สู่เส้นทางปลดชนวน-ภัยนิวเคลียร์เขย่าโลก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 10 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    สู่เส้นทางปลดชนวน-ภัย'นิวเคลียร์'เขย่าโลก

    สู่เส้นทางปลดชนวน ภัย"นิวเคลียร์"เขย่าโลก

    คอลัมน์ สกู๊ปพิเศษ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    ฮันส์ บลิกซ์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ภัยคุกคาม "ความมั่นคง" ของโลกยุคปัจจุบัน

    นอกเหนือจากลัทธิก่อการร้ายแล้ว ย่อมต้องมีภัยนิวเคลียร์ รวมอยู่ด้วย

    ในเวทีการประชุมนานาชาติต่างๆ "เกาหลีเหนือ" กับ "อิหร่าน" ตกเป็น 2 เป้าหลักการหารือ

    สำหรับเกาหลีเหนือ สถานการณ์พัฒนาไปไกลถึงขั้นเตรียมทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน

    ส่วนอิหร่าน กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาเทคโนโลยีเสริมสมรรถภาพแร่ยูเรเนียมและพลูโตเนียม เพื่อป้อนเตาปฏิกรณ์

    จุดร่วมของทั้ง 2 ชาตินี้ก็คือ ถูกรัฐบาลมหาอำนาจ "สหรัฐอเมริกา" ขึ้นบัญชีเป็นรัฐอันธพาล คอยไล่ขย่มเช้าขย่มเย็น กดดันให้ยุติโครงการนิวเคลียร์ทั้งหมด

    นอกจากนั้น สหรัฐยังใช้มาตรการการทูต "ล็อบบี้" โน้มน้าวให้สหประชาชาติอนุมัติแผน "แซงก์ชั่น" คว่ำบาตรทั้ง 2 ประเทศ

    บุคคลที่มีมุมมองน่าสนใจในวงจรแห่งความขัดแย้งในเรื่องนี้ ได้แก่ นายฮันส์ บลิกซ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานปรมาณูสากล (ไอเออีเอ) และเป็นประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    ในทรรศนะของบลิกซ์ มองว่า "การข่มขู่" ไม่ใช่ทางออกปลดชนวนวิกฤตนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ-อิหร่าน

    หนทางสู่สันติภาพอย่างยั่งยืน ควรเริ่มต้นจากการนั่งลงเจรจาร่วมกันอีกครั้ง

    ชาติมหาอำนาจต้องเข้ามามีบทบาทอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา

    บลิกซ์ เสนอว่า แทนที่จะมัวแต่ข่มขู่

    กลุ่มหาอำนาจควรเสนอ "เงื่อนไข-ผลประโยชน์" ที่เหมาะสมและดีพอสำหรับฝ่ายเจ้าของเทคโนโลยีนิวเคลียร์น้องใหม่

    อาทิ เปิดสายสัมพันธ์ทางการทูตกลับมาอีกครั้ง รวมทั้งให้ความมั่นใจด้านความมั่นคงกับเกาหลีเหนือและอิหร่านว่าชาติมหาอำนาจจะไม่คิดบุกรุกราน เหมือนเช่นที่เคยกระทำกับอิรัก

    นโยบายไล่กดดันชาติใหม่ๆ ที่คิดสะสมนิวเคลียร์อย่างเกาหลีเหนือ จะยิ่งส่งผลกระทบทางลบ กลายเป็นปฏิกิริยาเร่งให้ชาติเหล่านี้ต้องรีบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ให้เสร็จโดยเร็วที่สุด

    ผลกระทบแบบ "ลูกโซ่" ที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ "ประเทศเพื่อนบ้าน" ของทั้งเกาหลีเหนือและอิหร่าน ก็ต้องขวนขวายหานิวเคลียร์มาครอบครองบ้างเช่นกัน



    บลิกซ์ ระบุว่า ความจริงปัญหาโครงการนิวเคลียร์เกาหลีเหนือน่าจะยุติไปนานแล้วตั้งแต่ปี 2535 เมื่อครั้งเกาหลีเหนือตกลงทำข้อตกลงกับเกาหลีใต้หลายประการ

    แต่ถัดมาเพียง 1 ปี รัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของเกาหลีใต้ กลับสั่งลงโทษทางการค้าต่อเกาหลีเหนือฐานผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้เกาหลีเหนือล้มเลิกข้อตกลงทั้งหมด

    ล่าสุด "เวทีประชุม 6 ฝ่าย" ซึ่ง 6 ประเทศร่วมจัดตั้งขึ้นมาหวังปลดชนวนวิกฤตนิวเคลียร์เกาหลีเหนือก็ต้องชะงักงัน เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนไม่ประนีประนอม

    หันกลับมามองอิหร่านบ้าง...

    แนวทางที่สหภาพยุโรป (อียู) พยายามใช้แก้ปัญหานิวเคลียร์อิหร่านถือว่าน่าสนใจ แต่สหรัฐไม่ใส่ใจ

    นั่นคือ การเสนอผลประโยชน์เพื่อดึงให้อิหร่านพัฒนาเฉพาะ "นิวเคลียร์เพื่อสันติ" เท่านั้น

    อาทิ อียูพร้อมสนับสนุนเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อสันติแก่อิหร่าน และให้การช่วยเหลือด้านการเงิน การค้า ผลักดันเข้าสู่เวทีองค์การการค้าระหว่างประเทศ

    ท้ายที่สุด บลิกซ์เชื่อมั่นว่า หนทางแก้ปัญหาสงครามนิวเคลียร์อย่างถาวรก็คือ

    ชาติมหาอำนาจทั้งหลายต้องประพฤติตนเป็น "ตัวอย่างที่ดี" ละ-ลด-เลิกสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ถ้าเห็นแก่ความผาสุกของโลกอย่างแท้จริง!


    ที่มา:ข่าวสด
    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03for30101049&day=2006/10/10
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,981
    8 ต.ค. 2533
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    "สงครามโลกไม่ได้เกิดกับประเทศไทยโดยตรง แต่เกิดขึ้นนอกเขตของไทย"

    "รังสีของวิทยาศาสตร์ รัศมีต่างๆ ไม่ต้องวิตกกังวล, ขอยืนยันว่า บุคคลที่นับถือพระพุทธเจ้า จะไม่ตายเพราะรังสีต่างๆ"


    http://www.palungjit.org/buddhism/audio/showthread.php?t=121
     
  3. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,981
    แซวครูอีกแล้วนะ นักเรียน
    เด๋วก้อส่งพยาบาลสุดโหดคนนี้ไปจัดการซะเลย 55
    [b-nurse]
     
  4. surad

    surad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    387
    ค่าพลัง:
    +1,287
    สงครามนิวเคลียร์
     
  5. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    ฮี่โธ่...........

    ไปเจรจากับใครไม่เจรจา ไปเจรจากับคนวิกลจริต
    จะรีบทำอะไรก็รีบทำ อย่าไปหวังเจรจากับคนบ้าทั้งสองประเทศนั่นแหละ
     
  6. คุณ 4

    คุณ 4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +5,159
    จริง ๆ เหมือนจริง ๆ เหมือนที่น้องพงษ์สิทธิ์ว่า
    ยิ่งรูปตอนที่ไป present เหมือนอาจารย์กำลังสอนหนังสือเลย 555+++

    แต่ร้องเพลงเพราะนะคับ (verygood)
     
  7. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>มีกี่ชาติในโลกที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในมือ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 ตุลาคม 2549 06:14 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>โฉมหน้าของ "ทรีนิตี" ระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกที่ถูกนำมาทดลองเป็นครั้งแรกในโลก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ถามตอบรอบโลกวันนี้อาสามาไขข้อข้องใจให้แก่คุณแว่น ซึ่งเฝ้าจับตาการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิดเมื่อวันจันทร์ (9) ที่ผ่านมา แล้วเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า มีกี่ประเทศแล้วบนโลกนี้ที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

    เท่าที่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ ชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองจนถึงวันนี้มีทั้งสิ้น 8 ชาติแล้ว ได้แก่ สหรัฐฯ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ โดยสิ่งที่ทำให้ทราบได้ว่าชาติเหล่านี้มีอาวุธนิวเคลียร์ ก็คือ การประกาศทดลองอาวุธอย่างเปิดเผย นั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้อง ด้วยเพราะยังมีบางชาติที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีอาวุธนิวเคลียร์อยู่แต่ยังไม่ยอมรับและยังไม่เคยประกาศทดลองอาวุธอย่างเปิดเผย เช่น อิสราเอล ซึ่งเป็นพันธมิตรอันแนบแน่นกับสหรัฐฯ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีชาติที่ก่ำกึ่งว่าอาจจะมีแล้ว หรือหากยังไม่มีก็กำลังอยู่ในช่วงของพัฒนา เช่น อิหร่าน เป็นต้น

    ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า อิสราเอลน่าจะมีอาวุธนิวเคลียร์ที่สามารถติดหัวรบได้อยู่ในราว 75 - 200 เลยทีเดียว ซึ่งมากกว่าชาติที่ประกาศตัวว่ามีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในมือแล้วอย่างอินเดีย ปากีสถาน หรืออย่างเกาหลีเหนือ เสียอีก โดยจากการสำรวจพบว่า อินเดียน่าจะมีอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งสามารถติดหัวรบได้ประมาณ 75 -115 ลูก ขณะที่ปากีสถานมีอยู่ประมาณ 65 - 90 ลูก ส่วนเกาหลีเหนือน่าจะมีประมาณ 0 - 10 ลูก

    สำหรับชาติที่เริ่มพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เป็นชาติแรกในโลกก็หาใช่ใครอื่น นอกเสียจากจะเป็นมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ นั่นเอง สหรัฐฯ คือ ชาติแรกที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นชาติแรกที่ทำการทดลอง นอกจากนี้ ยังเป็นชาติเดียวในโลกที่เคยใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการศึกด้วย ชาติมหาอำนาจแห่งนี้เริ่มทดลองนิวเคลียร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 1945 โดยอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรกที่ถูกนำมาทดสอบมีชื่อว่า "ทรีนิตี"

    สหรัฐฯ ถือเป็นชาติที่ทำการทดลองนิวเคลียร์มากที่สุดในโลกโดยจากการจดบันทึกของเจ้าหน้าที่ระบุว่าได้ทำการทดลองไปแล้ว 1,054 ครั้ง ขณะที่รัสเซียซึ่งตามมาเป็นอันดับที่ 2 นั้นทดลองไปทั้งสิ้น 715 ครั้ง ทั้งนี้ การทดลองของทั้ง 2 ชาติโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงยุคสงครามเย็น


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>Ref. http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000126586</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,385
    ค่าพลัง:
    +22,310
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=540 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=323 colSpan=2><!--Top Montage with link descriptions-->[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=124 rowSpan=2><!--Amex Logo-->[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=93 rowSpan=2><!--kids | home button -->[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=121><!--Television Program-->[​IMG]</TD><TD vAlign=top width=202><!--empty cell-->[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=121><!-- links and bottom pic--><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=121 border=0><TBODY><TR><TD width=121>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=121>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=121></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width=419 colSpan=3>[​IMG]
    [FONT=HELVETICA, ARIAL][SIZE=+1]Nuclear Weapons Test Map[/SIZE][/FONT]


    • Since 1945 there have been a total of 2,057 known nuclear tests worldwide. The United States and the former Soviet Union conducted the majority of these with the U.S. performing 1,030 tests from 1945 - 1992 and the Soviet Union carrying out 715 between 1949 and 1990. In 1963 both the Soviet Union and the United States signed the Limited Test Ban Treaty which prohibited nuclear weapons tests in the atmosphere, in outer space, and underwater. Additionally, the treaty banned underground tests that would cause "radioactive debris to be present outside the territorial limits of the State under whose jurisdiction or control" the explosions were conducted.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=542 border=0><TBODY><TR><TD width=542 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=95>[​IMG]</TD><TD width=447>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    1. Alaska (US) -- 3 Tests
    2. Johnston Island (US) -- 12 tests
    3. Christmas Island (UK & US) -- 30 tests
    4. Malden Island (UK) -- 3 tests
    5. Fangataufa Atoll (France) -- 12 tests
    6. Mururoa Atoll (France) -- 175 tests
    7. Nevada (US) -- 935 tests
    8. Colorado (US) -- 2 tests
    9. New Mexico (US) -- 2 tests
    10. Mississippi (US) -- 2 tests
    11. South Atlantic Ocean (US) -- 12 tests
    12. Algeria (France) -- 17 tests
    13. Russia (USSR) -- 214 tests (many at Novaya and Zemlya)
    14. Ukraine (USSR) -- 2 tests
    15. Kazakhstan (USSR) -- 496 tests
    16. Uzbekistan (USSR) -- 2 tests
    17. Turkmenistan (USSR) -- 1 test
    18. Pakistan (Pakistan) -- 2 tests
    19. India (India) -- 4 tests
    20. Lop Nur (China) -- 41 tests
    21. Marshall Islands (US) -- 66 tests
    22. Australia (UK) -- 12 tests
    In September, 1996 the United Nations General Assembly voted to adopt the Comprehensive Nuclear Test Ban Treaty, which prohibits all "nuclear weapons test explosions and all other nuclear explosions." As of September 1998, 150 nations had signed the treaty, and 21 nations had ratified it. Notable exceptions are India and Pakistan, both of which conducted nuclear tests in May, 1998.


    http://www.pbs.org/wgbh/amex/bomb/maps/index.html

    .
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เมื่อวานนี้ดูข่าว CNN ครับมีการให้ข้อมูลที่น่าตกใจอย่างยิ่งว่าอเมริกาสะสม ขีปณาวุธนิวเคลียร์ไว้เอง เป็นจำนวน 200,000 ลูก (สองแสนลูก) ครับ ฟังแล้วเสียดายเงินครับ เอาค่าขีปณาวุธไปใช้พัฒนาประเทศโลกที่สาม ได้ทั้งโลกเลย

    ส่วนการปลดชนวนระเบิดนิวเคลียร์นั้น ผมคิดว่าชาวอเมริกันต้องช่วยกันเลือก อัลกอร์เป็นประธานาธิบดีสมัยหน้าครับ โลกถึงจะมีสิทธิ์รอด แต่ไม่รู้ว่าจะทันรึเปล่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...