เรื่องเด่น สารานุกรมฝรั่งระดับโลกเขียนถึงประเทศไทย!! "พุทธศาสนา" มั่นคงเข้มแข็งอยู่ได้ก็เพราะมี "สถาบันพระมหากษัตริย์" เป็นเสาหลักค้ำจุน!!

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 27 มกราคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    สารานุกรมฝรั่งระดับโลกเขียนถึงประเทศไทย!! "พุทธศาสนา" มั่นคงเข้มแข็งอยู่ได้ก็เพราะมี "สถาบันพระมหากษัตริย์" เป็นเสาหลักค้ำจุน!!

    [​IMG]


    สารานุกรมภาษาอังกฤษเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า "Britannica" เคยเขียนข้อความถึงประเทศไทยไว้ตอนหนึ่งว่า

    "ศาสนาประจำชาติ (Official Religion) ของประเทศไทยนั้นคือ พระพุทธศาสนา"

    แต่เมื่อเขียนถึงประเทศอื่น ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาเหมือนกับประเทศไทย อันได้แก่ ศรีลังกา พม่า ลาว เขมร เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สารานุกรมเล่มนั้นกลับเขียนว่า

    "ประเทศเหล่านี้ไม่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ"

    คำถามก็คือ อะไรที่ทำให้ผู้เขียนสารานุกรม Britannica ยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่นับถือพุทธเพียงประเทศเดียวที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ?

    [​IMG]


    มีนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเคยวิเคราะห์ไว้ว่า การที่ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ "พระมหากษัตริย์ไทย" และ "คณะสงฆ์ไทย" อย่างใกล้ชิด

    เราชาวพุทธทุกคนทราบกันดีว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็น "พุทธมามกะ" มาก่อนที่รัฐธรรมนูญจะบัญญัติเอาไว้ยาวนานมาก คือทรงเป็นองค์พุทธมามกะมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว และทรงเป็นมาอย่างนั้นตลอดทุกพระองค์ ตลอดทุกยุคทุกสมัย

    การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะนั้นเป็นเพียงแค่การคล้อยตามกลไกทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่เกิดขึ้นจริงและเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานเท่านั้น

    และที่พระพุทธศาสนาได้รับการประดิษฐานไว้ในประเทศไทยอย่างมั่นคงเข้มแข็งมาโดยตลอดนั้นก็เพราะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งค้ำจุน

    ในประเทศใดที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความอ่อนแอหรือถูกล้มเลิก ผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ตามมาคือ พระพุทธศาสนาในประเทศนั้นจะอ่อนกำลังลงไป

    "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" หรือ "ในหลวงรัชกาลที่ ๙" ก็เป็นพระมหากษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ทรงเป็น "พุทธมามกะ" และ "องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก" ซึ่งในด้านหนึ่งก็ถือว่าเป็นพระราชจริยาวัตรที่ทรงดำเนินไปตามกลไกทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่สืบเนื่องมาจากอดีตจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่พระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะและองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกนั้นอาจกล่าวได้ว่ายังเป็นพระราชปฏิปทาที่ทรงดำเนินไปตามความสนพระทัยอย่างลึกซึ้งในหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการส่วนพระองค์อีกด้วย

    พระองค์ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกที่ทรงแข็งขันในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรงเป็นพุทธมามกะที่แสดงพระองค์ผ่านทางการศึกษาและปฏิบัติธรรมไม่น้อยไปกว่าพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์อื่น ๆ ในอดีตเลย



    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ขณะทรงพระผนวช

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ขณะทรงพระผนวช

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) ขณะทรงพระผนวช

    [​IMG]

    ที่มา : หนังสือ "มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ", วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์

    ณัฐวุฒิ/สำนักข่าวทีนิวส์ : รายงาน




    ----------------------------

    ขอบคุณที่มา
    http://panyayan.tnews.co.th/contents/220906/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...