หลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนการใช้อานาปานุสสติควบคู่การระงับนิวรณ์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 16 มกราคม 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    [​IMG]
    เรื่องอุทธัจจกุกกุจจ ความฟุ้งซ่าน ผมขอผ่าน เป็นการใช้อานาปานุสสติกรรมฐานเข้าควบคู่ แต่จะเลยไปทีเดียวก็จะเสียการ เพราะว่าการเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานมีอยู่ ๒ นัย คือ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>๑. ทรงอารมณ์ รู้ลมเข้า ลมออก เกิดความสุขใช้ได้
    ๒. จับลมหายใจเข้าออกไม่ยอมให้มันฟุ้งซ่าน ถ้ามันฟุ้งซ่านหนักเกินไปเราทำยังไง เราก็เลิกมันเสีย เอาไม่อยู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    องค์สมเด็จพระบรมครูบอกว่าอย่างนี้ ถ้ามันฟุ้งซ่านหนักเกินไป เอาไม่อยู่ ท่านอุปมาเหมือนกับม้าพยศ ในเมื่อม้ามันพยศ มีกำลังมาก จูงซ้ายมันจะไปขวา จะให้มาขวากลับมาทางซ้าย ท่านบอกให้ปล่อยมันแต่อย่าปล่อยเลย กดคอมันเข้าไว้ มันอยากจะวิ่งไปไหนก็ปล่อยมันวิ่ง ให้สุดฤทธิ์เราไม่ยอมตก เวลามันหมดแรงแล้วเราจะจูงไปซ้ายไปขวา มันก็ต้องตามใจเรา นี้การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานก็เหมือนกัน ถ้าเวลาไหนมันฟุ้งซ่านจริงๆ บังคับไม่ได้ ถ้าเรายังไม่อยากเลิก ยังไม่ง่วงนอนนี่ เราก็ปล่อยให้มันคิดไปตามอัธยาศัย เอาสติสัมปชัญญะคุมไว้ คิดไว้เสมอว่าถ้ามันเลิกคิดเมื่อไหร่ฉันเอาละ เล่นงานมันล่ะ

    ทีนี้มันไม่เกิน ๒๐ นาทีหรอกคุณ ผมเคยโดนมาแล้ว ไอ้ที่ผมพูดน่ะผมเคยโดนมาแล้วทุกอย่าง พระพุทธเจ้าพูดไม่เห็นมีอะไรผิด ทำไปทำมาผมไปชนทุกที แล้วก็ไม่ใช่แต่ผม คนอื่นเขาก็ชนเราก็เอาวิธีของท่านมาใช้ เราเป็นลูกศิษย์นี่เราไม่ได้เป็นอาจารย์ท่าน คนใดก็ตามที่ประกาศตนเป็นอาจารย์พระพุทธเจ้าที่บอกของพระพุทธเจ้าไม่ดี ไม่ทันสมัย เอาอย่างโน้นดีกว่า อย่างนี้ดีกว่า ผมไม่ โอเค ด้วย พวกจัญไรนี่ไม่คบ คบยังไง มันจะไปไหนไอ้พวกนี้ โน่นอเวจีมหานรก เพราะทำคนทั้งหลายที่มีเจตนาดีให้มีมิจฉาทิฏฐิ ปฏิบัติผิด ฟังความเห็นผิดกรรมมันมาก

    ว่ากันถึงการควบคุมใจ เมื่อจิตมันเลิกคิดแล้ว เริ่มต้นจับลมหายใจเข้าออก ไอ้ฌาน ๑ นี่ไม่แน่ว่าจะทรงอยู่เฉพาะฌาน ๑ นะ อาจจะข้ามเป็นฌาน ๒ ฌาน ๓ หรือฌาน ๔ เลยก็ได้ พอปั๊บ พอเริ่มมาจับปุ๊บ มันดิ่ง ตั้งมั่นบอกไม่ถูก บางทีมาปั๊บเดียวถึงฌาน ๔ เลย นก หมู จิ้งจก ตุ๊กแก ร้อง เสียงหมาเห่าหอนไม่ได้ยิน ฌาน ๔ แบบละเอียด บางทีหูมันได้ยินแว่ว แต่ใจตั้งมั่นเป็นฌานอย่างละเอียด อย่างเลวเป็นฌานที่ไม่ละเอียด ไอ้วิธีปล่อยใจนี่ใช้ให้มาก คือว่าเห็นท่าควบคุมใจไม่ไหวอย่าฝืน ปล่อย ปล่อยมันคิดตามสบาย ข้อนี้ผ่านไป

    ข้อสุดท้าย วิจิกิจฉา คือสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็หมายความว่าสงสัยในความดีที่เรากำลังทำอยู่ เราทำอย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมครูบอกว่าจะได้ฌานสมาบัติ หรือว่าจะได้เป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา แต่ว่า เอ มันจะจริงหรือ ไอ้นั่งหลับตานี่ ๙ วัน ๑๐ วัน ๒ เดือน ๓ เดือน นี่มันดีตรงไหน นี่เพราะอะไร เพราะเราโง่ การที่จะได้มีความรู้สึกสูงก็คือสมถภาวนา พอมาถึงวิปัสสนาภาวนามันไม่มีนี่ อารมณ์แบบนั้น อารมณ์ตั้งมั่นอันนี้ มันไม่มี มันเป็นอารมณ์สบายๆ รู้ไว้ด้วยนะ อารมณ์คนธรรมดานี่แหละสบายๆ แต่เอาคนธรรมดานะ ไม่ใช่คนผิดธรรมดา ไอ้คนผิดธรรมดาชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักข้าวของของเขา แย่งความรัก โกหกมดเท็จ ดื่มสุราเมรัย นั่นเขาเรียกว่าคนผิดธรรมดา เราเอาแค่คนธรรมดากัน คือว่ายอมรับนับถือสิ่งที่เราต้องการ คนอื่นเขาก็ต้องการเหมือนกัน ทีนี้อารมณ์ใจสบาย อย่างนี้นะ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width=140>[​IMG]</TD><TD>ตอนนี้ข้อวิจิกิจฉา การสงสัยว่าไอ้นี่ทำจริงหรือไม่จริง ทำดีหรือไม่ดี ทำมีผลหรือไม่มีผล ก็เป็นการสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าตัวนี้เข้ามาเมื่อไหร่ ไอ้ตัวนี้ร้ายใหญ่เหมือนกัน กั้นความดีทั้งหมด คิดว่าไม่ได้ผลแล้ว นั่งหลับตาส่งเดชเสียเวลา ไม่เห็นมันได้อะไร

    ทีนี้วิธีที่เราจะรู้ว่าได้หรือไม่ได้ต้องพิจารณาดูอารมณ์ใจเวลาที่มันกระทบจริง ถ้ามีใครเขาเคยด่า เราฉุนเฉียว ด่ามาคำเราก็ตอก ๒ คำ ถ้าไม่ตอกก็ตั้งท่าตั้งทางโมโห โทโส อาจจะจองล้างจองผลาญซะก็ได้ แต่ทว่าเราทรงอารมณ์ดี อาศัยเมตตาบารมี เขาด่ามารู้สึกไม่ชอบใจเหมือนกัน แต่มันไม่ดิ้นรนเหมือนอย่างก่อน รู้สึกมันโกรธช้าหรือว่าโกรธไว แต่หายเร็วกว่าเก่า อารมณ์ใจเยือกเย็นกว่าเก่าไม่ดุร้ายเท่าเดิม อันนี้แหละคุณเป็นผลของการปฏิบัติ การที่คนสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ เพราะลืมพิจารณาความจริง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เป็นอันว่าวันนี้จบ ในธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน เฉพาะนิวรณ์ ๕ เบื้องท้ายนี้ก็จงจำไว้ ว่านิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ถ้าเกิดขึ้นกับจิต ทำให้จิตไม่เข้าถึงความดี ถ้าอารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์ ให้ตัดให้พ้นไปถ้างั้นจิตไม่เข้าถึงฌาน ถ้าจิตของพวกคุณว่างจากนิวรณ์เมื่อไหร่ ก็เข้าถึงฌานเมื่อนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบอกว่า อาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่างในนิวรณ์ ๕ ประการมันเกิดขึ้น ก็เอาสติเข้าไปคุมไว้ว่านี่เลวนะ

    ความเลวมาเกิดขึ้นกับใจ แต่ว่าเราจะทำความดีพอหักล้างมันได้แล้วก็จงคิดว่า อารมณ์อย่างนี้เราสักแต่ว่าให้มันกระทบ สักแต่ว่ามีความรู้สึก เราไม่ยึดถืออะไรมัน แล้วก็เราจะไม่ยึดถืออะไรทั้งหมดในโลก เพราะเราตายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่มีประโยชน์สำหรับเรา นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนแบบนี้ ให้ยอมรับนับถือความเกิดขึ้น แล้วก็ความเสื่อมไปของอารมณ์ก็ดีของร่างกายก็ดี ถือว่าเป็นปกติธรรมดาของชาวโลก จงอย่ายึดถืออะไรมันทั้งหมด นี่เป็นกระแสพระสัทธรรมเทศนาในธรรมานุสสติมหาสติปัฏฐาน ข้อที่ ๑ ขององค์สมเด็จพระธรรมสุคต
    จบนีวรณบรรพในธัมมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน
    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/maha441.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2008
  2. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    โมทนาครับ นอกจากอานาปาจะเป็นกรรมฐานระงับความฟุ้งและนิวรณ็ 5 แล้วยังเป็นยอดมงกุฏแห่งพระกรรมฐานทั้งปวงด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...