หลวงพ่อพระราชพรหมยานอธิบายมหาสติปัฏฐาน ๔ว่าด้วยเรื่องธาตุ4

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 3 มกราคม 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    ข้อที่ว่าด้วยธาตุ ๔ ในมหาสติปัฏฐานนี่ท่านเรียกว่า ธาตุบรรพ หมายความว่า ฉบับที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ถ้าหากว่า เราเรียกตามวิสุทธิมรรคก็เรียกว่า จตุธาตุววัฏฐาน นี่เป็นอันว่าในมหาสติปัฏฐานสูตรก็ดี หรือว่าในวิสุทธิมรรคก็ดี พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนแตกต่างกัน เว้นไว้แต่ว่าความรู้ในวิสุทธิมรรคพระพุทธเจ้าสอนจนจบมี ๔ แบบ คือ สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต แต่ในมหาสติปัฏฐานสูตรพระพุทธเจ้าสอนไว้เฉพาะ สุกขวิปัสสโก

    ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะใช้การพิจารณาตามแบบจตุธาตุววัฏฐาน ๔ การเจริญพระกรรมฐานนี้ ถ้าจะเจริญได้ดี การเจริญพระกรรมฐานแบบในวิสุทธิมรรคก็ดี ในมหาสติปัฏฐานสูตรก็ดี เราจะทิ้งต้นไม่ได้ นี่หมายถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลกัน

    อย่างในตอนต้นพระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หรือว่าอานาปานุสสติกรรมฐานก่อนที่เราจะใช้อารมณ์พิจารณาในจตุธาตุววัฏฐาน ๔ ก็ดี ในปฏิกูลบรรพที่เราเรียนแล้วก็ดี หรือว่าในอริยาบทก็ดี อันดับแรกเราใช้อานาปานุสสติกรรมฐานควบคุมให้อยู่ในอารมณ์สมาธิเสียก่อน อันว่าอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานพื้นฐานใหญ่ ถ้าเราทรงกำลังใจเป็นสมาธิแล้ว จิตเป็นสมาธิ สบายมีอารมณ์เยือกเย็น เป็นอุเบกขารมณ์

    ในระยะนั้นเราก็ใช้อารมณ์จิตมาพิจารณาในปฏิกูลบรรพ หรือว่าจตุธาตุววัฏฐาน ๔ ผลมันจึงจะเกิดเพราะว่าการพิจารณานี้ เราใช้จิตที่เคลื่อนอยู่ตลอดเวลา การใช้อานาปานุสสติกรรมฐานเป็นการใช้อารมณ์ให้ทรงอยู่ การใช้อารมณ์ อารมณ์ทรงอยู่ก็ดี จิตเป็นอุเบกขาก็ดี เอาอารมณ์เป็นสมาธิมาพิจารณาปฏิกูลบรรพ ในอาการ ๓๒ หรือว่า จตุธาตุววัฏฐาน ถ้าพิจารณาไปแล้ว ปรากฏว่าจิตเคลื่อนออกไป มีอารมณ์นอกเข้ามาแทรก อย่างนี้แสดงว่าจิต เราพลาดจากสมาธิ เมื่อมีอาการฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ให้ทิ้งอารมณ์พิจารณาเสีย กลับมาจับลมหายใจเข้าออกใหม่ เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตทรงอารมณ์เป็นสมาธิดีแล้ว จิตมีอาการทรงตัวดีแล้ว จึงค่อยไปพิจารณาใหม่ การกระทำแบบนี้สลับกันไปสลับกันมา ปัญญาจะเกิดและก็ปัญญาจะมีกำลังกล้า สามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน

    คำว่าสมุจเฉทปหาน หมายความว่า ฆ่าให้ตายไปเลย ไม่ให้กลับพื้นขึ้นมา การปฏิบัติพระกรรมฐานถ้าจะให้ได้ดีนี่เขาทำกันแบบนี้ คือไม่ใช่ว่าเราจะตั้งหน้าตั้งตาทรงแต่สมาธิอย่างเดียว ถ้าเรามีความประสงค์ในการทรงสมาธิอย่างเดียว ผลที่จะพึงได้ก็คือฌานโลกีย์ และปรากฏว่าเป็นฌานที่ง่อนแง่นคลอนแคลน ทำลายตัวเองได้ง่าย ฌานไม่ทรงอยู่ได้นาน ถ้าหากว่าเราจะใช้แต่เฉพาะปัญญาพิจารณาขันธ์ ๕ อย่างเดียว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างเดียว โดยไม่ใช้อารมณ์สมาธิควบคุม มันก็ทำไม่ได้เหมือนกันที่ว่าไม่มีผล

    ฉะนั้น พระกรรมฐานทั้ง ๒ ประการ คือสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เราจะแยกกันไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสมถกรรมฐาน มีทั้งอารมณ์ดับและอารมณ์ทรงฌาน และก็อารมณ์พิจารณาอย่างที่พูดมาว่า เรื่องอาการ ๓๒ ที่เรียกว่าปฏิกูลบรรพนั่นเป็นอารมณ์พิจารณา หรือว่าที่จะพูดต่อไปก็เป็นธาตุ ๔ ก็เป็นอารมณ์พิจารณาเหมือนกัน จงอย่าลืมว่าการเจริญพระกรรมฐานที่พระทุกองค์หรือว่าท่านทุกท่านที่ปฏิบัติได้ตรง ก็ต้องพยายามสลับกันไปสลับกันมา ระหว่างอารมณ์สมาธิ ความตั้งมั่นกับการพิจารณา

    ต่อจากนี้ไปก็จะขอพูดถึงมหาสติปัฏฐานข้อต่อไป คือ ธาตุบรรพ คำว่า ธาตุบรรพ หมายถึง ฉบับว่าเฉพาะคือธาตุ ๔ ถ้าฝ่ายวิสุทธิมรรคมีแต่จตุธาตุววัฏฐาน นี่ต้องทราบเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จตุธาตุววัฏฐานนี้องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสไว้เฉพาะพวกพุทธจริต คือเป็นอามรณ์ของคนฉลาด ที่ผ่านมาเราพูดถึงอาการ ๓๒ เป็นเรื่องของการระงับราคะจริต ต่อไปจะกล่าวถึงจตุธาตุววัฏฐาน

    จตุธาตุววัฏฐานเป็นกรรมฐานที่ส่งเสริมจริตของความฉลาด แต่ว่าในมหาสติปัฏฐานสูตรเขาจัดไว้เป็นแบบนั้น ท่านกล่าวไว้โดยลำดับ ฉะนั้น เมื่อเราพิจารณากรรมฐานในอาการ ๓๒ ที่เรียกว่าปฏิกูลบรรพ เห็นว่าร่างกายของเราเต็มไปด้วยความสกปรก ร่างกายของบุคคลอื่นก็เหมือนกัน วัตถุธาตุอื่นๆ ก็เหมือนกัน ที่เราจะกล่าวว่ามีความสะอาดนั้นมีอะไรที่จะสะอาด ความจริงของทุกสิ่งในโลกเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม หาอะไรเป็นของสะอาดจริงๆ ไม่ได้ ที่เราคิดว่าสะอาดก็เพราะว่าเราหลอกตัวเอง นี่เราใช้ปัญญาของเราโกหกตัวเรา เพราะว่ามันไม่สะอาด เราก็ไปแต่งตั้งยกยอปอปั้นว่าสะอาด แต่ความจริงมันคงความสกปรกเป็นปกติ มันไม่กลัวเรา มันไม่เชื่อฟังคำสั่งของเรา

    ต่อไปจตุธาตุววัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ร่างกายของคนและสัตว์ที่มีร่างกายขึ้นมาได้ก็อาศัยธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อันการที่ปรากฏว่ามีความแข็งในร่างกาย เป็นเนื้อก็ดี กระดูกก็ดี อันนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่า ธาตุดิน ความอบอุ่นในร่างกายจัดเป็นไฟ อาการพัดไปมาในร่างกายมีลมหายใจ เป็นต้นเรียกว่า ธาตุลม ของเหลวที่ปรากฏในร่างกายมีน้ำลาย น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ปัสสาวะ เหล่านี้เป็นธาตุน้ำ นี้ร่างกายของคนและสัตว์ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกันชั่วคราว

    ธาตุ ๔ นี้ในมหาสติปัฏฐานสูตรท่านเปรียบเทียบไว้ว่า คล้ายๆ กับคนฆ่าโคหรือฆ่ากระบือ เวลาที่เขาฆ่าโค ฆ่ากระเบือแล้ว เขาเอาเนื้อไปวางไว้ส่วนหนึ่ง เอาหนังไปวางไว้ส่วนหนึ่ง เอากระดูกไปวางไว้ส่วนหนึ่ง ตับ ไต ไส้ ปอด ไปวางไว้ส่วนหนึ่ง ส่วนทั้งหลายเหล่านี้ประกอบกันเรียกว่าธาตุดิน ส่วนที่หลั่งไหลออกไปมีน้ำเป็นต้น น้ำเลือด น้ำหนอง เรียกว่าธาตุน้ำ

    การแยกแบบนี้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าแยกธาตุของกาย ความจริงไม่ใช่ให้แยก ให้รู้ตามความเป็นจริง ว่าร่างกายเราประกอบด้วยธาตุ ๔ ให้รู้ตามความเป็นจริง มีประโยชน์อย่างไร สำหรับนักเจริญพระกรรมฐาน เรามานั่งหาประโยชน์ ประโยชน์ที่พึงจะได้ คือพระพุทธเจ้าให้สร้างความฉลาดขึ้นมาในใจ และก็ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง เพราะพวกเราทั้งหมด เกิดมาในคราวแรกเราแบกความฉลาดมาพอ ฉลาดแบบไหนล่ะ เขาต้องฉลาดแบบอบายภูมิ เรามานั่งคิดดูว่า ร่างกายของเรานี่มันจะไม่แก่ มันยังหนุ่มอยู่ เราเกิดมาแล้วเราไม่เคยคิดว่าร่างกายของเราจะแก่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>เวลายามปกติเราไม่เคยคิดว่าร่างกายของเราจะป่วย ทั้งๆ ที่เคยป่วยมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน พอร่างกายสมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้นมาปราศจากโรคได้ไม่นาน เราก็ลืมอาการป่วยของร่างกาย แล้วเห็นชาวบ้านเขาตายกันได้ แต่เราไม่เคยคิดว่ามันจะตาย นี่เราแบกเอาความฉลาดจากอบายภูมิเข้าไว้ ไอ้ความฉลาดแบบนี้นี่นะ ที่เขาพากันไปเกิดในนรก เพราะเขาฉลาดแบบนี้ ถ้าหากว่าเราสามารถจะทำบุพเพนิวาสานุสสติญาณให้เกิดขึ้นกับใจ ถามตัวเองว่าเคยลงนรกไหม น่ากลัวจะจดไม่ไหว ที่จดไม่ไหวก็เพราะเราเป็นคนประมาท เราไม่ยอมรับนับถือความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ที่เรียกว่าร่างกาย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ร่างกายนี่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ว่ากันถึงธาตุใหญ่ๆ ที่เราเรียกกันว่า มหาภูตรูป ถ้าจะว่ากันถึง อุปทานรูปมีเยอะแยะ พูดแล้วก็กลุ้มใจเปล่าๆ ไอ้ธาตุ ๔ ที่มันประกอบเป็นกายนี้ มันทรงตัวอยู่ตลอดกาลตลอดสมัยรึเปล่า ว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ที่มันแบ่งร่างกายเราอยู่นี่ เรามานั่งนึกหาความจริงกัน เราพูดแบบนี้นะ บอกให้ท่านทราบว่าพระพุทธเจ้าท่านรู้แล้วร่างกายไม่ทรงสภาพไม่ตรงตามความเป็นจริง คือมันไม่มีการทรงตัว

    ความจริงคือความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ความเสื่อมไปย่อมมีอยู่ทุกขณะ แล้วในที่สุดมันก็สลายตัว ความเกิดขึ้นในเบื้องต้นของเราและของคนอื่น แต่ว่า ความเกิดของเราเรามองไม่เห็นตามความเป็นจริง คือมันไม่มีการทรงตัว พูดกันง่ายๆ ว่าเรามีความโง่เป็นปัจจัย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เราเกิดกันมานานแล้ว เรามาเลิกโง่กันเสียทีได้ไหม มานั่งดูตัวเรามานั่งคิดว่าเราเกิดมาใหม่ๆ มีสภาพเป็นอย่างไร แล้วเวลานี้เราอายุเท่าไหร่ ร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน แล้วต่อไปเราคิดบ้างได้ไหมว่า ร่างกายเราจะพัง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี่ท่านสอนเรื่องธาตุ ๔ เพื่อให้เข้าใจ ก็เพราะว่าธาตุ ๔ นี่ ขณะใดถ้ามันยังสามัคคีกันอยู่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ถ้ามันยังสามัคคีกันอยู่เพียงใด เราก็สามารถทรงกายในความเป็นคนในความเป็นสัตว์ได้สมบูรณ์บริบูรณ์

    หากธาตุ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งมันเกิดย่อหย่อนความสามัคคี สมมติว่าธาตุดินก็ดี ธาตุน้ำก็ดี ธาตุลมก็ดี ไม่สามัคคีกลมเกลียวกัน หรือว่าธาตุไฟหย่อนกำลังลงไป ความอบอุ่นในร่างกายมีน้อย คราวนี้ทำยังไงล่ะ ร่างกายที่เคยแข็งแรงก็ลดกำลังลง เคยต่อสู้กับความหนาวได้ ความเย็นได้ มันก็เริ่มจะทนไม่ไหว กลายเป็นคนขี้หนาว เมื่อธาตุ ๔ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหย่อนกำลังลงแล้ว ร่างกายก็เริ่มทุพพลภาพกลายเป็นร่างกายที่หาความดี หาความสุขสมบูรณ์ไม่ได้ นี่มันแค่หย่อนลงไปนะ

    นี้ต่อมา ถ้าบังเอิญธาตุ ๔ มันเกิดไม่สามัคคีเสียเลยสักธาตุหนึ่ง สมมติว่าร่างกายเรามีธาตุอยู่ ๔ ธาตุ ถ้าหากว่าธาตุลมมันไม่ทำงาน เสียอย่างเดียว ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ แกเก่งแกก็เชิญอยู่ซิ ฉันธาตุลมฉันไม่เอากับแก ลมที่ร่างกายไม่พัด ลมหายใจไม่ปรากฏ จะไปไหน ถ้าธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ มันยังทำงานบ้าง ไม่ทำงานบ้าง แต่ธาตุลมทำงานปกติยังไม่ตาย ยังไม่เป็นผี ถ้าธาตุลมไม่ทำงานอย่างเดียวละก็เป็นผี

    นี่องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงแนะนำว่า ไอ้ธาตุทั้งหลายนี่นะ กฎธรรมดาของมันมีอยู่ คำว่าธรรมดานี่เป็นสิ่งที่เราฝืนไม่ได้เหมือนกับประเพณี ประเพณีของพระเณรทางเหนือ สมัยก่อนโน้นเขาฉันข้าวตอนเวลาเย็นกันได้ ถ้าพระภาคกลาง ภาคใต้ ทำไม่ได้เพราะยอมรับนับถือพระธรรมวินัย การจัดสรรให้พระเณรฝ่ายเหนือสมัยก่อนนะ สมัยนี้อาจจะหมดแล้ว เข้าไปห้ามปรามไม่ให้ฉันข้าว ชาวบ้านก็โกรธ เพราะว่าของเขาเคยปฏิบัติกันแบบนั้นมานาน เขาถือว่าไม่เป็นไร หากว่าใครไปฝืนเข้าอันตรายก็จะพึงมี อย่างนี้พระแก้กันมานาน เวลานี้หมดหรือไม่หมดก็ไม่ทราบ

    รวมความว่า ประเพณีนี่เราแก้ได้ยากฉันใด แต่ว่ากฎธรรมดานี่เรายิ่งแก้ไม่ได้ใหญ่เลย ประเพณีนี่เราอาจหาทางแก้ได้ แก้ทีละน้อยๆ มาเข้าระบบเสมอกัน แต่ว่ากฎธรรมดาไม่มีใครแก้ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่กล้าแก้ เพราะแก้ไม่ได้ ถ้าหากว่าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าจัดว่าเป็นอัจฉริยะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกทั้ง ๓ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ไม่มีใครเสมอพระองค์

    หากว่าพระองค์แก้ธรรมดาได้ละก็ พระองค์ไม่แก่ การป่วยไข้ไม่สบายของพระองค์ก็ไม่มี ในที่สุดร่างกายของพระองค์ก็ไม่พัง นี่เป็นอันว่ากฎธรรมดา แม้แต่พระพุทธเจ้าเองเป็นอัจฉริยมนุษย์ ก็ไม่สามารถจะแก้ได้ฉันใด มาพวกเราคนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส พูดอย่างนี้ผิดหรือถูกก็ไม่รู้นะ คนที่มานั่งอยู่นี่บางทีเขาไม่มีกิเลส ถ้าใครไม่มีกิเลสขออภัยด้วยนะ พวกเรานี่หนาแน่นไปด้วยกิเลส กิเลสน้อยก็ตาม หนาแน่นก็ตาม ปรากฏอยู่เพียงใดก็ชื่อว่าเป็นคนมีกิเลส เมื่อเรายังมีกิเลสอยู่ เรายังเป็นทาสกิเลส ตัณหา อุปทาน และอกุศลกรรม เราจะไปบังคับกฎธรรมดาให้มันอยู่ใต้อำนาจของเราได้อย่างไร นี่เราทำไม่ได้
    ที่มา
    http://www.geocities.com/4465/samadhi/maha415.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...