หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท พระอริยสงฆ์ผ้าขี้ริ้วห่อทอง ตอน แผ่นดินเกิด

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 8 พฤษภาคม 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท พระอริยสงฆ์ผ้าขี้ริ้วห่อทอง ตอน แผ่นดินเกิด
    [​IMG]
    “ก่อนจะบวชหลวงปู่ทำอะไรมาบ้างครับ ขอหลวงปู่โปรดเมตตาเล่าประวัติให้ฟังด้วยครับ”

    “ถ้าจะย้อนอดีต มันนานมาแล้ว เราก็จำได้ไม่มากนัก” หลวงปู่เอ่ยขึ้นในขณะที่เอนหลังลงบนม้านอนหวายยาว ๆ ด้านหน้ากุฏิ ท่าทางท่านกำลังนึกคิดจนคิ้วขมวดแล้วท่านก็นั่งอยู่พักใหญ่ ๆ

    “การจดการจำชีวิตคนเรามิใช่ว่าเราจะจำได้หมด ยิ่งตอนนี้แก่แล้ว มันก็จำไม่ค่อยได้ ประวัติจะเอาไปทำไมนะ?” ท่านถามย้ำ

    “พวกเกล้ากระผมคิดว่า เวลานี้ครูบาอาจารย์ก็เหลืออยู่น้อย พระลูกศิษย์หลวง(ู่มั่นแต่ละองค์ก็ล้วนมีความสำคัญ หลวงปู่เองก็เป็นหนึ่งในนั้น และเป็นหนึ่งในไม่กี่องค์ที่ได้เดินธุดงค์ติดตามหลวงปู่มั่น ปฏิปทาแต่ละองค์ก็ต่างๆ กันออกไป การนำปฏิปทาชีวประวัติแต่ละท่านมาศึกษา จะเป็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ถ้าไม่จดจารึกขีดเขียนไว้ก็จะสูญหายไปตามกาลเวลา ยิ่งคำว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ในพระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นก็จะมีแต่เพียงคำพูด แต่ไม่มีรายละเอียดให้ศึกษาว่าคำว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” เป็นอย่างไร?”

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงปู่เป็นสหธรรมิกของหลวงตามหาบัว ซึ่งเป็นพระที่คนทั้งประเทศและต่างชาตินับถือ อีกทั้งเป็นองค์ประมุขประธานของโครงการช่วยชาติที่คนไทยทั้งชาติให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับองค์หลวงตามหาบัว ท่านได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไว้กับพระพุทธศาสนา ดำรงหลักธรรมหลักวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะหลักธรรมตามธรรมชาติอันเป็นลักษณะโดดเด่นของพระป่า ยิ่งองค์หลวงปู่ด้วยแล้ว องค์หลวงตาได้ชมเชยและให้ฉายานามว่า “ผ้าขี้ริ้วห่อทอง” เพื่อยืนยันคำนั้น พวกเกล้าฯ จึงขันอาสามาพิสูจน์เพื่อจะได้รู้เห็นตามความเป็นจริง เท่าที่ปัญญาน้อยนี้จะทราบได้ และเพื่อนำไปเผยแพร่ให้ศิษยานุศิษย์และชาวพุทธได้ศึกษาและปฏิบัติสืบต่อไป

    “เออ...ถ้าอย่างนั้นเราก็จะเล่าให้ฟัง อัดเทปหรือยัง?” องค์ท่านถามขึ้น พร้อมกับบ้วนน้ำลายใส่กระโถนเสียงดังปิ๊ดๆ แล้วก็ขากถุยๆ

    “อัดแล้วครับปู่ ตั้งกล้องวิดีโอถ่ายด้วยนะครับ คนเขาจะได้ตำหนิไม่ได้ว่าเกล้าฯ นั่งเทียนเขียน”

    “เออ...อย่างนั้นก็ดีเหมือนกัน” พูดเสร็จแล้วท่านก็ฉันน้ำชา ฉันน้ำ เช็ดปากมาดลูกคอหน่อย ๆ เสียงดังแอ้ม ๆ
    “เริ่มแรกทีเดียว พ่อกับน้องชายที่บ้านติดกัน พากันมาจากประเทศจีน มาแสวงหาชีวิตและสิ่งที่ดีกว่าที่เมืองไทย การเดินทางก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวมา มีแต่เสื้อผ้าและน้า (ตะกร้าไม้ไผ่สานของจีน) สำหรับใส่เสื้อผ้า ใช้ไม้คานหาบคอนมาขึ้นเรือ ภาษาจีนเรียก “น้า” ลักษณะมันคล้ายๆ ชะลอมคนสมัยก่อนเวลาจะเดินทางไปไหนมาไหน หรือเวลาไปเรี่ยไรเงินสังกะจาด เขาจะถือไป เพื่อเอาไปใส่สิ่งของอะไรๆ
    สมัยก่อนไปไหนต้องเดินด้วยเท้าทั้งนั้น ไม่มีรถยนต์ พ่อเป็นคนแข็งแรง เดินจากหนองบัวไปเก็บค่าเช่านาที่สี่เจียมเทียน ระยะทางหลายสิบกิโลยังเดินไป เดินไปถึงแล้วเสร็จธุระก็ต้องเดินกลับเพราะจากหนองบัวมาพริ้ว ๕ กม. จากพริ้วไปถึงดงชิงคงอีกราว ๆ ๑๐ กม. จากอีมุยไปสี่เจียมเทียนอีกสิบกว่ากิโล พ่อเป็นคนหมั่นขยันมาก
    “เดิมจริง ๆ เขาเรียกกันว่า ‘โอวเจี้ยะ’ แปลว่าหินดำ เพราะเรามีปานดำที่แผ่นหลัง แต่มาภายหลังเรียกสั้นๆ ว่า เจี๊ยะ นี่...ปานนี้อยู่ข้างหลังนี่ อันนี้ถ่ายรูปไว้ด้วย เดี๋ยวคนเขาไม่เชื่อหาว่าเราโกหก” พูดเสร็จแล้วท่านก็หัวเราะเสียงดังๆ แล้วก็หันหลังเปิดอังสะให้ถ่ายรูป

    “ปานดำที่แผ่นหลังนี่มันดีนักหนา คนสงขลามาเห็นเข้าตอนที่ไปธุดงค์ทางภาคใต้ มันถึงกับพูดว่า

    โอ๊ย..! ท่านอาจารย์มีของดีโว้ย

    มันดีอะไร เราถามมัน

    ก็ที่แผ่นหลังท่านอาจารย์ไง ปานดำเต็มแผ่นหลังมันหายากนะ

    พอพูดเสร็จเขาก็ขอดูด้วยความชอบอกชอบใจ”

    จริง ๆ แล้ว คำว่า “โอวเจี้ยะ” มีความหมายในทางธรรมอีกอย่างหนึ่ง คนที่มีปานประเภทนี้ จะต้องเป็นคนมีจิตใจแข็งแกร่งดุจศิลาแลง ทนร้อน ทนหนาว ทนทุกข์ ทนสุข อดทนได้ รับได้ แก้ไขได้ทุกสภาวะกาล เหมือนจะเป็นธรรมะเตือนเราว่า จงทำจิตใจให้เข้มแข็งดุจแผ่นหิน ใครจะนำเอาของสกปรกมาเทใส่แผ่นหินก็คงนิ่งอยู่อย่างนั้น ใครจะนำเอาน้ำหอมมาเทใส่แผ่นหินนี้ ก็คงอยู่อย่างนั้นเหมือนเดิม ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน หรือโอนเอนไปกับอารมณ์ตางๆ ที่มายั่วเย้า หลอกลวง ตอนหลังเขามาเรียกสั้นๆ ว่าเจี๊ยะๆ หมายถึงกิน กินเก่งไป (หัวเราะ)
    “ก่อนจะบวช......พื้นเพโยมพ่อเป็นคนจีน เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมืองจีนมาอยู่เมืองไทยตอนนั้นพ่ออายุประมาณ ๒๐ กว่า ๆ มาอยู่คลองน้ำเค็ม มาเจอโยมมารดาที่นั่น โยมแม่เป็นลูกครึ่งจีนที่เกิดในเมืองจันท์ พอแต่งงานกันแล้วก็ย้ายมาอยู่ตำบลหนองบัว โยมพ่อโยมแม่เป็นผู้ที่สนใจในพระพุทธศาสนา ไม่เพียงแต่พ่อแม่เท่านั้น ปู่ย่า ตายาย ก็สนใจในพุทธศาสนา...ก็พวกเราเป็นชาวพุทธอยู่ฮิ...” หลวงปู่พูดเป็นภาษาสำเนียงจันทบุรีแบบน่าฟัง

    โยมบิดาซื่อ ซุ่นแฉ่ โพธิกิจ (แซ่อึ้ง) โยมมารดาชื่อแฟ โพธิกิจ ตอนแรกอยู่ที่เมืองจันทบุรี มีอาชีพค้าขาย มีพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วยวัน ๗ คน ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นลูกเลี้ยงที่โยมพ่อโยมแม่นำมาเลี้ยง เป็นประดุจพี่สาวคนโต เพราะในครอบครัวทุกๆ คนมีความรู้สึกว่าพี่พิมพ์เป็นพี่สาวคนโตจริงๆ ถ้าจะนับพี่คนใหญ่คนนี้เข้าไปด้วยก็เป็น ๘ คน

    สำหรับเราเอง เกิดวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ที่บ้านคลองน้ำเค็ม ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ตรงกับวันอังคาร เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรง เป็นบุตรคนที่ ๔ มีพี่น้อง ๗ คน และพี่บุญธรรมที่พวกเราทุกคนรักอีก ๑ คน รวมเป็น ๘ คน มีลำดับดังนี้

    ๑. นางพิมพ์ โพธิกิจ (เสียชีวิต) พี่บุญธรรม

    ๒. นางฮุด แซ่ตัน (เสียชีวิต)

    ๓. นายสง่า โพธิกิจ (เสียชีวิต)

    ๔. นางสาวละออ โพธิกิจ (เสียชีวิต)

    ๕. ตัวเราเอง (หลวงปู่เจี๊ยะ)

    ๖. นางสาวละมุน โพธิกิจ เป็นข้าราชการครู (เสียชีวิต)

    ๗. นางลักขณา (บ๊วย) เกิดในมงคล

    ๘. นายสมบัติ โพธิกิจ

    ตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่ ๒ คน บ้านหลังที่อยู่เลขที่ ๘๒ หมู่ ๗ บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี อยู่ติดถนน สภาพบ้านที่อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ไม่ต่างจากเมื่อก่อนมากนัก แต่มีการซ่อมแซมหลังคาใหม่บ้าง แต่โครงสร้างบ้านทั้งหมดยังเหมือนเดิม ประตูเป็นไม้สักเลื่อนเปิดปิดได้ เป็นประตูบ้านสมัยเก่า หาดูยากนัก พื้นบ้านแต่เดิมเป็นไม้ ภายหลังซ่อมแซมใหม่ทำเป็นปูน ตู้กระจกของเก่ายังอยู่เหมือนเดิม โอ่งสีเขียวเป็นของเก่าโบราณยังถูกเก็บไว้เป็นอย่างดี ด้านหลังบ้านเป็นคลองน้ำใหญ่ เป็นทางออกไปสู่ทะเล มองไปรอบ ๆ จะเห็นเรือจอดเป็นทิวแถว ดูดีสะอาดตา ท่าเรือที่เราเคยจอดหรือยังมีเสาไม้ใหญ่ ๆ อันเป็นจุดสังเกตได้ง่าย ที่บ้านไม่ได้ไปมานานแล้ว เรือทั้ง ๒ ลำที่เราเคยใช้เห็นว่าเขาขายกันไปแล้ว
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างศาลาการเปรียญ-วัดหัวสะแกตก-พร้อมรับวัตถุมงคล.564170/
     

แชร์หน้านี้

Loading...