หลวงปู่แหวน เล่าเรื่องไม้สีฟัน

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย paang, 30 มกราคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]

    หลวงปู่แหวน เล่าเรื่องไม้สีฟันพระ ให้ลูกศิษย์ฟังดังนี้

    ในสมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า พรมพระยาวชิรญาณวโรรส กำลังนิพนธ์ (เขียนหนังสือ) วินัยมุข อยู่ พระองค์อธิบายถึงสิกขาบทที่ว่าด้วยไม้สีฟัน จึงเกิดสงสัยว่า จะเป็นไม้ชนิดใด มีลักษณะเป็นอย่างไร

    ทรงรับสั่ง ถามพระเณรทั้งหลาย ต่างก็กราบทูลไปคนละอย่าง ไม่ตรงกัน จะเอาเป็นข้อยุติ ไม่ได้ ยังไม่ได้คำอธิบายเป็นที่พอพระทัย

    จึงให้ไปนิมนต์ท่่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ จากวัดบรมนิวาส มาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า

    " ทนฺตโปนา ไม้สีฟันนั้น ท่่านเจ้าคุณๆ เคยได้ยินไหมเป็นอย่างไร ? "
    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ กราบทูลว่า " เคยเห็นเคยใช้อยุ่ทางภาคอิสาน พระเถระในสาย พระอาจารย์มั่นใช้กันอยู่ทั่วไป ทำจากไม้สองอย่าง คือ ทำจากไม้โกทา หรือกนทา กับชนิดดี ทำ จากไม้จันทน์หอม ด้านหนึ่งทุบให้เป็นฝอยละเอียดใช้สีฟัน อีกด้านหนึ่งเหลาให้แหลม ใ้ช้จิ้มฟัน ถ้าต้องการขูดลิ้น ก็ฉีกออกเป็นชิ้นบางๆ ใช้ขูดลิ้นได้ ถ้าเป็นไม้โกทา เวลาเคี้ยวจะมีรสขม นิดหน่อย ป้องกันกลิ่นปากได้ดี ขับเสมหะได้้ด้วย

    สมเด็จๆ รับสั่งให้ท่านเจ้าคุณๆ หามาให้ทอดพระเนตร ท่านเจ้าคุณๆ จึงสั่งขึ้นไปทางจังหวัด อุบลราชธานี ให้ทำไม้สีฟัน จากไม้จันทน์หอม และไม้โกทา ส่งลงไปให้ท่า่นที่วัดบรมนิวาส กรุง เพพๆ แล้วท่านก็ำนำไปทูลถวายสมเด็จๆ ต่อไป

    เมื่อสมเด็จฯ ได้ทองพระเนตรและทรงทดลองใช้ดูแล้ว จึงตรัสชมกับท่่านเจ้าคุณพระอุบาลีๆ ว่า " พระทางอิสานช่างเข้าใจพระวิน้ัยดีแท้ "


    ที่มา http://www.geocities.com/thaimedicinecm/arjanwhan.htm
     
  2. yayeeka

    yayeeka Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2008
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +30
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีเกี่ยวกับไม่สีฟันค่ะ

    สาธุ
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733

    [​IMG]

    ไม้สีฟัน ทำจากไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นยา เช่น ไม้โกทา สมัด ดีคน ข่อย ฯลฯ ใช้สำหรับชำระฟัน ลิ้น ปาก ให้สะอาดปราศจากกลิ่นและเศษอาหาร รวมทั้งช่วยให้ฟันแข็งแรง ลิ้นรับรสได้ดี และขจัดเสมหะ
    ในปัจจุบันสำนักวัดป่าต่าง ๆ นิยมทำใช้กันอยู่ และยังใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาครูบาอาจารย์ ในวาระสำคัญ เช่น “การขอนิสัย”
    พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้ภิกษุใหม่ (๑-๕ พรรษา) ต้องถือนิสัย คือต้องอยู่ภายใต้การปกครองของอุปัฌาย์หรืออาจารย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งพิงอาศัยของตน ดุจพ่อแม่เป็นที่พึ่งพิงของลูก ๆ
    วัดหนองป่าพงและสำนักสาขาถือว่า การขอนิสัยเป็นอริยประเพณี ที่สร้างความเคารพความผูกพันฉันบุตรกับบิดาแก่ศิษย์และอาจารย์ และเป็นข้อย้ำเตือนไม่ให้ภิกษุท่องเที่ยวไปตามอำเภอใจโดยไม่ยึดถือใครเป็นอาจารย์ ดังนั้นจึงมีการขอนิสัยในวาระต่าง ๆ เช่น วันเข้าพรรษา เป็นต้น
    ไม้สีฟัน เป็นเครื่องแสดงถึงความเคารพบูชาของศิษย์ต่อครูอาจารย์ จึงต้องทำอย่างประณีต ซึ่งต้องอาศัยความพากเพียร ความอดทน และใช้เวลาพอสมควร ไม้สีฟันแต่ละอัน อาจสามารถบ่งบอกอุปนิสัยของผู้ทำได้ว่า ละเอียดหรือหยาบมากน้อยเพียงใด
    วิธีทำโดยสังเขป
    ตัดไม้เป็นท่อนขาว ๔-๘ นิ้ว ผึ่งแดดพอหมาด ๆ ถ้าแดดจัดผึ่ง ๒-๓ ชั่วโมง หากตากแดดแห้งเกินไปเมื่อทุบไม้จะแตก
    การทุบใช้ไม้ใหญ่ ๆ ทุบที่ปลายให้แตกเป็นฝอยยาวสุดเล็บมือ ถ้าทุบช้า ๆ ไม้จะแตกเป็นฝอยและนุ่มละเอียดกว่าการทุบเร็ว ๆ
    สางฝอยด้วยเข็มให้เรียบร้อย แล้วใช้มีดตอกเหลาด้ามให้เรียบสวย เอาฝอยที่เหลาออกจากด้ามมาขัดไม้สีฟันให้ขึ้นเงา นำไปตากแดดให้แห้งสนิทแล้วเก็บใส่ถุงพลาสติกป้องกันความชื้น (ปลายด้ามที่ทุบแตกเป็นฝอยใช้สำหรับถูฟันหรือเคี้ยว ปลายด้านที่เหลาให้แหลมใช้แคะเศษอาหารที่ติดตามไรฟัน ส่วนกลางของไม้ใช้สำหรับขูดลิ้น)

    อนุโมทนาค่ะ เคยเห็นพระท่านทำ ใช้เวลาและแรงงานมากค่ะ
     
  4. mc80

    mc80 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +32
    ไม้คนทาหรือโกทา อยู่ตามหัวไร่ปลายนา เห็นที่ไหนผมจะตัดไปถวายพระทำไม้เจีย(ไม้สีฟัน)เพื่อเอาไว้ถวายพระผู้ใหญ่ เอาไปมากไม่ได้ครับทำไม่ทัน จะแห้งก่อนทำไม่ได้ ไม้เจียของพ่อแม่ครูอาจารย์ ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ครับ
     
  5. พามมะวดี

    พามมะวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +1,857
    มีรูปแสดงวิธีทำให้ดูบ้างไหมเอย..
    ไม้คนทาที่ว่านี้ ทุ่งนาภาคกลางมีขึ้นไหม ไม่รู้จัก
     

แชร์หน้านี้

Loading...