สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑๐
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งการบรรลุ
    โสดาบัน ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
    ๑ สปฺปุริสสํเสโว การคบหากับสัตบุรุษ
    ๒ สทฺธมฺมสฺสวนํ การฟังพระสัทธรรม
    ๓ โยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    ๔ ธมฺมานุธฺมฺมปฏิปตฺติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ของเก่าเอามารวมหนึ่ง" เพชรใน ปฎิสัมภิทามรรค

    " อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนานํ ธมฺมานํ สงฺขิปิตฺวา ววตฺถาเน ปญฺญา"
    ในกาล ในขณะสืบต่อและในปัจจุบัน ในที่นี้ประสงค์เอาปัจจุบันสันตติ คือปัจจุบันที่กำลังสืบต่อ.
    ปัญญาในการรวบรวมเอาธรรมคือขันธ์ ๕ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบันเหล่านั้นเข้าไว้ในขันธ์หนึ่งๆ แล้วทำให้เป็นกองด้วยสามารถกลาปะคือหมวดหมู่แล้ว กำหนด วินิจฉัย ตัดสินได้.

    สนฺตติ (สืบต่อ) การสืบต่อของนามธรรมและรูปธรรม หมายถึง การเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วของนามธรรมรูปธรรม และมีนามใหม่รูปใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย จึงทำให้ไม่สามารถเห็นความไม่เที่ยงของสภาพธรรมได้ สันตติจึงเป็นสิ่งที่ปิดบังความเป็นอนิจจัง อนิจลักษณะจะปรากกฎได้ก็ต่อเมื่อมีการอบรมปัญญา เพิกสันตติด้วยการระลึกศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม รู้ชัดโดยความเป็นปัจจัย จนเห็นความเกิดดับ เป็นการประจักษ์แจ้งความไม่เที่ยงของนามธรรมและรูปธรรมตามลำดับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าได้และรักษาสภาพเช่นนั้นได้ในทันที ยินดีจะทิ้งโลกในทันที คฤหัสถ์ฆราวาสแบบนี้ยากมากที่จะได้
    “ด้วยสมาธิที่อบรมดีแล้ว เธอจะน้อมจิตไปเพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้ง ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรม* อย่างใด ๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่ออายตนะ (เหตุ) มีอยู่ กล่าวคือ ถ้าเธอจำนง...อิทธิวิธา...ก็ย่อมถึง...ถ้าเธอจำนง...ทิพยโสต...ก็ย่อม ถึง...ถ้าเธอจำนง...เจโตปริยญาณ...ก็ย่อมถึง...ถ้าเธอจำนง...ปุพเพ นิวาสานุสติ...ก็ย่อมถึง...ถ้าเธอจำนง...ทิพยจักษุ..ก็ย่อมถึง... ถ้าเธอจำนง...อาสวักขัย...ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่” (ดู องฺ.ติก.16/282-301/147-155 ฯลฯ)

    แต่ก็อยากจะเอาสิ่งนี้ไปทำลายมิจฉาทิฏฐิให้ราบคาบเสียก่อนในดงนั้น
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สิกขสูตร
    [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออกมา
    เป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ซึ่งถูกกล่าวหาอันชอบแก่เหตุ ๕
    ประการในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ ท่านไม่มีแม้ศรัทธาในกุศลธรรม ๑
    ไม่มีแม้หิริในกุศลธรรม ๑ ไม่มีแม้โอตตัปปะในกุศลธรรม ๑ ไม่มีแม้ความเพียร
    ในกุศลธรรม ๑ ไม่มีแม้ปัญญาในกุศลธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือ
    ภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ซึ่ง
    ถูกกล่าวหาอันชอบแก่เหตุ ๕ ประการนี้แลในปัจจุบัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    หรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อม
    ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญที่ชอบ
    แก่เหตุ ๕ ประการในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ เธอมีศรัทธาในกุศลธรรม ๑
    มีหิริในกุศลธรรม ๑ มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ๑ มีความเพียรในกุศลธรรม ๑
    มีปัญญาในกุศลธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์
    โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
    บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ

    จบสูตรที่ ๕
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สมาปัตติสูตร
    [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอกุศลย่อมไม่มี ตลอดเวลาที่ศรัทธาใน
    กุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ศรัทธาเสื่อมหายไป อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ)
    ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น การถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มีตลอดเวลาที่
    หิริในกุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด หิริเสื่อมหายไป อหิริกะ (ความไม่
    ละอาย) ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น การถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มี
    ตลอดเวลาที่โอตตัปปะในกุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด โอตตัปปะเสื่อมหาย
    ไป อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัว) ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น การถึงอกุศล
    ย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มีตลอดเวลาที่วิริยะในกุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่
    เมื่อใด โอตตัปปะเสื่อมหายไป อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัว) ย่อมกลุ้มรุม
    เมื่อนั้น การถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มีตลอดเวลาที่วิริยะในกุศล
    ธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด วิริยะเสื่อมหายไป โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน)
    ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น การถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มี ตลอดเวลาที่ปัญญา
    ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ปัญญาเสื่อมหายไป ปัญญาทรามย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น
    การถึงอกุศลย่อมมี ฯ

    จบสูตรที่ ๖
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กามสูตร
    [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย หมกมุ่นอยู่ในกาม
    กุลบุตรผู้ละเคียวและคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่าเป็นกุลบุตร
    ผู้มีศรัทธาออกบวช ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กามด้วยความเป็นหนุ่ม
    และกามเหล่านั้นก็มีอยู่ตามสภาพ คือ เลว ปานกลางและประณีต กามทั้งหมด
    ก็ถึงการนับได้ว่าเป็นกามทั้งนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอน
    หงาย พึงเอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปในปาก เพราะความพลั้งเผลอของ
    พี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงสนใจในเด็กนั้นทันที แล้วรีบนำเอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้อง
    ออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้ ก็พึงเอามือซ้ายจับ งอนิ้วมือข้างขวา
    แล้วแยงเข้าไปนำออกมาทั้งที่มีโลหิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจะมีความลำบาก
    แก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ไม่มีความลำบาก และพี่เลี้ยงผู้หวังประโยชน์ มุ่งความสุข
    อนุเคราะห์ พึงกระทำอย่างนั้นด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้นเจริญวัย มี
    ปัญญาสามารถ เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นได้ว่า บัดนี้ เด็กมีความสามารถ
    รักษาตนเองได้แล้ว ไม่ควรพลั้งพลาด ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้
    ที่เราต้องรักษาเธอ ตลอดเวลาที่เธอยังไม่กระทำด้วยศรัทธาในกุศลธรรม ไม่กระทำ
    ด้วยหิริในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยวิริยะใน
    กุศลธรรม ไม่กระทำด้วยปัญญาในกุศลธรรม แต่เมื่อใด ภิกษุกระทำด้วยศรัทธา
    ในกุศลธรรม กระทำด้วยหิริในกุศลธรรม กระทำด้วยโอตตัปปะในกุศลธรรม
    กระทำด้วยวิริยะในกุศลธรรม กระทำด้วยปัญญาในกุศลธรรม เมื่อนั้น เราก็ย่อม
    วางใจในเธอได้ว่า บัดนี้ ภิกษุมีความสามารถรักษาตนเองได้แล้ว ไม่ควร
    ประมาท ฯ

    จบสูตรที่ ๗
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จวนสูตร
    [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
    เคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ไม่มี
    ศรัทธาย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ... ภิกษุผู้ไม่มี
    โอตตัปปะ ... ภิกษุผู้เกียจคร้าน ... ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่น
    ในพระสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
    ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
    ๕ ประการ ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    คือ ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีหิริ ...
    ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ... ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ... ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมไม่เคลื่อน
    ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    นี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ฯ

    จบสูตรที่ ๘
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อนนุสสุตสูตร
    [๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุถึงบารมีอันเป็นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง ใน
    ธรรมที่ไม่ได้สดับแล้วในกาลก่อนจึงปฏิญาณได้ กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้
    ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท
    ในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑
    กำลัง คือ หิริ ๑ กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ
    ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้แล ที่เป็นเหตุให้
    ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท
    ประกาศพรหมจักร

    จบสูตรที่ ๑
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ๒. กูฏสูตร
    [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ
    เป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ หิริ ๑ กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑
    กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ
    ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดากำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้
    กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด
    เป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลังของพระเสขะ ๕
    ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญา ก็เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉะนั้นเหมือนกัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา
    จักประกอบด้วยกำลังคือศรัทธา ... กำลัง คือ หิริ ... กำลัง คือ โอตตัปปะ ...
    กำลังคือวิริยะ ... กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สังขิตสูตร
    [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือ
    สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๓
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    “นิพพิทาญาณ” ญาณที่ผู้ฝึกจิตหากไม่ได้ ก็เท่ากับสูญเปล่า








    นิพพิทาญาณเป็นไฉน?



    นิพพิทาญาณ คือ ญาณเบื่อโลก คือ ปัญญาที่หยั่งรู้เท่าถึงความไม่จีรัง ความมายา ความทุกข์ ความหลงมัวเมาที่เต็มอยู่ในโลก ความรู้สึกที่เบื่อหน่ายเรื่องทางโลกีย์อย่างยิ่ง เบื่อหน่ายเรื่องราวทางโลกอย่างยิ่ง จนละทิ้งบ้านเรือนออกแสวงหาสัจธรรม นี่คือ อาการของนิพพิทาญาณ ซึ่งจะเกิดเมื่อ จิตผู้หนึ่งมีความสงบสุขสงัดทางธรรมมากๆ แล้วหันกลับไปมองทางโลกก็รู้สึกแตกต่างจากความสุขทางธรรมได้แจ้งชัด ชัดเจน จึงหันหลังให้ทางโลก หรือเกิดจากความเบื่อสุดระอา เพราะความทุกข์อย่างยิ่งทางโลก แล้วได้พบธรรมเข้าพอดี เกิดความสงบสุขได้ จิตละจากทางโลกได้ฉับพลันเข้าหาทางธรรมทันทีก่อนที่จะไม่เหลือจิตสมประดี เช่น กรณีหญิงบ้าที่แก้ผ้าเข้าวัดไปหาพระพุทธองค์ สติของนางยังพอมีเหลืออยู่บ้างยังไม่ถึงขนาดขาดหมดไม่สมประดี เมื่อได้พบธรรม ได้พบพระพุทธเจ้า ก็เหมือนมีพระมาโปรดให้ใจชุ่มเย็น ดับความเร่าร้อน แล้วได้สติ เห็นทางธรรมเป็นทางรอด จนได้บรรลุธรรมในที่สุด นี่ก็ต้องมีนิพพิทาญาณเกิดขึ้นก่อน







    ทำไมต้องได้นิพพิทาญาณ?



    สำหรับท่านที่ฝึกสมาธิแล้วไม่ได้ฌาน ย่อมยังผลให้ไม่ได้ญาณด้วย นั่นหมายถึง ไม่เกิดนิพพิทาญาณขึ้นเลย ไม่มีความเบื่อหน่ายเรื่องโลกีย์ถึงขั้นละทิ้งบ้านเรือนเลย บุคคลนั้นแม้ได้เปรียญเก้าประโยค มีความรู้ทางธรรมท่วมหัว ก็ไม่อาจเอาตัวพ้นเสียจากความทุกข์ไปได้ ไม่อาจเอาตัวพ้นเสียจากนรกไปได้ (เพราะไม่บรรลุโสดาบัน ยังต้องเวียนว่ายในสามภพ นั่นหมายถึง นรกด้วย) ดังนั้น บุคคลผู้ฝึกสมาธิ หากไม่ได้ฌาน ก็ไม่ได้ญาณ เมื่อไม่ได้ญาณ นิพพิทาญาณไม่เกิด แล้วจะบรรลุธรรมได้อย่างไร เช่นนี้ นรกย่อมมีอยู่เบื้องหน้าเขาผู้นั้นเป็นแน่แท้ ไม่แปรอื่น ไม่ชาติภพใดก็ชาติภพหนึ่ง ไม่อาจพ้นไปได้







    ฝึกสมาธิไม่ได้ฌานและญาณเท่ากับสูญเปล่า



    คนที่ฝึกสมาธิได้อภิญญามากมาย เช่น ฤษีในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเกิดนั้น บ้างได้ตายลงไปเกิดเป็นงู เป็นสัตว์นรก ฯลฯ พวกเขาเหล่านั้น ฝึกสมาธิขั้นสูง ได้อภิญญามากมาย แต่เสียดาย พวกเขาไม่ได้ญาณหยั่งรู้ที่สำคัญอันนำไปสู่การบรรลุธรรม ทำให้ต้องวนเวียนในสามภพไม่สิ้นสุดไปได้ ดังนั้น จึงขอเน้นย้ำอย่างยิ่งว่า ฝึกสมาธิไม่ใช่เพื่อให้ได้แค่สมาธิ แต่ต้องให้ได้ฌาน แล้วฝึกฌานเพื่อให้ได้ญาณ อนึ่ง ญาณหยั่งรู้ทั้งหลายญาณใดๆ ไม่เท่านิพพิทาญาณเป็นจุดเริ่มต้น เนื่องจากเป็นความหยั่งรู้ในความน่าเบื่อของเรื่องทางโลกีย์ที่ไม่สิ้นสุด จึงเป็นญาณเปิดทางสู่การบรรลุธรรมโดยแท้







    การฝึกวิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณ



    นับเป็นความล่อแหลมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอย่างยิ่ง สำหรับการฝึกเอานิพพิทาญาณในกลุ่มคนที่ยังไม่ได้ฌาน เพราะจิตที่อ่อนกำลัง ไม่มีความสงบสงัดรองรับสภาวะความจริงอันน่าเบื่อของโลก ความมายาหลอกลวงของโลก ความไม่เที่ยงไม่จีรังของโลก ความทุกข์ระทมของโลก ความลุ่มหลงมัวเมาของโลกนั้น ย่อมอาจนำบุคคลไปสู่การฆ่าตัวตายหนีโลกได้ ดังนั้น ก่อนการฝึกวิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณ จึงต้องมีการเตรียมใจเตรียมจิตให้พร้อม คือ ควรได้ฌานสี่ ในระดับที่คล่องแคล่วพอควร และแน่วแน่ในระดับหนึ่ง กล่าวคือ ควรมีทั้งวสีในฌานและตบะในฌานในระดับหนึ่ง เพราะหากขาดวสีในขณะที่เห็นความจริงอันแสนน่าเบื่อของโลกแล้ว จิตจะดิ่งลงสู่ฌาน รองรับอารมณ์สภาวธรรมไม่ทัน และเกิดอาการ “จิตตก” จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้ ในขณะที่บางท่านไม่มี “ตบะ” เลย เมื่อได้เห็นความน่าเบื่อหน่ายของโลกนี้แล้ว แม้จิตเข้าสู่ภาวะฌานรออยู่ แต่หากได้เห็นความจริงของโลก แล้วเกิดอาการฌานเสื่อมถอยเพราะจิตตกทันควัน ก็อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณ ควรมีทั้งวสีและตบะในฌานในระดับหนึ่ง จึงไม่ขอกล่าวอธิบายเรื่องการทำวิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณต่อไปในบทความนี้ (จำต้องถ่ายทอดตัวต่อตัว)


    ได้มาแล้วยังขาดอะไรอีก?
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    วิมุตติญานทัสสนะวัดนาป่าพงคือ การไม่มีอวิชชาไม่เกิดไม่ตาย

    ถ้าเป็นอย่างนั้น ดวงตาเห็นธรรมก็จักไม่มี และการเพ่งวิมุตติของพระอริยะบุคคลระดับ ปฎิสัมภิทา ๑๖ คืออะไร? ก็ไม่มีนั้นด้วย

    เพราะการเห็นธรรม ก็คือกระแสของวิมุตติญานทัสสนะ

    เวรกรรมของสัตตานัง




    มิน่าเล่า ถึงได้ตัดปฎิสัมภทาทิ้งอย่างไม่ไยดี

    นี่จึงแสดงให้เห็นว่าคึกฤทธิ์ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทา ๔ อันมี นิรุตติทัสสนญาน และ วิมุตติญานทัสสนะ (ใครเคยฟังย่อมรู้ สัตตานัง และ พุทธวจน faq วิมุตติญาณทัสสนะ และ อวิชชาเกี่ยวข้องกันอย่างไร อะไรนั่น) บอกตามตรงก็คือ ไม่เคยได้เสวยวิมุตติสุข แม้ของโลกียะ ความละเอียดอ่อนลึกซึ้งของภาษาธรรม เอาเพียงแค่ พุทธภาษิตเดียว อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ หมดสำนักวัดนาป่าพง เปิดตำราหนึ่งล้านบท อธิบายสามล้านหน้ากระดาษ ก็ไม่มีทางแสดงพุทธภาษิตนี้ได้เทียมเท่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอรหันต์ผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานได้เลย


    น่าสงสารจังสอนสาวกอย่างนั้น กรรมบันดาลจริงๆ
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้อนี้เป็นจริง

    การศึกษาเพียงแต่ปริยัติสัทธรรม


    "อ่านคัมภีร์และตำราหน้าเดียวกัน การที่จะเข้าใจได้เทียมเท่ากันในไวยากรณ์นี้เป็นของยาก ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ถ้วนทั่วกัน"


    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10853&Z=10939&pagebreak=0
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฉิบหายแล้ว สำนักวัดนาป่าพง คึกฤทธิ์ มันสอนให้สาวกไม่เอา ญาน ๑๖ และวิปัสนาญาน ๙ แถมยังตัดญาน ๗๓ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทิ้ง

    พระธรรมคัมภีร์ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรมองค์พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม อันเป็น โบราณราชธรรมก็ไม่รู้จัก

    แบบนี้ยิ่งแสดงให้เห็นสถานะของ สัทธรรมปฎิรูป และสัตตานัง อันเป็นผลที่จะไม่กำเนิดเป็นสัตว์นรกและสัตว์ติรัจฉานมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ได้เด่นชัดมากขึ้น
    ไม่มีมรรคผลเป็นที่รองรับจนถึงขนาด ให้อรหันต์แจกอนาคามีแถมพระโสดาบันกันสนั่นโลก ทั้งในประเทศ และเครื่อข่ายสำนักวัดนาป่าพงสาขาต่างประเทศ แจกยันคนตายตัวเหลือง เวรกรรมจริงๆ ในสำคัญผิดไปเลยว่าได้บรรลุธรรม



    เวรแล้ว กรรมจริงๆ เฮ้อ จะช่วยอย่างไรดีหนอ เกิดมาทั้งทีไม่มีสติปัญญาอันเจริญในธรรม


    ญาณอันสัมปยุตกับชวนจิตนั้น ชื่อว่าอนุโลมญาณ.
    จริงอยู่ อนุโลมญาณนั้นย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘ ในเบื้องต้น เพราะเป็นกิจแห่งสัจญาณ และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า.
    เหมือนอย่างว่า ธรรมิกราชาประทับนั่งบนบัลลังก์เป็นที่วินิจฉัย ทรงสดับการวินิจฉัยของอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร ๘ คน แล้วทรงละอคติวางพระองค์เป็นกลาง อนุโมทนาว่าเป็นอย่างนั้นเถิด ย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของอำมาตย์ทั้ง ๘ คนเหล่านั้น และอนุโลมตามโบราณราชธรรม.
    ในข้ออุปมานั้น อนุโลมญาณเปรียบเหมือนพระราชา, วิปัสสนาญาณ ๘ เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร, โพธิปักขิยธรรม ๓๗ เปรียบเหมือนโบราณราชธรรม, พระราชาทรงอนุโมทนาว่าเป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่าย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของเหล่าอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหารด้วยตามราชธรรมด้วยฉันใด, อนุโลมญาณนี้ก็ฉันนั้น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘ ที่เกิดขึ้นปรารภสังขารทั้งหลายด้วยสามารถแห่งพระไตรลักษณ์มีอนิจจลักษณะเป็นต้น เพราะเป็นกิจแห่งสัจจะ, และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการอันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า. เพราะฉะนั้น ญาณนี้ท่านจึงเรียกว่าอนุโลมญาณ ฉะนี้แล.


    วิปัสสนาญาณ ๙

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ

    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ

    ๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว

    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร

    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย

    ๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย

    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร

    ๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร

    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ

    ญาณทั้ง ๙ นี้ ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณ ที่ ๙ นั้น เป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง ๘ นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘ แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑ จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ทุก ๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ คือจิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อนก็ ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้น คำว่าครอบงำหมายถึงความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะตายหรือเราจะตายไม่หนักใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไปนอกจากระงับ ความหวั่นไหวที่เคยเกิดเคยหวั่นไหวได้แล้ว จิตยังมีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะมีความนึกคิดถึงพระนิพพานเป็นปกติ คล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืน เดินทำกิจการงานอยู่ก็ตามจิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้ บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรัก ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียกทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรักมีอารมณ์ ผูกพันฉันใด ท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน หลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน คือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือเป็นพระโสดาบัน ต่อไปนี้ จะได้ อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นลำดับไปเป็นข้อ ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เคยมาถึงตรงนี้แล้ว

    เอกโตวุฏฐานะ

    ตทังควิมุตติ


    ตามกินของเก่าไปก่อน

    ปัญญานิทเทสแห่งวิสุทธิมรรค.

    ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำเสียได้ซึ่งโคตรปุถุชน และเพราะก้าวขึ้นสู่โคตรอริยะ. เพราะโคตรภูญาณนี้กระทำพระนิพพาน ชื่อว่าอนิมิตตะ ไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ในที่สุดแห่งอาเสวนะแห่งอนุโลมญาณของจิตที่เหนื่อยหน่ายจากสังขารทั้งปวงดุจน้ำตกจากใบบัว, ก้าวล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งอันนับว่าปุถุชน, ซึ่งภูมิแห่งปุถุชน, หยั่งลงสู่โคตรแห่งอริยะ อันนับว่าอริยะ เป็นภูมิแห่งอริยะ, ยังความเป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่มรรคด้วยอำนาจปัจจัย ๖ คือ อนันตระ, สมนันตระ, อาเสวนะ, อุปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ อันเป็นไปในครั้งแรก ความเสพในครั้งแรก, อันประชุมพร้อมกันในครั้งแรกในอารมณ์คือนิพพาน, ถึงยอดเป็นศีรษะวิปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นกระทำให้เป็นสภาพที่ให้หมุนกลับอีกไม่ได้.




    เมื่อไม่เอาไม่ได้ซึ่ง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โดย พระมหาปัฏฐาน เป็นปัจจัยก่อน โคตรภูญาน ย่อมไม่บังเกิด


    มหาปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่ 7 ของพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่ 1. ธัมมสังคณี, 2. วิภังคปกรณ์ 3. ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6. ยมกปกรณ์ และ 7. มหาปัฏฐาน และเป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะสูญสิ้นเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีร์ภาพด้วยปัจจัยแห่งปรมัตถธรรม โดยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องราวความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน โดยนัยมากมายทั้งพิสดารและละเอียดสุขุมลึกซึ้งยิ่งนัก ธรรมในมหาปัฏฐานนี้ ถ้าจะนับรวมกันทั้งหมดก็มีจำนวนถึงหลายโกฏิ ด้วยเหตุนี้ท่านอรรถกถาจารย์จึงเรียกคัมภีร์นี้ว่า “มหาปัฏฐาน” ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาพระอภิธรรม 7 คัมภีร์อยู่นั้น เมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 1 คือ ธัมมสังคณี จนถึงคัมภีร์ที่ 6 คือ ยมก มาตามลำดับมิได้มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น ต่อเมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ 7 คือ ปัฏฐาน จึงได้เกิดรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายถึง 6 สี (หรือที่เรียกว่า ฉัพพรรณรังสี)

    ปัจจัย 24
    1. เหตุปัจจะโย = ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย
    2. อารัมมะณะปัจจะโย = ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย
    3. อธิปะติปัจจะโย = ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย
    4. อนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้
    5. สะมะนันตะระปัจจะโย = ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน
    6. สะหะชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดพร้อมเป็นปัจจัย
    7. อัญญะมัญญะปัจจะโย = ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย
    8. นิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นนิสัยที่อาศัย
    9. อุปะนิสสะยะปัจจะโย = ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า
    10. ปุเรชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย
    11. ปัจฉาชาตะปัจจะโย = ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย
    12. อาเสวะนะปัจจะโย = ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย
    13. กัมมะปัจจะโย = ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย
    14. วิปากาปัจจะโย = ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย
    15. อาหาระปัจจะโย = ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย
    16. อินทริยะปัจจะโย = ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย
    17. ฌานะปัจจะโย = ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย
    18. มัคคะปัจจะโย = ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย
    19. สัมปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย
    20. วิปปะยุตตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย
    21. อัตถิปัจจะโย = ธรรมที่มีเป็นปัจจัย
    22. นัตถิปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย
    23. วิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
    24. อะวิคะตะปัจจะโย = ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย
    ปัจจัยมีประการต่างๆมากมาย ในการแสดงปัจจัย 24 นั้น พระพุทธองค์ทรงจำแนกปัจจัยหนึ่งๆ มีธรรมเป็น 3 หมวด คือ ปัจจัยธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นเหตุ (ปัจจัย มีวจนัตถะว่า ผลธรรมย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ธรรมที่เป็นเหตุนี้จึงชื่อว่า "ปัจจัย")

    ปัจจยุปบันธรรม หมายความว่า ธรรมที่เป็นผล (ปัจจยุปบันธรรม มีวจนัตถะว่า ผลธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย ชื่อว่า "ปัจจยุปบัน")

    ปัจจนิกธรรม หมายความว่า ธรรมที่มิใช่ผล (คือธรรมที่นอกจากผล) (ปัจจนิก มีวจนัตถะว่า หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปบันธรรม ชื่อว่า "ปัจจนิก")



    มหาปัฏฐาน มีนัยยะกว้างขวาง มีนัยหาที่สุดมิได้ มีอรรถอันสุขุมลุ่มลึกยิ่งกว่าพระสัทธรรมทั้งปวง อันมีใน พระไตรปิฏกนับเป็นปกรณ์ใหญ่ เรียกว่า "มหาปกรณ์" เป็นปกรณ์ที่เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้วนั้น





    ตายแล้วเราในที่สุด "พระมหาปกรณ์" ที่เราเคยกล่าวถึง ก็ปรากฎ อยากจะถามตนเอง นอกจากพระพรหมผู้ครองปราสาทมุกสวรรค์ อดีตชาติพระราชปาล และยักษ์นิลกาฬ เราเป็นใครมาเกิดกันวะเนี่ย หน้าอย่างปลวก อยู่อย่างจน บ่วงพันธนาการเต็มที่

    ฉิบหายละ หน้าเดียวเรายังไปแบบสุดกู่ นี่เล่นไป ๓ หน้า ขนาดยังไม่ได้ผนวกตรวจทานและ พิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก ยิ่งเผยความจริง หัวสมองแตกตายแหงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สาเหตุที่พระอรหันต์ไม่ฝัน

    ว่าด้วยมรรคญาณ ในคำว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา มคฺเค ญาณํ แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒ เป็นมรรคญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    คำว่า ทุภโต แปลว่า ทั้ง ๒.
    อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอธิบายว่า ทั้งคู่.
    มรรคญาณย่อมออกคือย่อมหมุนกลับจากกิเลสทั้งหลาย และขันธ์อันเป็นไปตามกิเลสเหล่านั้น กับทั้งจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอกจากการกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะตัดกิเลสทั้งหลายได้ขาดแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่าปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒.
    เพราะเหตุนั้น พระพุทธโฆสาจารย์จึงกล่าวว่า๑-
    มรรคญาณแม้ทั้ง ๔ ออกจากนิมิต เพราะ
    มีพระนิพพานอันไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์, และย่อม
    ออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยได้ขาด ฉะนั้น
    จึงชื่อว่าทุภโตวุฏฐานะ คือออกโดยส่วนทั้งสอง ดังนี้.

    ว่าด้วยมรรคญาณ ในคำว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา มคฺเค ญาณํ แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒ เป็นมรรคญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    คำว่า ทุภโต แปลว่า ทั้ง ๒.
    อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอธิบายว่า ทั้งคู่.
    มรรคญาณย่อมออกคือย่อมหมุนกลับจากกิเลสทั้งหลาย และขันธ์อันเป็นไปตามกิเลสเหล่านั้น กับทั้งจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอกจากการกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะตัดกิเลสทั้งหลายได้ขาดแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่าปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒.
    เพราะเหตุนั้น พระพุทธโฆสาจารย์จึงกล่าวว่า๑-
    มรรคญาณแม้ทั้ง ๔ ออกจากนิมิต เพราะ
    มีพระนิพพานอันไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์, และย่อม
    ออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยได้ขาด ฉะนั้น
    จึงชื่อว่าทุภโตวุฏฐานะ คือออกโดยส่วนทั้งสอง ดังนี้.
    ____________________________
    ๑- ปัญญานิทเทสแห่งวิสุทธิมรรค.

    ธรรมชาติใดย่อมขวนขวาย ย่อมเพ่งเล็งพระนิพพาน, หรือพระโยคีบุคคลผู้ต้องการพระนิพพาน ย่อมขวนขวายคือย่อมแสวงหา, หรือว่าธรรมชาติใดยังกิเลสทั้งหลายให้ตายไป เป็นไปอยู่ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่ามรรค, ญาณในมรรคนั้น ชื่อว่า มคฺเค ญาณํ - มรรคญาณ.
    มรรคญาณท่านทำเป็นเอกวจนะโดยชาติศัพท์.
    ก็มรรคญาณนั้นเกิดขึ้น ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ต่อจากโคตรภูญาณ, ตัดกิเลสอันจะพึงฆ่าได้เองโดยไม่มีส่วนเหลือ, เผาผลาญห้วงสมุทรคือทุกข์ในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วให้เหือดแห้งไป, ปิดประตูอบายทั้งปวงเสีย, กระทำอริยทรัพย์ ๗ ให้ปรากฏอยู่ต่อหน้า, ละมิจฉามรรคประกอบด้วยองค์ ๘, ทำเวรภัยทั้งปวงให้สงบ, นำตนเข้าสู่ความเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    *ขอมอบองค์ความรู้นี้เป็นธรรมทานและวิทยาทาน*

    ฝันก็คือการนอนหลับไปแล้วจึงฝัน

    แต่นิมิตภาคปาฎิหาริย์ ก็คือนิมิต การรู้ การทำให้รู้แจ้งขึ้น โดยการปราถนาเอง หรือมีผู้มีฤทธิ์บันดาล เป็นต้น (อุคคหนิมิต(อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกําหนดจนแม่นใจ หรือเพ่งดูจนติดตา)
    ไม่เกี่ยวกับการนอนหลับฝัน
    คนละเรื่องกัน

    การฝันก็ยังแยกออกไปอีกหลายแขนง

    ฝันที่มิสติควบคุมตนเองได้รู้ตนเองว่าฝันอยู่มีความรู้สึกนึกคิด

    หรือ ฝันที่ไม่สามารถควบคุมได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวประกอบ อาจเป็นตัวเอกก็ได้
    เป็นต้น ต่างจากนี้ยังมีอีก



    (พระอรหันต์ย่อมไม่ฝัน)

    *ความ ฝัน มัน เป็น แบบ นี้ จึงไม่ถือเป็นนิมิต*
    ผู้ที่จะแยกแยะได้จะต้อง ผ่านความฝันมาทุกแบบ?
    เป็นผู้ระลึกชาติได้
    เป็นผู้ได้รับนิมิตจากผู้มีฤทธิ์บันดาล
    เป็นผู้เข้าถึงนิมิตด้วยการเจริญภาวนา
    และเป็นผู้เข้าถึงวิมุตติ

    เมื่อแยกแยะได้ก็จะไม่มีความผิดเพี้ยน
    หรือทึกทักเอาอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า จึงชัดเจนเชื่อถือได้


    ฝันที่บังคับตนเองต่อให้เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร ก็ตีบทแตก ไม่แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง เพราะรู้ว่าฝันอยู่ตื่นอยู่
    กับ
    ฝันที่บังคับตนเองต่อให้เนื้อเรื่องเป็นอย่างไร ก็ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง โดยไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและต้องแสดงไปตามเนื้อเรื่อง ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง แม้จะรู้ว่าฝันอยู่ตื่นอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและต้องแสดงไปตามเนื้อเรื่อง ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง โดยไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและไปแสดงออกนอกเนื้อเรื่อง ตีบทไม่แตก แสดงไม่รู้เรื่องเพราะจำบทในสคริปไม่ได้ แม้จะรู้ว่าฝันอยู่ตื่นอยู่
    กับ
    ฝันที่ไม่สามารถบังคับตนเองและต้องแสดงไปตามเนื้อเรื่อง ตีบทแตก แสดงไปตามบทในสคริปของเรื่อง โดยไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่

    ฯลฯ เป็นต้น
    ถ้าไม่รู้ตรงนี้ก็เป็นเพียงฝันกลางวันแสกๆเท่านั้น

    http://palungjit.org/threads/ยังฝันอยู่เหมือนกัน-เพราะยังไม่พ้น.628617/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2017
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บุรุษผู้ปรารถนาจะโดดข้ามแม้น้ำน้อยขึ้นไป
    ยืนอยู่บนฝั่งโน้น จึงจับเชือกหรือท่อนไม้ ที่ติดอยู่
    กับต้นไม้บนฝั่งนี้ แล้วโดดข้ามไปโดยเร็ว จนตัวไป
    ตกอยู่บนฝั่งโน้น เมื่อตัวตกที่ฝั่งโน้นแล้วก็ละความ
    หวาดหวั่นนั้น ยืนอยู่บนฝั่งได้ฉันใด,

    พระโยคีบุคคลผู้ปรารถนาจะข้ามพ้นกิเลสทั้ง
    หลายเห็นภัยฝั่งนี้ล้วนแล้วด้วยสักกายทิฏฐิ แล้วยืน
    อยู่ที่ฝั่งคือพระนิพพานอันไม่มีภัย จึงจับเชือกคือรูป-
    ขันธ์เป็นที่ยึดโดดมาโดยเร็วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา
    เป็นเบื้องแรก หรือจับไม้กล่าวคือนามขันธ์นั้นไว้ด้วย
    ดี กระโดดมาด้วยอาวัชชนจิตโดยนัยตามที่กล่าวแล้ว
    ในก่อน โดดขึ้นด้วยอนุโลมญาณ แล้วโน้มไปในพระ
    นิพพาน เข้าไปสู่ที่ใกล้แห่งพระนิพพานนั้น ก็ปล่อย
    อารมณ์คือสังขารธรรมนั้นเสียได้ด้วยโคตรภูญาณ
    แล้วตกลงที่ฝั่งอื่นคือพระนิพพานอันเป็นอสังขตธรรม
    แต่นั้นก็ตั้งอยู่ด้วยมรรคญาณฉันนั้น.

    นระผู้ใคร่จะดูพระจันทร์ ในเวลาที่พระจันทร์
    ถูกเมฆหมอกบดบังไว้ ครั้นเมื่อเมฆหมอกถูกพายุพัด
    ไปตามลำดับ จากหนาทึบเป็นบางและบางเข้าก็เห็น
    พระจันทร์ได้ฉันใด.

    โคตรภูญาณที่กำลังเพ่งอมตนิพพานอยู่ เมื่อ
    โมหะที่ปกปิดสัจจะไว้ถูกทำลายให้พินาศไปด้วย
    อนุโลมญาณตามลำดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน อนุโลม-
    ญาณก็มิได้เห็นอมตนิพพาน เหมือนลมเหล่านั้นก็
    มิได้เห็นพระจันทร์ โคตรภูญาณก็บรรเทาความมืด
    ไม่ได้ เหมือนบุรุษก็บรรเทาเมฆหมอกไม่ได้ฉะนั้น.

    แต่มรรคญาณนี้เป็นไปในพระนิพพาน มิได้ละ
    สัญญาอันโคตรภูญาณให้แล้ว จึงทำลายกองกิเลสมี
    กองโลภะเป็นต้นได้ เหมือนจักรยนต์ที่ใช้เป็นเป้า
    กำลังหมุนอยู่ นายขมังธนูยืนจ้องจะยิงอยู่แล้ว พอ
    สัญญาอันคนอื่นให้แล้ว ก็ยิงลูกศรไปทะลุแผ่นเป้า
    ได้ตั้ง ๑๐๐ ฉะนั้น.

    มรรคญาณนั้นนั่นแลทำทะเลหลวงคือสังสาร-
    ทุกข์ให้เหือดแห้งไป ปิดประตูทุคติเสียได้ ทำคน
    ที่มีหนี้คือกิเลสให้เป็นเสฏฐบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
    อริยทรัพย์ ละมิจฉามรรคเสียได้. ทำเวรและภัยทั้ง
    หลายให้สงบ, ทำตนให้เป็นลูกผู้เกิดแต่อกแห่งพระ
    พุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก, ญาณนี้ย่อมให้ซึ่ง
    อานิสงส์อื่นๆ อีกหลายร้อยอย่าง.
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ซวยแล้วสาวกวัดนา ใครที่เป็นสาวกอยู่ก็ขอเสียใจด้วย ใครออกมาแล้วก็ขออนุโมทนาฯ


    ไม่ได้ไม่เอาญาน ๑๖ และวิปัสนาญาน ๙ แล้วจะนิพพานได้ยังไง ไม่มีรอยต่อ ไม่มีความเจริญใดๆเลย โอ๊ สัทธรรมปฎิรูป โมฆะบุรุษ ปริยัติงูพิษเอย

    ว่าด้วยวิมุตติญาณ
    คำว่า ฉินฺนวฏุมานุปสฺสเน ปญฺญา แปลว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสอันอริยมรรคตัดขาดแล้ว.
    ความว่า ปัญญาในการเห็นภายหลังซึ่งอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดขาดแล้ว.
    คำว่า วิมุตฺติญาณํ เป็นวิมุตติญาณ ความว่า ญาณในวิมุตติ.
    คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่ จิตบริสุทธิหลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลาย, หรือความที่จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว, ญาณคือความรู้ในวิมุตตินั้น ชื่อว่าวิมุตติญาณ.
    ท่านกล่าวอธิบายการพิจารณากิเลสที่ละแล้วด้วยญาณนี้ว่า พระอริยบุคคลเมื่อพิจารณาความสืบต่อแห่งจิตที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้วก็ดี ซึ่งความหลุดพ้นจากกิเลสก็ดี เว้นกิเลสเสียก็พิจารณาไม่ได้ดังนี้.
    ก็คำว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ แปลว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้วดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาวิมุตติญาณนี้นั่นแล.
    ส่วนการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ แม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็พึงถือเอาว่าเป็นอันกล่าวแล้วด้วยวิมุตติญาณนี้แล.
    และท่านกล่าวไว้ว่า
    แม้กล่าวในเอกธรรม ก็เป็นอันกล่าวทั้งหมด
    เพราะสภาวธรรมนั้นมีลักษณะเป็นอันเดียวกัน,
    นี้เป็นลักษณะ เป็นหาระ ดังนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าเป็นอันกล่าวถึงการพิจารณากิเลสที่ละแล้วซึ่งพระอริยบุคคล ๔ จะพึงได้ เพราะพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่.

    บ้านธัมมะเห็นความสำคัญของปฎิสัมภิทาญาน แม้จะยังไม่รู้เห็นสภาวะของพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ดั้งเดิมอย่างเราก็ตาม แต่ก็เป็นผู้เจริญในธรรมมาก

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    คำว่า วิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้น ซึ่งความหลุดพ้นก็มีหลายระดับ มี 5 อย่างดังนี้ครับ

    1.วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส นิวรณ์ ด้วยการข่มไว้ ด้วยกำลังของฌาน คือ สมถภาวนา

    2.ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นจาก ธรรมที่เป็นข้าศึกในขณะนั้น เช่น การได้วิปัสสนาญาณบางวิปัสสนา สามารถละ หลุดพ้นจากความสำคัญว่าเที่ยง เป็นต้น


    สองอย่างแรกระดับพระอริยะที่ยังไม่บรรลุอรหัตผล อยู่ในระดับโลกียญาน
    3.สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสที่ตัดขาดแล้ว อันหมายถึง ขณะที่เป็นมรรคจิต

    4.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ หลุดพ้นแล้วสงบ ด้วยอำนาจที่กิเลสสงบแล้ว หลังจากการละกิเลส คือ ขณะที่เป็นสามัญญผล 4 เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น

    5.นิสสรณวิมุตติ หมายถึง พระนิพพาน หลุดพ้นคือเพราะปราศจากคือ เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งปวง

    ซึ่งสำหรับคำว่า การเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ จึงมุ่งหมายถึง ถึงวิมุตติอันสูงสุด คือ อรหัตตผลจิต ที่สงบจากกิเลสทั้งปวงแล้ว เพราะดับกิเลสหมด จึงหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงไม่เหลืออีก ด้วยความหลุดพ้นนั้น นี่คือ การเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ

    ส่วน คำว่า การเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

    ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจคำว่า วิมุตติญาณทัสสนะ คือ ปัญญาที่รู้แจ้งว่าหลุดพ้นแล้วจากกิเลส โดยตรง คือปัจจเวกขณญาณ ของพระอริยบุคคล สูงสุดคือของพระอรหันต์ ดังนั้น คำว่า การเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ คือ กล่าวโดยนัยสูงสุด คือ ปัญญาของพระอรหันต์ที่พิจารณาถึงกิเลสที่ได้ละแล้วหมด ไม่เหลืออีกนั่นเองครับ

    วิมุตติ จึงมุ่งหมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสแล้ว ที่เป็นอรหัตตผลจิต เป็นต้น ส่วนวิมุตติญาณทัสสนะ มุ่งหมายถึง ปัญญาที่เกิดหลังจาก อรหัตตผลจิตเกิด พิจารณาว่ากิเลสทั้งปวงละได้แล้ว ไม่เหลืออีกครับ วิมุตติ เป็นโลกกุตตระ เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ส่วน วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นโลกียะครับ

    ผู้ที่จะถึงพร้อมด้วยวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะ คือ ผู้ที่มีปัญญาถึงความเป็นพระอรหันต์แล้วนั่นเองครับ ขออนุโมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...