หนังสือชุดใหม่ของ-มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย-ดำเนินการพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย trilakbooks, 2 ตุลาคม 2017.

  1. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    e_1480639.jpg

    ชุดหนังสือ อรรถกถาภาษาไทย

    โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ

    ในราคามูลนิธิ 20,000 บาท (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย)

    จำนวน ทั้งชุด 55 เล่ม // บรรจุหนังสือ จำนวน 4 กล่อง

    --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---

    ดำเนินการจัดส่ง โดย

    "ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์"

    --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---
    สามารถโทรสอบถามการจัดส่งได้ที่เบอร์
    086-4618505 หรือ 087-6967771

    LINE : trilak_uli
    --- --- --- --- --- --- ---
    แผนที่สำหรับเดินทาง มาด้วยตนเอง ที่
    https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2

    --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---

    คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย

    ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เรียกเป็นภาษาบาลี "มหาจุฬาเตปิฎก"

    มีทั้งหมด 45 เล่ม แบ่งเป็น 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก 8 เล่ม ได้แก่

    เล่ม 1-8 พระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม ได้แก่เล่ม 9-33

    และพระอภิธรรมปิฎก 12 เล่ม ได้แก่ 34 - 45 เล่ม

    แต่ละปิฎกและแต่ละเล่มมีคัมภีร์อรรถกถา คือหนังสือคู่มือการศึกษา

    พระไตรปิฎกที่โบราณจารย์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นต้นมา

    ได้รจนา ขึ้น เพื่ออธิบายความหมายของคำศัพท์ที่เข้าใจยาก

    และความหมายของวลี ประโยค หรือข้อความที่มีนัยสลับซับซ้อน อาจทำให้เข้าใจผิด

    และแปลความหมายผิดไปจากพระพุทธประสงค์ในบริบทนั้นๆ ได้


    คัมภีร์อรรถกถาเท่าที่ได้พบในขณะนี้ มีมากกว่า 50 เล่ม บางเล่ม มีอายุมากกว่า

    2000 ปี เดิมโบราณาจารย์ ของไทยนำต้นฉบับที่เป็นอักษรเทวนาครีของอินเดียบ้าง

    อักษรสีหลของศรีลังกาบ้าง อักษรพม่าบ้าง มาปริวรรต เป็นอักษรขอมและจาริกลง

    ในใบลาน ต่อมาได้ปริวรรตจากอักษรขอมเป็นอักษรไทย และจัดพิมพ์

    เป็นหนังสือครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2462 สถาบันที่รักษาและสืบทอดอรรถกถาภาษาบาลี

    อักษรไทย มาได้แก่ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

    (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย)

    e_1480612.jpg

    เมื่อกาลเวลาผ่านไป คัมภีร์อรรถกถาเหล่านั้น บางส่วนก็ได้ขาดคราวไป

    และที่เหลือบางส่วนก็ได้ชำรุด ด้วยเพราะเหตุกระดาษหมดอายุการใช้งานไป

    และเนื่องจากการพิมพ์มาช้านาน และอีกหลายประการ ยกเว้นบางคัมภีร์ ที่ทางคณะสงฆ์

    ใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษาภาษาบาลี ซึ่งมีการจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เรื่อยๆ เช่น

    คัมภีร์ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก นายพร รัตนสุวรรณ

    อาจารย์ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน

    และสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ ได้เห็นความสำคัญของคัมภีร์อรรถกถา เพราะใช้เป็นเครื่องมือ

    ค้นคว้าหาความรู้ในพระไตรปิฎกอยู่สม่ำเสมอ และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะ

    จัดพิมพ์คัมภีร์อรรถกถาทั้งที่ขาดคราวและชำรุดขึ้นมาใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่

    ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกต่อไป จึงได้ปรึกษากับผู้ทรงความรู้ในภาษาบาลี

    ทั้งฝ่ายมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และฝ่ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    e_1480640.jpg

    เมื่อมีความเห็นตรงกัน จึงขออนุมัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่งตั้ง

    คณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งให้ทำหน้าที่ตรวจชำระสอบทานอรรถกถา

    เหล่านั้นกับต้นฉบับของพม่า มีการจัดหัวข้อและวรรคตรงกับพระไตรปิฎก

    ภาษาบาลีฉบับ "มหาจุฬาเตปิฎกํ" เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้า

    พระไตรปิฎกฉบับดังกล่าว เมื่อตรวจชำระเสร็จแล้วได้จัดพิมพ์ในนาม

    ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    โดยใช้ชื่อว่า "มหาจุฬาอฏฐกถา" ปรากฏว่า คัมภีร์อรรถกถาเหล่านั้น

    เป็นอุปกรณสำคัญช่วยให้การแปลพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    สำเร็จลงด้วยดี และอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกของนิสิต

    มหาวิทยาลัยและพระภิกษุสงฆ์ทั่วไปได้จริง. นายพร รัตนสุวรรณ

    และคณะกรรมการตรวจชำระคัมภีร์อรรถกถา จึงมีศรัทธาและกำลังใจเพิ่มขึ้น

    ได้ตรวจชำระคัมภีร์อรรถกถาที่เหลืออยู่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังจัดหาคัมภีร์ อรรถกถา คัมภีร์ฏีกา

    พร้อมทั้งปกรณ์วิเสส หรือสัททาวิเสสอักษรพม่า ฉบับฉัฏฐสังคายนามาปริวรรต เป็นอักษรไทย

    แล้วจัดพิมพ์เผยแพร่ในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เช่นเดียวกัน

    คัมภีร์เหล่านี้ ล้วนเป็นสมบัติล้ำคาของมหาวิทยาลัยของชาติ และของพระพุทธศาสนา

    มหาวิทยาลัยจึงขออนุโมทนา ณ ที่นี้ด้วย

    --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---

    collage365.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...