หลวงพ่อพระราชพรหมยานอธิบายวิธีปฏบัติในกสิณทั้ง10

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]


    การปฏิบัติในกสิณ ๑๐

    กสิณทั้ง ๑๐ แบ่งออกเป็น ๒ พวกด้วยกัน กสิณพวกหนึ่งเป็น กรรมฐานกลางจริตทั้งหมดทำได้โดยไม่ต้องเลือก นี่จุดหนึ่ง อีกพวกหนึ่งเป็นกรรมฐานเฉพาะจริต สำหรับกสิณที่เป็นกรรมฐานกลางนี่มี ๖ อย่างคือ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ อากาสกสิณ และอาโลกสิณ ทั้ง ๖ นี้เป็นกสิณกลาง สำหรับจริต บรรดาพุทธบริษัททุกจริตทำได้โดยไม่ต้องเลือก เพราะเป็นของกลางๆ จะเป็นคนมีจริตไหนก็ตามใช้ได้ทั้งหมด นี่เรื่องกรรมฐานกับจริตนี่มีความสำคัญมาก ต้องจำให้ดี ถ้าจำพลาดไปทำขวางกันเข้า มันไม่ค่อยเดิน มันไปเหมือนกัน แต่ไปช้าๆ ไปขวางๆ


    สำหรับกสิณอีก ๔ อย่างคือ โลหิตกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โอทาตกสิณ ทั้ง ๔ อย่างนี้เป็นกสิณที่เป็นคู่ปรับกับ โทสะจริต คนที่โมโหโทโสมาก โกรธง่าย เจริญกสิณ ๔ อย่างนี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อกสิณเกิดขึ้นเป็นฌานแล้ว อารมณ์ของโทสะก็จะคลายสลายตัวไป การเจริญกรรมฐานให้เหมาะสมกับจริต คำว่าจริตแบบไหนมันนำหน้า เราก็คว้าแบบนั้นทำเสียก่อน ทำลายใ้ห้พินาศไป แล้วผลที่จะพึงได้ก็คือจิตสบาย


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]








    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>๑. ปฐวีกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>ปฐวีกสิณ คือการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน" กสิณแปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ว่า "เพ่งดิน"
    ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปการณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาดจากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปมาได้ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่น มาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดินสีอื่นรองไว้ข้างล่าง แล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน

    ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ ท่านว่าหาได้จากดินขุยปู เพราะปู ขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ ปากช่องรูที่อาศัย เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตามขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลานติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔ นิ้ว อย่างเล็ก ไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว ตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔ นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณ ที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบ และริ้วรอยต่าง ๆ

    เมื่อจัดเตรียมอุปการณ์เรียบร้อยแล้ว ท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาด แล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่งสำหรับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการตามนัยที่กล่าวไว้ในอสุภกรรมฐาน ต้องการทราบละเอียด โปรดเปิดไปที่บทว่าด้วยอสุภกรรมฐานจะทราบละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของกามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณ จดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ ก็กลับตาใหม่ กำหนดภาพกสิณไว้ในใจภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่าปฐวีกสิณัง เมื่อเห็นว่าภาพกสิณเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไป ทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพันครั้งเท่าใดไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจ จะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    กสิณโทษ ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า พึงกระทำดวงกสิณด้วยดินแดงอันบริสุทธิ์ มีสีงาประดุจดังว่าพระอาทิตย์เมื่อแรกอุทัย กระทำให้ปราศจากกสิณโทษ ๔ ประการ คืออย่าเอาดินสีเขียวเจือ ดินสีเหลืองเจือ ดินสีแดงเจือ และดินสีขาวเจือ อย่ากระทำในท่ามกลางวิหารอันเป็นที่สัญจร พึงกระทำในเงื้อมแลบรรดาศาลา อันเป็นที่ลับที่กำบัง



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    อุคคหนิมิต เมื่ออารมณ์ของใจ จดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่ก็ตาม ภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใจ นึกเห็นภาพกสิณ ได้ขัดเจนทุกขณะที่ปรารถนา จะเห็นติดตาติดใจตลอดเวลาอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อุคคหนิมิต แปลว่านิมิตติดตา

    อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณโทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้ และ ขอบวงกลมของสะดึงย่อมปรากฏ ริ้วรอยต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้ว ท่านให้เร่งระมัดระวัง รักษาอารมณ์สมาธิ และ นิมิตนั้นไว้จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลม ด้วยดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้งอยู่ในใบบัว ฉะนั้น รูปนั้นบางท่า่นกล่าวว่า คล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่าย ๆ ก็คือ เหมือนแก้วที่สะอาดนั้นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตามความประสงค์ อย่างนี้ ท่านเรียกปฏิภาคนิมิต

    เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับนักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่าใส่ใจอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์สมาธิที่กำลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้สลายตัวได้โดยฉับพลัน ขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวังอารมณ์ รักษาปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๒. อาโปกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>อาโปกสิณ อาโป แปลว่าน้ำ กสิณ แปลว่าเพ่ง อาโปกสิณ แปลว่าเพ่งน้ำ กสิณน้ำมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่นหรือสีต่าง ๆ มา ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง การนั่ง หรือเพ่งมีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณจนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต เมื่อถึงปฏิภาคนิมิต แล้วจงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่าอาโปกสิณัง</TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ น้ำ ๔ ประการคือ น้ำสีดำ สีเหลือง สีแดง สีขาวนั้น เป็นน้ำอันกอปรด้วยกสิณโทษ



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม ๆ ถ้าน้ำนั้นกอปรด้วยกสิณโทษ คือเจือไปด้วยปุ่มเปือกและฟองนั้นก็ปรากฏในอุคคหนิมิตได้



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี หรือดวงแว่นแก้วใส มีประกายระยิบระยับ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๓. เตโชกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>เตโชกสิณ เตโช แปลว่าไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชนแล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่ง สูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ การเพ่ง อย่งเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ ภาวนาว่าเตโชกสิณัง ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้งจนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา </TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ อย่าพิจารณาไม้และหญ้าที่อยู่เบื้องต่ำ เปลวเพลิงที่วับขึ้นไป ในเบื้องบนนั้น ก็อย่าพิจารณาเอาเป็นอารมณ์ ให้พิจารณาเอาแต่เปลวเพลิงที่หนาทึบ อย่าพิจารณาสีว่า เพลิงนี้สีเขียว สีเหลือง สีหมอง สีแดง อย่าพิจารณาลักษณะที่ร้อน พึงรวมสีกับเปลวที่ทึบนั้นเข้าด้วยกัน เล็งแลด้วยจักษุ ด้วยอาการอันเสมอเหมือนอย่าง พิจารณาปฐวีกสิณ



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ หากพิจารณาจากกองเพลิง จะปรากฏภาพถ่านฟืนที่เพลิงติด หรือกองถ่านเพลิง



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๔. วาโยกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็น หรือจะถือเอาด้วยการกระทบ ก็ได้การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้า หรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา การถือด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบจะให้พัดลมเป่าแทนลมพัด หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้า ต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้ลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่าวาโยกสิณัง ๆ ๆ ๆ อาการอื่นนอกนี้เหมือนปฐวีกสิณ</TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ -



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏว่ามีการไหว ๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้ม ที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือมีปรากฏการณ์ คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือด



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๕. นีลกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>นีลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้า หรือหนังกระดาษก็ได้ แล้วเอาสีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ ดอกไม้ เป็นต้นว่า ดอกนิลุบล ดอกอัญชัน ที่นำมาประดับลงในฝา กล่อง เสมอขอบปากก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ เพ่งภาวนาว่านีลกสิณังๆ ๆ ๆ </TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ หากใช้ดอกไม้หรือใบไม้ จะปรากฏภาพเกสร แลก้านหว่างกลีบนั้น



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นรูปสีเขียวที่เพ่ง



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี หรือดวงแว่นแก้วใส มีประกายระยิบระยับ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๖. ปีตกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ บทภาวนา ภาวนาว่าปีตกสิณัง ๆ ๆ</TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ เหมือนนีลกสิณ



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นรูปสีเหลืองที่เพ่ง



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนนีลกสิณ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๗. โลหิตกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง บทภาวนา ภาวนาว่าโลหิตกสิณัง ๆ ๆ ๆ นิมิตที่จัดหามาเพ่งจะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ </TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ เหมือนนีลกสิณ



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นรูปสีแดงที่เพ่ง



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนนีลกสิณ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๘. โอทากสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>โอทากสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว บทภาวนา ภาวนาว่าโอทาตกสิณัง ๆ ๆ ๆ สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้ </TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ เหมือนนีลกสิณ



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นรูปสีขาวที่เพ่ง



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนนีลกสิณ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๙. อาโลกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>อาโลกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่าง ที่ลอดมาตามช่องฝา หรือช่องหลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ แล้วภาวนาว่าอาโลกสิณัง ๆ ๆ ๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ปรากฏ แล้วต่อไป ขอให้นักปฏิบัติ จงพยายามทำให้เข้าถึงจตตุถฌาน เพราะข้อความ ที่จะกล่าวต่อไป ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ</TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ -



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับ เอาแสงสว่าง มากองรวมกันไว้ที่นั่น



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>๑๐. อากาศกสิณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>อากาสกสิณ แปลว่า เพ่งอากาศ อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่าอากาสกสิณัง ๆ ๆ ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณคือ เจาะช่องฝาเสื่อหรือหนังหรือ มองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อหรือผืนหนัง โดยกำหนดว่าอากาศ ๆ ๆ จนเกิออุคคหนิมิต</TD></TR><TR><TD>
    กสิณโทษ -



    </TD></TR><TR><TD>
    อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด



    </TD></TR><TR><TD>
    ปฏิภาคนิมิต ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต เป็นอากาศเปล่า ไม่มีช่องฝา แต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สรุปจากหนังสือ พระวิสุทธิมรรค และ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    ที่มาที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/samp6.htm#midway



    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER><!-- / message --><!-- sig -->

    แนะนำ อานิสงส์ของการเพ่งกสิณ

    แนะนำ กสิณ..ความรู้เบื้องต้น..วิธีฝึก..ประโยชน์ที่ได้

    แนะนำ ขอเชิญร่วมฝึกกสิณที่ วัดยานนาวา ทุกวันอาทิตย์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
     
  2. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    ขอโมทนาครับรู้สึกว่าจะดีจริงๆเพราะทั้งนี้ก็เพราะว่าภาพทั้งหมด ชอบมากๆครับ
     
  3. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,270
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,079
    อนุโมทนาครับถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและในอนาคตไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณพร้อมเหล่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านทุกองค์ไม่มีสิ้นสุดไม่มีประมาณ สาธุมหาสาธุ
     
  4. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    หลวงพ่อฯท่านสอนสมาธิได้หลากหลายครอบคลุมทุกจริตนิสัย
    ยังไม่เคยเห็นครูบาอาจารย์ท่านใดสอนสมาธิได้หลากหลายครอบคลุมเหมือนท่าน
    อัศจรรย์ จริงๆ

    ขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้ตั้งกระทู้ และทุกๆท่านที่ร่วมอนุโมทนาครับ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
     
  5. s_thit

    s_thit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2007
    โพสต์:
    785
    ค่าพลัง:
    +3,027
    แล้วแต่จริตนิสัย ชอบแบบไหนก็ฝึกแบบนั้น ถ้าใจเป็นสมาธิก็เป็นบุญทั้งนั้น โมทนาครับ
     
  6. หนูแว่น

    หนูแว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    1,188
    ค่าพลัง:
    +3,207
    อนุโมทนา ค่ะ จะฝึกกสิน หรือ มโนยิทธิดี สองจิตสองใจ
     
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ

     
  8. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    อนุโมทนาสาธุค่ะ....เราเคยนั่งสมาธิแล้วเห็นเป็นแสงสีขาวนวล ๆ ต้องเพ่งกสิณอะไรคะ ^_^
     
  9. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  10. ปารดา

    ปารดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +866
    โมทนาสาธุค่ะ เพราะหลวงพ่อฯและหนังสือหลวงพ่อปาน ทำำ้ให้ลูกกลายเป็นคนใหม่ จากที่มัวเมาในสิ่งที่หาความแน่นอนไม่ได้หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มีแต่ความดีเท่านั้นที่จะติดตัวเราไปทุกที่ โมทนาสาธุอีกครั้งค่ะ
     
  11. kosabunyo

    kosabunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,045
    กรรมฐาน 40 ห้องล้วนเป็นน้องอาณาปา
     
  12. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    โอ้โหนานๆทีจะได้ยินอย่างงี้ทีหนึ่ง โมทนาครับ อานาปาเป็นพี่กสิณจริงๆ ต้องคล่องอานาปาก่อนแล้วจะได้คล่องกสิณทั้งสิบกอง สาธุ สาธุ
     
  13. {ผู้ชนะสิบๆทิศ}

    {ผู้ชนะสิบๆทิศ} เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +917

    ...จริงดังท่านว่า ผมก็ไม่เคยฟังพระปฏิบัติองค์ไหน เทศน์ได้กรรมฐาน๔๐คลุมทั้งหมด แถมท่านยังเทศน์รวมถึง พระสูตร พระวินัย

    นับว่าท่านมีญาณทัศนะมาก คำสอนที่ท่านเทศน์ลงใส่เทปมาบัดนี้ มีคุณค่าอนันต์นัก


    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ....
     
  14. sharingidea

    sharingidea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,348
    ค่าพลัง:
    +274
    ขออนุโมทนาสาธุ ครับ..........
     

แชร์หน้านี้

Loading...