หลวงปู่มั่น..แนะนำศิษย์ที่เป็นไข้ป่าในการพิจารณาทุกขเวทนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 17 มิถุนายน 2015.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    [​IMG]


    แนะนำศิษย์ที่เป็นไข้ป่าในการพิจารณาทุกขเวทนา


    กลางวันวันหนึ่ง มีพระเป็นไข้มาลาเรียในวัดนั้น
    วันนั้นปรากฏว่าไข้เริ่มหนักแต่เช้า เจ้าตัวก็ไม่ไปบิณฑบาตและไม่ฉันจังหันด้วย
    พระที่ป่วยต่อสู้กับทุกขเวทนาด้วยการพิจารณาแต่เช้าจนบ่าย ๓ โมงไข้จึงสร่าง
    ตอนกลางวันที่ท่านกำลังพิจารณาอยู่ ปรากฏว่ากำลังเรี่ยวแรงอ่อนเพลียมาก
    ท่านเลยเพ่งจิตให้อยู่กับจุดใดจุดหนึ่งของทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบหนัก
    โดยไม่คิดทดสอบแยกแยะเวทนาด้วยปัญญาแต่อย่างใด
    พอดีเวลานั้นเป็นเวลาที่ท่านอาจารย์ท่านพิจารณาดูพระองค์นั้น
    กำลังปฏิบัติอยู่อย่างชัดเจน แล้วย้อนจิตกลับมาตามเดิม

    พอบ่าย ๔ โมง ท่านที่ป่วยมาหาท่านอาจารย์พอดี
    ท่านก็ตั้งปัญหาถามขึ้นทันที โดยพระนั้นไม่ทราบสาเหตุบ้างเลยว่า


    ทำไมท่านจึงพิจารณาอย่างนั้นเล่า?
    การเพ่งจิตจ้องอยู่ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะ กาย เวทนา จิต ให้รู้เรื่องของกันและกัน
    ท่านจะทราบความจริงของกาย ของเวทนา ของจิตได้อย่างไร
    แบบท่านเพ่งจ้องอยู่นั้นมันเป็นแบบฤๅษี แบบหมากัดกัน
    ไม่ใช่แบบพระผู้ต้องการทราบความจริงในธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น ต่อไปอย่าทำอย่างนั้น
    มันผิดทางที่จะให้รู้ให้เห็นความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต

    ตอนกลางวันผมได้พิจารณาดูท่านแล้วว่า ท่านจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง
    กับทุกขเวทนาที่กำลังแสดงอยู่ในเวลาเป็นไข้
    พอดีไปเห็นท่านกำลังเพ่งจิตจ่ออยู่กับเวทนาเฉย ๆ ไม่ใช้สติปัญญาคลี่คลายดูกาย ดูเวทนา ดูจิตบ้างเลย
    พอเป็นทางให้สงบและถอดถอนทุกขเวทนาในเวลานั้น เพื่อไข้จะได้สงบลงดังนี้


    ประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอนที่ ๑๐
    โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-12-index.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 มิถุนายน 2015
  2. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  3. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    เคยได้อ่านมา บางทีเป็นการเพ่งเวทนาแบบไม่ใช่วิปัสสนา แต่มันจะถูกหรือเปล่า ที่สอนกันอย่างนั้น

    คือเค้าว่า เค้าสอนกันว่า เมื่อเจ็บคือมีเวทนาแก่กาย ให้เพ่งไปที่ที่เจ็บสลับกับที่กลางทรวงอก แล้วมันจะหมุน (อะไรหมุนไม่ทราบ) แล้วเวทนาทางกายนั้นจะดับไป คือเจตนา จะช่วยคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยกระมั้ง ไม่ได้สอนเพื่อทำสมถะวิปัสสนา อย่างนี้ แต่ว่าสมควรทำเพื่อดับทุกขเวทนานั้นๆ ได้ไหมครับ แต่คนสอนเค้าไม่ได้สอนวิปัสสนา

    ท่าน จขกท พอทราบไหมว่า มันถูกต้องไหม ถ้าอาจารย์ชื่อนั่น อาจารย์ชื่อนี่ จะสอนชาวบ้านให้ดับทุกขเวทนาเป็นครั้งๆ ไป ครับ
     
  4. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ถามความเห็นผม ก็ขอตอบกว้างๆละกันครับ
    - ก็คงถูกของเขา ถ้าเจตนาเพื่อดับเวทนา แล้วดับได้จริง ,
    - แต่ถ้าเพื่อมรรคผล ทำถูกต้องจริงต้องแก้ความเห็นผิดว่าขันธ์5 เป็นเราได้ ความเห็นผมก็ประมานนั้นครับ
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ก็ต้องไปดูตัวเองก่อนนะ ว่าทำสมาธิได้หรือยัง เข้าสมาธิได้หรือยัง ถึงจะได้วิปัสสนาตามที่หลวงปู่มั่นเทศน์สอน

    และที่หลวงปู่มั่นเทศน์สอนพระรูปนั้น ถูกต้องแล้วครับ

    เพราะการสอนของหลวงปุ่มั่นนั้น เป็นการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อมรรคผลนิพพาน

    แต่การที่พระรูปนั้น เพ่งส่วนนึงในร่างกายเฉยๆ เพื่อให้ระงับความเจ็บป่วย โดยไม่คิดทดสอบแยกแยะเวทนา มันผิดทางที่จะให้รู้ให้เห็นความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต นั้นเอง

    ดังนั้น แนะนำศิษย์ ที่หลวงปู่มั่นสอน ถูกต้องแล้วนั้นเองครับ

    .


    ส่วนเรื่องที่คุณถามนั้น มันเป็นการใช้ กำลังจิต ในการระงับร่างกายที่ป่วย ให้หายไปครับ คนละแนวทาง ดับการเจ็บป่วย ไม่ใช่การปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อมรรคผลนิพพาน
    มีหลายวิธีการ แล้วแต่บุคคล บางคนใช้แค่กำลังสมาธิ เพ่งไปจุดๆ ก็หายเพราะเราไปเพ่ง เพราะใช้กำลังจิตก็มี เรื่องพวกนี้มันพื้นๆ ถ้าคนทำไม่เป็นก็อาจจะเห็นแปลกประหลาดใจโน้นนี้

    มันเจ็บมันป๋วยที่ไหน ก็ป่วยที่ร่างกาย ร่างกายมันเป็นสัญญาวิญญาณส่งไปให้จิตมันรับรู้ว่าเจ็บ ว่าป่วย จิตกับกายมันแยกจากกัน พอเราไปเพ่งๆเข้าไปตัดอารมณ์สัญญาวิญญาณความเจ็บป่วย เหลือแค่ อารมณ์เพ่ง พอจิตมันไม่รับอารมณ์ร่างกาย มันก็เลยไม่รู้สึกว่าเจ็บ ก็เลยหายไป ก็ส่วนนึง

    ถ้าไม่เข้าใจ ก็ยกตัวอย่างง่ายๆ คนเรานะ เวลานั่งดูหนัง นั่งกินข้าว นั่งเล่นคอมนี้ ไม่เจ็บไม่อะไรเลย นั่งได้ยาวๆไม่ค่อยรู้สึกอะไร แต่พอให้ไปนั่งสมาธิไม่ถึง 5นาที หรือดีๆหน่อยไม่ถึง 1 - 2ชม.+ ก็ทนไม่ได้ เจ็บป่วยโน้นนี้ เข้ามา ^^ นั่งไม่ได้จะตายให้ได้

    ลองทดสอบดูด้วยตัวเองได้เลย นั่งดูหนังนั่งเล่นเกมเล่นเน็ตเล่นคอมงี้ นั่งทน นั่งได้นานๆ 555+ นั่งจนเป็นตะคิว จนขาชาเป็นเหน็บชา นี่ ไม่รู้สึก พอเลิกเล่นเลือกดูหนังค่อยออกอาการ ก็เพราะว่าเอาจิตไปจดจ่ออยู่กับการดูหนัง การเล่นคอม ต่างๆนาๆ นั้นเอง ไปเพ่งอารมณ์อื่น มันก็เลยไม่เสวยอารมณ์ร่างกาย พอเลิกเพ่งอารมณ์อื่น เลิกรับรู้อารมณ์อื่น ก็เลยออกอาการ


    ก็ต้องไปถามตัวเองดูนะ ว่าต้องการอะไร ต้องการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน

    หรือแค่ต้องการปฏิบัติ ใช้แค่เพ่ง ให้หายเจ็บป่วย



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2015
  6. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ตอนเด็กไม่มีใครสอนนะครับ เป็นเณรก็ทำตามแบบทั่วไป ส่วนรายละเอียดไม่มีอาจารย์บอกครับ ก็มารู้ตอนโต ก็รู้สึกว่าเคยทั้งมั่ว ทั้งถูก

    แบบหนึ่ง ผมนั่งพองหนอ ยุบหนอ ขัดเพชร พยายามนั่งให้ได้สามชั่วโมง ใจจริงจะเอาหกชั่วโมง แต่ว่าสูงสุดตอนนั้นได้สามชั่วโมง

    นั่งไปนั่งมาดับเวทนาทางกายไปซะงั้น เช่น เห็นแสงสว่างเต็มข้างในกาย รู้สึกสัมผัสถึงหนังหุุ้มกายตลอดทั้งร่างที่หุ้มแสงภายในสีทอง เวทนาตามกายไม่มี แต่ตอนนั้นพองยุบหายไปแล้ว เหลือแต่นิดที่จมูก

    อีกแบบ นั่งไปมาเวทนาทางกายดับซะงั้น คราวนี้ ไม่รู้สึกถึงกายเลย ลมหายเหมือนไม่มี ไม่ได้กำหนดแล้ว มันนิ่ง มันเหมือนจิตมันตั้งในห้วงอะไรสักอย่าง ที่ไม่ใช่ลูกแก้วหรือดวงอะไร มันลอยๆ สูงกว่าหัว แต่ไม่รู้สึกถึงหัวเลย ไม่มีกายเลย

    อีกแบบ นั่งไปนั่งมา เวทนาทางกายดับเหลือแต่หัวบ้าง เหลือครึ่งตัวบนบ้าง

    อีกแบบ นั่งไปนั่งมา เวทนาทางกายมีอยู่อย่างนั่น ใจมันรู้ แต่มันเหมือนลอยห่างจากกาย ห่างจากเวทนาทางกายนั้น แต่บางช่วงมันก็มาใกล้จน จนรู้สึกอยากร้องโอดโอย

    แต่ว่า เด็กๆ ชอบนั่งดูเวทนาไปสักชั่วโมง พอเริ่มรู้สึกปวดมากๆ ที่ร่างกาย ก็จะรีบปรับลมหายใจ จากยุบกนอ พองหนอ เป็น ลมเข้า ลมออก ที่ปลายจมูก แล้ว สักพัก เวทนาทางกายดับ

    สรุป คือ ที่ผ่านมา หลุดจากพองหนอ ยุบหนอ เป็น ดูลมหายใจเข้าออก จนคำบริกรรมหายทุกที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2015
  7. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    การนั่งสมาธิเพื่อดับเวทนาทางกาย มันผิดทางจริงๆ การทำบ่อยๆ จะติด และอาจจะเป็นแบบที่พระท่านว่า
    หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเป็นการเจริญสติปัฏฐานที่แท้จริงต้องได้ผลเร็ว มีคำว่าเร็วนะ ต้องได้ผลเร็วด้วย ต้องรู้กายต้องรู้ใจตามความเป็นจริงจึงจะได้ผลเร็ว, บางคนแทนที่จะคิดว่าต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงก็ไม่คิดอย่างนั้น ไปคิดอย่างอื่นมีสอนกันนะสำนักใหญ่ๆยังมีเลย สอนให้ดับเวทนา เวลาเราจะหยิบจะจับอะไรให้เพ่งไว้ที่มือ กำหนดไปเรื่อยๆนะ ให้รู้สึกๆอยู่ที่มือ ไม่สนใจความรู้สึกตัว ไม่สนใจที่จิต เรียกว่า มีสัญญาวิราคะ เพ่งรูป เรียกสัญญาวิราคะ ในที่สุดจะดับเวทนาลงไป ดับเวทนาลงพร้อมกับจิต ภาวนาแล้วเหลือแต่ร่างกายตัวแข็งทื่อๆอยู่ไม่มีจิต มีอยู่ภูมิเดียวที่ไม่มีจิตคืออสัญญีสัตตาภูมิ(พรหมลูกฟัก) ภาวนาแล้วเป็นพรหมรูปฟักคิดว่าเป็นนิพพานเพราะว่าตรงนั้นไม่มีกิเลส มีกิเลสไม่ได้เพราะมันมีแต่วัตถุ มีแต่ร่างกายไม่มีกิเลส.

    ถ้าศึกษาให้ดีเสียก่อนพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ดับเวทนา จริงอยู่ท่านพูดนะเพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปทานจึงดับ แต่ท่านไม่ได้สอนให้ดับเวทนา สับสนไปเองนะได้ยินคำว่าดับๆจึงคิดว่าจะไปดับมัน, ในความเป็นจริงเวทนาเป็นเจตสิกชนิดหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิตทุกๆดวง เมื่อไรมีจิตเมื่อนั้นจะต้องมีเจตสิก เจตสิกที่ต้องเกิดทุกทีเลยคือเวทนา, การจะดับเวทนาได้มีอยู่ทางเดียวคือดับจิต ดับจิตได้มีอยู่ภูมิเดียวคือพรหมลูกฟัก เดินพลาดตีความคำสอนคลาดเคลื่อนไป คิดว่าเวทนาดับ ตัณหาดับ อุปทานดับ ภพดับ ชาติดับ ทุกข์ดับ คิดจะดับทุกข์ด้วยการไปดับเวทนา, ถามว่าเวทนาเป็นองค์ธรรมชนิดไหน เวทนาเป็นวิบากนะ วิบาเป็นผลของกรรม วิบากเป็นสิ่งที่ดับไม่ได้ ถ้าผลหมดวิบากจึงดับ เวทนาไม่ใช่กิเลสที่จะไปดับเอาตามใจชอบ แม้กระทั่งกิเลสก็ดับไม่ดับ ในความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับมันถึงจะดับ ไม่มีใครดับอะไรได้หรอก บางคนมุ่งไปดับเวทนามันไม่ใช่ดับอย่างนั้น

    ปล. ประสบการณ์ที่ผมเจอ พิจารณาก็ไม่เหมือนอย่างที่พระท่านว่า แต่ตั้งใจดูเวทนาทางกาย แต่พอไปๆ มาๆ จิตมันไปเสวยอารมณ์ลอยๆ อย่างนั้น ไม่ได้พิจารณาอะไร ตามตัวอย่างที่ จขกท บอกคือ อย่าไปเพ่งเวทนา เพ่งอย่างนั้น ไม่พิจารณาอะไร แต่ผมตอนเป็นเด็กนี่พอพิจารณาเวทนาสักพักไม่เกินชั่วโมง ก็เปลี่ยนความตั้งใจจะดับเวทนาทางกาย เพื่อจะนั่งให้นาน แล้วเพ่งแต่จิตเฉยๆ คือ พอลมหายใจเริ่มหาย หรือหายก็ทรงอารมณ์อยู่อย่างนั่น พยายามกำหนดรู้ แต่มันรู้แบบอย่างนั้น แบบเสวยอารมณ์ลอยๆ อยู่ อันนั้น ก็ไม่น่าจะดีเหมือนกัน คือเพ่งอารมณ์ แต่ไม่ได้พิจารณารู้ หรือศึกษาขันธ์๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2015
  8. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ข้าพเจ้าขออนุโมทนา

    ข้าพเจ้าเคยเล่าประสบการณ์ครั้งแรกตอนที่รู้จักเวทนาไปแล้วครั้งหนึ่ง ขออนุญาตเล่าอีกครั้ง

    ครั้งนั้นข้าพเจ้าหัวไปชนกับขอบประตูท้ายรถตู้ที่เปิดอยู่อย่างแรง จนปวดหนึบๆอยู่ตลอดตรงบริเวณที่ชน ด้วยที่ข้าพเจ้าจะต้องทำงานต่อแล้วไอ้อาการปวดนี้มันรบกวนข้าพเจ้า จึงพยายามหาวิธีระงับมันเสีย

    ข้าพเจ้าจึงตั้งจิตไว้ที่ฐาน ตั้งไว้แล้วแต่สงบลงได้ยากเพราะอาการปวดมันรบกวนมาก ข้าพเจ้าจึงค่อยๆไล่ไปหาบริเวณที่ชน เมื่อไปถึงตรงบริเวณที่ชน ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตรงจุดนี้มันไม่ค่อยปวดแต่มันเห็นเป็นอาการเฉยๆ แต่ก่อนจะถึงตรงจุดนี้มันผ่านอะไรบางอย่างที่มันปวดทรมานมากกว่าตรงนี้นี่นา

    ข้าพเจ้าจึงค่อยๆกำหนดถอยออกมาจากจุดที่ชน แล้วข้าพเจ้าก็เจอ ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานมันอยู่ห่างจากจุดที่ชนและไม่ได้อยู่ในส่วนใดของร่างกาย (มันลอยๆอยู่) แล้วข้าพเจ้าก็กำหนดวิ่งไปวิ่งมาระหว่างสองจุดนี้จนแน่ใจ ข้าพเจ้าจึงกำหนดไว้ที่ความเจ็บปวดทรมานที่มันลอยๆอยู่นี้ แล้วลองสลายมันดู ความเจ็บปวดทรมานหายไป ถึงอาการตุ๊บๆจะยังอยู่แต่ไม่ส่งผลต่อใจของเราแล้ว ประครองดูไว้สักพัก (กำหนดวิ่งไปมาระหว่างสองจุดอยู่) แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากสมาธิ แล้วทำงานต่อไป

    ก็ลองดู

    สุดท้ายนี้ขออย่าได้เชื่อถือหรือยึดมั่นในสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปเลย

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  9. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    อันนี้ แหละครับ ที่ผมได้ยินได้ฟังมา จากที่อื่น แต่อาการที่เล่าจะต่างนิดหน่อย ตรงพอกำหนดสลับกัน ของเค้าจะเห็นการหมุนของจุดที่พิจารณา แล้วเวทนาทางกายก็ดับลงไปเป็นครั้งๆ ไป

    อันนี้ เอาไว้ใช้สำหรับกรณีที่เวทนาทางกายมันรบกวนจิตเราจนจะตั้งใจทำการงาน หรือทำกรรมฐานต่อไปไม่ได้ เท่านั่น แต่ถ้ายังไหว ก็ยกเอาเป็นกรรมฐานวิปัสสนาไปเลยตามที่ จขกท ยกมาให้ศึกษากัน

    ปล. ขอบคุณ จขกท และทุกคนที่ช่วยแสดงความเห็นนะครับ ได้ประโยชน์ครับ
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    IMG_5806.JPG

    "..การพิจารณาทุกขเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ พระธุดงค์ท่านชอบพิจารณาเป็นข้อวัตรของการฝึกซ้อมสติปัญญา
    ให้ทันกับเรื่องของตัว โดยมากก็เรื่องทุกข์ ทั้งทุกข์กาย ทั้งทุกข์ใจ รายใดขณะที่กำลังเป็นไข้แสดงอาการระส่ำระสายกระวนกระวาย ในวงพระปฏิบัติท่านถือว่ารายนั้นไม่เป็นท่าทางจิตใจ เกี่ยวกับสมาธิและปัญญา ไม่สามารถประคองตัวได้ในเวลาจำเป็นเช่นนั้น ไม่สมกับสร้างสติปัญญาเครื่องปราบปรามและป้องกันตัวไว้เพื่อสงคราม คือ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากเหตุต่าง ๆ แต่แล้วกลับเหลวไหลไร้มรรยาทขาดสติปัญญา แต่รายใดสำรวมสติอารมณ์ได้ด้วยสติปัญญา ไม่แสดงอาการทุรนทุรายในเวลาเช่นนั้น ท่านชมและถือว่ารายนั้นดีจริง สมเกียรติพระปฏิบัติที่เป็นนักต่อสู้ สมกับปฏิบัติมาเพื่อต่อสู้จริง ๆ เห็นผลในการปฏิบัติของตนและประกาศตนให้หมู่คณะเห็นประจักษ์โดยทั่วกันอีกด้วย



    วงพระธุดงค์ท่านถือกันตรงนี้เป็นสำคัญ แม้องค์ที่ถูกภัยคุกคามนั้น ท่านก็ถือท่านเหมือนกันว่าจะไม่ยอมแพ้แม้จนตายไปในเวลานั้น คือไม่ยอมแพ้ทางสติปัญญาอันเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อหาทางออกอย่างปลอดภัยไร้กังวล เมื่อสุดวิสัยจะอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว



    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงความจริงดังที่ท่านสั่งสอนไว้แล้ว จึงเป็นผู้เชื่อต่อความจริง ไม่ยอมถอยทัพกลับแพ้ข้าศึกที่เผชิญหน้าอยู่ในขณะนั้น ต้องต่อสู้จนตาย ร่างกายทนไม่ไหวก็ปล่อยให้ตายไป แต่ใจกับสติปัญญาเครื่องรักษาและป้องกันตัว ท่านไม่ยอมปล่อยวาง พยายามฉุดลากกันไปจนได้ ไม่ให้ไร้ผลในส่วนที่ตนมุ่งหมาย สมกับเป็นนักรบหวังชัยชนะเพื่อเอาตัวรอด พาไปจอดในที่เหมาะสมและปลอดภัยจริง ๆ



    ธรรมบทว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ นั้นเห็นประจักษ์อยู่กับใจผู้ปฏิบัติตามหลักความจริงไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่นแน่นอน นอกจากปฏิบัติแบบสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกไม่จริงไม่จังเท่านั้น ผลก็ไม่ทราบว่าจะให้เป็นความจริงมาได้อย่างไร นอกจากจะมาขัดกับความจริงเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นที่จะพอสันนิษฐานได้ เพราะคำว่าธรรมแล้วต้องเหตุกับผลลงกันได้ จึงจะเรียกว่า สวากขาตธรรม ตามที่ประทานไว้.."



    ประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอนที่ ๑๐
    โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    อ่านต่อที่นี่ http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-12-10.htm#08_แนะนำศิษย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...