได้ ต้องรู้ได้เฉพาะตน

    ติลักขณาทิคาถา

    (หันทะ มะยัง ติลักขะณาคาถาโย ภะณามะ เส)
    เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงพระไตรลักษณ์เป็นเบื้องต้นเถิด

    สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
    เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

    อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
    เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
    นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

    สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
    เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

    อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
    เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
    นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

    สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
    เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

    อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
    เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
    นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

    อัปปะกา เต มะนุสเสสุ เย ชะนา ปาระคามิโน
    ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย, ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก

    อะถายัง อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ
    หมู่มนุษย์นอกนั้นย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง

    เย จะ โข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน
    ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่ตรัสรู้ไว้ชอบแล้ว

    เต ชะนา ปาระเมสสันติ มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง
    ชนเหล่าใดจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน, ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราชที่ข้ามได้ยากนัก

    กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต
    จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย, แล้วเจริญธรรมขาว
    โอกา อะโนกะมาคัมมะ วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง,
    ตัต๎ราภิระติมิจเฉยยะ หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน
    จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ, จากที่มีน้ำ, จงละกามเสีย, เป็นผู้ไม่มีความกังวล,
    จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพาน, อันเป็นที่สงัดซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2011
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สติปัฏฐานสูตร

    กะตะเมจะภิกขะเว สติปัฏฐานา อิธะภิกขะเว ภิกขุ
    สติปัฏฐานนั้นเป็นอย่างไรเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย


    กาเย กายานุปัสสี วิหาระติ
    เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็นกาย ในกาย
    (ธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อายตนะ กลาปะ) อยู่เป็นประจำ

    อาตาปี สัมปะชาโน สติมา
    มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไปไม่ลดละ มีปัญญารู้ตัว ที่จะละเหตุทุกข์ เจริญเหตุสุข
    ไม่ลืมการพิจารณาปัจจุบันธรรม

    วิเนยยะ โลเก อภิชชา โทมนัสสัง
    ปล่อยวาง ความยินดี ยินร้าย ในโลก ออกเสียให้ได้

    เวทนาสุ เวทนานุปัสสี วิหาระติ
    เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็น เวทนา ในเวทนา
    (ความรู้สึก ในความรู้สึก สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา) อยู่เป็นประจำ

    อาตาปี สัมปะชาโน สติมา
    มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไปไม่ลดละ มีปัญญารู้ตัว ที่จะละเหตุทุกข์ เจริญเหตุสุข
    ไม่ลืมการพิจารณาปัจจุบันธรรม

    วิเนยยะ โลเก อภิชชา โทมนัสสัง
    ปล่อยวาง ความยินดี ยินร้าย ในโลก ออกเสียให้ได้

    จิตเต จิตตานุปัสสี วิหาระติ
    เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็นจิตในจิต
    (จิตสังขาร ความคิดนึก ปรุงแต่ง กุศล อกุศล อัพยากะตา) อยู่เป็นประจำ

    อาตาปี สัมปะชาโน สติมา
    มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไปไม่ลดละ มีปัญญารู้ตัว ที่จะละเหตุทุกข์
    เจริญเหตุสุข ไม่ลืมการพิจารณาปัจจุบันธรรม

    วิเนยยะ โลเก อภิชชา โทมนัสสัง
    ปล่อยวาง ความยินดี ยินร้าย ในโลก ออกเสียให้ได้

    ธัมเม สุธัมมา นุปัสสี วิหาระติ
    เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็นธรรม ในธรรม (ธรรมารมณ์ นิวรณ์ ) อยู่เป็นประจำ

    อาตาปี สัมปะชาโน สติมา
    มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไปไม่ลดละ มีปัญญารู้ตัว ที่จะละเหตุทุกข์
    เจริญเหตุสุข ไม่ลืมการพิจารณาปัจจุบันธรรม

    วิเนยยะ โลเก อภิชชา โทมนัสสัง
    ปล่อยวาง ความยินดี ยินร้าย ในโลก ออกเสียให้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2011
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อะนัตตะลักขะณะสุตร


    ..........เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง
    วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัต์ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย
    ภิกขู อามันเตสิ ฯ
    ..........รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ฯ รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา
    อะภะวิสสะ นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ
    รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ ฯ ยัส์มา
    จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา ตัส์มา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ
    นะ จะ ลัพภะติ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา
    อะโหสีติ ฯ
    ..........เวทะนา อะนัตตา ฯ เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา
    อะกะวิสสะ นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ
    จะ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา
    อะโหสีติ ยัส์มา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา ตัส์มา
    เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ เอวัง เม
    เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ ฯ
    ..........สัญญา อะนัตตา ฯ สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา
    อะกะวิสสะ นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ
    สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ
    ยัส์มา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา ตัส์มา สัญญา อาพาธายะ
    สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ
    เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ ฯ
    ..........สังขารา อะนัตตา ฯ สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา
    อะกะวิสสะ นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ
    จะ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหตุ เอวัง เม สังขารา มา
    อะโหสีติ ฯ ยัส์มา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา ตัส์มา
    สังขารา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ เอวัง
    เม สังขารา โหตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ ฯ
    ..........วิญญาณัง อะนัตตา ฯ วิญญาณังจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา
    อะกะวิสสะ นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ
    จะ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง
    มา อะโหสีติ ฯ ยัส์มา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา
    ตัส์มา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ
    วิญญาณัง เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา
    อะเหสุนติ ฯ
    ..........ตัง กิม มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ
    อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง
    ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง
    สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส์มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน
    เหตัง ภันเต ฯ
    ..........ตัง กิม มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ
    อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง
    ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง
    สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส์มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน
    เหตัง ภันเต ฯ
    ..........ตัง กิม มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ
    อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง
    ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง
    สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส์มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน
    เหตัง ภันเต ฯ
    ..........ตัง กิม มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ
    อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง
    ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง
    สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส์มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน
    เหตัง ภันเต ฯ
    ..........ตัง กิม มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ ฯ
    อะนิจจัง ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ ฯ ทุกขัง
    ภันเต ฯ ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง
    สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส์มิ เอโส เม อัตตาติ ฯ โน
    เหตัง ภันเต ฯ
    ..........ตัส์มาติหะ ภิกขะเว ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง
    อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หินัง วา
    ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะ-
    มัส์มิ นะ เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ
    ทัฏฐัพพัง ฯ
    ..........ยา กาจิ เวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง
    วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หินัง วา ปะณีตา วา ยา
    ทูเร สันติเก วา สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส์มิ นะ เมโส
    อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ
    ..........ยา กาจิ สัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา
    พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หินัง วา ปะณีตา วา ยา ทูเร
    สันติเก วา สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส์มิ นะ เมโส
    อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ
    ..........ยา กาจิ สังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา
    พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หินัง วา ปะณีตา วา ยา ทูเร
    สันติเก วา สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส์มิ นะ เมโส
    อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ
    ..........ยังกิญจิ วิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา
    พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หินัง วา ปะณีตัง วา
    ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส์มิ นะ
    เมโส อัตตาติ ฯ เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง ฯ
    ..........เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต์วา อะริยะสาวะโก รูปัส์มิงปิ
    นิพพินทะติ เวทะนายะปิ นิพพินทะติ สัญญายะปิ นิพพินทะติ สังขา-
    เรสุปิ นิพพินทะติ วิญญาณัส์มิงปิ นิพพินทะติ ฯ นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ
    วิราคา วิมุจจะติ วิมุตตัส์มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ ขีณา ชาติ วุสิตัง
    พรัหมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ
    ..........อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขุ
    ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    ..........อิมัส์มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส์มิง ภัญญะมาเน ปัญจะ
    วัตติยานัง ภิกขุนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสุติ ฯ

    คำแปล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย


    รูปเป็นอนัตตา
    ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    เวทนาเป็นอนัตตา
    ถ้าเวทนานี้จักไปนอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่ เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    สัญญาเป็นอนัตตา
    ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา
    ถ้าสังขารนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้หลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    วิญญาณเป็นอนัตตา
    ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม ไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน

    รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน

    เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน

    สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน

    สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
    แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน

    วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
    ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
    พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
    ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล

    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูปเธอทั้งหลายพึงพิจารณารูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็ตแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงพิจารณาสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงพิจารณาสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงพิจารณาวิญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

    ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟัง ได้พิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัดจิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นก็ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจบไวยากรณภาษิตนี้

    จิตของปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

    ภิกษุ ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดดำรงอยู่ในพระอรหัต

    ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2011
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ภิกขะเว
    ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยคือความทุกข์ในวัฏฏะสงสาร
    ความเวียนว่าย ตายเกิดทั้งหลาย

    อะนัตตาโต
    ที่สภาวะอันเกิดขึ้นเอง บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ช่ของเรา

    อะนุปัสสิโต
    จงตามเฦ้าดู

    ภาวิโต
    จงเจริญให้มาก

    พะหุลีกะโต
    จงทำให้มาก

    อะภิญญายะ
    มรรคญาณ (ปัญญารู้ถึงว่าอัตตาทิฐิ ความเห็นผิด
    คือเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนและวิจิกิจฉา ความเชื่อผิด ลังเลสงสัย
    ไม่รู้ตามความเป็นจริง ได้ถูกตัดทำลายลงแล้ว ย่อมเกิดขึ้น)

    สะมะโพธายะ
    ผลญาณ (ปัญญาที่รู้ได้ว่าได้เข้าถึงความสงบเย็นจากกิเลส
    หรือความเป็นผู้รุ็ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ย่อมเกิดขึ้น)

    นิพพานะยะ
    ความได้เสวยนิพพาน

    สังวัตตะติ
    ย่อมเกิดขึ้น​
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    เหตุที่ได้ชื่อว่า "อนัตตา"
    อนัตตา ที่ขันธ์ 5 ได้ชื่อนี้ เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้
    1. เป็นสภาพว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ 4 เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
    2. หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
    3. ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
    4. แย้งต่ออัตตา คือตรงข้ามกับอัตตา
    [แก้] อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ ไม่เหมือนกัน

    อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน<SUP id=cite_ref-0 class=reference>[1]</SUP><SUP id=cite_ref-1 class=reference>[2]</SUP><SUP id=cite_ref-2 class=reference>[3]</SUP><SUP id=cite_ref-3 class=reference>[4]</SUP><SUP id=cite_ref-4 class=reference>[5]</SUP>
    อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่มีตัวตน ไร้อำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด ได้แก่ อาการที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ให้เสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่ไม่ได้, อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้มีขึ้นไม่ได้ ไม่ให้กลับไปไม่มีอีกครั้งไม่ได้ (บังคับให้ไม่หมดไปไม่ได้) เป็นต้น.
    ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนัตตลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ 5 แบบ เรียกว่า โต 5 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนัตตลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่ไรอำนาจบังคับตัวเองใหไม่เปลี่ยนไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นการกำหนดอนัตตขลักษณะ).
    [แก้] การแปลอนตฺตา

    การแปลคำว่า อนัตตานั้น ใช้ได้ทั้งคำว่า ไม่มีอัตตา, ไม่มีตัวตน, มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน เพราะ
    1. สามารถแปลเข้ากันได้กับพระพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นตัวทุกข์, สรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ) มันไม่ใช่ตัวตน"ดังนี้. ซึ่งในพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 และ อภิธัมมาวตาร บัญญัตินิทเทส เป็นต้น ท่านได้ระบุไว้ว่า ไม่มีอะไรพ้นไปจาก ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ ดังนั้นขันธ์ 5 จังไม่ใช่ตัวตน เพราะตัวตนไม่มีอยู่ในที่ใดๆเลย.
    2. สามารถแปลเข้ากันได้กับสักกายทิฏฐิ 4 หรือ 20 ดังที่ทรงตรัสไว้ทั้ง 4 อย่าง คือ
      1. ความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวตนเราเขา,
      2. ความเข้าใจผิดว่า ตัวตนเราเขามีขันธ์ 5 อยู่,
      3. ความเข้าใจผิดว่า มีขันธ์ 5 อยู่ในตัวตนเราเขา,
      4. ความเข้าใจผิดว่า มีตัวตนเราเขาในขันธ์ 5[1]
    3. ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.
    ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ดังอธิบายมานี้.
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    วิธีการเห็นอนัตตา แบบง่ายๆนั้นมีอยู่

    ให้ดูลมหายใจ

    ลมเข้า ลมเกิดแล้ว

    ลมเข้าสุด ลมดับแล้ว

    ลมออก ลมเกิดแล้ว

    ลมออกสุด ลมดับแล้ว

    นั้นแล อนิจัง ความเกิด ความตาย


    ทีนี้ใส่ตัวกูลงไป

    หายใจเข้า แล้วหยุดไว้ บังคับมันให้นานที่สุด

    สังเกตุที่ อาการนั้น

    ความกระวนกระวาย ความเร่าร้อน ความทนไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว

    นั้นแล ทุกขัง ความเจ็บ ความแก่


    เมื่อนั้นจักปล่อยลมออกตามธรรมชาติที่ควรเป็น

    นั้นแล พึ่งรู้ พึงพิจารณาสภาวะนั้นๆ อนัตตาเกิดแล้วหนอ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน




    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กุมภาพันธ์ 2011
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    รู้ เห็น พิจารณาสภาวะ อนัตตา นั้นให้จงดี

    แล้วไปหาสภาวะนั้นๆในขันธ์ 5 ทั้งภายใน และ ภายนอกเถิด
     
  8. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ธรรมอยู่ใกล้ แต่เห็นได้เหมือนอยู่ไกล
    เมื่อได้ปฎิบัติ ใจจะมีธรรม เข้าใจธรรม เป็นธรรม
    อยุ่ที่ใด ใจก็เป็นสุข
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    กาย กับ ใจ ( รูป นาม ) มีอยู่ด้วยกันทุกคน

    กายใจนี้ เป็น อนัตตา

    บังคับให้เป็นไปตามต้องการไม่ได้

    ทำให้ไม่เกิดไม่ได้ ทำให้ไม่แก่ไม่ได้

    ทำให้ไม่เจ็บไม่ได้ ทำให้ไม่ตายไม่ได้

    บังคับให้ ไม่ร้อน ไม่หนาวไม่ได้

    นั้นแล อนัตตา

    อนัตตามีอยู่ในตัวเราแล้ว แต่เราไม่สังเกตุกันเอง
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุปัสสนา<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    อนุปัสสนา แปลว่า ตามเห็น ตามดูให้เห็นแจ้ง หรือดูบ่อย ๆ ซึ่งก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน ดังมีคาถาที่ ๑๖ แสดงว่า
    <O:p></O:p>
    ๑๖. อนิจฺจานุปสฺสนา จ ตโต ทุกฺขานุปสฺสนา อนตฺตานุปสฺสนา ติ ติสฺโส อนุปสฺสนา ฯ
    <O:p></O:p>
    แต่นั้นพึงทราบ อนุปัสสนา ๓ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
    <O:p></O:p>
    มีความหมายว่า พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีความเพียร หมั่นตั้งสติ มีสมาธิมั่นคง ไม่เผลอ บังเกิดปัญญา เห็นแจ้งรูปธรรม นามธรรม มีความเกิดดับเป็นลักษณะ ปรากฏให้เห็นตามความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมว่า
    <O:p></O:p>
    เป็น อนิจจังไม่เที่ยง จึงต้องดับไป ๆ<O:p></O:p>
    เป็น ทุกขังทนอยู่ไม่ได้จึงต้องดับไป ๆ <O:p></O:p>
    เป็น อนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้จึงต้องดับไป ๆ <O:p></O:p>
    อยู่ทุกขณะ ต่อแต่นี้ไปพระโยคาวจรพึงพิจารณาด้วยปัญญา ตามเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ
    <O:p></O:p>
    ๑. อนิจจานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรมที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าไม่เที่ยง เหมาะใจในการดูอนิจจัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สีล
    <O:p>
    ๒.ทุกขานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าทนอยู่ไม่ได้ เหมาะใจในการดูทุกขัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สมาธิ
    <O:p></O:p>
    ๓. อนัตตานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะว่า บังคับบัญชาไม่ได้ เหมาะใจในการดูอนัตตา เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา
    <O:p></O:p>
    การกำหนดจนเห็นไตรลักษณ์นี้ ย่อมเห็นแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะเห็นทั้ง ๓ อย่าง เมื่อเห็นอย่างใดก็ได้ชื่อว่า เห็นแจ้งทั้ง ๓ อย่าง เพราะทั้ง ๓ อย่างนี้มีลักษณะที่สมคล้อยกัน กล่าวคือ
    <O:p></O:p>
    เพราะไม่เที่ยง จึงทนอยู่ไม่ได้ ที่ทนอยู่ไม่ได้ก็เพราะไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงก็ทนอยู่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ถือว่าเที่ยงได้ ที่ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ ก็เพราะบังคับบัญชาว่ากล่าวไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาว่ากล่าวได้ ก็จะบังคับบัญชาให้เที่ยงให้ทนอยู่ได้
    <O:p></O:p>
    เมื่อเห็นลักษณะใด ก็ตามดูลักษณะนั้นเรื่อยไป และนับตั้งแต่ได้เห็น ไตรลักษณ์ แห่งรูปนามเป็นต้นไป ได้ชื่อว่ามีปัญญาถึงขั้น วิปัสสนาญาณ แล้ว<O:p></O:p>


    </O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มีนาคม 2011
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สัพเพ สังขารา อะนิจจา
    สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น, มันไม่เที่ยง ; เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป.

    สัพเพ สังขารา ทุกขา
    สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น, มันเป็นทุกข์ทนยาก ; เพราะเกิดขึ้นแล้ว, แก่ เจ็บ ตายไป.

    สัพเพ ธัมมา อะนัตตา
    สิ่งทั้งหลายทั้งปวง, ทั้งที่เป็นสังขารแลมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ; ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา.
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สังเวคปริกิตตนปาฐะ (ทำวัตรเช้า)

      • <DL><DT>[SIZE=+1]อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ธัมโม จะเทสิโต นิยยานิโก, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ; [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ : - [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า : - [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ชาติปิ ทุกขา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ชะราปิ ทุกขา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]มะระณัมปิ ทุกขัง [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เสยยะถีทัง, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :- [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]รูปูปาทานักขันโธ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เวทะนูปาทานักขันโธ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สัญญูปาทานักขันโธ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สังขารูปาทานักขันโธ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]วิญญาณูปาทานักขันโธ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือวิญญาณ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เยสัง ปะริญญายะ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง, [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ธะระมาโน โส ภะคะวา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่, [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี, พะหุลา ปะวัตตะติ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ส่วนมากย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, มีการจำแนกอย่างนี้ว่า :- [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]รูปัง อะนิจจัง, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]รูปไม่เที่ยง ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เวทะนา อะนิจจา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เวทนาไม่เที่ยง ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สัญญา อะนิจจา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]สัญญาไม่เที่ยง ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สังขารา อะนิจจา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]สังขารไม่เที่ยง ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]วิญญาณัง อะนิจจัง [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]วิญญาณไม่เที่ยง ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]รูปัง อะนัตตา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]รูปไม่ใช่ตัวตน ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เวทะนา อะนัตตา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เวทนาไม่ใช่ตัวตน ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สัญญา อะนัตตา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]สัญญาไม่ใช่ตัวตน ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สังขารา อะนัตตา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]สังขารไม่ใช่ตัวตน ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]วิญญาณัง อะนัตตา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]วิญญาณไม่ใช่ตัวตน ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สัพเพ สังขารา อะนิจจา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง.. [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้. [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ชาติยา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]โดยความเกิด ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ชะรามะระเณนะ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]โดยความแก่และความตาย ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]โดยความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ทุกโขติณณา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ทุกขะปะเรตา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ. [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึ่งปรากฏชัดแก่เราได้. [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้นเป็นสรณะ ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ธัมมัญจะ ภิกขุ สังฆัญจะ, [/SIZE]<DT>[SIZE=+1] ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระภิกษุสงฆ์ด้วย ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]สา สา โน ปะฏิปัตติ, [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ; [/SIZE]<DT>[SIZE=+1]อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ. [/SIZE]<DD>[SIZE=+1]จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.[/SIZE] </DD></DL>
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ธัมมานุสสติ
    (หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)
    (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด)​

    สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

    สันทิฏฐิโก
    เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

    อะกาลิโก,
    เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

    เอหิปัสสิโก,
    เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

    โอปะนะยิโก,
    เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ.
    เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ที่ว่า ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา เพราะว่า เมื่อมี สิ่งที่เป็นทุกข์ เกิด จึงมีสภาพธรรมเกิด

    ธรรมจึงเป็นอนัตตา เพราะธรรมชาติของธรรมนั้น เดิมทีไม่มีอะไร แต่เพราะมีทุกข์เกิด จึงปรากฎความจริงของสภาพทุกข์ นั้น

    แต่ทีนี้ ก็สภาพธรรม นั้นเป็นเพียงอนัตตา ผู้รู้ธรรม ผู้เห็นธรรม นั้นอยู่พ้นจากสภาพอนัตตา และ ไม่ได้เป็นสภาพที่ยึดอัตตา

    มีเหมือนไม่มี ไม่มีเหมือนมี
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จิต เจตสิก รูป

    ล้วนมีธรรมชาติ มีคุณสมบัติเฉพาะตัว

    แต่ไม่พ้นข่าย เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปได้

    หากสืบสาวไปที่ต้นตอจะรู้ ธรรมชาติ มีแค่ สภาวะธาตุ โดย มีใจรํบ และใจรู้

    เพราะมองไม่เห็นปรมัตถ์ธรรม ความยึดมั่นจึงเกิด อวิชาจึงเกิดเป็นธรรมดา

    แค่เห็น แค่เข้าใจ มันก็คลายอุปทาน ยึดมั่นถือมั่นได้

    วงจงปฏิจจสมุปบาท อันมีกิเลสความไม่รู้หล่อเลี้ยงจักเหี่ยวแห้งได้

    ต้องอาศัยกำลังปัญญา ส่งให้มรรคเกิด

    แต่ย่ออนัตตา เป็นเรื่องเห็น สภาวะไม่เที่ยง แปรปวนตามจริง จนเข้าใจว่าธรรมชาติเป็นเช่นนั้น ตัวตนก็คลายได้

    เปรียบเหมือนคำหลวงพ่อชา
    คือเห็นกระโถนไม่เป็นกระโถน อีกต่อไป
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    คำพูดของ พวกเซ็น ไม่ยอมจ่าย
     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จะให้เราอธิบายอะไรล่ะ
    เห็นไตรลักษณ์
    รู้แทงตลอดการทำงานกองขันธ์

    ขันธ์ห้านะ
    รูป ประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
    ในส่วนนามรูป เพราะมีวิณญาณ จึงรู้ สภาวะอาการธาตุ
    รู้ แข็ง อ่อน หนัก เบา นี่ธาตุดิน
    รู้ ร้อน เย็น นี่ธาตุไฟ
    รู้ ซึมซาบ เอิบอาบ เกาะกุม นี่ธาตุน้ำ
    รู้เจ็บ เต้น ตอด นี่ธาตุลม

    เรื่องเวทนากาย เพราะหลง ไม่รู้ไปยึดขากู ตัวกู เจ็บกู เจ็บขา ปวดขา
    ที่จริง เป็นอาการธาตุสี่มาประชุมกัน ขึ้นอยู่ว่าธาตุไหนเด่นชัดเราจะรู้สึกได้ ถึง ร้อน เย็น เต้น เจ็บ
    อาการมันจะเคลื่อนด้วยความสั่นสะเทือนแบบคงที่
    ไปมาไม่แน่นอน บ้างรวมตัว บ้างแตกกระจาย
    ธรรมชาติธาตุเป็นแบบนั้น รู้ได้ทั่วตัว

    ทีนี้อุปทานเกิด เจ็บขา ปวดขา ปวดหลัง ใจรับอาการนั้นมาเป็นขากู
    เมื่อความรู้สึกรุนแรงมาก มันก็เร่าร้อน ทนไม่ได้ อยากโน่น อยากนี่
    สะดีดสะดิ้งอยากออกจากสภาวะนั้น นี่เป็นอัตตา

    ใจมันอึดอัด สัญญาเกิด สังขารเกิดชนกันมั่วซั่ว เป็นกรรมออกมา

    ตรงนี้สติพิจารณาด้วยปัญญาที่แหลมคมไม่ลดละ เห็นการเกิดดับส่งต่อปัจจุบัน เห็นกันเฉพาะหน้านั้น ไม่มีอะไรมาบดบังแม้ความคิดปรุงแต่งหลอกล่อ
    เหมือนพระอาทิตย์เที่ยงวัน ให้แสงเต็มกำลัง ทุกอย่างสัปยุตส่งมรรคประหาญได้

    ย่อเท่านี้ เรื่องข่ายปัญญาในกองขันธ์ ละไว้ก่อน

    หากพิจจารณาให้ดีในแต่ละขั้นตอนจะไม่มีนิมิตเกิดเลย เป็นอนิมิต
    ญาณเป็นเรื่องสภาวะที่ใจรู้ ใจส่ง ไม่มีแสงสี หรือบัญญัติเลย
    ธรรมที่ได้จึงเป็นธรรมถูกต้อง เห็นตามจริง ไม่ผิดเพี้ยนซักอณูเดียว
    พูดไปก้สง่าผ่าเผยในอัธที่เห็นประจักษ์ใจ

    ดังนั้น รูปหรือกาย เห็นเรื่อง ธาตุไป

    วิณญาณเป็นเรื่องจิตรู้ มโนธาตุไป

    สัญญา สังขาร เป็นเรื่อง กิริยาจิตไป หรือใจรับ

    เวทนาเป็นเรื่องใจรับไป

    ดังนั้นวิญญาณ คือแหล่งเกิดปัญญา ต้องอาศัยการฝึก รู้ ฝึกเห็นถูกต้อง

    มันสาวไปเรื่อง จิต เจตสิกอีก มันยาว ต้องค่อยๆอธิบาย เพราะมันเป็นปรมัตถ์
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ทีนี้ เมื่อเห็นความจริงในกายในจิตมากๆ
    มันก็มองไม่เห็นนายหลง นายขันธ์ มันเห็นแค่ขันธ์ห้าประชุมกัน มันทำงานกันอยู่ ใครจะเห็นเป็นธาตุ หรือ อนัตตาก็แล้วแต่ปัญญาในขณะนั้น

    มองแบบพิจารณาแยก ขันธ์ด้วยตาปัญญา มุมไหน เหลี่ยมไหน
    มันไม่พ้นไตรลักษณ์ ปัญญาแก่รอบมันวางเป็นอนัตตาได้ ทำได้

    พระธรรมธรรมพระพุทธองค์ตั้งแต่ตรัสรู้ จนปรินิพาน สอนอย่างเดียวคืออนัตตา ให้ชาวพุทธตื่นจากความไม่เที่ยงนั้น

    ส่วนมากทั้งชีวิตเราเอาสมาธินำปัญญา ความสงบเหมือนเมฆหมอกจางปิดบังสัจจะ มันจึงเข้าไม่ถึงทุกข์ ไม่เห็นเกิดดับทุกอนูที่ตาปัญญาไปถึง

    ให้ใช้ปัญญานำ รู้ปัจจุบัน ละเอียดไปถึงขณะจิตสะเทือนได้ยิ่งแหลมคมในการพิจารณา ทำได้
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จะพิจารณาลงจิตย่อมได้

    อายาตนะรับ หูได้ยิน สะเทือนลงใจ รู้ที่ใจ
    เวทนาเกิด ความคิดปรุง สะเทือนลงใจ รู้ที่ใจ
    ใช้ความรู้สึกรู้ ปัจจุบัน
    ใหม่ทำยาก จะเห็นแต่บัญญัติ นี่โกรธ พองฟู แล้วดับ จิตก็ไปแช่ตรงนั้น
    หากสุขุมขึ้นจะแทงบัญญัติไปรู้ที่กิริยาจิต นั่นแหละต้นตอ
    กิเลสปรุงจิต หรือ จิตปรุงกิเลส แล้วแต่เหตุ
    แต่หมายรวมว่าสภาวะอัตตา ตัวกู ยึดมั่นถึอมั่น
    ให้ประหาญด้วยรู้ สภาวะไตรลักษณ์ จนจิตหดตัวลงมา แตะเป็นอนัตตาไปเลย
    จิตจะค่อยดับไปทีละดวง

    ส่วนอัตตาภายนอก พวกมานะ ถือตัว
    ต้องฉลาดในการสาง รู้จักหยุด รูจักยอม รู้จักลง รู้จักขอโทษดู
    แล้วสังเกตุใจที่เคยไม่ยอมลงมาก่อนดูว่าเป็นอย่างไร ทำให้มาก ทำได้


    ใครมีความรู้อภิธรรม น่าจะอธิบายได้ดีกว่าเรา
     
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มรรคผล บางครั้งก็ไม่ได้เกิดจากการนั่งหลับตาเสมอไป
    กิน ยืน เดิน นั่งนอน มันโผ๊ะได้ทุกที่แล้วแต่ธาตุใดจะส่งมรรค

    ให้รักษาอารมณ์ญาณ พิจารณาตามรู้ ดูเห็นเป็นปกติจิต
    จังหวะสัมโพชงค์เกิดสัปยุตมันไม่เลือกกาล

    ในพุทธกาลที่เขาฟังธรรมแล้วบรรลุไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เกิดจากน้อมจิตก็มี
    เกิดจากการเพียรมากได้ฟังธรรม ถึงบางอ้อก็มี เพราะจิตมีญาณพิจาณาอยู่แล้ว อันนี้หมายถึงผู้กำลังทำความเพียร

    ทดสอบ ผล
    ปิติเกิดหลังมรรค รู้ สงบ ว่าง เย็น ไม่หิว ไม่ง่วง เป็นอุเบกขา นิวรณ์เข้าไม่ถึง
    ห้านาที สิบนาที สามวัน สิบวันก็ว่ากันไป

    ถ้าปิติเกิดก่อน เป็นนิมิต เป็นแสง เป็นพระเจ้า ให้ตีเป็นนิมิตไปเลย
    กิเลสเต็มอกแน่นนอน ระงับได้แค่ข่ม ทรงอารมณ์เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 มีนาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...