สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คำว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น มีความว่า พระเสขะ ๗ จำพวก เรียกว่า
    เป็นผู้ประพฤติหลีกเร้น พระอรหันต์เรียกว่าผู้หลีกเร้น. พระเสขะ ๗ จำพวก เรียกว่าผู้ประพฤติ
    หลีกเร้น เพราะเหตุอะไร? พระเสขะเหล่านั้น ผู้ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิด
    กั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้นๆ ย่อมประพฤติอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนิน
    ไป ให้อัตภาพดำเนินไป ผู้ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิด กั้น ข่ม ห้าม รักษา
    คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้นๆ ในจักษุทวาร ประพฤติอยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป
    ให้อัตภาพดำเนินไป ผู้ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิด กั้น ข่ม ห้าม รักษา
    คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้นๆ ในโสตทวาร ... ในฆานทวาร ... ในชิวหาทวาร ... ในกายทวาร ...
    ผู้ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิด กั้น ข่ม ห้าม รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพ
    ดำเนินไป เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหดหู่งอ ไม่คลี่ออก ฉะนั้น.
    เพราะเหตุนั้น พระเสขะ ๗ จำพวก จึงเรียกว่า เป็นผู้ประพฤติหลีกเร้น คำว่า ของภิกษุ คือ
    ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือของภิกษุผู้เป็นพระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของภิกษุ
    ผู้ประพฤติหลีกเร้น.
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    " ปฎิสัมภิทามรรค "เป็นธรรมที่ยากไม่ใช่ของง่าย เมื่อไม่สามารถเข้าถึง ก็ไม่ใช่ฐานะที่จะสามารถจับต้องเนื้อหาสาระ สงเคราะห์ธรรมได้เลย

    ฉนั้นการเรียนรู้ที่เห็นตามกันมา จึงไปเน้นทางการตีความพระสูตรที่แปลไว้แล้วเพียงฝ่ายเดียว


    การที่จะนำมาถ่ายทอดให้เข้าใจหากไม่เห็นจริง รู้จริง

    นั้นยากจริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระมหาโกฏฐิตเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔


    พระมหาโกฏฐิตะ เป็นบุตรพราหมณ์ชื่ออัสสลายนะกับพราหมณีชื่อจันทวดี ในเมือง
    สาวัตถี เดิมชื่อว่า “โกฎฐตะ” ตระกูลของท่านจัดว่าอยู่ในระดับมหาเศรษฐี ท่านจึงได้รับการ
    เลี้ยงดูอย่างดี แต่บิดาของท่านมีทิฏฐิแรงกล้ายึดมั่นในลัทธิศาสนาพราหมณ์อย่างมั่นคง เมื่อท่าน
    เจริญวัยได้ศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิศาสนาพราหมณ์จบไตรเพท
    เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เที่ยวจาริกเผยแผ่หลักธรรมคำสอนไปตามคามนิคมต่างๆ
    ทั้งในเมืองและชนบท ได้เสด็จถึงหมู่บ้านที่อัสสลายนพราหมณ์ตั้งนิวาสสถานอยู่ ได้ทรมาน
    อัสสลายนพราหมณ์ จนละทิฏฐิมานะ และแสดงตนเป็นพุทธมามกะปวารณาตนเป็นอุบาสก ขอ
    ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
    • ทิ้งพราหมณ์ถือพุทธ
      โกฏฐิตมาณพ เห็นบิดาหันมายอมรับนับถือพระรัตนตรัยก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นบ้าง
      ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ยิงเกิดศรัทธามากขึ้น ถึงกับมีจิตน้อมไปในการออกบวชเพื่อปฏิบัติ
      ตามพระธรรมวินัย จึงกราบทูลขอบวชต่อพระบรมศาสดาพระพุทธองค์ทรงมอบหมายให้
      พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ให้พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นพระอาจารย์ ในขณะที่ท่าน
      กำลังโกนผมอยู่นั้นท่านได้พิจารณาในกรรมฐานไปเรื่อย ๆ พอผลัดเปลี่ยนผ้าสาฎกของคฤหัสถ์
      ออกแล้วนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
      ในขณะนั้น พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิชชา ๓ และวิโมกข์ ๓
      พระมหาโกฏฐิตะ นั้น แม้ท่านจะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ท่านก็ยังมีปกติฝักใฝ่ใน
      การศึกษา ไม่ว่าท่านจะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาหรือเข้าไปหาพระเถระรูปอื่น ๆ ท่านก็มักจะถาม
      ปัญหาในปฏิสัมภิทาอยู่เสมอ ๆ จนมีความเชี่ยวชาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาเป็นพิเศษ มีเรื่อง
      ปรากฏในมหาเวทัลลสูตรมัชฌิมนิกายว่า
      เป็นผู้แตกฉานเพราชอบถามปัญหา
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์
      พระมหาโกฏฐิตเถระ ได้ขอโอกาสกราบเรียนถามข้อข้องใจกับพระสารีบุตรเถระผู้เป็นพระ
      อุปัชฌาย์ว่า”
      “ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ คนเช่นไร ที่เรียกว่าคนทุปัญญา ขอรับ ?”
      “ดูก่อนมหาโกฏฐิติ คนทุปัญญา ก็คือ คนไม่มีปัญญา”
      “เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า คนไม่มีปัญญา ขอรับ ?”
      “คนไม่มีปัญญา ก็คือคนไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้ทำให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้เป็น
      ความดับทุกข์ และสิ่งนี้เป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์ ส่วนคนอีกพวกหนึ่งที่รู้ความจริงเหล่านี้
      ท่านเรียกว่า คนมีปัญญา”
      พระมหาโกฏฐิตเถระ ได้กราบเรียนถามต่อไปว่า:-
      “ข้าแต่พระอุปัชฌาย์ ที่เรียกว่า วิญญาณ นั้น หมายความว่าอย่างไร ขอรับ ?”
      “ดูก่อนมหาโกฏฐิติ ที่เรียกว่า วิญญาณ นั้น ก็เพราะรู้สึกสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์
      บ้าง”
      “ท่านขอรับ ปัญญากับวิญญาณนี้ รวมกันหรือแยกกัน ขอรับ ?”
      “ดูก่อนมหาโกฏฐิติ ปัญญากับวิญญาณนี้ อยู่รวมกัน ไม่อาจแยกกันได้กล่าวคือ บุคคล
      รู้ในสิ่งใดก็รู้สึกในสิ่งนั้น บุคคลรู้สึกในสิ่งใดก็รู้สิ่งนั้นเป็นต้น”
      พระเถระทั้งสองนั้น ได้สนทนาธรรมในข้อสงสัยต่าง ๆ กันต่อไป พอสมควรแก่กาล
      เวลาแล้ว พระมหาโกฏฐิตเถระ ได้กล่าวแสดงความชื่นชม ยินดีในปรีชาความรู้ของพระ
      อุปัชฌาย์ (พระสารีบุตรเถระ) แล้วจึงกราบลากลับสู่ที่พักของตน
      ด้วยเหตุแห่งการฝักใฝ่ในการศึกษา จนเป็นผู้เชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทาเป็นพิเศษนี้


    • พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔

    ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    ปฏิสัมภิทา ๔
    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ



    วิชชา ๓
    ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด
    ๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น


    วิโมกข์ ๓
    ๑. สุญญตวิโมกข์ ความพ้นโดยเป็นสภาพว่าง
    คือว่าจาก ราคะ โทสะ โมหะ
    ๒. อนิมิตรวิโมกข์ ความพ้นโดยหาเครื่องหมายมิได้เพราะ
    ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องหมาย
    ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นโดยหาที่ตั้งมิได้
    คือไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่ตั้ง
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    คึกฤทธิ์สอนสาวกสัตตานังว่าพระอรหันต์ยังฝันอยู่ แต่ไม่ฝันในเรื่องกามเรื่องเสพเมถุน มั่วเข้าไป





    เออ
    คึกฤทธิ์นี่มันแปลก ช่างชื่นชอบสร้างโจทย์โชว์โง่ มาให้แก้ทิฏฐิที่มันสั่งสอนมาผิดๆเป็นประจำ ไม่รู้ว่ามันเป็นบ้าอะไร? ต้องมิตฉัตตะ๑๐ เองยังไม่พอ ยังไปลากลูกศิษย์ให้ต้องถึงความฉิบหายไปด้วย

    พระอรหันต์ละทิฏฐิวิปัลลาสได้แล้วจึงไม่ฝัน


    ผิดตั้งแต่ติดกระดุมเม็ดแรกแล้ว


    เมื่อเกิดเรื่องราวฟ้องร้องในชั้นศาล ฝ่ายโจกท์ยกการทำลายพระไตรปิฏกอันเป็นเหตุต้นขึ้นสอบ ในข้ออื่นๆยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงเลย ย่อมหมดความชอบธรรมในการโต้แย้ง

    แพ้ยังไงก็แพ้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2017
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระอรหันต์ท่านที่ ๒ ที่เข้าสู่พระนิพพานกลางอากาศ อย่างพระพุทธอนุชาพระอานนท์มหาเถระเจ้า

    พระทัพพมัลลบุตรเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ

    พระทัพพมัลลบุตร เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช ในอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ
    มีพระนามเดิมว่า “ทัพพราชกุมาร” แต่เนื่องจากว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช จง
    นิยมเรียกกันว่า “ทัพพมัลลบุตร”
    • ประสูติบนเชิงตะกอนเหตุที่ท่านได้ชื่อว่า ทัพพะ ซึ่งแปลว่า ไม้ นั้นก็เพราะว่าในขณะที่พระมารดาของท่าน ตั้งครรภ์ใกล้จะประสูตร แต่ก็สวรรคตเสียก่อน บรรดาพระประยูรญาตจึงนำศพไปเผาบนเชิงตะกอน เมื่อไฟกำลังเผาไหม้ร่างของพระนางอยู่นั้นท้องได้แตกออก ทารกในครรภ์ได้ลอยมาตกลงบนกองไม้ใกล้ ๆ เชิงตะกอนนั้น และไม่ได้รับอันตรายใด ๆ เลย พวกเจ้าหน้าที่ได้อุ้มทารกนั้นมามอบให้พระอัยยิกา (ยาย) อาศัยเหตุการณ์นั้นจึงตั้งชื่อท่านว่า “ทัพพะ”

    • โกนผมเสร็จก็บรรลุอรหันต์ขณะที่พระบรมศาสดา ประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคม แคว้นมัลละแห่งนั้นพร้อมด้วยภิกษุพุทธสาวก ขณะนั้น ทัพพราชกุมาร มีพระชนมายุได้ ๗ พรรษาพระอัยยิกาได้พาไปเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรม พร้อมกับชาวเมืองทั้งหลาย ทัพพราชกุมารได้ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาค เกิดศรัทธาเลื่อมใสน้อมพระทัยไปในการออกบวช ได้กราบทูลลาพระอัยยิกา เพื่อขอบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอัยยิกาก็อนุโมทนาและรีบพามาสู่สำนักพระบรมศาสดาท่านได้ทราบถวายบังคมแล้วกราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์ทรงมอบให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้

    พระภิกษุผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนตจปัญจกกรรมฐานแก่ ทัพพราชกุมารแล้ว ในขณะ
    ที่กำลังทำการโกนผมอยู่นั้น ทัพพราชกุมาร ได้พิจารณากรรมฐานที่เรียนมา คือ ผม ขน เล็บ
    ฟัน และหนัง โดยลำดับ เมื่อจรดมีดโกนครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๒
    ได้บรรลุสกทาคามิผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล และเมื่อการโกนผมสิ้นสุดลง
    ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมมภิทา ๔ และอภิญญา ๖

    • ขอรับภารกิจของสงฆ์ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่อายุเพียง ๗ ขวบ ต่อมาท่านได้ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปจำพรรษาที่กรุราชคฤห์ แควนมคธ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่เพียงตามลำพัง ความคิดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ท่านว่า “เราอยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นกิเลสแล้ว สมควรที่จะช่วยรับภารกิจของสงฆ์ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมบ้าง” ดังนั้น เมื่อท่านมีโอกาสจึงเข้าเฝ้ากราบทูลความคิดของตนแก่พระบรมศาสดาพระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่ท่านแล้วทรงประกาศให้สงฆ์สมมติให้ท่านรับหน้าที่เป็น ภัตตุทเทสก์ คือมีหน้าที่แจกจ่ายภัตรี จัดพระภิกษุไปฉันในที่มีผู้นิมนต์ไว้ และเป็น เสนาสนคาหาปกะ คือ มีหน้าที่จัดเสนาสนะแจกจ่ายแก่พระภิกษุผู้มาจากต่างถิ่น ให้ได้พักอาศัยตามความเหมาะสม ท่านได้ทำหน้าที่นั้น ๆ ด้วยดีเสมอมาต่อมาพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าท่านมีอายุยังน้อยนัก แต่มารับภาระอันหนักซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของพระภิกษุมากกว่า ดังนั้น เพื่อให้ท่านปฏิบัติหน้าที่นี้ได้อย่างสะดวก พระพุทธองค์จึงทรงบวชให้ด้วยการยกท่านจากการเป็นสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในวันนั้น ด้วยพระดำรัสว่า “อชฺชโต ปฏฺฐาย ภิกฺขุ โหหิ” ซึ่งแปลว่า เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป การบวชด้วยวิธีนี้เรียกว่า “ทายัชชอุปสัมปทา” แปลว่า การรับเข้าหมู่โดยความเป็นทายาท ทั้งนี้เพราะพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ท่านมีคุณสมบัติสมควรที่จะเป็นพระภิกษุเพราะเป็นพระอรหันต์ และปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่าพระ (ในพระพุทธศาสนามีสามเณรที่ได้รับการบวชด้วย
      วิธีนี้ ๓ รูป คือ สารเณรสุมนะ, สามเณรโสปากะ และสามเณรทัพพะ)
    พระทัพพมัลลบุตร ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากพระพุทธองค์ อย่าง
    สมบูรณ์และเรียบร้อยด้วยดีทุกประการ กล่าวคือ:-
    ในด้านการจัดพระไปฉันในที่นิมนต์ (ภัตตุทเทสก์) ท่านจะคำนึงถึงวัยวุฒิและคุณวุฒิ
    ของพระที่จะร่วมไปด้วยกัน ทั้งพิจารณาถึงความรู้จักคุ้นเคยกับทายก อีกทั้งให้พระหมุนเวียน
    ผลัดเปลี่ยนกันไปตามวาระ และตามความเหมาะสมด้วย
    ในด้านการจัดเสนะสนะ (เสนาสนคาหาปกะ) ท่านจัดให้พระภิกษุผู้มีอุปนิสัย
    ความถนัด ความคิดเห็น และความรู้ที่คล้ายคลึงกันพักอยู่ด้วยกัน เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งกัน
    นอกจากนี้ยังจัดเสนาสนะให้ตามความประสงค์ของ ผู้มาพัก เช่น ต้องการพักในถ้ำหรือในกุฎี
    เป็นต้น ถ้าเป็นเวลาค่ำคืนท่านจะเข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานให้ปลายนิ้วของท่าน เป็นดุจแท่งเทียนส่องสว่าง นำทางพระอาคันตุกะไปสู่ที่พัก พร้อมทั้งแนะนำสถานที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ กันพระอาคันตุกะควรทราบ

    • ถูกภิกษุณีกล่าวหาว่าข่มขืนสมัยหนึ่ง มีพระบวชใหม่สองรูป ชื่อ “พระเมตติยะ กับพระภุมมชกะ” เป็นผู้มีบุญวาสนาน้อย เมื่อได้อาหารหรือเสนาสนะก็มักจะได้แต่ของชั้นเลวเสมอ วันหนึ่ง พระทัพพมัลลบุตร จัดให้ท่านไปฉันที่บ้านคหบดีผู้มีปกติถวายแต่ของชั้นดีแก่ภิกษุทั้งหลาย แต่วันนั้นคหบดีทราบว่าท่านทั้งสองมา จึงสั่งให้สาวใช้จัดอาหารชั้นเลวถวายท่าน คือทำอาหารด้วยปลายข้าวและน้ำผักดอง เสานาสนะก็จัดให้นั่งที่ซุ้มประตู มิให้เข้ามาในบ้าน ทำให้ท่านทั้งสองขัดเคืองใจแล้วคิดว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระทัพพมัลลบุตร กลั่นแกล้งวันหนึ่งมีนางภิกษุณีชื่อเมตติยามาหาท่าน จึงเล่าเรื่องความทุกข์ให้ฟังแล้วขอร้องให้นางกล่าวหาพระทัพพมัลลบุตร ว่าข่มขืนนาง เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค ขอให้ลงโทษพระเถระด้วยการให้ลาสิกขาออกไป
      พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสถามพระเถระว่า
      “ดูก่อนทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา ?”
      “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมายังไม่รู้จักการเสพเมถุน แม้แต่ใน
      ความฝันเลย จึงไม่จำต้องกล่าวถึงตอนตื่นอยู่ พระเจ้าข้า”
      พระพุทธองค์สดับแล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสึกนางภิกษุณีเมตติยา นั้น แต่
      พระเมตติยะกับพระภุมมชกะกราบทูลและสารภาพว่าทั้งหมดเป็นแผนการของตนทั้ง ๒ รูปพระผู้มีพระภาค ทรงปรารภเหตุนั้นจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า “ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่น
      แล้วแกล้งโจทก์ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส”

    • ได้ยกย่องทางจัดเสนาสนะท่านปฏิบัติหน้าที่ของท่านด้วยความเรียบร้อยด้วยดีทุกประการ เป็นที่พอใจและยอมรับของพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป แม้แต่ทายกทายิกา ก็ได้รับความพอใจโดยทั่วกัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้จัดเสนาสนะ

    • ท่านพระทัพพมัลลบุตรเถระ นิพพานที่เมืองราชคฤห์ โดยก่อนที่จะนิพพาน ท่านได้แสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปในอากาศ ทำสมาธิเข้าสมาบัติ เมื่อออกจากสมาบัติก็นิพพาน เตโชธาตุก็พลันเกิดขึ้นเผาสรีระของท่านจนไม่เหลือเศษแม้แต่เถ้าถ่าน ณ ท่ามกลางอากาศนั้น อันเป็นไปตามความประสงค์ของท่าน
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่ว่าจะกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ขณะพิจารณาธรรมอยู่นี้ เราก็จะพนมมือนบนอมกราบไหว้สาธุการ พระรัตนตรัยเป็นเสมอๆ

    ไม่ใช่สักแต่นั่งพิมพ์ไปใบลานเปล่า
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ความชื่นใจเพราะมีผู้ได้สดับรู้ตาม


    Seree Peunto


    อันที่จริงพระสาวกที่มาตรัสรู้ตามพระพุธเจ้า แต่ละองค์ ท่านได้สั่งสมมาแล้วได้ศึกษาพระไตรปิฎกมาเป้นแสนเป็นล้านครั้ง เป็นแสนเป็นล้านชาติ ได้ผ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆๆมาแล้ว แล้วธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ก็เป็นอันเดียวกัน ใครมาสอนก้เหมือนกัน แล้วพอพระอรหันต์ ทีท่านมีปฏิสัมภิทาญาณ ไม่จำเป็นต้องไปฝึกไปจำกับพระพุทธเจ้าอีก หรือไปท่องอีก มันเกิดอัตโนมัติ ยกตัวอย่างคนในกลุ่มเรา ศึกษาพระไตรปิฎก ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย มันสะสมไปแล้วตั้งแต่บัดนั้น เหลือแต่การบรรลุพระอรหันต์ จริงๆๆเท่านั้น ส่วนคำสอนหรือพุทธวัจจนะ สั่งสมมานานแล้ว ฉนั้น คำสาวกต้องฟังได้ เพราะเปนอันเดียวกันที่เกิดจากการบรรลุธรรรมตามพระพุทธเจ้า ไม่งั้นพระพุทธเจ้าต้องบัญัติบังคับแล้ว ไห้พระอรหันต์ทุกองค์ ต้องเรียนและท่องจำใหม่ ท่านเรียกพระอเสขะ ถ้าเขาเข้าใจแบบนี้ คำว่าไม่ไห้ฟังคำของพระสาวก จะไม่เกิดเลย คงไม่ได้มาเถียงกัน
    -------------------------------------------------------------------------------------------

    แต่ขอแก้ให้ไว้ที่ความละเอียดการสงเคราะห์รวบรวมหมวดหมู่ธรรมและข้ออื่นๆ อย่าลืมว่า ปฎิสัมภิทา นั้นมีถึง ๑๖ ระดับ

    การใช้คำว่าไม่จำเป็นต้องไปฝึกไปจำกับพระพุทธเจ้าอีก ข้อนี้ยังไม่สมบูรณ์ในฐานะพระธรรมบุตรทั้งหลายฯ แม้พระธรรมเสนาบดีก็ยังทูลถามเสมอๆ เพื่อให้ทรงตรัสแสดงธรรมตามเหตุ


    หากจะใช้ให้สมควร ก็บรรลุอรหัตผลแล้วข้อนั้นจึงควรปลีกวิเวกไปกระทำกิจให้สมบูรณ์ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา ได้อย่างไร ปฎิบัติอย่างไร ก็สอนอย่างนั้น อย่างเอตทัคคะพระธรรมกถึกพระปุณณมันตานีบุตรเถระนั้นแลฯจึงควร


    ไม่ว่าเขาจะไปได้องค์ความรู้นี้มาจากไหนก็ตาม

    ไม่อะไรที่น่ายินดีไปกว่าการที่มีผู้รู้ความจริงตามสัจจะธรรมนี้ มันเป็นความสุขของครูของผู้ถ่ายทอดธรรมทั้งหลายฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2017
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บันทึก วันที่ ๘ แรม ๕ ค่ำ


    ฝันยามสาย
    ตำหนิพระปลอม๑รูปเลยสวดเอง



    "ฝันว่าสวดส่งสัมภเวสี(เด็กหญิงวัยรุ่น)สองบรรทัด บรรทัดแรกด้วยฤทธิ์ด้วยเดช บรรทัดสองกำหนดภพภูมิ จนได้ไปเกิดเป็นมเหสีพระอินทร์บนตำหนัก พบพระอินทร์เขียวสวมชฏามงกุฏพักตร์งามนัก นั่งต้อนรับขับสู้ทั้งสององค์ "

    ฝันยามเย็น
    พระยามารกระทืบใจที่เมตตาไม่อยากให้มีเมตตาและทำดีช่วยบิดาผู้อดอยากด้วยน้ำและด้วยข้าวที่ตนสละ แม้อีกหลายภพชาติเขาจะแร้งแค้นตกยากลำบากแบบนี้ก็ตามแต่มันก็ไม่ยินดียินยอมให้เราช่วย จึงถล่มผืนธรณีแผ่นวงล้อธรรมจักรที่่เรายืนอยู่ (ในวงล้อธรรมจักร เราเป็นเพียงพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ที่เศียรหันหัวปักจมลงพระธรณี ที่กำลังจะหมดความอดทนอดกลั้นพยายามจะลอยฝ่าแผ่นดินขึ้นมาปกป้อง บิดาและแผ่นศิลาธรรมจักรนั้น)

    ความเมตตาสุดประมาณ แม้ร้องไห้ระทมปานใดมันก็ไร้เมตตา มารหนอมาร


    หรือเป็นสัญญานเตือนอะไรบางอย่าง?
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ยังมีหนังสือราชกิจจานุเบกษาเรื่อง พระราชทานกรรมสิทธิ์พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐให้แก่มหามกุฏราชวิทยาลัย อีก

    บอกตามตรง จบสิ้นแล้ว

    ย้อนไปดูวีดีโอข้างบนกลับลบทิ้งอ้าว ไม่แน่จริงนี่นา
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    ๓๖. อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณุทเทส
    ว่าด้วยสมสีสัฏฐญาณ คำว่า สพฺพธมฺมานํ - แห่งธรรมทั้งปวง. ความว่า แห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งปวง.
    คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ.
    ความว่า ในความดับด้วยดี ด้วยการตัดขาดสันตติด้วย.
    คำว่า นิโรเธ จ อนุปฏฺฐานตา - ในความดับด้วยในความไม่ปรากฏด้วย.
    ความว่า ดำเนินไปในนิโรธ ในความไม่ปรากฏอีก. อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้นอีก.
    จ อักษรต้องสัมพันธ์ควบกับ สมฺมาสมุจฺเฉเท จ - ในการตัดขาดด้วยดีด้วย, นิโรเธ จ - ในความดับด้วย, อนุปฏฺฐานตา จ - ในความไม่ปรากฏด้วย.
    คำว่า สมสีสฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถแห่งธรรมอันสงบและเป็นประธาน.
    ความว่า ธรรม ๓๗ ประการมีเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อสมะ - ธรรมอันสงบ, ธรรม ๑๓ ประการมีตัณหาเป็นต้น ชื่อสีสะ - ธรรมอันเป็นประธาน. ชื่อว่าสมะ เพราะปัจนิกธรรมทั้งหลายสงบ, ชื่อว่าสีสะ เพราะเป็นประธานตามสมควรแก่การประกอบและเพราะเป็นยอด.
    ธรรมอันสงบมีเนกขัมมะเป็นต้น และธรรมอันเป็นประธานมีสัทธาเป็นต้น ในอิริยาบถหนึ่งก็ดี ในโรคหนึ่งก็ดี ในชีวิตินทรีย์หนึ่ง ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาคก็ดี มีอยู่แก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่าสมสีสี ผู้มีธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน.
    อรรถะคือเนื้อความแห่งสมสีสี ชื่อว่าสมสีสัฏฐะ ในอรรถะแห่งสมสีสะนั้น, อธิบายว่า ในความเป็นสมสีสี.
    ความเป็นแห่งสมสีสีย่อมมีแก่พระอรหันต์เท่านั้นผู้ปรารภวิปัสสนาในอิริยาบถหนึ่ง หรือในโรคหนึ่ง หรือในชีวิต ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาค แล้วบรรลุมรรค ๔ ผล ๔ ในอิริยาบถนั้นนั่นเอง หรือในโรค ในชีวิต ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาค ปรินิพพานอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ญาณในความเป็นแห่งสมสีสีดังนี้.

    สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปุคคลบัญญัติปกรณ์และอรรถกถาแห่งปกรณ์ว่า
    ก็บุคคลชื่อว่าสมสีสี เป็นไฉน? การสิ้นไป
    แห่งอาสวะและการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคลใด
    มีไม่ก่อนไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียกว่า สมสีสี.๑-

    ____________________________
    ๑- อภิ. ปุ เล่ม ๓๖/ข้อ ๓๒

    พึงทราบวินิจฉัยในสมสีสีนิทเทสดังต่อไปนี้
    คำว่า อปุพฺพํ อจริมํ - ไม่ก่อน ไม่หลัง.
    ความว่า ไม่ใช่ในภายหน้า ไม่ใช่ในภายหลัง คือ ในคราวเดียวกันด้วยสามารถแห่งปัจจุบันสันตติ. อธิบายว่า ในคราวเดียวกันนั่นเอง.
    คำว่า ปริยาทานํ - การประหาณ ได้แก่การสิ้นไปรอบ.
    คำว่า อยํ - บุคคลนี้ ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อว่าสมสีสี.
    ก็สมสีสี บุคคลนี้นั้นมีอยู่ ๓ จำพวก คืออิริยาปถสมสีสี ๑, โรคสมสีสี ๑, ชีวิตสมสีสี ๑.
    บรรดาสมสีสีบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนั้น บุคคลใดกำลังจงกรมอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังจงกรมอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน, บุคคลใดกำลังยืนอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังยืนอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน, บุคคลใดกำลังนั่งอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังนั่งอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน บุคคลนี้ชื่อว่าอิริยาปถสมสีสี.
    ส่วนบุคคลใดเกิดโรคอย่างหนึ่งแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาในภายในโรคนั่นเองแล้วบรรลุพระอรหัต แล้วปรินิพพานไปด้วยโรคนั้นนั่นแหละ, บุคคลนี้ชื่อว่าโรคสมสีสี
    .
    บุคคล ชื่อว่า ชีวิตสมสีสี เป็นไฉน?
    ศีรษะมี ๑๓.#- บรรดา ศีรษะเหล่านั้น อรหัตมรรคย่อมครอบงำอวิชชาอันเป็นกิเลสสีสะ, จุติจิตย่อมครอบงำชีวิตินทรีย์อันเป็นปวัตตสีสะ, จิตที่ครอบงำอวิชชา ครอบงำชีวิตินทรีย์ไม่ได้. จิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์ก็ครอบงำอวิชชาไม่ได้.
    จิตที่ครอบงำอวิชชาเป็นอย่างหนึ่ง และจิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง. ก็ทั้ง ๒ ศีรษะนี้ของบุคคลใดย่อมถึงซึ่งการครอบงำพร้อมกัน บุคคลนั้นชื่อว่าชีวิตสมสีสี.
    ____________________________
    #- ตัณหา, มานะ, ทิฏฐิ, อุทธัจจะ, อวิชชา, สัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา, ชีวิตินทรีย์, วิโมกข์ นิโรธะ.

    ศีรษะทั้ง ๒ นี้จะมีพร้อมกันได้อย่างไร? มีได้เพราะพร้อมกันโดยวาระ. อธิบายว่า การออกจากมรรคมีในวาระใด.
    พระอริยบุคคลตั้งอยู่ในปัจจเวกขณญาณ ๑๙ คือ
    ในโสดาปัตติมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๕,
    ในสกทาคามิมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๕,
    ในอนาคามิมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๕,
    ในอรหัตมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๔,

    แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ จึงปรินิพพาน.
    การครอบงำศีรษะทั้ง ๒ ชื่อว่าย่อมมีพร้อมกันได้ เพราะพร้อมกันโดยวาระนี้นั่นเอง เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ ท่านจึงเรียกว่าชีวิตสมสีสี.
    ก็ชีวิตสมสีสีบุคคลนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วในที่นี้.




    อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค๗. สมสีสกถา



    อรรถกถาสมสีสกถา
    บัดนี้เพื่อแสดงความที่สมสีสะ (ดับกิเลสพร้อมกับชีวิต) สงเคราะห์เข้าในอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นปาฏิหาริย์เบื้องต้น ในลำดับแห่งปาฏิหาริยกถา ว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวสมสีสกถา (สมธรรม ความสงบ สีสธรรม ธรรมส่วนสำคัญ) ไว้ แม้ท่านชี้แจงไว้แล้วในญาณกถา ด้วยสัมพันธ์กับอิทธิปาฏิหาริย์อีก.
    การพรรณนาความสมสีสกถานั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถานั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
    จบอรรถกถาสมสีสกถา

    ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัว อย่างมิให้ถูกตำหนิได้ ฯ? รู้ก่อนล่วงหน้า

    เป็นพระอรหันต์ เป็นสมสีสี แล้วปรินิพพาน ? เป็นอันไหนก่อนหลัง หรือเป็นพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลัง ระบุไม่ชัด

    คตินิมิตที่ไป ที่ไหนจะปรากฎแก่ผู้มิใช่และเข้าถึงพระอริยะ มีแต่พระอริยะเจ้าเท่านันถึงจะรู้จักคติที่ไปของท่านเองและสัตว์เหล่าอื่น ? ถูกหรือไม่!

    ไม่เป็นพระอริยะมาก่อน ไล่ตามลำดับจะเข้าถึงอรหัตผลแล้วนิพพานได้อย่างไร?

    ถ้าปุถุชน มีมรรคผลรันแบบพริบตาเดียวก่อนตายจาก ในโสดาปัตติมรรค ในสกทาคามิมรรค ในอนาคามิมรรค ในอรหัตมรรค ก็ควรระบุไปเลยว่า

    ท่านฉันนะเป็นพระภิกษุที่เลิศที่สุดที่ฆ่าตัวตายแล้วได้บรรลุธรรมไปด้วย

    ก็เลยมีการฆ่าตัวตายตามอย่างนี้ไง? ฆ่าแล้วจะบรรลุธรรมในทันที

    ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ พระภิกษุฆ่าตัวตายใช้ให้เขาฆ่าก็ดีตามพระสูตรต่อมา ว่าไงทีนี้ จะเอาสมสีสี กันสนั่น
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สรุปว่าเคลียร์ชัดเจน ทั้งพระฉันนะทราบคติตนเองก่อน (คาดว่าน่าจะแปลผิด เพราะไม่ทราบสภาวะ และพระสูตรที่ขัด)
    และกรณี พระอริยะ ฆ่าตัวตายได้หรือไม่ ตอบว่าได้ เพราะบุพกรรมเก่าส่งเสริม


    ดูกรอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพึงกระทำกาละ มิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำกาละแล้ว เธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส(แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


    [พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามภิกษุฆ่ากัน เพราะทรงเห็นกรรมเก่า]
    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้?
    แก้ว่า ได้ยินว่า ในครั้งดึกดำบรรพ์ นายพรานเนื้อประมาณ ๕๐๐ คน เอาท่อนไม้และข่ายเครื่องจับสัตว์เป็นอันมาก ล้อมป่าไว้พากันหัวเราะรื่นเริง รวมเป็นพวกเดียวกันนั่นแล สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยกรรมคือการฆ่าเนื้อและนก จนตลอดชีวิต แล้วเกิดในนรก. พรานเนื้อเหล่านั้นหมกไหม้ในนรกนั้นแล้ว เกิดในหมู่มนุษย์ เพราะกุศลกรรมบางอย่างที่ตนทำไว้แล้วในหนหลังนั่นแล จึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจแห่งอุปนิสัยแห่งกรรมอันงาม. อปราปรเจตนาของพรานเนื้อเหล่านั้นที่ยังไม่ได้เผล็ดผล เพราะอกุศลกรรมที่เป็นรากเหง้านั้น ได้กระทำโอกาสเพื่อเข้าไปตัดรอนชีวิตเสียด้วยความพยายามของตนเอง และด้วยพยายามของผู้อื่น ในภายในกึ่งเดือนนั้น.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นความขาดไปแห่งชีวิตนั้นแล้ว. ขึ้นชื่อว่ากรรมวิบากใครๆ ไม่สามารถจะห้ามได้. ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนก็มี เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและพระขีณาสพก็มี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระขีณาสพไม่มีการถือปฏิสนธิ พระอริยสาวกทั้งหลายนอกนี้เป็นผู้มีคติแน่นอน คือมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คติของพวกภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชน ไม่แน่นอน.



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (4).jpg
      images (4).jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.9 KB
      เปิดดู:
      41
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    นาทีที่ 2:17-3:00 คึกฤทธิ์หลอกเหล่าสาวกว่า พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เป็นคำแต่งใหม่

    แต่ที่จริงมีมาก่อน คึกฤทธิ์นั้นเกิดนับ 3,000 ปี


    อภิธรรมสังคีติบรรยายของพระสารีบุตร

    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4501&Z=7015

    คัมภีร์สำคัญของนิกายโกศะ

    แนวคำสอนของนิกายโกศะอิงกับคัมภีร์อภิธรรมโกศ ของโพิธิสัตว์วสุพันธุ ชาวเมืองปุรุษปุระ และเป็นน้องของโพธิสัตว์อสังคะ คัมภีร์นี้ได้รับการแปลเป็นภาษาจีนโดยพระปรมารถะในศตวรรษที่ 6 ต่อมาได้รับการแปลอีกครั้งโดยพระเสวียนจั้ง สมัยราชวงศ์ถัง

    ทั้งนี้ เนื่องจากนิกายโกศะสาบสูญไปนานกว่าพันปี ข้อมูลที่หลงเหลือถึงเราในยุคปัจจุบันจึงน้อยนิดยิ่ง ยกเว้นเพียงคัมภีร์หลักและปกรณ์วิเศษของนิกายที่ยังศึกษากันอยู่ในหมู่คณะปริยัติของนิกายหลักๆ และยังสามารถอนุมานได้จากข้อมูลของนิกายสรวาสติวาท ซึ่งสืบทอดโดยนิกายโกศะ มีคัมภีร์หลายเล่มจัดอยู่ในหมวดพระอภิธรรมปิฎก อันเป็นหมวดสุดท้ายในพระไตรปิฎก ในบรรดาคัมภีร์เหล่านั้น มีคัมภีร์หลักอยู่เล่มหนึ่ง กับคัมภีร์รองอีก 6 เล่ม ตามลำดับดังนี้

    1. อภิธรรมชญานปรัสถานศาสตร์ (發智論) รจนาโดยพระกาตยานีปุตร เป็นคัมภีร์หลัก

    2. ส่วนคัมภีร์รองทั้ง 6 เรียกว่า "ฉตปาท" หรือ อภิธรรมสัตปาทศาสตร์ (六分阿毘達磨) หรืออภิธรรม 6 ปกรณ์ มีดังนี้

    2.1 ธรรมสกันธปาทศาสตร์ (法蘊論) รจนาโดยพระโมคคัลลานะ สมัยพุทธกาล จำนวน 20 ผูก แปลเป็นจีนโดยพระเสวียนจั้ง (玄奘)

    2.2 สังคีติปริยายศาสตร์ (集異門論) รจนาโดยพระสารีบุตร สมัยพุทธกาล บ้างก็ว่า พระมหาเกาษฐิละ (摩訶拘絺羅) รจนา จำนวน 20 ผูก แปลเป็นจีนโดยพระเสวียนจั้ง (玄奘)

    2.3 วิชญานกายปาทศาสตร์ (識身論) รจนาโดยพระเทวะสรรมัน (提婆設摩造/天寂) แต่งขึ้นหลังพุทธกาล 100 ปี จำนวน 16 ผูก แปลเป็นจีนโดยพระเสวียนจั้ง (玄奘)

    2.4 ปรัชญาปติปาทศาสตร์ (施設論) รจนาโดยพระกาตยายนะ แต่งหลังพุทธกาลราว 400 กว่าปี บ้างก็ว่าพระโมคัลลานะ รจนา ไม่มีแปลเป็นภาษาจีน

    2.5 ธาตุกายปาทศาสตร์ (界身足論) รจนาโดยพระวสุมิตร (世友) บ้างก็ว่าพระปุรณะ (富樓那) รจนา แต่งขึ้นหลังพุทธกาลประมาณ 300 – 400 ปี จำนวน 3 ผูก แปลเป็นจีนโดยพระเสวียนจั้ง (玄奘)

    2.6 อภิธรรมปกรณ์ปาทศาสตร์ (品類足論) รจนาโดยพระวสุมิตร (世友) แต่งขึ้นหลังพุทธกาลประมาณ 300 – 400 ปี จำนวน 18 ผูก แปลเป็นจีนโดยพระเสวียนจั้ง (玄奘)

    นอกจากคัมภีร์เหล่านี้แล้ว ยังมีคัมภีร์มหาวิภาษาศาสตร์ (大毘婆沙論 ) ซึ่งรจนาโดยพระอรหันต์ทั้ง 500 รูปและถือเป็นอรรถกถาของคัมภีร์ชญานปรัสถานศาสตร์ ของท่านกาตยายนะ

    ในปีค.ศ. 563 ท่านปรมารถะ ชาวอินเดีย แปลศาสตร์ของท่านวสุพันธุเป็นภาษาจีน ต่อมาในปี 654 ในสมัยราชวงศ์ถัง พระเสวียนจั้ง แปลอีกฉบับหนึ่งโดยมีเนื้อหาใจความสมบูรณ์กว่า เรียกว่า อภิธรรมมหาวิภาษาศาสตร์ (阿毗達磨大毗婆沙論) ภายหลังศิษย์ของท่านคือได้รจนาอรรถกาสำหรับศาสตร์นี้ รวมถึงคณาจารย์อื่นๆ ในยุคต่อมาด้วย

    ภาพ - คัมภีร์มหาวิภาษาศาสตร์ (大毘婆沙論 ) ฉบับแปลโดยพระถังซำจั๋ง ปัจจุบันเป็นสมบัติของชาติญี่ปุ่น


    จารึกพระอภิธรรม
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกพระอภิธรรม พุทธศตวรรษที่ ๒๐
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๕๗ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๒๒ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินดินดาน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยม
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๗๑ ซม. สูง ๖๗ ซม. หนา ๕.๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. ๑๙”
    ๒) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “จารึกพระอภิธรรม พุทธศตวรรษที่ ๒๐”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ริมแม่น้ำโจน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
    ผู้พบ กองโบราณคดี กรมศิลปากร
    ปัจจุบันอยู่ที่ หอพระสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), ๒๘๔-๒๙๘.
    ประวัติ ศิลาจารึกพระอภิธรรม มีผู้อ่านไว้แล้วเป็นบางส่วนที่ยังไม่จบบริบูรณ์ เพราะบางตอนศิลาจารึกชำรุดและลบเลือนมาก แต่ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย ฉะนั้นการอ่านใหม่ครั้งนี้ ได้ค้นหาคำจารึกจากตำราบาลีต่างๆ ที่เป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเท่าที่คิดว่าน่าจะมี ก็ได้พบว่า คำจารึกในศิลาจารึกพระอภิธรรม มีตรงกันกับข้อความเริ่มต้นของพระอภิธรรมปิฎกธรรมสังคณี พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่มที่ ๕๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ ภาค ๑ ฉบับอนุสรณ์งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พุทธศักราช ๒๕๐๐ จึงได้นำข้อความที่ชำรุดหักหายไปใส่เป็นเครื่องหมายวงเล็บไว้ในการอ่านการ แปลครั้งนี้ด้วย
    เนื้อหาโดยสังเขป เป็นที่น่าสังเกตว่า การจารึกเป็นบรรทัดของศิลาจารึกพระอภิธรรม มีการตีกรอบเป็น ๒ ชั้น กรอบชั้นใน ใจกลางของด้านที่ ๑ จารึกบทมหาปัฏฐานของพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ กรอบชั้นนอกจารึกพระธรรมสังคณีล้อมรอบบทมหาปัฏฐาน โดยเริ่มต้นบทพระธรรมสังคณีที่บรรทัดในสุดของกรอบชั้นนอก ซึ่งติดกับบทมหาปัฏฐาน แล้วเดินบรรทัดเป็นรูป ๔ เหลี่ยม ตามกรอบชั้นในเมื่อครบ ๔ ด้านของกรอบก็ถือว่าเป็น ๑ บรรทัด ฉะนั้นการเขียนคำอ่านในจารึกนี้ แต่ละบรรทัดจะใส่ ก. ข. ค. และ ง. ไว้เพื่อพิจารณาคำอ่านตามด้านทั้ง ๔ ของกรอบ ข้อความของบทพระธรรมสังคณีในด้านที่ ๑ ยังไม่จบ จึงมีต่อในด้านที่สอง แต่ด้านที่สองนี้ มีการจารึกธรรมดาคือ จากบรรทัดบนลงล่าง ส่วนคำจารึกตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ ถึงกลางบรรทัดที่ ๑๔ มีข้อความซ้ำกันกับตอนกลางบรรทัดที่ ๑๐ จนจบของด้านที่ ๑ คือ ตั้งแต่ “สญฺโชนสมฺปยุตฺตา ฯลฯ โน จ สญฺโชนา” จากลักษณะของการจารึกเป็นกรอบโดยนำบทพระธรรมสังคณีห่อหุ้มเป็นกรอบล้อมรอบพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ บทมหาปัฏฐาน เข้าใจว่าผู้จารึกคงจะแฝงไว้ด้วยความหมายอันลึกซึ้งเกี่ยวกับเนื้อความของอภิธรรม หรือที่เรียกกันว่า แฝงไว้ด้วยปรัชญาธรรม บทมหาปัฏฐานเป็นบทที่กล่าวถึงเหตุ บทธรรมสังคณีกล่าวถึงผลที่มาจากเหตุ ฉะนั้นผู้จารึกจึงถือเอาเหตุเป็นบทสำคัญ ผลจะดีหรือชั่ว อยู่ที่เหตุ เป็นการอธิบายขยายความบทพระพุทธพจน์ “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต เตสญฺจโย นิโรโธจ เอวํ วาทีมหาสมโณ” นั้นเอง บทมหาปัฏฐาณอยู่ด้านในใจกลางของกรอบจารึก บทธรรมสังคณีห่อหุ้มไว้เป็นกรอบนอกเพราะผู้จารึกเห็นความสำคัญของเหตุ ประหนึ่งผู้เห็นเพชรเม็ดล้ำค่า จึงเอาผ้าหรือวัสดุอื่นห่อหุ้มถือประคับคองไว้เป็นอย่างดี เพราะกลัวตกหล่นจะได้รับความเสียหาย
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๐
    ข้อมูลอ้างอิง เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๖, จาก :
    ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกพระอภิธรรม พุทธศตวรรษที่ ๒๐,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), ๒๘๔-๒๙๘.

    ชื่อจารึก จารึกคาถาหัวใจพระพุทธคุณ
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ขอมสุโขทัย
    ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒ บรรทัด
    วัตถุจารึก ทองคำ
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. ๕๕”
    ๒) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกคาถาหัวใจพระพุทธคุณ”
    ปีที่พบจารึก วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒
    สถานที่พบ จังหวัดสุโขทัย
    ผู้พบ นายสมพงษ์ และนางบุญมี พรหมวิภา
    ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๕๐-๕๒.
    ประวัติ จารึกคาถาหัวใจพระพุทธคุณนี้ เป็นจารึกแผ่นทองคำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามบันทึกหลักฐานของศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ กล่าวว่า นายสมพงษ์ และนางบุญมี พรหมวิภา เจ้าของร้านขายยาพรหมวิภา ตลาดสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ จารึกข้อความไว้เป็นหัวใจคาถาต่างๆ ได้แก่ หัวใจพระพุทธคุณ หัวใจพระอภิธรรม และหัวใจพระวินัย หัวใจคาถา คือ อักษรย่อของคาถา นิยมใช้อักษรตัวแรกของคำในคาถาแต่ละบท หรือแต่ละวรรค ซึ่งคัดอักษรแต่ละตัวนั้นมาเรียงต่อกันตามลำดับ โดยไม่เป็นรูปศัพท์ในภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ถือกันว่ามีข้อความและความหมายครบถ้วน ตามจำนวนคำในคาถาบทนั้นๆ อีกนัยหนึ่ง หัวใจคาถา หมายถึง เป็นเครื่องกำหนดความจำเพื่อเป็นอุปการะต่อการสวดสาธยายบทมนต์ต่างๆ
    เนื้อหาโดยสังเขป เป็นคาถาหัวใจพระพุทธคุณ คาถาหัวใจพระอภิธรรม และหัวใจพระวินัย
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๐
    ข้อมูลอ้างอิง เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๔๖, จาก :
    ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกคาถาหัวใจพระพุทธคุณ,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), ๕๐-๕๒.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...