หลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนทุกข์ในอริยสัจ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 11 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    นี่เราต้องมานั่งนึก นึกถึงความทุกข์ในอริยสัจ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า แม้แต่ข้าวคำเดียวที่เราเปิบเข้าไป มันก็เป็นทุกข์ ท่านบอกว่า กับข้าวหรือข้าวที่เราจะพึงหามาได้ ที่เราจะกินอันนี้มันมาจากไหน มันมาจากหยาดเหงื่อแรงงานของเรา หรือว่าถ้าเราจะมีสตางค์ซื้อข้าว สมมติว่าพวกคุณมีเงินเดือน ไอ้เงินเดือนนี่มันไม่ใช่เงินครึ่งเดือน หรือว่าไม่ใช่เงินครึ่งวัน เราทำงานมาตั้งเดือนถึงจะได้เงินจำนวนนั้นมา และการทำงานทุกครั้งมันเหนื่อยไหม บางทีเรานั่งเขียนหนังสือมันก็เหนื่อย เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ เมื่อยมือ ใช้สมอง แล้วก็ต้องเหนื่อย เกรงว่าผู้บังคับบัญชาจะหาว่าทำไม่ถูกใจ ไม่ถูกแบบไม่ถูกแผน นี่มันเหนื่อย

    นี่คนที่เขาทำนาทำสวนมันก็เหนื่อย ออกกำลังกายมาก ใช้กำลังความคิดด้วย คนที่ประกอบการค้าก็เหนื่อย ไม่ใช่เขานั่งอยู่ได้สบายๆ ยิ่งต้องใช้สมองหนัก และการค้าต้องเอาใจชาวบ้านนี่มันหนักทุกอย่าง หากว่าใครเขาจะเข้ามาซื้อของ เราพูดไม่ถูกใจเขา เขาก็ไม่ซื้อ เราก็ต้องวางแผนว่าจะวางลีลาตั้งท่าว่ายังไง จะพูดว่ายังไงเขาจึงจะชอบใจซื้อของๆ เรานี้ไอ้การวางแบบ วางแผน วางกฎ ตั้งตนไอ้แบบนี้จะทำให้ถูกใจเขานี่มันเหนื่อย
    รวมความว่าอาหารที่เราจะกินเข้าไป กว่าจะได้อาหารมาก็แสนที่จะเหน็ดเหนื่อย เต็มไปด้วยความทุกข์ ความหนาวจะหนาวสักเพียงใดก็ตามก็ต้องทนทำงานเพื่อเงิน อากาศจะร้อนเพียงใดก็ตามก็ต้องทนทำงานเพื่อเงิน บางทีอันตรายที่เราจะถึงสำนักงาน หรือว่าไปถึงสำนักงานแล้วอันตรายรอบตัวจะพึงมีก็ได้ เราก็ต้องทนทำ เพราะต้องการเพื่อเงินและทรัพย์สิน เอามาเป็นอาหารที่เราจะพึงกิน นี่เป็นอันว่าอาหารที่เรากินเข้าไปนี้เรากินทุกข์ ใช่ไหม

    เรานี่รู้แล้วว่าโลกนี้มันทุกข์แล้วเกิดมาทำไมล่ะ ทำไมถึงเกิด อีตอนนั้นมันไปโง่เพราะเจ้านายมันบังคับให้เกิด คือกิเลสความเศร้าหมองของจิต ที่คิดว่าโลกเป็นสุข ใช่มั้ย ตัณหาความทะยานอยาก คือคิดว่าโลกเป็นสุขจึงอยากจะมาเกิด อุปาทานเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วไอ้ตัวคิดว่าสุขมันมีอยู่ ทั้งๆ ที่มันเป็นอาการของความทุกข์ ทุกอย่างเราก็คิดว่าเป็นสุขเป็นความยึดมั่นอุปาทาน

    อยู่คนเดียวสบายๆ ไม่พอ อยากจะแต่งงานให้มันมีความสุข พอแต่งงานแล้วหาสุขตรงไหนล่ะ เราอยู่คนเดียวเอาใจเราคนเดียว เราจะกินเมื่อไรเราจะนอนเมื่อไรก็ได้ จะซักแห้งกี่วันก็ยังได้ เพราะนอนคนเดียว เพราะฉะนั้นถ้าเราเป็นคน ๒ คนเขาจะถือระบบนั้นไม่ได้จะต้องคอยเอาใจคนอีกคนหนึ่ง ไอ้การประกอบอาชีพการแสวงหาทรัพย์สินมันก็ต้องมากขึ้น เพราะต้องเผื่อคนอีกคน ถ้าเรามีคนอีกคนหนึ่งมาเป็นคู่เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ แต่ความจริงไม่ใช่ร่วมสุขมันร่วมแต่ทุกข์ นั่นแล้วเราก็ต้องรักษากำลังใจคนอื่นอีกหลายสิบคน ซึ่งเป็นพวกพ้องซึ่งกันและกัน นี่ความหนักมันเกิดไม่ใช่ความเบาเกิด

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=110>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>พอแต่งงานแล้วลูกโผล่ออกมาอีกสิ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คาราหเว ปญฺจคตฺทา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระอันหนัก เราคนเดียวมีแค่ขันธ์ ๕ หนักพอแล้ว หนักเพราะความหิว หนักเพราะความกระหาย เพราะความร้อน ความหนาว ความป่วยไข้ไม่สบาย ความแก่ ความปรารถนาไม่สมหวัง และก็ความตาย แค่นี้หนักจนเราแบกไม่ไหวในที่สุดร่างกายมันก็พัง ตะนี้หากว่าเรามีคู่ครองและเขาแบกมาอีก ๕ เป็น ๑๐ ใช่มั้ย ๑๐ ขันธ์เข้าไปแล้ว พอเข้ามาเป็น ๑๐ ขันธ์ เดี๋ยวมันโผล่มาทีละ ๕ มั่งโผล่มาทีละ ๑๐ มั่ง มาเป็นแถวหมด ไอ้ความหนักมันก็เพิ่ม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ลูกแต่ละคนโผล่มามันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ อีตอนที่มีใหม่ๆ น่ะหรือ รู้ข่าวว่ามีลูกแหมดีใจ พอลูกโผล่ออกมา ชักยุ่งแล้ว ใช่มั้ย ดีไม่ดี ดึกๆ ดื่นๆ ไอ้ลูกไม่สบายต้องวิ่งไปหาหมอ ต้องตื่นขึ้นลูกร้องขึ้นมาดึกดื่นเพียงใดก็ตาม เราเคยนอนหลับสบาย นี่นอนไม่ได้ นี่มันก็เป็นอาการของความทุกข์ นี่พูดให้เห็นว่าเป็นการทุกข์ง่ายๆ ที่เราจะพึงมองเห็น แต่ว่าไม่มีใครเขาอยากมองกัน ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าโลกเป็นความทุกข์จริงแต่คนเห็นทุกข์ไม่มี นี่เป็นความจริง

    ตะนี้มาดูทุกข์ภายในซิ นอกไปจากนั้น นอกจากนิภัตทุกข์ ก็ได้ความป่วยไข้ไม่สบายอันนี้มันมีตามปกติ เรามองไม่เห็นใช่มั้ย ที่ผมเคยบอก ชิฆจฺฉา ปรมาโรคา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความหิวชื่อว่าเป็นโรคอย่างยิ่ง ไอ้ความหิวนี่มันเป็นอาการเสียดแทง โรคะเขาแปลว่าเสียดแทง นี่เวลาหิวขึ้นมาไม่ได้กินมันก็แสบท้องน่ะซี ใช่มั้ย ความไม่สบายกายไม่สบายใจมันก็เกิด โรคประเภทนี้มันเป็นกับเรากี่วัน นี่เป็นอาการของความทุกข์ที่เรามองไม่เห็น

    ตะนี้ในเมื่อมันหิวแล้วเรากินเข้าไป ร่างกายเราเอาใจมันทุกอย่าง อาหารประเภทไหนราคาแพงเท่าไร ที่พวกอนามัยเขาบอกว่ามันดี เราก็พยายามกิน กินเข้าไปของแพงเท่าไรก็หนักใจมากเท่านั้นเพราะเราต้องจ่ายทรัพย์มากเราต้องเหนื่อยมาก มีการสิ้นเปลืองมากของดีวิเศษแค่ไหนก็ตามกินแล้วที่ไม่แก่ไม่มี กินแล้วไม่ป่วยไข้ไม่สบายก็ไม่มี กินเข้าไปแล้วไม่ตายก็ไม่มี เป็นอันว่า อาหารทุกอย่างที่เรากินเข้าไปเราได้มาจากความทุกข์แล้วเวลาที่เราจะกิน ก็กินเพราะอำนาจความทุกข์บังคับ เพราะอะไร เพราะความหิวบังคับ

    นี่เราจะกินอาหารประเภทไหน มันก็แก่ มันก็ป่วย มันก็ตาย ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกว่าถ้าเราจะกินอาหารก็กิน คิดว่าเป็นแต่เพียงว่ายังอัตตภาพให้เป็นไป อย่ากินเพื่ออย่างอื่น ถ้าเราคิดว่าเรากินเพื่ออย่างอื่นเราก็โง่เต็มที เราจะกินของดีประเภทใดก็ตามให้เราเป็นคนหมดทุกข์น่ะ มันไม่ได้ ขณะที่ความหิวเกิดขึ้นเราอาจจะไม่มองถึงทุกข์เรื่องอื่น มองทุกข์จุดเดียว คือ ความหิว คิดว่ากินเข้าไปแล้ว ถ้าอิ่มมันก็หายหิว มันก็หมดทุกข์ แต่พออิ่มดีประสาทมันเริ่มดีขึ้น มันก็เลยนึกต่อไปว่าเวลานี้ได้กินแล้วเวลาหน้าจะกินอะไร และงานประเภทไหนที่มันยังคั่งค้างอยู่ ความปรารถนาที่เราต้องการมีอะไรบ้างที่เรายังไม่ได้สมหวัง นี่อารมณ์แบบนี้มันเป็นอารมณ์บอกถึงความทุกข์ไม่ใช่อารมณ์หยุด มันเป็นอารมณ์ทำงานอย่างที่เราทำเราทำขณะที่เราทำมันเป็นทุกข์
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=185>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ตะนี้พระพุทธเจ้า นี่ขอพูดย่อๆ ไอ้เรื่องทุกข์ นี่พูดไปยันตายมันก็ไม่จบ หือ จะจบยังไง เพราะผมต้องบอกอาการผมทุกอย่างนี่ เวลามันตายมันปวดที่ไหน มันเสียดที่ไหน คุณก็ฟังไปยันตายเลย เป็นอันว่าเรามองหาโลกมองดูโลกตามความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าบอกว่า การเกิดของเราไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์ฝ่ายเดียว แต่ไอ้ที่เราเห็นว่าสุขก็เพราะอะไร เพราะว่าเราโง่ มันมีจุดสุขอยู่นิดเดียวคือความปรารถนาสมหวัง ถ้าความปรารถนาสมหวังตามที่เราตั้งใจเราคิดว่ามันเป็นสุข เราดีใจ ดีใจว่านี่เราต้องการ เราได้ตามความประสงค์ แต่ว่าเนื้อแท้จริงๆ แล้วมันไม่ใช่สุข นั่นมันเป็นตัวทุกข์ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/maha445.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...