หลวงปู่สาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]




    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    พระครูวิเวกพุทธกิจ หรือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระบูรพาจารย์ผู้ริเริ่มการถือธุดงควัตร และใช้ชีวิตแบบพระธุดงคกรรมฐาน ออกบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขาห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร มุ่งความรู้แจ้งแห่งธรรม ตามรอยบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อความวิมุตติหลุดพ้นอย่างแท้จริง

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระกรรมฐานแห่งยุค

    ในวัดป่า หรือ วัดในสายกรรมฐาน ทุกแห่ง เรามักจะได้ยินชื่อเห็นรูปถ่าย รูปปั้น ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ อยู่คู่กับ หลวงปู่มั่น เสมอ

    แต่น่าเสียดาย ที่เรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เป็นที่รู้จักกันน้อยมาก หาอ่านหาศึกษาได้ยากยิ่ง

    ทั้งนี้ เพราะขาดการบันทึก และขาดการรวบรวมค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ทำให้พวกเรา หลาน - เหลนรุ่นหลัง ไม่ค่อยทราบประวัติและเรื่องราวของท่านเท่าที่ควร

    นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง !

    ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ผู้เขียน และครอบครัวมีโอกาสกราบหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

    หลวงพ่อ ได้เล่าเรื่อง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ให้ฟังอย่างย่นย่อในฐานะที่หลวงพ่อ เคยเป็นสามเณรถวายการอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ใหญ่ เมื่อครั้งอยู่เมืองอุบลฯ ได้รับการอบรมด้านข้อวัตรปฏิบัติ และการภาวนาอันเป็นพื้นฐานการปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป

    นอกจากนี้ หลวงปู่ใหญ่ ยังได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อนำสามเณรพุธ มาฝากให้เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) พระสหธรรมิกคู่ธุดงค์กรรมฐานของท่าน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดปทุมวนากม ในสมัยนั้น

    หลวงพ่อพุธท่านเริ่มต้นเล่าถึงครูอาจารย์ของท่านว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถ้าจะถามว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นลูกศิษย์ของใคร ก็ต้องตอบว่า พระอาจารย์เสาร์เป็นลูกศิษย์ของพระครูสีทาชยเสโน ถ้าจะถามต่อจากนั้นขึ้นไปหลวงพ่อก็ไม่รู้ แต่ถ้าจะให้ตอบ ก็ต้องตอบว่า ท่านพระครูสีทา ชยเสโน เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ก็ไปจบลงที่นั้น...”

    หลวงพ่อพุธ เล่าว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านชอบอ่านพุทธประวัติศึกษาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าจากคัมภีร์ใบลาน ท่านจึงดำเนินรอยตามพระพุทธเจ้า คือท่านไม่ติดสถานที่ ไม่ติดญาติโยม ไม่ติดลาภยศ มุ่งบำเพ็ญเพียรตามป่าเขาห่างไกลจากผู้คน เพื่อบำเพ็ญไปสู่มรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง

    ในการภาวนา หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านให้ใช้คำบริกรรมว่า “พุทโธ” เป็นอุบายธรรมน้อมนำเอาพระพุทธคุณเข้ามาเป็นอารมณ์จิต เพื่อให้เกิดความสงบ เป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น

    หลังจากนั้น จึงค่อยพิจารณาธรรมอย่างอื่น เช่น การพิจารณากาย พิจารณาอสุภกรรมฐาน พิจารณาความตาย พิจารณากฎไตรลักษณ์ จนถึงพิจารณาอริยสัจสี่ ต่อไป ดังนี้เป็นต้น

    เป็นการดำเนินชีวิตไปตามลำดับ จาก สมถกรรมฐาน อุบายให้เกิดความสงบ แล้วจึงเดินจิตเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน อธิบายให้เกิดปัญญาธรรม ต่อไป

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในธรรมวินัยอย่างยอดเยี่ยมมีบุคลิกลักษณะสมบูรณ์ สง่าผ่าเผยน่าเกรงขาม พูดน้อย แต่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดจาอะไรมักเป็นอย่างนั้น

    ดังตัวอย่าง สมัยหนึ่ง เมื่อท่านหลวงปู่ใหญ่ออกเผยแพร่ธรรมแก่ประชาชน ได้มีผู้เลื่อมใสไปทำบุญถวายท่านกับท่านเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นญาติโยมได้ขอให้ท่านแสดงธรรม ท่านจึงกล่าวเป็นธรรมคติแต่โดยย่อว่า :-

    “การให้ทาน ใครๆ ก็ให้ทานมามากแล้ว มีพลานิสงส์มากเหมือนกัน แต่ผู้เป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถไม่ได้ มีอานิสงส์มากกว่าให้ทานนั้นเสียอีก ถ้าใครอยากได้บุญมาก ขึ้นสวรรค์ไปนิพพานพ้นทุกข์ก็ควรบวชเป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถเสียวันนี้”

    ปรากฏว่าในค่ำวันนั้นเอง ได้มีญาติโยมชายหญิงพากันมาบวชผ้าขาว บวชชี ถือศีลอุโบสถ ฟังเทศน์ฟังธรรม และปฏิบัติภาวนากันเป็นจำนวนมากและถือปฏิบัติในวงพระป่าสายกรรมฐานตั้งแต่นั้นมาผู้เขียน (นายปฐม นิคมานนท์) เชื่อว่า ประเพณีการนุ่งห่มขาวถือศีลอุโบสถ ซึ่งเรียกกันภายหลังว่าบวชชีพราหมณ์บ้าง บวชเนกขัมมะหรืออย่างอื่น ที่จัดกันในทุกวันนี้ น่าจะสืบทอดมาจากสมัยที่หลวงปู่ใหญ่ท่านพาทำนั่นเอง

    อันนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของผู้เขียน ถ้าผิดพลาดคลาดเคลื่อน ขอท่านผู้รู้โปรดช่วยแก้ไขชี้แนะด้วยครับ

    ผู้เขียนเคยตั้งใจไว้นานแล้วว่า จะหาโอกาสเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล โดยตั้งความหวังไว้ที่หลวงพ่อพุธ ในฐานะเป็นคลังข้อมูลใหญ่ อยากจะได้ข้อมูลจากปากของท่านเองเป็นหลัก

    แต่ยังไม่ได้ลงมือสักที ผัดผ่อน รั้งรอไปเรื่อยเป็นเวลานานกว่าสิบปี ก็ยังไม่ได้ฤกษ์

    ผู้เขียนมีโอกาสกราบหลวงพ่อพุธ บ่อย นิมนต์ท่านบ่อย รวมทั้งไปภาวนากับท่านเป็นประจำ ส่วนมากจะนั่งหลับตาต่อหน้าท่าน คือหลวงพ่อก็หลับตา และเราก็หลับตา ท่านแนะอุบายเพียงสั้นๆ และแก้ไขเมื่อเราติดขัดเมื่อเดินทางจิตต่อไปไม่ได้ เป็นส่วนใหญ่

    หลวงพ่อเล่าเรื่องหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น รวมทั้งครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ และประสบการณ์ของท่านเอง ให้เราฟังบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาสบายๆ ไม่มีญาติโยมคนอื่น ท่านจะเคี้ยวหมากและพูดไปเรื่อยๆ เราก็ถวายนวดที่เท้าท่านไปเรื่อย ๆ

    แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้จดบันทึกไห้เป็นเรื่องเป็นราว มัวประมาทรอสอบถามหรือสัมภาษณ์ท่านอย่างเป็นทางการ ในที่สุดหลวงพ่อท่านก็มรณภาพลาขันธ์ไป เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

    การมัวแต่ตั้งท่า รีรอ จึงทำให้เสียประโยชน์ ดังที่เป็นอยู่นี้

    จะหวังพึ่งครูบาอาจารย์องค์อื่น ต่างองค์ต่างก็มรณภาพลาขันธ์ไปตามกาล ยังเหลือไว้แต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับหลวงปู่ใหญ่ ให้พวกเราได้ระลึกถึงเป็นสังฆานุสติเท่านั้น จะนำมาเขียนให้ละเอียดเป็นเรื่องราวดูจะไกลเกินฝัน

    อยากสมน้ำหน้าตัวเอง ที่ครูบาอาจารย์บอกว่าให้พวกสูรอไปถึงยุคพระศรีอาริย์ก็แล้วกัน ชาตินี้ยังไม่เอาจริง แล้วชาติต่อๆ ไปจะหวังได้อย่างไร ?

    <TABLE id=table2 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โชคดีอย่างไม่น่าเชื่อ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ ศ. ๒๕๔๖ ผู้เขียนกับอาจารย์ภัทรา ได้ไปร่วมพิธีสมโภชเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ขากลับได้แวะไปกับพระครูพิบูลธรรมภาณ หรือ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค วัดภูเขาแก้ว ซึ่งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร

    หลวงพ่อ คงรู้ใจหรือไว้ใจผู้เขียนก็สุดจะเดา ท่านเอาสำเนาบันทึกประวัติหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ซึ่งท่านบันทึกไว้นานกว่า ๒๐ ปี มอบให้ผู้เขียนรวมทั้งมอบเหรียญ ๓ บุพพาจารย์เมืองอุบลฯ คือหลวงปู่เสาร์ –หลวงปู่มั่น - หลวงปู่ดี ให้เราสองคน คนละเหรียญ

    ไม่ต้องบอกก็ได้นะครับว่าเราตื่นเต้น ปีติเพียงไร !

    โชคดีชั้นที่สอง ที่อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้บันทึกฉบับดังกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว แล้วท่านได้ใช้บันทึกนี้เป็นหลักในการสืบค้นประวัติหลวงปู่ใหญ่ ใช้เวลารวบรวมอยู่ ๔ - ๕ ปี จึงออกมาเป็นหนังสือ “ตามรอยธุดงควัตร พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” ที่มีเรื่องราว เนื้อหา และหลักฐานสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่จะหาได้

    <TABLE id=table1 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หนังสือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นเล่มที่ ๕ในโครงการหนังสือบูรพาจารย์ วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) บ้านแม่กอย ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เล่มนี้ ได้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันกับหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ



     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ครูบาอาจารย์พูดถึงหลวงปู่ใหญ่


    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เขียนถึง หลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ :-

    “ท่านอาจารย์เสาร์ แท้ที่จริงควรที่จะมีประวัติไว้อ่านกันสนุกบ้างก็จะดี แต่นี่ไม่ค่อยเห็นประวัติของท่าน หรือมีข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ ได้ยินแต่ท่านเล่าให้ฟังว่า อยู่วัดเลียบ ได้ ๑๐ กว่าพรรษา คิดเลื่อมใสในพระคณะธรรมยุต จึงยอมสละญัตติเป็นธรรมยุต ฆ้อง กลองสำหรับตีในงานประเพณีทำบุญอึกทึกครึกโครมในสมัยนั้น ซึ่งมีอยู่ประจำวัดของท่าน ท่านก็สละทิ้งหมด ญัตติเป็นธรรมยุตแล้วก็อยู่วัดนั้นต่อมา

    พวกที่เขาไม่ชอบเขาก็โกรธ พวกที่ชอบ เขาบอกว่า ของเหล่านั้นไม่จำเป็น เป็นสงฆ์ขอให้ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยก็แล้วกัน

    ข้าพเจ้าก็ลืมถามไปว่า ภูมิลำเนาของท่านเกิดบ้านใด อำเภอใด มารดาบิดา พี่น้องของท่านมีกี่คน แต่เชื่อว่าท่านอยู่ใกล้เมืองอุบลฯ นี้แหละ เพราะท่านเคยพูดถึงเรื่องญาติของท่าน บวชแล้วไปอยู่หลวงพระบาง เพราะคนหลวงพระบางชอบใจได้มานิมนต์ญาติของท่านไป ท่านนั้นก็ลืมชื่อไปอีกเหมือนกันไม่ทราบว่าชื่ออะไร จึงน่าเสียดายประวัติของท่านมาก ไม่มีใครบันทึกไว้

    ส่วนข้าพเจ้าเองก็ไม่คิดจะบันทึกเสียด้วย ทั้งๆ ที่ท่านเล่าให้ฟังสอดๆ (ฉอดๆ) อยู่นั่นเอง มันจะเป็นเพราะพระกัมมัฏฐานในขณะนั้นไม่คิดจะบันทึกอะไรทั้งหมด คิดแต่จะทำความเพียรภาวนาอย่างเดียว การบันทึกนั้นบันทึกนี้ เรื่องราวต่างๆ เป็นเหตุให้ยุ่งสมอง ทำอารมณ์ให้ฟุ้งมาก..

    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้บันทึกเรื่องนิสัยของหลวงปู่ใหญ่ไว้ดังนี้ :-

    “นิสัยท่านพระอาจารย์เสาร์ ชอบก่อสร้าง ชอบปลูกพริก หมากไม้ (ไม้ผล) ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหาร ทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนพูดน้อย ยกจิตขึ้นสู่องค์เมตตาสุกใสรุ่งเรือง เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลาง ไม่ยิ่งไม่หย่อน พิจารณาถึงชั้นภูมิธรรมละเอียดมาก

    ท่านบอกให้เราภาวนาเปลี่ยนอารมณ์แก้อาพาธได้ อยู่ข้างนอกวุ่นวาย เข้าไปหาท่านจิตสงบดี เป็นอัศจรรย์ปาฏิหาริย์หลายอย่าง

    จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ ท่านแดดัง เป็นอุปัชฌายะฯ เดินจงกรมเสมอไม่ละกาล น้ำใจดีไม่เคยโกรธขึ้งให้พระเณร อุบาสกอุบาสิกา

    มักจะวางสังฆทานอุทิศให้สงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉยๆ เรื่อยๆ ชอบดูตำราเรื่องพุทธเจ้า

    รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นมหานิกาย ๑๐ พรรษา จึงมาญัตติเป็นธรรมยุต ชอบรักเด็ก เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติ –ปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณพร้อม ทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภ ยศ สรรเสริญ อาหารชอบเห็ด ผลไม้ต่างๆ ชอบน้ำผึ้ง”

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พูดถึง หลวงปู่ใหญ่ดังนี้ :-

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านไม่พูด ไม่เทศน์ ถ้าท่านเทศน์ท่านเทศน์นิดเดียว เอา ! ฟังเทศน์ พากันตั้งใจฟังเทศน์ กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต พากันตั้งใจรักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ เอวังฯ.”

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ มีลูกศิษย์ของท่านมากมาย ท่านนำหมู่คณะเดินธุดงค์เพื่อทรมานกิเลส ฝึกความเพียร ลูกศิษย์พระกรรมฐานจึงมาก สามเณรที่อยู่กับท่าน จะบวชเป็นพระภิกษุต้องท่องปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อน ถ้าท่องไม่ได้จะไม่อนุญาตให้บวช

    ท่านพูดคำไหนคำนั้น มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดคำสัตย์จริง ท่านพูดน้อย กับลูกศิษย์ลูกหาท่านไม่พูดมาก ท่านจะมาตรวจดูข้อวัตรว่า น้ำในโอ่งมีไหม? ฟืนมีไหม? แล้วท่านก็เข้าทางจงกรม ทำความเพียรปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดู

    คำสอนของท่านนั้นคือความเพียร ธรรมของท่านพระอาจารย์เสาร์ สอน “พุทโธ” คำเดียว แต่ความเพียรของท่านเป็นการพ้นทุกข์ ความเพียรของท่านเป็นธรรมเทศนา

    ความเพียรของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นยอด เมื่อท่านฉันเสร็จ ท่านเดินไปที่กุฏิ เอากาน้ำ สะพายย่ามไปทางจงกรม จนถึงเวลาทำข้อวัตร

    ท่านอาจารย์เสาร์นั้น ท่านจะไม่นั่งในที่นอน ท่านจะไม่นอนในที่นั่งสมาธิ...

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านเป็นผู้ริเริ่มการถือ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ และออกธุดงค์เพื่อคิดค้นธรรมะจากการปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง

    การประพฤติตามจรรยาแห่งพระวินัยแล้วนับว่าท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่ง ไม่ยอมให้ตัวท่านเองและศิษย์ล่วงละเมิดวินัยแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ท่านจึงมีความบริสุทธิ์ งดงาม ตลอดประวัติชีวิตของท่าน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อุปนิสัยและข้อวัตรของหลวงปู่ใหญ่


    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี ได้พูดถึงปฏิปทาและอุปนิสัยของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้ :-

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระอาจารย์ใหญ่ฝายวิปัสสนากัมมัฏฐานมีศิษยานุศิษย์เข้ามาศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติกับท่านเป็นจำนวนมาก

    แต่ด้วยปกตินิสัยของท่าน เป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒ - ๓ ประโยค

    เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง (หมายถึงนั่งสมาธิ) เดินก็ทำนองเดียวกัน (หมายถึงเดินจงกรม)

    ลักษณะของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใส มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเห็นใจไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านอาจารย์มั่น

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์โดยประพฤติปฏิบัติธรรมให้ดูเป็นเยี่ยงอย่าง ข้อวัตรปฏิบัติของท่านคือคำสอนที่ดีที่สุด

    ศิษยานุศิษย์ที่เข้ามารับการอบรมธรรมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์เสาร์ ส่วนใหญ่มักจะสืบทอดแนวทางดำเนินของท่านคือ รักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด มีความเป็นอยู่สมถะ สันโดษเรียบง่าย ไม่ชอบคนหมู่มาก เดินธุดงค์จาริกแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขา

    พระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์เสาร์มีจำนวนมาก แต่ไม่เปิดเผยตัวเท่าที่ควร มีท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ศิษย์เอกของท่าน ที่ระยะหลังต่อมาได้ปรากฏประวัติและธรรมะของท่าน ซึ่งแต่เดิมท่านก็ไม่ปรากฏองค์ท่าน เช่นเดียวกับท่านพระอาจารย์เสาร์

    และศิษยานุศิษย์ที่ถวายตัวเป็นศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนต่อมาก็มากราบนมัสการถวายตัวเป็นศิษย์เพื่ออบรมศึกษาธรรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ เช่นกัน เพราะพระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์เหล่านั้นให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก

    ด้วยคุณธรรม และเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนท่านเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน

    นอกจากปฏิปทาจริยาวัตรที่งดงามของท่านแล้วข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ สถานที่ใดที่หลวงปู่ใหญ่ เที่ยวธุดงค์ไปพักชั่วคราว สถานที่แห่งนั้นมักจะกลายเป็นวัดถาวรและเจริญรุ่งเรืองตามมาภายหลัง

    เช่น พระธาตุพนม ซึ่งแต่ก่อนรกร้างเป็นดง เมื่อท่านเดินรุกขมูลเข้าไปพักอาศัยที่นั้นชั่วคราว ให้คนถากทางทำความสะอาดปัดกวาดอย่างดี ครั้นต่อมาภายหลังที่นั่นจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เลื่อมใสของชาวพุทธทั่วประเทศมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

    และในทำนองเดียวกัน ก็ยังมีสถานที่อื่นอีกหลายแห่งในจังหวัดทางภาคอิสาน รวมทั้งฝั่งประเทศลาวที่หลวงปู่ใหญ่ ธุดงค์ผ่านไปพักชั่วคราว แล้วกลายมาเป็นวัด ได้รับความเจริญรุ่งเรือง เหลือเป็นอนุสรณ์จนกระทั่งทุกวันนี้
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รากแก้วของพระฝ่ายกรรมฐาน

    <TABLE id=table3 border=0 align=left><TBODY><TR><TD rowSpan=3>[​IMG]</TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เขียนถึงพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสององค์ คือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร เป็นหลักในการสั่งสอนกัมมัฏฐานอยู่ในภาคอิสานจนตลอดอายุขัยของท่าน

    ปฏิปทาของพระเถราจารย์ ทั้งสองท่าน (โปรดระวังอย่าหลงไปเรียกว่า เกจิอาจารย์ นะครับ เพราะครูอาจารย์สายพระป่าท่านไม่นิยมเรื่องเครื่องรางของขลัง หรือเรื่องดูฤกษ์ยาม ทำพิธีมงคลต่างๆ ถ้าจะเรียกตามแนวที่ท่านถนัดก็ต้องว่า พระวิปัสสนาจารย์จะตรงกว่า -ปฐม) ได้ปลุกเร้าจิตใจชาวอิสาน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้หันมานิยมศึกษาแนวปฏิบัติกัมมัฏฐานกันอย่างจริงจังอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

    ภิกษุสามเณรจำนวนมากจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอิสานได้มารับการอบรมสั่งสอนทางกัมมัฏฐานจากพระเถราจารย์ทั้งสองท่านไม่ขาดสาย ทำให้เกิดมีพระเถระผู้มีปฏิปทาและสามารถทางกัมมัฏฐานขึ้นเป็นจำนวนมาก และพระเถระเหล่านี้ก็ได้กระจายกันออกไปแนะนำสั่งสอนพุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประจำอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วภาคอิสาน

    เป็นเหตุให้เกิดมีวัดป่า หรือสำนักกัมมัฏฐาน ขึ้นทั่วไปในภาคอิสาน และมีพระคณาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐาน ที่ประจำอยู่ในสำนักต่างๆ ทั่วอิสานต่อมาจนทุกวันนี้

    ล้วนเป็นศิษย์และอนุศิษย์สืบเนื่องมาแต่พระเถราจารย์ทั้งสองท่านดังกล่าวมาข้างต้นเกือบทั้งสิ้น

    ท่านหลวงตาฯ ได้เขียนบรรยายต่อไปว่า :-

    “พระกัมมัฏฐานรู้สึกจะมากทางภาคอิสาน และมากเรื่อยมา เพราะรากแก้วของกัมมัฏฐานในสมัยปัจจุบันก็อยู่ที่ภาคอีสานเป็นพื้นฐาน

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น เป็นรากฐานของกัมมัฏฐานมานาน

    เพราะฉะนั้น บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ต้องการอรรถธรรมจริงจึงต้องหมุนหาอาจารย์ซึ่งเป็นที่แน่ใจได้ แล้วก็ไม่พ้นท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์ คือ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ท่านไม่ค่อยเทศน์ เงียบ ไม่เทศน์ ถ้าจะเทศน์ก็พูดเพียงสองสามประโยคแล้วหยุดเลย

    สำหรับท่านพระอาจารย์มั่น การเทศนาว่าการ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่นั้นหมดเลย ธรรมทุกขั้นอยู่นั้นหมด ออกจ้าๆ เลย

    จากนั้นมา บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ไปศึกษากับท่านทั้งสององค์นี้มา ก็กลายเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทั้งหลายต่อมาเรื่อยๆ ดังที่เราเห็น เช่นอาจารย์นั้น อาจารย์นี้ ออกจาก เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากนี้เรียกว่ามีอยู่ทั่วไปทุกภาค

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอันเลิศเลอ ถ้าสมัยพุทธกาลก็เรียกว่า ท่านทั้งสององค์นี้คือพระอรหันต์ร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นแล

    ท่านได้อุตส่าห์บุกเบิกเพิกถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกต่ออรรถต่อธรรมต่อธุดงค์ ข้อวัตรปฏิบัติ จารีตประเพณีที่พระพุทธเจ้าทรงพาดำเนินมาซึ่งถูกปกคลุมหุ้มห่อด้วยความมืดมิดปิดกำบังของกิเลสทั้งหลาย ให้ค่อยเบิกกว้างออกไปๆ

    ท่านเป็นผู้ทรงข้อวัตรปฏิบัติ ซึ่งข้อวัตรปฏิบัตินี้มีมาแต่ดั้งเดิม ท่านจดจารึกในคัมภีร์ใบลานมาตลอดว่า พระธุดงค์กัมมัฏฐาน ธุดงค์ ก็แปลว่า เครื่องกำจัดกิเลสนั้นเอง กัมมัฏฐาน แปลว่า ฐานที่ตั้งแห่งงานอันชอบยิ่งทางพระพุทธศาสนา เมื่อรวมแล้วเรียกว่า พระธรรมกัมมัฏฐาน

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ และ ท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งสองพระองค์นี้เป็นผู้อุตส่าห์พยายามบุกเบิกเพิกถอนขวากหนามที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุดงควัตร

    เพราะแต่ก่อนในสมัยนั้นไม่มีใครสนใจธุดงควัตรพระกัมมัฏฐานประหนึ่งว่าแทบไม่มีในเมืองไทย แต่ครั้นแล้วก็มีท่านทั้งสองพระองค์ คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์เสาร์ นี้แลได้นำคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้แล้วในพระไตรปิฎกต่างๆ ออกมาประพฤติปฏิบัติให้เปิดเผย จนเป็นที่ร่ำลือ

    และ ทางชั่วก็กีดขวางเข้ามา บางครั้งถูกขับไล่ไสส่ง หาว่าเป็นพระจรจัด พระขัดขวางต่อบ้านเมือง ถูกขับไล่ไสส่งจากฝ่ายปกครองตามสถานที่นั้นๆ เรื่อยมา ท่านก็ไม่หวั่นไหวในการประพฤติปฏิบัติ ดำเนินตามข้อวัตรปฏิบัติที่มีแล้วในคัมภีร์เรื่อยมา ค่อยบุกเบิกเพิกถอนไปเรื่อยๆ

    การบำเพ็ญธรรมของท่านก็ปรากฏขึ้นภายในจิตใจเป็นลำดับลำดา เป็นกำลังใจที่ท่านอุตส่าห์พยายามเพิกถอนกิเลสตัณหาภายในจิตใจ แล้วก็เป็นไปพร้อมๆ กันกับการแนะนำสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเรื่อยมา กัมมัฏฐานจึงค่อยเบิกกว้างออกไปๆ จนกระทั่งมาถึงสมัยปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าไปที่ไหนพระกัมมัฏฐานเรา ซึ่งเป็นทางดำเนินมาดั้งเดิมก็ได้เปิดกว้างกระจายออกไปทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศไทยของเรา

    ทั้งนี้ก็ขึ้นไปจากทั้งสองพระองค์นี้แลเป็นผู้บุกเบิก ในเบื้องต้นท่านจึงได้รับความลำบากลำบนมากทีเดียว

    ท่านหลวงตาฯ ได้แสดงความรู้สึกของท่านเองต่อเรื่องนี้ว่า :

    “ก็ตามที่ท่านเล่าให้ฟัง เราน้ำตาร่วงๆ เวลาท่านเล่าถึงความทุกข์ความทรมาน ทั้งถูกขับไล่ไสส่งจากที่ต่างๆ ฝ่ายปกครอง มักจะเป็นอยู่เสมอ

    เวลาท่านเล่า ท่านไม่ได้เล่าด้วยความโกรธความแค้นอะไร เวลาเรื่องไปสัมผัส ท่านก็เล่าให้ฟังธรรมดาๆ ท่านไม่มีลักษณะท่าทางว่าจะโกรธเคืองหรือเคียดแค้นให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่ขับไล่ท่าน แต่ท่านพูดถึงเรื่องความทุกข์ความทรมานของท่านที่สมบุกสมบันมาตลอดต่างหาก

    สำหรับเราผู้ฟังท่านพูดแล้ว เกิดความสลดสังเวชสงสารท่านเป็นกำลัง น้ำตาร่วง โดยไม่ให้ท่านทราบแหละ กลืนน้ำตาเข้าภายใน รู้สึกกว่าเราก็มีกิเลสเหมือนกัน ท่านไม่เคียดแค้น เราก็เคียดแค้นอยู่ภายในใจถึงผู้ที่มาขับไล่ไสส่งโดยหาเหตุผลหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย

    นั้น ท่านเล่ามาทีไรนี้ อดสลดสังเวชน้ำตาร่วงไม่ได้ เพราะความทุกข์ ความสมบุกสมบันของท่านเรื่อยมา

    ความรู้ความเห็นที่เป็นขึ้นภายในจิตของท่าน ท่านก็เล่าไปพร้อมๆ กัน ไปอยู่ที่นั่น เกิดความรู้ความเห็นอย่างนั้น ไปที่นั่น เกิดความรู้ความเห็นอย่างนั้น นับตั้งแต่ธรรมภายในใจ พวกสมาธิ พวกปัญญา จนกระทั่งถึงวิมุตติหลุดพ้น แล้วแตกกระจายออกรอบด้านของจิตนั้น เกี่ยวกับเรื่องเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ตลอดนรกอเวจีกระจายไปหมด ท่านรู้ตลอดทั่วถึงเต็มกำลังของท่านนั้นแล

    เวลา (หลวงตาฯ) เล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังจึงเป็นที่ปลื้มอกปลื้มใจ เป็นสดๆ ร้อนๆ ไม่ลืมมาจนกระทั่งถึงวันนี้ จึงได้นำเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังจากท่าน ซึ่งเล่าตลอดมาตามเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเข้าไปสัมผัสแล้ว ท่านก็นำออกมาเล่าให้ฟัง จึงได้นำเรื่องความจริงจังและความรู้จริงเห็นจริงของท่านมาเล่าให้พี่น้องชาวไทยเราทราบ ให้พึงทราบกันว่าสิ่งที่ท่านกล่าวถึงนั้นเป็นวิสัยของใจที่เกิดขึ้นจากจิตตภาวนา
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่มั่นเล่าถึงหลวงปู่ใหญ่

    เรื่องที่หลวงปู่มั่น ภูริทตโต ได้เล่าเกี่ยวกับพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั้น ได้รับการถ่ายทอดโดย ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมปนโน มาอีกชั้นหนึ่ง ดังต่อไปนี้:-

    “เมื่อท่านพระอาจารย์มั่น เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ๆ ในสำนักท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร วัดเลียบ อุบลราชธานี ท่านบริกรรมภาวนาด้วยบท “พุทโธ”

    ท่านเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆและเยือกเย็น น่าเลื่อมใสมาก จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้แปลกๆ เหมือนจิตของท่านพระอาจารย์มั่น

    ท่าน (หลวงปู่มั่น) เล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน

    ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดความปรารถนานั้น และขอประมวลเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป

    พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกแลเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย

    แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่าน ที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบแต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้..

    เวลาท่าน (หลวงปู่มั่น) ออกเที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐานทางภาคอิสานตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน

    สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น

    เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์พอจับใจความได้ว่า

    ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดเป็นมนุษย์

    หรือ

    เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์เราจะต่ำลงกว่าสัตว์และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ



    แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจใครต่อไปอีก

    หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เคยตามไปอุปัฎฐาก หลวงปู่ใหญ่ ที่วัดดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เล่าว่า ครั้งหนึ่งหลังจากถวายไทยทานแล้ว ญาติโยมขอให้หลวงปู่ใหญ่เทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงสั้นๆ แล้วให้พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เทศน์ต่อ

    เทศน์ของหลวงปู่ใหญ่ มีว่า

    “ทำให้ดูมันยังไม่ดู ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มันยังไม่ปฏิบัติตาม เทศน์ให้ฟัง มันจะฟังหรือพวกเจ้า ข้อยเฮ็ดให้เบิ่งยังบ่เบิ่ง เทศน์ให้หมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังฤๅ”

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านพูดเป็นคติว่า “เขาสิเชื่อความดีที่เราเฮ็ดหลายกั่วคำเข้าที่เราสอน” (เขาเชื่อในความดีที่เราทำ มากกว่าในคำพูดที่เราสอน)

    ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ เล่าต่อไปว่า :-

    ทราบว่าท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์นี้รักและเคารพกันมากในระยะวัยต้น ไปที่ไหนท่านชอบไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ทั้งในและนอกพรรษา พอมาถึงวัยกลางผ่านไป เวลาพักจำพรรษามีแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก พอไปมาหาสู่กันได้สะดวก

    มีน้อยครั้งที่จำพรรษาร่วมกัน ทั้งนี้อาจเกี่ยวกับบรรดาศิษย์ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีมากด้วยกัน และต่างก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ถ้าจำพรรษาร่วมกันจะเป็นความลำบากในการจัดที่พักอาศัย จำต้องแยกกันอยู่เพื่อเบาภาระในการจัดที่พักอาศัยไปบ้าง

    ทั้งสองพระอาจารย์ ขณะที่แยกกันอยู่จำพรรษา หรือนอกพรรษา รู้สึกคิดถึงและเป็นห่วงกันมาก เวลามีพระที่เป็นลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายมากราบนมัสการ จะมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ หรือมากราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่นต่างจะต้องถามถึงความสุขทุกข์ของกันและกันก่อนเรื่องอื่นๆ จากนั้นก็บอกกับพระที่มากราบว่า “คิดถึงท่านพระอาจารย์...” และฝากความเคารพคิดถึงไปกับพระลูกศิษย์ที่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่ อาวุโส - ภันเต ทุกๆ ครั้งที่พระมากราบ ท่านพระอาจารย์ทั้งสอง แต่ละองค์

    ท่านมีความเคารพในคุณธรรมของกันและกันมาก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เวลาท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์ใดองค์หนึ่ง พูดปรารภถึงกันและกันให้บรรดาลูกศิษย์ฟัง จะมีแต่คำที่เต็มไปด้วยเคารพและความยกย่องสรรเสริญโดยถ่ายเดียว ไม่เคยมีแม้คำเชิงตำหนิแย้งขึ้นมาบ้างเลย

    ท่านพระอาจารย์มั่น เล่าให้ฟังว่า ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้ท่านว่า “จิตท่านเป็นจิตที่โลดโผนมาก รู้อะไรแต่ละครั้งขึ้นมามันไม่พอดีเลย เดียวจะเหาะเหินเดินฟ้า เดี๋ยวจะดำดิน เดี๋ยวจะดำน้ำข้ามทะเล...” นั้น ท่านว่าเป็นความจริงที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ตำหนิเพราะจิตท่านเป็นเช่นนั้นจริงๆ

    เวลารวมสงบลงแต่ละครั้ง แม้แต่ขั้นเริ่มแรกบำเพ็ญ ยังออกเที่ยวรู้เห็นอะไรต่างๆ ทั้งที่ท่านไม่เคยคาดฝันว่าจะเป็นได้เช่นนั้น เช่น ออกรู้เห็นคนตายต่อหน้า และเพ่งพิจารณาจนคนตายนั้นเป็นวงแก้ว และเกิดความรู้ความเห็นแตกแขนงออกไปไม่มีที่สิ้นสุด...

    เวลาปฏิบัติที่เข้าใจว่าถูกทางแล้ว ขณะที่จิตรวมสงบตัวลง ก็ยังอดจะออกรู้สิ่งต่างๆ มิได้ บางทีตัวเหาะลอยขึ้นไปบนอากาศและเที่ยวชมสวรรค์วิมาน กว่าจะลงมากินเวลาหลายชั่วโมง และมุดลงไปใต้ดิน ค้นดูนรกหลุมต่างๆ และปลงธรรมสังเวชกับพวกสัตว์นรกที่มีกรรมต่างๆ กัน เสวยวิบากทุกข์ของตนๆ อยู่ จนลืมเวล่ำเวลาไปก็มี เพราะเวลานั้นยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นความจริงเพียงไร

    เรื่องทำนองนี้ ท่าน (หลวงปู่มั่น) ว่า จะพิจารณาต่อเมื่อจิตมีความชำนาญแล้ว จึงจะรู้เหตุผลผิดถูกชั่วดีได้อย่างชัดเจนและอย่างแม่นยำ พอเผลอนิด ขณะที่จิตร่วมลงและพักอยู่ก็มีทางออกไปรับรู้กับสิ่งภายนอกอีกจนได้ แม้เวลามีความชำนาญ และรู้วิธีปฏิบัติได้ดีพอสมควรแล้ว ถ้าปล่อยให้ออกรู้สิ่งต่างๆ จิตย่อมจะออกรู้อย่างรวดเร็ว

    ระยะเริ่มแรกที่ท่าน (หลวงปู่มั่น) ยังไม่เข้าใจ และชำนาญต่อการเข้าออกของจิต ซึ่งมีนิสัยชอบออกรู้สิ่งต่างๆ นั้น ท่านเล่าว่า เวลาบังคับจิตให้พิจารณาในร่างกายส่วนล่างแทนที่จิตจะรู้ลงไปตามร่างกายส่วนต่างๆ จนถึงพื้นเท้า แต่จิตกลับพุ่งเลยร่างกายส่วนต่ำลงไปใต้ดินและทะลุลงไปใต้พื้นพิภพ ดังท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้จริงๆ

    ตามประวัติบอกว่า หลวงปู่มั่น ท่านใช้เวลาตั้งนานกว่าที่จะแก้ไขบังคับจิตของท่านให้มาพิจารณาเฉพาะภายในกายของท่าน ไม่ให้เตลิดเปิดเปิงออกไปภายนอก ไปดูสวรรค์วิมาน ดูนรกดูเปรต ทำให้เสียเวลาไปนานพอสมควร

    เรื่องนี้คงให้อุทาหรณ์สำหรับนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จะได้นำไปพิจารณาว่า การปฏิบัติเพื่อยกภูมิจิตของตน เพื่อละเพื่อวาง เพื่อผลในทางวิมุตติหลุดพ้นนั้น ควรพิจารณาอยู่ภายในกาย ในใจของตน หรือควรจะเพลิดเพลินกับเรื่องนรก - สวรรค์ กันแน่ ?

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านสอนไม่ให้สนใจนิมิต คืออย่าสนใจในสิ่งที่เห็น ท่านว่าเราเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง ท่านให้มองเข้ามาข้างใน ค้นหาตัวผู้รู้ ผู้เห็น ให้เจอ

    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ขยายความเรื่องนี้ว่า การนั่งสมาธิแล้วเห็นนิมิต เปรียบเหมือนเราฉายไฟไปกระทบอะไร เราก็เห็นภาพของสิ่งนั้น ถ้าเราดูที่ภาพมันจะมีไปเรื่อยไม่จบสิ้น ให้มองย้อนลำแสงเข้ามาหากระบอกไฟฉายให้เจอ ถ้าได้กระบอกไฟฉาย และเปิดสวิตซ์เป็น เราจะส่องดูอะไรเมื่อไรก็ได้

    <TABLE id=table9 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    หนังสือที่ระลึก ในวันเปิดเจดีย์ของหลวงปู่ใหญ่
    ที่วัดดอนธาตุ อ พิบูลมังสาหาร จ อุบลราชธานี ที่ใช้เป็นแหล่ง
    ข้อมูลสำคัญในการเขียนหนังสือเล่มนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชาติภูมิหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล


    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำเนิด

    ตามบันทึกของพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกไว้ดังนี้

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ เดือนสิบสอง ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองช้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่อำเภอเขื่องใน”

    ในงานสมโภชเจดีย์พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๖ ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผม (ปฐม นิคมานนท์) ได้รับหนังสือที่ระลึก ๓ เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มล้วนมีคุณค่าที่ประเมินราคาไม่ได้ทั้งนั้น

    เป็นที่น่าสังเกต (ตามประสาคนชอบจับผิดผู้อื่น) ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับปี พ.ศ.เกิด กับสถานที่เกิดของหลวงปู่ไม่ตรงกัน ดังนี้.-

    หนังสือเล่มที่หนึ่ง เขียนโดยอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ จัดพิมพ์โดย ชุมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เขียนถึงปีและสถานที่เกิดของหลวงปู่ ๓ ที่ ล้วนไม่ตรงกัน ดังนี้ -

    ๑. หน้าเปิดปก หรือ คำนำ เขียนว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ชาติภูมิของท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ชาตะเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕”

    ๒ ในเนื้อเรื่อง หน้า ๑ หัวข้อชาติภูมิ เขียนค่อนข้างยาวว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ เดือนสิบสอง ปีระกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ (ตามบันทึกของท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้ว) หรือวันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ (ตามหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ฯ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สังฆนายก) ที่บ้านข่าโคม (ชื่อเดิม “บ้านท่าโคมคำ”) ต.หนองขอน อ.เมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี)”

    ในข้อนี้แปลกตรงที่ท่านยืนยันปีเกิดของหลวงปู่ เป็นปี ๒๔๐๔ ถึง ๒ แห่งติดกัน และก็อ้างบันทึกของพระครูพิบูลธรรมภาณ ด้วย บันทึกที่ว่านี้หลวงพ่อ ท่านมอบให้ผม ยังอยู่กับผม หลวงพ่อก็บันทึกว่าปี ๒๔๐๒ ตามที่ผมคัดลอกมาเสนอตั้งแต่ต้นนี้แหละ

    ส่วนเดือนเกิดตามระบบจันทรคติ ในหนังสือเล่มดังกล่าวก็บอกไว้สองอย่างคือ “เดือนสิบสอง ปีระกา” กับ “เดือนยี่ ปีระกา” แล้วท่านก็บอกต่อไปว่า “ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ ผมว่าถ้าเราเอาเดือนพฤศจิกายน เป็นตัวตั้ง ก็น่าจะใกล้กับเดือนสิบสอง มากกว่า ส่วน เดือนยี่ น่าจะเป็นเดือนมกราคม โดยประมาณ ซึ่งห่างกันตั้ง ๓ เดือน

    ประเด็นนี้ขอทิ้งไว้ให้ท่านที่มีปฏิทินย้อนหลังมากกว่า ๑๐๐ ปี ได้กรุณาช่วยสอบทานด้วยก็แล้วกัน

    ๓. ในแผ่นพับเชิญชวนรวมบริจาคสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ฯ ที่แนบมากับหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ระบุวันเกิดของหลวงปู่ว่า “หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”

    สรุป ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ระบุปีเกิดของหลวงปู่ใหญ่ เป็น ๓ ปี คือ ๒๔๐๒, ๒๔๐๓ และ ๒๔๐๔ และน่าเสียดายที่ผมขาดความสังเกตไป ไม่ทราบว่าภายในเจดีย์ของหลวงปู่ จะมีการจารึกปีเกิดของท่านไว้หรือไม่ กราบท่านผู้สร้างเจดีย์โปรดช่วยตรวจสอบความถูกต้องด้วยครับ

    หนังสือเล่มที่สอง เป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่และสวยงามมากใครได้รับก็ต้องปลื้มใจเป็นที่สุด ชื่อหนังสือ พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตลีลเถร” ไม่ระบุชื่อผู้เขียน แต่ระบุเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ คุณสุกัญญา มกุฏอรดี ศูนย์บริการสื่อการศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนไว้ว่า

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตลีลเถร เป็นพระปรมาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านเกิดวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๓ ที่บ้านข่าโคม ตำบลปะอ่าว (หนองขอน) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี...”

    เล่มนี้ระบุปี พ.ศ. ๒๔๐๓ และระบุ ตำบลว่า “ปะอ่าว” อันนี้รับรองว่าไม่ใช่ ชื่อ “ตำบลปะอาว” เขาดังมากในเรื่องเครื่องทองเหลือง

    หนังสือเล่มที่สาม เล่มเล็กกะทัดรัด เนื้อหาสาระมาก ชื่อ “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” ไม่ระบุชื่อผู้เขียน อยากจะขอบพระคุณก็ไม่รู้จะขอบพระคุณไปที่ไหน หนังสือเล่มนี้ระบุวันและสถานที่เกิดของหลวงปู่ ๓ ที่ ดังนี้

    - ที่คำนำ หน้า (๑) : “ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๒...”

    - ในเนื้อเรื่องหน้า ๑๕ : เกิด วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”

    - ในหน้า ๓๙ เป็นคำบอกเล่าจาก หลวงปู่หลุย จนทสาโร : “ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒”

    ในเล่มนี้ วันเกิดตรงกัน ต่างกันที่อำเภอเกิด...?

    ต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่าน ที่ผู้เขียนจู้จี้กับเรื่องเหล่านี้ซึ่งบางท่านอาจเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เพื่อความรอบคอบผมขอเสนอดังนี้

    ๑. ขอให้ท่านผู้สร้างเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ให้เราได้ทราบไหว้ กรุณาสอบทานวันเดือนปีเกิดของหลวงปู่ ทั้งทางสุริยคติ และจันทรคติให้แน่ชัด อย่างน้อยต้องลงกันให้ได้

    ๒. เรื่องตำบล และอำเภอเกิด ว่าในปัจจุบันอยู่ในตำบลอะไร และอำเภออะไรกันแน่ อันนี้ผมขอทิ้งไว้ให้ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติกับพี่น้องชาวอุบลฯ ช่วยตรวจสอบก็แล้วกัน

    กราบขออภัยท่านผู้อ่านอีกที เรากลับมาเรื่อง ชาติภูมิ ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ต่อ -

    เกี่ยวกับนามสกุลของหลวงปู่ ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติเขียนว่า “นามสกุลสมัยนั้นยังไม่มี ภายหลังมีญาติสืบสายกันมาในตระกูล อุปวัน และ พันธ์โสรี

    หมายความว่า ลูก - หลาน หลวงปู่ รุ่นต่อๆ มาได้ใช้สองนามสกุลนี้ ส่วนในบันทึกของ พระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) เขียนไว้ว่า เชื่อเดิม ชื่อ เสาร์ นามสกุล พันธ์สุรี บิดาชื่อ ทา มารดาชื่อ โม่

    หลวงปู่ มีพี่น้อง ๕ คน คือ

    ๑. หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    ๒. นางสาวแบ (ครองโสดตลอดชีวิต)
    ๓. แม่ดี
    ๔. แม่บุญ
    ๕. พ่อทิดพา อุปวัน

    เรื่องชาติภูมิของท่าน หาข้อมูลได้เพียงเท่านี้
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชีวิตในวัยเด็ก


    เรื่องราวชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ไม่มีการจดบันทึกไว้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าท่านคงใช้ชีวิตเยี่ยงเด็กท้องไร่ท้องนาทั่วไป คือช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาไปตามกำลัง โดยเฉพาะท่านเป็นบุตรชายคนโต น่าจะเป็นแรงงานที่สำคัญของครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก

    ในบันทึกของ ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ กล่าวถึงบุคลิกของหลวงปู่ใหญ่ ในวัยเด็กว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล มีรูปร่างสูงใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณดีมาก”

    และบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้

    “มีความพึงพอใจ ศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ด้วยมองเห็นสีแห่งผ้ากาสาวพัสตร์เป็นสีแห่งความงามและสงบสุข เห็นสมณะเป็นเพศที่สูงส่ง เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ไม่เบียดเบียนชีวิตของเพื่อนสัตว์โลกผู้ร่วมเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน”

    รวมความว่า หลวงปู่ใหญ่ เป็นเด็กชายที่หน้าตาดี รูปร่างสูงใหญ่ ใฝ่ทางศีลธรรม และสนใจบวชเรียนในพระศาสนามาตั้งแต่เด็ก

    ในสมัยของหลวงปู่ใหญ่ ยังไม่มีโรงเรียน เพราะโรงเรียนอย่างในปัจจุบันเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นี้เอง

    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ บรรยายว่า “กอปรกับการศึกษาสมัยก่อนยังไม่เจริญ กุลบุตรผู้มีความสนใจใคร่ศึกษา ต้องการเรียนรู้อ่านออกเขียนได้ ไม่เป็นคนโง่เง่าเต่าตุ่น หูป่าตาเถื่อน จะต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้

    ข้าราชการสมัยนั้น ส่วนมากไปจากผู้ผ่านการบวชเรียนหรือผู้ที่สอบได้นักธรรม และมหาเปรียญมาก่อน..

    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ในเรื่องเดียวกันนี้ว่า “สำนักศึกษาในสมัยก่อนคือวัด ถือว่าวัดเป็นแหล่งรวมความรู้ เป็นที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านต่างๆ และเป็นแหล่งเนื้อนาบุญ เป็นที่อยู่ของคนดี คนมีบุญ

    พ่อแม่ผู้ปกครองในสมัยนั้น จึงนิยมส่งบุตร - หลานอันเป็นที่รักของตนให้เข้าวัดและบวชเรียน เพื่อที่ว่าจะได้เป็น คนสุก ลบเสียซึ่งคราบของคนดิบ และยังเป็น ญาคู - ผู้รู้ เป็นมหาเปรียญ - ผู้ปราดเปรื่อง หรือสึกออกมาเป็น ทิด เป็น นักปราชญ์ มีความรู้รับราชการ ได้เป็นเจ้าเป็นนาย ต่อไป

    ด้วยเหตุนี้หลวงปู่ใหญ่ ของเราจึงได้ใฝ่ฝันที่จะบวชเรียนตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของเด็กหนุ่มผู้ใฝ่ในทางดีตามยุคสมัยในเวลานั้น
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อุบลเมืองนักปราชญ์


    เมืองอุบลในอดีต ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนภาคอิสาน เด็กหนุ่มผู้สนใจศึกษาหาความรู้จากที่ต่างๆ จึงหลั่งไหลไปที่เมืองอุบลฯ เมื่อครั้งกระโน้น

    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ เขียนไว้ว่า “อุบลราชธานีในอดีตจึงเป็นแดน ตักกสิลา - เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของภาคอิสาน มีวัดวาอารามสวยงามตระการตา แพรวพราว หลากหลายเต็มไปหมดทุกแห่งแหล่งถนนในตัวเมืองอุบล ก่อให้เกิดพระเถรานุเถระพระอุปัชฌายาจารย์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต อย่างมากมาย...”

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ เขียนว่า “จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแดนแห่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตอันยิ่งใหญ่” และอีกตอนหนึ่งว่า “อุบลราชธานีในอดีต จึงเป็นแดนของนักปราชญ์ทางศาสนามากมาย”

    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้กล่าวคำเปรียบเทียบคล้องจองว่า

    อุบลเมืองนักปราชญ์ โคราชเมืองนักมวย เชียงใหม่เมืองคนบุญ ลำพูนเมืองคนสวย”

    (ผมขออนุญาตต่อเติมอีกว่า คนร่ำรวยอยู่ที่เมืองพอ แล้วท่านจะว่าอย่างไรครับ?)

    หลวงพ่อโชติ เขียนถึงค่านิยมของคนเมืองอุบลว่า “เกิดเป็นชายต้องบวช จะต้องให้เกลี้ยงให้หล่อน (หมดจด) ดังนั้น ไม่ว่าไปทางไหนของเมืองอุบลจึงตระการแพรวพราวไปด้วยวัดวาอาราม มีภิกษุสามเณรในพุทธศาสนาอย่างมากมาย เป็นค่านิยมของสังคมในสมัยนั้น”

    หลวงพ่อโชติ ได้เขียนถึงสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลฯ อย่างย่นย่อไว้ดังนี้ -

    “อุบลราชธานีเป็นเมืองชายแดน มีแม่น้ำมูล แม่น้ำชี ไหลผ่าน อันเปรียบเสมือนสายธารแห่งน้ำใจของชาวอุบลฯ ที่สดชื่นไหลเอื่อยอยู่ชั่วน้ำตาปี...

    อุบลราชธานี แต่เดิมเรียก ดงอู่ผึ้ง และ ดอนมดแดงเป็นเมืองที่พระวอ พระตา สองพี่น้องเชื้อสายจ้าวลาวหนีศึกมาจากนครเวียงจันทน์

    ครั้งแรก พระวอ พระตา ได้พาสมัครพรรคพวกหนีข้ามโขงมาตั้งรกรากอยู่ที่ หนองบัว หรือ หนองบัวลำภู ในปัจจุบัน แต่ถูกเจ้าศิริบุญสาร ทางฝั่งลาวติดตามรังควาญอีก จึงได้พากันอพยพหลบหนีลงไปทางใต้เรื่อยๆ จนไปปักหลักลงที่ ดงอู่ผึ้ง ข้างห้วยแจละแม และที่ดอนมดแดง แก่งส้มป่อย

    ขุนทหารแม่ทัพของพระวอ พระตา ที่ติดตามมาด้วย ได้แก่ท่านขุนน้อย กับ ท่านขุนใหญ่ ได้ไปพักอยู่ที่บ้านทุ่งขุนน้อย บ้านทุ่งขุนใหญ่ ในปัจจุบัน เป็นทัพคอยรักษาด้านหน้าไว้

    พระวอ พระตา ยังมีความประทับใจอยู่กับหนองบัวลำภู แหล่งแรกที่อพยพมา เมื่อมาถึงที่ใหม่ ปักหลักได้มั่นคงแล้วจึงได้ขุดหนองน้ำขนาดใหญ่แล้วปลูกดอกบัวขึ้น เรียกว่าหนองบัว อยู่ตรงค่าย ตชด. กม. ๓ (ผมเองก็ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน) ในปัจจุบันนี้เอง

    แล้วได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ตรงริมฝั่งแม่น้ำมูลแห่งนั้นว่า เมืองอุบลแปลว่า เมืองดอกบัว เพื่อเตือนความทรงจำถึงหนองบัวลำภู แห่งแรกที่ท่านอพยพมาอยู่ในประเทศไทย...

    หลวงพ่อ ท่านสรุปประวัติเมืองอุบลฯ ว่า ทีนี้คือตำนานเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ ที่คนเฒ่าเก่าแก่พื้นเมืองเล่าสืบต่อกันมา

    นอกจากนี้ หลวงพ่อ ยังเขียนถึง ประเพณีการลงข่วงในคืนเดือนเพ็ญ ที่ผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักและเกี้ยวพาราสีกัน อ่านแล้วอยากจะกลับไปเป็นหนุ่ม - สาวอีกสักครั้ง คงจะดีไม่น้อย

    ท่านที่สนใจประเพณีดีงามอย่างนี้ คงต้องไปค้นหาอ่านเอาเองก็แล้วกัน ถ้ามาเขียนลงตรงนี้ เกรงจะพาพวกท่านเตลิดเปิดเปิงกลับไปสู่อดีต กลายเป็นหนุ่ม - สาวกันหมด ขัดกับคำสอนของพระที่ว่า “ให้อยู่กับปัจจุบัน”
     
  9. Toonkun

    Toonkun สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2011
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +3
    นับถือท่านมากๆ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บรรพชาเป็นสามเณร


    ด้วยเหตุที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มีจิตโน้มเอียงไปทางด้านการบวชเรียนมาตั้งแต่เด็ก พออายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาจึงได้นำท่านไปฝากเป็นศิษย์วัด เพื่อเตรียมตัวรอบวชเป็นสามเณร ณ วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพระอาจารย์บุญศรี เป็นเจ้าอาวาส

    หลวงปู่ใหญ่ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ณ วัดใต้ แห่งนี้ ซึ่งเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย

    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ กล่าวถึงการเป็นสามเณรของหลวงปู่ใหญ่ ว่า “ด้วยความมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นคนพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เป็นผู้ไม่นิ่งนอนใจ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร ท่านมีความอุตสาหะขยันขันแข็ง ตั้งใจทำกิจการงานของวัด ทั้งการท่องบ่นสาธยายมนต์ เรียนมูลน้อย มูลใหญ่ มูลกัจจายน์ ศึกษาทั้งการอ่านการเขียนอักษรไทยน้อย ไทยใหญ่ และอักษรขอม จนชำนาญคล่องแคล่วทุกอย่าง”

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีต่อไปว่า -

    “ท่านอาจารย์เคยเล่าประวัติชีวิตครั้งเป็นสามเณรให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังเสมอ ซึ่งแสดงถึงความวิริยะอุตสาหะ และการปฏิบัติครูอาจารย์ของท่านว่า

    สมัยนั้นท่านเป็นสามเณรใหญ่ ถ้ามีกิจนิมนต์พระไปฉันนอกวัดแล้ว ท่านจะต้องเป็นคนพิเศษได้ติดตามครูอาจารย์ไปด้วยเสมอ เพราะท่านเป็นเณรใหญ่ ที่ครูบาอาจารย์รัก และไว้เนื้อเชื่อใจมาก ไปไหนจะต้องเอาท่านไปด้วยเสมอ เพื่อคอยปฏิบัติรับใช้ครูอาจารย์

    กิจการของครูอาจารย์ทุกอย่าง ท่านจะรับทั้งหมดโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากใจใดๆ ทั้งสิ้น เป็นต้นว่าบาตรของพระทุกองค์ ท่านจะรับภาระคนเดียว สะพายที่คอแล้วห้อยไว้ทั้งหน้าทั้งหลังจนรอบตัว

    ท่านผู้อ่านคงจะนึกภาพออก คือสามเณรคนเดียวหอบหิ้วบาตรตั้ง ๖ ลูก พร้อมทั้งถือกล้วยอ้อยที่ชาวบ้านเขาถวายมา อันเป็นประเพณีของชาวอิสาน

    ท่านเล่าว่าในสมัยเป็นสามเณร ท่านฉันอาหารได้มาก เมื่อไปฉันตามบ้าน ญาติโยมจะคอยตักเติมอาหารให้ท่านบ่อยๆ เขาเติมมากเท่าไรท่านก็ยิ่งฉันเพื่อฉลองศรัทธาเขาได้มากเท่านั้น จนชาวบ้านสงสัยว่าท่านฉันได้เยอะอย่างนี้แล้วท่านเอาไปเก็บไว้ที่ไหนกัน

    แต่ชาวบ้านก็ดีใจที่เห็นเณรฉันได้มาก อามิสทานของพวกเขาได้รับการบริโภคอย่างเอร็ดอร่อย

    นี่คือเรื่องราวบางส่วนในสมัยที่ท่านเป็นสามเณร

    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และพำนักอยู่ที่วัดใต้เรื่อยมาจนถึงพรรษา ๑๐ ได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้เป็น “ญาคู” คือเป็นครูสอนหมู่คณะสืบต่อมา

    ชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า ญาคูเสาร์

    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของพระภิกษุในสมัยก่อน ดังนี้

    ๑. ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของวัฒนธรรมล้านช้างแบ่งออกเป็น ๘ ขั้น (จากต่ำไปสูง) คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ ลูกแก้ว ยอดแก้ว

    ๒ ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของหัวเมืองอิสานโบราณแบ่งออกเป็น ๖ ขั้น คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ ส่วนสมณศักดิ์ขั้นลูกแก้ว กับ ยอดแก้ว นั้น ไม่มีในหัวเมืองอิสาน เพราะเป็นสมณศักดิ์เทียบเท่าชั้น รองสังฆราชา และ สังฆราชา

    ๓. สมณศักดิ์ฝ่ายปริยัติ เป็นครูอาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการ ได้แก่ สำเร็จ ซา และ คู

    ๔. สมณศักดิ์ฝ่ายปกครอง ได้แก่ ฝ่าย - ปกครองในหมวด, ด้าน - ปกครองในแขวง และ หลักคำ - ประมุขสงฆ์

    ทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมาเป็นคำอธิบายจาก “ทำเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์โบราณ” โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)

    ก็คัดลอกมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ เป็นการประเทืองความรู้ซึ่งผมก็ไม่สามารถอธิบายขยายความไปอีกได้

    เคยได้ยินชื่อพระที่มีชื่อเสียงของฝั่งลาวในอดีต ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนใจมาก คือ ท่าน สำเร็จลุน ไม่ใช่ “สมเด็จ” อย่างที่หนังสือหลายเล่มเขียนถึงนะครับ
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดใต้


    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล บวชเป็นพระแล้ว ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดใต้นี้ถึง ๑๐ พรรษา ชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ใหญ่ จึงเริ่มต้นที่วัดแห่งนี้

    ผมขออนุญาตคัดลอกข้อเขียนของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติเกี่ยวกับเรื่อง วัดใต้ มาเสนอดังนี้ :-

    วัดใต้หรือวัดใต้เทิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนที่สูงริมฝั่งแม่น้ำมูลตอนใต้ ทางทิศตะวันออกของเมืองอุบลราชธานี เป็นบริเวณแถบที่อยู่ทางท้ายเมือง แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ตะวันออกสุดของประเทศไทยที่อำเภอโขงเจียม

    ตามประวัติวัดในเมืองอุบลราชธานีมีว่า วัดใต้เทิงนี้ ญาท่านบุญศรี เป็นผู้สร้าง เมื่อ จ.ศ.๑๑๗๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๗ โดยครั้งนั้นเป็นวัดในคณะมหานิกาย

    เดิมทีนั้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่ลาดลงไปจนจรดแม่น้ำมูลนั่นเป็นที่ตั้งของวัดใต้ เช่นกัน เรียกขานกันว่า วัดใต้ท่า เดิมพระมหาราชครูเจ้าท่านหอแก้ว ผู้เป็น หลักคำเมืองอุบล (ตำแหน่งประมุขสงฆ์เดิมของทางอิสาน) หลบไปนั่งกรรมฐานที่ป่าบริเวณนี้ ครั้นมีพระสงฆ์ตามไปอยู่ปฏิบัติมากขึ้นจึงได้สร้างเพิ่มขึ้นเป็นวัด เรียกว่า วัดใต้ท่า ต่อมาถูกยุบร้างไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙

    ... ฯลฯ...
    ในหนังสือประวัติวัดใต้ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ กล่าวว่า

    “เดิมทีนั้นวัดใต้ มีอยู่ ๒ วัด คือ วัดใต้ท่า กับ วัดใต้เทิง เพราะเหตุที่วัดทั้งสองนั้นอยู่ติดกัน ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ซึ่งเป็นผู้ปกครองสังฆมณฑลในสมัยนั้น จึงได้ยุบวัดใต้ท่าที่ร้างไป ให้รวมกับวัดใต้เทิง กลายเป็นวัดใต้วัดเดียวในปัจจุบัน แล้วโอนมอบที่ดินวัดใต้ท่าให้เป็นศาสนาสมบัติกลางในกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

    ต่อมาที่ดินบริเวณนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นสำนักงานไฟฟ้าบริษัทส่วนบุคคล ทำการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง...

    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้อ้างถึงคำกล่าวของคุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล ว่า

    “วัดใต้นี้ มี ๒ วัด คือ วัดใต้ท่า และ วัดใต้เทิง (เทิงแปลว่า ที่สูง ข้างบน) ทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ตรงกันข้าม ต่อมาไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้วัดใต้ท่ากลายเป็นวัดร้างไป ซึ่งต่อมาที่ตรงนั้นได้เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าของเมืองอุบลฯ ใช้เครื่องจักรฉุดเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า จนต่อมาใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนกั้นน้ำจึงเลิกใช้เครื่องจักรปั่นไฟ เหลือเป็นที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ อุบลราชธานี ส่วนวัดใต้เทิง นั้น ยังคงอยู่และเจริญรุ่งเรืองมาจนกระทั่งบัดนี้ เรียกขานกันว่าวัดใต้”
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เตรียมตัวลาสิกขา


    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หรือ ญาคูเสาร์ ในขณะนั้นบวชได้สิบกว่าพรรษา และพำนักอยู่ที่วัดใต้ตลอดมา ท่านเกิดมีความคิดจะลาสิกขา อยากออกไปครองเพศฆราวาสเป็นกำลัง

    หลวงปู่ใหญ่ ได้คิดวางแผนที่จะสึกเป็นเวลาหลายปี เตรียมตัวจะไปประกอบอาชีพพ่อค้า โดยล่องเรือค้าขายไปตามลำน้ำมูล และแม่น้ำโขง ลงไปทางเมืองโขง เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสีทันดร ทางฝั่งลาว แวะขายสินค้า และซื้อสินค้าท้องถิ่นไปเรื่อยๆ เอาสินค้าจากบ้านนี้ไปขายบ้านนั้น เอาของจากบ้านนั้นไปขายบ้านโน้น เมื่อได้เงินพอสมควรแล้วจึงจะหวนกลับมาปลูกบ้าน แต่งเมีย สร้างหลักฐานทำไร่ทำนาค้าขายต่อไป

    หลวงปู่ใหญ่ ได้สะสมวัตถุข้าวของและเงินทองไว้เป็นจำนวนมาก กุฏิของท่านจึงเต็มไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้ ผ้าไหมแพรพรรณต่างๆ ที่พร้อมจะเป็นสินค้าเพื่อประกอบอาชีพภายหลังลาสิกขาแล้ว

    หลวงปู่ใหญ่ มั่นใจว่าท่านสะสมสิ่งของมากพอสมควร เงินทองก็มีมากพอสมควรแล้ว สิ่งที่ยังขาดอยู่ก็เรือบรรทุกสินค้าขึ้น - ล่องไปตามลำน้ำ หากได้เรือเมื่อไรก็พร้อมที่จะลาสิกขา ออกไปประกอบอาชีพตามที่ฝันเอาไว้

    เป็นจังหวะเหมาะ ท่านได้ข่าวว่ามีท่อนซุงต้นหนึ่งอยู่ในดง เป็นขอนที่งดงามและเหมาะที่จะขุดเป็นเรือบรรทุกสินค้ามาก

    แต่ขอนซุงที่ว่านั้นเป็นขอนที่มีอาถรรพณ์ ไม่มีใครสามารถไปเอาออกมาจากดงได้ มีผู้พยายามหลายคนแต่ไม่สำเร็จ บางคนต้องตายน่าอนาถ ที่ไม่ตายก็ป่วยไข้หรือเป็นบ้า ป้ำๆ เป๋อๆ ไปก็มี ที่นอนไหลตายก็มี จึงไม่มีใครกล้าไปแตะต้องขอนซุงต้นนั้นเลย ปล่อยให้นอนอยู่กับดินที่กลางดงนั้นอยู่นาน

    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ทราบข่าว ก็เดินทางไปดู เห็นว่าเป็นขอนซุงที่งดงามเหมาะที่จะขุดเรือมาก ท่านจึงลงมือขุดจนกระทั่งสำเร็จเป็นเรือที่งดงามโดยที่ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นแต่อย่างใด

    ท่านพอใจในเรือลำนั้นมาก ได้นำมาผูกไว้ที่ท่าน้ำตรงหน้ากุฏินั้นเอง ทุกวันคืนท่านจะมองเห็นเรือลำสวยงามนั้นลอยอยู่หน้ากุฏิส่ายขึ้นลงไปตามแรงกระเพื่อมของน้ำ เหมือนกับเร่งวันเร่งคืนให้เจ้าของรีบลาสิกขาเพื่อใช้พาหนะคู่ใจขึ้นล่องไปตามแม่น้ำสู่สถานที่ต่างๆ ดังใจฝัน

    กล่าวกันว่าเรือลำนั้นมักจะมีเหตุการณ์ประหลาดๆ ให้พบเห็นอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พอถึงวันพระ ตอนกลางคืน เรือจะลอยออกไปกลางลำแม่น้ำได้เองทั้งๆ ที่ผูกเอาไว้ จนกระทั่งเช้าเรือก็กลับมาได้เอง นอกจากนี้ก็มีเหตุการณ์ประหลาดอื่นๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ จนไม่มีใครกล้าที่จะขึ้นไปนั่งเรือลำนั้น

    บัดนี้ การลาสิกขาของหลวงปู่ใหญ่เป็นอันว่าพร้อมทุกอย่าง เพียงแต่ว่ายังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอนเท่านั้น
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จุดเปลี่ยนเมื่อโยมแม่ถึงแก่กรรม


    ช่วงที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล รอวันที่จะลาสิกขาอย่างกระวนกระวายใจนั้น บังเอิญโยมแม่ของท่านเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางไปบ้านข่าโคม บ้านเกิด เพื่อประกอบพิธีเผาศพให้โยมแม่

    ในช่วงนั้นหลวงปู่ใหญ่ท่านเศร้าโศกเสียใจและอาลัยอาวรณ์โยมแม่ของท่านมาก

    เมื่อจัดงานศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็กลับมาพำนักที่วัดใต้ เหมือนเดิม

    ในเวลาเย็น หลวงปู่ใหญ่ นั่งอยู่องค์เดียวเงียบๆ บนกุฏิที่พักของท่าน ทอดสายตาไปทางลำน้ำมูลที่อยู่เบื้องหน้า มันเป็นฤดูน้ำหลาก กระแสน้ำไหลค่อนข้างเชี่ยว พัดพาเอาโคลนตมสีขุ่นแดงมาตามแรงไหลของมัน เหล่านกกากำลังบินกลับรวงรังแข่งกับพระอาทิตย์ที่ใกล้จะลับขอบฟ้า

    ลมเย็นพัดมาเรื่อยๆ กำลังสบาย สายตาของท่านจับอยู่ที่ลำเรือที่ท่านภาคภูมิใจ และเป็นเรือแห่งความหวังของท่าน มันถูกล่ามเชือกไว้ที่ตีนท่า มันเคลื่อนไหวโคลงหัวไปมาตามแรงคลื่น รอการปลดปล่อยเพื่อนำพาเจ้าของออกไปแสวงหาความร่ำรวย ตามที่ท่านคาดฝันเอาไว้

    แม้ดูท่านจะนั่งสงบนิ่ง แต่ภายในจิตใจกำลังครุ่นคิดและสับสนพอประมาณ

    หลวงปู่ใหญ่เล่าว่า ท่านหวนคิดไปถึงโยมแม่ที่เพิ่งจะลาจากไป โยมแม่เป็นคนขยันขันแข็ง ทำมาหากินไม่เคยได้หยุดพัก ทำงานหนักมาตลอดชีวิต อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาจนจัดได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เมื่อถึงคราวที่ท่านตายลง สมบัติทั้งหลายที่ท่านเก็บสะสมไว้ตลอดชีวิต ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลยแม้แต่ชิ้นเดียว เสื้อผ้าติดกายก็ถูกไฟเผามอดไหม้เป็นเถ้าถ่านจนหมดสิ้น เห็นแล้วชวนให้น่าสลดสังเวชเป็นอย่างยิ่ง

    หลวงปู่ใหญ่ คิดทบทวนไปมา มันสมควรแล้วหรือเมื่อครั้งโยมแม่ยังมีชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา ท่านสู้เหน็ดสู้เหนื่อยทุกอย่างเพื่อสร้างฐานะให้ครอบครัว แล้วท่านได้อะไรที่เป็นแก่นสารของชีวิตที่พอจะนับได้ว่าเกิดมาแล้วไม่ขาดทุน

    หลวงปู่ย้อนมานึกถึงตัวท่านเองว่า “ตัวเรานี้ก็เช่นกัน เมื่อเราลาออกไปค้าขาย เราจะต้องเสี่ยงกับความไม่แน่นอนหลายอย่าง

    <TABLE id=table6 border=0 width=282 align=left><TBODY><TR><TD width=126>
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=bottom width=146>พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    วัดใต้ อำเภอเมือง
    อุบลราชธานี
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>พระอุโบสถวัดใต้หลังปัจจุบัน</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ประการแรก ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน

    ประการที่สองจะต้องเสี่ยงภัยกับโจรผู้ร้ายจะถูกปล้นถูกลักขโมยเอาเมื่อไรก็ได้

    และประการที่สาม อาจต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุ เรืออาจจะจมอาจจะคว่ำเพราะโดนคลื่นโดนพายุ เราต้องล่มจมเพราะภัยธรรมชาติก็ได้

    ถ้ามองในแง่ดี ถ้าหากการค้าของเรามีกำไร สะสมเงินทองได้มากพอ นำไปสร้างบ้านเรือน แล้วแต่งเมียอยู่กินด้วยกันมีความสุขเล็กๆ น้อยๆ พร้อมกับมีลูกที่น่ารักสร้างฐานะได้มั่นคง ก็นับว่าดีไป

    แต่ถ้าเงินทองเราหมดลง ก็ต้องดิ้นรนขวนขวายต่อไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ดูแต่โยมแม่ของเรา ท่านต้องเหน็ดเหนื่อยตลอดชีวิต เวลาท่านตาย ไม่เห็นท่านเอาอะไรไปได้บ้าง สมบัติพัสถานต่างๆ เราไม่สามารถเอาเป็นที่พึ่งที่ยึดได้...
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตัดสินใจขอบวชตลอดชีวิต


    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล คิดทบทวนอยู่นานด้วยการถามตอบตัวเองกลับไปกลับมา เรือที่ผูกไว้ที่ท่าน้ำก็ดูกระสับกระส่ายคล้ายจะเร่งเอาคำตอบจากเจ้าของว่า

    “จะเอาอย่างไรแน่ ทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว เหลือเพียงการตัดสินใจว่าท่านจะสึกหรือไม่สึก เรารอท่านอยู่อย่างนี้มานานพอสมควรแล้ว ขอให้ท่านรีบตัดสินใจไวไว”

    ใกล้จะถึงเที่ยงคืน ก็เกิดความคิดสุดท้ายขึ้นมาว่า

    “การสึกออกไปใช้ชีวิตฆราวาส เราจะต้องดิ้นรนขวนขวายหาทรัพย์อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อตายไปก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ดูตัวอย่างโยมแม่ของเราซิ ท่านแสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนแล้วไม่ใช่หรือ

    ถ้าเช่นนั้นเราจะสึกหาลาเพศออกไป มันจะได้ประโยชน์และมีความหมายอย่างไรเล่า สู้อยู่ในเพศพรหมจรรย์อย่างนี้น่าจะดีกว่า นอกจากเป็นเพศที่ถือว่าสูงส่ง ไม่ได้ประกอบกรรมทำชั่วแล้ว ยังสามารถประกอบมรรคผลนิพพานให้เกิดให้มีขึ้นได้ อย่างน้อยก็เป็นอุปนิสัยปัจจัยติดตามต่อไปได้อยู่มิใช่หรือ

    อย่ากระนั้นเลย เราไม่สึกดีกว่า !

    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ได้พิจารณาเห็นความทุกข์ยากที่ไม่สิ้นสุดของการใช้ชีวิตฆราวาส และเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตเช่นนั้นแล้ว ท่านจึงตัดเป็นใจแน่วแน่ว่า :-

    “ข้าพเจ้าตัดสินใจขอบวชเพื่อถวายพรหมจรรย์ตลอดชั่วชีวิต”

    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ ! ก้อนสะอื้น ของผมปรากฏขึ้น รู้สึกปีติยินดีอย่างที่สุด สาธุ ! สาธุ ! สา__ธุ !
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สละสิ่งที่ชาวโลกเขามีกัน


    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ตัดสินใจได้เด็ดขาดว่าจะไม่ลาสิกขาแล้ว ภายในจิตใจก็เกิดความเชื่อมั่นและเข้มแข็งขึ้นมาอย่างประหลาด

    ท่านรีบลงจากกุฏิ เดินตรงไปยังท่าน้ำ จัดการแก้เชือกหรือที่ผูกไว้กับเสาหลัก หยุดอธิษฐานจิตครู่หนึ่ง แล้วผลักหัวเรือออกไปในทิศทางที่น้ำไหล เรือพุ่งออกไปตามแรงผลัก ลอยเคว้งคว้างกลางกระแสน้ำแล้วล่องลอยไปเรื่อยๆ ตามความแรงของกระแสน้ำ ไม่มีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน ดูราวกับแล้วแต่บุญแต่กรรมจะพัดพาไป

    พอเรือลำงามลอยลับไปจนสุดสายตาแล้ว ท่านรู้สึกโล่งอกโล่งใจขึ้นทันที มีความสุขใจ สบายใจ และมั่นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คล้ายกับได้ปลดเครื่องพันธนาการบางอย่างให้ออกไปจากชีวิตฉันนั้น

    หลวงปู่ใหญ่ เดินขึ้นกุฏิด้วยความสุขใจ คืนนั้นท่านได้หลับอย่างมีความสุขและความสบายใจชนิดที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน

    พอรุ่งเช้า หลวงปู่ใหญ่ ได้ประกาศบอกข่าวให้หมู่คณะและญาติมิตรได้ทราบโดยทั่วกันว่า ท่านเลิกล้มความตั้งใจที่จะลาสิกขาแล้วผู้ที่ทราบข่าวต่างก็อนุโมทนาสาธุไปตามๆ กัน

    นอกจากนี้ท่านได้บอกข่าวไปทางหมู่ญาติอย่างเปิดเผยว่าบรรดาข้าวของ เครื่องใช้ไม้สอย เสื้อผ้าแพรพรรณ ตลอดจนเงินทองที่ท่านอุตส่าห์เก็บสะสมมานานปี ท่านจะสละแจกสละทานให้จนหมดสิ้นใครอยากได้อะไรก็ขอให้มารับเอาไป

    เมื่อญาติมิตรได้ทราบข่าว ต่างก็พากันมารับเอาสิ่งของที่ท่านสละเป็นทานเหล่านั้น แจกทานอยู่หลายวันจึงหมด เพราะของสะสมไว้มากจริงๆ

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ท่านไม่ได้นึกอาลัยอาวรณ์ในข้าวของเหล่านั้นเลย กลับโล่งใจเบาสบาย และเลิกการสะสมมาจนตราบเท่าชีวิต

    ภายหลังที่ท่านออกธุดงค์กรรมฐานแล้ว ท่านบอกว่าแม้แต่ชีวิตของท่านก็สละถวายพระศาสนาอย่างหมดสิ้น ไม่มีความห่วงอาลัยในสิ่งใดเลย

    กล่าวถึงเรือลำงามของท่าน ทราบต่อมาในภายหลังว่า มีชาวบ้านเขาจับได้ คนผู้นั้นเขารู้ข่าวคราวความอาถรรพณ์ของเรือลำนั้นดี จึงได้ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้อย่างถูกต้อง หลังจากนั้นไม่ช้านานนักเขากลายเป็นคนมั่งมีขึ้นมาทันตาเห็น

    น่าเสียดาย ในบันทึกไม่ได้บอกว่า โยมผู้จับเรือได้นั้นเป็นใคร ไม่เช่นนั้นจะตามไปสัมภาษณ์เขียนเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังได้

    และน่าเสียดายที่ไม่ทราบว่า หลวงปู่ใหญ่ ท่านอธิษฐานจิตก่อนปล่อยเรือลำนั้นว่าอย่างไร ใครทราบก็ช่วยบอกด้วยนะครับ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำเนิดธรรมยุติกนิกาย


    ผมขออนุญาตพักเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลไว้ตรงนี้ก่อน เพื่อนำเสนอเรื่องราวสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน

    ในขณะนั้น หลวงปู่ใหญ่ ของเรายังเป็นพระสังกัดในคณะมหานิกาย ซึ่งท่านเห็นว่าการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในสมัยนั้นยังลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง ท่านจึงญัตติใหม่มาสังกัดธรรมยุติกนิกาย

    <TABLE id=table7 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle> รัชกาลที่ ๔ ในชุดฉลองพระองค์ทรงศีล ฉายเมื่อปีเถาะ พ ศ. ๒๔๑๐ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์หลังสุดก่อนเสด็จไปหว้ากอ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เพื่อให้เรื่องราวเชื่อมโยงกัน จึงได้นำเสนอเรื่องราว และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับกำเนิดธรรมยุติกนิกาย ขึ้นในประเทศไทย และการประดิษฐานคณะธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ที่คณะธรรมยุติกนิกายแผ่ขยาย ออกไปยังต่างจังหวัด จนกระทั่งปักหลักฐานที่มั่นคงในภาคอิสาน แล้วแผ่ขยายออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ซึ่ง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีบทบาทในการสร้างวัดกรรมฐานสังกัดคณะธรรมยุตเป็นร้อยๆ วัดทั่วภาคอิสานทีเดียว

    ในหนังสือชื่อ พุทธศาสนวงศ์ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ตรัสถึงธรรมยุติกนิกาย ไว้ดังนี้ -

    ธรรมยุติกนิกาย เป็นนิกายสงฆ์นิกายหนึ่งในประเทศไทย เป็นผลเกิดจากการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ครั้งยังเสด็จออกผนวช มีพระนามในพระศาสนาว่า “วชิรญาโณ”

    พระองค์สืบวงศ์บรรพชาอุปสมบทมาแต่คณะสงฆ์ผู้อุปสมบทในนิกายสีมากัลยาณี ในรามัญประเทศ อันสืบมาแต่ลังกา และสืบๆ ขึ้นไปได้จนถึงต้นเดิม

    (หมายความว่ามีการอุปสมบทสืบต่อกันมาโดยไม่มีขาดสายสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยพุทธกาล ซึ่งจะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป - ผู้เขียน)

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอุปสมบทในพระสงฆ์ไทยที่สืบมาแต่เดิม ซึ่งเรียกภายหลังว่ามหานิกาย แล้วได้ทรงรับอุปสมบทอีกในวงศ์สีมากัลยาณีนี้นำขึ้น ได้ทรงปฏิบัติและวางระเบียบให้เคร่งครัด ถูกตรงตามพระธรรมวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงบัญญัติไว้ อันปรากฏในพระบาลีพระไตรปิฎก

    ได้มีผู้บรรพชาอุปสมบทและปฏิบัติตามในวงศ์และระเบียบวิธีเดียวกันมากขึ้น จนเกิดเป็นพระสงฆ์นิกายหนึ่ง เรียกนามในภายหลังว่า “ธรรมยุติกนิกาย” หรือ “นิกายสงฆ์คณะธรรมยุติกา” เรียกสั้นว่า “ธรรมยุต”

    ชื่อนี้แปลวา “ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม”

    เป็นเนติกนามอันหมายถึงเหตุที่คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ (คำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุสาสน์ แม้จะเป็นอาจิณปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดธรรมวินัย )
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ก่อเกิดธรรมยุติกนิกาย


    เพื่อพวกเราอันเป็นชนรุ่นหลัง จะได้ทราบประวัติการเกิดขึ้นแห่งคณะธรรมยุตโดยแจ่มแจ้ง ผมขออัญเชิญพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระศาสนาโดยย่นย่อ มาเสนอไว้ ณ ที่นี้

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ ศ. ๒๓๔๗ ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นรัชทายาทตามโบราณราชประเพณี

    พ.ศ. ๒๓๕๕ พระชันษา ๙ พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ สมมุติเทวาวงศ์ พงศ์อิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชกุมาร”

    พ ศ. ๒๓๖๐ พระชันษา ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ๗ เดือน จึงลาผนวช กล่าวกันว่า สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระญาณสังวร (สุข) เป็นพระอาจารย์ถวายศีล

    ก่อนออกทรงผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงเริ่มเรียนอักขรสมัยในฝ่ายภาษาบาลีมาบ้างแล้ว เมื่อทรงผนวชจึงได้ทรงเล่าเรียนมากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อลาบวชสามเณรแล้ว ก็ได้เสด็จไปเรียนภาษาบาลีต่อที่หอพระมณเฑียรธรรม จึงนับว่าพระองค์มีพื้นฐานทางภาษาบาลีเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์

    ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชันษา ๒๑ พรรษา เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงได้รับการถวายสมณฉายาว่า “วชิรญาโณ” หลังพิธีผนวช ได้เสด็จประทับ ณ ตำหนักวัดมหาธาตุทรงทำอุปัชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาเพื่อศึกษาวิปัสสนาธุระตามนิยมผู้บวชมีเวลาน้อย ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)

    ทรงผนวชได้ ๑๕ วัน สมเด็จพระชนกนาถ รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตโดยไม่ได้มีพระราชดำรัสสั่งมอบราชสมบัติ พระราชวงศ์และเสนาบดีได้ทูลถามว่าจะทรงปรารถนาราชสมบัติ หรือจะทรงผนวชต่อไป

    ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงตอบว่าจะทรงผนวชต่อไป พระราชวงศ์และเสนาบดีจึงทูลอัญเชิญ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระโอรสองค์ใหญ่ (ต่างพระมารดา) ซึ่งมีอายุแก่กว่าพระองค์ ๑๗ ปี ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

    ส่วนท่าน วชิรญาโณภิกขุ ก็ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศ ตั้งพระหฤทัยศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไปไม่มีกำหนด

    (เหตุการณ์ก่อตั้งธรรมยุติกนิกาย ผมขอยกไปเสนอในตอนต่อไป)

    หากเราได้ศึกษาพระราชประวัติโดยละเอียด จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกผนวชทรงปฏิบัติถูกปฏิบัติตรง และทรงปฏิบัติจริง เป็นธรรมทายาท (ทายาทแห่งธรรมไม่ได้ทรงมุ่งลาภยศสักการะ ที่เรียกว่า อามิสทายาท (ทายาทแห่งอามิส วัตถุสิ่งของเครื่องล่อใจ) และทรงเป็น กรณวสิกะ (ผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ คือ ทรงประกอบกรรมดี โดยเชื่อกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดีอย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เลย)

    พ.ศ. ๒๓๖๙ พรรษาที่ ๓ ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงเข้าแปลหนังสือในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยได้ ๕ ประโยค ก็ขอพระราชทานหยุด

    หมายความว่าพระองค์ทรงเข้าสอบแปลบาลีได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค แล้วขอพระราชทานหยุดการสอบไว้เพียงนั้น เพราะมิได้ทรงปรารถนาที่จะมียศมีตำแหน่งในทางพระแต่อย่างใด

    พ ศ. ๒๓๗๒ พรรษาที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทว สา) วัดราชประดิษฐ์ฯ ทรงเล่าว่า วันหนึ่งได้เสด็จเข้าไปถวายเทศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ตรัสถึงท่านวชิรญาโณภิกขุ ว่า “ชีต้นบวชมานานแล้ว ควรเป็นราชาคณะได้ แล้วพระราชทานพัดแฉกพื้นตาดให้ทรงถือเป็นพัดยศต่อมา”

    ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ตลอดจนถึง พ.ศ. ๒๓๗๙ พรรษาที่ ๑๓ จึงโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร สาเหตุที่โปรดให้เชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารในเรื่องพระราชประวัตินั้นมีว่า :-

    “เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับไปอยู่วัดราชาธิวาสนั้น พระสงฆ์ซึ่งถือวัตตปฏิบัติอย่างธรรมยุติกามีจำนวนเพียงสัก ๒๐ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดราชาธิวาสบ้าง คงอยู่วัดมหาธาตุหรืออยู่วัดอื่นบ้าง

    แต่เมื่อพระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาเลื่องลือแพร่หลาย ก็มีพระภิกษุสามเณรมหานิกายพากันไปถวายตัวเป็นศิษย์แล้วเลยบวชเป็นธรรมยุติกามากขึ้น และพวกคฤหัสถ์พากันเลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้นโดยลอาดับ จนที่วัดราชาธิวาสเกิดเป็นสำนักคณาจารย์แห่งหนึ่ง

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ

    ถึงกระนั้นการทรงทำความเจริญให้เกิดขึ้น ณ วัดราชาธิวาสก็เป็นเหตุให้พวกศัตรูมีจิตริษยายิ่งขึ้น ถึงกล่าวแสดงความสงสัยว่า ที่คนพอใจไปวัดราชาธิวาสนั้นเพราะประสงค์จะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทางการเมือง

    (จากพระราชประวัติ จะเห็นว่ามีฝ่ายตรงข้ามพยายามต่อต้านขัดขวาง การตั้งคณะธรรมยุตของพระองค์มาโดยตลอด และในที่สุดปล่อยข่าวว่าพระองค์ท่านคบคิดกันที่จะแย่งราชสมบัติ -ปฐม นิคมานนท์)

    <TABLE id=table31 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle> พระไพรีพินาศ
    วัดบวรนิเวศวิหาร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงระแวงสงสัยในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทรงรำคาญพระราชหฤทัยที่เกิดกล่าวกันเช่นนั้นแพร่หลาย

    จึงตรัสปรึกษาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติเมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒน์ฯ ๆ กราบทูลความเห็นว่า ถ้าโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ ความสงสัยนั้นจะระงับไปเอง พระบาทสมเด็จพระเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย

    เผอิญมีกรณีเหมาะแก่พระราชประสงค์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ แต่ยังไม่ได้ครองวัด และเวลานั้นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างใหม่ ที่ในพระนคร ว่างอยู่ จึงโปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร

    ในพระนิพนธ์พุทธศาสนวงศของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช บันทึกไว้ว่า

    “เมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ทรงได้อิสรภาพในการปฏิบัติลัทธิพิธีธรรมยุตได้โดยเอกเทศ เพราะเมื่อประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุก็ดี ที่วัดสมอรายก็ดี เพียงประทับอาศัยอยู่กับพระสงฆ์เนวาสิกะ (หมู่เจ้าอาวาส)

    ครั้นได้ทรงครองวัดเป็นอิสระ โดยส่วนหนึ่งแล้วก็ได้จัดการศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัย และทรงตั้งขนบธรรมเนียมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ได้มีผู้มาบวชปฏิบัติเป็นธรรมยุตมากขึ้น จนถึงขยายออกไปตั้งสำนักต่างขึ้นโดยลำดับ..

    <TABLE id=table8 border=0 align=left><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    (รัชกาลที่ ๔)

    </TD><TD align=middle>วัดบวรนิเวศวิหาร
    กรุงเทพมหานคร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​








    ขออนุญาตแทรกเหตุการณ์เรื่องหนึ่ง คือ ประมาณ พ ศ. ๒๓๙๑ ได้มีผู้นำพระพุทธรูปศิลาสมัยศรีวิชัย หน้าพระเพลาหนึ่งคืบสี่นิ้ว สูงตลอดพระรัศมีหนึ่งศอกมีเศษไม่ถึงนิ้วมาถวาย ทรงถวายพระนามว่าพระไพรีพินาศ ซึ่งประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหารมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

    พ.ศ. ๒๓๙๔ พรรษาที่ ๒๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระราชวงศ์และเสนาบดีพร้อมกันทูลเชิญให้ทรงลาผนวชไปทรงปกครองบ้านเมือง

    ทรงเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระศาสนาเป็นสำคัญ จึงทรงลาผนวช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นรัชกาลที่ ๔ เรียกพระนามโดยย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

    ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาให้เจริญสืบต่อมาจนสิ้นรัชกาล
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นาทีกาลแห่งสวรรคต


    เรื่องนี้ดูจะห่างไกลไปจากเรื่องของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล แต่เห็นว่าให้อุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมได้ดีถึงเรื่อง “สติ” เพราะธรรมปฏิบัติทุกอย่างตามแนวทางพระพุทธศาสนา สามารถย่นย่อรวมลงที่เรื่อง “สติ” นี้เอง

    สติ จึงเป็นแก่นธรรมในทางพระพุทธศาสนา (สิ่งที่คณะของ ดร เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง พยายามค้นหาทาง ทีวี แต่หาไม่เจอนั่นเอง) เราคงจะมีโอกาสพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง

    ณ โอกาสนี้ ผมขออนุญาตท่านผู้อ่าน เพื่อคัดลอกเหตุการณ์วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ก่อกำเนิดธรรมยุติกนิกาย มาเสนออย่างย่นย่อที่สุด เพื่อแสดงอุทาหรณ์ให้เห็นถึงพระผู้เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง สามารถครองสติได้อย่างแน่วแน่แม้เผชิญกับความตาย

    เรื่องดีๆ อย่างนี้ ถ้าไม่ฉวยโอกาสนำเสนอ แล้วเมื่อไหร่จะได้กลับมาเขียนถึงอีกใช่ไหมครับ ?

    ท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่า สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวรหลังกลับจากทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๑๑ และพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ คือวันที่ ๑ ตุลาคม พ ศ. ๒๔๑๑ เมื่อพระชนมายุ ๖๔ พรรษา เท่านั้นเอง

    ในหนังสือเรื่อง พระเจ้ากรุงสยาม ของท่านอาจารย์ ส.พลายน้อยได้บันทึกเหตุการณ์วันสวรรคต ดังนี้ :-

    วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ๑ ตุลาคม (๒๔๑๑) เวลาเช้าสองโมง รับสั่งแก่พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ว่า “วันนี้เป็นวันสำคัญอย่าไปข้างไหนเลย ให้คอยดูใจพ่อ ข้ารู้เวลาตายของข้าแล้ว ถ้าข้าจะเป็นอย่างไรลง ก็อย่าได้วุ่นวายบอกหนทางว่า อรหังพุทโธ เลย ให้นิ่งดูแต่ในใจเถิด เป็นธุระของข้าเอง”

    ความสัตย์จริงที่มีพระกระแสรับสั่งดังนี้ เวลานั้นพระยาบุรุษฯ หาได้ลงใจตามเสด็จไม่ ด้วยเห็นพระอาการยังปกติเรียบร้อยอยู่ หาได้เห็นสัญญาวิปลาสสิ่งใดสิ่งหนึ่งในพระองค์ไม่

    ครั้นเวลาสามโมงเศษ (ตอนเช้า ประมาณ ๙ น. - ผู้เขียน) จึงรับสั่งให้หาพระราชโกษา (จัน) กรมพระภูษามาลาเข้าไปเฝ้าแล้วรับสั่งว่า

    “เมื่อข้าไม่มีตัวแล้ว เจ้าจะทำในสรีระร่างกายของข้าสิ่งไรไม่เป็นที่ชอบใจอยู่แต่ก่อน ขออย่าได้ทำ เป็นต้นว่า แหวนที่จะใส่ปากผี เอาเชือกผูกแหวนแขวนห้อยไว้ริมปาก กลัวผีจะกลืนแหวนเข้าไป อย่างนี้จงอย่าได้ทำแก่ข้าเลย แต่อย่าให้เสียธรรมเนียม แหวนที่จะใส่ปากนั้น ให้เอาเชือกผูกแหวนแขวนที่เข็มกลัดคอเสื้อเพชรที่ข้าได้ขอไว้นานแล้ว เมื่อจะตายจะเอากลัดไปด้วย ราคาก็ไม่มากนักเพียงห้าสิบชั่งเศษ แล้วจะได้ทำพระฉลองพระองค์ด้วย

    เข็มขัดที่คาดนั้น อย่าให้เอาของแผ่นดิน ให้เอาของเดิมของข้าที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ ซื้อกรมหลวงพิทักษ์มนตรี นั้น

    แหวนที่จะใส่นั้นได้จัดมอบไว้แล้ว ให้ไปถามพ่อกลางดูเถิด

    สังวาลเครื่องต้น เอาสายที่ข้าทำใหม่ อย่าให้เอาสายสำหรับแผ่นดิน ให้เอาของที่ข้าทำใหม่ การอื่นๆ นอกนั้นก็ให้ไปปรึกษาพ่อกลางดูเถิด แต่อย่าให้เกี่ยวข้องเป็นของแผ่นดิน ของแผ่นดินนั้นพระเจ้าแผ่นดินใหม่ท่านจะได้ใส่เลียบพระนคร

    เมื่อเอาโกศลงเปลื้องเครื่อง ให้ค้นดูในปาก ฟันที่มีให้เอาไว้ให้หมด จะได้แจกลูกที่ยังไม่ได้ให้พอกัน ถ้าฟันไม่พอกันให้ถอดเอาเล็บมือ ถ้าเล็บมือไม่พอให้ถอดเอาเล็บตีน แบ่งปันกันไปกว่าจะพอ

    เงินก้อนจีนของข้าหาสะสมไว้ ว่าจะทำลองในโกศขึ้นไว้อีกสักองค์หนึ่ง ก็ทำหาทันไม่ เงินก้อนนั้นวางอยู่ที่หน้าต่างข้างโน้นหรืออย่างไรไม่รู้ได้เลย ให้กับกรมหลวงเทเวศร์ สานเสื่อปูพระรัตนสถานเสียเถิด

    ทองก็ได้หาสะสมไว้ จะทำโกศลงยาขึ้นไว้อีกสักองค์หนึ่งทำก็ไม่ทัน ทองนั้นระคนปนกันอยู่กับทองอื่นๆ ก็ให้เอาไปใช้ในการเบ็ญจาหรือจะเอาไปใช้ในพระฉลองพระองค์ก็ตามแต่ พระเบ็ญจานั้นอย่าทำให้ใหญ่โตไปเลยให้ปวยการผู้คนช่างเชียว ให้เอาอย่างเบ็ญจาที่ข้าทำให้วังหน้าน้องข้า มีตัวอย่างอยู่แล้ว ถึงจะใช้โครงอันนั้นก็ได้

    ครั้นเช้าห้าโมงเศษ (๑๑ น.) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าสั่งพระยาบุรุษราชพัลลภ ให้ไปเชิญเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่พระสมุหกลาโหม ท่านเจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก ให้เข้าเฝ้า เมื่อจะเข้ามาให้คอยเวลาทุกขเวทนาน้อยจึงให้เข้ามา

    พระยาบุรุษฯ ก็ไปกราบทูล กราบเรียนตามพระกระแสพระราชโองการ

    ครั้นเวลาเกือบจะใกล้เที่ยง พระวาโยถอย พระอาการค่อยคลายสบายขึ้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านเจ้าพระยาภูธราภัย เข้าไปเฝ้า รับสั่งเรียกพระนามและชื่อเรียงกันไป แล้วรับสั่งให้เข้าเฝ้าใกล้พระแท่น ให้ยื่นมือเข้าไปถวาย เอาพระหัตถ์มาทรงจับมือท่านทั้งสาม แล้วรับสั่งลาว่า

    “วันนี้พระจันทร์เต็มดวง เป็นวันเพ็ญ อายุของฉันจะหมดจะดับในวันนี้แล้ว ท่านทั้งหลายกับดิฉันได้ช่วยทำนุบำรุงประคับประคองกันมา

    บัดนี้ การมาถึงฉันแล้ว ฉันจะขอลาท่านทั้งหลาย ด้วยฉันออกอุทานวาจาไว้เมื่อบวชอยู่นั้นว่า วันไรเป็นวันเกิดอยากจะตายในวันนั้น

    วันฉันเกิดเป็นวันเพ็ญ เดือนสิบเอ็ด วันมหาปวารณา เมื่อป่วยไข้จะตายจะให้สัทธิงวิหาริก อันเตวาสิก ยกลงไป จะขอตายในท่ามกลางสงฆ์ เมื่อเวลาที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา

    ก็บัดนี้เห็นจะไม่ได้พร้อมตามความที่ปรารถนาไว้ เพราะเป็นคฤหัสถ์เสียแล้ว ฉันจะขอลาท่านทั้งหลายไปจากภพนี้ในวันนี้แล้ว ฉันขอฝากลูกของฉันด้วย อย่าให้มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งแก่ลูกของฉันต่อไปด้วยเถิด

    ท่านทั้งสามก็พากันโศกเศร้าร้องไห้ จึงรับสั่งห้ามว่า

    “อย่าร้องไห้เลยจ้ะ ความตายไม่เป็นของอัศจรรย์อะไรดอก สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ย่อมเหมือนกันทุกรูปทุกนาม แต่ผิดกันที่ตายก่อนตายหลัง แต่ก็ต้องตายเหมือนกันทั้งสิ้น

    ก็บัดนี้กาลมาถึงตัวฉันเข้าแล้ว ฉันจึงได้อำลาท่าน ท่านเห็นว่าฉันจะพลัดพรากจากไป มีความอาลัยรักใคร่จึงได้ร้องไห้ด้วยความเสียดาย ก็บัดนี้ตัวฉันเป็นคนถึงเข้าก่อน แล้วท่านทั้งหลายก็คงจะต้องถึงเหมือนกัน ผิดกันแต่ถึงก่อนถึงหลัง คงจะต้องไปทางเดียวอย่างนี้เหมือนกันทุกรูปทุกนาม

    ...ฯลฯ...

    พระองค์รับสั่งกับท่านทั้งสามต่อไปว่า “ฉันจะขอพูดด้วยการแผ่นดิน ยังหาได้สมาทานศีล ๕ ประการไม่ ฉันเป็นคนป่วยไข้จะขอสมาทานศีล ๕ ประการเสียก่อน แล้วจึงจะพูดด้วยการแผ่นดิน”

    จึงทรงตั้ง นะโม ขึ้นสามหน ทรงสมาทานศีล ๕ ประการจบแล้วเลยตรัสภาษาอังกฤษต่อไปอีกยืดยาว แล้วรับสั่งว่า

    “สมาทานศีลแล้วทำไมจึงพูดภาษาอังกฤษต่อไปอีกเล่า เพื่อจะสำแดงให้ท่านทั้งหลายเห็นว่าสติยังดีอยู่ ไม่ใช่ภาษาของตัวก็ยังทรงจำได้แม่นยำอยู่ สติสตังยังดีอยู่ จะพูดด้วยการแผ่นดินท่านทั้งหลายจะได้สำคัญว่าไม่ฟั่นเฟือนเลอะเทอะ สติยังดีอยู่

    ตัวท่านกับฉันได้ช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินมา ได้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมาจนสิ้นตัวฉัน

    ถ้าสิ้นตัวฉันแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงช่วยกันทำนุบำรุงการแผ่นดินต่อไปให้เรียบร้อย สมณพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์จะได้เป็นที่พึ่งอยู่เย็นเป็นสุข แต่ต้องรับฎีการ้องทุกข์ของราษฎรให้เหมือนฉันที่เคยรับมาแต่ก่อน...ฯลฯ...

    เวลาบ่ายห้าโมงเศษ (๑๗.๐๐ น ) มีพระบรมราชโองการรับสั่งแก่พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ให้ไปตามตาฟัก (พระยาศรีสุนทรโวหาร) เข้ามา ให้เอาสมุดดินสอเข้ามาด้วย ให้เข้ามารอคอยอยู่ เมื่อพระอาการค่อยสบายจึงเข้ามา...

    ...พระศรีสุนทรโวหาร เข้ามาเฝ้าทูลละอองฯ แล้วจึงรับสั่งแก่พระยาศรีสุนทรโวหารเป็นภาษามคธยืดยาว เรื่องอนาถปิณฑิโกวาทะ จบแล้วจึงรับสั่งถามพระศรีสุนทรโวหารว่า ที่ตรัสเป็นภาษามคธดังนี้ ผิดเพี้ยนอย่างไรบ้าง

    พระยาศรีสุนทรโวหาร กราบทูลพระกรุณาว่า ซึ่งภาษามคธนี้ไม่ผิดเพี้ยนแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เหมือนหนึ่งไม่ทรงพระประชวร

    จึงรับสั่งว่า อาการก็มากถึงเพียงนี้แล้ว ยังมีสติดีไม่ฟั่นเฟือนให้เอาสมุดมา ข้าจะเขียนคาถาลาพระ

    เมื่อทรงแต่งพระคาถาลาพระเสร็จแล้ว จึงรับสั่งแก่พระยาศรีสุนทรโวหาร ว่า ให้เอาไปคัดลอกให้อ่านออกง่ายๆ แล้วให้ไปสั่งมหาดเล็กให้จัดเครื่องนมัสการไปตั้งที่ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ เมื่อสงฆ์จะทำวินัยกรรมปวารณาพระวัสสา ให้จุดธูปเทียนขึ้น แล้วจึงอ่านคาถาลาพระในท่ามกลางสงฆ์แทนตัวข้า

    พระยาศรีสุนทรโวหารก็กราบถวายบังคมลามาทำตามพระกระแสรับสั่งทุกประการ

    ครั้นเวลาสองทุ่มสามสิบหกนาที จึงรับสั่งเรียกพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ว่า “พ่อเพ็ง เอาโถมารองเบาให้พ่อที”

    พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จึงเชิญเอาพระโถพระบังคนขึ้นไปบนพระแท่นถวายลงพระบังคน แล้วก็พลิกพระองค์ไปข้างทิศตะวันออกรับสั่งบอกว่า “จะตายเดี๋ยวนี้แล้ว”

    แล้วพลิกพระองค์หันพระพักตร์สู่เบื้องตะวันตกก็รับสั่งบอกอีกว่า “จะตายเดี๋ยวนี้แล้ว”

    ต่อจากนั้นทรงภาวนาว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงอัดนิ่งไป แล้วผ่อนอัสสาสะ ปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า - ออก) เป็นคราวๆ ยาว แล้วผ่อนสั้นเข้าทีละน้อย หางพระสุรเสียงมีสำเนียงดัง โธ - โธ ทุกครั้ง สั้นเข้า โธ ก็เบาลงทุกทีตลอดไป จนยามหนึ่ง (สามทุ่ม) ก็ดังครอกเบาๆ

    พอระฆังยามหอภูวดลทัศไนย ย่ำก่างๆ นกตุ้ดก็ร้องขึ้นตุ๊ดหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคต

    ท่าบรรทมเมื่อสวรรคตนั้นเหมือนกับท่าพระไสยาสน์ในวัดบวรนิเวศวิหาร พระสรีรร่างกายและพระหัตถ์พระบาทจะได้กระดิกกระเดี้ยเหมือนสามัญชนทั้งหลายนั้นไม่มีปรากฏ แล้วก็มีหมอกคลุ้มมัวเข้าไปในพระที่นั่งเวลานั้น...

    ที่คัดลอกมาค่อนข้างยาว เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาดูว่าสมเด็จพ่อ ผู้เป็นองค์ปฐมวงศ์ธรรมยุติกนิกาย มีความงดงามและสะอาดบริสุทธิ์เพียงใด สมควรหรือไม่ที่พระองค์ท่านถูกประณามจากคนบางกลุ่ม ทั้งพระและคฤหัสถ์ ตั้งแต่อดีตมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ กล่าวหาว่าพระองค์เป็นตัวการทำให้สงฆ์เกิดการแตกแยก ?

    ถือเป็นเรื่องต่างจิตต่างใจ ต่างมุมมองก็แล้วกัน

    เชิญท่านตรองดูด้วยใจเป็นกลาง ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นโปรดหาอ่านรายละเอียดจากแหล่งต่างๆ ซึ่งหาได้ไม่ยากนัก
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำเนิดวงศ์ธรรมยุต


    หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสละสิทธิ์การขึ้นครองราชย์ และตั้งพระทัยที่จะผนวชต่อไปไม่มีกำหนดแล้วพระองค์ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์เสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เพราะถือตามคติว่า วัดสมอรายเป็นที่สถิตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านาลัย พระราชบิดา เมื่อครั้งทรงผนวชนั่นเอง

    ในชั้นต้นพระองค์ทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระ “ทรงทราบสิ้นตำราที่พระอาจารย์เคยสอนเจ้านายมาแต่ก่อน เมื่อทรงสงสัยไต่ถามพระอาจารย์ก็ไม่อาจชี้แจงถวายให้สิ้นสงสัยได้ ทูลแต่ว่าครูบาอาจารย์เคยสอนมาอย่างนี้เท่านั้น จึงเห็นว่าเป็นอาจิณปฏิบัติ (ประพฤติตามกันมา) เป็นไปด้วยสัมโมหะงมงาย ก็เกิดท้อพระทัยในวิปัสสนาธุระเช่นนั้น ”

    ข้อความนี้คัดมาจากพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช มีเนื้อความต่อไปว่า

    ออกพรรษาแล้วจึงเสด็จกลับมาประทับ ณ วัดมหาธาตุ ทรงตั้งต้นเรียนคันถธุระ ได้พระวิเชียรปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิตย์ เป็นพระอาจารย์สอนภาษามคธถวาย ทรงขะมักเขม้นเรียนอยู่ ๓ ปี ก็ทรงอ่านพระไตรปิฎกได้อย่างแตกฉาน

    “เมื่อทรงเรียนทราบแล้ว ได้ทรงสอบพระธรรมวินัยกับข้อปฏิบัติของบรรพชิตสงฆ์บางหมู่ในเวลานั้น ก็ทรงเห็นว่าผิดพลาดบกพร่องครั้นทรงไต่ถามศึกษาถึงข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ได้มีมาแต่โบราณก็ได้ทรงทราบว่าอันตรธานมาแต่กรุงเก่าแล้ว

    ทรงสลดพระหฤทัยในการที่จะทรงเพศเป็นบรรพชิตต่อไป วันหนึ่งจึงทรงอธิษฐานพระหฤทัยเพื่อจะได้ทรงประสบวงศ์บรรพชาอุปสมบทที่เนื่องมาแต่เดิม ก็ได้ทรงประสบและเข้าสู่วงศ์นั้น ตั้งธรรมยุติกนิกายสืบมา...

    ผู้เขียนเคยฟังเรื่องราวจากครูบาอาจารย์เก่าแก่ที่มรณภาพไปนานแล้วว่า สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงท้อพระทัยที่เห็นข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในสมัยนั้น ย่อหย่อน ไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัยเช่น มีพระเตะตะกร้อ เล่นหมากรุก ตีไก่ กัดปลา สะสมของมีค่าราคาแพง หวังความร่ำรวย หวังยศตำแหน่งทั้งทางสงฆ์และทางฆราวาส ประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ รวมทั้งหากินหลอกลวงด้วยเล่ห์กลต่างๆ ไม่ได้ตั้งใจบวชเรียนเพื่อปฏิบัติและเพื่อสืบทอดพระศาสนาจริง แล้วจะสามารถรักษาพระศาสนาให้อยู่นานถึงห้าพันปีตามพุทธทำนายได้อย่างไร

    พระองค์ได้ทรงอธิษฐานจิตขอให้ได้พบพระสงฆ์ที่ปฎิบัติดีงามถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย เพื่อจะได้ถือเป็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อไป

    หลังการอธิษฐานจิตของพระองค์อยู่ไม่กี่วัน ก็มีพระธุดงค์ราว ๕ - ๗ รูป มาปักกลดอยู่แถวบางลำภู (สมัยนั้นยังเป็นป่าอยู่) พระองค์ใช้ให้คนของพระองค์ เฝ้าติดตามสังเกตดูการกระทำของพระธุดงค์กลุ่มนั้น โดยไม่ให้ท่านรู้ว่าติดตามดูอยู่

    พระองค์ได้รับการรายงานว่า พระธุดงค์กลุ่มนั้นปฏิบัติตนเหมือนกับพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน คือ กลางคืนมีการสวดมนต์นั่งสมาธิภาวนา และเดินจงกรมแทบทั้งคืน ตอนเช้าออกบิณฑบาต ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร กลางวันก็ทำสมาธิภาวนาและเดินจงกรม ตอนบ่ายมีญาติโยมมาฟังธรรมและรับการอบรม ถวายน้ำปานะ ฯลฯ

    พระองค์ทรงเลื่อมใสพระธุดงค์กลุ่มนั้น ทราบภายหลังว่าเป็นพระสงฆ์รามัญ บวชมาจากเมืองมอญในคณะสีมากัลยาณี ซึ่งรับสมณวงศ์มาจากพระภิกษุลังกา คณะมหาวิหาร และสืบมาจากพระมหินทเถระ อันพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งจากกรุงปาฎลีบุตรให้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกเรื่องสีมากัลยาณี ที่เล่าถึงประวัติสมณวงศ์ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาได้ ๒๐๘ ปี เป็นสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

    ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนเคยได้รับฟังมา และพระอุปัชฌาย์ของพระภิกษุชาวมอญกลุ่มนี้ มีการบวชสืบต่อมาถึง ๘๘ ชั่วรุ่น โดยไม่มีการขาดตอน

    หลักฐานจากพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ได้ชื่อว่าบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้บันทึกเหตุการณ์ในเรื่องนี้ว่า

    “การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาคันถธุระผิดกับผู้อื่น ด้วยตั้งพระหฤทัยจำนงแต่จะเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ มิได้หมายจะมีตำแหน่งฐานันดรอย่างใดในสังฆมณฑล

    เพราะฉะนั้น เมื่อทรงทราบภาษามคธถึงสามารถอ่านพระไตรปิฎกเข้าพระหฤทัยได้โดยลำพังพระองค์ ก็ทรงพยายามพิจารณาหลักฐานพระพุทธศาสนาต่อมา...ฯลฯ... ยิ่งทรงพิจารณาไปก็ยิ่งทรงเห็นวิปลาสคลาดเคลื่อน และเป็นมาช้านานแล้ว ก็เกิดวิตกขึ้นในพระหฤทัยว่า หรือสมณวงศ์ที่สืบเนื่องมาจากพระอริยสาวกของพระพุทธเจ้าจะสูญเสียแล้ว

    การที่พระองค์ทรงผนวช ได้สมาทานว่า จะประพฤติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ถ้าทรงประพฤติวัตตปฏิบัติต่อไปในทางที่ผิดพระพุทธบัญญัติ เห็นว่าลาผนวชออกเป็นอุบาสกจะดีกว่า

    ในขณะเมื่อกำลังทรงพระวิตกดังว่ามา และยังไม่เห็นทางที่จะแก้ไข ได้กิตติศัพท์ทราบถึงพระกรรณว่า มีพระเถระมอญองค์หนึ่ง(ชื่อ ซาย นามฉายาว่า พุทฺธวํโส) บวชมาแต่เมืองมอญ มาอยู่ ณ วัดบวรมงคล (อยู่เชิงสะพานกรุงธน หรือสะพานซังฮี้ ฝั่งธนบุรีเดิมเรียกวัดลุงขบ ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นวัดลิงขบ-ปฐม) ได้เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธมุนี เป็นผู้ชำนาญพระวินัยปิฎกและประพฤติวัตตปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

    จึงเสด็จไปทรงทำวิสาสะสนทนากับพระสุเมธมุนี ๆ ทูลอธิบายระเบียบวิธีปฏิบัติของพระมอญคณะ (กัลยาณี) ที่ท่านอุปสมบทให้ทรงทราบโดยพิสดาร

    ทรงพิจารณาเห็นไม่ห่างไกลจากพระพุทธบัญญัติเหมือนอย่างวัตตปฏิบัติของพระสงฆ์สยาม ก็ทรงยินดีด้วยตระหนักพระหฤทัยว่าสมณวงศ์ไม่สูญเสียแล้วเหมือนอย่างทรงพระวิตกอยู่แต่ก่อน

    ก็ทรงเลื่อมใสใคร่จะประพฤติวัตตปฏิบัติตามแบบพระมอญ แต่มีความขัดข้องด้วยเสด็จประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช จะทรงประพฤติให้ผิดกับระเบียบแบบแผนของพระสงฆ์ในวัดนั้น ก็จะเป็นการละเมิด และคนทั้งหลายอาจจะเกิดความเข้าใจผิดต่อไป

    จึงเสด็จย้ายไปประทับ ณ วัดสมอราย เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๗๒ เหมือนอย่างเคยเสด็จประทับเมื่อพรรษาแรกทรงผนวช

    เวลานั้นมีพระภิกษุหนุ่ม เป็นเจ้าบ้าง เป็นลูกผู้ดีบ้างที่ได้ถวายตัวเป็นสิสสานุศิษย์ ศึกษาอยู่ในพระสำนักและเลื่อมใสในพระดำริอีกราว ๖ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดสมอราย ก็มี อยู่วัดอื่นเป็นแต่ไปประชุม ณ วัดสมอรายก็มี จึงเริ่มเกิดเป็นคณะพระสงฆ์ ซึ่งแสวงหาสัมมาปฏิบัติ อันมาได้นามในภายหลังว่า ธรรมยุติกา แต่นั้นเป็นต้นมา

    เรื่องราวการก่อตั้งคณะธรรมยุตมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจมากมายและส่วนหนึ่งจะเป็นเหตุการณ์ที่ถูกขัดขวาง กลั่นแกล้งใส่ร้ายด้วยประการต่างๆ ซึ่งยังมีสืบทอดมาจนปัจจุบัน รวมทั้งข้อกล่าวหาที่ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำสังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยก ก็ยังมีอยู่จนถึงปัจจุบันเช่นกัน

    หากเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา จะเห็นว่าในการทำสังคายนา หรือการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ไม่ว่ายุคใดสมัยใดมักจะมีกลุ่ม คณะ นิกายใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งเป็นธรรมดาของวิวัฒนาการ ซึ่งในศาสนาอื่นๆ ก็มีเช่นกัน

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานความเห็นในเรื่องนี้ว่า

    “การที่ภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลกมีในทุกๆ ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวได้ตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งสักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆ ก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆ เหมือนกัน

    การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา มิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย

    ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกัน หรือเสื่อมเสมอกันก็รวมกันเข้าได้เอง

    ในประเทศไทย พระสงฆ์ลังกาวงศ์ได้เข้ามาหลายครั้ง เมื่อกาลล่วงไปนานก็เสื่อมหายไป ท่านผู้ต้องการฟื้นพระพุทธศาสนา คิดหาสมณวงศ์จากต้นเดิม ก็ต้องไปอาราธนามาตั้งใหม่

    จนถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทรงผนวชทรงรับศาสนวงศ์ที่พระสงฆ์รามัญรับมาจากต้นเดิม มาประดิษฐานคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระนามฉายาเมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาโณ ศาสนวงศ์ธรรมยุติกนิกายนี้จึงนับว่าเป็น วชิรญาณวงศ์ เพราะเป็นวงศ์ที่สืบมาจากพระองค์ (เทียบ อุบาลีวงศ์ ในศรีลังกา) และเป็นพุทธศาสนวงศ์ เพราะเป็นศาสนวงศ์ หรือสมณวงศ์ที่สืบมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ.
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำเนิดวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน


    ถึงแม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับศิษย์ของท่านคือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จะได้ชื่อว่าเป็นปฐมปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน ก็จริง แต่ทั้งสององค์ไม่ได้เป็นผู้เริ่มต้นของคณะธรรมยุตในภาคอิสาน

    ในสมัยของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ นั้น คณะสงฆ์ธรรมยุตได้ลงหลักปักฐานในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นกำเนิดวงศ์ธรรมยุตครั้งแรกในภาคอิสาน

    พระมหาเถระผู้เริ่มต้นปักหลักวงศ์ธรรมยุตสายภาคอิสาน คือท่านพนฺธุโล (ดี) ท่านเป็นพระชาวอุบลฯ โดยกำเนิด สมควรที่ชาวอุบลฯ ทั้งหลายจะได้ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เขียนหนังสือชื่อ “วงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน” ท่านเริ่มต้นดังนี้ :-

    “ความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่ควรพูดหรอก เพราะใครๆ ก็รู้กันอยู่เต็มอกว่าธรรมยุตเป็นมาอย่างไร แต่ที่ข้าพเจ้าอยากจะพูด คือ การเผยแพร่พุทธศาสนาในภาคอิสานนั้น เผยแพร่โดยการปฏิบัติกรรมฐาน ที่ว่าเผยแพร่เพราะกรรมฐานนั้น มีคนรับรองและนับถือกันมาก

    แท้จริงพุทธศาสนานี้มีปริยัติและปฏิบัติเป็นพื้นฐาน ถ้าหากปริยัติและปฏิบัติเป็นไปโดยเสมอภาคกัน ศาสนาย่อมเจริญรุ่งเรือง

    มายุคหลังๆ นั้น ศาสนาได้เสื่อมโทรมลงมาก

    รัชกาลที่ ๔ ท่านได้ทรงผนวชแล้วไปศึกษาปริยัติจนเข้าใจแจ่มแจ้งว่า พระเราปฏิบัติอยู่นี้ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย จึงได้ริเริ่มตั้งวงศ์ธรรมยุตขึ้น แล้วท่านก็นำศึกษาและปฏิบัติควบคู่กันไป จนเป็นเหตุให้คนนับถือขึ้นมาก แม้ตัวท่านเองก็เคยเสด็จเที่ยวรุกขมูล ส่วนปริยัติท่านก็ศึกษาจนถึงได้ประโยค ๕

    หลวงปู่เทสก์ ได้เล่าถึงการตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสานว่า :-

    “วงศ์ธรรมยุตสายภาคอิสาน คือ ท่านพนฺธุโล (ดี) ก็เป็นสหธรรมิกของพระองค์ท่าน องค์หนึ่ง แต่น่าเสียดายไม่ทราบว่าท่านมีภูมิลำเนาอยู่ไหน ประวัติความเป็นมาของท่านอย่างไร จึงได้มาอยู่วัดสุปัฏน์ อุบลราชธานี นี้

    ข้าพเจ้ามีโอกาสศึกษาหาประวัติของท่าน ได้ทราบว่า ก่อนที่จะมาอุบลราชธานีนี้ เจ้าเมืองอุบลฯ ได้ลงไปราชการในกรุงเทพฯ ไปเห็นเข้าเกิดศรัทธาเลื่อมใสในคณะธรรมยุต จึงได้ขออนุมัติจากพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๔ ขอให้ได้โปรดให้วงศ์ธรรมยุตไปตั้งที่เมืองอุบลฯ

    ตอนนั้นรัชกาลที่ ๔ สึกออกไปเสวยราชย์แล้ว ยังเหลือแต่สหธรรมิกของท่าน จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระพนฺธุโล (ดี) ขึ้นมาอยู่เมืองอุบลฯ ตามคำขอร้องของเจ้าเมืองอุบลฯ

    แล้วทรงพระราชดำรัสว่า จงรักษาให้ดีนะ อย่าให้มีอันตราย

    เจ้าเมืองรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม แล้วก็อาราธนานำขึ้นมาเมืองอุบลฯ ตั้งวงศ์ธรรมยุตขึ้นที่วัดสุปัฏน์ ตำบลในเมือง

    วัดสุปัฏน์ นี้ เดิมทีเข้าใจว่าเป็นป่า แล้วมาตั้งวัดลงที่นั่น เพราะลักษณะก็คล้ายๆ กับเป็นวัดป่า ข้าพเจ้าไม่ได้ถามคนเฒ่าคนแก่ว่าวัดตั้งมาได้อย่างไร

    เรื่องทั้งหมดที่เล่ามานี้ก็เป็นเรื่องคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟัง เมื่อตั้งวงศ์ธรรมยุตแล้ว ก็ไม่ทราบอีกด้วยว่าท่านพระราชทานให้เป็นอุปัชฌาย์มาด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

    จากการค้นคว้าของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนเรื่องเดียวกัน ดังนี้ :-

    “มีพระมหาเถระเมืองอุบลฯ รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นปูราณสหธรรมิก (ร่วมปฏิบัติธรรมกันมาแต่เริ่มแรก) ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ของจักรีวงศ์ เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)

    พระมหาเถระรูปนั้นมีนามว่า พนฺธุโล (ดี) หรือ ญาท่านพันธุละ ท่านเป็นชาวบ้านหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านไปอยู่วัดเหนือ ในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ณ เมืองหลวง กรุงเทพมหานครที่สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ แล้วเข้ารับทัฬหีกรรม (บวชใหม่อ่านออกเสียงตามสำเนียงมคธว่า ทัล - ฮี่ - กำ) ตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดราชาธิวาส นับว่าเป็นพระธรรมยุตรุ่นแรกของภาคอิสาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...