สัมมาสติ และมหาสติ เพื่อความตื่นอย่างแท้จริง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย pra_TopSecret, 8 สิงหาคม 2010.

  1. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    สัมมาสติ
    หรือมหาสติ

    เป็นสติธรรมชาติ
    ที่ไม่คา ไม่สร้าง ไม่รักษาสติ
    นี้ จึงเป็นการตื่นอย่างเต็มตัว

    สติสร้าง สติรักษา สติที่ยังคาอยู่
    อันนี้ไม่ใช่สติพุทธ
    แต่เป็นสติพราหมณ์ หรือ สติพรหม

    ที่ไม่ออกสติ
    คา สติอยู่
    นี่.....
    เค้าเรียกว่า ยังหลับในสติ

    แบบนี้ยังไม่เรียกว่าตื่นนะ
    อย่าหลงผิด
    ตื่นจริง ๆ น่ะ มันคือตื่น ที่มันตื่นออกจากสติ ไม่ติดแม้สติ
    หรือสมาธิ เอง


    รู้ไว้
    จักไม่เสียหลาย

    ตื่นจริง ๆ คือ ตื่นออกจากขันธ์
    ยังวนขันธ์อยู่เค้าเรียก หลับไหล อยู่ในขันธ์ แล้วไหลตามขันธ์
    เป็นทาส ขังอยู่ในขันธ์
    เพราะยังไม่ออกจากขันธ์

    สติ นี้ยังเป็น สังขารขันธ์
    ติดสติ
    คาสติ
    คือไม่ออก ยังคา ในขันธ์

    มันจึงไม่ตื่น
    ไม่ใช่ สัมมาสติ
    ไม่ใช่แม้องค์มรรค ใด ๆ เลย

    ขันธ์ คือ กองแห่งทุกข์
    ใครที่ไหน หรือ พุทธะองค์ไหน ๆ ท่านก็ไม่ได้สอนนะ ว่าให้ยึดขันธ์

    หรือคาติดอยู่ในขันธ์
    ก็เพราะมันเป็นกองทุกข์ ท่านจึงให้สละเสีย และปลงเสียซึ่งขันธ์
     
  2. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    สติอันยังมีเพิ่มมีลด

    สติอันยังมีเพิ่มมีลด
    มีรักษา มีเสื่อมไป
    ทั้งยังต้องธำรง ดำรงรักษานี้
    ไม่เป็น สัมมาสติ
    ไม่ใช้แม้ มหาสติ

    ขอท่านทั้งหลาย อย่าเข้าใจผิด
    มหาสติ แท้จริง เป็นความธรรมชาติ
    ที่ไม่มีการเจริญ ไม่มีการเสื่อม

    หากยังเก๊ก สติ ยังกั๊ก สติอยู่ ยังไม่ใช่สัมมาสติ


    หากถามว่า มหาสติ ใช้สติมั๊ย
    ตอบว่า ใช้ แต่เป็นการใช้แบบไม่ใช้
    เพราะ ไม่ได้มาจากการ บังคับสติไปใช้งาน
    มหาสติ เป็นหมือน สติ Auto
    สติ ฉลาด ที่ทำงานเอง โดยเจ้าของไม่ต้องสั่งมันนี่หล่ะ

    มหาสติ หรือสัมมาสติ

    แต่กระนั้น
    หาใช่ว่า เราจะทิ้งสติ แล้วจะได้ มหาสติเลย
    สิ่งนี้ยังเกี่ยวเนื้องกับอินทรีย์พละ ของแต่ละบุคคลด้วย

    ดังนี้แล พระผู้มีพระภาค จึงทรง ตรัส ข้อธรรม ไว้ถึง
    84000 พระธรรมขันธ์ รวมทั้ง สติปัฏฐานสี่ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ไว้เป็นเครื่องมือ ย้ำ เป็นเครื่องมือเท่านั้นนะ
    ไม่ใครหรอ เอาเครื่องมือ เลื่อย มีด กรรไกร คัตเตอร์ หรือ จอม เสียม มานอนกอด
    นอนยึดเอาไว้ ใช้แล้วทิ้ง

    แม้กระทั่งปัญญา ที่ว่าเปรียบดังอาวุธน่ะ
    ใครมั่งเอาอาวุธมานอนกอด
    เอาปัญญามายึด มาถือไว้ก็นั่นหล่ะ
    ไม่ต่างจากเครื่องมือ จากอาวุธเลย
    กอดกันซะ ไม่หลุดเลย
    รักกันจริง ยึดกันจริง สติปัญญาเนี่ย
    ปัญญา อันเฉยบแหลมน่ะ เค้าใช้จัดการ ความืด ความหลง อวิชชา
    ใช้เสร็จ จัดการเสร็จ ก็ปล่อย ไม่ถือแม้ปัญญา

    เครื่องมือ ของ พระเสขะบุคคล อาจต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือ อันใดอันนึงใน 84000 มาใช้บาง
    แล้วก็โยนมันทิ้งไป
    ไม่แบก ไม่หาม

    ถามว่าอาจารย์สอน วิปัสสนากรรมฐาน หรือกรรมฐานไหน ๆ ที่แท้จริง เค้าสอน กรรมฐานยังไง
    ท่านก็สอนเราใช้เครื่องมือนี่หล่ะ เครื่องไม้เครื่องมือ จาก 84000
    หยิบมาใช้
    สอนการใช้
    เหมือนสอนใช้ Photoshop แหล่ะ ยังไง ก็อย่างนั้น
    สอนใช้ Tool และ Feature หรือ fillter ชนิดต่าง ๆ
    ส่วนเรื่องการสรางภาพงาม ๆ สวย ๆ นักเรียนน่ะ จัดการเอง
    ตามจริต หยิบ อันใดอันนึง จาก 84000 มาใช้ ตามจริตไครจริตมัน
    อาจเป็น แบบปัญญาวิมุต (ที่ใช้ อนิจจะสัญญา อนัตตะสัญญา...ฯลฯ)
    หรือ แบบ เจโตวิมุตติ (กระบวนการ ให้จิตรู้แจ้งเอง จนมุมเอง ออกเอง )
    แบบนี้ก็แล้วแต่ 2 สายหลัก ๆ ...

    ถามว่า 84000 นี้ มาจากไหน
    ก็มาจากขันธ 5นี่เอง
    ไม่อื่นไปจากขันธ์ 5 เลย

    นี่ไง..
    แม้ 84000 ก็ยังต้องปลง



    เหตุนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสว่า
    ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
    คือความไม่มีตัวตน
    มันยึดไม่ได้

    ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึด

    จึงต้องปลงธรรมทั้งหลาย
    นั่นก็คือ ปลง 84000 พระธรรมขันธ์ นี้ด้วยแล


    นะ..จะบอกให้<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ศีลแอ๊บแบ้ว กับ ศีลโลกุตระ

    สิ่งใดก็ตามที่ผิดหลักจากความจริง
    ความเป็นธรรมชาติแห่งจิต
    ยังฝืนจิต ยังเป็นไปด้วยการดัดจริตจิตอยู่

    อันนี้นำมาซึ่งความไม่บริสุทธิ์ แห่ง จิต
    เพราะเราฝืน เราไม่ Free Mind
    ดังนี้ Mind จึง ยังถูกบังคับนั่น บังคับนี่อยู่
    ไม่หมดจดด้วยความบริสุทธ

    นี่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แหล่ะ
    ตัวนี้แหล่ะ ที่เค้าเรียกว่า สีลพัตปรามาส
    ของจริง

    ความเป็นปกติแห่งศีล
    คือศีลที่ไม่ดัดจริตจิต
    อันเป็นโลกุตรศีล
    อย่างแท้จริง

    โลกุตรศีล
    จึงไม่มีการรักษาศีลใด ๆ ทั้งสิ้น

    จริงมั๊ย....
    ถามว่า พระอรหันต์ รักษาศีลกี่ข้อ
    ตอบว่า ...ท่านไม่รักษาเลยแม้แต่ข้อเดียว นี่แหล่ะ ความจริงของโลกุตรภูมิ
    เพราะท่านไม่เก๊กจริต ไม่ดัดจริต ออกไปจากจิตเดิมแท้ของท่าน
    ท่านคือผู้บริสุทธิ นี่แหล่ะ เค้าเรียกว่าศีล อันแปลว่าความเป็นปกติ (Normal ตรงข้ามกับ Abnormal) นั่นแหล่ะ ศีล อันแท้จริง ไม่ใช่การมานั่ง แอ๊บแบ๊ว นั่งดัดจริตจิต ให้มันเกิดมายา หลอกตัวเอง พอมันหลอกตัวเองไม่พอ แถมด้วยการหลอกชาวบ้านเค้าอีก
    ไปสร้างมายาให้เขาเห็นว่าตน รักษาศีล เป็นผู้มีศีล
    แล้วคิดว่านั่นคือการรักษาศีล
    คิดว่านั่น คือศีลที่บริสุทธ์ คือ การละ ศีลพัตระปรามาส

    ถามว่าแบบนี้มันเรียกว่า บริสุทธมั๊ยจ๊ะ ศีลแอ๊บแบ๊ว

    แต่กลับหารู้ไม่ ว่า ศีล แอ๊บแบ๊ว นั่นแหล่ะ
    ถูกหลอก และชักจูง นำพา ด้วย ตัณหาและอุปาทาน อันแนบเนียน และประเสริฐนักแล

    เหตุนี้ จึง ไม่มีการรักษาศีล ในหมู่พระอริยเจ้า

    ก็เพราะ การเข้าไปรักษา คือการไปดัดจริตจิต ทำให้จิตไม่เป็นปกติ เป็นอำนาจซ้อนด้วยความแอ๊บแบ๊ว

    แต่ในความเป็นธรรมชาติ และไม่ข้องแวะในอกุศลธรรม และกุศลธรรม ของพระอริยเจ้า
    จึงสร้างให้ท่าน บริสุทธด้วยศีล ในความเป็นธรรมชาติของท่านเอง
    โดยไม่มีแม้การรักษาเลย แม้แต่ข้อเดียว

    เพราะเหตุนี้
    พระท๊อป ชินวโร
    จึงกล่าวว่า
    การรักษาศีลที่ดีที่สุด คือการไม่ต้องรักษาเลย....

    เพราะความบริสุทธศีล บังเกิดขึ้นไม่ได้ จาก การแอ๊บแบ๊วศีล หรือการดัดจริตจิตให้เกิดศีล อันเป็นทาสซ่อนเงี่ยนนนงำ แห่ง อุปาทานและตัณหา

    แต่ความบริสุทธเกิดจาก ความเป็นธรรมชาติ แห่งจิตเดิมแท้
    เพราะจิตเดิมแท้นั้น ประภัสสร แล้ววววว


    คำเตือนสำหรับท่านทั้งหลาย
    กรุณาอย่านำ ศีลแอ๊บแบ๊ว นี้ไปใช้กับ วิปปัสสนาโดยเด็ดขาด
    เพราะศีลที่มาจากการแอ๊บแบ๊วนี้ จะบดบังสัมมาทิฏฐิของท่าน จดมืดมิด
    หากจะชั่วจงเรียนรู้สิ่งที่ชั่วอย่างเป็นธรรมชาตินั้น และผลของมัน ด้วยความกล้าหาญ เช่นเดียวกัน หากจะดี จงเรียนรู้สิ่งที่ดีอย่างเป็นธรรมชาตินั้น และผลของมัน ด้วยความกล้าหาญ เพื่อท่านทั้งหลาย จะเข้าถึง เหตุและผล ของ กุศลธรรม และ อกุศลธรรม นั้นอย่างแจ่มแจ้ง และออกจาก กุศลทั้งสอง ได้อย่างกล้าหาญ และเด็ดเดี่ยว
    พระพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงห้าม การสนองตอบกิเลส
    แต่ทรงชี้โทศแห่งการจมในกิเลส

    การสนองตอบกิเลส ยังเกิดขึ้นได้ แต่ไม่จมกับกิเลส
    และรู้เท่าทัน การสนองตอบกิเลส
    และรู้เท่าทันผลของมัน


    วิปัสสนา เริ่มต้นจากความบริสุทธ
    ความบริสุทธเริ่มต้นจาก ความกล้าหาญ ในการยอมรับความจริง
    ไม่ว่าชั่วหรือดี

    เดี๊ยวจะหาว่า พระท๊อปไม่เตือน

    อิอิ<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    เพิ่มเติ่มอีกนิด จิตจะแจ่มใส
    อันว่าด้วย เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา


    องค์ 3 สิ่งนี้ หลายคนมักเข้าใจกันผิด ๆ ไปว่า

    จะได้ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น

    จะต้องทำทีละอย่า
    เช่น ฉันจะต้องไปนั่งรักษาศีลให้ได้ก่อน
    แล้วจึงทำสมาธิได้
    แล้วปัญญาถึงจะเกิด

    อันนี้ความคิด ปุถุชน ลวงหลอก

    เพราะ องค์ 3 สิ่งนี้ ต้องเกิดพร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน

    มรรคจึงประชุมพร้อมกันได้
    ไม่ใช่นั่งทำทีละอย่าง
    นะจะบอกให้
     
  5. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ขออภัย
    หากธรรมที่ท่านอ่านไม่ถูกใจท่าน
    เพราะเราเขียนธรรมตามความจริง

    หากกลัวความจริง
    จงปิดตาซะ


    ด้วยความเคารพอย่างสูงในธรรมของท่านทั้งหลาย​
     
  6. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ยื่นอุธรณ์ ต่อศาลที่เคารพ

    อันเหตุใด
    พระท๊อป ชินวโร จึงกล่าวว่า....

    พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนอะไรเลย

    ขอตอบในนี้ นะ
    ก็เพราะพระองค์ คือทุกสรรพสิ่ง ยังไงล่ะ
    เป็นเนื้อเดียวกับทุกสรรพสิ่ง
    จึงเป็น ความกว้าง อย่างสุดมหาศาล ของพระองค์
    นี่เรียกว่า อนาวรญาณ (ญาณอันไม่มีเครื่องกั้น หรือเรียก ทศพลญาณก็ได้ เรื่องนี้หาอ่านได้ใน ปฏิสัมภิทามรรค อยู่ใน ญาณนิเทส เป็นเรื่องของชื่อญาณ ทั้ง
    73 ญาณ ...หน้าไหนจำไม่ได้ เพราะอ่านมานานแล้ว ขออภัยด้วย )

    เหตุหนึ่งที่ทรงกล่าวว่า
    พระองค์ คือผู้เป็นหนึ่งไม่มีไครจะชนะเราได้

    หาใช่การหมายว่า
    พระองค์ จะไม่แพ้ใคร หรือ ทุกคนจะต้องแพ้พระองค์

    แต่ก็เพราะพระองค์ คือ ทุกสรรพสิ่ง
    เนื้อเดียวกับสรรพสิ่ง
    เหตุนี้
    พระองค์ คือความจริง ของทุกสิ่ง

    ท่านทั้งหลาย จึง ใช้ว่า พระองค์ทรง ตรัส

    ตรัส ไม่ใช่หมายถึง การพูด การบอกกล่าว หรือการสั่ง การสอนอันใด
    แต่การตรัส หมายถึง การแจ้ง การทำให้แจ้ง

    การสื่อสารระหว่างพระองค์ กับ สาวก หรือ สรรพสัตว์
    จึงไม่ใช้ภาษามนุษย์ ไม่ใช่ภาษาที่สัตว์(หมายถึง Living being ไม่ใช่ Animal) ทั้งหลายใช้คุยกัน แต่เป็นภาษาที่คุยระหว่างจิต

    เมื่อความจริง พบความจริง
    เมื่อจิต พบ การสะท้อน (การตรัส) ในความจริง ของ พระองค์

    จิตจึงเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง เข้าถึงความจริง

    อาจเป็นความจริง ใน อนิจจังก็ได้ ความจริงในทุกขังก็ได้ ความจริงในอนัตตาก็ได้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภาวะการบรรลุธรรม (ไม่ต่างจากการ ระเบิดครั้ใหญ่ เหมือน ถูกต่อยหน้าแรง ๆ ครั้งนึง แล้วอะไรบางอย่างมันหลุดออกไป อย่างไม่รู้ตัว ไม่รู้ที่มาไม่รู้ที่ไปของมัน ระเบิด พลั๊วะ.....นี่แหล่ะ เซน เรียก ซาโตริ รึเปล่า ไม่แน่ใจ)

    นี่แหล่ะ การโปรดสรรพสัตว์ในแต่ละครั้ง
    หรือการประกาศธรรมของพระองค์
    จึง เป็นผลให้ มีผู้บรรลุธรรม คือเข้าถึงความเป็นจรึง อย่างจำนวนมมาย นักแล

    เพราะพระองค์ คือความจริง และคือสรรพสิ่ง
    ไม่มีสิ่งใดชนะความจริง
    พระองค์ผู้เป็นความจริง แห่งสรรพสิ่ง
    จึงชนะทุกอย่าง เพราะไม่มีอะไรจะชนะความจริงได้

    เหตุนี้ พระท๊อป ชินวโร
    จึงประกาศธรรม
    อันว่าด้วย
    พุทธธาตุธรรม
    ธรรมอันเป็นเนื้อเดียวของสรรพสิ่ง

    และจึงกล่าวว่า
    พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนอะไรเลย

    การสนทนาธรรมจาก ท่านอาจารย์กร ทำให้พระท๊อปได้เรียนรู้อีกว่า.
    เพราะการประกาศธรรมของพระองค์
    มีทั้งความไพเราะ ในเบื้องต้น ก็คือ พระอรหันต์
    ความไพเราะในท่ามกลาง คือ พระปัจเจกพระพุทธเจ้า
    และ ความไพเราะในที่สุด ก็คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า
    ก็คือความ เป็นเนื้อเดียวกันของสรรพสิ่งนี่เอง

    เหตุนี้ พระท๊อป
    จึง ประกาศ
    พุทธธาตุธรรม
    เพื่อประโยชน์ ของท่านทั้งหลาย
    จะได้กลับสู่บ้านที่แท้จริง <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    พระพุทธเจ้า ทรงตรัส กระจกเงาบานใหญ่
    อันสะท้อนให้จิต เห็นแจ้งในความเป็นจริง
    อันให้จิต สละออก เลิกทาส ออกจากจิตนั้น กายนั้นเอง
    และสละแม้ กระจกเงาบานนั้น เพื่อความเป็นเนื้อเดียวของสรรพสิ่ง ทั้งหลาย
    และเป็นเนื้อเดียวอันไม่แบ่งแยก จากพระองค์เอง
    พระองค์คือบ้าน ที่เราทั้งหลายจะกลับเข้าไปพบกับพระองค์ อีกครั้งนึงแล...

    นี้แล การตรัสรู้ธรรมแห่ง พระผู้มีพระภาค และ พุทธาตุธรรม


    ขอท่านทั้งหลาย
    โปรด มองธรรมที่เราประกาศนี้
    เป็นเครื่องสะท้อน
    แห่งจิตใจของท่านทั้งหลาย

    โปรดนำกระจกเงาบานนี้
    ไปสะท้อนความจริงให้เห็นซึ่งความจริงแห่งจิต
    และทิ้งกระจกเงา ไปพร้อมกันด้วยแล
     
  8. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    หรือคุณคิดว่า พระพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระองค์ไปไหนหล่ะ
    หรือสูญไปเลย ไม่เหลือเลย สูญสิ้นแล้ว

    แล้วที่พวกคุณกราบไหว้ พระพุทธรูปน่ะ
    ผีสางนางไม้ที่ไหนกัน


    แต่เพราะอำนาจของพระองค์คือสรรพสิ่ง
    เมื่อเข้าถึงความเป็นพุทธะ
    จึงเข้าเป็นเนื้อเดียวของสรรพสิ่ง

    พระพุทธเจ้า ยิ่งกว่าพระปัจเจกฯ และพระปัจเจก ยิ่งกว่า พระอรหันต์
    เพราะพระอรหันต์ เป็นเพียงก้าวแรก.........

    ท่านทั้งหลายจงยัง สมณภาพของท่าน
    ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวของสรรพสิ่ง และสรรพธรรมทั้ลปวงเถิดเถิด
    แล้วท่านจะพบ พุทธธาตุ ที่มีในท่าน และเรา และสรรพสิ่งเทอญ

    อันเหตุนี้
    พระผู้มีพระภาค จึงทรงตรัสว่า
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต


    Back 2 Home
    มหกรรมการกลับบ้าน
    เริ่มขึ้นแล้ว
    ณ บัดนี้

    พุทธธาตุธรรม
     
  9. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    การก้าวข้าม ปุถุชน สู่ โสดาบัน

    มันมีภาวะนึง ที่พระโสดาบัน ท่านจะเห็น สิ่งในอดีตที่ย้อนมา ท่านจะเห็นความชั่ว ความหม่นหมองในจิตใจ ท่าน ที่ท่านเคย ประสพมา เคย ทำเอาไว้ เช่น เคยด่าพ่อดาแม่ เช่นเคยเกเรไว้
    นี้จะเป็น สัญญา อันย้อน มาสู่จิตท่านอีกครั้งนึง ในช่วงที่ของการก้าวข้าม สู่กระแสนิพพาน

    พระโสดาบัน เมื่อเห็นภาวะนี้แล้ว
    จะกลายเป็นคนใหม่ทันที
    สำนึกผิด ที่ออกมาจาก จิตใต้สำนึกเอง

    นี่....เท่านั้น แทบเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว
    แห่งสัญญา ที่ย้อนมาในจิตของ ภาวะผู้เข้าสู่ กระแสนิพพาน

    และสัญญา ทั้งหลาย ไม่ว่าดี หรือชั่ว จะประทับใจขนาดไหนก็ตาม แม้ ความอิ่มเอิบประทับใจ ท่านบรรลุโสดาบันนี้

    ก็แทบไม่มีผล ในจิตใจท่านเลย บางครั้งพระโสดาบัน ยัง ไม่แน่ใจในภาวะโสดาบันของท่านเองด้วยซ้ำ นี่แหล่ะ ในครั้ง พุทธกาล ผู้ ถึงธรรม ก่อน จักเป็นผู้รับรอง ธรรมนั้นให้ เพื่อการไม่ปรามาสกัน ด้วย
    ส่วนการรับรองธรรมให้ตนเอง นี้ไม่ใช่ ประเพณีของ พุทธสาวก เน้อออ...


    ถามว่า ตอนนี้ โสดาบันมีโกรธ อยู่มั๊ย
    ตอบว่ามี แต่ไม่ประทุษร้าย มาเร็วไปเร็ว

    ถามว่าโสดาบัน มันอาการกระเพรื่อมหวั่นไหวในอารมณ์มั๊ย
    ตอบว่ามี เหมือน ก้อนหิ้นตกน้ำแหล่ะ กระเพื่อมแป๊บบบ เดียวก็นิ่งเหมือนเดิม

    มีกามราคะมั๊ย
    มีแต่เบาบางมาก

    จิตท่านไม่มาไม่ไป แทบไม่เสื่อม ไม่ตกเลย

    แต่ท่านไม่เอา มาแล้วผ่านเร็ว

    จนกว่า การอนุโลมปฏิโลม ของ มุญจิตุกัมมยตาญาน(การอยากออก ลุกลี้ลุกลน อยากไปจากขันธ์ เหมือนนกน้อย ดิ้นรนอยากออกจากกรง อึดอัด ในกายหยาบ อยากสลัดทิ้งเสีย) - ปฏิสังขาญาณ และ สังขารุเปกขาญาณ
    จะทำให้ท่าน เข้าสู่ สังขารุเปกขาญาณ อย่างแท้จริง

    จึงเกิดเป็นภาวะ ของ การวางเฉยกับสิ่งปรุงแต่ง
    อารมณ์ ที่ผ่านมา การกระทบอารมณ์ จึง ผ่านมาแล้วผ่านไปอย่างรวดเร็ว
    แทบไม่ติดในอารมณ์
    อุปมาดั่ง หยดน้ำกลิ้งบนใบบัว

    นี้แล เสี้ยวนึง ของ คนคนใกล้นิพพาน หรือ ผู้เข้าสู่ กระแสนิพพาน อย่างแท้จริง

    อนึ่ง จากการที่พระท๊อป ได้รับความเมตตา จากท่านอาจารย์ กร ให้การถ่ายทอดความรู้ใน ธรรมวิเศษณ์ เมื่อไม่กีวันมานี้ นั้น ท่านอาจารย ได้ เมตตากล่าวว่า ในจักรวาล นี้ แสงของพระโสดาบัน ยังเปรียบได้เพียงแค่ แสงหิงห้อย เท่านั้น.... แสงที่ฉายสาดส่องทั่วจักรวลาลคือแสงแห่งดวงอาทิตย์นี้ เปรียบได้ดังแสงแห่ง พระพุทธเจ้า

    แต่กระนั้นแล
    ขอทิ้งท้ายไว้ สำหรับท่านทั้งหลาย

    นิพพาน อยู่ใกล้เราทุกคนอยู่แล้ว
    เรียกว่าใกล้ก็ยังไม่ใช่เลย
    เพราะนิพพาน ก็คือ ธาตุขันธ์ ของเรานี่แหล่ะ
    ภาวะธาตุขันธ์ ที่ดับสูญและสงบนิ่ง แน่นิ่ง เหมือน ถ่านไฟร้อน ที่ถูกดับเสียซึ่งเปลวเพลิงแล้ว นี่เอง
    ดังนั้น นิพพาน ก็คือ เรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายนี่เอง


    จิตเกิด ทุกสิ่งเกิด
    เมื่อจิตมี จึงมีทุกสิ่ง
    เมื่อจิตสูญ จึงสูญสิ้นแลทุกสิ่ง
    จิตก็คือทุกสิ่ง
    และสรรพสิ่งก็คือ พุทธะ

    ดังนี้แล
    พระท๊อป ชินวโร
    จึงกล่าวว่า

    พระพุทธเจ้า คือทุกสิ่ง
    หาสิ่งใด ไม่ใช่พระพุทธเจ้ามิได้เลย

    เพราะพระองค์ คือผู้เป็นเนื้อเดียวกับทุกสิ่ง
    และทุกสิ่งก็คือ พระพุทธองค์

    นี่แหล่ะ
    พุทธธาตุธรรม
    สิ่งที่เรากำลังประกาศ แก่ท่านทั้งหลาย


    ขออนุโมทนา กับท่านขันธ์ และท่านทั้งหลาย
    ที่เมตตา ถวายความรู้
    และเป็นครูอันประเสริฐของเรา
    สิ่งนี้นับเป็น บิณฑบาตร อันปราณีต ที่สุดประเสริฐของเรา

    ขออนุโมทนากับท่านทั้งหลาย

    เจริญพร สาธุการ<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    คำจำกัดความ สัมมาสติ

    สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ ๒ ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้

    ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน ? นี้เรียกว่าสัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑) พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    ๒) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    ๓) พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    ๔) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

    คำจำกัดความอีกแบบหนึ่ง ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรม ว่าดังนี้
    สัมมาสติ เป็นไฉน? สติ คือ การคอยระลึกถึงอยู่เนืองๆ การหวนระลึก (ก็ดี) สติ คือ ภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม (ก็ดี) สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ

    สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตรนั้น ก็คือหลักธรรมที่ เรียกว่า สติปัฏฐาน นั่นเอง หัวข้อทั้ง ๔ ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
    ๑) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)
    ๒) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)
    ๓) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)
    ๔) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม)

    ก่อนจะพิจารณาความหมายของสัมมาสติ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นี้ เห็นว่าควรทำความเข้าใจทั่วๆ ไปเกี่ยวกับเรื่องสติไว้เป็นพื้นฐานก่อน


    คำจำกัดความ มหาสติ (จากมหาสติฯสูตร)

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อนึ่ง จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ
    หรือจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ

    หรือจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ
    หรือจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ

    หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ
    หรือจิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโมหะ "

    ทั้ง จิตมีราคะ โทสะ และโมหะ ก็ล้วนเป็นจิต ที่เป็นอกุศลทั้งสิ้น แต่ก็จิตยังเป็นมหาสติฯ

    วิปัสสนา

    วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง
    วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดย ใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วย ญาตปริญญาแล้ว

    ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก

    เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.

    อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น.

    และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.

    ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.

    ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ

    เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.

    ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.

    การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ
    1. อุคคหะ การเรียนพระธรรม
    2. ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
    3. ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
    4. วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
    5. มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
    6. ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้
    คัดลอก พอเข้าใจ ( ไม่กล้าใช้คำพูดส่วนตัว )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2010
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เรียนถามพระท้อป สติสัมปชันยะ มรรค มีที่ใด ตัวเองหรือผู้อื่น
    สิ่งที่ทยานอยากออกไปสนใจสิ่งอื่นใดแล้วเป็น สมุทัย เป็นตัวกิเลส หรือเป็นมรรค
    ผลจากการที่ได้สนทนาแล้วธรรมเพิ่มพูนกิเลสเบาบาง หรือ กิเลสเพิ่มพูนปิดบังมากขึ้น
    อนุโมทนาเมตตาธรรมพระท้อปครับ

    ขอรบกวนยกสุภาษิตที่พระท้อปมอบไว้ไห้พิจารนา

    ขออภัย
    หากธรรมที่ท่านอ่านไม่ถูกใจท่าน
    เพราะเราเขียนธรรมตามความจริง

    หากกลัวความจริง
    จงปิดตาซะ


    ด้วยความเคารพอย่างสูงในธรรมของท่านทั้งหลาย​
    <!-- google_ad_section_end -->__________________

    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
    พระท๊อป ชินวโร
    ความเป็นปึกแผ่นของพระพุทธศาสนา

    ขออนุยาติเพิ่มเติมผุ้ใดเขียนธรรมผู้นั้นก้เขียนมาจากใจ ใจที่มีกิเลสเบาบางหรือใจทีพอกพูนด้วยกิเลสตันหา สนใจเราไม่สนใจเขาดีกว่า
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  12. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ขั้นตอนการเรียนรู้ การพูดของเด็ก (ประสบการณ์จากลูกชายเราเอง 4ขวบครึ่ง)

    1. พูดตาม (เลียนแบบการพูดของคนอื่น จะพูดเมื่อมีคนนำให้พูด)
    2. พูดได้ (จำคำศัพท์ได้พอสมควร เริ่มพูดได้เองไม่ต้องมีคนนำ แต่ไม่รู้ความหมาย)
    3. พูดเอง (พูดได้ แบบใช้คำพูดโดยรู้ความหมายถูกต้อง ใช้ได้ถูกต้องตรงความต้องการ)

    ถ้าพัฒนาจนได้ถึงขั้น พูดเอง จึงถือได้ว่า พัฒนาการพูดอยู่ในขั้นใช้งานได้ ใช้งานเป็น
    การพูดนี้ คือ ไม่ใช่การอ่านตามตัวหนังสือ เพราะเด็กยังอ่านไม่เป็น
    แต่เป็นการพูดจากใจและความจำ การสร้างความรู้ความเข้าใจที่เหมือนการฝึกว่ายน้ำ
    พอว่ายน้ำเป็น ก็เป็นติดที่ตัวเรา เป็นไปจนตายไม่มีลืม<!-- google_ad_section_end -->

    อันนี้ยืมมาจากโยมขวัญ
     
  13. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    อันเหตุใด
    เป็ดเซ็ง จึงกล่าวค้าน

    จากเศษเสี้ยว คำสอน ของพระพุทธเจ้า

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรประพฤติส่วนที่สุด ๒ ประการคือ


    การเสวยสุขในกามคุณอารมณ์ เป็นข้อประพฤติของชาวบ้านเป็นธรรมเลว เป็นธรรมของปุถุชน มิใช่ธรรมของพระอริยะ เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การเบียบเบียนตนให้ลำบาก (ทรมานตน) เป็นทุกข์ มิใช่ธรรมของพระอริยะ เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

    ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ ตถาคตได้ตรัสรู้ทางสายกลาง ที่ไม่เข้าถึงส่วนที่สุด ๒ ประการนั้นแล้ว ก่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความยิ่งรู้ เพื่อความรู้แจ้ง และเพื่อดับทุกข์ ทางสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้แก่

    อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ การกล่าวชอบ ๑ การกระทำชอบ ๑ การเลี้ยงชีพชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ และความตั้งมั่นชอบ ๑

    ดูกรพวกเธอทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ ทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑

    ทุกขอริยสัจ ได้แก่ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

    ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันก่อให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในภาพและอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ความผูกพันในกามคุณ อารมณ์ ภวตัณหา ความผูกพันที่มีความเห็นผิดว่าภพเที่ยง วิภวตัณหา ความผูกพันที่มีความเห็นผิดว่าภพขาดสูญ

    ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่ ความดับสนิทซึ่งตัณหา ความสละตัณหา ความปล่อยตัณหา ความวางตัณหา ความไม่พัวพันตัณหานั้นทั้งหมด

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มรรคอันเป็นทางดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ การกล่าวชอบ ๑ การกระทำชอบ ๑ การเลี้ยงชีพชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ และความตั้งมั่นชอบ ๑

    ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ อันตถาคตได้กำหนดรู้แล้ว

    ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดแล้ว ปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขสมุทยอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรละ อันตถาคตได้ละแล้ว

    ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดแล้ว ปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขนิโรธอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อันตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว

    ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดแล้ว ปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขนิโรธมินีปฏิปทาอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรให้เจริญ อันตถาคตได้เจริญแล้ว

    พวกเธอทั้งหลาย ปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ของตถาคตหมดจดดีแล้ว ตถาคตจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในเหล่าสัตว์มีสมณพราหมณ์พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ ชาตินี้ของตถาคตเป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่มิได้มีอีกต่อไป

    ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

    ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดา ได้ป่าวประกาศว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี อันเป็นธรรมที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดในโลกจะปฏิวัติมิได้

    เทวดาชั้น จาตุมหาราช ได้ยินเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป ฯลฯ
    เทวดาชั้น ดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว....ฯลฯ
    เทวดาชั้น ยามา ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว .....ฯลฯ
    เทวดาชั้น ดุสิต ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นยามาแล้ว.........ฯลฯ
    เทวดาชั้น นิมมานรดี ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นดุสิตแล้ว ........ฯลฯ
    เทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นนิมมานรดีแล้ว........ฯลฯ

    เทวดาที่นับเนื่องในหมู่ พรหม ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดในโลกจะปฏิวัติมิได้

    ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงแพร่สะพัดขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน แสงสว่างอันโชติช่วงหาประมาณมิได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

    ในบรรดา ปัญจวัคคีย์ เหล่านั้น เมื่อท่านโกณฑัญญะส่งญาณไปตามกระแสของพระธรรมเทศนา เวลาจบพระสูตรได้ดำรงอยู่ใน พระโสดาปัตติผล พร้อมกับ พรหม ๑๘ โกฏิ

    ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า
    อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ
    แปลว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ด้วยเหตุนี้ อัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นสมญานามของพระโกณฑัญญะสืบมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2010
  14. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ๒. ความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉาหรือสังโยชน์ข้อที่ ๒) คือ ความไม่รู้แจ้งชัดในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(มีความหลงหรือมีอวิชชา) จึงทำให้ยังมีความลังเลสงสัยในอริยสัจ ๔ เพราะยังรู้ไม่หมด.

    สังโยชน์ข้อนี่ทำให้ความเชื่อมั่นศรัททาในพระรัตนตรัยไม่เต็มบริบูร
    การเข้าถึงพระรัตนไตร มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับ ศิล สมาทิ และปัญญา
    การทำตนไห้เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนไตรได้ จัดเป็นการเข้าถึงอย่างแท้จริง
    การเป็นพระแท้

    การนำคำสอนมาตีความตามความคิดตนและเผยแพร่ เป็นการแสดงข้อคิดเห้นต่อพระไตรปิดก หรือพุทธพจ
    การนำคำสอนตรงมาไห้อ่านพิจารนาโดยยไม่ใช้ข้อคิดเห็นเป้นสิ่งที่ควรเพราะผุ้อ่านจะได้พิจารนาด้วยปัญญา

    การตำหนิธรรมการไม่พิจารนาธรรมและเห็นว่าข้อธรรมนั้นๆไม่เป็นจริง เพราะคิกว่าการปติบัติตนจริงกว่าธรรม นั้น ไม่ใช่เพราะพระพุทธเจ้ากล่าวผิดแต่ใจเราเองต่างหากที่ยังไม่ตรง

    โมทนาสาธุผู้ปติบัติดีปติบัติชอบ
     
  15. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    เอ้อ ยืมคำพูดได้ด้วย เด๋ว เป็ดยืมมาใช้ มั่ง จะหนาว 5555
    คำว่าพูดเอง น่ะ ใครก็พูดได้ แต่คิดให้ถูก จนถึงวันตาย น่ะ คิดได้ป่าว จริง ๆ ไม่ยากนะ หลักสูตร ก็มี อ้างพุทธพจน์ บทพระบาลี มาตีแผ่กัน ซิ

    ตรงใหนไม่จริง ก็ค้าน มาซิ อย่าเลยธง นะ พระคุณเจ้า
     
  16. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ตอบธรรมด้วยความเคารพอย่างยิ่งแด่ ท่าน albertalos

    ...................................................................................
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ถ้าธรรมมะเข้าสู่ใจได้นะ ธรรมะนั้นก็ออกจากใจโดยการพูดจากความรู้สึกจากใจของตัวเอง
    ความคิดมันเป็นทิฏฐิเป็นมายา จำด้วยความคิดด้วยสมอง ให้เหตุผลตรรกะด้วยความคิด
    เวลาตายความรู้และธรรมะที่จำไว้มันก็ตายไปกับความคิด
    วันนี้อ่านธรรมจำธรรมได้เลือกธรรมมาแปะได้แบบมีรสนิยมที่คิดว่าคนส่วนใหญ่จะชื่นชม
    แต่ไม่สามารถพูดออกมาจากใจด้วยความเข้าใจจากใจของตนเองได้ เพราะอะไรก็ไม่รู้
    เวลาตายไปแล้ว จะมีอะไรติดตัวไปได้บ้าง คาบคัมภีร์ไปเกิดใหม่ก็ไม่รู้จะเข้าใจภาษา
    ที่ใช้ในคัมภีร์ได้ถูกต้องตรงความจริง ได้หรือเปล่าก็ยังไม่รู้เลย
     
  18. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    ว่าด้วยเรื่องของ วิจิกิจฉาสังโยชน์

    ขอขอบพระคุณ ประเด็นที่ท่าน albertalos
    ขออนุยาต อรรถาธิบาย
    ในความว่าด้วย วิจิกิจฉาสังโยชน์ ไว้ดังนี้


    คำนี้ ฟังดูแล้วเหมือนง่าย
    แต่ไม่ง่าย ท่านทั้งหลาย

    ครั้งแรกเลย สำหรับตัวพระท๊อป เอง คิดว่า สังโยชน์ ข้อนี้ กระจอกมาก
    ก็เพราะเราก็ศรัทธาอยู่แล้วนี่
    ทำไมจะมีลังเลสังสัย อีกหล่ะ

    คิดว่าง่ายแต่จริง ๆแล้ว
    ซ่อนรายละเอียดไว้ซะ พระท๊อป แทบงง เหมือนกัน


    เหตุใดพระโสดาบัน จึงละสังโยชน์ ข้อนี้ได้
    ก็เพราะความเห็นทุกข์ อย่างสาหัสสากันของจุลโสดาบัน
    ก่อนจะละสังโยชน์ข้อนี้ ก่อนจะเปลื้องพันธนาการแห่ง โลกีย์ ข้อนี้ได้
    ท่านจะพบความทุกข์ อย่างแสนสาหัส เพราะภาวะภยญาณ อาทีนวญาณ และนิพพิทาญาณ
    คือการหยั่งรู้ ที่ทำให้ท่านเห็นภัยของวัฏฏะสงสารอย่างแท้จริง
    อยากออกแล้ว ทุกข์แล้วกับการเห็นการเวียนว่ายตายเกิด
    เห็นโทสภัย เห็นทุกข์ นี้ เห็นแล้วเห็รเล่า เห็นแล้วเห็นอีก เห็นอย่างต่อเนื่อง
    ตลอด จนท่านไม่สามารถ หาที่พึ่งที่ไหนได้เลย แม้พระไตรปิฎก หน้าไหนก็ตาม หรือ บุคคลใดเลย
    ไม่มีหมดหนทาง ไม่รู้ว่าจะพ้นตัวทุข์ที่ท่านเจอนี้อย่างไรดี
    ประมาณว่า บนโลกนี้ ไม่เหลือที่ให้ฉันอยู่ต่อไปอีกเสียแล้ว หมด หมดสิ้นหนทางจริง ๆ

    ท่านจะสะสม อาการทุกข์ และเห็นทุกข์ อย่างนี้เรื่อยไป เหมือน ลูกโปง ที่กำลังพองขึ้นด้วยลม พองขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุด ลมเหมือนทุกข์ ที่อัดเข้าไปในจิต
    ภาวะนี้ จิตเจอทุกข์แบบจัง ๆ กำลังเปิดประตูทุกข์ กำลังแจ้งด้วยทุกข์ที่อัดแน่นนี้

    จนกระทั้ง ความทุกข์ที่สะสมไว้นั้น มากพอถึงที่ พอที่จะเป็นเชื้อแห่งการเผาทุกข์
    เรียกว่า เอาทุกข์เผาทุกข์
    เอาความเป็นจิตเผาความเป็นจิต
    เอาอารมณ์ เผาอารมณ์

    จนทุกสิ่งไหม้หมด ไม่เหลือแม้แต่ทุกข์

    เรื่องอันนี้ ทำนองนี้ มีในพระไตรปิฏก
    เป็นเรื่องที่ พระพุทธองค์ ทรงสะท้อนเรื่องการพ้นทุกข์
    ไว้เสมือน สามเณร ไล่จับแย้ ต้นให้แย้จนมุม

    การการทำจิตให้จนมุมด้วยทุกข์
    เอาทุกข์เป็นเชื้อ เผาจนหมดทุกข์

    ต่อนะ เมื่อจุลโสดาบัน (หมายถึงผู้เห็นการเกิดดับในรูปนาม)
    เต็มแล้วซึ่งทุกข์
    อัดแน่นแล้วซึ่งทุกข์

    หมดหนทาง
    การถูกทำลายสักกายะทิฎฐิ
    จังบังเกิดขึ้น

    บุคคลผู้หนึ่ง จะเป็นผู้ทำลายสักกายะทิฏฐิให้
    (ลองศึกษาในเรื่องของ พระอสีติสาวก 80 พระองค์ ท่านหากไม่มันใจ)

    คือทำลาย ความเป็นตัว เป็นตน ความอวดดี ที่เคยถือตัวถือตน ว่า กู่แน่ กูเจ๋ง
    จึงถูกทำลายไป

    ภาวะนั้น ที่พึ่งพาอื่น ในจิตใจ จึงไม่มีอีกแล้ว
    มีเพียงพระรัตนไตรย เท่านั้น

    เพราะ การบรรลุธรรม โสดาบันนั้น
    ทำให้ทุกข์ที่อัดอั้นมา ทลายออก อย่างทะลุทะลวง
    ทุกข์ท่านจึงหายไป อย่างมหาศาล

    เหมือนบิ๊กแบง ขนาดย่อม ๆ เลย
    ระเบิดยังไง ยังนั้นเลย

    เมื่อที่พิ่งอื่น ไม่มีแล้ว
    วิจิกิจฉา
    คือความลังเลสงสัยในพระรัตนไตร จึง
    ถูกสละออก
    ทลายทิ้งไป
    ในครานั้นแล

    เหตุนี้ พระโสดาบัน ผู้ ละแล้วซึ่ง วิจิกิจฉา
    จึงมีความศรัทธาใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ถือสามสิ่งนี้เป็น สรณะ เป็นที่พึ่ง สูงสุด ยิ่งกว่าชีวาของตน
     
  19. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    เจริญพร
    สาธุการโยมขวัญ
    ที่คอยช่วยเหลือช่วยเป็นกำลังใจ อย่างเสมอมา

    พระท๊อป ได้เรียนรุ้ หลายสิ่งจากการเข้ามาในสังคมนี้
    ทุกท่านเป็นครู ของ พระท๊อป แทบทั้งสิ้น

    สิ่งนี้แหล่ะ หาได้ยากยิ่งจากที่ใด
    การอธิบายธรรม เขียนธรรม
    แล้วคนเหล่านั้นไม่เข้าใจ ความเป็นจริงที่เราอธิบาย
    พวกเขาไม่ผิด

    แต่เราผิด
    เพราะเราไม่สามารถอธิบายให้เขาเข้าใจได้ตรง

    อุชุ แปลว่าตรง
    อุชุปฏิปันโน

    คือการปฏิบัติตรง
    ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวงที่เราเพียร เขียน
    ก็เพื่อ ความเป็นผู้ ถึงพร้อม แห่ง อุชุปฏิปันโน

    เท่านั้น
    หาได้มีสิ่งอื่นใด

    ขออนุโมทนา กับทุก ๆ โอกาส ที่ได้รับ
    จากท่านทั้งหลาย
     
  20. pra_TopSecret

    pra_TopSecret เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +868
    สติปัฏฐาน 4 กับ หมา 4 ตัว

    ในครั้งสมัยพุทธกาล
    พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระผู้มีพระภาค
    มีนามว่า พระสารีบุตร

    ท่านพระสารีบุตร นั้น มีโยมแม่ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    แต่ด้วยอุบาย แห่งความเฉียบขาดด้านปัญญา ของท่าน
    จึง นำหมา 3 ตัว ให้แม้เลี้ยง
    โดยตั้งชื่อ ทั้งสามตัวว่า อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

    เพื่อให้โยมแม่ของท่าน เกิดความเข้าใจในพระไตรลักษณ์ อย่างแท้จริง
    เห็นลักษณะ ความดื้อ ความไม่เชื่อฟัง ความติ๊ง ๆ ต๊อง ๆ ของหมา ที่มันไม่ได้อยู่ในความควบคุม ของโยมแม่ ให้เห็นอาการ ความไม่เที่ยง ไร้ร่องไร้รอย ของมัน มันนึกจะเห่า มันก็เห่า เดี๊ยววันไหนมันมา วันไหน ก็ไม่มา
    อย่างนี้ร่ำไป เห็นความสุดแสนจะน่าเบื่อเวลา มันดื้อ ไม่ฟังเจ้าของ (เพราะเราไม่ใช่เจ้าของมันอย่างแท้จริง มันอยู่กับเราแป๊บบเดียว)

    เห็นหมด เห็นครบ ในลักษณะ ความเป็นจริง ทั้ง 3
    เห็นได้ ด้วย หมา 3 ตัว
    ให้แม่ท่านพิจรณา เห็น สิ่งเหล่านี้ไป


    แต่ เรื่องสติปัฏฐาน 4 และหมา 4 ตัว
    มันก็ไม่ต่างกัน
    คล้าย กัน แต่ต่างตรง บทบาทและการสมมติขึ้น
    พระผู้มีพระภาค จึงตรัส ให้เราเห็นแจ้งใน ไตรลักษณื
    ของ หมาสี่ตัว
    คือ ความไม่เที่ยง
    ความทนได้ยาก
    ความไร้ตัวไร้ตน บังคับบัญชาไม่ได้
    ในกาย เวทนา จิต ธรรม


    หมา 4 ตัวนี้ ก็แทบบบบ
    ไม่ต่างอะไร กับหมา 3 ตัวของโยมแม่ ของพระสารีบุตร

    การเผ้าดูหมา 4 ตัว
    หมากาย หมาเวทนา หมาจิต หมาธรรม

    4 ตัวนี้ ชื่อมันต่างกัน สีสันแต่ละตัวต่างกัน รูปร่างต่างกัน
    แต่มี สิ่งนึงที่เหมือนกัน ตลอดเลยคือ ไตรลักษณ์
    มันก็ไม่เที่ยวเหมือนกัน ไม่ต่าง
    มันก็เกิดความทนได้ยากเหมือนกันไม่ต่าง
    มันก็เกิดความไม่มีตัวไม่มีตน เหมือนกัน 3 อย่าง

    เพื่ออะไร
    ก็เพื่อให้ได้เห็นไตรลักษณ์
    เห็นความจริงกันซะที ในสิ่ง ที่มนุษย์ และ สัตว์ทั้งหลายหลงติดอยู่

    สิ่งใดบ้างหนอที่สัตว์ติดอยู่
    สัตว์ทั้งหลาย ล้วยติดอยู่ในหมา 4 ตัว

    1.หมากาม คือความพอใจชอบใจ ความไคร่ อันนำไปสู่ การเกิด นำไปสู่ ภพน้อยภพใหญ่ต่าง ๆ ไม่ว่าพอใจใน Sex พอใจใน รูปสวยรูปงาม
    เหตุนี้ ท่านจึงแสดงธรรม กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมากาย ตัวนี้ เอาไว้ ให้เห็น ความไม่เที่ยวแห่งกาย ความเป็นกองแห่งทุกข์ เพื่อความสลัดออกจากการติดอยู่ในกาย ยึดเอา หมากาย เป็นตัวติด หลงเกิด หลวงวน

    2.หมาสุข คือความสุข โอ้ว่า สัตว์ น้อยสัตว์ใหญ่ เทวดา มนุษย์โลก พรหมโลก ล้วนติดอยู่ในหมาสุข คิดว่าสุข จึงแสวงหาแต่สุข เอาแต่ตัวสุข แม้กระทั่ง มานั่งสมาธิแทนที่จะหลุดจาก หมาสุข ก็ยัง ติดในสุขกับ สมาธิ ติดฌาน (ฌานเป็นเครื่องข้าม ไม่ใช่เครื่องติด เครื่องยึด) แย่กันไปใหญ่ สัตว์โลก .... คิดเอาความสบายอย่างเดียว รังเกียจความไม่สบาย ความทุกข์ เหตุนี้ท่านจึงแสดงธรรม เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือหมาเวทนา ตัวนี้ เอาไว้เพื่อให้เห็น ว่า หมาเวทนา นี้ จริง ๆ แล้ว หมาเวทนา มันไม่ได้มีนิสัย สุขอย่างเดียว มันยังมีนิสัยทุกข์ก็มี และนิสัยอุเบกขาก็มี แล้วมันไม่เที่ยง บางอารมณ์ มันก็ทุกข์ บางอารมณ์มันก็สุข บางอารมณ์ มันก็เฉย ๆ อุเบกขาไปเลยซะงั้น ก็มี
    อันนี้ เมื่อเห็น ในนิสัยของหมาสี่ตัวนี้แล้ว จึงเห็นว่า เวทนาขันธ์ นี้ ล้วนเป็นทุกข์ เพราะ ความแปรปรวนของมัน เพราะความไม่เที่ยงของมัน นี้แหล่ะ จึงปลง และ เริ่ม งอน หมาเวทนา คือเริ่มไม่เอา และวางเฉย กับ ความน่าเบื่อ ของนิสัยซ้ำ ๆ ซาก ๆ ของหมาเวทนา

    3.หมาเที่ยง หรือหมาจิต นี้แหล่ะ หมาเที่ยงหรือหมาจิต สัตว์ ทั้งหลาย มนุษย์ ทั้งหลาย พระองค์ ทรงเห็นแจ้ง ใน ความไม่เที่ยง ที่สัตว์ทั้งหลาย ติดอยู่ว่าเที่ยง ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ตาม นั้นตามนี้ เป๊ะ ๆๆๆๆ แต่สุดท้ายมันไม่เป็น หมาจิตนี้ มันไม่เที่ยง ไม่เที่ยง เดี๊ยวมันก็เที่ยวไปนู่น เที่ยวไปนี่ เที่ยวไปอดีต เที่ยวไปอนาคต เที่ยวไปดูคนอื่น คนนู้น คนนี้ บ้าง ตามนิสัย ตามประสาของมัน ไม่แค่นั้นนะ พอมันเบื่อเรา มันก็ไปหาคนอื่น หมาจิต ตอนนี้ เป็นร่างมนุษย์ อยู่ในมนุษย์โลก บ้างครั้งมันก็ แว็บ ไป ใหม่ ไปเกิดเป็น เทวดา เป็นพรหม เป็นเดรัจฉาน เป็นสุตว์นรก เป็นลิง เป็น นก ก็มี มันไปได้เรื่อย ไม่ใช่ว่าต้องอยู่เป็นมนุษย์ อย่างเดียว นี้แหล่ะ พระองค์ ทรง ตรัส เรื่อง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เห็นแจ้งในความเที่ยงของหมาจิต ที่มนุษย์ทั้งหลายล้วนยึดเกาะในความเที่ยง เห็นความเอาแน่ เอานอนไม่ได้ ของหมาจิต ให้ปลง และวางเฉย (สังขารุเปกขา) ต่อ หมาจิต ตัวงี่เง่า ๆ เอาแน่เอานอน โลเล ตัวนี้ไปเสีย

    และ 4.หมาอัตตา หรือหมาธรรม ตัวนี้ ดื้อสุด ๆ ดื้อที่สุดในบรรดา หมาสี่ตัว เพราะมันไม่ฟังเลย ไอ้เจ้าหมาธรรม เนี่ย มันจะง่วงมันก็ง่วงเลย มันจะฟุ้ง มันก็ฟุ้งเลย มันจะชอบไม่ชอบอะไร มันสงสัยอะไรมันก็วิ่งไปดูให้รู้ ให้เห็นเอาให้ได้ มันไม่ฟังเราเลย เราห้ามมันก็ไม่ฟัง ห้ามไม่ได้ ตอนอยากไห้เป็นก็ไม่เป็น ไม่อยากให้เป็นก็ไม่เป็น น่าหงุดหงิดที่สุดเลย (หงุดหงิดกันมั่งมั๊ยเวลานั่งสมาธิแล้วง่วง หรือฟุ้ง) นี้เองแหล่ะ เพราะสัตว์ เพราะมนุษย์ทั้งหลายติดในหมาตัวตน ในหมาธรรม ตัวนี้แหล่ะ ว่า ต้องสั่ง ต้องบังคับ มันห้ามมันได้ แต่ที่แท้แล้ว มันไม่ฟังเลย มันจะเป็นมันก็เป็นไป เราไม่ได้มีอิทธิพลใด ๆ กับหมาตัวนี้เลย แม้แต่น้อย ก็เพราะมันไม่ใช่เรา มันเป็นของมัน เราไม่ใช่มัน มันก็ไม่ใช่เรา เหตุนี้ จึงไม่มีตัวตน ให้ยึด สั่งอะไรก็ไม่ได้ เพราะมันไร้ตัวเรา เขา กู ไร้ สัตว์ ไร้บุคคล เป็นแค่ หมาธรรม เป็นธรรม และธรรมชาติของมันเอง มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมัน และดับไปเป็นธรรมชาติของมัน โดยไม่มีเราไปเกี่ยวข้อง นี้ เอง สัตว์ จึงเห็นแจ้งและเข้าใจชัด ใน สรรพธรรม หมาธรรม ตัวที่มันเป็นอนัตตา
    ************************
    เรื่องหมาสี่ตัว คงจะทำให้ความสงสัยเหล่านี้คลายลงไป
    เคยมั๊ย บางวัน นั่งสมาธิได้ ดีสุด
    พออีกวัน ทำเหมือนเดิม แบบเดิม แต่นั่งไม่ได้
    นั่งแล้วฟุ้ง
    นั่งแล้วยิ่งง่วง
    ยิ่งขี้เกียจ
    ยิ่งเบื่อหนาย ไม่อยากนั่ง อยากเลิกไปเสีย
    นั่งแล้วไม่สงบ
    นั่งแล้วไม่มีสมาธิ
    นั่งแล้วเจ็บ นั่งแล้วปวด
    นั่งแล้วเกิดโทสะ เกิดราคะ

    ไม่รู้เพราะอะไร
    ทำอย่างไรมันก็ไม่หาย
    กำหนดไม่หาย
    พุทโธไม่หาย
    หนอแล้วหนออีกก็ไม่หาย ซักที

    ก็นี่แหล่ะครับ หมาสี่ตัว
    มันไม่เที่ยง
    มันเป็นทุกข์ - สภาพแปรปรวน
    และมันเป็นอนัตตา

    เราจึงบังคับบัญชามันไม่ได้
    เพราะมันไม่ใช่เรา
    มันนอกเหนือคำสั่งเรา

    เราจึง สั่งมันไม่ได้

    ปัญญา ที่เห็น สิ่งที่มันไม่เที่ยง
    ไม่แน่ไม่นอน เป็นทุกข์ กำหนดทำอย่างไรก็ไม่หาย ที่เป็นอนุตตานั้นแหล่ะ

    อย่างนี้เค้าเรียกว่า
    ภาวนามยปัญญา
    ปัญญาที่แจ้งไตรลักษณ์จากการภาวนา
    จนกระทั่งเห็นการเกิดดับของ
    รูปนาม
    แล้วจึงเข้าสู่
    จุลโสดาบัน

    เท่านี้แล

    เรื่องหมา 4 ตัว กับ สติปัฏฐาน 4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...